วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2009, 05:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:36
โพสต์: 532

แนวปฏิบัติ: ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: กรรมทีปนี , วิมุตติรัตนมาลี , ภูมิวิลาสินี
ชื่อเล่น: เจ้านาง
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: ศาสนธรรม “กฎแห่งกรรม” :b44:

๑) กฎแห่งผู้รับกรรม หรือกฎแห่งการเลือกรับ

ผู้มีพลังจิตสูงสามารถเลือกรับกรรมต่างๆ ได้ เช่น เลือกรับกรรมดี เลือกหนีกรรมชั่วได้ แต่สามารถทำได้ชั่วคราว จนกระทั่งกรรมนั้นได้รับการเสวยวิบากจนหมดไป ก็จะไม่อาจเลือกได้อีก เช่น เราเคยทำบุญจะได้เป็นคนมีเงินมาก เมื่อเราตั้งจิตรับแต่บุญเราจะรวยต่อเนื่องไม่จนเลย จนกระทั่ง จิตเราตก ความคิดเราเปลี่ยน กรรมก็จะเข้ามาทำให้เราจนได้ แต่ถ้าเราประคองจิต ด้วยพลังจิต ก็จะสามารถทำให้กรรมดีหนุนให้เรารวยต่อไปได้ จนกระทั่งหมดบุญไม่เหลือเลย ก็จะไม่สามารถรวยได้อีก จนถึงขั้นตกสู่ภพเปรตเพราะไม่เหลือบุญเลยก็มี วิธีการเลือกรับแบบนี้ เป็นหลักการทางจิตวิทยาที่เรียกว่า “คิดแง่บวก” หรือ “พลังแห่งการคิดบวก” ที่มักสอนให้เราคิดแต่สิ่งดีๆ แล้วมันจะนำสิ่งดีๆ มาให้เราได้ ซึ่งก็จริง แต่ไม่ตลอดไป ทุกสิ่งมีเกิดดับ บุญของเราก็มีวาระเกิดขึ้น, ตั้งอยู่ ไม่ว่าจะนานขนาดไหน สุดท้ายก็ต้องมีวันดับไป เราสามารถเลือกรับกรรมดีหรือกรรมชั่วที่เราเคยก่อไว้อันไหนก่อนก็ได้ หากเลือกรับกรรมดีก่อนแล้วเอามาทำดีต่อยอดเพื่อปลดเปลื้องกรรมเลว เรียกว่า “วิถีกวนอิม” โปรดสังเกตว่าลูกศิษย์เจ้าแม่กวนอิม ผู้นับถือเจ้าแม่กวนอิมมักเกิดมารวยก่อน มักมีอาชีพค้าขายร่ำรวยก่อน และมักนิยมเอาเงินมาสร้างศาลเจ้า เป็นต้น แต่หากเลือกรักกรรมชั่วก่อน แล้วพิจารณาให้แจ้งให้ธรรม จึงค่อยเบิกบุญมาใช้บำเพ็ญบารมีภายหลัง แบบนี้ เรียกว่า “วิถีศรีอาริยเมตตรัย” โปรดสังเกตว่าไชน่าทาวน์ก็ดี หรือชาวจีนที่นับถือพระโพธิสัตว์ก็ดี ส่วนหนึ่งมักมีประวัติการอพยพไปอยู่ที่อื่น และทำงานต้องอย่างหนักจนสร้างครอบครัวร่ำรวยได้ อนึ่ง คนจีนที่อพยพมาสร้างความเจริญให้ทั่วโลกเหล่านี้ ล้วนเดินวิถีศรีอาริยเมตตรัยทั้งสิ้น และเป็นลูกศิษย์ของพระศรีอาริยเมตตรัย พระโพธิสัตว์ทั้งสององค์ สร้างความเจริญให้แก่โลกแบบตรงข้ามกันอย่างสมดุลอย่างนี้

๒) กฎแห่งตัวกระทำ หรือกฎแห่งการเลือกปฏิบัติ

กรรมทุกกรรมต้องมีผู้กระทำ และผู้รับผลการกระทำนั้น กรรมจึงจะสมบูรณ์ เมื่อวิบากกรรมย้อนกลับมาสนองผลกรรม จะต้องมีตัวกระทำ เป็นผู้กระทำเสมอ แต่ตัวกระทำ ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้ากรรมนายเวร ถ้าเจ้ากรรมนายเวร อโหสิกรรมแล้ว เขาก็จะพ้นจากการเป็นตัวกระทำกรรม เขาก็ไม่ต้องทำกรรมซ้ำย้อนกลับไปมาอีก แต่จะมีผู้อื่นมาทำหน้าที่เป็นตัวกระทำแทน เช่น นาย ก ถูก นาย ข ฆ่าตาย ชาติต่อมา นาย ก ต้องมาฆ่านาย ข บ้าง แต่เพราะเหตุว่านาย ก อโหสิกรรมไว้ตั้งแต่ชาติที่ถูกฆ่า ดังนี้ นาย ข จะจะถูกผู้อื่นฆ่าแทน นาย ก ก็ไม่ต้องทำกรรม ไม่ต้องลงมือฆ่านาย ข นายก็อาศัยอานิสงค์จากอโหสิกรรม จึงพ้นจากวังวนกรรมที่เข่นฆ่ากันไปมานี้ได้ กรรมทุกกรรมต้องมีตัวกระทำ ปกติ ตัวกระทำ คือ เจ้ากรรมนายเวร ถ้าเจ้ากรรมนายเวรอโหสิกรรม ก็จะถูกจับคู่ใหม่

๓) กฎแห่งตัวกรรม หรือรอยกรรมรอยเกวียน

กรรมทุกกรรม จะมีการซ้ำรอยหลายชาติ จนกว่าจะหมดสิ้นกันไป เช่น นาย ก และ นาย ข เคยฆ่ากันมา ก็จะฆ่ากันไปฆ่ากันมา ชาติแรก อาจฆ่าเพราะเกลียดกัน ชาติที่สองอาจเบาลง คือ ฆ่าเพราะจำเป็น (เช่น เป็นเพชฌฆาต) ชาติต่อมาอาจฆ่าเพราะไม่เจตนา ชาติต่อไปอาจฆ่าเพราะเป็นอาชีพสุจริต (เช่น คนฆ่าหมู) และชาติต่อไปอาจฆ่าเพราะช่วยชีวิต (เช่น เป็นหมอพยายามช่วยชีวิตแต่สุดความสามารถ ช่วยไม่ได้) ซ้ำๆ อย่างนี้เป็นต้น เป็นร้อยๆ ชาติ เหมือนคลื่นน้ำ ระลอกแรกจะแรง แต่จะต้องมีอีกหลายระลอกกว่าจะหมดลง แต่จะจางลงไปเรื่อยๆ การที่เราจะรับวิบากกรรมใดๆ ก็ตาม จะต้องทำกรรมซ้ำรอยเกวียนเก่าก่อน เช่น เคยฆ่าคนตายมา ชาตินี้ต้องมารับกรรมที่เคยฆ่าคน เราก็จะต้องมีการฆ่าอะไรสักอย่างก่อน เช่น เผลอฆ่ามด ฆ่ายุง อย่างนี้ กรรมซ้ำรอยวิบากก็จะเคลื่อนทันที ถ้าเรามีศีลบารมีแข็งแกร่งมาก ก็จะสามารถหลีกเลี่ยงกรรมได้ในชาตินั้น หากเจ้ากรรมนายเวรไม่คลายอาฆาตเรา ทำเราไม่ได้ เพราะเราไม่ซ้ำรอยกรรมเก่า เขาก็จะตามเราไปทวงในชาติต่อไปจนกว่าจะหนำใจ ถ้าเราเคยเกิดในชาติที่มีธรรมะ เราเลี่ยงได้ แต่บางชาติเราเกิดมาไม่พบธรรมะ ก็อาจก่อกรรมซ้ำรอยและต้องรับวิบากในที่สุด

๔) กฎแห่งความเป็นเอกเทศ

ความเป็นเอกเทศของกรรมคือ แม้ว่าเราจะก่อกรรมไว้กับใครก็ตาม แล้วใครคนนั้นไม่อาจมากระทำกรรมสนองกลับเราได้ เราก็ยังต้องรับกรรมนั้นๆ อยู่ดีจากผู้อื่น เช่น หากเราเคยทำบุญไว้กับพระอรหันต์ เมื่อพระอรหันต์นิพพานแล้ว จะไม่เกิดอีก ท่านจะมาทำดีสนองกลับเราไม่ได้ เรามีเอกเทศจากพระอรหันต์รูปนั้น ที่จะรับกรรมดี รับผลบุญจากผู้อื่นได้ นี่คือ กฎแห่งความเป็นเอกเทศของกรรม ไม่จำเป็นว่าจะต้องให้เจ้ากรรมนายเวรมารับหรือสนองผลกรรมต่อกันเสมอไป ยกเว้น บุคคลนั้นได้ผูกจิตไว้ ก็จะต้องมาเป็น “ตัวกระทำ” หรือ เจ้ากรรมนายเวร คอยคุมกระบวนการกรรมนั้นๆ จนกว่าจะครบกระบวนการ เช่น ถ้านาย ก ทำบุญแล้วอธิษฐานไว้ว่าขอผลบุญนี้จงเป็นไปเพื่อได้เป็นคู่กับนาง ข ก็จะต้องตามนาง ข ไปเป็นคู่กัน หนีไม่ได้ เปลี่ยนไมได้ เพราะจิตผูกไว้ แต่ถ้าไม่อธิษฐานอย่างนั้น ก็ไม่ต้องไปเกิดตามกัน เป็นอิสระต่อกัน ต่างคนต่างก็รับผลบุญที่ตนทำนั้นแยกส่วนกันไป หรือการอาฆาตกัน เช่น นาย ก ถูกนาย ข ฆ่า จึงอาฆาตนาย ข ไว้ อย่างนี้ ก็จะต้องตามมาฆ่ากันในฐานะเจ้ากรรมนายเวร ถ้านาย ก ไม่อาฆาตนาย ข นาย ก ก็ไม่ต้องตามมาเกิดเพื่อชำระกรรม ผู้อื่นที่มีกรรมต้องกระทำการฆ่า จะเข้ามาฆ่าแทนเอง

๕) กฎแห่งการพัวพัน

กรรมที่ทำร่วมกันสามารถพัวพันกันได้ด้วยการที่จิตยึดมั่นถือมั่นระหว่างทำกรรมร่วมกัน เช่น ชาวบ้านร้อยคนศรัทธา พระ ก จึงร่วมกันสร้างวัดขึ้นร่วมกัน อย่างนี้ เป็นกรรมพัวพัน ส่งผลให้ทั้งหมดต้องไปเกิดเสวยบุญร่วมกันได้ เช่น เกิดมาเป็นมนุษย์มีงานทำได้อยู่ในแผนกเดียวกัน มีพระ ก เป็นเจ้านาย เสวยบุญชั่วระยะหนึ่ง จนหมดบุญกรรมต่อกันแล้ว ต่างก็จะแยกย้ายกันไป นี่เป็นเพราะจิตได้ยึดมั่นถือมั่นกันไว้ด้วยพลังศรัทธา จึงได้เกิดมาเป็นเจ้านาย ลูกน้องกัน แต่ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่นกันด้วยศรัทธาแล้ว ก็จะเป็นเอกเทศกันไป ต่างไปเสวยบุญของใครของมัน แม้จะคล้ายกันก็ตาม เช่น เป็นพนักงานในสาขาอาชีพเดียวกันแต่อยู่ในบริษัทคนละบริษัทก็ได้ จะเห็นได้ว่า กรรมทุกกรรมนั้น ไม่จำเป็นต้องอาศัยผู้ที่เราเคยก่อกรรมร่วมกันมา มาสานกรรมร่วมต่อกันอีกก็ได้ ต่างเป็นเอกเทศต่อกันที่จะรับกรรมกันไป ยกเว้นว่าได้ผูกพัน ผูกมัด ศรัทธาร่วมกันไว้ จึงจะพัวพันกันไปหลายชาติ ในศาสนาพราหมณ์สอนให้ศรัทธาตรงต่อเทพเจ้าให้เหนียวแน่น เพื่อการเวียนว่ายตายเกิดจะได้ไม่ห่างหายหลงแตกแยกกลุ่มกันไป ก็จะสามารถช่วยเหลือกันได้ต่อไป แต่คนที่ศรัทธาผิดคนก็จะหลงนาน กว่าจะเลิกศรัทธาคนผิด มาตรงทางได้ ก็ต้องเกิดมากหลายชาติ คนที่ศรัทธามั่นตรงก็จะพัวพันกรรมดีช่วยเหลือกันไปตามกฎแห่งการพัวพัน การศรัทธากันนี้ จะเริ่มจากแค่ศรัทธาธรรมดา จนถึงขั้นปรารถนานิพพานในศาสนาของผู้นำของตนทีเดียว เมื่อถึงขั้นนี้แล้ว ผู้นำต้องช่วยผู้อื่นให้นิพพานเท่านั้นจึงพ้นจากกันได้

๖) กฎแห่งอโหสิกรรม

บุคคลที่กระทำกรรมต่อกันจะหลุดพ้นจากกรรมที่พัวพันกันได้ด้วยการอโหสิกรรมต่อกัน แต่เมื่ออโหสิกรรมต่อกันแล้ว ใช่ว่าไม่ต้องรับกรรม ต่างคนต่างต้องได้รับกรรมที่ตนก่อตัวใครตัวมันเป็นเอกเทศ แต่เขาจะไม่ก่อกรรมซ้ำรอยเกวียนอีกแล้ว ยกตัวอย่างเช่น นาย ก กับนาย ข ฆ่ากันมา ต่อมาทั้งคู่อโหสิกรรมต่อกัน ทั้งคู่ไม่ต้องเกิดมาฆ่ากันไปมาอีกแล้ว แต่ทั้งคู่ยังต้องรับผลกรรมที่เคยฆ่ากัน ผู้อื่นมาฆ่าเขาทั้งสองแทน เมื่อเขาอโหสิกรรมแล้วไม่อยากฆ่าใครอีก ไม่ฆ่าเขาตอบ ก็จะรับกรรมหลายชาติ จนเบาบางไปเรื่อยๆ จนหมดในที่สุด นี่คือ จุดจบของกรรมอย่างแท้จริง โดยไม่ต้องมีกรรมนี้อีกด้วยอโหสิกรรม

๗) กฎแห่งนิพพานกรรม

กรรมบางอย่างจะหลุดพ้นไปได้ด้วย “นิพพาน” เท่านั้น เช่น กรรมที่เกิดจากการปรารถนานิพพาน เช่น การปรารถนานิพพานแบบพระพุทธเจ้า, แบบพระปัจเจกพุทธเจ้า หรือการขอเป็นพระอรหันตสาวกของผู้หนึ่งผู้ใด กรรมดีหรือชั่วก็ตามที่ทำด้วยความปรารถนานี้ ไม่อาจหลุดพ้นกันได้ ไม่อาจตัดขาดกันได้ด้วยอโหสิกรรม ต้องนิพพานจากกันเท่านั้น

๘) กฎแห่งการลากรรม

กรรมบางอย่างหมดได้ด้วยการ “ลากรรม” เช่น การอธิษฐานลาพุทธภูมิ เช่น เทวดาผู้น้อยได้เห็นพระพุทธเจ้าก็อยากเป็นพระพุทธเจ้าบ้าง จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานปรารถนาพุทธภูมิ จะเป็นอย่างพระพุทธเจ้าไว้ โดยไม่ได้ทำบุญอะไรเลยในขณะอธิษฐานนั้น แบบนี้ คือ “ความหลง” ไม่รู้กำลังตน ไม่อาจตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้ สุดท้ายต้องทำการ “ลาพุทธภูมิ” หรือ “ลากรรม” นั้นๆ ก็จะหลุดพ้นกรรมที่เกิดจากการอธิษฐานโดยไม่ได้ก่อกรรมหนักไว้ได้ สำหรับท่านที่อธิษฐานพร้อมก่อกรรมหนักไว้ ไม่สามารถลากรรมได้ด้วยวิธีนี้ การ “ลาพุทธภูมิ” จะไม่สามารถทำได้ แต่หากเพียรพยายามลาพุทธภูมิหลายชาติ แข่งกันกรรมหนักที่ต้องซ้ำรอยกรรมรอยเกวียนหลายชาติเหมือนกัน เมื่อรอยกรรมที่ลาพุทธภูมิมากกว่าเลยรอยกรรมที่ปรารถนาพุทธภูมิแล้ว ก็สามารถลาได้ และบรรลุเป็นพระยูไลที่มีกายและบารมีเฉกเช่นพระพุทธเจ้าได้แต่จะไม่ตรัสรู้บนโลกมนุษย์ ดังนั้น ผู้ที่เคยอธิษฐานไว้แต่ไม่มีกรรมหนักรองรับ เพียงแค่ “การลากรรม” ก็พ้น

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
...รู้จักทำ รู้จักคิด รู้ด้วยจิต รู้ด้วยศรัทธา...
..................ศรัทธาธรรม..................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2009, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เฮ้อ...เกิดมามีกรรม ชีวิตนี้มีความสุขจนเหลือล้น
โชคดีมากเริ่มแรกผมมีภรรยาแปดคน เธอทั้งแปดสมัครสมานสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ผมรักเธอทั้งแปดเป็นที่สุด โชคดีมาก ๆ ที่มีเธอทั้งแปดคอยเคียงข้าง ไปไหนไปด้วยกันเสมอ ยามกินยามนอนเธอเอาอกเอาใจไม่ยอมห่าง แต่ละนางก็ดีแสนดี เสาะหาภรรยาใหม่ ๆ มาเพิ่มให้ผมอยู่เสมอ ๆ บัดนี้ผมมีภรรยารวมแล้วมากกว่า 60 นางไว้คลอเคลียไม่ยอมห่าง อยู่เป็นสุขทุกค่ำเช้า ไร้กังวลใด ๆ มากล้ำกราย


เป็นสุขจริง ๆ ๆ กรรมของคนมีภรรยามากก็เป็นสุขอย่างนี้นี่เอง




กิเลสเครื่องกังวลใดมีอยู่ในกาลก่อน
เธอจงยังกิเลสเครื่องกังวลนั้น
ให้เหือดแห้งหายไป
กิเลสเครื่องกังวลใด
จงอย่ามีแก่เธอในภายหลัง
ถ้าเธอจักไม่ยึดถือขันธ์ในท่ามกลาง
ก็จักเป็นมุนีผู้สงบระงับแล้วเที่ยวไป....ดังนี้



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2009, 11:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 14:32
โพสต์: 874

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ อนุโมทนาบุญด้วยคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ต.ค. 2009, 04:39
โพสต์: 28

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาค่ะ สาธุ
ทำไมมีภรรยาเยอะจัง พามาแนะนำหน่อยจิ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2009, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 15:54
โพสต์: 49

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เราจะทำดีทุกวัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 12:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 15:28
โพสต์: 307

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ
:b16: :b16: :b16:

.....................................................
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร