วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 85 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2014, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
ข้อความบางตอนจากหนังสือ คำบรรยายปฏิบัติธรรมะตามพระไตรปิฎก
อาจารย์พรชัย เจริญดำรงเกียรติ

สัตว์ทั้งหลายผจญอยู่ในภัย คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย แต่ภัยอย่างแท้จริงคือ อภิสังขาร
กิเลสและกรรม การจำนงมุ่งหวัง ด้วยการเข้าไปติด แล้วมีการแสวงหา มีความติดมีความพัวพันต่อสิ่งนั้นๆ
การมีกิเลสคือการเข้าไปติดด้วยจิตอันเศร้าหมอง แล้วมีความพยายามกระทำในสิ่งนั้นเป็นการก่อวิบาก คือมีผล เมื่อมีผลวิบากนั้นเป็นสังขาร คือการแปรเปลี่ยนไป ดำรงอยู่ในสิ่งนั้นไม่ได้ แต่บุคคลนั้นก็ยังคงมีความหวัง มีความไขว่คว้าสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ แล้วสิ่งต่างๆ ก็แปรเปลี่ยนไป จึงมีกิเลสครอบงำ ณ ภายในจิต อย่างโวหารพระพุทธเจ้าตรัสว่า

"รูปใดรูปหนึ่ง ที่บุคคลเข้าไปหวัง เข้าไปยินดี ที่จะไม่เกิดความเศร้าโศกเพราะรูปนั้นแปรเปลี่ยนนั้น ไม่มี"
อย่างคล้ายๆ บัญญัติรูปที่ว่าร่างกายตน ร่างกายเรานี้เราดีใจไหม ยินดีที่มีกาย? เห็นเงาหน้าในกระจกใช่ไหม ดีใจไหม? เริ่มเบื่อหรือยัง? อยากได้กายใหม่หรือยัง?

การที่รู้สึกว่าเป็นเรา นี่คืออุปาทาน เพราะความมุ่งหวัง เพราะการเข้าไปติด คล้ายๆ กับว่าอยากมี ไม่อยากสูญเสีย ก็เข้าไปติด เข้าไปจำในสิ่งนั้น และยึคในสิ่งนั้น ว่าเป็นของเรา แต่สิ่งใดก็ตามที่ตนเข้าไปติด ตนจะต้องพลัดพรากจากสิ่งนั้นทั้งหมด เพียงแต่เร็วหรือช้าก็ตาม ดังนั้น โลภะนำหน้า จะมีโทสะเป็นผล ความดีใจนำหน้า จะมีความเสียใจเป็นผล ทุกอย่างไป

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2014, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

กามสุคติภูมิ
http://www.thepathofpurity.com/%E0%B8%9 ... %E0%B9%95/
กามสุคติภูมิ มีความหมายว่า ไปเกิดที่ดี แต่ยังข้องอยู่ในกามคุณ ทั้ง ๕ คือ ยังติดใจในรูป เสียง กลิ่น รส และการสัมผัสถูกต้อง
กามสุคติภูมิ มี ๗ ภูมิ คือ มนุษย์ ๑ ภูมิ เทวดา ๖ ภูมิ

มนุษยภูมิ

มนุษยภูมิ คือ ที่เกิด ที่อยู่ ที่อาศัยของมนุษย์ มีอยู่ ๔ ทวีป คือ
๑. บุพพวิเทหทวีป อยู่ทางทิศ ตะวันออก ของภูเขาสิเนรุ
๒. อปรโคยานทวีป อยู่ทางทิศ ตะวันตก ของภูเขาสิเนรุ
๓. ชมพูทวีป อยู่ทางทิศ ใต้ ของภูเขาสิเนรุ
๔. อุตตรกุรุทวีป อยู่ทางทิศ เหนือ ของภูเขาสิเนรุ

มนุษย์ กล่าวโดยมุขยนัย นัยโดยตรงแล้ว ก็ได้แก่ คนที่อยู่ในชมพูทวีป คือ ที่ที่เราท่านอยู่กัน ณ บัดนี้ แต่ถ้ากล่าวโดย สทิสูปจารนัย นัยโดยอ้อมแล้ว ก็ใช้ เรียกคนที่อยู่ในทวีปทั้ง ๓ ด้วย เพราะคนในทวีปทั้ง ๓ นั้น มีรูปพรรณสัณฐาน เหมือน ๆ กันกับคนที่อยู่ในชมพูทวีปนี้


คำว่า มนุษย์ ซึ่งหมายถึง คน หรือ เหล่าคน นั้น เขียนตามแบบบาลี เป็น มนุสฺส มาจาก มน (ใจ) +
อุสฺส (สูง) จึงรวมความหมายว่า ผู้มีใจสูง คือ รู้ผิดชอบ ชั่วดี รู้บาปรู้บุญ รู้จักมีเมตตากรุณา เป็นต้น
ความหมายของมนุษย์มีแสดงไว้หลายนัย คือ
๑. มนุษย์มีใจรุ่งเรืองและกล้าแข็ง
๒. มนุษย์เข้าใจในสิ่งที่เป็นเหตุอันควรและไม่ควร
๓. มนุษย์เข้าใจในสิ่งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์
๔. มนุษย์เข้าใจในสิ่งที่เป็นกุสลและอกุสล
๕. มนุษย์เป็นลูกของเจ้ามนุ
ที่ว่า มนุษย์เป็นลูกของเจ้ามนุ นั้น มีความหมายดังนี้ คือ ในสมัยต้นกัปป์ ประชาชนได้เลือกพระโพธิสัตว์ ซึ่งขณะนั้นเป็นมนุษย์มีชื่อว่า มนุ ให้ขึ้นครองราชเป็นพระเจ้าแผ่นดินปกครองประเทศ และถวายพระนามว่า พระเจ้ามหาสัมมตะ พระเจ้ามหาสัมมตะทรงวางระเบียบแบบแผนกฏข้อบังคับอย่างเที่ยงธรรม เพื่อให้ประชาชนประพฤติปฏิบัติตามประชาชนต่างก็มิได้ฝ่าฝืนเลย คงกระทำตามนั้นทุกประการ เหมือนหนึ่งว่า บุตรที่ดีทั้งหลายได้ประพฤติตามโอวาทของบิดา เหตุนี้จึงเรียกว่า มนุสส หมายถึงว่า เป็นลูกของพระเจ้ามนุ

:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

:b47: เป็นมนุษย์ หรือ เป็นคน
ท่านพุทธทาส ภิกขุ

เป็นมนุษย์ เป็นได้ เพราะใจสูง
เหมือนหนึ่งยูง มีดี ที่แววขน
ถ้าใจต่ำ เป็นได้ แต่เพียงคน
ย่อมเสียที ที่ตน ได้เกิดมา
ใจสะอาด ใจสว่าง ใจสงบ
ถ้ามีครบ ควรเรียก มนุสสา
เพราะทำถูก พูดถูก ทุกเวลา
เปรมปรีดา คืนวัน ศุขสันติ์จริง
ใจสกปรก มืดมัว และร้อนเร่า
ใครมีเข้า ควรเรียก ว่าผีสิง
เพราะพูดผิด ทำผิด จิตประวิง
แต่ในสิ่ง นำตัว กลั้วอบาย
คิดดูเถิด ถ้าใคร ไม่อยากตก
จงรีบยก ใจตน รีบขวนขวาย
ให้ใจสูง เสียได้ ก่อนตัวตาย
ก็สมหมาย ที่เกิดมา อย่าเชือน เอยฯ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2014, 14:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
:b44: :b44: :b44:

http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=77
    อรรถกถา เอกกนิบาตชาดก วรุณวรรค
    ๗. มหาสุบินชาดก ว่าด้วยมหาสุบิน


    พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภมหาสุบิน ๑๖ ข้อ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ลาวูนิ สีทนฺติ ดังนี้.
    ดังได้สดับมา วันหนึ่ง พระเจ้าโกศลมหาราชเสด็จเข้าสู่นิทรารมย์ในราตรีกาล ในปัจฉิมยาม ทอดพระเนตรเห็นพระสุบินนิมิตรอันใหญ่หลวง ๑๖ ประการ ทรงตระหนกพระทัยตื่นพระบรรทม ทรงพระดำริว่า เพราะเราเห็นสุบินนิมิตรเหล่านี้ จักมีอะไรแก่เราบ้างหนอ เป็นผู้อันความสะดุ้งต่อมรณภัยคุกคามแล้ว ทรงประทับเหนือพระแท่นที่ไสยาสน์นั่นแล จนล่วงราตรีกาล
    ครั้นรุ่งเช้า พวกพราหมณ์ปุโรหิตเข้าเฝ้ากราบทูลถามว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์บรรทมเป็นสุขหรือ พระเจ้าข้า?
    รับสั่งตอบว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลาย เราจักมีความสุขได้อย่างไร เมื่อคืนนี้เวลาใกล้รุ่ง เราเห็นสุบินนิมิตร ๑๖ ข้อ ตั้งแต่เห็นสุบินนิมิตรเหล่านั้นแล้ว เราถึงความหวาดกลัวเป็นกำลัง
    เมื่อพวกปุโรหิตกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า โปรดตรัสเล่าเถิดพระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์สดับแล้ว จักทำนายถวายได้ จึงตรัสเล่า พระสุบินที่ทรงเห็นแล้วให้พวกพราหมณ์ฟัง แล้วตรัสว่า เพราะเหตุเห็นสุบินเหล่านี้ จักมีอะไรแก่เราบ้าง?
    พวกพราหมณ์พากันสลัดมือ. เมื่อรับสั่งถามว่า เพราะเหตุไร พวกท่านจึงพากันสลัดมือเล่า? พวกพราหมณ์จึงพากันกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระสุบินทั้งหลายร้ายกาจนัก
    รับสั่งถามว่า พระสุบินเหล่านั้นจักมีผลเป็นประการใด? พวกพราหมณ์ จึงพากันกราบทูลว่า จักมีอันตรายใน ๓ อย่างเหล่านี้ คือ อันตรายแก่ราชสมบัติ ๑ อันตรายคือโรคจะเบียดเบียน ๑ อันตรายแก่พระชนม์ ๑ อย่างใดอย่างหนึ่ง.
    รับสั่งถามว่า พอจะแก้ไขได้ หรือแก้ไขไม่ได้.
    พราหมณ์ทั้งหลายกราบทูลว่า ขอเดชะ พระสุบินเหล่านี้หมดทางแก้ไขเป็นแน่แท้ เพราะร้ายแรงยิ่งนัก แต่พวกข้าพระองค์ทั้งหลายจักกระทำให้พอแก้ไขได้ เมื่อพวกหม่อมฉันไม่สามารถเพื่อจะแก้ไขพระสุบินเหล่านี้ได้แล้ว ขึ้นชื่อว่าความเป็นผู้สำเร็จการศึกษา จักอำนวยประโยชน์อะไร?
    รับสั่งถามว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลายจักกระทำอย่างไรเล่าถึงจักให้คืนคลายได้ พวกพราหมณ์พากันกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พวกข้าพระองค์ต้องบูชายัญด้วยวัตถุอย่างละ ๔ ทุกอย่าง พระเจ้าข้า.
    พระราชาทรงสะดุ้งพระทัยตรัสว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราขอมอบชีวิตไว้ในมือของพวกท่านเถิด พวกท่านรีบกระทำความสวัสดีแก่เราเร็วๆ เถิด.
    พวกพราหมณ์พากันร่าเริงยินดีว่า พวกเราต้องได้ทรัพย์มาก จักต้องได้ของเคี้ยวกินมากๆ แล้วพากันกราบทูลปลอบพระราชาว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า อย่าได้ทรงวิตกเลยพระเจ้าข้า แล้วพากันออกจากราชนิเวศน์ จัดทำหลุมบูชายัญที่นอกพระนคร จับฝูงสัตว์ ๔ เท้ามากเหล่า มัดเข้าไว้ที่หลักยัญ รวบรวมฝูงนกเข้าไว้เสร็จแล้ว เที่ยวกันขวักไขว่ไปมา กล่าวว่า เราควรจะได้สิ่งนี้ๆ.
    ครั้งนั้นแล พระนางมัลลิกาเทวีทรงทราบเหตุนั้น ก็เข้าเฝ้าพระราชา กราบทูลถามว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พวกพราหมณ์พากันเที่ยวขวักไขว่ไปมา มีเรื่องอะไรหรือเพคะ? พระราชาตรัสว่า แน่ะนางผู้เจริญ เธอมัวแต่สุขสบายจึงไม่รู้ว่า อสรพิษมันสัญจรอยู่ใกล้ๆ หูของพวกเรา. พระนางทูลถามว่า ข้าแต่มหาราช เรื่องนั้นคืออะไรเพคะ? พระราชารับสั่งว่า เราฝันร้ายถึงปานนี้ พวกพราหมณ์พากันทำนายว่า อันตรายใน ๓ อย่างไม่อย่างใดอย่างหนึ่งก็จักปรากฏ เพื่อบำบัดอันตรายเหล่านั้น ต้องบูชายัญ จึงต้องสัญจรไปมาอยู่บ่อยๆ
    พระนางมัลลิกากราบทูลถามว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ก็ผู้ที่เป็นยอดพราหมณ์ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ทูลกระหม่อมได้ทูลถามถึงการแก้ไขพระสุบินแล้วหรือเพคะ? ทรงรับสั่งถามว่า นางผู้เจริญ พระผู้เป็นยอดพราหมณ์ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกนั้น เป็นใครกันเล่า?
    พระนางกราบทูลว่า ทูลกระหม่อมไม่ทรงรู้จัก มหาพราหมณ์โคดมผู้ตถาคต หมดกิเลสบริสุทธิ์แล้ว เป็นสัพพัญญู เป็นบุคคลผู้เลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ดอกหรือเพคะ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นคงทรงทราบเหตุในพระสุบินแน่นอน ขอเชิญทูลกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินไปกราบทูลถามเถิด เพคะ. พระราชาทรงรับสั่งว่า ดีละ เทวีแล้วเสด็จไปยังพระวิหาร ถวายบังคมพระบรมศาสดา แล้วประทับนั่งอยู่.
    พระศาสดาทรงเปล่งพระสุรเสียงอันไพเราะ ตรัสถามว่า มหาบพิตร เหตุไรเล่า บพิตรจึงเสด็จมา ดุจมีราชกิจด่วน. พระราชากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อใกล้รุ่ง หม่อมฉันเห็นมหาสุบิน ๑๖ ข้อ สะดุ้งกลัว บอกเล่าแก่พวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์ทำนายว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระสุบินร้ายแรงนัก เพื่อระงับสุบินเหล่านั้นต้องบูชายัญ ด้วยยัญญวัตถุ อย่างละ ๔ ครบทุกอย่าง แล้วพากันเตรียมบูชายัญ ฝูงสัตว์เป็นอันมากถูกมรณภัยคุกคาม ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เป็นบุคคลผู้เลิศในโลก ทั้งเทวโลก เญยยธรรมที่เข้าไปกำหนดอดีต อนาคต ปัจจุบัน ที่ยังไม่มาถึงซึ่งคัลลองในญาณมุขของพระองค์นั้นมิได้มีเลย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดทำนายผลแห่งสุบินของหม่อมฉันเหล่านั้นเถิด พระเจ้าข้า.
    พระศาสดาตรัสว่า ขอถวายพระพร เป็นเช่นนั้นทีเดียวมหาบพิตร ในโลกทั้งเทวโลก เว้นตถาคตเสียแล้ว ผู้อื่นที่จะได้ชื่อว่าสามารถรู้เหตุ หรือผลของพระสุบินเหล่านี้ ไม่มีเลย ตถาคตจักทำนายให้มหาบพิตร ก็แต่ว่ามหาบพิตรจงตรัสบอกพระสุบิน ตามทำนองที่ทรงเห็นนั้นเถิด.
    พระราชาทรงรับพระพุทธดำรัสว่า ดีละ พระพุทธเจ้าข้า เริ่มกราบทูลพระสุบิน ตามทำนองที่ทรงเห็นอย่างถี่ถ้วน โดยทรงวางหัวข้อไว้ดังนี้ ว่า
    โคอุสุภราชทั้งหลาย ๑ ต้นไม้ทั้งหลาย ๑ แม่โคทั้งหลาย ๑ โคทั้งหลาย ๑ ม้า ๑ ถาดทอง ๑ สุนัขจิ้งจอก ๑ หม้อน้ำ ๑ สระโบกขรณี ๑ ข้าวไม่สุก ๑ แก่นจันทน์ ๑ น้ำเต้าจม ๑ ศิลาลอย ๑ เขียดขยอกงู ๑ หงส์ทองล้อมกา ๑ เสือกลัวแพะ ๑
    แล้วตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นสุบินข้อ ๑ อย่างนี้ก่อนว่า
    โคผู้ สีเหมือน ดอกอัญชัน ๔ ตัว ต่างคิดว่าจักชนกัน พากันวิ่งมาสู่ท้องพระลานหลวงจากทิศทั้ง ๔ เมื่อมหาชนประชุมกันคิดว่า พวกเราจักดูโคชนกัน ต่างแสดงท่าทางจะชนกัน บรรลือเสียงคำรามลั่นแล้วไม่ชนกัน ต่างถอยออกไป
    หม่อมฉันเห็นสุบินนี้เป็นปฐม อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลของสุบินข้อนี้ จักไม่มีในชั่วรัชกาลของมหาบพิตร ในชั่วศาสนาของตถาคต แต่ในอนาคต เมื่อโลกหมุนไปถึงจุดเสื่อม ในรัชกาลของพระราชาผู้กำพร้า ผู้มิได้ครองราชย์โดยธรรม และในกาลของหมู่มนุษย์ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อกุศลธรรมลดน้อยถอยลง อกุศลธรรมหนาแน่นขึ้น ในกาลที่โลกเสื่อม ฝนจักแล้ง และตีนเมฆจักขาด ข้าวกล้าจักแห้ง ทุพภิกขภัยจักเกิด เมฆทั้งหลายตั้งขึ้นจากทิศทั้ง ๔ เหมือนจะย้อยเม็ด พอพวกผู้หญิงรีบเก็บข้าวเปลือกเป็นต้น ที่เอาออกผึ่งแดดไว้เข้าภายในร่ม เพราะกลัวจะเปียก เมื่อพวกผู้ชายต่างถือจอบถือตะกร้าพากันออกไป เพื่อจะก่อคันกั้นน้ำ ก็ตั้งเค้าจะตก ครางกระหึ่ม ฟ้าแลบ แล้วก็ไม่ตกเลย ลอยหายไป เหมือนโคตั้งท่าจะชนกันแล้วไม่ชนกันฉะนั้น นี้เป็นผลของสุบินนั้น แต่ไม่มีอันตรายไรๆ แก่มหาบพิตร เพราะเรื่องนั้นเป็นปัจจัย มหาบพิตรเห็นสุบินนี้ ปรารภอนาคต ฝ่ายพวกพราหมณ์อาศัยการเลี้ยงชีวิตของตน จึงทำนายดังนี้.
    พระบรมศาสดา ครั้นตรัสบอกผลแห่งสุบินด้วยประการฉะนี้แล้ว ตรัสว่า จงตรัสเล่าสุบินข้อที่ ๒ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นสุบินข้อ ๒ อย่างนี้ว่า
    ต้นไม้เล็กๆ และกอไผ่ แทรกแผ่นดินพอถึงคืบหนึ่งบ้าง ศอกหนึ่งบ้าง เพียงแค่นี้ก็ผลิดอกออกผลไปตามๆ กัน
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๒ ที่หม่อมฉันได้เห็น อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแม้ของสุบินข้อนี้ ก็จักมีในกาลที่โลกเสื่อม เวลามนุษย์มีอายุน้อย ด้วยว่าสัตว์ทั้งหลายในอนาคตจักมีราคะกล้า กุมารีมีวัยยังไม่สมบูรณ์ จักสมสู่กะบุรุษอื่น เป็นหญิงมีระดู มีครรภ์ พากันจำเริญด้วยบุตรและธิดา ความที่กุมารีเหล่านั้น มีระดูเปรียบเหมือนต้นไม้เล็กๆ มีดอก กุมารีเหล่านั้นจำเริญด้วยบุตรและธิดา ก็เหมือนต้นไม้เล็กๆ มีผล ภัยแม้มีนิมิตรนี้เป็นเหตุ ไม่มีแก่มหาบพิตรดอก.
    จงตรัสเล่าข้อที่ ๓ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นแม่โคใหญ่ๆ พากันดื่มนมของฝูงลูกโค ที่เพิ่งเกิดในวันนั้น.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๓ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินนั้น พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร แม้ผลของสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคตเหมือนกัน จักมีผลในเวลาที่มนุษย์ทั้งหลาย พากันละทิ้งเชษฐาปจายิกกรรม คือความเป็นผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ เพราะในอนาคต ฝูงสัตว์จักมิได้ตั้งไว้ซึ่งความยำเกรงในมารดาบิดา หรือในแม่ยาย พ่อตา ต่างแสวงหาทรัพย์สินด้วยตนเองทั้งนั้น เมื่อปรารถนาจะให้ของกินของใช้แก่คนแก่ๆ ก็ให้ ไม่ปรารถนาจะให้ก็ไม่ให้ คนแก่ๆ พากันหมดที่พึ่ง หาเลี้ยงตนเองก็ไม่ได้ ต้องง้อพวกเด็กๆ เลี้ยงชีพ เป็นเหมือนแม่โคใหญ่ๆ พากันดื่มนมลูกโคที่เกิดในวันนั้น แม้ภัยมีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ไม่มีแก่มหาบพิตร.
    ตรัสเล่า สุบินข้อที่ ๔ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นฝูงชนไม่เทียมโคใหญ่ๆ ที่เคยพาแอกไป ซึ่งสมบูรณ์ด้วยร่างกายและเรี่ยวแรง เข้าในระเบียบแห่งแอก กลับไปเทียมโครุ่นๆ ที่กำลังฝึกเข้าในแอก โครุ่นๆ เหล่านั้นไม่อาจพาแอกไปได้ ก็พากันสลัดแอกยืนเฉยเสีย เกวียนทั้งหลายก็ไปไม่ได้.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๔ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลของสุบินนี้พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลของสุบินแม้ข้อนี้ ก็จักมีในรัชสมัยของพระราชา ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในภายหน้า พระราชาผู้มีบุญน้อย มิได้ดำรงในธรรม จักไม่พระราชทานยศแก่มหาอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิตฉลาดในประเพณี สามารถที่จะยังสรรพกิจให้ลุล่วงไปได้ จักไม่ทรงแต่งตั้งอำมาตย์ผู้ใหญ่ ผู้เป็นบัณฑิตฉลาดในโวหารไว้ในที่วินิจฉัยคดีในโรงศาล
    แต่พระราชทานยศแก่คนหนุ่มๆ ตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้วนั้น แต่งตั้งบุคคลเช่นนั้นไว้ในตำแหน่งผู้วินิจฉัยอรรถคดี คนหนุ่มพวกนั้นไม่รู้ทั่วถึงราชกิจ และการอันควรไม่ควร ไม่อาจดำรงยศนั้นไว้ได้ ทั้งไม่อาจจัดทำราชกิจให้ลุล่วงไปได้ เมื่อไม่อาจก็จักพากันทอดทิ้งธุระการงานเสีย
    ฝ่ายอำมาตย์ที่เป็นบัณฑิตเป็นผู้ใหญ่ เมื่อไม่ได้ยศ ถึงจะสามารถที่จะให้กิจทั้งหลายลุล่วงไป ก็จักพากันกล่าวว่า พวกเราต้องการอะไรด้วยเรื่องเหล่านี้ พวกเรากลายเป็นคนภายนอกไปแล้ว พวกเด็กหนุ่มเขาเป็นพวกอยู่วงใน เขาคงรู้ดี แล้วไม่รักษาการงานที่เกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ความเสื่อมเท่านั้นจักมีแก่พระราชาเหล่านั้น ด้วยประการทั้งปวง เป็นเสมือนเวลาที่คนจับโครุ่นๆ กำลังฝึก ยังไม่สามารถจะพาแอกไปได้ เทียมไว้ในแอก และเป็นเวลาที่ไม่จับเอาโคใหญ่ๆ ผู้เคยพาแอกไปได้ มาเทียมแอก ฉะนั้น.
    แม้ภัยมีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตร
    เชิญตรัสบอกสุบินที่ ๕ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นม้าตัวหนึ่ง มีปากสองข้าง ฝูงชนพากันให้หญ้าที่ปากทั้งสองข้างของมัน มันเคี้ยวกินด้วยปากทั้งสองข้าง.
    นี้เป็นสุบินที่ ๕ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลของสุบินแม้นี้ ก็จักมีในรัชกาลของพระราชาผู้ไม่ดำรงในธรรม ในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในกาลภายหน้า พวกพระราชาโง่เขลา ไม่ดำรงธรรม จักทรงแต่งตั้งมนุษย์โลเล ไม่ประกอบด้วยธรรม ไว้ในตำแหน่งวินิจฉัยคดี คนเหล่านั้นเป็นพาล ไม่เอื้อเฟื้อในบาปบุญ พากันนั่งในโรงศาล เมื่อให้คำตัดสิน ก็จักรับสินบนจากมือของคู่คดีทั้งสองฝ่ายมากิน เป็นเหมือนม้ากินหญ้าด้วยปากทั้งสอง ฉะนั้น.
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตรดอก.
    เชิญตรัสบอกสุบินที่ ๖ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นมหาชนขัดถูถาดทองราคาตั้งแสนกระษาปณ์ แล้วพากันนำไปให้หมาจิ้งจอกแก่ตัวหนึ่ง ด้วยคำว่า เชิญท่านเยี่ยวใส่ในถาดทองนี้เถิด หมาจิ้งจอกแก่นั้น ก็ถ่ายปัสสาวะใส่ในถาดทองนั้น.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๖ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินข้อนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลของสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในกาลภายหน้า พวกพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ทรงรังเกียจกุลบุตรผู้สมบูรณ์ด้วยชาติเสีย แล้วไม่พระราชทานยศให้ จักพระราชทานให้แก่คนที่ไม่มีสกุลเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สกุลใหญ่ๆ จักพากันตกยาก สกุลเลวๆ จักพากันเป็นใหญ่ ก็เมื่อพวกมีสกุลเหล่านั้น ไม่อาจเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ จักคิดว่า เราต้องอาศัยพวกเหล่านี้เลี้ยงชีวิตสืบไป แล้วก็พากันยกธิดาให้แก่ผู้ไม่มีสกุล การอยู่ร่วมกับคนพวกไม่มีสกุลของกุลธิดาเหล่านั้น ก็จักเป็นเช่นเดียวกับถาดทองรองเยี่ยวหมาจิ้งจอก
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสบอกสุบินที่ ๗ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นอย่างนี้ บุรุษผู้หนึ่งฟั่นเชือก แล้วหย่อนไปที่ใกล้เท้า แม่หมาจิ้งจอกโซตัวหนึ่งนอนอยู่ใต้ตั่งที่บุรุษนั่ง กัดกินเชือกนั้น เขาไม่ได้รู้เลยทีเดียว.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๗ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินข้อนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแม้ของสุบินข้อนี้ ก็จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในกาลภายหน้า หมู่สตรีจักพากันเหลาะแหละโลเลในบุรุษ ลุ่มหลงในสุรา เอาแต่แต่งตัว ชอบเที่ยวเตร่ตามถนนหนทาง เห็นแก่อามิส เป็นหญิงทุศีล มีความประพฤติชั่วช้า พวกนางจักกลุ้มรุมกันแย่งเอาทรัพย์ ที่สามีทำงาน มีกสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้น สั่งสมไว้ด้วยยาก ลำบากลำเค็ญ เอาไปซื้อสุราดื่มกับชายชู้ ซื้อดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้มาแต่งตน คอยสอดส่องมองหาชู้ โดยส่วนบนของบ้านที่มิดชิดบ้าง โดยที่ซึ่งลับตาบ้าง แม้ข้าวเปลือกที่เตรียมไว้สำหรับหว่าน ในวันรุ่งขึ้น ก็เอาไปซ้อม จัดทำเป็นข้าวต้ม ข้าวสวย และของเคี้ยวเป็นต้น มากินกัน เป็นเหมือนนางหมาจิ้งจอกโซ ที่นอนใต้ตั่งคอยกัดกินเชือกที่เขาฟั่นแล้ว หย่อนลงไว้ใกล้ๆ เท้าฉะนั้น
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสเล่าสุบินข้อที่ ๘ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นตุ่มน้ำเต็มเปี่ยมลูกใหญ่ใบหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ประตูวัง ล้อมด้วยตุ่มเป็นอันมาก วรรณะทั้ง ๔ เอาหม้อตักน้ำมาจากทิศทั้ง ๔ และทิศน้อยทั้งหลาย เอามาใส่ลงตุ่มที่เต็มแล้วนั่นแหละ น้ำก็เต็มแล้วเต็มอีก จนไหลล้นไป แม้คนเหล่านั้น ก็ยังเทน้ำลงในตุ่มนั้นอยู่เรื่อยๆ แต่ไม่มีผู้ที่จะเหลียวแลดูตุ่มที่ว่างๆ เลย.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๘ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้ จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในกาลภายหน้า โลกจักเสื่อม แว่นแคว้นจักหมดความหมาย พระราชาทั้งหลายจักตกยาก เป็นกำพร้า องค์ใดเป็นใหญ่ องค์นั้นจักมีพระราชทรัพย์เพียงแสนกระษาปณ์ในท้องพระคลัง พระราชาเหล่านั้นตกยากถึงอย่างนี้ จักเกณฑ์ให้ชาวชนบททุกคนทำการเพาะปลูกให้แก่ตน พวกมนุษย์ถูกเบียดเบียน ต้องละทิ้งการงานของตน พากันเพาะปลูกปุพพันพืช(๑) แลอปรันพืช(๒) ให้แก่พระราชาทั้งหลายเท่านั้น ต้องช่วยกันเฝ้าช่วยกันเก็บเกี่ยว ช่วยกันนวด ช่วยกันขน ช่วยกันเคี่ยวน้ำอ้อยเป็นต้น และช่วยกันทำสวนดอกไม้ สวนผลไม้ พากันขนปุพพันพืชเป็นต้นที่เสร็จแล้ว ในที่นั้นๆ มาบรรจุไว้ในยุ้งฉางของพระราชาเท่านั้น แม้ผู้ที่จะมองดูยุ้งฉางเปล่าๆ ในเรือนทั้งหลายของตนจักไม่มีเลย จักเป็นเช่นกับการเติมน้ำใส่ตุ่มที่เต็มแล้ว ไม่เหลียวแลตุ่มเปล่าๆ บ้างเลย นั่นแล.
    (๑) อาหารมีข้าวสาลีเป็นต้น
    (๒) ของว่างหลังอาหาร มีถั่ว งา เป็นต้น

    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ จะยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๙ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นโบกขรณีสระหนึ่ง ดารดาษไปด้วยปทุม ๕ สี ลึก มีท่าขึ้นลงรอบด้าน ฝูงสัตว์สองเท้าสี่เท้า พากันลงดื่มน้ำในสระนั้นโดยรอบ น้ำที่อยู่ในที่ลึก กลางสระนั้นขุ่นมัว ในที่ซึ่งสัตว์สองเท้าสี่เท้าพากันย่ำเหยียบ กลับใสสะอาดไม่ขุ่นมัว หม่อมฉันได้เห็นอย่างนี้.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๙ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้ จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในกาลภายหน้า พระราชาทั้งหลายจักไม่ตั้งอยู่ในธรรม ลุอคติด้วยอำนาจความพอใจเป็นต้น เสวยราชสมบัติ จักไม่ประทานการวินิจฉัยอรรถคดีโดยธรรม มีพระหฤทัยมุ่งแต่สินบน โลเลในทรัพย์ ขึ้นชื่อว่าคุณธรรมคือความอดทน ความเมตตา และความเอ็นดูของพระราชาเหล่านั้น จักไม่มีในหมู่ชาวแว่นแคว้น จักเป็นผู้กักขฬะ หยาบคาย คอยแต่เบียดเบียนหมู่มนุษย์ เหมือนหีบอ้อยด้วยหีบยนต์ จักกำหนดให้ส่วยต่างๆ บังเกิดขึ้น เก็บเอาทรัพย์
    พวกมนุษย์ถูกรีดส่วยอากรหนักเข้า ไม่สามารถจะให้อะไรๆ ได้ พากันทิ้งคามนิคมเป็นต้นเสีย อพยพไปสู่ปลายแดน ตั้งหลักฐาน ณ ที่นั้น ชนบทศูนย์กลางจักว่างเปล่า ชนบทชายแดนจักเป็นปึกแผ่นแน่นหนา เหมือนน้ำกลางสระโบกขรณีขุ่น น้ำที่ฝั่งรอบๆ ใส ฉันใด ก็ฉันนั้น.
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสเล่าพระสุบินข้อที่ ๑๐ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้เห็นข้าวสุก ที่คนหุงในหม้อใบเดียวกันแท้ๆ แต่หาสุกทั่วกันไม่ เป็นเหมือนผู้หุงตรวจดูแล้วว่าไม่สุก เลยแยกกันไว้เป็น ๓ อย่าง คือ ข้าวหนึ่งแฉะ ข้าวหนึ่งดิบ ข้าวหนึ่งสุกดี.
    นี้เป็นสุบินที่ ๑๐ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินข้อนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแม้ของสุบินข้อนี้ จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในกาลภายหน้า พระราชาทั้งหลายจักไม่ดำรงในธรรม เมื่อพระราชาเหล่านั้นไม่ดำรงในธรรมแล้ว ข้าราชการก็ดี พราหมณ์และคฤหบดีก็ดี ชาวนิคมชาวชนบทก็ดี รวมถึงมนุษย์ทั้งหมด นับแต่สมณะและพราหมณ์ จักพากันไม่ตั้งอยู่ในธรรม แม้เทวดาทั้งหลายก็จักไม่ทรงธรรม
    ในรัชกาลแห่งอธัมมิกราชทั้งหลาย ลมทั้งหลายจักพัดไม่สม่ำเสมอ พัดแรงจัด ทำให้วิมานในอากาศของเทวดาสั่นสะเทือน เมื่อวิมานเหล่านั้นถูกลมพัดสั่นสะเทือน ฝูงเทวดาก็พากันโกรธ แล้วจักไม่ให้ฝนตก ถึงจะตก ก็จะไม่ตกกระหน่ำทั่วแว่นแคว้น มิฉะนั้น จักไม่ตกให้เป็นอุปการะแก่การใด การหว่านในที่ทั้งปวงจักไม่ตกกระหน่ำทั่วถึง แม้ในชนบท แม้ในบ้าน แม้ในตระพังแห่งหนึ่ง แม้ในสระลูกหนึ่ง เหมือนกันกับในแคว้นฉะนั้น เมื่อตกตอนเหนือของตระพัง ก็จักไม่ตกในตอนใต้ เมื่อตกในตอนใต้ จักไม่ตกในตอนเหนือ ข้าวกล้าในตอนหนึ่งจักเสียเพราะฝนชุก เมื่อฝนไม่ตกในส่วนหนึ่ง ข้าวกล้าจักเหี่ยวแห้ง เมื่อฝนตกดีในส่วนหนึ่ง ข้าวกล้าจักสมบูรณ์
    ข้าวกล้าที่หว่านแล้วในขอบขัณฑสีมาของพระราชาพระองค์เดียวกัน จักเป็น ๓ สถาน ด้วยประการฉะนี้ เหมือนข้าวสุกในหม้อเดียว มีผลเป็น ๓ อย่าง ฉะนั้น.
    ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ จะยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๑ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นคนทั้งหลายเอาแก่นจันทน์มีราคาตั้งแสนกษาปณ์ ขายแลกกับเปรียงเน่า.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๑๑ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้เล่า พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร แม้ผลแห่งสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคต
    ในเมื่อศาสนาของตถาคตเสื่อมโทรมนั่นแล ด้วยว่า ในกาลภายหน้า พวกภิกษุอลัชชีเห็นแก่ปัจจัยจักมีมาก พวกเหล่านั้นจักพากันแสดงธรรมเทศนาที่ตถาคตกล่าวติเตียนความละโมบในปัจจัยไว้แก่ชนเหล่าอื่น เพราะเหตุแห่งปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น จักไม่สามารถแสดงให้พ้นจากปัจจัยทั้งหลาย แล้วตั้งอยู่ในฝ่ายธรรมนำสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ มุ่งตรงสู่พระนิพพาน
    ชนทั้งหลายก็จะฟังความสมบูรณ์แห่งบท และพยัญชนะ และสำเนียงอันไพเราะอย่างเดียวเท่านั้น แล้วจักถวายเอง และยังชนเหล่าอื่นให้ถวายซึ่งปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น อันมีค่ามาก
    ภิกษุทั้งหลายอีกบางพวก จักพากันนั่งในที่ต่างๆ มีท้องถนน สี่แยก และประตูวัง เป็นต้น แล้วแสดงธรรมแลกรูปิยะ มีเหรียญกษาปณ์ครึ่งกษาปณ์ เหรียญบาท เหรียญมาสกเป็นต้น โดยประการฉะนี้
    ก็เป็นเอาธรรมที่ตถาคตแสดงไว้ มีมูลค่าควรแก่พระนิพพาน ไปแสดงแลกปัจจัย ๔ และรูปิยะมีเหรียญกษาปณ์และเหรียญครึ่งกษาปณ์เป็นต้น จักเป็นเหมือนฝูงคนเอาแก่นจันทน์มีราคาตั้งแสน ไปขายแลกเปรียงเน่า ฉะนั้น.
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๒ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นกระโหลกน้ำเต้าจมน้ำได้ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคตกาล เมื่อโลกหมุนไปถึงจุดเสื่อมในรัชกาลของพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
    ด้วยว่า ในครั้งนั้น พระราชาทั้งหลายจักไม่พระราชทานยศแก่กุลบุตรผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ จักพระราชทานแก่ผู้ไม่มีสกุลเท่านั้น พวกนั้นจักเป็นใหญ่ อีกฝ่ายหนึ่งจักยากจน ถ้อยคำของพวกไม่มีสกุล ดุจกระโหลกน้ำเต้า ดูประหนึ่งหยั่งรากลงแน่นในที่เฉพาะพระพักตร์พระราชาก็ดี ที่ประตูวังก็ดี ที่ประชุมอำมาตย์ก็ดี ที่โรงศาลก็ดี จักเป็นคำไม่โยกโคลง มีหลักฐานแน่นหนาดี
    แม้ในสังฆสันนิบาต (ที่ประชุมสงฆ์) เล่า ในกิจกรรมที่สงฆ์พึงทำและคณะพึงทำก็ดี ทั้งในสถานที่ดำเนินอธิกรณ์เกี่ยวกับบาตร จีวร และบริเวณเป็นต้นก็ดี ถ้อยคำของคนชั่วทุศีลเท่านั้น จักเป็นคำนำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ มิใช่ถ้อยคำของภิกษุผู้ลัชชี เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จักเป็นเหมือนกาลเป็นที่จมลงแห่งกระโหลกน้ำเต้า แม้ด้วยประการทั้งปวง
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๓ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นศิลาแท่งทึบใหญ่ ขนาดเรือนยอดลอยน้ำเหมือนดังเรือ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินแม้นี้ ก็จักมีในกาลเช่นนั้นเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในครั้งนั้น พระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมทั้งหลาย จักพระราชทานยศแก่คนไม่มีสกุล พวกนั้นจักเป็นใหญ่ พวกมีสกุลจักตกยาก ใครๆ จักไม่ทำความเคารพในพวกมีสกุลนั้น จักกระทำความเคารพในพวกที่เป็นใหญ่ฝ่ายเดียว ถ้อยคำของกุลบุตรผู้ฉลาดในการวินิจฉัย ผู้หนักแน่น เช่นกับศิลาทึบ จักไม่หยั่งลง ดำรงมั่นในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระราชา หรือในที่ประชุมอำมาตย์ หรือในโรงศาล เมื่อพวกนั้นกำลังกล่าว พวกนอกนี้จักคอยเยาะเย้ยว่า พวกนี้พูดทำไม
    แม้ในที่ประชุมภิกษุ พวกภิกษุ ก็จักไม่เห็นภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ผู้ควรทำความเคารพว่า เป็นสำคัญ ในฐานะต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ทั้งถ้อยคำของภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่านั้น ก็จักไม่หนักแน่นมั่นคง จักเป็นเหมือนเวลาเป็นที่เลื่อนลอยแห่งศิลาทั้งหลายฉะนั้น.
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร
    เชิญตรัสเล่าพระสุบินข้อที่ ๑๔ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นฝูงเขียดตัวเล็กๆ ขนาดดอกมะซาง วิ่งไล่กวดงูเห่าตัวใหญ่ๆ กัดเนื้อขาดเหมือนตัดก้านบัว แล้วกลืนกิน.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๑๔ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแห่งแม้สุบินข้อนี้ ก็จักมีในอนาคต ในเมื่อโลกเสื่อมโทรมดุจกัน ด้วยว่า
    ในครั้งนั้น พวกมนุษย์จะมีราคะจริตแรงกล้าชาติชั่ว ปล่อยตัวปล่อยใจตามอำนาจของกิเลส จักต้องเป็นไปในอำนาจแห่งภรรยาเด็กๆ ของตน
    ผู้คนมีทาสและกรรมกรเป็นต้นก็ดี สัตว์พาหนะมีโคกระบือเป็นต้นก็ดี เงินทองก็ดี บรรดามีในเรือนทุกอย่าง จักต้องอยู่ในครอบครองของพวกนางทั้งนั้น
    เมื่อพวกสามีถามถึงเงินทองโน้นๆ ว่าอยู่ที่ไหน หรือถามถึงจำนวนสิ่งของว่ามีที่ไหนก็ดี
    พวกนางจักพากันตอบว่า มันจะอยู่ที่ไหนๆ ก็ช่างเถิด กงการอะไรที่ท่านจะตรวจตราเล่า ท่านเกิดอยากรู้สิ่งที่มีอยู่และไม่มีอยู่ในเรือนของเราละหรือ แล้วจักด่าด้วยประการต่างๆ ทิ่มตำเอาด้วยหอกคือปาก กดไว้ในอำนาจ ดังทาสและคนรับใช้ ดำรงความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ของตนไว้สืบไป
    เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จักเป็นเหมือน เวลาที่ฝูงเขียดขนาดดอกมะซาง พากันขยอกกินฝูงงูเห่าซึ่งมีพิษแล่นเร็ว ฉะนั้น.
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็จักไม่มีแก่มหาบพิตรดอก
    เชิญตรัสบอกนิมิตรที่ ๑๕ เถิด.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นฝูงพญาหงษ์ทองที่ได้นามว่าทอง เพราะมีขนเป็นสีทอง พากันแวดล้อมกาผู้ประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการ เที่ยวหากินตามบ้าน.
    อะไรเป็นผลแห่งพระสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคต ในรัชกาลของพระราชาผู้ทุรพลนั่นแหละ ด้วยว่า
    ในภายหน้า พระราชาทั้งหลายจักไม่ฉลาดในศิลปะ มีหัสดีศิลปะเป็นต้น ไม่แกล้วกล้าในการยุทธ ท้าวเธอจักไม่พระราชทาน ความเป็นใหญ่ให้แก่พวกกุลบุตรที่มีชาติเสมอกัน ผู้รังเกียจความวิบัติแห่งราชสมบัติของพระองค์อยู่ จักพระราชทานแก่พวกพนักงานเครื่องสรงและพวกกัลบกเป็นต้น ซึ่งอยู่ใกล้บาทมูลของพระองค์ พวกกุลบุตรผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ และโคตร เมื่อไม่ได้ที่พึ่งในราชสกุล ก็ไม่สามารถเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ จักพากันปรนนิบัติบำรุงฝูงชนที่ไม่มีสกุล มีชาติและโคตรทราม ผู้ดำรงอิสริยยศ
    จักเป็นเหมือนฝูงพญาหงษ์ทอง แวดล้อมเป็นบริวารกา ฉะนั้น.
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๖ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในกาลก่อนๆ เสือเหลืองพากันกัดกินฝูงแกะ แต่หม่อมฉันได้เห็นฝูงแกะพากันไล่กวดฝูงเสือเหลือง กัดกินอยู่มุ่มม่ำๆ ทีนั้น เสืออื่นๆ คือเสือดาว เสือโคร่ง เห็นฝูงแกะอยู่ห่างๆ ก็สะดุ้งกลัว ถึงความสยดสยอง พากันวิ่งหนีหลบเข้าพุ่มไม้และป่ารก ซุกซ่อนเพราะกลัวฝูงแกะ.
    หม่อมฉันได้เห็นอย่างนี้ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินแม้นี้ ก็จักมีในรัชกาลแห่งพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในครั้งนั้น พวกไม่มีสกุลจักเป็นราชวัลลภ เป็นใหญ่เป็นโต พวกคนมีสกุลจักอับเฉาตกยาก ราชวัลลภเหล่านั้นพากันยังพระราชาให้ทรงเชื่อถือถ้อยคำของตน มีกำลังในสถานที่ราชการ มีโรงศาลเป็นต้น ก็พากันรุกเอาที่ดินไร่นาเรือกสวนเป็นต้น อันตกทอดสืบมาของพวกมีสกุลทั้งหลายว่า ที่เหล่านี้เป็นของพวกเรา เมื่อพวกผู้มีสกุลเหล่านั้นโต้เถียงว่า ไม่ใช่ของพวกท่าน เป็นของพวกเรา แล้วพากันมาฟ้องร้องยังโรงศาลเป็นต้น พวกราชวัลลภก็พากันบอกให้เฆี่ยนตีด้วยหวายเป็นต้น จับคอไสออกไป พร้อมกับข่มขู่คุกคามว่า พ่อเจ้าไม่รู้ประมาณตน มาหาเรื่องกับพวกเรา เดี๋ยวจักไปทูลพระราชา ให้ลงพระราชอาญาต่างๆ มีตัดตีน ตัดมือ เป็นต้น
    พวกผู้มีสกุลกลัวเกรงพวกราชวัลลภ ต่างก็ยินยอมให้ที่ทางที่เป็นของตนว่า ที่ทางเหล่านี้ ถ้าเป็นของท่าน ก็เชิญครอบครองเถิด แล้วพากันกลับบ้านเรือนของตน นอนหวาดผวาไปตามๆ กัน
    แม้ภิกษุผู้ชั่วช้าทั้งหลายเล่า ก็จักพากันเบียดเบียนภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ตามชอบใจ พวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่านั้น ไม่ได้ที่พำนัก ก็พากันเข้าป่า แอบแฝงอยู่ในที่รกๆ
    ข้อที่กุลบุตรผู้มีชาติสกุลทั้งหลาย และภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักทั้งหลาย ถูกคนชาติชั่ว และถูกภิกษุผู้ลามกทั้งหลายเข้าไปประทุษร้ายอย่างนี้ จักเป็นเหมือนกาลที่พวกเสือดาว และเสือโคร่งทั้งหลาย พากันหลบหนีเพราะกลัวฝูงแกะ ฉะนั้น.
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร ด้วยสุบินนี้ที่มหาบพิตรเห็นแล้ว ปรารภอนาคตทั้งนั้น แต่พวกพราหมณ์มิได้ทำนายสุบินนั้น ด้วยความจงรักภักดีในพระองค์ โดยถูกต้องเท่าที่ถูกที่ควร ทำนายไปเพราะอาศัยการเลี้ยงชีพ เพราะเห็นแก่อามิสว่า พวกเราจักได้ทรัพย์กันมากๆ
    ครั้นทรงทำนายผลแห่งสุบินใหญ่ๆ ๑๖ ข้อ อย่างนี้แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่บพิตรได้เห็นสุบินเหล่านี้ แม้พระราชาทั้งหลายแต่ก่อนๆ ก็ได้ทรงเห็นแล้วเหมือนกัน แม้พวกพราหมณ์ก็ถือเอาสุบินเหล่านี้ นับเข้าในยอดยัญพิธีอย่างนี้เหมือนกัน ภายหลังอาศัยคำแนะนำที่พวกเป็นบัณฑิตพากันกราบทูล จึงถามพระโพธิสัตว์ แม้ท่านโบราณกบัณฑิตทั้งหลาย เมื่อทำนายสุบินเหล่านี้แก่พระราชาเหล่านั้น ก็พากันทำนายทำนองนี้แหละ
    อันพระเจ้าปเสนทิโกศลทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
    ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์กำเนิดในตระกูลอุทิจจพราหมณ์ เจริญวัยแล้วบวชเป็นฤๅษี ให้อภิญญาสมาบัติเกิดแล้ว ได้ประลองฌานอยู่ในหิมวันตประเทศ
    ในครั้งนั้น ณ พระนครพาราณสี พระเจ้าพรหมทัตทรงเห็นพระสุบินเหล่านี้ โดยทำนองนี้เหมือนกัน มีพระดำรัสถามพวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์ปรารภจะบูชายัญอย่างนี้เหมือนกัน บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น ท่านปุโรหิตมีศิษย์เป็นบัณฑิตฉลาด กล่าวกะอาจารย์ว่า ท่านอาจารย์ครับ คัมภีร์พระเวทย์ทั้ง ๓ ท่านอาจารย์ให้ผมเรียนจบแล้ว ในพระเวทย์ทั้ง ๓ คัมภีร์นั้น ข้อที่ว่า การฆ่าคนหนึ่งแล้ว ทำให้เกิดความสวัสดีแก่อีกคนหนึ่ง ไม่มีเลยมิใช่หรือ ขอรับ?
    ท่านอาจารย์ตอบว่า พ่อคุณ ด้วยอุบายนี้ทรัพย์จำนวนมากจักเกิดแก่พวกเรา ส่วนเจ้าชะรอยอยากจะรักษาพระราชทรัพย์กระมัง?
    มาณพกล่าวว่า ท่านอาจารย์ครับ ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงกระทำงานของพวกท่านไปเถิด กระผมจักกระทำอะไรในสำนักของพวกท่านได้. แล้วเดินเรื่อยไปจนถึงพระราชอุทยาน.
    ในวันนั้นเอง แม้พระบรมโพธิสัตว์ก็รู้เหตุนั้น คิดว่า วันนี้ เมื่อเราไปถึงถิ่นมนุษย์ ความพ้นจากการจองจำจักมีแก่มหาชน ดังนี้แล้ว จึงเหาะมาทางอากาศ ลงที่อุทยานนั่งเหนือแผ่นศิลาอันเป็นมงคล ประหนึ่งรูปที่หล่อด้วยทองฉะนั้น มาณพเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ได้ทำการต้อนรับพระโพธิสัตว์ แม้พระโพธิสัตว์ก็ได้ทำการปฏิสันถารอย่างไพเราะกับเขาแล้ว ถามว่า เป็นอย่างไรเล่าหนอ พ่อมาณพ พระราชายังจะเสวยราชสมบัติโดยธรรมอยู่หรือ?
    มาณพกราบเรียนว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระราชายังได้พระนามว่า ธรรมิกราชอยู่ดอกครับ ก็แต่ว่า พวกพราหมณ์กำลังชักจูงพระองค์ให้วิ่งไปผิดทาง พระราชาทรงเห็นพระสุบิน ๑๖ ข้อ ตรัสบอกแก่พวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์กล่าวว่า พวกเราจักต้องบูชายัญ แล้วเตรียมการทันที พระคุณเจ้าผู้เจริญขอรับ การที่พระคุณเจ้าทำให้พระราชาทรงเข้าพระทัยว่า ขึ้นชื่อว่า ผลแห่งสุบินนี้เป็นอย่างนี้ แล้วช่วยให้มหาชนพ้นจากภัย จะมิควรหรือขอรับ?
    พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พ่อมาณพ เราเองก็ไม่รู้จักพระราชา พระราชาเล่าก็มิได้ทรงรู้จักเรา ถ้าพระองค์เสด็จมาถาม ณ ที่นี้ เราพึงบอกแก่พระองค์ได้.
    มาณพกราบเรียนว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ กระผมจักนำพระองค์เสด็จมา ขอพระคุณเจ้าได้โปรดนั่งรอการมาของกระผม สักครู่หนึ่งนะขอรับ ขอให้พระโพธิสัตว์ปฏิญญาแล้ว ก็ไปสู่พระราชสำนัก กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ดาบสผู้เที่ยวไปในอากาศได้องค์หนึ่ง ลงมาในอุทยานของพระองค์ กล่าวว่า จักทำนายผลของพระสุบินที่พระองค์ทรงเห็น กำลังรอพระองค์อยู่. พระราชาทรงสดับคำของมาณพนั้น ก็รีบเสด็จไปพระอุทยาน ด้วยบริวารเป็นอันมากทันที ทรงไหว้พระดาบสแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มีพระดำรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ได้ยินว่า พระคุณเจ้าทราบผลแห่งสุบินที่กระผมเห็นหรือ?
    พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร อาตมาภาพทราบ.
    พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น นิมนต์พระคุณเจ้าทำนายเถิด.
    พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร อาตมาภาพจะทำนายถวาย เชิญมหาบพิตรตรัสเล่าพระสุบินตามที่ทรงเห็นให้อาตมาภาพฟังก่อนเถิด.
    พระราชาตรัสว่า ดีละ พระคุณเจ้าผู้เจริญ พลางตรัสว่า :-
    โคอุสุภราช ๑ ต้นไม้ทั้งหลาย ๑ แม่โคทั้งหลาย ๑ โคทั้งหลาย ๑ ม้า ๑ ถาดทอง ๑ นางสุนัขจิ้งจอก ๑ ตุ่มน้ำ ๑ โบกขรณี ๑ ข้าวไม่สุก ๑ จันทน์แดง ๑ น้ำเต้าจม ๑ ศิลาลอย ๑ เขียดขยอกงู ๑ หงษ์ทองล้อมกา ๑ เสือดาว เสือโคร่งกลัวแพะจริงๆ ๑ ดังนี้.
    แล้วตรัสบอกสุบิน ตามนิยมที่พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสบอก นั่นเอง
    แม้พระโพธิสัตว์ก็ทำนายผลแห่งสุบินเหล่านั้นโดยพิสดาร ตามทำนองที่พระศาสดาทรงทำนายในบัดนี้แหละ ในที่สุดถวายพระพรดังนี้ ด้วยตนเองว่า
    จะเป็นไปต่อเมื่อโลกถึงจุดเสื่อม ยังไม่มีในยุคนี้.

    อรรถาธิบายในคำนั้นมีดังนี้ คือ
    ดูก่อนมหาบพิตร ผลแห่งพระสุบินเหล่านั้นมีดังนี้ คือการบูชายัญที่กำลังดำเนินไป เพื่อปัดเป่าพระสุบินเหล่านั้น ย่อมดำเนินไปผิดหลักเกณฑ์ ท่านกล่าวอธิบายว่า ย่อมเป็นไปอย่างผิดตรงกันข้าม ความเสื่อมจากความจริง.

    เพราะเหตุไร?
    เพราะเหตุว่า
    ผลแห่งสุบินเหล่านี้ จักมีในกาลที่โลกถึงจุดเสื่อม คือในกาลที่ต่างถือเอาข้อที่มิใช่เหตุ ว่าเป็นเหตุ ในกาลที่ทิ้งเหตุเสีย ว่ามิใช่เหตุ ในกาลที่ถือเอาข้อที่ไม่จริง ว่าเป็นจริง ในกาลที่ละทิ้งข้อที่จริงเสีย ว่าไม่เป็นจริง ในกาลที่พวกอลัชชี มีมากขึ้น และในกาลที่พวกลัชชี ลดน้อยถอยลง ยังไม่มีในยุคนี้ หมายความว่าแต่ผลของพระสุบินเหล่านี้ ยังไม่มีในบัดนี้ คือในรัชกาลของมหาบพิตร หรือในศาสนาของตถาคตนี้ ในยุคนี้ คือในชั่วบุรุษปัจจุบันนี้


    เพราะเหตุนั้น การบูชายัญที่กำลังดำเนินไป เพื่อปัดเป่าผลแห่งพระสุบินเหล่านี้ จึงเป็นไปโดยคลาดเคลื่อน เลิกการบูชายัญนั้นเสียเถิด ภัยหรือความสะดุ้งอันมีพระสุบินนี้เป็นเหตุ ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
    พระมหาบุรุษทำพระราชาให้เบาพระทัย ปลดปล่อยมหาชนจากการจองจำแล้ว กลับเหาะขึ้นอากาศ ถวายโอวาทแด่พระราชา ชักจูงให้ดำรงมั่นในศีล ๕ แล้วถวายพระพรว่า ตั้งแต่บัดนี้ต่อไป มหาบพิตรอย่าได้ร่วมคิดกับพราหมณ์บูชายัญ ที่มีชื่อว่า ปสุฆาตยัญ (ยัญฆ่าสัตว์) อีกต่อไป
    ครั้นแสดงธรรมแล้ว กลับไปที่อยู่ของตนทางอากาศนั่นแล ฝ่ายพระราชาตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ ทรงทำบุญมีให้ทานเป็นต้น แล้วเสด็จไปตามยถากรรม.
    พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสให้พระเจ้าปเสนทิโกศลเลิกบูชายัญด้วยพระพุทธดำรัสว่า
    เพราะพระสุบินเป็นปัจจัย ภัยยังไม่มีแก่มหาบพิตรดอก มหาบพิตรจงสั่งให้เลิกยัญเสียเถิด พระราชทานชีวิตทานแก่มหาชนแล้ว ทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า
    พระราชาในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระอานนท์ ในครั้งนี้
    มาณพได้มาเป็น พระสารีบุตร
    ส่วนพระดาบสได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.

    ก็และครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว
    พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายยกบททั้ง ๓ มีอสุภาเป็นอาทิขึ้นสู่อรรถกถา กล่าวบททั้ง ๕ มีลาวูนิเป็นอาทิ ยกขึ้นสู่บาลีเอกนิบาต ด้วยประการฉะนี้.

    จบอรรถกถามหาสุบินชาดกที่ ๗
    -----------------------------------------------------

    .. อรรถกถา เอกกนิบาตชาดก วรุณวรรค ๗. มหาสุบินชาดก ว่าด้วยมหาสุบิน จบ.
    อรรถาธิบายเล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 0อรรถาธิบายเล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 76อรรถกถาอรรถาธิบาย เล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 77อรรถาธิบายเล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 78อรรถาธิบายเล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 2519
    อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
    http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=27&A=502&Z=509


อ่านต่อการวิเคราะห์กับประเทศไทยในยุคปัจจุบันได้ที่นี่ค่ะ
http://www.mcu.ac.th/site/
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2014, 10:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


คนเรานั้นมีเวลาน้อยเหลือเกินในขณะนี้ เรามีอายุขัยอยู่กันได้แค่ 75 ปี
บางคนก็อายุเกิน บางคนก็ตายก่อนอายุขัย หรือบางคนก็ตายตั้งแต่ยังไม่ลืมตาดูโลก
การมีชีวิตอยู่ตามอายุขัยนี้เป็นเวลาสั้นๆ แต่เราก็หลงงมงายกันอยู่ในระยะเวลาเท่านี้ ไม่ได้คิดกันว่านอกจากนี้แล้วเราจะไปไหน ไม่ไ้ด้เตรียมตัวกันไว้เลย ทุกคนก็มุ่งแต่จะแสวงหาเพื่อสนองความต้องการขณะที่มีชีวิตในอายุขัยแค่ 75 ปีนี้เท่านั้น คือเก็บเสบียงเพื่อใช้จ่ายหาความสุขสนองกันแค่ 75 ปี หรือบางคนอยู่ได้มากกว่านั้น ก็อยู่ได้เกินไปไม่มาก หรือบางคนแสวงหามาด้วยความเหนื่อยยาก พอสุขสบายร่ำรวยก็มีอันต้องตายจากทรัพย์สินไป ไม่สามารถมีชีวิตเสวยสุขในสิ่งที่ตนแสวงหาไว้ ทิ้งทรัพย์สมบัติต่างๆ ไว้เป็นสมบัติโลกให้คนอื่นเสวยสุข

มีคำถามว่า อายุขัยเพียงแค่นี้ เราจะเอาสมบัติโลก หรือจะเอาอริยทรัพย์

การมีชีิวิตอยู่ในทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องที่เราจะมายึคถืองมงายอยู่กับความเป็นไป แต่การมีชีวิตอยู่ ณ ขณะนี้มันเป็นช่องทางหาเสบียงเดินทางต่างหาก เราเกิดมาบนโลกใบนี้ที่มีเสบียงให้เราหาเก็บเกี่ยวไว้ เป็นโอกาสที่ดี เพราะเรายังไม่ได้จบชีวิตการเดินทางของเราเพียงแค่ชาตินี้ แต่เรายังต้องเดินทางกันต่อไปอีกไกลแสนไกล จากอดีตที่เราก็เดินทางมานานจนไม่รู้ต้นทางว่าเราเริ่มเดินทางท่องเที่ยวในสังสารวัฏฏ์นี้มานานเท่าไรตั้งแต่เมื่อใด เราเดินอยู่ในวงล้อที่เป็นวงกลมที่หาเบื้องต้นไม่เจอ หากเป็นปุถุชนอยู่ก็ยังหาเบื้องปลายไม่เจอ

เราจะหมกมุ่นอยู่กับการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ หรือ?
หรือว่าเราควรสะสมเสบียง เพราะสังสารวัฏฏ์ข้างหน้าเราไม่รู้ว่าเราจะเจอแหล่งเสบียงที่ดีเช่นวันนี้หรือไม่?
เราไม่สามารถระบุได้เลยว่า เราจะเจอคลังเสบียงเช่นนี้ได้ทุกชาติ เราไม่รู้อะไรเลย

ดังนั้นในวันนี้เราอยู่ท่ามกลางอริยทรัพย์ที่เราสามารถเก็บสะสมไว้ได้มากที่สุด ในวันหนึ่งๆ เราเก็บเสบียง กันได้แค่ไหน เท่าไร หรือว่าเรามัวหลงงมงายว่าเราเป็นโน้นเป็นนี่แล้วก็ยินดีกับความเป็นตัวเรา หรือแม้แต่ในอดีตชาติที่เราบังเอิญไปรู้จะจริงหรือไม่จริง เราก็ยังไปยึคอดีตชาติของเราอีก บางคนหมอดูนั่งทางในบอกว่า ชาติก่อนเป็นลูกเจ้าใหญ่นายโตมาก่อน ก็ยินดีในอดีตอีกว่าเรานี่ก็ไม่เบาเหมือนกันเมื่อชาติก่อน

เรางมงายอยู่กับในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง เรากลับมองไม่เห็นกัน กลับไหลไปเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่ใช่ประโยชน์อย่างแท้จริง

วันนี้เราเตรียมเสบียงเดินทางแต่เนิ่นๆหรือยัง เราต้องมีเสบียงเตรียมพร้อมไว้ตลอดเวลาหรือยัง
เพราะเราไม่รู้เลยว่า เราจะต้องเดินทางจากโลกนี้ไปเมื่อใด

มรณํ เม ธุวํ ชีวิตํ เม อธุวํ
ความตายเป็นของแน่ การมีชีวิตอยู่เป็นของไม่แน่

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2014, 14:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
:b44: :b44: :b44:
:b42: ข้อความบางตอนจากหนังสือ การได้ฟังพระสัทธรรมเป็นของยาก
พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า

"สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ"
แปลความว่า "รสแห่งธรรมะ ชนะรสทั้งปวง"

เมื่อพระพุทธองค์ทรงมีพระราชดำรัสเช่นนี้ เราก็ควรจะต้องฟังธรรมเป็นอย่างยิ่ง เพราะรสอะไรๆ ที่ว่าดี
ที่ว่าเลิศทั้งหลายในโลก ก็ยังไม่วิเศษเท่ารสแห่งพระธรรม ซึ่งสามารถดับความร้อนในใจของผู้ฟังได้ และยังสามารถให้ความไม่ตายแก่ผู้ฟังได้ด้วย เพราะใครๆ ในโลกนี้ล้วนกลัวความตายด้วยกันทั้งนั้น และ ต่างก็ปรารถนาความไม่ตาย แต่กลับทำสิ่งที่ตรงกันข้าม คือ การกระทำของเราในทุกวันนี้ เป็นการเพิ่มการตายของเราให้มากขึ้นทุกที หมายความว่า การกระทำของเราล้วนแต่ทำให้เราต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏเพิ่มขึ้นไม่จบไม่สิ้น ยิ่งอยู่ในสังสารวัฏนานเท่าไร เราก็ยิ่งตายมากขึ้นเท่านั้น

พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ที่จะสามารถช่วยให้เราพ้นจากความตายได้ ถ้าหากว่าเรานำไปประพฤติปฏิบัติตาม และเมื่อเราสามารถปฏิบัติตามจนเข้าถึงพระนิพพานได้ เมื่อนั้นเราก็จะไม่ตายอีกเลย

ดังนั้น เมื่อท่านทั้งหลายได้มีโอกาสฟังธรรมแล้ว ก็ขอให้ตั้งใจฟังด้วยดี แม้จะรู้ว่า พระธรรมเป็นสิ่งที่ฟังได้ยากก็ตาม เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า

"สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ"
แปลความว่า "ผู้ที่ตั้งใจสดับตรับฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา"

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2014, 14:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
:b44: :b44: :b44:

อปฺปํ สุขํ ชลลวํ วิย โภ ติณคฺเค
ทุกขํ ตุ สาครชลํ วิย สพฺพโลเก
สํกปฺปนา ตทปิ โหติ สภาวโต หิ
สพฺพํ ติโลก'มปิ เกวลทุกฺขเมว.
เตลกฎาหคาถา. คาถา.๕๒


ท่านผู้เจริญ ความสุขมีเพียงเล็กน้อยดั่งหยาดน้ำค้างบนยอดหญ้า
แต่ความทุกข์ในโลกทั้งมวลเหมือนน้ำในสาคร
ความจริงความสุขนั้นเกิดจากจินตนาการ
โลกสามทั้งมวลล้วนเป็นทุกข์โดยแท้

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ธมฺโม ติโลกสรโณ ปรโม รสานํ
ธมฺโม มหคฺฆรตโน รตเนสุ โลเก
ธมฺโม หเว ติภเว ทุกฺขวินาสเหตุ
ธมฺมํ สมาจรถ ชาคริกานุยุตฺตา.

เตลกฏาหคาถา. คาถา.๘
พระธรรมเป็นสรณะในโลกสาม ยอดเยี่ยมกว่ารสทั้งหลาย
พระธรรมเป็นรัตนะทรงค่ากว่ารัตนะอื่นในโลก
พระธรรมแลเป็นเหตุแห่งการกำจัดทุกข์ในภพสาม
ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้มีสติขวนขวาย ประพฤติธรรมอยู่เสมอเถิด


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2014, 08:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
:b44: :b44: :b44:

ข้อสังเกต(คัมภีร์ปุคคลบัญญัติจากหนังสือประตูสู่พระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์)

๔. การเป็นคนดีไม่ใช่รู้แค่คุณสมบัติของคนดีมีศีลธรรมเท่านั้น ยังต้องรู้จักลักษณะของคนชั่วไร้ศีลธรรมด้วย
เพราะเมื่อรู้ลักษณะของคนชั่วแล้วจะทำให้รู้จักหลีกความเป็นคนชั่ว ในประเด็นนี้พระผู้มีพระภาคทรงแนะให้รู้จักดูคนชั่ว โดยทรงจำแนกไว้มากมาย เช่น คนที่ไม่มีหิริ คนริษยา คนตระหนี่ คนโอ้อวด คนมีมายา คนไม่มีศีล คนมีมิจฉาทิฏฐิ และคนที่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน

๕. เมื่อรู้จักเว้นบุคคลที่เป็นคนชั่วดังกล่าวพอเป็นตัวอย่างแล้ว ต่อไปควรรู้จักพัฒนาตนให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป
ในประเด็นนี้ พระผู้มีพระภาคทรงจำแนกบุคคลผู้มีคุณสมบัติที่ดียิ่งกว่าดีจนเป็นอริยบุคคลไว้มากมาย
เช่น การเป็นคนดี โดยละเว้นทุจริต และการเป็นคนดียิ่งกว่าคนดี โดยการชักชวนให้ผู้อื่นเป็นคนดี มีศีลธรรม เว้นทุจริต หมั่นสำรวจตนว่ายังขาดคุณงามความดีของคนดีชนิดใดแล้วควรรีบปรับปรุงแก้ไข พัฒนาให้มีคุณงามความดีของคนดีชนิดนั้นๆ โดยให้พยายามสังเกต จากลักษณะของคนชั่วว่าตนมีลักษณะนั้นหรือไม่ ถ้ามีก็ควรขจัดออกไป ถ้าไม่มี ควรรักษาคุณงามความดีนั้นดุจเกลือรักษาความเค็ม และให้พยายามพัฒนาความดีให้ดีขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงระดับความดีที่สูงสุดคือ มรรค ผล นิพพาน อันเป็นความดีที่มั่นคงและแน่นอนกว่าความดีทั้งมวล

คำแนะนำตลอดจนข้อสังเกตทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ขอให้ศึกษาโดยละเอียดต่อไป

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2014, 22:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
:b44: :b44: :b44:

ตื่นเถิดชาวโลก : ท่านเรวัตภิกขุ
(เสียงอ่านภาษาไทยโดย ชมรมพุทธคุณ)

:b53: ขอเชิญเข้าไปฟังกันค่ะ
http://122.155.190.19/revata/index.php? ... Itemid=107

บทที่ ๑ มนุษย์กำลังทำอะไร ตอนที่ ๑


บทที่ ๑ มนุษย์กำลังทำอะไร ตอนที่ ๒


บทที่ ๑ มนุษย์กำลังทำอะไร ตอนที่ ๓


บทที่ ๑ มนุษย์กำลังทำอะไร ตอนที่ ๔


บทที่ ๑ มนุษย์กำลังทำอะไร ตอนที่ ๕

บทที่ ๒ ชีวิตที่ปลอดภัยเเท้ ตอนที่ ๑

บทที่ ๒ ชีวิตที่ปลอดภัยเเท้ ตอนที่ ๒


บทที่ ๓ ภาษิต ๓ ของเทวดา ตอนที่ ๑


บทที่ ๓ ภาษิต ๓ ของเทวดา ตอนที่ ๒

บทที่ ๔ ให้สิ่งอะไร


บทที่ ๕ มรณสติ ตอนที่ ๑

บทที่ ๕ มรณสติ ตอนที่ ๒

บทที่ ๖ ธรรมที่ลึกซึ้ง ตอนที่ ๑

บทที่ ๖ ธรรมที่ลึกซึ้ง ตอนที่ ๒

บทที่ ๖ ธรรมที่ลึกซึ้ง ตอนที่ ๓

บทที่ ๗ อะไรที่เราต้องการจะทำ ตอนที่ ๑

บทที่ ๗ อะไรที่เราต้องการจะทำ ตอนที่ ๒


ชีวประวัติของท่านเรวัตภิกขุ



:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2014, 17:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ในการที่จะเกิดเป็นมนุษย์ในชาติต่อไป นับต่อจากชาตินี้นั้นเสี่ยงเอามากๆ ค่ะ
เสี่ยงต่ออะไรงั้นหรือคะ? ก็เสี่ยงต่อการตกลงสู่อบายภูมิ มีนรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉานในลำดับต่อไปจากชาติที่ 2 ถ้านับจากชาตินี้เป็นชาติที่1 และถ้าพลาดตกนรกไป นับแต่ชาติหน้าเป็นต้นไป ไม่มีทางทันยุคพระศรีอริยเมตตรัยแน่นอนล้านเปอร์เซ็นต์ค่ะ

ในขณะนี้นั้น จิตใจมนุษย์เริ่มเสื่อมลงอย่างเห็นได้ชัด คนพาลมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับการเกิดเป็นมนุษย์ ถ้าเกิดมาอยู่ในหมู่มิจฉาทิฏฐิ ไม่มีกัลยาณมิตรให้คบหา หันไปทางไหนก็มีแต่คนพาล ก็คงจะทวนกระแสยากทีเดียว อีกทั้งประเทศต่างๆ ก็วุ่นวายแย่งชิงทรัพยากร แย่งชิงความเป็นใหญ่ อยู่กันแบบให้วิบัติไปด้วยกัน และดูเหมือนสงครามโลกพร้อมจะเกิดขึ้นตลอดเวลา และน่ากลัวกว่าสงครามโลกที่ผ่านมาทั้งสองครั้งด้วย
ซ้ำร้ายโรคติดต่อร้ายแรงก็เพิ่มมากขึ้นทุกวัน เดี๋ยวโรคโน้นโรคนี้ โรคใหม่ก็เกิดขึ้น โรคเก่าๆที่ปราบจนแทบไม่มีเหลือ ก็กลับลุกฮือขึ้นมาใหม่ อีกทั้งดินฟ้าอากาศก็แปรปรวน สุดจะบรรยาย อาหารก็นำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บเพราะสาเหตุมาจากการผลิตอาหาร

ปัจจัยเหล่านี้ไม่เหมาะแก่การเกิดเป็นมนุษย์เพื่อทำบารมีอีกต่อไปไม่ว่า บุคคล อาหาร อากาศ
ที่อยู่อาศัย ธรรมชาติฯลฯ
เราจึงควรจะพิจารณาว่าชาติต่อไปควรจะไปพักอาศัยอยู่ในที่ใดที่จะปราศจากภัยต่างๆ เหล่านี้
จึงควรจะศึกษาว่า ทำอย่างไรถึงจะได้ไปในที่แห่งนั้น ที่ๆ เราสมควรไปเกิดต่อจากโลกมนุษย์คือ สวรรค์
ควรจะไปหลบภัยชั่วคราว รอจังหวะดีๆ ก่อนค่อยลงมาทำบารมีต่อไปค่ะ นี่ไม่ใช่เรื่องเพ้อเจ้อนะคะ
แต่เป็นเรื่องให้ข้อคิดกันค่ะ ซึ่งมีคนอีกจำนวนมาก ที่รู้ทันว่าควรทำอย่างไร ได้มีคนที่ตั้งใจทำอยู่แล้วอย่างที่ดิฉันเขียนมาให้อ่านนี้

จึงมีข้อหนึ่งจะบอกว่า ศีล5 นั้น ส่วนใหญ่ได้เกิดเป็นมนุษย์ ส่วนน้อยจริงๆ ถึงไปเทวโลกได้
ดังนั้นจึงควรถือศีล 8 อาทิตย์ละ 1 วันก็ยังดีค่ะ สำหรับผู้ที่ทำอยู่แล้วก็ขอ :b8: สาธุด้วยค่ะ
สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ทำ ก็ขอแนะนำให้ถือศีล 8 บ้างได้แล้วค่ะ

ธรรมอะไรทำให้เราได้เกิดบนสวรรค์
ก็คือ สัปปุริสรัตนะ 7 คือ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา หิริ โอตตัปปะ
สัปปุริสธรรม 7 คือ ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ(พหูสูตร) วิริยะ ปัญญา

ดังนั้น ธรรม 9 อย่าง ที่เราควรทำให้เจริญ คือ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา หิริ โอตตัปปะ สติ วิริยะ
ธรรมเหล่านี้มีในเทวดาเช่นไร ก็ทำให้มีในเราเช่นนั้นค่ะ และ การไปเกิดบนสวรรค์นั้นควร มีกุศลกรรมบถ 10 และบุญกิริยาวัตถุ 10 เป็นสำคัญ เพื่อไปเกิดบนสวรรค์โดยตรงค่ะ

สรุปคือ
1. ควรถือศีล 8 อาทิตย์ละ 1 วันเป็นอย่างน้อย
2. ธรรม 9 อย่างควรทำให้เจริญ
3. กุศลกรรมบถ 10 และบุญกิริยาวัตถุ 10 จำเป็นอย่างยิ่งค่ะ
ซึ่งธรรมเหล่านี้ก็เชื่อมโยงกันอยู่ในตัวอยู่แล้วค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2014, 10:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 เม.ย. 2013, 11:12
โพสต์: 421

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:
ในการที่จะเกิดเป็นมนุษย์ในชาติต่อไป นับต่อจากชาตินี้นั้นเสี่ยงเอามากๆ ค่ะ
เสี่ยงต่ออะไรงั้นหรือคะ? ก็เสี่ยงต่อการตกลงสู่อบายภูมิ มีนรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉานในลำดับต่อไปจากชาติที่ 2 ถ้านับจากชาตินี้เป็นชาติที่1 และถ้าพลาดตกนรกไป นับแต่ชาติหน้าเป็นต้นไป ไม่มีทางทันยุคพระศรีอริยเมตตรัยแน่นอนล้านเปอร์เซ็นต์ค่ะ

ในขณะนี้นั้น จิตใจมนุษย์เริ่มเสื่อมลงอย่างเห็นได้ชัด คนพาลมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับการเกิดเป็นมนุษย์ ถ้าเกิดมาอยู่ในหมู่มิจฉาทิฏฐิ ไม่มีกัลยาณมิตรให้คบหา หันไปทางไหนก็มีแต่คนพาล ก็คงจะทวนกระแสยากทีเดียว อีกทั้งประเทศต่างๆ ก็วุ่นวายแย่งชิงทรัพยากร แย่งชิงความเป็นใหญ่ อยู่กันแบบให้วิบัติไปด้วยกัน และดูเหมือนสงครามโลกพร้อมจะเกิดขึ้นตลอดเวลา และน่ากลัวกว่าสงครามโลกที่ผ่านมาทั้งสองครั้งด้วย
ซ้ำร้ายโรคติดต่อร้ายแรงก็เพิ่มมากขึ้นทุกวัน เดี๋ยวโรคโน้นโรคนี้ โรคใหม่ก็เกิดขึ้น โรคเก่าๆที่ปราบจนแทบไม่มีเหลือ ก็กลับลุกฮือขึ้นมาใหม่ อีกทั้งดินฟ้าอากาศก็แปรปรวน สุดจะบรรยาย อาหารก็นำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บเพราะสาเหตุมาจากการผลิตอาหาร

ปัจจัยเหล่านี้ไม่เหมาะแก่การเกิดเป็นมนุษย์เพื่อทำบารมีอีกต่อไปไม่ว่า บุคคล อาหาร อากาศ
ที่อยู่อาศัย ธรรมชาติฯลฯ
เราจึงควรจะพิจารณาว่าชาติต่อไปควรจะไปพักอาศัยอยู่ในที่ใดที่จะปราศจากภัยต่างๆ เหล่านี้
จึงควรจะศึกษาว่า ทำอย่างไรถึงจะได้ไปในที่แห่งนั้น ที่ๆ เราสมควรไปเกิดต่อจากโลกมนุษย์คือ สวรรค์
ควรจะไปหลบภัยชั่วคราว รอจังหวะดีๆ ก่อนค่อยลงมาทำบารมีต่อไปค่ะ นี่ไม่ใช่เรื่องเพ้อเจ้อนะคะ
แต่เป็นเรื่องให้ข้อคิดกันค่ะ ซึ่งมีคนอีกจำนวนมาก ที่รู้ทันว่าควรทำอย่างไร ได้มีคนที่ตั้งใจทำอยู่แล้วอย่างที่ดิฉันเขียนมาให้อ่านนี้

จึงมีข้อหนึ่งจะบอกว่า ศีล5 นั้น ส่วนใหญ่ได้เกิดเป็นมนุษย์ ส่วนน้อยจริงๆ ถึงไปเทวโลกได้
ดังนั้นจึงควรถือศีล 8 อาทิตย์ละ 1 วันก็ยังดีค่ะ สำหรับผู้ที่ทำอยู่แล้วก็ขอ :b8: สาธุด้วยค่ะ
สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ทำ ก็ขอแนะนำให้ถือศีล 8 บ้างได้แล้วค่ะ

ธรรมอะไรทำให้เราได้เกิดบนสวรรค์
ก็คือ สัปปุริสรัตนะ 7 คือ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา หิริ โอตตัปปะ
สัปปุริสธรรม 7 คือ ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ(พหูสูตร) วิริยะ ปัญญา

ดังนั้น ธรรม 9 อย่าง ที่เราควรทำให้เจริญ คือ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา หิริ โอตตัปปะ สติ วิริยะ
ธรรมเหล่านี้มีในเทวดาเช่นไร ก็ทำให้มีในเราเช่นนั้นค่ะ และ การไปเกิดบนสวรรค์นั้นควร มีกุศลกรรมบถ 10 และบุญกิริยาวัตถุ 10 เป็นสำคัญ เพื่อไปเกิดบนสวรรค์โดยตรงค่ะ

สรุปคือ
1. ควรถือศีล 8 อาทิตย์ละ 1 วันเป็นอย่างน้อย
2. ธรรม 9 อย่างควรทำให้เจริญ
3. กุศลกรรมบถ 10 และบุญกิริยาวัตถุ 10 จำเป็นอย่างยิ่งค่ะ
ซึ่งธรรมเหล่านี้ก็เชื่อมโยงกันอยู่ในตัวอยู่แล้วค่ะ

สนทนาธรรมกับพระอาจารย์ท่านก็กล่าวเช่นนี้เหมือนกันค่ะต้องหลบภยก่อน เพราะยุคต่อไปจะเชื่อในภูตผีไม่เชื่อในการปฏิบัติมีคนพาลมากไปหมดอยู่ลำบากค่ะ

สาธุ สาธุ สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2014, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
:b44: :b44: :b44:

:b42: พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
มหาวรรค ภาค ๑

อาทิตตปริยายสูตร

[๕๕] ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลอุรุเวลา ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จ
จาริกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่ตำบลคยาสีสะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ๑๐๐๐ รูป ล้วนเป็น
ปุราณชฎิล. ได้ยินว่า พระองค์ประทับอยู่ที่ตำบลคยาสีสะ ใกล้แม่น้ำคยานั้น พร้อมด้วยภิกษุ
๑๐๐๐ รูป.

ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้:-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของร้อน รูปทั้งหลายเป็นของร้อน วิญญาณอาศัยจักษุเป็นของร้อน
สัมผัสอาศัยจักษุเป็นของร้อน ความเสวยอารมณ์ เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่
เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย แม้นั้นก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร? เรากล่าวว่า ร้อน
เพราะไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่
และความตาย ร้อนเพราะความโศก เพราะความรำพัน เพราะทุกข์กาย เพราะทุกข์ใจ เพราะ
ความคับแค้น.

โสตเป็นของร้อน เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน ...
ฆานะเป็นของร้อน กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน ...
ชิวหาเป็นของร้อน รสทั้งหลายเป็นของร้อน ...
กายเป็นของร้อน โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นของร้อน ...
มนะเป็นของร้อน ธรรมทั้งหลายเป็นของร้อน วิญญาณอาศัยมนะเป็นของร้อน
สัมผัสอาศัยมนะเป็นของร้อน ความเสวยอารมณ์เป็นสุข เป็นทุกข์หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ที่
เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย แม้นั้นก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร? เรากล่าวว่า ร้อน
เพราะไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่
และความตาย ร้อนเพราะความโศก เพราะความรำพัน เพราะทุกข์กาย เพราะทุกข์ใจ เพราะ
ความคับแค้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณอาศัยจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
สัมผัสอาศัยจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์
มิใช่สุข ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสต ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียงทั้งหลาย ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่นทั้งหลาย ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรสทั้งหลาย ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะทั้งหลาย ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมทั้งหลาย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณอาศัยมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัมผัสอาศัยมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย.

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้น
แล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จ
แล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี. ก็แล เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่
จิตของภิกษุ ๑๐๐๐ รูปนั้น พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

อาทิตตปริยายสูตร จบ
อุรุเวลปาฏิหาริย์ ตติยภาณวาร จบ.
-----------------------------------------------------

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๑๑๗๕ - ๑๒๑๕. หน้าที่ ๔๙ - ๕๐.
http://www.84000.org/tipitaka/atita100/ ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=37
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_4

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2014, 16:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
:b44: :b44: :b44:

จากหนังสืออภิธัมมาวตาร

มญฺญตีติ มาโน. โส อุณฺณติลกฺขโณ, สมฺปคฺคหณรโส, เกตุกมฺยตาปจฺจุปฏฺฐาโน,
ทิฏฺฐิวิปฺปยุตฺตโลภปทฏฺฐาโน.

มานะ คือ สภาวะถือตัว

มานะ
- มีสภาพเย่อหยิ่งลำพอง
- มีหน้าที่ยกตน
- มีความต้องการโดดเด่นเป็นเครื่องปรากฏ
- มีโลภะที่ไม่ประกอบกับทิฏฐิเป็นเหตุใกล้


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 17:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 เม.ย. 2013, 11:12
โพสต์: 421

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
SOAMUSA เขียน:
มานะ คือ สภาวะถือตัว

มานะ
- มีสภาพเย่อหยิ่งลำพอง
- มีหน้าที่ยกตน
- มีความต้องการโดดเด่นเป็นเครื่องปรากฏ
- มีโลภะที่ไม่ประกอบกับทิฏฐิเป็นเหตุใกล้


ขอบคุณค่ะ..คุณโสม...ฉันกำลังสงสัย..ตนเองอยู่เชียว บางขณะจิต.....มีอาการดังกล่าว ฉงนใจตนอยู่ว่าอะไร...... :b8: :b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2014, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


กล้วยไม้ม่วง เขียน:
:b8:
SOAMUSA เขียน:
มานะ คือ สภาวะถือตัว

มานะ
- มีสภาพเย่อหยิ่งลำพอง
- มีหน้าที่ยกตน
- มีความต้องการโดดเด่นเป็นเครื่องปรากฏ
- มีโลภะที่ไม่ประกอบกับทิฏฐิเป็นเหตุใกล้


ขอบคุณค่ะ..คุณโสม...ฉันกำลังสงสัย..ตนเองอยู่เชียว บางขณะจิต.....มีอาการดังกล่าว ฉงนใจตนอยู่ว่าอะไร...... :b8: :b10:


มานะ เมื่อมีอะไรมากระตุ้น มานะก็จะเกิดขึ้น เป็นกันทุกคนแหละค่ะ จะมากจะน้อย
จะไม่มีมานะเกิดขึ้นอีกต่อไปแล้ว ก็มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นค่ะ

มานะเป็นกิเลสตัวหนึ่งเป็นตัวขวางการเจริญวิปัสสนาด้วยค่ะ

สภาวะบางอย่างที่เกิดภายในใจเรานั้น บางท่านก็ไม่ทราบว่า นั้นเป็นอกุศลที่เกิดขึ้นในใจเราแล้วค่ะ

มานะ คือ เจตสิก เป็น กิเลส เป็นสังขารขันธ์ ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ

ส่วน มนะ คือ จิต จิตชื่อว่า มนะ เพราะมีสภาพรู้ และจิตนั้นชื่อวิญญาณ เพราะมีสภาพรู้อันพิเศษ เนื่องด้วยประกอบด้วยหน้าที่รู้พิเศษยิ่งด้วยความใคร่ครวญสภาวะของอารมณ์เป็นต้น และชื่อว่า มโนวิญญาณด้วย
ในภาษาบาลีเรียกว่า จิต ภาษาไทยเรียกว่า ใจ
ส่วนหัวใจที่เป็นที่อาศัยเกิดเรียกว่า หทยวัตถุ

มโนวิญญาณเป็นจิตที่เหลือจาก ทวิปัญจวิญญาณ และมโนธาตุ
มโนวิญญาณ เป็นวิญญาณขันธ์ มนายตนะ มโนวิญญาณธาตุ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


มีครอบครัวหนึ่งน่าสงสารมาก ดิฉันคุยกับพี่ผู้หญิงคนหนึ่งเธออายุมากแล้ว แต่ลูกยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมปลายและเป็นเด็กดีมากๆรักการเรียน เรียนได้เกรด 3 กว่า พี่คนนี้เธอทำงานได้ค่าแรงรายวัน และงานหยุดเสาร์อาทิตย์ ก็เดือนหนึ่งก็ได้ประมาณ 6000 บาท จ่ายค่าเช่าบ้านก็ครึ่งหนึ่งของเงินเดือนแล้ว และยังจ่ายค่ารถไปทำงานอีกวันละ 100 บาท เธอหางานที่ใกล้บ้านไม่ได้ เพราะไม่มีใครจ้างผู้หญิงที่อายุมากแล้วทำงาน ตอนนี้พี่ผู้หญิงคนนี้เธอกำลังหางานทำวันเสาร์อาทิตย์ แต่ก็ยังหางานทำไม่ได้ ดิฉันสงสารพี่คนนี้มากๆ เธอเล่าว่าเธออยากกินข้าวมันไก่มาก และลูกสาวของเธอก็อยากกินอาหารที่เด็กวัยรุ่นชอบกินกัน พี่ผู้หญิงคนนี้เธอเล่าว่า ลูกสาวของเธอนั้นกลับมาจากโรงเรียน บอกว่าอยากกินอาหารอย่างที่เพื่อนๆ กินบ้าง เป็นเวรกรรมอะไรของเธอที่เธอไม่ได้กินแบบเพื่อนบ้าง

ดิฉันรู้ว่า พี่ผู้หญิงคนนี้เป็นคนดี สวดมนต์ไหว้พระ รักษาศีล ดิฉันรู้จักเธอมานานพอสมควร จนรู้ว่าเธอไม่โกหกอะไร เธอเล่าว่าบางวันก็กินข้าวกับซีอิ้วกันทั้งบ้าน พ่อแม่ลูก สามีเธออายุมากแล้ว ก็ไปขับมอเตอร์ไซร์รับจ้างตอนเช้ามืด สายๆ ก็กลับบ้าน แต่วินที่สามีเธอขับนั้นเป็นวินที่ไม่ค่อยมีคนนั่ง นานมีคนเรียกสักที รายได้จึงน้อยเอามากๆ แค่พอให้ลูกไปโรงเรียนได้เล็กๆ น้อยๆ สามีเป็นคนหยิ่ง ไม่รับความช่วยเหลือจากใคร ไม่ให้ใครรู้ว่าจน ต้องอยู่แบบอดอยาก พี่ผู้หญิงเล่าอีกว่า บางวันลูกสาวหิว อยากกินขนมแบบเด็กทั่วไป ลูกสาวเป็นเด็กวัยรุ่นที่หน้าตาน่ารัก แต่หยิ่งเหมือนพ่อ คืออายที่จะให้ใครรู้ว่าจน แต่พี่ผู้หญิงนั้นเธอเครียดเพราะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายไว้คนเดียว นี่ค่าเทอมลูกสาวก็ยังไม่ได้จ่าย เธอรู้สึกเครียดมาก อาหารที่จะกินเข้าไปแต่ละวันนั้นก็แทบจะไม่มี ต้องหยิบยืมหัวหน้ามาสองหรือสามร้อยเพื่อมาซื้ออาหาร และก็ต้องใช้คืนตามคำพูด

ดิฉันจึงช่วยเรื่องอาหาร เพราะพอจะช่วยได้บ้าง เธอเกรงใจดิฉันเอามากๆ แต่ดิฉันบอกว่าดิฉันทำอาหารก็แจกเพื่อนบ้านอยู่แล้ว บางครั้งไม่ได้แจกใครก็กินคนเดียวไป ๒ หรือ ๓ วันกว่าจะหมด แกงส้มหม้อหนึ่งดิฉันกินไป ๓ วัน วันนี้ดิฉันไปส่งลูกไปปฐมนิเทศน์ที่มหาวิทยาลัยแต่เช้า ก็เลยแวะซื้ออาหารฝากพี่ แต่เก็บใส่ตู้เย็นไว้ก่อน และนัดกับพี่ว่า ตอนทุ่มตรงให้พี่มาดูที่รั้วบ้านดิฉัน ดิฉันจะแขวนอาหารไว้ให้ เพราะเอาไปให้ที่บ้านไม่ได้ พี่ผู้ชายและลูกสาวคงจะไม่พอใจแน่ๆ แต่พี่ผู้หญิงเธอบอกว่า ถึงเวลาพ่อลูกก็กินอยู่ดี แต่เอาไปให้ที่บ้านไม่ได้ ซึ่งดิฉันก็สะดวกดีด้วยที่จะแขวนไว้ให้ที่รั้ว ก็สบายดีไม่ต้องเดินเข้าไปให้ ส่วนพรุ่งนี้ดิฉันจะซื้อข้าวมันไก่ให้พี่ผู้หญิงแกรับประทาน เธอบอกว่าเดินผ่านร้านข้าวมันไก่อยากกินมาก ไม่ได้กินมานาน จนลืมไปแล้วว่ารสชาติมันเป็นอย่างไร ส่วนตอนเช้ากับตอนกลางวันเพื่อนที่ทำงานเอาอาหารมาเผื่อพี่ผู้หญิงจึงกินอาหารเช้าและกลางวันด้วยความเอื้อเฟื้อจากเพื่อนๆ พี่ผู้หญิงและครอบครัวของเธอกินแบบขาดแคลนมานานมากแล้ว แต่เธอไม่เคยเล่าให้ดิฉันฟัง มาวันนี้ได้รู้ ก็สงสารจับใจ พี่เธอเล่าให้ฟังด้วยความอัดอั้น แม้แต่พัดลมที่ใกล้จะพัง ต้องเอามือหมุนใบพัดก่อน และฝาครอบก็พัง ดิฉันจึงเอาพัดลมที่บ้านให้ไป ๒ เครื่อง อีกเครื่องหนึ่งยังดีอยู่ แต่อีกเครื่องหนึ่งไม่ค่อยดีเพราะวางทิ้งไว้ ปลวกแอบขึ้นไม้อัดใต้เครื่องซะงั้น แต่พี่ผู้ชายก็ซ่อมไว้ใช้ได้ รู้สึกสงสารครอบครัวนี้เอามากๆ สงสารที่ต้องอยู่อย่างลำบาก สงสารที่ต้องอยู่แบบแบกความหยิ่งทนงเอาไว้ ไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากใครกลัวคนดูถูก คนที่ช่วยอย่างดิฉันก็ต้องช่วยแบบเกรงใจเจียมเนื้อเจียมตัว กลัวเค้าจะไม่ให้ช่วยค่ะ

คิดแล้วสะท้อนใจ บางคนใช้เงินกันฟุ่มเฟื่อย กินกันแบบไม่เสียดายเงิน แต่ก็มีอีกหลายคนที่ลำบากจนแทบไม่มีอะไรกินในบางมื้อ หรือเกือบทุกมื้อ ในที่สุดแล้วก็คงไม่พ้นเรื่องกรรม สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน จริงอย่างปฏิเสธไม่ได้ แต่ที่สุดแล้วกรรมในปัจจุบันต่างหากที่สำคัญที่เราควรจะช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ขึ้น ด้วยการแบ่งปัน ด้วยการเมตตาต่อกันค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 85 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร