วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 07:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
นานาชนิดมีค้อนเป็นต้น เข้าป่าแสวงหาเนื้อ คิดว่า พวกเราจักจับเนื้อทั้งหลาย
ที่อยู่ตรงกลาง จึงล้อมที่ประมาณ ๑ โยชน์ เมื่อร่นเข้ามาได้ล้อมที่เป็นที่อยู่
ของเนื้อนิโครธและเนื้อสาขะไว้ตรงกลาง ครั้นเห็นหมู่เนื้อนั้นจึงเอาไม้ค้อนตี
ต้นไม้ พุ่มไม้เป็นต้น และตีพื้นดิน ไล่หมู่เนื้อออกจากที่รกชัฏ พากันเงื้อ
อาวุธทั้งหลายมีดาบ หอกและธนูเป็นต้น บันลือเสียงดัง ต้อนหมู่เนื้อนั้นให้

เข้าพระราชอุทยานแล้วปิดประตู พากันเข้าไปเฝ้าพระราชาแล้วกราบทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ เมื่อพระองค์เสด็จไปทรงฆ่าเนื้อเป็นประจำ ทรงทำการงาน
ของข้าพระองค์ทั้งหลายให้เสียหาย พวกข้าพระองค์ต้อนเนื้อทั้งหลายมาจากป่า
เต็มพระราชอุทยานของพระองค์ ตั้งแต่นี้ไป พระองค์จะได้เสวยเนื้อของมฤค
เหล่านั้น แล้วทูลลาพระราชาพากันหลีกไป.

พระราชาได้ทรงสดับคำของมนุษย์เหล่านั้น แล้วเสด็จไปพระราช-
อุทยาน ทอดพระเนตรเนื้อทั้งหลาย ทรงเห็นเนื้อสีทอง ๒ ตัว จึงได้
พระราชทานอภัยแก่เนื้อทั้งสองนั้น ก็ตั้งแต่นั้นมา บางคราว เสด็จไปเอง
ทรงฆ่าเนื้อตัวหนึ่งแล้วนำมา บางคราว พ่อครัวของพระองค์ไปฆ่าแล้วนำมา
เนื้อทั้งหลายพอเห็นธนูเท่านั้น ถูกความกลัวแต่ความตายคุกคาม พากันหนี

ไป ได้รับการประหาร ๒ - ๓ ครั้ง ลำบากไปบ้าง ป่วยไปบ้าง ถึงความตาย
บ้าง หมู่เนื้อจึงบอกประพฤติเหตุนั้นแก่พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ให้เรียก
เนื้อสาขะมาแล้วกล่าวว่า ดูก่อนสหาย เนื้อเป็นอันมากพากันฉิบหาย เมื่อ
เนื้อมีอันจะต้องตายโดยส่วนเดียว ตั้งแต่นี้ไป ผู้จะฆ่าจงอย่าเอาลูกศรยิงเนื้อ

วาระของเนื้อทั้งหลายจงมีในที่แห่งค้อนของผู้พิพากษา วาระจงถึงแก่บริษัท
ของเราวันหนึ่ง จงถึงแก่บริษัทของท่านวันหนึ่ง เนื้อตัวที่ถึงวาระจงไปนอน
พาดหัวที่ไม้ค้อนของผู้พิพากษา แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น เนื้อทั้งหลายจักไม่กลัว
เนื้อสาขะรับคำแล้ว ตั้งแต่นั้นมา เนื้อที่ถึงวาระ จะไปนอนพาดคอที่ไม้ค้อน
พิพากษา พ่อครัวมาจับเอาเนื้อตัวที่นอนอยู่ ณ ที่นั้นนั่นแหละไป อยู่มาวัน

หนึ่ง วาระถึงแก่แม่เนื้อผู้มีครรภ์ตัวหนึ่งซึ่งเป็นบริษัทของเนื้อสาขะ แม่เนื้อ
นั้นเข้าไปหาเนื้อสาขะแล้วกล่าวว่า เจ้านาย ข้าพเจ้ามีครรภ์ คลอดลูกแล้ว
พวกเราทั้งสองจะไปตามวาระ ท่านจงให้ข้ามวาระของข้าพเจ้าไปก่อน เนื้อ
สาขะกล่าวว่า เราไม่อาจทำวาระของเจ้าให้ถึงแก่เนื้อตัวอื่น ๆ เจ้าเท่านั้นจักรู้
ว่า เจ้ามีบุตร เจ้าจงไปเถอะ แม่เนื้อนั้น เมื่อไม่ได้ความช่วยเหลือจากสำนัก

ของเนื้อสาขะ จึงเข้าไปหาพระโพธิสัตว์บอกเนื้อความนั้น พระโพธิสัตว์นั้น
ได้ฟังคำของแม่เนื้อนั้นจึงคิดว่า ก็พระโพธิสัตว์ทั้งหลายในกาลก่อน เห็น
ทุกข์ของคนอื่น ย่อมไม่ห่วงใยชีวิตของตน ประโยชน์ของผู้อื่นจากประโยชน์
ตนนั่นแล เป็นสิ่งที่หนักกว่าสำหรับพระโพธิสัตว์เหล่านั้น.

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แก้ไขล่าสุดโดย sssboun เมื่อ 25 พ.ย. 2018, 09:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
เหล่านก ปศุสัตว์ มฤคในป่าทั้งหมดย่อมเป็น
อยู่ด้วยตนเอง นักปราชญ์ทั้งหลายผู้สงบ ยินดีแล้ว
ในประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ ย่อมยังผู้อื่นให้เป็นอยู่ ก็
นักปราชญ์เหล่านั้นสละทรัพย์ อวัยวะ และชีวิต เพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เรานั้นเป็นผู้สามารถจักยังเหล่า
สัตว์เป็นอันมากพร้อมทั้งเทวโลกให้ข้ามได้ด้วย ก็
ความไม่มีบุญ เพราะกายอันไร้สาระนี้ เราจักได้ลาภ
ของท่านอันยั่งยืนด้วยตนเองแน่.

ครั้นคิดดังนี้แล้วจึงกล่าวว่า เจ้าจงไปเถอะ เราจักให้วาระของเจ้าข้ามไป ครั้น
กล่าวแล้ว ตนเองก็ไปนอนกระทำศีรษะไว้ที่ไม้ค้อนพิพากษาพ่อครัวเห็นดังนั้น
จึงคิดว่า พระยาเนื้อผู้ได้รับพระราชทานอภัยนอนอยู่ที่ไม้ค้อนพิพากษา เหตุ
อะไรหนอ จึงรีบไปกราบทูลแด่พระราชา พระราชาเสด็จขึ้นทรงรถในทันใด
นั้นเอง เสด็จไปด้วยบริวารใหญ่เห็นพระโพธิสัตว์จึงตรัสว่า พระยาเนื้อผู้สหาย

เราให้อภัยแก่ท่านไว้แล้วมิใช่หรือ เพราะเหตุไรท่านจึงนอนอยู่ ณ ที่นี้ พระยา
เนื้อกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช แม่เนื้อผู้มีครรภ์มากล่าวว่า ขอท่านจงยัง
วาระของฉันให้ถึงแก่เนื้อตัวอื่น ก็ข้าพระบาทไม่อาจโยนมรณทุกข์ของเนื้อตัว
หนึ่งไปเหนือเนื้อตัวอื่นได้ ข้าพระบาทนั้นจึงให้ชีวิตของตนแก่แม่เนื้อนั้น ถือ

เอาความตายอันเป็นของแม่เนื้อนั้นแล้วจึงนอนอยู่ ณ ที่นี้ ข้าแต่มหาราช ขอ
พระองค์อย่าได้ทรงระแวงเหตุอะไร ๆ อย่างอื่นเลย พระราชาตรัสว่า ดูก่อน
สุวรรณมิคราชผู้เป็นนาย แม้ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย เราก็ไม่เคยเห็นคนผู้
เพียบพร้อมด้วยขันติ เมตตา และความเอ็นดูเช่นกับท่าน ด้วยเหตุนั้น เราจึง

เลื่อมใสท่าน ลุกขึ้นเถิดเราให้อภัยแก่ท่านและแก่แม่เนื้อนั้น พระยาเนื้อกล่าวว่า
ข้าแต่พระผู้จอมคน เมื่อข้าพระบาททั้งสองได้อภัยแล้ว เนื้อที่เหลือนอกนั้น
จักกระทำอย่างไร พระราชาตรัสว่า นาย เราให้อภัยแม้แก่เนื้อที่เหลือด้วย
พระยาเนื้อกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช แม้เมื่อเป็นอย่างนั้นเนื้อทั้งหลายใน
พระราชอุทยานเท่านั้น จักได้อภัย เนื้อที่เหลือจักทรงกระทำอย่างไรพระราชา

ตรัสว่า นาย เราให้อภัยแก่เนื้อแม้เหล่านั้น พระยาเนื้อกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช
เบื้องต้น เนื้อทั้งหลายได้รับอภัย สัตว์ ๔ เท้าที่เหลือจักกระทำอย่างไร พระ-

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แก้ไขล่าสุดโดย sssboun เมื่อ 25 พ.ย. 2018, 08:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 08:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ราชาตรัสว่า นาย เราให้อภัยแก่สัตว์ ๔ เท้าแม้เหล่านั้น พระยาเนื้อกราบทูล
ว่า ข้าแต่มหาราช สัตว์ ๔ เท้าได้รับพระราชทานอภัยก่อน หมู่นกจักกระทำ
อย่างไร พระราชาตรัสว่า นาย แม้หมู่นกเหล่านั้นเราก็ให้อภัย พระยาเนื้อ
กราบทูลว่า เบื้องต้น หมู่นกจักได้รับพระราชทานอภัย พวกปลาที่อยู่ในนํ้าจัก
กระทำอย่างไร พระราชาตรัสว่า นาย แม้หมู่ปลาเหล่านั้น เราก็ให้อภัย
พระมหาสัตว์ทูลขออภัยแก่สรรพสัตว์กะพระราชาอย่างนี้แล้ว ได้ลุกขึ้นยืนให้

พระราชาดำรงอยู่ในศีล ๕ แล้วแสดงธรรมแก่พระราชาด้วยลีลาของพระพุทธเจ้า
ว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงประพฤติธรรมในพระชนกชนนีในพระโอรส
พระธิดา ในพราหมณ์คฤหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบท เมื่อทรงประพฤติ
ธรรมประพฤติสมํ่าเสมออยู่ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกจักเข้าถึงสุคติโลก
สวรรค์ ดังนี้ แล้วอยู่ในอุทยาน ๒- ๓ วัน ให้โอวาทแก่พระราชาแล้วอันหมู่

เนื้อแวดล้อมเข้าป่าแล้ว แม่เนื้อนมแม้นั้นตกลูกออกมาเช่นกับช่อดอกไม้ ลูก
เนื้อนั้นเมื่อเล่นได้ จะไปยังสำนักของเนื้อสาขะ. ลำดับนั้น มารดาเห็นลูกเนื้อ
นั้นกำลังจะไปยังสำนักของเนื้อสาขะนั้น จึงกล่าวว่า ลูกเอ๋ย ตั้งแต่นี้ไปเจ้า
อย่าไปยังสำนักของเนื้อสาขะนั่น เจ้าพึงไปยังสำนักของเนื้อนิโครธเท่านั้น เมื่อ
จะโอวาทจึงกล่าวคาถาว่า

เจ้าหรือคนอื่นก็ตาม พึงคบหาแต่พระยาเนื้อ
ชื่อว่านิโครธเท่านั้น ไม่ควรเข้าไปอาศัยอยู่กับพระยา
เนื้อชื่อว่าสาขะ ความตายในสำนักของพระยาเนื้อชื่อ
ว่านิโครธประเสริฐกว่า การมีชีวิตอยู่ในสำนักพระยา
เนื้อสาขะ จะประเสริฐอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิโคฺรธเมว เสเวยฺย ความว่า ดูก่อน
พ่อ เจ้าหรือคนอื่นก็ตาม ผู้ใคร่ต่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ควรเสพหรือควร
คบหาแต่พระยาเนื้อชื่อว่านิโครธนั้น. บทว่า น สาขํ อุปสํวเส ความว่า
แต่เนื้อชื่อว่าสาขะไม่ควรเข้าไปอยู่ร่วม คือ ไม่ควรเข้าไปใกล้แล้วอยู่ร่วม ได้
แก่ไม่ควรอาศัยเนื้อสาขะนั้นเลี้ยงชีวิต. บทว่า นิโคฺรธสฺมึ มตํ เสยฺโย
ความว่า แม้การตายอยู่แทบเท้าของพระยาเนื้อชื่อว่านิโครธประเสริฐกว่า คือ

ยอดเยี่ยมสูงสุด. บทว่า ยญฺเจ สาขสฺมิ ชีวิตํ ความว่า ก็ความเป็นอยู่
ในสำนักของเนื้อชื่อว่าสาขะนั้น ไม่ประเสริฐคือไม่ยอดเยี่ยมไม่สูงสุดเลย.

ก็จำเดิมแต่นั้น พวกเนื้อที่ได้อภัยพากันกินข้าวกล้าของพวกมนุษย์
มนุษย์ทั้งหลายไม่อาจตีหรือไล่เนื้อทั้งหลายด้วยคิดว่า เนื้อเหล่านี้ได้รับพระ-
ราชทานอภัย จึงพากันประชุมที่พระลานหลวง กราบทูลความนั้นแด่พระราชา
พระราชาตรัสว่า เรามีความเลื่อมใสให้พรแก่พระยาเนื้อชื่อว่านิโครธ เราถึงจะ

ละราชสมบัติ ก็จะไม่ทำลายปฏิญญานั้น ท่านทั้งหลายจงไปเถิด ใคร ๆ ย่อมไม่
ได้เพื่อจะประหารเนื้อทั้งหลายในแว่นแคว้นของเรา พระยาเนื้อนิโครธได้สดับ
เหตุการณ์นั้น จึงให้หมู่เนื้อประชุมกัน โอวาทเนื้อทั้งหลายว่า จำเดิมแต่นี้ไป
ท่านทั้งหลายอย่าได้กินข้าวกล้าของคนอื่น ดังนี้แล้ว บอกแก่มนุษย์ทั้งหลายว่า
ตั้งแต่นี้ไปมนุษย์ทั้งหลายผู้กระทำข้าวกล้า จงอย่าทำรั้วเพื่อจะรักษาข้าวกล้า
แต่จงผูกสัญญาด้วยใบไม้ปักนาไว้ ได้ยินว่า จำเดิมแต่นั้น จึงเกิดสัญญาใน

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
การผูกใบไม้ขึ้นในนาทั้งหลาย จำเดิมแต่นั้น ชื่อว่าเนื้อผู้ล่วงละเมิดสัญญาใน
การผูกใบไม้ ย่อมไม่มี. ได้ยินว่า ข้อนี้เป็นโอวาทที่พวกเนื้อเหล่านั้นได้จาก
พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์โอวาทหมู่เนื้ออย่างนี้แล้วดำรงอยู่ตลอดชั่วอายุ.
พร้อมกับเนื้อทั้งหลายได้ไปตามยถากรรมแล้ว. ฝ่ายพระราชาทรงตั้งอยู่ใน
โอวาทของพระโพธิสัตว์ ทรงกระทำบุญทั้งหลายได้เสด็จไปตามยถากรรมแล้ว.

พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราเป็นที่พึ่งอาศัยของพระเถรี
และพระกุมารกัสสป ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้เป็นที่พึ่ง
อาศัยแล้วเหมือนกัน ก็ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงหมุนกลับ
เทศนาว่าด้วยสัจจะทั้ง ๔ ตรัสเรื่อง ๒ เรื่องสืบต่ออนุสนธิกัน แล้วทรง
ประชุมชาดกว่า เนื้อชื่อสาขะในครั้งนั้น ได้เป็นพระเทวทัต แม้

บริษัทของเนื้อสาขะนั้น ก็ได้เป็นบริษัทของพระเทวทัตนั่นแหละ
แม่เนื้อนมในครั้งนั้น ได้เป็นพระเถรี ลูกเนื้อในครั้งนั้นได้เป็น
พระกุมารกัสสป พระราชาได้เป็นอานนท์ ส่วนพระยาเนื้อชื่อว่า
นิโครธ ได้เป็นเราเองแล.
จบนิโครธมิคชาดกที่ ๒


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภการ
ประเล้าประโลมของภรรยาเก่า จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
ธิรตฺถุ กณฺฑินํ สลฺลํ ดังนี้.

การประเล้าประโลมนั้นจักมีแจ้งในอินทรียชาดก อัฏฐกนิบาต. ก็พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระดำรัสนี้กะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ แม้ในกาลก่อน
เธออาศัยมาตุคามนี้ ถึงความสิ้นชีวิต ร้องเรียกอยู่ที่พื้นถ่านเพลิงอันปราศจาก
เปลว ภิกษุทั้งหลายทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงประกาศเรื่องนั้น
ให้แจ่มแจ้ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำเหตุอันระหว่างภพปกปิดให้

ปรากฏแล้ว. ก็เบื้องหน้าแต่นี้ไป เราจักไม่กล่าวถึงการที่ภิกษุทั้งหลายทูลอ้อน
วอน และความที่เหตุถูกระหว่างภพปกปิด จักกล่าวเฉพาะคำมีประมาณเท่านี้
ว่า อตีตํ อาหริ แปลว่า ทรงนำอดีตนิทานมาว่าดังนี้เท่านั้น. แม้เมื่อ
กล่าวคำมีประมาณเท่านี้ ก็พึงประกอบเหตุการณ์นี้ทั้งหมด คือ การทูลอาราธนา

การเปรียบเทียบเหมือนนำพระจันทร์ออกจากกลุ่มเมฆ และความที่เหตุถูก
ระหว่างภพปกปิดไว้ โดยนัยดังกล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ แล้วพึงทราบไว้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้ามคธครองราชสมบัติอยู่ในพระนครราชคฤห์
แคว้นมคธ ในสมัยข้าวกล้าของชนชาวมคธ พวกเนื้อทั้งหลายมีอันตรายมาก
เนื้อเหล่านั้นจึงเข้าไปยังเนินเขา. เนื้อภูเขาที่อยู่ในป่าตัวหนึ่ง ทำความสนิท
สนมกับลูกเนื้อตัวเมียชาวบ้านตัวหนึ่ง ในเวลาที่พวกเนื้อเหล่านั้นลงจากเชิงเขา

กลับมายังชายแดนบ้านอีก ได้ลงมากับเนื้อเหล่านั้นนั่นแหละ เพราะมีจิต
ปฏิพัทธ์ในลูกเนื้อตัวเมียนั้น. ลำดับนั้น ลูกเนื้อตัวเมียนั้นจึงกล่าวกะเนื้อ
ภูเขานั้นว่า ข้าแต่เจ้า ท่านแลเป็นเนื้อภูเขาที่เขลา ก็ธรรมดาชายแดน
ของบ้าน น่าระแวง มีภัยเฉพาะหน้า ท่านอย่าลงมากับพวกเราเลย. เนื้อภูเขา

นั้นไม่กลับเพราะมีจิตปฏิพัทธ์ต่อลูกเนื้อตัวเมียนั้น ได้มากับลูกเนื้อตัวเมียนั้น
นั่นแหละ. ชนชาวมคธรู้ว่า บัดนี้ เป็นเวลาที่พวกเนื้อลงจากเนินเขา จึงยืน
ในซุ้มอันมิดชิดใกล้หนทาง ในหนทางที่เนื้อทั้งสองแม้นั้นเดินมา มีพราน
คนหนึ่งยืนอยู่ในซุ้มอันมิดชิด. ลูกเนื้อตัวเมียได้กลิ่นมนุษย์ จึงคิดว่า จักมี
พรานคนหนึ่งยืนอยู่ จึงทำเนื้อเขลาตัวนั้นให้อยู่ข้างหน้า ส่วนตนเองอยู่ข้าง

หลัง. นายพรานได้ทำเนื้อตัวนั้นให้ล้มลงตรงนั้นนั่นเอง ด้วยการยิงด้วยลูกศร
ครั้งเดียวเท่านั้น. ลูกเนื้อตัวเมียรู้ว่าเนื้อนั้นถูกยิง จึงโดดหนีไปโดยการไป
ด้วยกำลังเร็วปานลม. นายพรานออกจากซุ้มชำแหละเนื้อก่อไฟ ปิ้งเนื้ออร่อย
บนถ่านไฟอันปราศจากเปลว เคี้ยวกินแล้วดื่มนํ้า หาบเนื้อที่เหลือไปด้วย
ไม้คานมีหยาดเลือดไหล ได้ไปยังเรือน ให้พวกเด็ก ๆ ยินดีแล้ว.

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นเทวดาอยู่ในป่าชัฏแห่งนั้น พระ
โพธิสัตว์นั้นเห็นเหตุการณ์นั้น จึงคิดว่า เนื้อโง่ตัวนี้ตาย เพราะอาศัยมารดา
เพราะอาศัยบิดาก็หาไม่ โดยที่แท้ตายเพราะอาศัยกาม จริงอยู่ เพราะกาม
เป็นนิมิตเหตุ สัตว์ทั้งหลายจึงถึงทุกข์นานัปการมีการตัดมือเป็นต้นในสุคติ

และการจองจำ ๕ ประการเป็นต้นในทุคติ ชื่อว่าการทำทุกข์คือความตายให้
เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น ก็ถูกติเตียนในโลกนี้ แม้ชนบทใดมีสตรีเป็นผู้นำ จัดแจง
ปกครอง ก็ถูกติเตียน เหล่าสัตว์ผู้ตกอยู่ในอำนาจของมาตุคาม ก็ถูกติเตียน
เหมือนกัน แล้วแสดงเรื่องสำหรับติเตียน ๓ ประการ ด้วยคาถา ๑ คาถา
เมื่อเทวดาทั้งหลายในป่าให้สาธุการแล้วบูชา ด้วยของหอมและดอกไม้ เป็นต้น
เมื่อจะยังไพรสณฑ์นั้นให้บันลือขึ้นด้วยเสียงอันไพเราะ จึงแสดงธรรมด้วย
คาถานี้ว่า

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 09:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
เราติเตียนบุรุษผู้มีลูกศรเป็นอาวุธ ผู้ยิงไปเต็ม
กำลัง เราติเตียนชนบทที่มีหญิงเป็นผู้นำ อนึ่ง สัตว์
เหล่าใดตกอยู่ในอำนาจของหญิงทั้งหลาย สัตว์เหล่า
นั้นบัณฑิตก็ติเตียนแล้วเหมือนกัน.

ศัพท์ว่า ธิรตฺถุ ในคาถานั้น เป็นศัพท์นิบาต ใช้ในความหมายว่า
ติเตียน. ในที่นี้ ศัพท์ว่า ธิรัตถุ นี้นั้น พึงเห็นว่าใช้ในการติเตียน ด้วย
อำนาจความสะดุ้งและความหวาดเสียว จริงอยู่ พระโพธิสัตว์เป็นผู้ทั้งสะดุ้งและ
หวาดเสียว จึงกล่าวอย่างนั้น คนที่ชื่อว่า กัณฑี เพราะมีลูกศร. ซึ่งคนผู้
มีลูกศรนั้น. ก็ลูกศรนั้นเขาเรียกว่า สัลละ เพราะอรรถว่าเสียบเข้าไป

เพราะฉะนั้น ในคำว่า กณฺฑินํ สลฺลํ นี้ จึงมีความหมายว่า ผู้มีลูกศร
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าผู้มีสัลละ เพราะมีลูกศร. ผู้มีลูกศรนั้น. ชื่อว่า คาฬหเวธี
ผู้ยิงไปเต็มแรง เพราะเมื่อจะให้การประหารอย่างแรงจึงยิงอย่างเต็มที่ โดย
กระทำให้มีปากแผลใหญ่ ผู้ยิงไปอย่างเต็มที่นั้น ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า

เราติเตียนคนผู้ประกอบด้วยอาวุธมีประการต่าง ๆ ชื่อว่า สัลละ ลูกศร เพราะ
วิ่งไปตรง ๆ โดยมีสันฐานดังใบโกมุทเป็นผล ผู้ยิงไปอย่างเต็มแรง. บทว่า
ปริณายิกา ได้แก่ เป็นใหญ่ คือ เป็นผู้จัดแจง. บทว่า ธิกฺกิตา แปลว่า
ติเตียนแล้ว. คำที่เหลือในคาถานี้ง่ายทั้งนั้น.

ก็เบื้องหน้าแต่นี้ไป ข้าพเจ้าจักไม่กล่าวคำแม้มีประมาณเท่านี้ จัก
พรรณนาคำที่ไม่ง่ายนั้น ๆ เท่านั้น. พระโพธิสัตว์ครั้นแสดงเรื่องสำหรับติเตียน
๓ ประการ ด้วยคาถาเดียวอย่างนี้แล้ว ทำป่าให้บันลือขึ้นแล้วแสดงธรรม
ด้วยการเยื้องกรายดังพระพุทธเจ้า.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศ
สัจจะทั้งหลาย. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสันจะสึก ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
พระศาสดาตรัสเรื่อง ๒ เรื่อง สืบต่ออนุสนธิกันแล้ว ทรงประชุมชาดก ก็
เบื้องหน้าแต่นี้ไป ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวคำว่า ตรัสเรื่องสองเรื่อง นี้ จะ

กล่าวเฉพาะคำมีประมาณเท่านี้ว่า ทรงสืบต่ออนุสนธิ. ก็คำนี้แม้จะไม่กล่าว
ไว้ ก็พึงประกอบถือเอาโดยนัยดังกล่าวไว้ในหนหลังนั่นแล. เนื้อภูเขาใน
ครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุผู้กระสันจะสึกในบัดนี้ ลูกเนื้อตัวเมียในครั้ง
นั้น ได้เป็นภรรยาเก่าในบัดนี้ ส่วนเทวดาผู้เห็นโทษในกามทั้งหลาย
ในครั้งนั้น ได้เป็นเราแล.
จบกัณฑินชาดกที่ ๓


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 09:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระ-
จูฬปิณฑปาติกติสสเถระ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า น กิรตฺถิ
รเสหิ ปาปิโย ดังนี้.
ได้ยินว่า เมื่อพระศาสดาทรงอาศัยพระนครราชคฤห์ ประทับอยู่ใน
พระวิหารเวฬุวัน

วันหนึ่ง บุตรของตระกูลเศรษฐีผู้มีทรัพย์มาก ชื่อว่า ติสสกุมาร
ไป พระวิหารเวฬุวัน ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วประสงค์จะบวช
จึงทูลขอบรรพชา แต่บิดามารดายังไม่อนุญาต จึงถูกปฏิเสธ ได้กระทำ
การอดอาหาร ๗ วัน แล้วให้บิดามารดาอนุญาต เหมือนดังพระรัฐบาลเถระ
ได้บวชในสำนักของพระศาสดาแล้ว. พระศาสดาครั้นทรงให้ติสสกุมารนั้นบวช

แล้ว ประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวันประมาณกึ่งเดือน แล้วได้เสด็จไปพระ-
วิหารเชตวัน ในพระเชตวันนั้น กุลบุตรนี้สมาทานธุดงค์ ๑๓ เที่ยวไปบิณฑ-
บาตตามลำดับตรอกในนครสาวัตถี ยังกาลเวลาให้ล่วงไป ใคร ๆ เรียกว่า
พระจูฬบิณฑปาติกติสสเถระ ได้เป็นผู้ปรากฏรู้กันทั่วไปในพระพุทธศาสนา
เหมือนพระจันทร์เพ็ญในพื้นท้องฟ้าฉะนั้น.

ในกาลนั้น เมื่อกาลเล่นนักขัตฤกษ์ยังดำเนินไปในนครราชคฤห์ บิดา
มารดาของพระเถระเก็บสิ่งของอันเป็นเครื่องประดับ อันมีอยู่ในครั้งพระเถระ
เป็นคฤหัสถ์ไว้ในผอบเงิน เอามาวางไว้ที่อกร้องไห้พลางพูดว่า ในการเล่น
นักขัตฤกษ์อื่น ๆ บุตรของพวกเรานี้ประดับด้วยเครื่องประดับนี้เล่นนักขัตฤกษ์
พระสมณโคดมพาเอาบุตรน้อยนั้นของพวกเราไปยังพระนครสาวัตถี บัดนี้

บุตรน้อยของเราทั้งหลายนั้น นั่งที่ไหนหนอ ยืนที่ไหนหนอ. ลำดับนั้น นาง-
วัณณทาสีคนหนึ่งไปยังตระกูลนั้น เห็นภรรยาของเศรษฐีกำลังร้องไห้อยู่ จึง
ถามว่า แม่เจ้า ท่านร้องไห้ทำไม ? ภรรยาของเศรษฐีนั้นจึงบอกเนื้อความ
นั้น นางวัณณทาสีกล่าวว่า แม่เจ้า ก็พระลูกเจ้ารักอะไร ? ภรรยาเศรษฐี

กล่าวว่า รักของสิ่งโน้นและสิ่งโน้น. นางวัณณทาสีกล่าวว่า ถ้าท่านจะให้
ความเป็นใหญ่ทั้งหมดในเรือนนี้แก่ดิฉันไซร้ ดิฉันจักนำบุตรของท่านมา.
ภรรยาท่านเศรษฐีรับคำว่า ได้ แล้วให้สะเบียง ส่งนางวัณณทาสีนั้นไปด้วย
บริวารใหญ่ โดยพูดว่า ท่านจงไปนำบุตรของเรามา ด้วยความสามารถของตน
นางวัณณทาสีนั้นนั่งในยานน้อยอันปกปิด ไปยังนครสาวัตถี ถือเอาการอยู่อาศัย

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ใกล้ถนนที่พระเถระเที่ยวภิกขาจาร ไม่ให้พระเถระเห็นพวกคนที่มาจากตระกูล
เศรษฐี แวดล้อมด้วยบริวารของตนเท่านั้น เมื่อพระเถระเข้าไปบิณฑบาต ได้
ถวายยาคูหนึ่งกระบวยและภิกษามีรส ผูกพันด้วยความอยากในรสไว้แต่เบื้องต้น
แล้วให้นั่งในเรือนถวายภิกษาโดยลำดับ รู้ว่าพระเถระตกอยู่ในอำนาจของตน
จึงแสดงการว่าเป็นไข้นอนอยู่ภายในห้อง. ฝ่ายพระเถระเที่ยวไปตามลำดับ

ตรอก ในเวลาภิกขาจาร ได้ไปถึงประตูเรือน ชนที่เป็นบริวารรับบาตรของ
พระเถระแล้วนิมนต์พระเถระให้นั่งในเรือน. พระเถระนั่งแล้วถามว่า อุบาสิกา
ไปไหน ? ชนบริวารกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ อุบาสิกาเป็นไข้ปรารถนาจะเห็นท่าน
พระเถระถูกตัณหาในรสผูกพัน ทำลายการสมาทานวัตรของตน เข้าไปยังที่ที่

นางวัณณทาสีนั้นนอนอยู่ นางวัณณทาสีรู้เหตุแห่งการมาเพื่อตน จึงประเล้า
ประโลมพระเถระนั้น ผูกด้วยตัณหาในรส ให้สึกแล้วให้ตั้งอยู่ในอำนาจของ
ตน ให้นั่งในยาน ได้ไปยังนครราชคฤห์นั่นเอง ด้วยบริวารใหญ่. ข่าวนั้น
ได้ปรากฏแล้ว.

ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันในโรงธรรมสภา สนทนากันขึ้นว่า ได้ยิน
ว่า นางวัณณทาสีคนหนึ่ง ผูกพระจูฬบิณฑปาติกาติสสเถระด้วยตัณหา
ในรส แล้วพาไปแล้ว. พระศาสดาเสด็จเข้าไปยังโรงธรรมสภา ประทับบน
อาสนะที่เขาตกแต่งไว้ แล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่ง

สนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลเรื่องราวนั้น. พระศาสดา
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ติดในรสตัณหา ตกอยู่ในอำนาจของ
นางวัณณทาสีนั้น ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ตกอยู่ในอำนาจ
ของนางเหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาว่า

ในอดีตกาล ในพระนครพาราณสี ได้มีนายอุยยานบาลของพระเจ้า
พรหมทัต ชื่อว่าสัญชัย ครั้งนั้น เนื้อสมันตัวหนึ่งมายังอุทยานนั้น เห็น
นายอุยยานบาลคนเฝ้าอุทยานจึงหนีไป. ฝ่ายนายสัญชัยมิได้ขู่คุกคามเนื้อสมัน
นั้นให้ออกไป เนื้อสมันนั้นจึงมาเที่ยวในอุทยานนั้นนั่นแลบ่อย ๆ นายอุยยาน-
บาลนำเอาดอกไม้และผลไม้มีประการต่าง ๆ มาจากอุทยานแต่เช้าตรู่ นำไป

เฉพาะพระราชาทุกวัน ๆ. ครั้นวันหนึ่ง พระราชาตรัสถามนายอุยยานบาลนั้น
ว่า ดูก่อนสหายอุยยานบาล เธอเห็นความอัศจรรย์อะไร ๆ ในอุทยานบ้างไหม ?
นายอุยยานบาลกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระบาทไม่เห็นสิ่งอื่น แต่ว่า
เนื้อสมันตัวหนึ่งมาเที่ยวอยู่ในอุทยาน ข้าพระบาทได้เห็นสิ่งนี้. พระราชาตรัส
ถามว่า ก็เธอจักอาจจับมันไหม ? นายอุยยานบาลกราบทูลว่า ข้าพระบาท

เมื่อได้นํ้าผึ้งหน่อยหนึ่งจักอาจนำเนื้อสมันนี้มา แม้ยังภายในพระราชนิเวศน์
พระเจ้าข้า. พระราชาได้ให้นํ้าผึ้งแก่นายอุยยานบาลนั้น. นายอุยยานบาลนั้น
รับนํ้าผึ้งนั้นแล้วไปยังอุทยาน แอบเอานํ้าผึ้งทาหญ้าทั้งหลายในที่ที่เนื้อสมัน

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 11:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
เที่ยวไป. เนื้อสมันมากินหญ้าที่ทาด้วยนํ้าผึ้ง ติดในรสตัณหา ไม่ไปที่อื่น
มาเฉพาะอุทยานเท่านั้น. นายอุยยานบาลรู้ว่าเนื้อสมันนั้นติดหญ้าที่ทาด้วยนํ้า
ผึ้ง จึงแสดงตนให้เห็นโดยลำดับ. เนื้อสมันนั้นครั้นเห็นนายอุยยานบาลนั้น
๒ - ๓ วันแรกก็หนีไป แต่พอเห็นเข้าบ่อย ๆ จึงคุ้นเคย ถึงกับกินหญ้าที่อยู่ใน
มือของนายอุยยานบาลได้โดยลำดับ. นายอุยยานบาลรู้ว่าเนื้อสมันนั้นคุ้นเคยแล้ว

จึงเอาเสื่อลำแพนล้อมถนนจนถึงพระราชนิเวศน์ แล้วเอากิ่งไม้หักปักไว้ในที่
นั้น ๆ สพายนํ้าเต้าบรรจุนํ้าผึ้ง หนีบกำหญ้า แล้วโปรยหญ้าที่ทาด้วยนํ้าผึ้ง
ลงข้างหน้าเนื้อ. ได้ไปยังภายในพระราชนิเวศน์ทีเดียว เมื่อเนื้อเข้าไปภายใน
แล้ว คนทั้งหลายจึงปิดประตู เนื้อเห็นมนุษย์ทั้งหลายก็ตัวสั่นกลัวแต่มรณภัย
วิ่งมาวิ่งไป ณ พระลานในภายในพระราชนิเวศน์ พระราชาเสด็จลงจากปราสาท

ทอดพระเนตรเห็นเนื้อนั้นตัวสั่น จึงตรัสว่า ธรรมดาเนื้อย่อมไม่ไปยังที่ที่คน
เห็นตลอด ๗ วัน ย่อมไม่ไปยังที่ที่ถูกคุกคามตลอดชีวิต เนื้อสมันผู้อาศัย
ป่าชัฏอยู่เห็นปานนี้นั้นถูกผูกด้วยความอยากในรส มาสู่ที่เห็นปานนี้ ในบัดนี้
ผู้เจริญทั้งหลาย ชื่อว่าสิ่งที่ลามกกว่าความอยากในรส ย่อมไม่มีในโลกหนอ
แล้วทรงเริ่มตั้งธรรมเทศนาด้วยคาถานี้ว่า

ได้ยินว่า สิ่งอื่นที่จะเลวยิ่งไปกว่ารสทั้งหลายย่อม
ไม่มี รสเป็นสภาพเลวแม้กว่าถิ่นที่อยู่ แม้กว่าความ
สนิทสนม นายสัญชัยอุยยานบาลนำเนื้อสมันซึ่งอาศัย
อยู่ในป่าชัฏมาสู่อำนาจของตนได้ ด้วยรสทั้งหลาย.

ศัพท์ว่า กิระ ได้ยินว่า ในคาถานั้น เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่าได้
ยินได้ฟัง. บทว่า รเสหิ กว่ารสทั้งหลาย ความว่า กว่ารสหวานและรส
เปรี้ยวเป็นต้นที่พึงรู้ด้วยลิ้น. บทว่า ปาปิโย แปลว่า เลวกว่า. บทว่า อาวา-
เสหิ วา สนฺถเวหิ วา แม้กว่าถิ่นที่อยู่ แม้กว่าความสนิทสนม ความว่า
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในถิ่นที่อยู่กล่าวคือสถานที่อยู่ประจำก็ดี ใน

ความสนิทสนมด้วยอำนาจความเป็นมิตรก็ดี ลามกแท้ แต่รสในการบริโภคที่
เป็นไปกับด้วยฉันทราคะนั่นแหละเป็นสภาพเลวกว่า แม้กว่าถิ่นที่อยู่ แม้กว่า
ความสนิทสนมด้วยความเป็นมิตร ซึ่งมีการบริโภคด้วยฉันทราคะเหล่านี้ โดย
ร้อยเท่าพันเท่า เพราะอรรถว่า ต้องเสพเฉพาะเป็นประจำ และเพราะเว้น
อาหาร การรักษาชีวิตินทรีย์ก็ไม่มี ก็พระโพธิสัตว์ทรงกระทำเนื้อความนี้ ให้

เป็นเสมือนเนื้อที่ตามมาด้วยดี จึงตรัสว่า ได้ยินว่าสภาพที่เลวกว่ารสทั้งหลาย
ย่อมไม่มี รสเป็นสภาพเลวกว่า แม้กว่าถิ่นที่อยู่ แม้กว่าความสนิทสนม บัดนี้
พระโพธิสัตว์เมื่อจะแสดงว่ารสเหล่านั้นเลว จึงตรัสคำมีอาทิว่า วาตมิคํ ดังนี้
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คหนนิสฺสิตํ แปลว่า อาศัยที่เป็นป่ารกชัฏ ท่าน
กล่าวอธิบายไว้ว่า ท่านทั้งหลายจงดูความที่รสทั้งหลายเป็นสภาพเลว นาย

สญชัยอุยยานบาลนำเนื้อสมันชื่อนี้ ซึ่งอาศัยอยู่ในป่าชัฏ ในราวป่า มาสู่อำนาจ
ของตนด้วยรสนํ้าผึ้ง สิ่งอื่นที่เลวกว่า คือลามกกว่า ชื่อว่าเลวกว่ารสทั้งหลาย
ซึ่งมีการบริโภคด้วยฉันทราคะ ย่อมไม่มี แม้โดยประการทั้งปวง. พระโพธิสัตว์
ตรัสโทษแห่งตัณหาในรส ด้วยประการดังนี้ ก็แหละครั้นตรัสแล้ว จึงทรงให้
ส่งเนื้อนั้นไปยังป่านั่นเอง.

พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย นางวัณณทาสีนั้น ผูกภิกษุนั้นด้วย
ตัณหาในรส กระทำไว้ในอำนาจของตนในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาล
ก่อน ก็ได้กระทำแล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบต่อ
อนุสนธิแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า นายสัญชัยในครั้งนั้น ได้เป็นนาง
วัณณทาสีคนนี้ เนื้อสมันในครั้งนั้น ได้เป็นพระจูฬบิณฑปาติกภิกษุ
ส่วนพระเจ้าพาราณสีได้เป็นเราแล.
จบ วาตมิคชาดกที่ ๔


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 11:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุว่ายาก
รูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อฏฺ€ขุรํ ขราทิเย
ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุนั้นว่ายากไม่รับโอวาท ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัส
ถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า เธอว่ายากไม่รับโอวาทจริงหรือ ? ภิกษุ
นั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า จริง พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า
แม้ในกาลก่อนเธอก็ไม่รับโอวาทของบัณฑิตทั้งหลาย เพราะความเป็นผู้ว่ายาก
จึงติดบ่วงถึงความสิ้นชีวิต แล้วทรงนำอดีตนิทานมาว่า

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นมฤคแวดล้อมด้วยหมู่เนื้ออยู่ในป่า ลำดับนั้น เนื้อ
ผู้เป็นน้องสาวมฤคนั้นแสดงบุตรน้อยแล้วให้รับเอาด้วยคำพูดว่า ข้าแต่พี่ชาย
นี้เป็นหลานของพี่ พี่จงให้เรียนมายาเนื้ออย่างหนึ่ง มฤคนั้นกล่าวกะหลานนั้น
ว่า ในเวลาชื่อโน้น เจ้าจงมาเรียนเอา เนื้อผู้หลานไม่มาตามเวลาที่พูดไว้

เมื่อล่วงไป ๗ วันเหมือนดังวันเดียว เนื้อผู้เป็นหลานนั้นไม่ได้เรียนมายาของเนื้อ
ท่องเที่ยวไป จึงติดบ่วง ฝ่ายมารดาของเนื้อนั้นเข้าไปหามฤคผู้พี่ชายแล้วถามว่า
ข้าแต่พี่ พี่ให้หลานเรียนมายาของเนื้อแล้วหรือ ? พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เจ้า
อย่าคิดเสียใจต่อบุตรผู้ไม่รับโอวาทสั่งสอนนั้น บุตรของเจ้าไม่เรียนเอา
มายาของเนื้อเอง เป็นผู้ไม่มีความประสงค์จะโอวาทเนื้อนั้นเลย ในบัดนี้ จึง
กล่าวคาถานี้ว่า

ดูก่อนนางเนื้อขราทิยา ฉันไม่สามารถจะสั่งสอน
เนื้อตัวนั้น ผู้มี ๘ กีบ มีเขาคดแต่โคนเขาจนถึงปลาย
เขา ผู้ล่วงเลยโอวาทเสียตั้ง ๗ วันได้.

บรรดาบทเหล่านี้ บทว่า อฏฺ€ขุรํ ได้แก่ มีกีบ ๘ กีบ โดยเท้าข้าง
หนึ่ง ๆ มี ๒ กีบ พระโพธิสัตว์เรียกนางเนื้อนั้นโดยชื่อว่า ขราทิยา บทว่า
มิคํ เป็นคำรวมถือเอาเนื้อทุกชนิด. บทว่า วงฺกาติวงฺกินํ ได้แก่ คดยิ่งกว่า
คด คือ คดตั้งแต่ที่โคนเขา คดมากขึ้นไปถึงปลายเขา ชื่อว่าผู้มีเขาคดแต่โคน

จนถึงปลายเขา เพราะเนื้อนั้นมีเขาเป็นเช่นนั้น. จึงชื่อว่าเขาคดแต่โคนจนถึง
ปลายเขา คือ มีเขาคดแต่โคนเขา จนถึงปลายเขานั้น . บทว่า สตฺตกาเลห-
ติกฺกนฺตํ ได้แก่ ผู้ล่วงเลยโอวาท โดยเวลาเป็นที่ให้โอวาท ๗ วัน. ด้วยบทว่า
น นํ โอวทิตุสฺสเห นี้ ท่านแสดงว่า เราไม่อาจให้โอวาทเนื้อผู้ว่ายากนี้
แม้ความคิดเพื่อจะโอวาทเนื้อนี้ ก็ไม่เกิดขึ้นแก่เรา.

ครั้งนั้น นายพรานฆ่าเนื้อที่ว่ายากตัวนั้นซึ่งติดบ่วง ถือเอาแต่เนื้อ
แล้วหลีกไป.
ฝ่ายพระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอเป็นผู้ว่ายากแต่ในบัดนี้เท่านั้น
ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็เป็นผู้ว่ายากเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระเทศนานี้มา
สืบต่ออนุสนธิกันแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า เนื้อผู้เป็นหลานในกาลนั้น ได้
เป็นภิกษุผู้ว่ายากในบัดนี้ แม่เนื้อผู้เป็นน้องสาวในกาลนั้น ได้เป็น
พระอุบลวรรณา ในบัดนี้ ส่วนเนื้อผู้ให้โอวาทในกาลนั้น ได้เป็น
เราตถาคตแล.
จบ ขราทิยชาดกที่ ๕


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 11:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ใน พทริการาม นครโกสัมพี ทรงปรารภ
พระราหุลเถระ ผู้ใคร่ต่อการศึกษาจึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
มิคํ ติปลฺลตฺถํ ดังนี้.

ความพิศดารว่า กาลครั้งหนึ่ง เมื่อพระศาสดาเสด็จเข้าไปอาศัยเมือง
อาฬวีประทับอยู่ในอัคคาฬวเจดีย์ อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ และภิกษุณี จำนวน
มาก ไปวิหารเพื่อฟังธรรม. ตอนกลางวัน มีการฟังธรรม ก็แลเมื่อกาลเวลา
ล่วงไป อุบาสิกาและภิกษุณีทั้งหลายไม่ไป. มีแต่พวกภิกษุและอุบาสกทั้งหลาย
ตั้งแต่นั้น จึงเกิดมีการฟังธรรมตอนกลางคืน ในเวลาเสร็จสิ้นการฟังธรรม

ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระพากันไปยังที่อยู่ของตน ๆ ภิกษุหนุ่มกับพวกอุบาสก
นอนที่อุปัฏฐานศาลาคือ โรงฉัน. เมื่อพวกภิกษุหนุ่มและพวกอุบาสกเหล่านั้น
เข้าถึงความหลับ บางคนนอนกรนเสียงครืด ๆ นอนกัดฟัน บางคน นอน
ครู่เดียวแล้วลุกขึ้น. พวกอุบาสก เห็นประการอันแปลกของภิกษุหนุ่ม จึง
กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ก็ภิกษุใดนอนร่วมกับ
อนุปสัมบัน ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์ ดังนี้แล้วได้เสด็จไปยังนครโกสัมพี.
ในข้อที่ทรงบัญญัติสิกขาบทนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวกะท่านราหุลว่า อาวุโส
ราหุล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว บัดนี้ ท่านจงรู้ที่อยู่
ของตน. ก็เมื่อก่อน ภิกษุทั้งหลายได้สงเคราะห์ท่านราหุลนั้นผู้มายังที่อยู่ของตนๆ

เป็นอย่างดีเพราะอาศัยความเคารพในพระผู้มีพระภาคเจ้า และความที่ท่านราหุล
นั้นเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ได้ลาดเตียงเล็ก ให้จีวรเพื่อหนุนศีรษะ. แต่วันนั้น
แม้ที่อยู่ก็ไม่ได้ให้แล้วเพราะกลัวต่อสิกขาบท. ฝ่ายพระภัทรราหุลก็ไม่ไปยังสำนัก
ของพระทศพล ด้วยคิดว่า เป็นพระบิดาของเรา หรือของพระธรรมเสนาบดี
ด้วยคิดว่า เป็นอุปัชฌาย์ของเรา หรือของพระมหาโมคคัลลานะด้วยคิดว่า เป็น

อาจารย์ของเรา หรือของท่านพระอานนท์ด้วยคิดว่าเป็นอาของเรา ได้เข้าไปยัง
เวจกุฏีสำหรับถ่ายของพระทศพล ประดุจเข้าไปยังวิมานของพรหม สำเร็จการ
อยู่แล้ว. ก็ประตูกุฏีสำหรับใช้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ปิดสนิทนั้น กระทำ
การประพรมด้วยธูปหอม มีพวงของหอมและพวงดอกไม้ห้อย ตามประทีป

ตลอดคืนยังรุ่ง. ก็พระภัทรราหุลอาศัยสมบัตินี้ของกุฏีนั้น จึงเข้าไปอยู่ใน
กุฏีนั้น. อนึ่ง เพราะภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ท่านจงรู้ที่อยู่ และเพราะความเป็น
ผู้ใคร่ต่อการศึกษาโดยเคารพในโอวาท จึงเข้าไปอยู่ในกุฏีนั้น ก็ในระหว่าง ๆ
ภิกษุทั้งหลายเห็นท่านผู้มีอายุนั้นมาแต่ไกล เพื่อต้องการจะทดลองท่านผู้มีอายุ

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 11:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
นั้น จึงทิ้งกำไม้กวาดหรือภาชนะสำหรับทิ้งหยากเ ยื่อไว้ข้างใน. เมื่อท่านผู้มี
อายุนั้นมาถึง จึงกล่าวว่า อาวุโส ใครทิ้งสิ่งนี้. ในการกระทำนั้น เมื่อภิกษุบาง
พวกกล่าวว่า ท่านราหุลมาทางนี้. แต่ท่านราหุลนั้นไม่กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ
ผมไม่รู้เรื่องนี้ กลับเก็บงำสิ่งนั้นแล้วขอขมาว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านทั้งหลาย
จงอดโทษแก่กระผม แล้วจึงไป. ท่านราหุลนี้เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาอย่างนี้.
ท่านราหุลนั้นอาศัยความเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษานั้นนั่นเอง จึงเข้าไปอยู่ในกุฏี
นั้น.

ครั้นเวลาก่อนอรุณทีเดียว พระศาสดาประทับยืนที่ประตูเวจกุฏีแล้ว
ทรงพระกาสะ (ไอ) ขึ้น ส่วนท่านผู้มีอายุนั้นก็ไอขึ้น พระศาสดาตรัสถามว่า
ใครนั่น ? ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ข้าพระองค์ราหุล แล้วออกมาถวายบังคม
พระศาสดาตรัสถามว่า ราหุล เพราะเหตุไรเธอจึงนอนที่นี้ ? พระราหุลกราบ
ทูลว่า เพราะไม่มีที่อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยว่าเมื่อก่อน ภิกษุทั้งหลาย

กระทำความสงเคราะห์แก่ข้าพระองค์ บัดนี้ไม่ให้ที่อยู่เพราะกลัวตนต้องอาบัติ
ข้าพระองค์นั้นคิดว่า ที่นี้เป็นที่ไม่เบียดเสียดผู้อื่น ด้วยเหตุนี้ จึงนอนในที่นี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเกิดธรรมสังเวชขึ้นว่า เบื้องต้น ภิกษุทั้งหลาย
สละราหุลได้อย่างนี้ ( ต่อไป ) ให้เด็กในตระกูลทั้งหลายอื่นบวชแล้ว จักกระทำ
อย่างไร. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าให้ภิกษุทั้งหลายประชุมกันแต่เช้าตรู่

แล้วตรัสถามพระธรรมเสนาบดีว่า สารีบุตร ก็เธอรู้ไหมว่า วันนี้ราหุลอยู่ที่
ไหน ? พระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ทราบ
พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า สารีบุตร วันนี้ราหุลอยู่ที่เวจกุฏี ดูก่อนสารี-
บุตร ท่านทั้งหลายเมื่อละราหุลได้อย่างนี้ (ต่อไปภายหน้า) ให้เด็กในตระกูล
ทั้งหลายเหล่าอื่นบวชแล้ว จักกระทำอย่างไร แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น กุลบุตรผู้

บวชในพระศาสนานี้จักเป็นผู้ไม่มีที่พึ่ง บัดนี้ ตั้งแต่นี้ไป ท่านทั้งหลายจงให้
อนุปสัมปันทั้งหลายอยู่ในสำนักของตนวันหนึ่ง สองวัน ในวันที่สามรู้ที่เป็นที่
อยู่ของอนุปสัมปันเหล่านั้นแล้วจงให้อยู่ภายนอก ดังนี้ แล้วทรงบัญญัติสิกขา-
บทอีก ทรงกระทำให้เป็นอนุบัญญัติข้อนี้.

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 11:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันในโรงธรรมสภา แล้วกล่าวคุณ
ของพระราหุลว่า ดูเอาเถิดท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ราหุลนี้ใคร่ต่อการศึกษาเป็น
กำหนด ชื่อว่าผู้ถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ท่านจงรู้ที่อยู่ของท่าน ก็ไม่โต้ตอบ
แม้ภิกษุรูปหนึ่งว่า เราเป็นโอรสของพระทศพล ท่านทั้งหลายเป็นใคร พวก
ท่านนั่นแหละจงออกไป ดังนี้แล้ว ได้สำเร็จการอยู่ในเวจกุฏี. เมื่อภิกษุเหล่า
นั้นพากันกล่าวอยู่อย่างนี้ พระศาสดาเสด็จเข้าไปยังโรงธรรมสภาประทับนั่งบน

อาสนะที่ตกแต่งไว้แล้วตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วย
เรื่องอะไรหนอ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระ-
องค์นั่งสนทนากันด้วยสิกขากามกถา ว่าด้วยความใคร่ต่อการศึกษาของพระ-
ราหุล มิใช่ด้วยเรื่องอื่น พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ราหุลเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ แม้ในกาลก่อน แม้
บังเกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน ก็เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาเหมือนกัน แล้วทรงนำ
อดีตนิทานมาดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล พระเจ้ามคธราชพระองค์หนึ่งครองราชสมบัติอยู่ใน
พระนครราชคฤห์ ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดมฤค อันหมู่มฤค
แวดล้อมอยู่ในป่า. ครั้งนั้น แม่เนื้อผู้เป็นน้องสาวของพระโพธิสัตว์นั้นนำบุตร
น้อยของตนเข้าไปแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พี่ ท่านจงให้หลานของท่านนี้ ศึกษา
มารยาของเนื้อ. พระโพธิสัตว์รับคำแล้วกล่าวว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าจงไป ใน

เวลาชื่อโน้น เจ้าจงมาศึกษา. เนื้อผู้เป็นหลานนั้นไม่ล่วงเลยเวลาที่ลุงบอกเข้า
ไปหาลุงนั้นแล้วศึกษามารยาของเนื้อ. วันหนึ่งเนื้อนั้นเที่ยวไปในป่า ติดบ่วง
จึงร้องบอกให้รู้ว่าติดบ่วง หมู่เนื้อพากันหนีไปบอกแก่มารดาของเนื้อนั้นว่า
บุตรของท่านติดบ่วง. แม่เนื้อนั้นจึงไปยังสำนักของพี่ชายแล้วถามว่า พี่ท่าน
ให้หลานศึกษามารยาของเนื้อแล้วหรือ ? พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เจ้าอย่า

รังเกียจกรรมอันลามกอะไร ๆ ของบุตร เราให้บุตรของเจ้านั้นศึกษามารยาของ
เนื้ออย่างดีแล้ว บัดนี้ บุตรของเจ้านั้นละทิ้งบ่วงนั้นแล้วหนีไป จักกลับมา แล้ว
กล่าวคาถานี้ว่า

ดูก่อนน้องหญิง ฉันยังเนื้อหลานชายผู้มี ๘ กีบ
นอนโดยอาการ ๓ ท่า มีเล่ห์กลมารยาหลายอย่าง ดื่ม
กินนํ้าในเวลาเที่ยงคืน ให้เล่าเรียนมารยาของเนื้อดีแล้ว
โดยประการที่เนื้อหลานชาย กลั้นลมหายใจได้ โดย
ช่องนาสิกข้างหนึ่งแนบติดอยู่กับพื้นดิน ทำเล่ห์กล-
ลวงนายพราน ด้วยอุบาย ๖ ประการฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิคํ ได้แก่ เนื้อผู้เป็นหลาน. บทว่า
ติปลฺลตฺถํ ความว่า การนอน เรียกว่า ปัลลัตถะ ชื่อว่าผู้มีการนอน ๓ ท่า
เพราะมีการนอนโดยอาการ ๓ อย่างคือ โดยข้างทั้งสอง และโดยอาการอย่าง
โคนอนตรงอีกอย่างหนึ่ง เพราะมีการนอน ๓ ท่า. ซึ่งเนื้อนั้นผู้มีการนอน ๓
ท่า. บทว่า อเนกมายํ ได้แก่ มีมารยามาก คือมีการลวงมาก. บทว่า
อฏฺ€าขุรํ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยกีบ ๘ กีบ โดยเท้าข้างหนึ่ง ๆ มี ๒ กีบ.

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 11:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บทว่า อฑฺฒรตฺตาปปายึ ความว่า เนื้อชื่อว่าดื่มนํ้าในเวลาเที่ยงคืน เพราะ
เลยยามแรกไปแล้ว ในเวลามัชฌิยาม จึงมาจากป่าแล้วดื่มนํ้า เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า ผู้ดื่มนํ้าในเวลาเที่ยงคืน. ซึ่งเนื้อนั้น. อธิบายว่า เนื้อผู้ดื่มนํ้าในเวลา
เที่ยงคืน. เราให้เนื้อหลานชายของเราเรียนมารยาของเนื้อดีแล้ว. ถามว่า ให้
เรียนอย่างไร ? ตอบว่า ดูก่อนน้องหญิง เราให้เรียนโดยประการที่เนื้อหลาน

ชายหายใจที่พื้นดิน โดยช่องนาสิกข้างหนึ่งลวงนายพรานด้วยเล่ห์กล ๖ ประการ.
ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า ก็เราให้บุตรของเจ้าเรียนเอาแล้ว โดยประการที่
เนื้อหลานชายกลั้นลมในช่องจมูกด้านบนข้างหนึ่ง แล้วหายใจที่พื้นดินนั้นนั่น
แหละ โดยช่องจมูกด้านล่างข้างหนึ่งซึ่งแนบติดดิน จึงครอบงำ อธิบายว่า
จึงลวงนายพรานด้วยเล่ห์กล ๖ ประการ คือโดยส่วน ๖ ส่วน. เล่ห์กล ๖

ประการเป็นไฉน ? เล่ห์กล ๖ ประการ คือโดยการเหยียด ๔ เท้านอนตะแคง
๑ โดยใช้กีบทั้งหลายตะกุยหญ้าและดินร่วน ๑ โดยทำลิ้นห้อยออกมา ๑ โดย
กระทำท้องให้พอง ๑ โดยการปล่อยอุจจาระ ๑ ปัสสาวะ ให้ลาดออกมา ๑ โดย
การกลั้นลม ๑ . อีกนัยหนึ่ง ท่านแสดงว่า ดูก่อนน้องหญิง เราให้เนื้อหลาน
ชายนั้นเรียนมารยาของเนื้อ โดยประการที่เขาจะลวงทำให้นายพรานเกิดความ

หมายรู้ว่า เนื้อนี้ตายแล้วโดยเล่ห์กล ๖ ประการนี้ คือโดยตะกุยเอาดินร่วนมา
ไว้ตรงหน้า ๑ โดยการโน้มตัวไป ๑ โดยการเที่ยวรนไปทั้งสองข้าง ๑ โดย
การทำท้องให้พองขึ้น ๑ โดยการทำท้องให้แฟบลง ๑ อีกนัยหนึ่ง เราให้เนื้อ
หลานชายนั้นเรียนเอาแล้ว โดยประการที่เนื้อหลานชายนั้นหายใจที่พื้นดินโดย
ช่องจมูกข้างหนึ่ง ทำกลด้วยเล่ห์กล ๖ ประการ คือทำเล่ห์กลด้วยเหตุ ๖ ประ-

การซึ่งได้แสดงไว้ในนัยแม้ทั้งสอง อธิบายว่าจักกระทำเล่ห์กล คือจักลวงนาย
ีีพราน. พระโพธิสัตว์เรียกเนื้อผู้เป็นน้องสาวว่า โภติ นางผู้เจริญ. ด้วยบทว่า
ภาคิเนยฺโย นี้ พระโพธิสัตว์ หมายถึงเนื้อหลานชายผู้ลวงด้วยเหตุ ๖ ประการ
ด้วยประการอย่างนี้.

พระโพธิสัตว์เมื่อแสดงความที่เนื้อหลานชายเรียนมารยาของเนื้อดีแล้ว
จึงปลอบโยนเนื้อผู้น้องสาวให้เบาใจ ด้วยประการอย่างนี้ ลูกเนื้อแม้นั้นติด
บ่วง ไม่ดิ้นรนเลย นอนเหยียดเท้าทั้ง ๔ ไปทางด้านข้างที่ผาสุกมาก ณ ที่พื้น
ดิน เอากีบทั้งหลายนั่นแหละคุ้ยในที่ที่ใกล้ ๆ เท้าทั้ง ๔ ทำดินร่วนและหญ้าให้

กระจุยขึ้น ปล่อยอุจจาระปัสสาวะออกมาทำให้หัวตกลิ้นห้อย กระทำสรีระให้
เปรอะเปื้อนด้วยนํ้าลาย ทำให้ตัวพองขึ้นด้วยการอั้นลม ทำนัยน์ตาทั้งสองให้
เหลือก ทำลมให้เดินทางช่องนาสิกล่าง กลั้นลมทางช่องนาสิกบน ทำหัวให้
แข็ง แสดงอาการของเนื้อที่ตายแล้ว ฝ่ายแมลงวันหัวเขียวก็ตอมเนื้อนั้น
กาทั้งหลายพากันแอบอยู่ในที่นั้น ๆ นายพรานมาเอามือดีดท้องคิดว่า เนื้อจัก

ติดบ่วงแต่เช้าตรู่นัก จึงเกิดจะเน่า (ขึ้นมา) จึงแก้เชือกที่ผูกเนื้อนั้นออก คิด
ว่า บัดนี้ เราจักแล่เนื้อนั้นในที่นี้แหละ เอาแต่เนื้อไป เป็นผู้ไม่สงสัย เริ่ม
เก็บเอากิ่งไม้และใบไม้. ฝ่ายลูกเนื้อลุกขึ้นยืนด้วยเท้าทั้ง ๔ สลัดกายเหยียด
คอ แล้วได้ไปยังสำนักของมารดาโดยเร็ว ประดุจเมฆฝนถูกลมพายุใหญ่พัด
ขาดไปฉะนั้น.

ฝ่ายพระบรมศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราหุลเป็นผู้ใคร่ต่อ
การศึกษาในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา
เหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาสืบต่ออนุสนธิแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า ลูกเนื้อผู้เป็นหลานในครั้งนั้น ได้เป็นราหุลในบัดนี้
ฝ่ายมารดาในครั้งนั้น ได้เป็นนางอุบลวรรณาในบัดนี้ ส่วนเนื้อ
ผู้เป็นลุงในครั้งนั้น ได้เป็นเราแล.
จบติปัลลัตถมิคชาดกที่ ๖


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 11:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวันทรงปรารภบรรพชิต
ผู้บวช เมื่อแก่ ๒ รูป จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กาเฬ วา
ยทิ วา ชุณฺเห ดังนี้.

ได้ยินว่า บรรพชิตทั้งสองรูปนั้น อยู่ในป่าแห่งหนึ่ง ในโกศลชนบท
รูปหนึ่งชื่อ กาฬเถระ รูปหนึ่งชื่อ ชุณหเถระ อยู่มาวันหนึ่ง พระชุณหะ
ถามพระกาฬะว่า ท่านกาฬะผู้เจริญ ธรรมดาว่าความหนาวมีในเวลาไร ? พระ-
กาฬะนั้นกล่าวว่า ความหนาวมีในเวลาข้างแรม. อยู่มาวันหนึ่ง พระกาฬะถาม

พระชุณหะว่า ท่านชุณหะผู้เจริญ ธรรมดาว่าความหนาวย่อมมีในเวลาไร ?
พระชุณหะนั้นกล่าวว่า มีในเวลาข้างขึ้น พระแม้ทั้งสองรูปนั้นเมื่อไม่อาจตัด
ความสงสัยของตนได้ จึงพากันไปยังสำนักของพระบรมศาสดาถวายบังคมแล้ว
ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมดาว่าความหนาวย่อมมีในกาลไร
พระเจ้าข้า ? พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของภิกษุทั้งสองนั้นแล้วตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน เราก็ตอบปัญหานี้แก่เธอทั้งสองแล้ว แต่เธอ
ทั้งหลายกำหนดไม่ได้ เพราะอยู่ในสังเขปแห่งภพ แล้วทรงนำอดีตนิทานมา
ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล ณ เชิงเขาแห่งหนึ่ง มีสัตว์ผู้เป็นสหายกันสองตัว คือ
ราชสีห์ตัวหนึ่ง เสือโคร่งตัวหนึ่ง อยู่ในถํ้าเดียวกันนั่นเอง ในกาลนั้น แม้
พระโพธิสัตว์ก็บวชเป็นฤาษี อยู่ที่เชิงเขานั้นเหมือนกัน ภายหลังวันหนึ่ง ความ
วิวาทเกิดขึ้นแก่สหายเหล่านั้น เพราะอาศัยความหนาว เสือโคร่งกล่าวว่า
ความหนาวย่อมมีเฉพาะในเวลาข้างแรม. ราชสีห์กล่าวว่า มีเฉพาะในเวลาข้าง

ขึ้น. สหายแม้ทั้งสองนั้น เมื่อไม่อาจตัดความสงสัยของตน จึงถามพระโพธิสัตว์
พระโพธิสัตว์จึงกล่าวคาถานี้ว่า

ข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ตาม สมัยใดลมย่อมพัดมา
สมัยนั้นย่อมมีความหนาว เพราะความหนาวเกิดแต่
ลม ในปัญหาข้อนี้ท่านทั้งสอง ชื่อว่าไม่แพ้กัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเฬ วา ยทิ วา ชุณฺเห ได้แก่
ในปักษ์ข้างแรม หรือในปักษ์ข้างขึ้น. บทว่า ยทา วายติ มาลุโต ความ
ว่า สมัยใด ลมอันต่างด้วยลมทิศตะวันออกเป็นต้น ย่อมพัดมา สมัยนั้น
ความหนาวย่อมมี. เพราะเหตุไร ? เพราะความหนาวเกิดแต่ลม อธิบายว่า
เพราะเหตุที่ เมื่อลมมีอยู่นั่นแหละ ความหนาวจึงมี. ในข้อนี้ปักษ์ข้างแรม

หรือปักษ์ข้างขึ้น ไม่เป็นประมาณ. บทว่า อุโภตฺถมปราชิตา ความว่า
ท่านแม้ทั้งสองไม่แพ้กันในปัญหาข้อนี้.

พระโพธิสัตว์ให้สหายเหล่านั้นยินยอมกันด้วยประการอย่างนี้. ฝ่าย
พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน เราก็ตอบปัญหานี้
แก่เธอทั้งหลายแล้ว ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศ
สัจจะทั้งหลาย ในเวลาจบสัจจะ พระเถระแม้ทั้งสองเหล่านั้นก็ดำรงอยู่ใน
พระโสดาปัตติผล. แม้พระศาสดาก็ทรงสืบอนุสนธิแล้วประชุมชาดกว่า

เสือโคร่งในครั้งนั้น ได้เป็นพระกาฬะ ราชสีห์ในครั้งนั้น ได้เป็น
พระชุณหะ ส่วนดาบสผู้แก้ปัญหาในครั้งนั้น ได้เป็นเราแล.
จบมาลุตชาดกที่ ๗


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร