วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2022, 11:39 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงตาตอบปัญหาศิษย์สงสัยภาวนาแล้วเห็น “เทวดา”

รูปภาพ

“มีญาติผู้ใหญ่มาจากกรุงเทพฯ ค่ะ ท่านทำสมาธิมานานแล้ว ได้เห็นนั่นเห็นนี่ แต่ตัวท่านเองไม่เชื่อ หรือเชื่อครึ่ง ไม่เชื่อครึ่ง ได้พบพูดคุยกับวิญญาณต่างๆ เหล่านั้นมาจะร่วมสามสิบปีเข้าแล้ว อยากจะมากราบเรียนถามท่านอาจารย์ว่า สิ่งที่ได้เห็นนั้นจริงหรือไม่จริง” ท่านอาจารย์นิ่งฟังเฉยๆ ผู้ใหญ่ที่ผู้เขียน (เพ็ญแข กัปปิยบุตร) พาไปได้กราบเรียนถามเพิ่มเติมขึ้นว่า “คือว่าผมสงสัยครับ เช่น ในขณะที่นั่งสมาธิได้เห็นเทวดา เห็นถนัดชัดเจนว่าแต่งตัวอย่างนั้นๆ หลับตาก็เห็น ลืมตาก็ยังเห็นอยู่ อยากจะให้แน่ใจว่าสิ่งที่เห็นเป็นความจริง หรือว่าเราหลอกตัวเอง”

“มันมีทั้งสองอย่างนั่นแหละ”
ท่านอาจารย์ตอบช้าๆ “เทวดาก็มี เทวเดาก็มี ส่วนมากเทวเดา” ลูกศิษย์หัวร่อ ท่านหันมาย้ำกับพวกหน้าเป็นทั้งหลาย

“อ้าว จริงๆ นะ ไม่ได้พูดเล่นๆ มันมีอยู่ทั้งสองอย่าง เทวดานั้นมี เทวเดาก็มี เดาไปซิ ธาตุสิบสองไปหลอกเจ้าของให้เข้าใจว่าเป็นความจริง นั่นเรียกว่า “เทวเดา” แต่เมื่อเรารู้ความจริงแล้ว เข้าใจจริงๆ แล้ว มันไม่เป็นอย่างนั้น เหมือนอย่างเรามาหากันนี่แหละ มากันนี่นะ มากี่คน ผู้หญิงกี่คน ผู้ชายกี่คน สนทนาปราศรัยกันว่าอย่างไร แม้ไม่ได้เดินมาตรงนี้ มองเห็นกันอยู่ก็รู้ว่ามาหา เดินผ่านหน้าผ่านหลังไปก็รู้ เพราะมันเป็นความจริง แม้ว่าตาฝ้าฟางไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง ตาเห็นก็อีกอย่างหนึ่ง ทีนี้ตาภายในเล่าก็เหมือนกัน ตาภายในที่มีความชำนิชำนาญเป็นส่วนมาก มันก็อาจจะมีฝ้าฟางไปบ้าง แต่โดยนิสัยแล้วมันจะรู้อย่างนั้น ทีแรกมันจะผิดๆ พลาดๆ ไปก่อน ถ้าเราไปพลัดไปหลงเข้ามันก็ผิดไปเอง แต่ถ้าเราไม่หลง พยายามปรับปรุงหลักจิตของเราให้ดี เมื่อหลักจิตของเราดีแล้ว ความแม่นยำมันก็สูง เราก็ค่อยทราบเข้า ทราบเข้าเรื่อย สิ่งที่จริงก็รู้ สิ่งที่ปลอมก็รู้

เหมือนอย่างเช่น ธนบัตรปลอมกับธนบัตรจริง คนที่ไม่เคยเห็นธนบัตรปลอม หรือธนบัตรจริง แล้วจะเอาอะไรมาให้จริงเล่า เข้าใจไหม จะต้องคนที่ชำนิชำนาญในเรื่องธนบัตร เฉพาะอย่างยิ่งพวกธนาคาร เขาจับปั๊บรู้เลย นั่นมันเป็นอย่างนั้นนะ อันนี้ก็เหมือนกันนั่นแหละ นักภาวนาจะต้องมีความเชี่ยวชาญทางด้านภาวนา เหมือนกับนายธนาคารจะต้องชำนาญในเรื่องการเงิน ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญนี้พูดไม่ถูก สอนกันไม่ได้ ผู้ที่จะเป็นไปอย่างนั้นพื้นฐานเบื้องต้น นิสัยเบื้องต้นมันมีมันจะรู้ พอจิตสงบแล้ว มันจะแยกออกไปรู้ ทีนี้มันก็จริงละ คืออาการของมันจะแสดงออกมา”

“อย่างที่ผมเห็นนี่ มันเกิดวิจิกิจฉาว่าจริงหรือไม่ จึงมากราบเรียนถาม”

“ก็อาจารย์ไม่ได้เห็นกับคุณ จะรู้ได้อย่างไรว่าจริงหรือปลอม รับรองกันไม่ได้จึงไม่ทราบ”

“ถ้าเช่นนั้น เมื่อมีความชำนาญแล้ว จึงจะทราบด้วยตัวเอง รู้ได้เฉพาะตัวใช่ไหมครับผม”

“ถ้าเรามีความชำนาญ เข้าใจในทางออกทางเข้าของจิต ของกระแสจิตแล้วก็จะเข้าใจได้โดยลำดับ ละเอียดยิ่งกว่านั้นอีก มันสำคัญที่ความชำนาญ ความรู้ ความละเอียดลออของความรู้เราก็จะเข้าใจ แต่ว่าถ้าอะไรเป็นตัวเดาขึ้นละก็เป็นของหยาบๆ ทั้งนั้น นี่มันต่างกันนะ ความรู้พื้นๆ ธรรมดาๆ อย่างเราๆ ท่านๆ นี้อย่างหนึ่ง ถ้าฝึกมากก็จะละเอียดเข้าไป ละเอียดเข้าไปโดยลำดับ จนกระทั่งเป็นปรีชาญาณ นั่น หยั่งทราบได้หมดตลอดทั่วถึง ไม่ต้องไปกำหนดกฎเกณฑ์ก็รู้ อย่างเช่น พระพุทธเจ้าของเรา นี่มันต่างกัน จะเทียบก็เหมือนกับการเขียนหนังสือ เช่น คำว่า “ท่าน” กว่าจะเขียนออกมาได้ ต้องนึกถึงตัวนั้นตัวนี้ ท.สระอา น หนู แล้วก็ไม้เอก จึงจะอ่านว่า “ท่าน” ได้ แต่สำหรับคนที่ชำนาญแล้ว พอว่า “ท่าน” มันมาพร้อมกันหมดทุกตัว เข้าใจเสียทีซิ การภาวนานี่น่ะ”

“ก็อย่างที่ผมเห็นนี่นะครับ เป็นวิญญาณ พอนั่งปุ๊บเขาก็โผล่มาให้เห็น มาแสดงตัวว่าเขาอยู่ที่นี่ แต่งตัวอย่างนี้ แล้วก็มาเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง แต่ตัวเราเองมันเสียตรงที่ไม่ยอมเชื่ออะไรง่ายๆ” ผู้ถามพยายามถามย้ำ ท่านอาจารย์จึงตัดบทว่า

เข้าใจละ ถ้าเราไม่เชื่อ ก็อย่าไปสนใจกับสิ่งเหล่านั้น ให้เราทำจิตของเราให้สงบเถิด หลักนี้ละเป็นหลักใหญ่ของการภาวนา นอกนั้นเป็นเรื่องปลีกย่อย มันจะเกิดมันก็เกิด มันไม่เกิดก็ช่างมันเถอะ ไม่มีความสำคัญอะไรนัก สำคัญที่ทำจิตของเราให้สงบเย็น หรือพิจารณาให้แยบคายทางปัญญา ที่จะพิจารณาแยกธาตุแยกขันธ์ข้างนอกข้างในให้ละเอียดทั่วถึงเพื่อความปล่อยวาง อันนี้ต่างหากที่เป็นหลักของพระพุทธเจ้าโดยแท้ ท่านอาจารย์พยายามมิให้ผู้ฟังติดอยู่ในเรื่องของความเป็นผู้มีอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งท่านเห็นว่าไม่สำคัญเลย ท่านสอนเพื่อความหลุดพ้น แต่ผู้คนอื่นๆ เมื่อมาถึงจุดนี้แล้วจะหลง และติดอยู่กับสิ่งที่ได้เห็นเพียงแค่นั้น ไม่มีทางหลุดพ้นไปได้จากวัฏจักรนี้ ท่านย้ำอีก

“การเห็นสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปลีกย่อย ขอให้ยึดเอาหลักเกณฑ์ไว้ให้ดีเถิด เห็นอะไรแล้วจะเชื่อหรือไม่ อาจารย์ไม่ได้ตำหนิตรงนั้นนะ แต่ถ้าตรงนี้ตรงหลักใหญ่ยังไม่ได้เรื่องแล้วไปยุ่งกับตรงนั้น อันนี้ต้องตำหนิกันละ เพราะสำคัญมาก การภาวนาต้องเล็งถึงความสงบเป็นพื้นสำคัญ”



จาก : หน้า ๓๒-๓๔ หนังสือ เรื่องที่คุยกันกับศิษย์
ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน
วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี
เขียนและเรียบเรียงโดย เพ็ญแข กัปปิยบุตร :b8: :b8: :b8:


:b44: ประวัติและปฏิปทา “หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=24738

:b44: รวมคำสอน “หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=38517


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2023, 10:31 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร