วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 09:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2011, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2011, 18:27
โพสต์: 7

โฮมเพจ: praw-loveliverpool.hi5.com
แนวปฏิบัติ: พุทโธ
งานอดิเรก: วาดรูป อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: พราว
อายุ: 11
ที่อยู่: 74/202 ถ.รามคำแหง 180

 ข้อมูลส่วนตัว


คือ เราได้ไปกระทู้หนึ่งเกี่ยวกับการโกหก เราก็มานึกว่าเราเคยโกหกแม่หลายครั้งมาก
เรื่องหนึ่งคือ แม่จะให้นมเราไปกินที่รร.ทุกวัน เราไม่ชอบกินนมมาก เพราะส่วนสูงดีอยู่แล้ว บางวันลืมกินนมก้อจะแอบทิ้งขยะบนรถรร. พอถึงบ้านแม่ก็จะถามกินนมยัง เราก้อตอบว่ากินแล้วค่ะ มันเป็นการโกหกแบบเอาตัวรอด มันบาปใช่มั้ยคะ แล้วจะมีผลกรรม อย่างไรคะ ช่วยออกความเห็นหน่อยนะคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2011, 11:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เสียดายนมจัง หลานเอ้ย :b22: :b12:
ต้องไม่โกหกระครับ เพราะถ้าคิดริเริ่ม ที่จะโกหก
หรือโกหกไปแล้ว มันก็ผิดศีลข้อ ๔ แน่ๆ ล่ะ
และนานๆ ไปเข้า มันจะติด เป็นนิสัยเคยชิน และคิดการโกหก
ใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ เห็นเป็นเรื่องปกติธรรมดาไป
อนาคตต่อไป เมื่อมีลูกมีหลาน เราก็จะถูกเขาโกหกบ้าง
จะเป็นวิบากกรรม มีผลแบบนี้แน่ๆ
หยุดโกหกเสียแต่วันนี้ เพื่ออนาคตที่ดีในภาคหน้า :b12:
เจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2011, 13:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2010, 14:41
โพสต์: 154

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เลิกโกหกเถอะนะคะน้อง เดี๋ยวจะกลายเป็นความเคยชินเป็นนิสัยที่ไม่ดี
นำความเดือดร้อนมาให้แก่ตัวเรา
บอกคุณแม่ไปตรงๆนะคะ ท่านก็อาจจะบ่นหน่อย ก็ต้องทนฟัง
แต่พี่คิดว่าน้องคงจะสบายใจไม่คิดมากเหมือนตอนนี้แน่นอนค่ะ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2011, 00:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




a2.gif
a2.gif [ 30.85 KiB | เปิดดู 6228 ครั้ง ]
:b44: เบญจศีล สิกขาบทที่ ๔

มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการพูดเท็จ

ศีลข้อนี้บัญญัติขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันการทำลายประโยชน์ของกันและกัน ด้วยการพูด คือ ตัดประโยชน์ทางวาจา และรักษาวาจาของตนให้เป็นที่เชื่อถือของคนอื่น เมื่อเพ่งความเจริญเป็นใหญ่ พึงทราบในสิกขาบทนี้ ท่านห้ามเป็นข้อใหญ่ ๓ ประการ คือ

๑. มุสาวาท ๒. อนุโลมุสา ๓. ปฏิสสวะ

การกระทำตามข้อ ๑ ศีลขาด กระทำตามข้อ ๒ และ ๓ ศีลด่างพร้อย

มุสาวาท

การพูดเท็จ คือ การโกหก หมายถึง การแสดงออกด้วยเจตนาบิดเบือนความจริง ให้คนหลงเชื่อแสดงออกได้ ๒ ทาง คือ

๑. ทางวาจา ได้แก่ พูดโกหกชัด ๆ
๒. ทางกาย ทำเท็จทางกาย เช่น เขียนจดหมาย โกหก ทำรายงานเท็จ ทำหลักฐานปลอม หรือ มีใครถามข้อความที่ควรรับ ก็สั่งศีรษะแสดงปฏิเสธ

เพื่อความสะดวกในการเรียน และการปฏิบัติ ท่านจำแนกกิริยาที่เป็นมุสาวาทไว้ ๗ อย่าง คือ

๑. ปด
๒. ทดสาบาน
๓. ทำเล่ห์กระเท่ห์
๔. มารยา
๕. ทำเลศ
๖. เสริมความ
๗. อำความ

๑. ปด ได้แก่ พูดมุสาชัดๆ ไม่อาศัย ไม่อาศัยมูลเหตุเลย เช่น เห็นว่าไม่เห็น รู้ว่าไม่รู้ โดยโวหารต่างกัน ตามความมุ่งหมายของผู้พูด ท่านแสดงไว้เป็นตัวอย่าง ๔ ข้อ คือ

ก. พูดเพื่อจะให้เขาแตกกัน เรียกว่า ส่อเสียด
ข. พูดเพื่อจะโกงท่าน เรียกว่า หลอก
ค. พูดเพื่อจะยกย่อง ท่านเรียกว่า ยก
ง. พูดไว้แล้วไม่รับ เรียกว่า กลับคำ

๒. ทนสาบาน ได้แก่ กิริยาที่เลี่ยงสัตย์ว่า จะพูดตามจริง แต่ใจไม่ตั้งจริงตามนั้น มีพูดปดเป็นลำดับ บริวาร เช่น เป็น
พยานทนสาบานไว้ แล้วเบิกความเท็จ เป็นต้น

๓. ทำเล่ห์กระเท่ห์ ได้แก่ กิริยาที่อวดอ้างความศักดิ์สิทธิ์อันไม่มีจริง เช่น อวดรู้วิชาคงกระพัน ฟันไม่เข้ายิงไม่ออก เป็นต้น ซึ่งเป็นอุบายหาลาภ

๔. มารยา ได้แก่ กิริยาที่แสดงให้เขาเห็นผิดจากที่เป็นจริง หรือลวงให้เข้าใจผิด เช่น เป็นคนทุศีล ก็ทำท่าทางให้เขาเห็นว่ามีศีล เจ็บน้อก็ครวญครางมาก

๕. ทำเลศ ได้แก่ พูดมุสาเล่นสำนวน เช่น เห็นคนวิ่งหนีเขามา เมื่อผู้ไล่มาถาม ไม่อยากจะให้เขาจับคนนั้นได้ แต่ไม่ต้องการให้ใครตราหน้าว่าเป็นคนพูดมุสา จึงย้ายไปยืนที่อื่น แล้วพูดว่าตั้งแต่มายืนที่นี่ ยังไม่เคยเห็นใครวิ่งมาเลย

๖. เสริมความ ได้แก่ พูดมุสาอาศัยมูลเดิม แต่ตัดความที่ไม่ประสงค์จะให้รู้ออกเสีย เรื่องมากพูดให้เหลือน้อย ปิดความบกพร่องของตน

๗. อำความ ตรงกันข้ามกับเสริมมความ เสริมความ ทำเรื่องเล็กให้ใหญ่ ส่วนอำความ คือทำ เรื่องใหญ่ให้เล็ก ยกตัวอย่าง ข้าราชการที่ไปปกครองท้องถิ่นห่างไกล จะต้องปกครอง ประชาชนให้สงบสุข ครั้นมีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้น เช่นมีโจรร้ายปล้นสะดม จำต้องรายงาน ต่อผู้ใหญ่ ถ้าจะรายงานตามเป็นจริง ก็กลัวจะถูกเพ่งเล็ง ว่าเป็น ความบกพร่องต่อหน้าที่จึง ทำข้อความในรายงานให้เบาลง ให้ผู้อ่านเห็นว่าเป็นเรื่อง เพียงเล็กน้อย แทนที่จะเห็นว่า เป็น การปล้นสะดม ก็เข้าใจเพียงเป็นการชิงทรัพย์ ดังนี้เป็นต้น

โทษของมุสาวาท

บุคคลพูดมุสา มีโทษทั้งทางโลกและทางธรรม ทางโลกปรับโทษทางกฎหมายที่หักประโยชน์ของผู้อื่น ทางธรรมปรับโทษอย่างหนักถึงปาราชิก อย่างเบาปรับเสมอปาจิตตีย์ กล่าวโดยความเป็นกรรมมีโทษหนักเป็นชั้นกัน โดย วัตถุ เจตนา ประโยค

ก. โดยวัตถุ ถ้าข้อความนั้นเป็นเรื่องหักล้างประโยชน์ เช่น ทนสาบาน เบิกพยานเท็จ กล่าวใส่ความท่าน หลอกลวงเอาทรัพย์ท่าน มีโทษหนัก หรือกล่าวมุสาแก่ผู้มีคุณ เช่น พ่อ แม่ ครู อาจารย์ เจ้านาย และท่านผู้มีศีลธรรม มีโทษหนัก

ข. โดยเจตนา ถ้าผู้พูดคิดให้ร้ายท่าน เช่น กล่าวใส่ความท่าน มีโทษหนัก

ค. โดยประโยค ถ้าผู้พูดพยายามทำให้เขาเชื่อสำเร็จ มีโทษหนัก

อนุโลมมุสา

อนุโลมมุสา คือ เรื่องที่พูดนั้นไม่จริง แต่ผู้พูดมิได้มุ่งจะให้ผู้ฟังหลงเชื่อ แยกประเภท ๒ อย่าง คือ

๑. เสียดแทง กิริยาที่ว่าให้ผู้อื่นให้เจ็บใจ อ้างวัตถุไม่เป็นจริง กล่าวยกให้สูงกว่าพื้นเพเดิมของเขา เรียกว่า ประชด กล่าวทำให้คนเป็นคนเลวกว่าพื้นเพเดิมของเขา เรียกว่า ด่า

๒. สับปลับ ได้แก่ พูดปดด้วยคะนองวาจา

โทษของอนุโลมมุสา

อนุโลมมุสา มีโทษทั้งทางโลกและทางธรรม ทางโลกจัดว่าเป็นกิริยาที่หยาบช้าเลวทราม ไม่สมควรประพฤติ ทางธรรม จัดว่าเป็นบาป เมื่อกล่าวโดยความเป็นกรรม ก็มีโทษหนักเป็นชั้นกัน โดยวัตถุ เจตนา ประโยค

ก. โดยวัตถุ ถ้าเป็นข้อความเป็นเรื่องประทุษร้ายท่าน เช่น พูดเสียดแทง มีโทษหนัก และกว่าแก่ผู้มีคุณ ก็มีโทษหนัก

ข. โดยเจตนา ถ้าพูดใส่ร้ายผู้อื่น เช่น หวังจะให้ท่านเจ็บใจ และกล่าวเสียดแทง มีโทษหนัก

ค. โดยประโยค ถ้าผู้พูดพยายามทำความเสียหายแก่ท่านสำเร็จ เช่น ยุให้ท่านแตกกัน และเขาก็แตกกัน มีโทษหนัก

ปฏิสสวะ

ปฏิสสวะ ได้แก่ เดิมรับคำของคนอื่นด้วยเจตนาบริสุทธิ์ แต่ภายหลังกลับใจ ไม่ทำตามที่รับนั้น แม้ไม่เป็นการพูดเท็จโดยตรง แต่ก็เป็นการทำลายประโยชน์ของคนอื่นได้ มีประเภทเป็น ๓ อย่าง คือ

๑. ผิดสัญญา ได้แก่ สองฝ่ายทำสัญญากันว่าจะทำอย่างนั้นๆ แต่ภายหลังไม่ทำอย่างนั้น เช่น ทำสัญญาจ้าง เป็นต้น

๒. เสียสัตย์ ได้แก่ ให้สัตย์แก่ท่านฝ่ายเดียวว่าตนจะทำ หรือไม่ทำเช่นนั้นๆ แต่ภายหลังไม่ทำตามนั้น เช่น ข้าราชการ ผู้ถวายสัตย์สาบานแล้ว ไม่ทำตามนั้น

๓. คืนคำ ได้แก่ รับว่าจะทำสิ่งนั้นๆ แล้วภายหลังไม่ทำ เช่น รับว่าให้สิ่งนั้นๆ แล้วไม่ให้

โทษของปฏิสสวะ คือ ทำให้เสียชื่อเสียง ตามฐานที่ไม่ตั้งอยู่ในสัตย์

ถ้อยคำที่ไม่เป็นมุสา

มีคำพูดอีกประเภทหนึ่ง ที่ผู้พูดๆ ไม่จริง แต่ก็ไม่ประสงค์ให้ผู้ฟังเชื่อ เรียกว่า ยถาสัญญา คือ พูดตามความสำคัญ ผู้พูดไม่ผิดศีล แยกประเภทเป็น ๔ อย่าง คือ

๑. โวหาร
๒. นิยาย
๓. สำคัญผิด
๔. พลั้ง

๑. โวหาร ได้แก่ ถ้อยคำที่ใช้เป็นธรรมเนียม เพื่อความไพเราะทางภาษา เช่น เราเขียนจดหมายลงท้ายด้วยความนับถืออย่างสูง ทั้งที่เราไม่ได้นับถือเขาเลย

๒. นิยาย ได้แก่ เรื่องเปรียบเทียบ เพื่อได้ใจความเป็นสุภาษิต เช่น ผูกนิยายขึ้น เช่น ลิเก ละคร

๓. สำคัญผิด ได้แก่ ผู้พูดเข้าใจผิด พูดไปตามความเข้าใจของตนเอง เช่น จำวันผิด ใครถามก็ตอบตามนั้น

๔. พลั้ง ได้แก่ ผู้พูดตั้งใจว่าจะพูดอย่างหนึ่ง แต่ปากไพล่ไปพูดอย่างหนึ่ง

หลักวินิจฉัยมุสาวาท

มุสาวาทมีองค์ ๔

๑. อภูตวัตถุ เรื่องที่พูดเป็นเรื่องไม่จริง
๒. วิวาทนจิตตัง จงใจจะพูดให้ผิด
๓. ตัชโช วายาโม พยายามพูดคำนั้นออกไป
๔. ปะรัสสะ ตะทัตถวิชานะนัง คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น


------------------------------------------------------------
คัดลอกจาก คู่มือธรรมศึกษาชั้นตรี
จัดพิมพ์โดย วัดท่ากระชับ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

ขออนุโมทนาผู้พิมพ์เผยแพร่คุณ mayrin>>จากลานธรรม<<


------------------------------------------------------------
โ ด ย : พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์
ตอนนี้ จะเป็นหลักเกณฑ์ทางวิชาการ ว่าด้วยเรื่องการตัดสิน ว่าอย่างไร จึงจะเข้าข่ายที่จะ ทำให้ศีลข้อมุสาขาด ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านให้หลักตัดสินไว้ ๔ ข้อคือ

๑. เรื่องไม่จริง
๒. จิตคิดจะพูดให้ผิด
๓. พยายามพูดออกไป
๔. คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น

หมายความว่า ศีลข้อที่ ๔ นี้จะขาด ต่อเมื่อการพูด หรือการทำเท็จ ครบองค์ทั้ง ๔ ดังต่อไปนี้

องค์ที่ ๑ ที่ว่าเรื่องไม่จริง คือเรื่องที่พูดนั้นไม่มีจริง ไม่เป็นจริง เช่นฝนไม่ตกเลย แต่เราบอก ว่าฝนตก อย่างนี้เรียกว่าเรื่องไม่มีจริง หรือฝนตก แต่เราพูดว่าฝนไม่ตกอย่างนี้ก็ เรียกว่า เรื่อง ไม่มีจริง เพราะเรื่องฝนไม่ตก ไม่มีจริง เรื่องที่จริงนั้นก็คือเรื่องฝนตก

องค์ที่ ๒ จิตคิดจะพูดให้ผิด คือมีเจตนาจะพูดบิดเบือนความจริงเสีย ถ้าพูดโดยไม่ เจตนาจะ พูดให้ผิด ศีลไม่ขาด

องค์ที่ ๓ พยายามพูดออกไป คือได้กระทำการเท็จด้วยเจตนานั้น ไม่ใช่เพียงแต่คิดเฉยๆ

องค์ที่ ๔ คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น เป็นข้อวินิจฉัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง คำว่า "ผู้อื่น"ในที่นี้ หมายถึง คนที่เราต้องการจะโกหก ถ้าผู้อื่นเข้าใจคำที่เราพูดนั้น เป็นศีลขาด ส่วนที่ว่า เขาจะ เชื่อหรือไม่นั้น ไม่ถือเป็นสำคัญ ถ้าพูดไปแล้ว เขาไม่เข้าใจ เช่น เราโกหกเป็นภาษาไทย ให้ ฝรั่งฟังเขาไม่รู้ภาษา ศีลไม่ขาด


:b41: กราบอนุโมทนาบุญกับผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่านนะเจ้าค่ะ :b8: :b8: :b8: :b20:

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2011, 03:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว
โกหกเขา
สักวันหนึ่งเราก็โดนคนอื่นโกหก
กงกรรมกงเกวียน

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2011, 13:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue

ความทุกข์และความเดือดร้อนทั้งหลาย เกิดจากการ "กระทำ"
ของเราเองทั้งสิ้น ดังนั้นพระพุทธองค์จึงสอนให้ละเหตุแห่งความชั่ว
ทั้งปวงเสีย.....ผู้ใดละได้ผู้นั้นย่อมเป็นสุข ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมนั้นเอง....
ดังนั้นการสั่งสมการพูดปดจนเป็นนิสัย ...สิ่งที่จะได้รับตามมาก็คือจะกลายเป็น
คนชอบพูดปดเป็นอาจิณ จากเรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องใหญ่ขึ้น จากพูดปดก็จะพัฒนา
ไปผิดศีลข้ออื่นหรือเกล้าทำผิดกฏหมาย เพราะทำเหตุไม่ถูกไว้ ผลที่ได้ก็ไม่ถูกตาม
เมื่อผลไม่ถูกก็ต้องพยายามรักษาผลนั้นไว้ให้คงสภาพ ก็จะยิ่งทำผิดเรื่องอื่น ๆ ไปเรื่อย
เขาถึงบอกว่าอย่าสั่งสมความชั่วแม้น้อยนิดเพราะมันจะพัฒนาตัวมันเองไปอย่างไม่หยุดยั้ง
ถ้าเราไม่รู้เท่าทัน...

ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม :b8:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 31 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron