วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2019, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


ความจริงของชีวิต
พระพุทธพจนวราภรณ์ (หลวงปู่จันทร์ กุสโล)
วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

รูปภาพ

มีคำกลอนของสุนทรภู่อยู่บทหนึ่ง กล่าวว่า

อันทุกข์โศกโรคภัยในมนุษย์
ไม่รู้สุดสิ้นลงที่ตรงไหน
เหมือนกงเกวียนกำเกวียนเวียนระไว
จงหักใจเสียเถิดเจ้าเยาวมาลย์


คำกลอนของสุนทรภู่บทนี้แสดงถึงความจริงของชีวิต
ตรงกับหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาที่ว่า

“ตราบใดยังมีชีวิตเวียนวนอยู่ในโลกนี้
ตราบนั้นชีวิตจะต้องพบกับความทุกข์โศกโรคภัย
แม้จะได้รับความสุข ความดีใจอยู่บ้าง
ก็เป็นเพียงการสลับหมุนเวียนกัน
ระหว่างความทุกข์กับความสุขเท่านั้น”


ในเมื่อความจริงของชีวิตเป็นเช่นนี้ เราจะปฏิบัติตนอย่างไรต่อโลกต่อชีวิต
ซึ่งเรื่องนี้พระพุทธองค์สอนไว้ในเรื่องของอริยสัจสี่ว่า

ประการแรก ให้รู้ความจริงของโลกไว้ก่อน
ประการที่สอง เมื่อรู้ความจริงแล้ว สิ่งใดที่แก้ไม่ได้ อย่าฝืนแก้
แต่ถ้าสิ่งใดพอที่จะแก้ไขได้ ให้แก้ไข
อย่ายอมตนให้ตกอยู่ใต้อำนาจของความเสื่อมความทุกข์ที่ไม่จำเป็น


ที่กล่าวว่าให้รู้ความจริงของชีวิตนั้น
หมายความว่าทุกชีวิตไม่ว่าจะเป็นพระราชามหากษัตริย์
เศรษฐีผู้มีทรัพย์ ยากจนเข็ญใจ
ไม่มีชีวิตใดที่จะไม่พบกับความทุกข์โศกโรคภัย
ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ ตราบนั้นจะต้องพบกับความจริงของชีวิตดังกล่าว

ถึงแม้ความจริงของชีวิตจะหนีทุกข์โศกโรคภัยไม่พ้น
หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา มิได้สอนให้มืออ่อนเท้าอ่อน
ยอมตนให้ตกอยู่ใต้อำนาจของทุกข์โศกโรคภัย
ในทางตรงกันข้าม กลับให้พยายามหลบหลีกไปจากสิ่งเหล่านั้น
เช่นสอนว่า “บุคคลพึงถอนตนให้พ้นจากหล่ม
เหมือนช้างติดหล่ม พยายามถอนตนให้พ้นจากหล่ม”
“บุคคลจะพ้นทุกข์ได้เพราะความเพียร”


ในข้อที่ว่าสิ่งใดพอแก้ไขได้ ให้แก้ไขนั้น หมายความว่าให้พยายามทำเท่าที่ทำได้
ความจริงของทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ เป็นอยู่ได้ด้วยการแก้ไข
เช่น บ้านเรือนที่เราอยู่อาศัย เมื่ออยู่นานไปจะมีการชำรุดเสียหาย
กระเบื้องแตก หน้าต่างหลุด เจ้าของจะต้องบูรณะซ่อมแซม
รถยนต์ที่เราใช้ เมื่อนานไปจะมีการสึกหรอ ยางแตก เครื่องเสีย
เจ้าของจะต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ดี
เสื้อผ้าที่เราใช้ เมื่อใช้นานไปจะเก่าและขาด เราจะต้องซัก เย็บ ปะ
แม้ตัวของเราเอง เมื่อยู่นานไปร่างกายเปลี่ยนแปลง ต้องเจ็บ แก่
เมื่อถึงคราวเจ็บจะต้องหาหมอรักษา
เมื่อถึงคราวแก่จะไปไหนมาไหนก็ให้การระวังรักษามากขึ้น

อาการเหล่านี้ชื่อว่าให้การแก้ไขเท่าที่จะทำได้ ไม่ปล่อยไปตามบุญตามกรรม
พร้อมกับการแก้ไขบำรุงรักษานั้น จะต้องศึกษาให้รู้ความจริงของสิ่งเหล่านั้นว่า
แม้เราจะให้การแก้ไขบำรุงรักษาอย่างไรก็ตาม
สิ่งนั้นๆ จะต้องถึงที่สุด คือ ถึงสภาพที่จะแก้ไขหรือเยียวยารักษาไม่ได้
จะต้องปล่อยให้เป็นไปตามสภาพความจริงของโลก
นี้เรียกว่า พยายามแก้ไขในสิ่งที่ทำได้ ไม่ฝืนทำในสิ่งที่ทำไม่ได้

มีปัญหาอีกอย่างหนึ่ง คือปัญหาการแก้ไขความทุกข์ทางใจ
ทุกข์เพราะไม่สมใจในสิ่งที่อยากได้ ทุกข์เพราะไม่สมใจในสิ่งที่เราปรารถนา
ทุกข์เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่เรารัก
เมื่อความทุกข์ใจเหล่านี้เกิดขึ้น
ทุกคนไม่ปรารถนา ต่างพยายามจะให้ความทุกข์หมดไป
วิธีแก้ทุกข์ของชาวโลกกับวิธีแก้ทุกข์ของที่พระพุทธองค์สั่งสอนไว้
เป็นวิธีการตรงกันข้าม เปรียบได้กับการเดินสวนทางกันเอาทีเดียว
พึงเห็นวิธีการหนีทุกข์ของพระพุทธองค์ตั้งแต่ต้นมาทีเดียว

เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะรู้ว่า ชีวิตนี้เป็นความทุกข์
พระองค์ก็เริ่มหันหลังให้ปราสาทราชวัง ยอมเสียสละอำนาจวาสนา
ตลอดจนถึงยอมตัดสินใจจากพระโอรสและพระชายา
บ่ายพระพักตร์เสด็จเข้าไปอาศัยอยู่ในป่า ทรงสลัดทุกๆ อย่างที่จะก่อให้เกิดกังวล
ผลที่สุดแม้ชีวิตของพระองค์ก็ทรงเสียสละ นี่คือวิธีหนีทุกข์ของพระพุทธองค์

ทีนี้ ลองกลับมาพิจารณาดูวิธีหนีทุกข์ของชาวโลกดูบ้าง
ในสมัยปัจจุบันนี้ ความเจริญของโลกในด้านต่างๆ มีมากขึ้น
สมัยก่อนจะไปไหนมาไหนต้องเดิน อย่างดีก็ขึ้นเกวียนขึ้นม้า
มาสมัยนี้ถนนลาดด้วยยาง เทด้วยคอนกรีต มีรถชนิดต่างๆ ให้ใช้
ทางอากาศก็มีเครื่องบินแบบใหม่ๆ
สมัยก่อนใช้เวลาเดินทางเป็นเดือนๆ สมัยนี้ใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมง
สมัยก่อนอยากดูอะไรต้องไปดูถึงที่ด้วยตาตนเอง
สมัยนี้มีภาพยนตร์ให้ชม อยากจะดูซอกไหนมุมไหนของโลกก็สามารถจะหาดูได้
แม้แต่ใต้น้ำ ใต้บาดาล นอกโลกออกไปก็ยังมีให้ดู
ยิ่งไปกว่านั้นยังให้ความสะดวกโดยไม่ต้องเสียเวลาไปดูถึงโรงภาพยนตร์
นั่งอยู่กับบ้านก็มีโทรทัศน์ วีดิโอให้ชม

ที่นำมากล่าวนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเจริญของโลก
ความเจริญต่างๆ ของโลกดังที่กล่าวมานี้
เกิดจากความคิดของคน เพื่อให้ความสะดวกสบายแก่มวลมนุษย์


แต่เป็นเรื่องที่แปลกแต่จริง ยิ่งคิดผลิตวัตถุสนองความอยากความต้องการเพียงใด
ยิ่งเพิ่มภาระผูกพัน ยิ่งมีปัญหาที่จะต้องแก้ไขมากขึ้นเพียงนั้น
ที่เป็นเช่นนี้เพราะวัตถุไม่สามารถจะแก้ปัญหาความทุกข์ทางใจได้


วัตถุเหมือนเชื้อไฟ ความอยากเหมือนไฟ
วัตถุมีมากเพียงใด ไฟก็โหมไหม้เพียงนั้น
ดังนั้นการแก้ปัญหาความทุกข์ทางใจ
จึงต้องแก้ด้วยการแก้ใจให้พรากจากวัตถุ
คือให้เห็นความสุขทางใจสำคัญกว่าความสุขในด้านวัตถุ


:b8: :b8: :b8: คัดมาจาก : หนังสือ เครื่องหมายของคนดี
โดย พระธรรมดิลก (จันทร์ กุสโล) พิมพ์เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๙

หมายเหตุ : พระธรรมดิลก (จันทร์ กุสโล)
มีสมณศักดิ์ชั้นสุดท้ายเป็นที่ พระพุทธพจนวราภรณ์


:b50: :b50: ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่จันทร์ กุสโล”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=20885

:b50: :b50: รวมคำสอน “หลวงปู่จันทร์ กุสโล”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=50386


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร