วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 14:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 140, 141, 142, 143, 144, 145, 146 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เรื่องนี้เองเถิด. บทว่า เวหายสา ได้แก่ ช้างที่สามารถไปทางอากาศ. บทว่า
ยสฺส ได้แก่ พระราชาพระองค์ใด. บทว่า ตถาวิธา ความว่า ช้างทั้งหลาย
ที่เกิดในตระกูลฉัททันต์หรือตระกูลอุโบสถมีอยู่ ช้างเหล่านั้นพึงพาพระราชา
นั้นไป. บทว่า อสฺสา ความว่า ม้าทั้งหลายที่เกิดในตระกูลพญาม้าพลาหก.
บทว่า ปกฺขี กล่าวหมายเอาครุฑ. บทว่า ยกฺขา ได้แก่ เหล่ายักษ์มีสา-
ตาคิรยักษ์เป็นต้น. บทว่า อนฺตลิกฺเขน ความว่า ข้าพระองค์ไม่สามารถ
จะปลดเปลื้องพระองค์โดยทางอากาศ คือไม่สามารถจะพาพระองค์นำไปถึงกรุง
มิถิลาทางอากาศได้.

พระเจ้าวิเทหราชทรงสดับคำของมโหสถดังนั้นก็จำนนประทับนั่งอยู่
ลำดับนั้น อาจารย์เสนกะคิดว่าบัดนี้ ยกมโหสถบัณฑิตเสีย ที่พึ่งอื่นของพระราชา
และของพวกเราไม่มี ก็พระราชาทรงฟังคำของมโหสถ ทรงครั่นคร้ามต่อ
มรณภัย ไม่ทรงสามารถจะตรัสอะไร ๆ ได้ เราจักอ้อนวอนมโหสถบัณฑิต
ให้ช่วย เมื่อเสนกะจะอ้อนวอนได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

บุรุษผู้ยังไม่เห็นฝั่งในมหาสมุทร ได้ที่พำนักใน
ประเทศใด เขาย่อมได้ความสุขในประเทศนั้น ฉันใด
ท่านมโหสถขอท่านได้เป็นที่พึ่งของพวกเรา และของ
พระราชา ฉันนั้น ท่านเป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าพวก
ข้าพเจ้าเหล่ามนตรี ขอท่านช่วยปลดเปลื้องพวกเรา
จากทุกข์เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตีรทสฺสี ความว่า ผู้เรือแตกกลางทะเล
เมื่อไม่เห็นฝั่ง. บทว่า ยตฺถ ความว่า เมื่อถูกกำลังคลื่นซัดลอยไป ได้ที่พึ่ง
ในประเทศใด. บทว่า ปโมจย ความว่า อาจารย์เสนกะอ้อนวอนว่า เมื่อก่อน
คราวกองทัพตั้งล้อมกรุงมิถิลา ท่านได้ปลดเปลื้องพวกเราให้พ้นภัย แม้บัดนี้
ก็ท่านนี่แหละจงช่วยปลดเปลื้องพวกเราให้พ้นจากทุกข์.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะข่มอาจารย์เสนกะจึงได้กล่าวด้วยคาถาว่า
ท่านอาจารย์เสนกะ กรรมของมนุษย์ที่เป็นไป
ล่วงแล้ว ทำได้ยาก เป็นแดนเกิดที่ยินดีได้ยาก ข้าพเจ้า
ไม่สามารถจะปลดเปลื้องท่านได้ ขอท่านจงทราบเอา
เองเถิด.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตฺวํ ปชานสฺสุ เสนก ความว่า
ท่านอาจารย์เสนกะ ข้าพเจ้าไม่สามารถ ท่านจงนำพระราชานี้สู่กรุงมิถิลาทาง
อากาศเถิด.
พระเจ้าวิเทหราชเมื่อไม่ทรงเห็นเครื่องยึดถือที่จะพึงทรงยึดถือ ทรง
ครั่นคร้ามต่อมรณภัย ไม่สามารถจะตรัสอะไร ๆ กับพระมหาสัตว์ได้ ทรงดำริ
ว่า บางคราวแม้เสนกะก็รู้อุบายอะไร ๆ เราจะถามเขาดูก่อนเมื่อตรัสถามจึงตรัส
คาถาว่า

ท่านจงฟังคำนี้ของข้าพเจ้า ท่านเห็นภัยใหญ่
นั่นหรือ บัดนี้ข้าพเจ้าขอถามอาจารย์เสนกะ ท่านจะ
สำคัญสิ่งที่ควรทำอย่างไรในกาลนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กึ กิจฺจํ ความว่า ท่านจะสำคัญสิ่งที่
ควรทำอย่างไรในกาลนี้ พวกเราถูกมโหสถสละแล้ว ถ้าท่านรู้ ก็จงบอกแก่
เรา.
อาจารย์เสนกะได้ฟังดังนั้น คิดว่า พระราชาตรัสถามอุบายกะเรา
งามหรือไม่งาม จงยกไว้ เราจักกล่าวอุบายอย่างหนึ่งแด่พระองค์ คิดฉะนี้แล้ว
กล่าวคาถาว่า

พวกเราจงเอาไฟเผาเสียตั้งแต่ประตู หรือจงจับ
มีดฆ่ากันและกันละชีวิตเสียพลัน อย่าทันให้พระราชา
พรหมทัตฆ่าพวกเราให้ลำบากนาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทฺวารโต ความว่า พวกเราจงปิดประตู
ก่อไฟที่ประตูนั่น. บทว่า วิกนฺตนํ ความว่า จงจับศัสตราห้ำหั่นกันและกัน.
บทว่า หิสฺสาม ความว่า พวกเราจักละชีวิตพลัน ปราสาทที่ตกแต่งแล้ว
นั่นแลจักเป็นจิตกาธารไม้ของพวกเรา.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงฟังดังนั้นก็เสียพระหฤทัยจึงตรัสว่า ท่าน
อาจารย์เสนกะจงทำจิตกาธารเห็นปานนั้นแก่บุตรภรรยาของตนเถิด แล้วตรัส
ถามปุกกุสะเป็นต้น พวกนั้นก็กราบทูลด้วยถ้อยคำแสดงความเขลาตามสมควร
แก่ตน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระราชาตรัสถามปุกกุสะว่า

ท่านจงฟังคำนี้ของข้าพเจ้า ท่านเห็นภัยใหญ่
นั่นหรือ บัดนี้ข้าพเจ้าขอถามอาจารย์ปุกกุสะ ท่านจะ
สำคัญสิ่งที่ควรทำอย่างไรในกาลนี้.
ปุกกุสะกราบทูลว่า
พวกเราควรกินยาพิษตายละชีวิตเสียพลัน อย่า
ทันให้พระราชาพรหมทัตฆ่าพวกเราให้ลำบากนาน.
พระราชาตรัสถามกามินทะว่า

ท่านจงฟังคำนี้ของข้าพเจ้า ท่านเห็นภัยใหญ่
นั่นหรือ บัดนี้ข้าพเจ้าขอถามอาจารย์กามินทะ ท่านจะ
สำคัญสิ่งที่ควรทำอย่างไรในกาลนี้.
กามินทะกราบทูลว่า

พวกเราพึงเอาเชือกผูกให้ตาย หรือโดดลงบ่อ
ให้ตายเสีย อย่าทันให้พระราชาพรหมทัตฆ่าพวกเรา
ให้ลำบากนาน.
พระราชาตรัสถามเทวินทะว่า
ท่านจงฟังคำนี้ของข้าพเจ้า ท่านเห็นภัยใหญ่
นั่นหรือ บัดนี้ข้าพเจ้าขอถามอาจารย์เทวินทะ ท่านจะ
สำคัญสิ่งที่ควรทำอย่างไรในกาลนี้.
เทวินทะกราบทูลว่า

พวกเราจงเอาไฟเผาเสียตั้งแต่ประตู หรือจงจับ
มีดฆ่ากันและกันละชีวิตเสียพลัน ถ้ามโหสถไม่
สามารถจะปลดเปลื้องพวกเราโดยง่าย.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 19:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อนึ่ง บรรดาอาจารย์ทั้ง ๔ เทวินทะคิดว่า พระราชานี้ทรงทำอะไร
มาตรัสถามพวกเรา ในเมื่อไฟมีอยู่มาทรงเป่าหิงห้อย ยกมโหสถบัณฑิตเสียแล้ว
คนอื่นจะสามารถทำความสวัสดีแก่พวกเราในเวลานี้ย่อมไม่มี พระองค์ไม่ตรัส
ถามมโหสถ มาตรัสถามพวกเรา พวกเราจะรู้อะไร คิดฉะนี้แล้ว เมื่อไม่เห็น
อุบายอื่น จึงกล่าวคำที่เสนกะกล่าวแล้วนั่นเอง เมื่อจะสรรเสริญมโหสถ จึง
กล่าวบททั้ง ๒ ว่า

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ความประสงค์ในเรื่อง
นั้นเป็นดังนี้ พวกเราทั้งหมดจะวิงวอนมโหสถนั่นแหละ
ก็ถ้าว่าแม้เมื่อวิงวอน มโหสถก็ไม่สามารถจะปลด-
เปลื้องพวกเราโดยง่าย ภายหลังพวกเราจักทำตามคำ
เสนกะ.

พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับคำของเทวินทะดังนั้น ทรงระลึกถึงโทษ
ที่พระองค์ได้ทำแก่พระโพธิสัตว์ในกาลก่อน ก็ไม่ทรงสามารถจะตรัสกับมโหสถ
ทรงคร่ำครวญจนมโหสถได้ยินถนัด ตรัสว่า

บุคคลแสวงหาแก่นของต้นกล้วย ย่อมไม่ได้
ฉันใด เราทั้งหลายแสวงหาอุบายเครื่องพ้นจากทุกข์
ก็ย่อมไม่ประสบปัญหานั้น ฉันนั้น บุคคลแสวงหา
แก่นแห่งไม้งิ้ว ย่อมหาไม่ได้ ฉันใด เราทั้งหลาย
แสวงหาอุบายเครื่องพ้นจากทุกข์ ย่อมไม่ประสบปัญ-
หานั้น ฉันนั้น การอยู่ของช้างทั้งหลายในสถานที่
ไม่มีน้ำ ชื่อว่าอยู่ในที่มิใช่ประเทศ เพราะว่าช้าง

เหล่านั้นอยู่ในสถานที่อันไม่มีน้ำ ชื่อว่ามิใช่ประเทศ
ย่อมตกอยู่ในอำนาจของปัจจามิตรเร็วพลัน ฉันใด
แม้การที่เราทั้งหลายอยู่ในที่ใกล้ของมนุษย์ชั่ว เป็นคน
พาลหาความรู้มิได้ ก็ชื่อว่าอยู่ในสถานที่มิใช่ประเทศ
ฉันนั้น.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ใจของเราสั่น และปากก็แห้งผาก เราเป็นเหมือน
ถูกไฟไหม้กลางแดด ไม่บรรลุถึงความเย็นใจ เตา
ของช่างทองรุ่งเรืองภายใน ไม่รุ่งเรืองภายนอก ฉันใด
ใจของเราย่อมเร่าร้อนอยู่ภายใน ไม่ปรากฏภายนอก
ฉันนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กทฺทลิโน ความว่า บุรุษผู้มีความ
ต้องการด้วยแก่น แม้แสวงหาอยู่ก็ไม่ได้แก่นแต่ต้นกล้วยนั้น เพราะต้นกล้วย
ไม่มีแก่น ฉันใด เราทั้งหลายแม้แสวงหาอุบายเครื่องพ้นทุกข์นี้ ถามบัณฑิต
๕ คน ก็ไม่ประสบปัญหานั้น. บทว่า นาชฺฌคมามฺหเส ความว่า เรา
ทั้งหลายไม่ประสบปัญหานั้น ดุจบุคคลไม่ได้ฟังอุบายที่เราทั้งหลายถาม แม้ใน
คาถาที่สองก็นัยนี้แหละ. บทว่า กุญฺชรานํ วนูทเก ความว่า การอยู่ของ

ช้างทั้งหลายในที่ไม่มีน้ำ ชื่อว่าอยู่ในที่มิใช่ประเทศ เพราะว่าช้างเหล่านั้น
เมื่ออยู่ในชัฏป่าอันหาน้ำมิได้เห็นปานนั้น ชื่อว่ามิใช่ประเทศ ย่อมตกอยู่ใน
อำนาจของปัจจามิตรเร็วพลัน ฉันใด แม้การที่เราทั้งหลายอยู่ในที่ใกล้ของ
มนุษย์ชั่วเป็นคนพาลหาความรู้มิได้ ก็ชื่อว่าอยู่ในสถานที่มิใช่ประเทศ ฉันนั้น
ก็บรรดาบัณฑิตมีประมาณเท่านี้ แม้คนหนึ่งซึ่งจะเป็นที่พึ่งอาศัยของเราในบัดนี้
ก็ไม่มี พระเจ้าวิเทหราชทรงบ่นเพ้อไปต่าง ๆ ด้วยประการฉะนี้.

มโหสถบัณฑิตได้สดับดังนั้น คิดว่า พระราชาพระองค์นี้ทรงลำบาก
เหลือเกิน ถ้าเราไม่เล้าโลมพระองค์ให้สบายพระหฤทัย พระองค์จักมีพระ-
หฤทัยแตกสิ้นพระชนมชีพ จึงได้กราบทูลเล้าโลม.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า

แต่นั้น มโหสถผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญาเห็นประ-
โยชน์ เห็นพระเจ้าวิเทหราชถึงความทุกข์ จึงได้
กราบทูลคำนี้ว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์
อย่าตกพระหฤทัยกลัวเลย ข้าแต่พระองค์ผู้องอาจใน
ทางรถ ขอพระองค์อย่าตกพระหฤทัยกลัวเลย ข้า
พระองค์จักเปลื้องพระองค์ผู้ดุจดวงจันทร์หรือดวง
อาทิตย์อันราหูจับแล้ว หรือดุจช้างจมติดในเปือกตม


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
หรือดุจงูติดอยู่ในกระโปรง หรือดุจนกติดอยู่ในกรง
หรือเหล่าปลาอยู่ในข่าย ผู้มีพลและพาหนะคุมล้อม
อยู่ให้พ้นจากความลำเค็ญ ข้าพระองค์จักยังกองทัพ
ปัญจาละให้หนีไป ดุจไล่ฝูงกาด้วยก้อนดิน ข้าพระ-
องค์มิได้เปลื้องพระองค์ ผู้เสด็จอยู่ในที่คับขันให้พ้น
จากทุกข์ ชื่อว่าปัญญาของข้าพระองค์นั้นจะมี
ประโยชน์อะไร หรือบุคคลเช่นข้าพระองค์นั้นเป็น
อมาตย์จะมีประโยชน์อะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทํ ความว่า มโหสถเมื่อเล้าโลมพระเจ้า
วิเทหราชให้สบายพระหฤทัย ประหนึ่งทำเมฆฝนให้ตกในป่าไฟไหม้ ได้
กราบทูลคำนี้ว่า มา ตฺวํ ภายิ มหาราช เป็นต้น. บทว่า สนฺนํ ใน
คาถานั้น แปลว่า ติดอยู่. บทว่า เปฬพนฺธํ ได้แก่ งูที่อยู่ภายในกระโปรง.
บทว่า ปญฺจาลํ ได้แก่ กองทัพปัญจาละซึ่งเป็นกองทัพของพระเจ้าปัญจาลราช

แม้ใหญ่อย่างนี้. บทว่า พาหยิสฺสามิ แปลว่า จักให้หนีไป. บทว่า อาทู
เป็นนิบาตในอรรถว่าชื่อ ความว่า ชื่อว่าปัญญาของข้าพระองค์จะมีประโยชน์
อะไร. บทว่า อมจฺโจ วาปิ ตาทิโส ความว่า หรืออมาตย์ผู้สมบูรณ์
ด้วยปัญญาเช่นนั้นเพราะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา ผู้เปลื้องพระองค์ที่ถูกความ
ตายเบียดเบียนอยู่อย่างนี้ให้พ้นจากทุกข์ไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไร ข้าแต่

พระมหาราชเจ้า พระองค์โปรดสำคัญว่า มโหสถนี้ชื่อว่ามาก่อน มาเพื่อ
ประโยชน์อะไร ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์อย่าตกพระหฤทัยกลัวเลย
ข้าพระองค์จักเปลื้องพระองค์ให้พ้นจากทุกข์นี้ มโหสถบัณฑิตเล้าโลมพระเจ้า
วิเทหราชให้สบายพระหฤทัย ด้วยประการฉะนี้.

ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับคำของมโหสถ ก็กลับได้ความอุ่น
พระหฤทัยว่า บัดนี้เราได้ชีวิตแล้ว เมื่อพระโพธิสัตว์บันลือสีหนาท ชน
ทั้งปวงเหล่านั้นก็พากันยินดี ลำดับนั้น เสนกะถามพระโพธิสัตว์ว่า ท่านบัณฑิต
ท่านเมื่อพาพวกเราทั้งหมดไป จักไปได้ด้วยอุบายอย่างไร มโหสถแจ้งว่า
ข้าพเจ้าจักนำไปทางอุโมงค์ซึ่งตกแต่งไว้ พวกท่านจงเตรียมไปเถิด เมื่อจะสั่ง
โยธาให้เปิดประตูอุโมงค์ กล่าวว่า

แน่ะพ่อหนุ่ม ๆ พวกเจ้าจงลุกมา จงเปิดประตู
อุโมงค์ ประตูห้องติดต่อเครื่องยนตร์ พระเจ้า-
วิเทหราชพร้อมด้วยเหล่าอมาตย์จักเสด็จไปโดยอุโมงค์.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาณว เป็นชื่อเรียกคนหนุ่ม. บทว่า
มุขํ โสเธถ ความว่า จงเปิดประตูอุโมงค์. บทว่า สนฺธิโน ความว่า
จงเปิดประตูห้องติดต่อเครื่องยนตร์ คือจงเปิดประตูห้องนอนร้อยเอ็ดห้อง จง
เปิดประตูโคมดวงประทีปร้อยเอ็ดโคม.

คนใช้ของมโหสถเหล่านั้นลุกไปเปิดประตูอุโมงค์ อุโมงค์ทั้งสิ้นมี
แสงสว่างทั่วไป สว่างไสวประหนึ่งเทวสภาที่ได้ประดับแล้ว.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า

พวกคนรับใช้ของมโหสถบัณฑิตได้ฟังคำของ
มโหสถแล้ว จึงเปิดประตูอุโมงค์และเครื่องสลักห้าม
อันประกอบด้วยยนตร์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุสาริโน ได้แก่ ผู้ทำการขวนขวาย
ช่วยเหลือ. บทว่า ยนฺตยุตฺเต จ อคฺคเฬ ได้แก่ บานประตูที่ถึงพร้อม
ด้วยลิ่มสลัก.

พวกนั้นเปิดประตูอุโมงค์แล้วแจ้งให้มโหสถทราบ มโหสถก็กราบทูล
นัดพระราชาว่า ได้เวลาแล้วพระเจ้าข้า ขอเชิญเสด็จลงจากปราสาท พระราชา
ก็เสด็จลง เสนกะเปลื้องเครื่องพันศีรษะแล้วผลัดผ้าหยักรั้ง ลำดับนั้น มโหสถ
เห็นกิริยาแห่งเสนกะ จึงถามว่า นั่นท่านอาจารย์ทำอะไร เสนกะตอบว่า
แน่ะบัณฑิต ธรรมดาทั้งหลายไปโดยอุโมงค์ ต้องเปลื้องผ้าโพกหยักรั้งไป

มโหสถจึงแจ้งว่า แน่ะอาจารย์เสนกะ ท่านอย่าสำคัญว่า คนเข้าอุโมงค์ต้องก้ม
คุกเข่าเข้าไป ถ้าท่านใคร่จะไปด้วยช้างจงขึ้นช้างไป ถ้าท่านใคร่จะไปด้วยม้า
จงขึ้นม้าไป เพราะอุโมงค์สูง ประตูกว้างสูง ๑๘ ศอก ท่านจงประดับตกแต่ง

ตัวตามชอบใจไปก่อนพระราชา ฝ่ายพระโพธิสัตว์จัดให้เสนกะไปก่อน ให้
พระราชาเสด็จไปท่ามกลาง ตนเองไปภายหลัง เหตุไรมโหสถจึงจัดอย่างนี้
เพราะพระเจ้าวิเทหราชจะได้ไม่ทอดพระเนตรอุโมงค์อันตกแต่งแล้วค่อย ๆ
เสด็จไป ข้าวต้มข้าวสวยของเคี้ยวเป็นต้นประมาณไม่ได้ มีไว้เพื่อมหาชนใน
อุโมงค์ คนเหล่านั้นเคี้ยวดื่มพลางแลชมอุโมงค์ไป ฝ่ายพระมหาสัตว์ทูลเตือน

พระเจ้าวิเทหราชว่า เชิญเสด็จไป เชิญเสด็จไป พระเจ้าข้า ตามเสด็จไป
เบื้องหลัง พระเจ้าวิเทหราชทอดพระเนตรอุโมงค์ซึ่งเป็นดังเทวสภาอันตกแต่ง
แล้วพลางเสด็จไป.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 07:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า
เสนกะเดินไปก่อน มโหสถเดินไปข้างหลัง
พระเจ้าวิเทหราชเสด็จดำเนินไปท่ามกลางพร้อมด้วย
อมาตย์ห้อมล้อมเป็นราชบริพาร.

คนหนุ่มผู้รับใช้ของมโหสถเหล่านั้นรู้ว่า พระเจ้าวิเทหราชเสด็จมา จึง
นำพระนางสลากเทวีพระราชมารดาพระเจ้าจุลนี พระนางนันทาเทวีมเหสี
พระเจ้าจุลนี และพระปัญจาลจันทราชกุมาร พระนางปัญจาลจันทีราชกุมารี
ผู้เป็นราชโอรสราชธิดาของพระเจ้าจุลนี ออกจากอุโมงค์ให้ประทับอยู่ ณ
พลับพลากว้างใหญ่ ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราชเสด็จออกจากอุโมงค์กับมโหสถ
กษัตริย์ทั้ง ๔ คือ พระนางสลากเทวี พระนางนันทาเทวี ปัญจาลจันทกุมาร
ปัญจาลจันทีกุมารี ได้ทอดทัศนาการเห็นพระเจ้าวิเทหราชกับมโหสถก็ทราบว่า

พวกเราตกอยู่ในเงื้อมมือผู้อื่นโดยไม่สงสัย เหล่าคนของมโหสถจับพวกเรามา ก็
ครั่นคร้ามต่อมรณภัย ทั้งกลัวทั้งสะดุ้งร้องอึง.

ได้ยินว่า พระเจ้าจุลนีเสด็จไปรักษาอยู่ ณ สถานที่ ๑ คาวุตใกล้ฝั่ง
คงคา ด้วยทรงเกรงพระเจ้าวิเทหราชจะหนี ก็พระเจ้าจุลนีในเมื่อราตรีเงียบสงัด
ได้ทรงฟังเสียงร้องของกษัตริย์ทั้ง ๔ เป็นผู้ใคร่จะตรัสว่า เสียงนั้นเป็นเสียง
นางนันทาเทวี แต่ก็หาได้ตรัสอย่างไรไม่ ด้วยทรงเกรงความเย้ยหยันว่า
พระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระนางนันทาเทวีที่ไหน พระมหาสัตว์เชิญให้

พระนางปัญจาลจันทีราชกุมารีประทับบนกองรัตนะแล้วอภิเษกในที่นั้น แล้ว
กราบทูลพระเจ้าวิเทหราชว่า พระองค์เสด็จมาเพราะเหตุการณ์นี้ พระราช
กุมารีนี้จงเป็นมเหสีของพระองค์ เรือ ๓๐๐ ลำได้เทียบอยู่แล้ว พระเจ้า
วิเทหราชเสด็จลงจากพลับพลากว้างขึ้นสู่เรืออันตกแต่งแล้ว แม้กษัตริย์ทั้ง ๔
ก็ขึ้นสู่เรือ.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า
พระเจ้าวิเทหราชเสด็จออกจากอุโมงค์ขึ้นสู่เรือ
แล้ว มโหสถรู้ว่าพระองค์ขึ้นสู่เรือแล้ว ได้ถวาย
อนุศาสน์ว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระเจ้าจุลนีพรหมทัตนี้
เป็นพระสัสสุระของพระองค์ ข้าแต่พระจอมประชากร
พระนางนันทาเทวีนี้เป็นพระสัสสูของพระองค์ การ
ปฏิบัติพระราชมารดาของพระองค์อย่างใด จงมีแก่
พระสัสสูของพระองค์อย่างนั้น ข้าแต่พระราชา


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 07:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระเชษฐภาดาร่วมพระอุทรพระมารดาเดียวกันโดย
ตรงของพระองค์ทรงรักใคร่อย่างใด พระปัญจาล-
จันทราชกุมาร พระองค์ควรทรงรักใคร่อย่างนั้น
พระนางปัญจาลจันทีนี้ เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้า
พรหมทัตที่พระองค์ทรงปรารถนา พระองค์จงทำ
ความใคร่ของพระองค์แก่พระนาง พระนางจงเป็น
พระมเหสีของพระองค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุสาสิ ความว่า ได้ยินว่า มโหสถ
นั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลบางคราว พระเจ้าวิเทหราชอาจกริ้วแล้วฆ่า
พระชนนีของพระเจ้าจุลนีเสีย พึงสำเร็จสังวาสกับพระนางนันทาเทวีผู้มีพระรูป
งดงาม พึงฆ่าพระราชกุมารเสียก็ได้ จำเราจักถือปฏิญญาของพระเจ้าวิเทหราช

ไว้ เพราะฉะนั้น จึงได้กล่าวถวายอนุศาสน์ด้วยคำว่า อยํ เต เป็นต้น. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า อยํ เต สสฺสุโร ความว่า พระปัญจาลจันทกุมารนี้
เป็นพระโอรสของพระเจ้าจุลนีผู้เป็นพระสัสสุระของพระองค์ เป็นพระกนิษฐ-
ภาดาของพระนางปัญจาลจันที บัดนี้พระเจ้าจุลนีเป็นพระสัสสุระของพระองค์.

บทว่า อยํ สสฺสุ ความว่า พระมารดาของพระนางปัญจาลจันทีนี้ พระนามว่า
นันทาเทวี เป็นพระสัสสูของพระองค์. บทว่า ยถา มาตุ ความว่า บุตร
ย่อมกระทำวัตรปฏิบัติแก่มารดา ฉันใด พระองค์จงมีการกระทำวัตรปฏิบัติแก่
พระนางนันทาเทวี ฉันนั้น ยังมาตุสัญญาซึ่งมีกำลังกว่าให้ปรากฏ อย่าทรง
แลดูพระนางนันทาเทวีด้วยโลภจิตไม่ว่าในกาลไร ๆ. บทว่า นิยโก ความว่า

เป็นผู้เกิดภายใน คือเกิดด้วยบิดามารดาเดียวกัน. บทว่า ทยิตพฺโพ แปลว่า
พึงประพฤติเป็นที่รัก. บทว่า ภริยา ความว่า พระนางปัญจาลจันทีนี้จักเป็น
มเหสีของพระองค์ พระองค์อย่าทรงดูหมิ่นพระนางนี้ มโหสถบัณฑิตได้ถือ
ปฏิญญาของพระเจ้าวิเทหราชอย่างนี้.

พระเจ้าวิเทหราชทรงรับคำว่า ดีแล้ว ก็มโหสถไม่กล่าวอะไร ๆ ปรารภ
ถึงพระราชชนนีพระเจ้าจุลนี เพราะเหตุไรจึงไม่กล่าวปรารภถึง เพราะพระ-
ราชชนนีนั้นทรงพระชราแล้ว พระโพธิสัตว์ยืนกล่าวเรื่องทั้งปวงอยู่ริมฝั่งคงคา
ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราชเป็นผู้ใคร่จะเสด็จไปด้วยความพ้นจากทุกข์ใหญ่
จึงตรัสกะมโหสถว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าจะยืนอยู่ริมฝั่งคงคาทำอะไร แล้วตรัส
คาถาว่า


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 07:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ดูก่อนมโหสถ เจ้าจงรีบขึ้นเรือ เจ้าจะยืนอยู่
ริมฝั่งคงคาทำไมหนอ เราทั้งหลายพ้นจากทุกข์แล้ว
โดยยาก จงไปบัดนี้เถิด.

พระมหาสัตว์ได้ฟังรับสั่งจึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ การโดย
เสด็จด้วยพระองค์ยังไม่ควรแก่ข้าพระองค์ก่อน แล้วทูลว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า การที่ข้าพระองค์ผู้เป็น
นายกแห่งเสนา มาทอดทิ้งเสนางคนิกรเสีย เอาแต่
ตัวรอด หาชอบไม่ ข้าพระองค์จักนำมาซึ่งเสนางค-
นิกรในกรุงมิถิลาที่พระองค์ละไว้ และสิ่งของที่
พระเจ้าพรหมทัตประทานแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺโม ได้แก่ สภาวะ. บทว่า นิเวสนมฺหิ
ท่านกล่าวหมายเอาพระนคร. บทว่า ปริโมจเย แปลว่า พึงปลดเปลื้อง.
บทว่า ปริหาปิตํ แปลว่า ทิ้งไว้.

มโหสถกล่าวคาถาดังนี้แล้วกราบทูลว่า ก็เมื่อเหล่าชนมาแต่ทางไกล
บางพวกเคี้ยวกิน บางพวกดื่ม บางพวกเหน็ดเหนื่อยก็นอนหลับ ไม่รู้การที่
พวกเราออกจากอุโมงค์แล้ว บางพวกเจ็บป่วย ทำงานมากับข้าพระองค์ตลอด
๔ เดือน เป็นคนมีอุปการะแก่ข้าพระองค์ ก็บรรดาชนเหล่านั้นมีมาก ข้า-
พระองค์ไม่อาจจะทิ้งแม้คนหนึ่งไป แต่ข้าพระองค์จักกลับนำมาซึ่งเสนาทั้งปวง

ของพระองค์ และทรัพย์ที่พระเจ้าจุลนีประทานมิให้เหลือไว้ ขอพระองค์อย่า
เฉื่อยช้าในที่ไหน รีบเสด็จ ขอพระองค์ทรงละช้างม้าพาหนะเป็นต้น ที่
ข้าพระองค์วางไว้ในหนทางเป็นระยะซึ่งเหน็ดเหนื่อยแล้ว ๆ เสีย เสด็จขึ้น
พระยานมาศที่สามารถเข้าสู่กรุงมิถิลาเสียโดยเร็วพลัน.

ลำดับนั้น พระราชาได้ตรัสคาถาว่า
ดูก่อนบัณฑิต เจ้าเป็นผู้มีเสนาน้อย จักข่ม
พระเจ้าจุลนีผู้มีเสนามากตั้งอยู่อย่างไร เจ้าเป็นผู้ไม่มี
กำลัง จักลำบากด้วยพระเจ้าจุลนีผู้มีกำลัง
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิคฺคยฺห ได้แก่ ครอบงำ. บทว่า
วิหญฺญิสฺสสิ แปลว่า จักลำบาก.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 07:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์กล่าวคาถาว่า
ถ้าบุคคลมีความคิด แม้มีเสนาน้อย ย่อมชนะ
บุคคลผู้ไม่มีความคิดที่มีเสนามากได้ พระราชาพระองค์
เดียว ย่อมชนะพระราชาทั้งหลายได้ ดุจดวงอาทิตย์
อุทัยกำจัดความมืด ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนฺตี ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความคิด
คือมีปัญญา คือฉลาดในอุบาย. บทว่า อมนฺตินํ ได้แก่ ผู้ไม่ฉลาดในอุบาย.
บทว่า ชินาติ ความว่า ผู้มีปัญญาย่อมชนะผู้มีปัญญาทราม. บทว่า ราชา
ราชาโน ความว่า พระราชาเห็นปานนี้แม้พระองค์เดียว ก็ย่อมชนะพระราชา
ทั้งหลายที่มีปัญญาทรามแม้มาก เหมือนอย่างอะไร. บทว่า อาทิจฺโจวุทยนฺ-
ตมํ ความว่า ดวงอาทิตย์อุทัยส่องแสงสว่าง กำจัดความมืด ฉันใด ผู้มี
ปัญญาย่อมชนะและย่อมไพโรจน์ราวกะดวงอาทิตย์ ฉันนั้น.

ก็แลครั้นทูลดังนี้แล้ว พระมหาสัตว์ถวายบังคมพระเจ้าวิเทหราช
กราบทูลว่า เชิญพระองค์เสด็จไปเถิด แล้วส่งเสด็จ พระเจ้าวิเทหราชทรงนึก
ถึงคุณของพระโพธิสัตว์ว่า เราพ้นจากเงื้อมมือข้าศึกแล้วหนอ และความ
ประสงค์ของเราก็ถึงที่สุดแล้ว เพราะได้นางปัญจาลจันทีราชธิดาพระเจ้าพรหม-
ทัตแล้ว ก็บังเกิดพระปีติปราโมทย์ เมื่อจะตรัสสรรเสริญคุณของมโหสถแก่
เสนกะ จึงตรัสคาถาว่า

แน่ะเสนกาจารย์ การอยู่ร่วมด้วยเหล่าบัณฑิต
เป็นสุขดีหนอ เพราะว่ามโหสถปลดเปลื้องพวกเราผู้
ตกอยู่ในเงื้อมมือข้าศึก ดุจบุคคลปลดเปลื้องฝูงนกที่
ติดอยู่ในกรง หรือฝูงปลาที่ติดอยู่ในแห ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุสุขํ วต ความว่า การอยู่ร่วมด้วย
บัณฑิตทั้งหลาย นี้เป็นสุขยิ่ง เป็นสุขยิ่งกว่าหนอ. บทว่า อิติ เป็นนิบาต
ลงในอรรถว่า เหตุ มีคำอธิบายว่า แน่ะอาจารย์เสนกะ เพราะมโหสถปลดเปลื้อง
พวกเราที่ตกอยู่ในเงื้อมมือข้าศึก ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า การอยู่ร่วมด้วยเหล่า
บัณฑิตอย่างนี้ นี้เป็นสุขดีหนอ.

อาจารย์เสนกะได้ฟังพระราชดำรัสดังนั้น เมื่อจะสรรเสริญคุณของ
มโหสถ จึงกล่าวว่า


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 07:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า บัณฑิตทั้งหลายนำความ
สุขมาแท้จริงอย่างนี้ทีเดียว มโหสถปลดเปลื้องพวก
เราผู้ตกอยู่ในเงื้อมมือข้าศึก ดุจบุคคลปลดเปลื้องฝูง
นกที่ติดอยู่ในกรง หรือฝูงปลาที่ติดอยู่ในแห ฉะนั้น.

ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราชเสด็จขึ้นจากแม่น้ำ ถึงบ้านที่มโหสถให้
สร้างไว้ทุกระยะ ๑ โยชน์ ชนทั้งหลายที่มโหสถวางไว้ในบ้านนั้น ๆ ก็จัดช้าง
พาหนะข้าวน้ำเป็นต้นถวายพระราชา พระราชายังช้างม้ารถที่เหน็ดเหนื่อย
แล้ว ๆ ให้กลับ เปลี่ยนสัตว์พาหนะนอกนี้ ถึงบ้านอื่นด้วยสัตว์พาหนะเหล่านั้น
ล่วงมรรคา ๑๐๐ โยชน์ด้วยอุบายนี้ รุ่งเช้าก็เสด็จเข้ากรุงมิถิลา.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ไปสู่ประตูอุโมงค์ เปลื้องดาบที่ตนเหน็บไว้ออก คุ้ย
ทรายที่ประตูอุโมงค์ฝังดาบนั้นไว้ในทรายนั้น ก็แลครั้นฝังดาบแล้วก็เข้าไปสู่
อุโมงค์แล้วออกจากอุโมงค์เข้าสู่เมืองที่สร้างไว้ ขึ้นปราสาทอาบน้ำหอมแล้ว
บริโภคโภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ แล้วไปสู่ที่นอนอันประเสริฐ เมื่อนึกว่ามโนรถ
ของเราถึงที่สุดแล้วก็หลับไป ฝ่ายพระเจ้าจุลนีตรวจเสนางคนิกรแล้วเสด็จถึง
นครนั้นโดยกาลล่วงไปแห่งราตรีนั้น.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า
พระเจ้าจุลนีผู้มีกำลังมากรักษาการตลอดราตรี
ทั้งสิ้น ครั้นอรุณขึ้นก็เสด็จถึงอุปการนคร พระเจ้า-
กรุงอุตตรปัญจาละพระนามว่า จุลนีผู้มีกำลังมาก
เสด็จทรงช้างที่นั่งตัวประเสริฐมีกำลัง อายุ ๖๐ ปี

ได้ตรัสการทัพกะเสนาของพระองค์ พระองค์ทรง
สวมเกราะแก้วมณี พระหัตถ์จับศร ได้ตรัสกะพวก
เหล่าทวยหาญผู้รับใช้ ซึ่งชำนาญในศิลป์เป็นอันมาก
ประชุมกันอยู่.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 07:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสิณํ ได้แก่ ตลอดราตรีทั้งสิ้นไม่เหลือ.
บทว่า อุเทนฺตํ ได้แก่ขึ้นไปอยู่. บทว่า อุปการํ ความว่า เสด็จถึงนคร
ที่ได้ชื่อว่า อุปการ เพราะพระมหาสัตว์สร้างเทียบเคียงปัญจาลนคร บทว่า
อโวจ ความว่า ได้ตรัสกะเสนาของพระองค์. บทว่า เปสิเย ได้แก่ ผู้ทำ
การรับใช้ของพระองค์. บทว่า อชฺฌภาสิตฺถ ความว่า ตรัสยิ่งแล้ว คือ
ได้ตรัสก่อนกว่านั่นเอง. บทว่า ปุถุคุมฺเพ ความว่า ผู้ดำรงอยู่ในศิลปะเป็น
อันมาก คือรู้ศิลปะเป็นอเนก.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงข้อความเหล่านั้นโดยย่อ พระศาสดาจึงตรัสว่า
พระเจ้าจุลนีตรัสกะกองช้าง กองม้า กองรถ
กองราบ ผู้มีศิลปธนู ผู้ยิงแม่น ยิงขนทรายก็ไม่พลาด
ผู้ประชุมกันอยู่แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปาสนมฺหิ ได้แก่ ผู้ชำนาญในการยิง
ธนู. บทว่า กตหตฺเถ ได้แก่ ผู้ยิงแม่นเพราะยิงไม่ผิดพลาด.
บัดนี้ พระเจ้าจุลนีเมื่อจะตรัสสั่งให้จับเป็นพระเจ้าวิเทหราช จึงตรัสว่า

เจ้าทั้งหลายจงไสช้างพลายมีกำลัง อายุ ๖๐ ปี
ช้างทั้งหลายจงย่ำยีนครที่พระเจ้าวิเทหราชทรงสร้างไว้
ดีแล้วเสีย ลูกศรอันขาวด้วยเขี้ยวงา ปลายแหลมคม
สามารถแทงกระดูกได้ เกลี้ยงเกลา เหล่านี้จงตกลงดัง
ห่าฝนด้วยกำลังธนู เหล่าโยธารุ่นหนุ่มสวมเกราะ
แกล้วกล้า มีอาวุธประกอบด้วยด้ามอันวิจิตร เหล่า

ช้างใหญ่แล่นมา จงหันหน้าสู้ช้างทั้งหลาย หอกทั้ง
หลายที่ขัดด้วยน้ำมันแล้ว มีแสงเป็นประกายวะวับ
รุ่งเรืองตั้งอยู่ ดังดาวประกายพรึก มีรัศมีมาก เมื่อ
เหล่าโยธาของเรามีกำลังคืออาวุธ ทรงสังวาลคือเกราะ
ไม่ล่าหนีในสงครามเช่นนี้ พระเจ้าวิเทหราชจักพ้น
ไปได้ที่ไหน หากจะเป็นเหมือนนกบินไปทางอากาศ
ก็จักทำได้อย่างไร ก็โยธาของเราทั้งหมด ๓๙,๐๐๐ ซึ่ง
เราเที่ยวไปทั่วแผ่นดิน ไม่เห็นเทียมทัน สามารถตัด


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 07:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ศีรษะข้าศึกเอามาคนละศีรษะได้ อนึ่ง ช้างพลายทั้ง
หลายอันประดับแล้ว มีกำลังอายุ ๖๐ ปี เหล่าโยธาหนุ่ม ๆ
มีผิวพรรณดังทองคำงดงามอยู่บนคอ โยธาทั้งหลายมี
เครื่องประดับสีเหลือง นุ่งผ้าสีเหลือง ห่มผ้าเฉวียง
บ่าสีเหลืองงดงามอยู่บนคอช้าง ดังเทพบุตรทั้งหลาย
ในนันทนวัน ดาบทั้งหลายมีสีดังปลาสลาด ขัดถูด้วย

น้ำมัน แสงวะวับ อันเหล่าโยธาผู้วีรบุรุษทำเสร็จแล้ว
มีคมเสมอ มีคมยิ่ง เงาวับ ดาบทั้งหลายหาสนิมมิได้
ทำด้วยเหล็กกล้ามั่นคง อันเหล่าโยธาผู้มีกำลัง เชี่ยว
ชาญในวิธีประหาร ถือเป็นคู่มือแล้ว เหล่าโยธาผู้ถึง
พร้อมด้วยความงามดังทองคำ สวมเสื้อสีแดงกวัด
แกว่งดาบย่อมงดงาม ดังสายฟ้าแลบวาบอยู่ในระหว่าง

ก้อนเมฆ เหล่าโยธาผู้กล้าหาญสวมเกราะ สามารถยัง
ธงให้สะบัดในอากาศ ฉลาดในการใช้ดาบและเกราะ
ถือดาบ ฝึกมาอย่างชำนาญสามารถจะตัดคอช้างให้
ขาดตกลง (แต่กาลก่อน) ท่านเป็นผู้อันหมู่ชนเช่นนี้
แวดล้อม แต่กาลนี้ ความพ้นภัยของท่านไม่มี เรา

ไม่เห็นราชานุภาพของท่านที่จะเป็นเหตุให้ท่านไปกรุง
มิถิลาได้เลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทนฺตี ได้แก่ มีงาสมบูรณ์. บทว่า
วจฺฉทนฺตมุขา ได้แก่ มีหน้าเช่นเหล็กสกัด. บทว่า ปนุณฺณา แปลว่า
เกลี้ยงเกลา. บทว่า สมฺปตนฺตุตรีตรา ความว่า ลูกศรเห็นปานนี้เหล่านั้น
จงตกลง คือจงมาพร้อมกันแล้ว ๆ เล่า ๆ พระเจ้าจุลนีมีพระดำรัสสั่งว่า พวก
เจ้าจงหลั่งฝนคือลูกศร ให้เป็นเหมือนฝนลูกเห็บตก. บทว่า มาณวา ได้แก่

ทหารหนุ่ม. บทว่า จมฺมิโน ได้แก่ ถือโล่. บทว่า จิตฺตทณฺฑยุตาวุธา
ความว่า ประกอบด้วยอาวุธที่มีด้ามวิจิตร. บทว่า ปกฺขนฺทิโน ได้แก่ ผู้
แล่นเข้าสงคราม. บทว่า มหานาคา ความว่า แม้เมื่อช้างใหญ่ทั้งหลายทำ
โกญจนาทมา โยธาทั้งหลายก็สามารถที่จะยืนนิ่งจับงาทั้งสองของช้างเหล่านั้น
ถอนออกเสียได้. บทว่า สตรํสาว ตารกา ความว่า มีรัศมีมากราวกะ


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 07:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ดาวประกายพรึก. บทว่า อาวุธพลวนฺตานํ ได้แก่ ประกอบด้วยกำลัง
อาวุธ. บทว่า คุณิกายุรธารินํ ความว่า เกราะท่านเรียกว่า คุณี ผู้ทรงไว้
ซึ่งเกราะทั้งหลายด้วย ซึ่งเครื่องประดับ คือกำไลแขนทั้งหลายด้วย หรือผู้ทรง
ไว้ซึ่งกำไลแขนกล่าวคือเกราะ. บทว่า สเจ ปกฺขีว กาหติ ความว่า พระ-
เจ้าจุลนีตรัสว่า ถ้าจักบินไปได้ทางอากาศเหมือนนก แม้อย่างนั้น ก็จักพ้นไป
ได้อย่างไร. บทว่า ตึส เม ปุริสนาวุโตฺย ความว่า ท่านเรียกบุรุษ

๓๙,๐๐๐ ว่า ตึสนาวุโตฺย ดังนี้. บทว่า สพฺเพ เจเกกนิจฺจิตา ความว่า
พระเจ้าจุลนีทรงแสดงว่า โยธาของเราสามารถแย่งอาวุธจากมือคนอื่น ๆ ตัด
ศีรษะปัจจามิตรทั้งหลายได้ เป็นโยธาที่คัดเลือกเป็นคน ๆ อยู่ประจำการ. บทว่า
เกวลํ มหิมํ จรํ ความว่า เที่ยวไปตลอดแผ่นดินนี้ทั้งสิ้น. บทว่า เยสํ
สมํ น ปสฺสามิ ความว่า พระเจ้าจุลนีทรงแสดงว่า เราไม่เห็นโยธาเหล่านั้น

ที่เหมือนโยธาของเราซึ่งมีความสามารถเท่านี้ ทองท่านเรียกว่า จารุ ในบทว่า
จารุทสฺสนา ความว่า มีวรรณะดังทอง. บทว่า ปีตาลงฺการา ได้แก่ มี
เครื่องประดับสีเหลือง. บทว่า ปีตวสนา ได้แก่ นุ่งผ้าเหลือง. บทว่า
ปีตุตฺตรนิวาสนา ได้แก่ มีผ้าห่มเหลือง. บทว่า ปาฐีนวณฺณา ได้แก่
เช่นกับปลาสลาด. บทว่า เนตฺตึสา แปลว่า พระขรรค์. บทว่า นรวีเรหิ

ได้แก่ บุรุษผู้เป็นบัณฑิต ผู้มีความเพียร. บทว่า สุนิสฺสิตา ได้แก่ ลับ
อย่างดี คมกริบ. บทว่า เวลฺลาฬิโน ความว่า โชติช่วง ดังดวงอาทิตย์
เที่ยงวัน. บทว่า สิกฺกายสมยา ความว่า ทำด้วยเหล็กกล้าที่ให้นกกระเรียน
เคี้ยวเจ็ดครั้งถือเอา. บทว่า สุปฺปหารปฺปหาริภิ ได้แก่ โยธามือแม่น.

บทว่า โลหิตกญฺจูปธาริตา ความว่า ประกอบด้วยเสื้อสีแดง. บทว่า ปวกา
ได้แก่ สามารถสะบัดธงในอากาศ. บทว่า อสิจมฺมสฺส โกวิทา ได้แก่


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 140, 141, 142, 143, 144, 145, 146 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร