วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 05:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


:b8: ถาม รู้สึกไม่สบายใจ
เพราะหน้าที่การงานซึ่งทำอยู่เหมือนต้องคอยจับจ้องข้อผิดพลาดของผู้อื่น
จะถือเป็นกรรมว่าด้วยการเพ่งโทษหรือไม่? มีวิบากอย่างไร?


:b44: ตอบ ปัญญาทางโลกแบบที่ต้องคอยสังเกตสังกา
หรือตรวจสอบการกระทำของผู้อื่นนั้น มีหลายแบบครับ
ลองดูแล้วกันว่าของคุณเข้าข่ายแบบใด


๑) การตรวจสอบแบบที่มีเจตนาป้องกัน
หรือระงับยับยั้งความเสื่อมเสียของตัวเขาเอง
หรือลดความเสียหายของส่วนรวม
โดยมีสติ มีเหตุผล ปราศอคติชอบชังเป็นส่วนตัว

อย่างนี้บางทีเมื่อต้องตักเตือนก็อาจทำให้เกิดเวรต่อผู้เจ็บใจก็จริง
เพราะคนเราไม่ชอบถูกใครว่า
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีการรายงานหรือบันทึกความประพฤติที่ผิดพลาดเอาไว้
ก็จะเป็นเหมือนการไปสร้างบาดแผลไว้กลางใจคนที่โดน


อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้มีหน้าที่ตรวจสอบในแนวทางนี้ตายไป
ก็จะไม่ไปอบายเพราะกรรมที่ต้องตรวจสอบผู้อื่นโดยสุจริต
และแม้เกิดใหม่ก็จะไม่ไปอยู่ในบ้านหรือที่ทำงานที่ราวีกันอย่างไร้เหตุผล
ภัยเวรที่อาจมีบ้างก็จะมาในรูปของการเจรจาแก้ปัญหากันด้วยสันติวิธี มีเหตุผล
ถ้าเจอคู่เวรแบบที่ต้องพบกันประจำก็มักเป็นประเภทมีทิฐิมานะน้อย
ไม่เอาชนะกันด้วยวิธีสกปรก
(ใช่จะไม่มีสิทธิ์เจอคนประเภทพยายามเอาชนะด้วยวิธีสกปรกเสียเลย
เพียงแต่จะไม่ใช่คู่กัดถาวร ไม่ต้องทนทู่ซี้อยู่กับเขาเป็นปีๆ)


๒) การตรวจสอบแบบที่มีเจตนาหาจุดอ่อนของคู่แข่ง
เพื่อนำมาสร้างอาวุธทำลายล้างกัน

กรรมข้อนี้นับเป็นการก่อเวรอย่างชัดเจน เหมือนเกมที่ต้องเอาชนะกัน
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์
บุคคลละความชนะและความแพ้เสียแล้ว จึงสงบระงับ นอนเป็นสุข
คนที่ต้องทำงานหรือทำกิจกรรมแบบจ้องชิงชัยหักล้างกัน
ย่อมทราบผลกรรมอันเป็น ปัจจุบันได้อยู่แล้ว



หากการเอาชนะเป็นประเภทคอขาดบาดตาย
จัดเป็นกรรมที่ยืนพื้นอยู่บนโทสะ
สังเกตง่ายๆว่าถ้าแพ้จะโกรธฉุนเฉียว
ถ้าชนะจะสะใจสมน้ำหน้าคู่แข่ง
เมื่อละจากโลกนี้อาจได้ไปอบาย
เพราะอบายเป็นสถานที่รองรับกรรมซึ่งยืนอยู่บนพื้นกิเลส
(คือราคะ โทสะ โมหะ) แต่ถ้ามีกรรมดีอื่นอุ้มไว้ก็อาจไม่ตกต่ำลงถึงอบาย
ทว่าถึงคราวกลับมาเป็นมนุษย์อีกก็จะเข้ามาอยู่ในวังวนภัยเวรวงจรเดิมๆ
มีแพ้มีชนะ มีการก่อเวร มีการนอนอมทุกข์
และมักเจอะเจอคนใกล้ชิดที่ชวนให้ระหองระแหงง่าย
ต่างฝ่ายต่างชอบเอาชนะ แม้จะเป็นพ่อแม่ลูกกันแท้ๆก็ตาม
ประเภทขิงก็ราข่าก็แรง เมื่อทำงานก็มักเจอแต่ภาระประเภท
ต้องเอาหอกดาบจริงๆไปทิ่มแทง หรือเอาขวานในปากไปจามแก้วหูผู้อื่น


๓) การตรวจสอบแบบที่มีอคติ มีความเกลียดชัง

มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกประมาณว่าเพื่อด่าเอามัน
พูดง่ายๆว่าแกพูดหรือทำอะไรมาฉันด่าแหลก จับผิดลูกเดียว
เที่ยวไปโพนทะนาให้เจ็บใจโดยไม่มีความปรารถนาดีต่อกันอยู่เลย


ตายจากชาติปัจจุบันมีสิทธิ์ไปอบายมากกว่าข้ออื่น
เพราะกรรมยืนพื้นอยู่บนโทสะและโมหะอย่างแรง
คือคนเราต้องมีโทสะมากถึงเกลียดกันได้ขนาดทำอะไรมาด่าหมด
และจะต้องมีโมหะ (หลงสำคัญผิด) ห่อหุ้มจิตมืดมิดยิ่ง
ถึงไม่เห็นความดีของเขาเลย คล้ายม้าโดนครอบให้เห็นลู่วิ่งทางเดียว
พุ่งไปในทางเดียว ไม่มีมุมมองอื่นที่แตกต่างไปจากนั้น


หากมีสิทธิ์เกิดเป็นมนุษย์ใหม่ในคราวหน้า
ก็อาจระเห็จไปอยู่ในบ้านที่ญาติๆจ้องแต่จะหาแพะรับบาป
จะรู้เห็นเรื่องการโยนโทษให้คนอื่นมาตั้งแต่เด็กๆ โยนผิดได้เป็นโยน
ไม่เผื่อใจไว้เห็นความผิดตัวเองบ้างเลย
พอโตขึ้นก็จะมองโลกในแง่ร้ายเสียมาก
ความดีชัดๆของคนอื่นมองไม่ค่อยเห็น
เห็นแต่ความเลวแม้เพียงเล็กน้อยของเขา


โลกนี้ไม่มีคนปราศจากอคติ แต่ก็มีการฝึกฝนอบรม
ขัดเกลานิสัยให้อคติน้อยลงได้
ปัจจุบันชั้นเรียนประถมของบางโรงเรียน
ก็สอนให้หาที่ติของเพื่อนๆ รวมทั้งฝึกให้ยอมรับเสียงติติงจากคนอื่น
นี่ก็เป็นแนวทางลดความลำเอียงลงได้มาก



ในทางพุทธมีข้อธรรมประการหนึ่งคือในพรหมวิหาร ๔
คือพระพุทธเจ้าสอนให้มองผู้อื่นอย่างมีเมตตา
เมื่อมีเมตตาก็ยากขึ้นที่เราจะอยากก่อเวรแม้ด้วยความคิดกับเขา
แต่เมื่อต้องทำงานร่วมกัน จำเป็นต้องตักเตือน
หรือบันทึกความผิดของผู้อื่นตามหน้าที่ ก็จะมีความเป็นกลาง เป็นอุเบกขา
คือไม่ได้ตักเตือนหรือบันทึกความผิดของเขาด้วยอคติหรือมีเจตนาประทุษร้าย
ทว่าเห็นกรรมหรือข้อบกพร่องของเขาตามจริง
และทราบว่าที่ต้องเตือนหรือบันทึกความผิดไว้นั้น
จัดเป็นการที่เขาต้องเสวยผลที่เขาทำมาเอง
อย่างนี้ได้ชื่อว่าเราสานเวรไว้น้อยที่สุดหรือไม่มีเวรเลย (ถ้าเขาไม่ผูกใจเจ็บ)


อยู่ในโลกมนุษย์นั้น เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่กระทบกระทั่งกัน
แม้แต่ในวินัยของพระ ยังมีบัญญัติว่า
ถ้าเห็นพระด้วยกันทำผิดแล้วไม่ตักเตือนจัดเป็นอาบัติเลยทีเดียว
สิ่งที่ควรคำนึงก็มีแต่ว่าจะคิดอย่างไร
ตั้งจิตไว้อย่างไรจึงตักเตือนหรือบันทึกความผิดผู้อื่น
โดยปราศจากการครอบงำของอคติและความชิงชังเท่านั้น



คัดลอกบางส่วนจาก...เตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว เล่ม ๑ ดังตฤณ
dungtrin.com


:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2010, 11:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรม ใด ๆ ในโลกนี้ มันเลี่ยงยาก

มีศีล ๕ เป็นปกติ เป็นเหตุใหญ่
เป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่การ เวียนว่ายในวัฏฏสงสาร
อย่างองอาจ แกล้วกล้า ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ....

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2010, 13:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 32 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร