วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 19:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


นิทานวิฑูฑภะเป็นสักยราช

กิร ดังได้ยินมาว่า ท้าวมหานามเป็นเชษฐาของพระอนุรุทธ ซึ่งเป็น
โอรสแห่งพระอนุชาของท้าวสิริสุทโทนะนั้นดับขันธ์แล้ว
ท้าวมหานามก็ได้เสวยราชสมบัติเป็นกษัตริย์ใน เมืองกบิลพัสดุ์
มหานครบวรราชธานี
.........................

ท้าวมหานามไปสามัคคีแกหญิงทาสีมีธิดาชื่อว่า
นางวาสภขัติยานีมีอายุ ๑๖ ปี
..........................
ท้าวมหานามก็ถวายนางนั้นไปเป็นอัครมเหสีของ
พระเจ้าปเสนทิโกศล (กษัตริย์ผู้ครองเมืองสาวัตถี)

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2009, 05:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: ซากมูลคันธกุฎีสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าที่วัดเชตวันมหาวิหาร
800px-Mulagandhakuti.jpg
800px-Mulagandhakuti.jpg [ 161.97 KiB | เปิดดู 4945 ครั้ง ]
สาวัตถี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%96%E0%B8%B5



สาวัตถี (อังกฤษ: Sravasti) เป็นชื่อเมืองหลวงของแคว้นโกศลสมัยพุทธกาล เป็นเมืองที่ใหญ่พอกับเมืองราชคฤห์และพาราณสี เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าขายในสมัยพุทธกาล โดยในสมัยนั้นเมืองสาวัตถีมีพระเจ้าปเสนทิโกศลปกครองร่วมสมัยกับพระเจ้าพิมพิสาร

สาวัตถี เป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าประทับนานที่สุดถึง 25 พรรษา เป็นที่ตรัสพระสูตรมากมายและเป็นเมืองที่พระพุทธศาสนามั่นคงที่สุด เพราะมีผู้อุปถัมภ์สำคัญ เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล อนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขา เป็นต้น

สาวัตถี ปัจจุบันยังมีซากโบราณสถานที่สำคัญปรากฏร่องรอยอยู่ คือวัดเชตวันมหาวิหาร (ซึ่งพระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ถึง 19 พรรษา), บริเวณวังของพระเจ้าปเสนทิโกศล, บ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี (สถูป), บ้านบิดาขององคุลีมาล (สถูป), สถานที่พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ (หน้าวัดพระเชตวันมหาวิหาร), ที่แสดงยมกปาฏิหาริย์ เป็นต้น





สาวัตถีในปัจจุบันกำแพงเมืองสาวัตถีโบราณยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ภายในกำแพงเมืองมีโบราณสถานคงเหลืออยู่มากมาย เช่น ซากบ้านของบิดาพระองคุลีมาล, ซากคฤหาสถ์ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี, และวัดเก่าแก่ที่สร้างอุทิศแก่ พระติรธังกร (ศาสดาองค์แรกของศาสนาเชน) บริเวณนอกเขตเมืองสาวัตถียังมีสถานที่สำคัญเช่น ซากยมกปาฏิหาริย์สถูป (สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์) และวัดเชตวันมหาวิหาร (พระอารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนา) ซึ่งเป็นสถานที่แสวงบุญสำคัญของชาวพุทธทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีวัดที่ประเทศต่างๆ ที่นับถือศาสนาพุทธมาสร้างไว้ ได้แก่ ประเทศไทย เกาหลีใต้ ศรีลังกา พม่า ธิเบตและจีน


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 10 เม.ย. 2009, 05:28, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2009, 05:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เมืองสาวัตถีเป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล ในสมัยพระเจ้าปเสนทิโกศล

ปัจจุบันสาวัตถี คือ เมือง สาเหต มเหต (Sahet Mahet) ก่อนนั้นเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาก
สาวัตถี แปลว่า "มีทุกอย่าง"เป็นศูนย์กลางของการค้าขายที่มีชื่อเสียง มีความสมบูรณ์พูนสุขด้วยข้าวและน้ำ มีถนนหลายสายเชื่อมกับเมืองใหญ่ ๆ หลายเมืองจนถึงกรุงราชคฤห์ตามประวัติทางพุทธศาสนา

พระพุทธเจ้าประทับบำเพ็ญพุทธกิจอยู่ในเมืองสาวัตถีนานถึง 25 พรรษา

โดยอยู่ที่เชตวัน 19 พรรษา และที่
ปุพพารามวิหารของนางวิสาขาสร้างถวายอีก 6 พรรษา
.......
ที่มา
http://gotoknow.org/blog/indiastusdys/245806

**********

คนมั่งมีในแคว้นของพระเจ้าพิมพิสาร ๕ คน
ใช่จะมีแต่เมณฑกเศรษฐีแต่ผู้เดียวเท่านั้นก็หาไม่, ก็ในแคว้นของ
พระเจ้าพิมพิสาร ก็ได้มีคนผู้มีโภคะนับไม่ถ้วน ๕ คน คือ

โชติยะ ๑ ชฏิละ ๑ เมณฑกะ ๑ ปุณณกะ ๑ กากวัลลิยะ ๑.

*************
การสร้างเมืองสาเกต
ครั้งนั้น ธนญชัยเศรษฐี ทูลถามท้าวเธอว่า " นี้เป็นแคว้นของ
ใคร ?"

ปเสนทิโกศล. ของเรา เศรษฐี.
ธนชัย. เมืองสาวัตถี แต่นี้ไป ไกลเท่าไร ?
ปเสนทิโกศล. ในที่สุด ๗ โยชน์.
ธนญชัย. ภายในพระนครคับแคบ, ชนบริวารของข้าพระองค์มาก
ถ้าพระองค์ทรงโปรดไซร้, ข้าพระองค์พึงอยู่ที่นี้แหละ พระเจ้าข้า.

พระราชาทรงรับว่า "ดีละ" ดังนี้แล้ว ให้สร้างเมืองในที่นั้น
ได้พระราชทานแก่เศรษฐีนั้นแล้วเสด็จไป. เมืองได้นามว่า "สาเกต"

เพราะความที่แห่งสถานที่อยู่ ในประเทศนั้น อันเศรษฐีจับจองแล้วใน
เวลาเย็น.

..................


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 10 เม.ย. 2009, 05:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2009, 05:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พระเจ้าปเสนทิโกศล ... :b41:

"มหาบพิตร ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นของ ๔ อย่างว่าเป็นของเล็กน้อย" คือ
(1) อย่าดูถูก ดูหมิ่นกษัตริย์ว่ายังทรงพระเยาว์
(2) อย่าดูถูก ดูหมิ่นงูว่าตัวเล็ก
(3) อย่าดูถูก ดูหมิ่นไฟว่าเล็กน้อย
(4) อย่าดูถูก ดูหมิ่นภิกษุว่ายังหนุ่มอยู่



พระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามหาโกศลเมื่อยังเป็นพระกุมารได้เสด็จไปศึกษาศิลปวิทยาในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ณ กรุงตักศิลา เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วเสด็จกลับกรุงสาวัตถีได้แสดงศิลปวิทยาที่ได้ศึกษามาให้หมู่ญาติมีพระชนก พระชนนีเป็นประธานได้ทอดพระเนตร ปเสนทิกุมารได้รับความโปรดปรานจากพระเจ้ามหาโกศลเป็นอย่างยิ่งโปรดให้อภิเษกในราชสมบัติ เป็นพระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งแคว้นโกศล


พระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นพุทธมามกะ และเป็นศาสนูปถัมภก (ผู้อุปถัมภ์ศาสนา) ที่สำคัญในสมัยพุทธกาล ทรงมีความรักและความเคารพพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่เป็นประจำ ทรงปราศรัยกับพระพุทธเจ้าในเรื่องต่างๆ ซึ่งได้มีการบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก ดังนี้

1) พบพระพุทธเจ้าครั้งแรก
พระเจ้าปเสนทโกศลทรงสนพระทัยในเรื่องศาสนามาก ในสมัยนั้นมีเจ้าลัทธิศาสนา ตั้งตนเป็นศาสดาสั่งสอนธรรมอยู่หลายท่าน ที่มีชื่อเสียงได้รับยกย่องว่าเป็นพระอรหันต์ ๖ ท่าน คือ ปูรณกัสสป มักขลิโคศาล นิครนถนาฏบุตร สัญชัยเวลัฏฐบุตร ปกุธกัจจายนะ และอชิตเกสกัมพล ซึ่งมักจะรวมเรียกว่าศาสดาทั้ง ๖ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบกิตติศัพท์ (เสียงเล่าลือ) ดังกล่าวมีพระประสงค์จะพบพระอรหันต์ผู้ประกาศตนว่าเป็นพุทธะเป็นสัพพัญญู (ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง) จึงโปรดให้นิมนต์ศาสดาทั้ง ๖ ไปรับพระราชทานอาหารในพระราชวัง แล้วทรงตรัสถามตรงๆ ว่าท่านทั้งหลายสามารถปฏิญาณ (ยืนยัน) ได้หรือไม่ว่าเป็นพุทธะ ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธญาณ ศาสดาทั้ง ๖ เกรงพระบรมเดชานุภาพของพระราชา คิดว่าถ้าหากทูลว่าตนเป็นพุทธะ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะตรัสถามธรรมที่ลึกซึ้งอันเป็นพุทธวิสัย จะไม่อาจทูลตอบได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะถูกลงโทษฐานหลอกลวงมหาชนว่าเป็นพุทธะจึงได้นิ่งเสีย ไม่มีผู้ใดกล้าปฏิญาณว่าตนเองเป็นพุทธะ เมื่อถูกถามซ้ำอีกไม่มีทางตอบบ่ายเบี่ยงเป็นอย่างอื่น จึงต้องยอมรับว่าพวกตนมิได้เป็นพุทธะ เป็นแต่คณาจารย์ธรรมดา คำที่เล่าลือกันว่าเป็นพุทธะนั้นเป็นเรื่องของสาวกบริวารที่ยกย่องกันเอง

เมื่อพระพุทธศาสนาตั้งมั่นในแคว้นมคธแล้วอีก ๒ ปีต่อมาก็ได้แผ่ไปถึงแคว้นโกศล มีผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาบริจาคทรัพย์สร้างวัดในกรุงสาวัตถีเมืองหลวงของแคว้นโกศลหลายแห่ง เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างวัดพระเชตวันมหาวิหารและนางวิสาขามหาอุบาสิกาสร้างวัดบุพพาราม

คราวหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดพระเชตวัน แล้วทูลถามว่าท่านพระโคดมทรงปฏิญาณได้หรือไม่ว่าได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอย่างยอดเยี่ยม พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า พระองค์ทรงปฏิญาณว่าพระองค์ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอย่างยอดเยี่ยมแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่าบรรพชิตเหล่าอื่น เช่น ศาสดาทั้ง ๖ เมื่อพระองค์ตรัสถามว่าท่านเหล่านั้นปฏิญาณได้หรือไม่ว่าเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ ก็ไม่มีผู้ใดปฏิญาณสักคน ทั้งๆ ที่ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ที่มีอายุมากแล้ว เป็นเจ้าลัทธิที่มหาชนยกย่อง ส่วนพระพุทธเจ้ายังทรงหนุ่มอยู่ ผนวชมาก็ไม่สู้นาน ไฉนพระองค์จึงกล้าปฏิญาณเล่า พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า "ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นของ ๔ อย่างว่าเป็นของเล็กน้อย" คือ
(1) อย่าดูถูก ดูหมิ่นกษัตริย์ว่ายังทรงพระเยาว์
(2) อย่าดูถูก ดูหมิ่นงูว่าตัวเล็ก
(3) อย่าดูถูก ดูหมิ่นไฟว่าเล็กน้อย
(4) อย่าดูถูก ดูหมิ่นภิกษุว่ายังหนุ่มอยู่
ของ ๔ อย่างนี้ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อยไม่สำคัญ เพราะพระมหากษัตริย์แม้ยังทรงพระเยาว์ แต่ก็มีพระราชอำนาจมาก หากทรงพิโรธขึ้นอาจลงพระราชอาญาอย่างหนักได้ งูพิษแม้ตัวเล็กก็กัดคนให้ตายได้ ไฟเพียงเล็กน้อยก็อาจเผาบ้านเรือนผลาญชีวิตคนได้ พระภิกษุแม้ยังหนุ่ม แต่ก็เป็นผู้มีศีล ผู้ใดประทุษร้ายต่อภิกษุผู้มีศีล ผลแห่งกรรมชั่วย่อมแผดเผาผู้นั้น บุตรภรรยาและทรัพย์สมบัติของผู้นั้นย่อมพินาศ
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสจบแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลได้กราบทูลว่าพระธรรมของพระพุทธเจ้าแจ่มแจ้งนัก และปฏิญาณตนเป็นอุบาสกของถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

2) ทรงถวายภัตตาหารพระสงฆ์เป็นประจำ
เช้าวันหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลประทับยืนอยู่ในปราสาทชั้นบนทอดพระเนตรเห็นพระสงฆ์จำนวนมากเดินไปตามถนน ทรงตรัสถามราชบุรุษว่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไปไหนกัน เมื่อราชบุรุษทูลว่าพระภิกษุเหล่านี้ไปรับบิณฑบาตที่บ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐีบ้าง ที่บ้านของนางวิสาขาบ้างเป็นประจำทุกวัน พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงประราชศรัทธานิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยเหล่าภิกษุสงฆ์เข้าไปรับภัตตาหารในพระราชวังติดต่อกัน ๗ วัน ในวันสุดท้ายขอนิมนต์พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ ๕๐๐ รูป มารับบิณฑบาตเป็นประจำ แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่าตามธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่รับภัตตาหารในที่แห่งเดียวเป็นประจำ พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทูลขอให้พระพุทธเจ้ามอบหมายให้ภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้แทนพระพุทธองค์ พระพุทธเจ้าจึงทรงมอบหมายให้เป็นภาระของพระอานนท์


พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเตรียมอาหารไว้ถวายพระภิกษุที่มารับบิณฑบาตวันละ ๕๐๐ รูป แต่ไม่ได้มอบหมายหน้าที่ให้ราชบุรุษผู้ใดเป็นผู้ตักบาตร ตามธรรมดาพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมีพระราชภาระมาก บางวันเสด็จมาทรงบาตรช้าไป บางวันก็ไม่สามารถมาได้ ครั้งหนึ่งทรงลืมติดต่อกันถึง ๓ วัน พระภิกษุที่มารับบิณฑบาตก็เริ่มระอา มาสู่ที่นิมนต์ลดจำนวนลงเรื่อยๆ จนเหลือแต่พระอานนท์รูปเดียวเท่านั้น

ครั้นวันหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงระลึกขึ้นได้ เสด็จมาจะทรงบาตร ก็เห็นพระอานนท์อยู่รูปเดียว อาหารที่จัดไว้เหลืออยู่มากมาย จึงตรัสถามราชบุรุษว่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมิได้มาหรือ ทรงสดับว่าพระอานท์มารูปเดียวเท่านั้น ทรงพิโรธพระภิกษุว่ารับนิมนต์แล้วไม่มา จึงเสด็จไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ทรงติเตียนภิกษุ แต่ทรงชี้แจงให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทราบว่า การที่สาวกของพระองค์ไม่เข้าไปรับบิณฑบาตในราชสำนักเพราะยังไม่มีความคุ้นเคย

3) ทรงเป็นพระญาติกับพระพุทธเจ้า
ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศลเมื่อเสด็จกลับไปแล้ว ทรงดำริว่าเราควรทำความคุ้นเคยกับภิกษุสงฆ์จะทำอย่างไรดีหนอ ภิกษุสงฆ์จึงจะคุ้นเคยกับเรา ทรงดำริว่าถ้าเราอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงในตระกูลศากยะ ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับพระพุทธเจ้า ภิกษุสงฆ์ก็จะเกิดความคุนเคยกับเรา เพราะคิดว่าเราเป็นญาติของพระพุทธเจ้า


จึงได้ทรงส่งพระราชสาส์นไปขอธิดาของวงศ์ศากยะมาเพื่ออภิเษกเป็นพระมเหสี ปรากฏว่าทางศากยวงศ์ประชุมกันแล้วไม่เต็มใจที่จะถวาย แต่เนื่องด้วยเกรงพระราชอำนาจของพระเจ้าปเสนทิโกศลจึงจำใจส่งเจ้าหญิงวาสภขัตติยา ธิดาของพระเจ้ามหานามะ ผู้เกิดจากนางทาสี (หญิงรับใช้ของพระเจ้ามหานามะ) ไปถวาย

พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพอพระทัย อภิเษกไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี ต่อมาพระนางวาสภขัตติยาประสูติพระโอรสองค์หนึ่ง คือ วิฑูฑภะ



ภายหลังพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบว่าพระนางเป็นธิดาของนางทาสี ทรงกริ้วมาก รับสั่งให้ปลดพระนางวาสภขัตติยาจากตำแหน่งอัครมเหสีและวิฑูฑภจากตำแหน่งรัชทายาท และให้ริบเครื่องอิสริยยศที่เคยพระราชทานแก่พระนางวาสภขัตติยา และพระโอรส

ต่อมาอีก ๒-๓ วัน พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังพระราชนิเวศน์พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงทูลเรื่องนี้ ด้วยความน้อยพระทัยว่าพระญาติของพระพุทธเจ้าประทานลูกทาสีมาให้เป็นอัครมเหสี พระพุทธเจ้าตรัสว่า "มหาบพิตร พวกเจ้าศากยะไม่สมควรทำอย่างนี้ ธรรมดาเมื่อจะให้พระธิดาก็ควรให้พระธิดาที่มีพระชาติเสมอกัน" เป็นการแสดงความเห็นใจ ทำให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงคลายความขุ่นพระทัยลงที่ทรงเห็นว่าพระพุทธเจ้าเป็นฝ่ายเดียวกับพระองค์ไม่เข้าข้างฝ่ายพระญาติ

(ผู้โพสต์..ฝ่ายพระญาติ เมือง..ท้าวมหานามเป็นเชษฐาของพระอนุรุทธ ซึ่งเป็น
โอรสแห่งพระอนุชาของท้าวสิริสุทโทนะนั้นดับขันธ์แล้ว
ท้าวมหานามก็ได้เสวยราชสมบัติเป็นกษัตริย์ใน เมืองกบิลพัสดุ์มหานครบวรราชธานี)



เมื่อพระเจ้าปเสนิโกศลได้ระบายความน้อยพระทัย และได้รับความเห็นใจจากพระพุทธเจ้าที่ทรงยอมรับว่าพวกเจ้าศากยะทำไม่ถูก เป็นการแสดงอารมณ์ร่วมแล้ว พระพุทธเจ้าจึงทรงชี้แจงต่อไปว่าพระนางวาสภขัตติยาเป็นราชธดาของกษัตริย์ ได้รับการอภิเษกในตระกูลของกษัตริย์ แม้วิฑูฑภะกุมารก็ถือกำเนิดจากกษัตริย์วงศ์ตระกูลฝ่ายมารดาไม่สำคัญ วงศ์ตระกูลฝ่ายบิดาเท่านั้นเป็นสำคัญ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งในสมัยโบราณก็เคยพระราชทานตำแหน่งอัครมเหสีแก่หญิงผู้ยากจนมีอาชีพหาบฝืน และโอรสที่เกิดจากอัครมเหสีนั้นต่อมาก็ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสดับพระโอวาทแล้วทรงเห็นจริงว่าวงศ์ตระกูลของบิดาเท่านั้นเป็นสำคัญ

จึงโปรดให้คืนยศและตำแหน่งแก่พระนางวาสภขัตติยาและวิฑูฑภะพระโอรสดังเดิม




4) ทรงถวายอสทิสทาน

ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จพระราชดำเนินไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทูลปราศรัยถึงเรื่องต่าง ก่อนจะเสด็จกลับได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งภิกษุ ๕๐๐ รูปรับภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น ในพระราชฐานและตรัสชวนประชาชนที่มาฟังธรรมในพระเชตวันมหาวิหารให้ไปร่วมอนุโมทนาทานนั้นด้วย เมื่อถึงเวลาพระพุทธเจ้ากับพระภิกษุสงฆ์ทรงทำภัตกิจที่ในวัง ชาวเมืองก็ไปร่วมอนุโมทนาด้วยมากมาย เมื่อเสร็จภัตกิจแล้วชาวเมืองจึงกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้ากับภิกษุ ๕๐๐ รูป เสวยภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น และทูลเชิญเสด็จพระเจ้าปเสนทิโกศล พร้อมทั้งอำมาตย์-ราชบริพารมาอนุโมทนาด้วย พระเจ้าปเสนทิโกศลกับชาวเมืองผลัดกันเป็นเจ้าภาพเลี้ยงพระ และเชิญอีกฝ่ายหนึ่งมาร่วมอนุโมทนาอย่างนี้ถึงฝ่ายละ ๖ ครั้ง



ในครั้งแรกๆ ก็เกิดด้วยศรัทธาปสาทะ แต่ครั้งหลังๆ กลายเป็นแข่งขันกันไปโดยไม่รู้ตัว ชาวเมืองพยายามหาของดีๆ ของแปลกๆ เช่น พืช ผัก และผลไม้ที่หายากมาถวาย พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงพยายามจัดหาของที่ดีและประณีตให้มีแปลกมีใหม่ แต่ก็สู้ชาวเมืองไม่ได้สักครั้ง เพราะชาวเมืองมีจำนวนมากร่วมกันถวายทีหลัง จึงสามารถจัดของถวายให้แปลกให้ดีกว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงปริวิตกถึงเรื่องนี้จึงตรัสเล่าให้พระนางมัลลิกาเทวีทราบ พระนางมัลลิกาเทวีทรงหาวิธีที่จะให้พระเจ้าปเสนทิโกศลชนะชาวเมืองจึงจัดทานที่เรียกว่า "อสทิสทาน" แปลว่าทานที่หาผู้ทำเสมอมิได้ คือทานที่ไม่มีใครเหมือน

พระนางมัลลิกาเทวีเป็นผู้ฉลาด แทนที่จะเอาชนะด้วยภัตตาหารที่แปลกที่ประณีตที่หายาก พระนางกลับเอาชนะด้วยพิธีการที่ยิ่งใหญ่จนชาวเมืองทำตามไม่ได้ คือ ให้ปลูกพระมณฑปใหญ่สำหรับเป็นที่ฉันภัตตาหารสำหรับพระ ๕๐๐ รูปที่กลางสนามหลวง ที่อาสนะสำหรับพระแต่ละรูป มีช้างยืนถือเศวตรฉัตรบูชาพระอยู่เบื้องบน และให้เจ้าหญิงแห่งราชตระกูลเป็นผู้ถวายภัตตาหาร ชาวเมืองไม่มีช้าง ไม่มีเศวตรฉัตร ไม่มีเจ้าหญิง จึงไม่อาจแข่งขันกับพระเจ้าปเสนทิโกศลได้

5) พบพระพุทธเจ้าครั้งสุดท้าย
ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เมทฬุปนิคม ในแคว้นสักกะของพวกศากยะ พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จประพาสหัวเมืองผ่านมาทางนั้น โปรดให้พักกองทัพไว้ไม่ไกลวัดนัก ตั้งพระราชหฤทัยจะเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงมอบเครื่องราชกกุธภัณฑ์ให้อำมาตย์ผู้ใหญ่ชื่อว่าทีฑการายนะรักษาไว้ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในพระคันธกุฎีกราบทูลถึงความที่พระองค์มีความเคารพนับถือพระพุทธเจ้าด้วยเหตุต่างๆ เป็นอันมาก ในตอนสุดท้ายกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นกษัตริย์ หม่อมฉันก็เป็นกษัตริย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นชาวโกศล หม่อมฉันก็เป็นชาวโกศล พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระชนมายุ ๘๐ ปี หม่อมฉันก็มีอายุ ๘๐ ปีเหมือนกัน..."


ในระหว่างที่พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด้จเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในพระคันธกุฎีแต่เฉพาะพระองค์ ทีฆการายนะอำมาตย์เห็นเป็นโอกาสเหมาะจึงนำเครื่องราชกกุธภัณฑ์กลับไปกรุงสาวัตถี สถาปนาวิฑูฑภะซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาบดี (แม่ทัพ) ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินแทน เหลือไว้แต่ม้าตัวหนึ่งกับนางสนมคนหนึ่ง เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลทูลลาเสด็จกลับออกมาจากพระคันธกุฎีไม่พบทีฆการายนะอำมาตย์ ซึ่งพระองค์มอบให้รักษาเครื่องราชกกุธภัณฑ์ไว้จึงเสด็จไปยังค่ายที่พักพล

พบเพียงม้าตัวหนึ่งกับนางสนมคนหนึ่ง สอบถามได้ความว่าทีฆการายนะอำมาตย์กับวิฑูฑภะเสนาบดียกกองทัพกลับกรุงสาวัตถีแล้วพร้อมทั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ก็ทรงแน่พระทัยว่าเจ้าชายวิฑูฑภะเป็นขบถแน่ จึงเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์

เพื่อขอกำลังทหารจากพระเจ้าอชาตศัตรูราชาแห่งแคว้นมคธผู้เป็นพระราชนัดดาไปกู้ราชบัลลังก์คืน แต่เนื่องด้วยทรงพระชราและทรงเหน็ดเหนื่อยในการเดินทาง จึงสิ้นพระชนม์อยู่นอกประตูเมืองราชคฤห์ในราตรีที่เสด็จไปถึงนั่นเอง นางสนมที่โดยเสด็จก็ร้องไห้คร่ำครวญความทราบถึงพระเจ้าอชาตศัตรู จึงโปรดให้จัดการพระบรมศพให้เสร็จสิ้นไปด้วยดี

ที่มา
http://www.suthatsunday.com/forum/index.php?topic=486.0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2009, 06:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เจ้าศากยะให้ธิดานางทาสีแก่พระเจ้าปเสนทิ

พวกทูตไปแล้ว ทูลขอเจ้าหญิง (คนหนึ่ง ) กะเจ้าศากยะทั้งหลาย
เจ้าศากยะเหล่านั้นประชุมกันแล้ว ทรงดำริว่า พระราชาเป็นฝักฝ่ายอื่น;

ผิว่า พวกเราจักไม่ให้ไซร้, ท้าวเธอจักทำให้เราฉิบหาย; ก็ (เมื่อว่า )

โดยสกุล ท้าวเธอไม่เสมอกับเราเลย; พวกเราควรทำอย่างไรกันดี ?"

ท้าวมหานาม ตรัสว่า "ธิดาของหม่อมฉัน ชื่อวาสภขัตติยา เกิด
ในท้องของนางทาสี ถึงความเป็นผู้มีรูปงามเลิศมีอยู่, พวกเราจักให้นาง

นั้น" ดังนี้แล้ว จึงรับสั่งกะพวกทูตว่า "ดีละ พวกเราจักถวายเจ้าหญิง

แด่พระราชา."


.......... :b38:

ทูต. เป็นพระธิดาของเจ้าศากยะองค์ไหน ?
เจ้าศากยะ. เป็นพระธิดาของท้าวมหานามศากยราช
ผู้เป็นพระโอรสของพระเจ้าอาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อ วาสภขัตติยา.

ทูตเหล่านั้นไปกราบทูลแด่พระราชา (ของตน.) พระราชาตรัส
ว่า " ถ้าอย่างนั้นก็ดีละ, พวกเธอจงรีบนำมาเถิด; ก็ธรรมดาพวกกษัตริย์

มีเล่ห์กลมาก ( จะ ) พึงส่งแม้ลูกสาวของนางทาสีมา (ก็อาจเป็นได้),

พวกท่านจงนำธิดาผู้เสวยอยู่ในภาชนะเดียวกันกับพระบิดามา " ดังนี้แล้ว

ทรงส่งทูตทั้งหลายไป.

พวกเขาไปแล้วกราบทูลว่า "ขอเดชะ พระราชาทรงปรารถนา
พระธิดาผู้เสวยร่วมกับพระองค์" ท้าวมหานามรับสั่งว่า " ได้ซิ พ่อ "

(จึง) ให้ตกแต่งนาง ในเวลาเสวยของพระองค์รับสั่งให้เรียกนางมา
แสดงอาการ (ประหนึ่ง) ร่วมเสวยกับนางแล้วมอบแก่ทูตทั้งหลาย.

พวกเขาพานางไปยังเมืองสาวัตถีแล้ว กราบทูลเรื่องราวนั้นแด่พระราชา.

พระราชาทรงพอพระทัย ตั้งให้นางเป็นใหญ่กว่าสตรี ๕๐๐ คน
อภิเษกไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี. ต่อกาลไม่ช้านัก นาง (ก็) ประสูติ

พระโอรส มีวรรณะเหมือนทองคำ. ต่อมาในวันขนานพระนามพระโอรส

นั้น พระราชาทรงส่งพระราชสาสน์ไปสำนักพระอัยยิกาว่า "พระนาง

วาสภขัตติยา พระธิดาแห่งศากยราช ประสูติพระโอรสแล้ว, จะทรง

ขนานพระนามพระกุมารนั้นว่าอย่างไร ?"

ฝ่ายอำมาตย์ผู้รับพระราชสาสน์นั้นไป ค่อนข้างหูตึง. เขาไปแล้ว
ก็กราบทูลแก่พระอัยยิกาของพระราชา.

พระกุมารได้พระนามว่าวิฑูฑภะ
พระอัยยิกานั้นทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ตรัสว่า "พระนางวาสภ-
ขัตติยา แม้ไม่ประสูติพระโอรส ก็ได้ครอบครองชนทั้งหมด, ก็บัดนี้

นางจักเป็นที่โปรดปรานยิ่งของพระราชา."

อำมาตย์หูตึงฟังคำว่า " วัลลภา" ไม่ค่อยชัด เข้าใจว่า "วิฑูฑภะ"
ครั้นเข้าเฝ้าพระราชาแล้ว ก็กราบทูลว่า "ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรง

ขนานพระนามพระกุมารว่า ' วิฑูฑภะ' เถิด."

พระราชาทรงดำริว่า "คำว่า 'วิฑูฑภะ.่ จักเป็นชื่อประจำ
ตระกูลเก่าของเรา" จึงได้ทรงขนานพระนามว่า " วิฑูฑภะ."

-----------
ที่มา
http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%8F%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B2_%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%9C%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%93._%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%91%E0%B8%B9%E0%B8%91%E0%B8%A0%E0%B8%B0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 05:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พรรษาที่๓๘

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/buddha/buddha-misc/bd-misc-13-02.htm



.....................................................
แสดงสามัญญผลสูตรแก่อชาตศัตรู

- อชาตศัตรูแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

- กรุงสาวัตถี

- อำมาตย์ก่อการขบถ

- พระเจ้าปเสนทิโกศลสิ้นพระชนม์

- พระเจ้าวิฑูฑภะฆ่าล้างวงศ์ศากยะ

- พระเจ้าวิฑูฑภะสิ้นพระชนม์

...................................................... :b26:


5) พบพระพุทธเจ้าครั้งสุดท้าย
ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เมทฬุปนิคม ในแคว้นสักกะของพวกศากยะ พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จประพาสหัวเมืองผ่านมาทางนั้น โปรดให้พักกองทัพไว้ไม่ไกลวัดนัก ตั้งพระราชหฤทัยจะเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงมอบเครื่องราชกกุธภัณฑ์ให้อำมาตย์ผู้ใหญ่ชื่อว่าทีฑการายนะรักษาไว้ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในพระคันธกุฎีกราบทูลถึงความที่พระองค์มีความเคารพนับถือพระพุทธเจ้าด้วยเหตุต่างๆ เป็นอันมาก ในตอนสุดท้ายกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นกษัตริย์ หม่อมฉันก็เป็นกษัตริย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นชาวโกศล
หม่อมฉันก็เป็นชาวโกศล พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระชนมายุ ๘๐ ปี หม่อมฉันก็มีอายุ ๘๐ ปีเหมือนกัน..."


ในระหว่างที่พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด้จเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในพระคันธกุฎีแต่เฉพาะพระองค์ ทีฆการายนะอำมาตย์เห็นเป็นโอกาสเหมาะจึงนำเครื่องราชกกุธภัณฑ์กลับไปกรุงสาวัตถี สถาปนาวิฑูฑภะซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาบดี (แม่ทัพ) ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินแทน เหลือไว้แต่ม้าตัวหนึ่งกับนางสนมคนหนึ่ง เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลทูลลาเสด็จกลับออกมาจากพระคันธกุฎีไม่พบทีฆการายนะอำมาตย์ ซึ่งพระองค์มอบให้รักษาเครื่องราชกกุธภัณฑ์ไว้จึงเสด็จไปยังค่ายที่พักพล


----------------

?????????
[ผู้โพสต์ ถ้าพระชนมายุ ๘๐ ปี ก็ น่าจะเป็น พรรษาที่ 45 หรือว่า พระเจ้าปเสน นับผิด ฤ ประการใด?
สับสน]

พระพุทธเจ้ากับพระเจ้าปเสนทิโกศลมีพระชนม์เท่ากัน
[๕๖๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง แม้พระผู้มีพระภาคก็เป็นกษัตริย์ แม้
หม่อมฉันก็เป็นกษัตริย์ แม้พระผู้มีพระภาคก็เป็นชาวโกศล แม้หม่อมฉันก็เป็นชาวโกศล แม้
พระผู้มีพระภาคก็มีพระชนมายุ ๘๐ ปี แม้หม่อมฉันก็มีอายุ ๘๐ ปี


ที่มา
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
๙. ธรรมเจติยสูตร
ว่าด้วยธรรมเจดีย์

http://www.84000.org/tipitaka/read/?13/559-570


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 12 เม.ย. 2009, 05:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 05:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปุปผวรรคที่ ๔
หน้าต่างที่ ๓ / ๑๒.


๓. เรื่องพระเจ้าวิฑูฑภะ๑- [๓๕]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี ทรงปรารภพระเจ้าวิฑูฑภะพร้อมทั้งบริษัท ซึ่งถูกห้วงน้ำท่วมทับให้สวรรคตแล้ว ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ปุปฺผานิ เหว ปจินนฺตํ " เป็นต้น.


http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=3

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 05:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


วิฑูฑภะเสด็จเยี่ยมศากยสกุล

ต่อมา พระราชาได้พระราชทานตำแหน่งเสนาบดีแก่วิฑูฑภกุมารนั้น ในเวลาที่ยังทรงพระเยาว์นั่นแล ด้วยตั้งพระทัยว่า "จะกระทำให้เป็นที่โปรดปรานของพระศาสดา."


วิฑูฑภะนั้นทรงเจริญด้วยเครื่องบำรุงสำหรับกุมาร ในเวลามีพระชนม์ ๗ ขวบ ทรงเห็นของเล่นต่างๆ มีรูปช้างและรูปม้าเป็นต้นของกุมารเหล่าอื่น อันบุคคลนำมาจากตระกูลยาย จึงถามพระมารดาว่า "เจ้าแม่ ใครๆ เขาก็นำบรรณาการมาจากตระกูลยายเพื่อพวกกุมารเหล่าอื่น, พระญาติไรๆ ย่อมไม่ส่งบรรณาการไรๆ มาเพื่อหม่อมฉัน (บ้างเลย), เจ้าแม่ไม่มีพระชนนีพระชนกหรือ?"


ทีนั้น พระมารดาจึงลวงโอรสนั้นว่า "พ่อ เจ้าศากยะเป็นยายของเจ้ามีอยู่, แต่อยู่ไกล, เหตุนั้น พวกท่าน (จึง) มิได้ส่งเครื่องบรรณาการไรๆ มาเพื่อเจ้า."

ในเวลามีพระชันษาครบ ๑๖ ปี พระกุมารจึงทูลพระมารดาอีกว่า "เจ้าแม่ หม่อมฉันใคร่จะเยี่ยมตระกูลพระเจ้ายาย" แม้ถูกพระมารดาห้ามอยู่ว่า "อย่าเลย ลูกเอ๋ย, ลูกจักไปทำอะไรในที่นั้น" ก็ยังอ้อนวอนร่ำไป.
ทีนั้น พระมารดาของพระกุมารก็ทรงยินยอมว่า "ถ้าอย่างนั้นก็ไปเถิด."

พวกศากยะต้อนรับวิฑูฑภะ

[ผู้โพสต์ พวกศากยะ=พวกพระมหานาม...]

พระกุมารกราบทูลพระราชบิดาแล้ว เสด็จออกไป พร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก. พระนางวาสภขัตติยาทรงส่งจดหมายล่วงหน้าไปก่อนว่า "หม่อมฉันอยู่ในที่นี้สบายดี, พระญาติทั้งหลายอย่าแสดงโทษไรๆ ของพระสวามีแก่พระกุมารนั้นเลย."
เจ้าศากยะทรงทราบว่า วิฑูฑภกุมารเสด็จมา ทรงปรึกษากันว่า "พวกเราไม่อาจไหว้ (วิฑูฑภกุมาร) ได้" จึงส่งพระกุมารทั้งหลายที่เด็กๆ กว่าวิฑูฑภะนั้นไปยังชนบทเสีย, เมื่อวิฑูฑภกุมารนั้นเสด็จถึงกบิลพัสดุ์บุรี, ก็ประชุมกันในท้องพระโรง. วิฑูฑภกุมารได้เสด็จไปประทับอยู่ ณ ที่นั้น.
ลำดับนั้น พวกเจ้าศากยะกล่าวกะพระกุมารนั้นว่า "พ่อ ผู้นี้เป็นพระเจ้าตาของพ่อ, ผู้นี้เป็นพระเจ้าลุง." วิฑูฑภกุมารนั้นเที่ยวไหว้เจ้าศากยะทั้งหมด มิได้เห็นเจ้าศากยะแม้องค์หนึ่งไหว้ตน (จึง) ทูลถามว่า "ทำไมหนอ จึงไม่มีเจ้าศากยะทั้งหลายไหว้หม่อมฉันบ้าง?"
พวกเจ้าศากยะตรัสว่า "พ่อ กุมารที่เป็นน้องๆ ของพ่อเสด็จไปชนบท (เสียหมด) แล้วทรงทำสักการะใหญ่แก่พระกุมารนั้น. พระองค์ประทับอยู่สิ้น ๒-๓ วัน ก็เสด็จออกจากพระนครด้วยบริวารเป็นอันมาก.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 05:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


วิฑูฑภะกลับสู่เมืองของตน
ลำดับนั้น นางทาสีคนหนึ่งแช่งด่าว่า "นี้เป็นแผ่นกระดานที่บุตรของนางทาสีชื่อวาสภขัตติยานั่ง" ดังนี้แล้ว
ล้างแผ่นกระดานที่พระกุมารนั้นนั่งในท้องพระโรง ด้วยน้ำเจือด้วยน้ำนม.

มหาดเล็กคนหนึ่งลืมอาวุธของตนไว้ กลับไปเอาอาวุธนั้น ได้ยินเสียงด่าวิฑูฑภกุมาร จึงถามโทษนั้น ทราบว่า "นางวาสภขัตติยา เกิดในท้องของนางทาสีของท้าวมหานามศากยะ" (จึง) บอกกล่าวแก่พวกพล. ได้มีการอื้อฉาวกันอย่างขนานใหญ่ว่า "ได้ยินว่า พระนางวาสภขัตติยาเป็นธิดาของนางทาสี."

วิฑูฑภะทรงอาฆาตพวกเจ้าศากยะ
เจ้าวิฑูฑภะทรงสดับคำนั้น ตั้งพระหฤทัยไว้ว่า "เจ้าศากยะเหล่านั้น จงล้างแผ่นกระดานที่เรานั่งด้วยน้ำเจือด้วยน้ำนมก่อน, แต่ในกาลที่เราดำรงราชสมบัติแล้ว เราจักเอาเลือดในลำคอของเจ้าศากยะเหล่านั้น ล้างแผ่นกระดานที่เรานั่ง"

เมื่อพระองค์เสด็จยาตราถึงกรุงสาวัตถี, พวกอำมาตย์ก็กราบทูลเรื่องทั้งหมดแด่พระราชา. พระราชาทรงพิโรธเจ้าศากยะว่า "ได้ให้ธิดานางทาสีแก่เรา" จึงรับสั่งให้ริบเครื่องบริหารที่พระราชทานแก่พระนางวาสภขัตติยาและพระโอรส, ให้พระราชทานเพียงสิ่งของอันผู้เป็นทาสและทาสีพึงได้เท่านั้น.


ต่อมา โดยกาลล่วงไป ๒-๓ วัน พระศาสดาเสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ ประทับนั่งแล้ว. พระราชาเสด็จมาถวายบังคมแล้วทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข่าวลือว่า พวกพระญาติของพระองค์ประทานธิดาแห่งนางทาสีแก่หม่อมฉัน, เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงริบเครื่องบริหารของนางวาสภขัตติยานั้นพร้อมทั้งบุตร ให้ๆ เพียงสิ่งของอันผู้เป็นทาสและทาสีควรได้เท่านั้น."


พระศาสดาตรัสว่า "มหาบพิตร พวกเจ้าศากยะทำกรรมไม่สมควร, ธรรมดาเมื่อจะให้ ก็ควรให้พระธิดาที่มีชาติเสมอกัน; มหาบพิตร ก็อาตมภาพขอทูลพระองค์ว่า ‘พระนางวาสภขัตติยาเป็นพระธิดาของขัตติยราช ได้อภิเษกในพระราชมนเทียรของขัตติยราช, ฝ่ายวิฑูฑภกุมาร ก็ทรงอาศัยขัตติยราชนั่นแลประสูติแล้ว, ธรรมดาว่า โคตรฝ่ายมารดาจักทำอะไร (ได้), โคตรฝ่ายบิดาเท่านั้นเป็นสำคัญ" ดังนี้แล้ว ตรัสว่า
"โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ได้พระราชทานตำแหน่งอัครมเหสี แก่หญิงผู้ยากจน ชื่อกัฏฐหาริกา๑-, และพระกุมารที่เกิดในท้องของนางนั้น (ก็) ถึงความเป็นพระราชาในพระนครพาราณสี (อันกว้างใหญ่ไพศาล) ถึง ๑๒ โยชน์ ทรงพระนามว่า "กัฏฐวาหนราชา" แล้วตรัสกัฏฐหาริยชาดก๒

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 05:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


[ผู้โพสต์ หลังจาก พระเจ้าประเสนทิโกศล สวรรคต]

พระเจ้าวิฑูฑภะเสด็จไปพบพระศาสดา
แม้พระเจ้าวิฑูฑภะได้ราชสมบัติแล้ว ทรงระลึกถึงเวรนั้น ทรงดำริว่า "เราจักยังเจ้าศากยะแม้ทั้งหมดให้ตาย" ดังนี้แล้ว จึงเสด็จออกไปด้วยเสนาใหญ่.


ในวันนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นความพินาศแห่งหมู่พระญาติแล้ว ทรงดำริว่า "เราควรกระทำญาติสังคหะ" ในเวลาเช้า เสด็จเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ทรงสำเร็จสีหไสยาในพระคันธกุฎี ในเวลาเย็นเสด็จไปทางอากาศ

ประทับนั่งที่โคนไม้ มีเงาปรุโปร่ง ใกล้เมืองกบิลพัสดุ์. แต่นั้นไป มีต้นไทรเงาสนิทต้นใหญ่ต้นหนึ่งอยู่ในรัชสีมาของพระเจ้าวิฑูฑภะ.




พระเจ้าวิฑูฑภะทอดพระเนตรเห็นพระศาสดา จึงเสด็จเข้าไปเฝ้า ถวายบังคมแล้ว กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุไร พระองค์จึงประทับนั่งแล้วที่โคนไม้เงาปรุโปร่งนี้ ในเวลาร้อน เห็นปานนี้, ขอพระองค์โปรดประทับนั่งที่โคนไทร มีเงาอันสนิทนั่นเถิด พระเจ้าข้า"



เมื่อพระศาสดาตรัสตอบว่า "ช่างเถิด มหาบพิตร, ชื่อว่าเงาของหมู่พระญาติเป็นของเย็น", จึงทรงดำริว่า "พระศาสดาจักเสด็จมาเพื่อทรงประสงค์รักษาหมู่พระญาติ" จึงถวายบังคมพระศาสดา เสด็จกลับไปสู่เมืองสาวัตถีนั่นแล.



แม้พระศาสดาก็ทรงเหาะไปสู่เชตวันเหมือนกัน. พระราชาทรงระลึกถึงโทษแห่งพวกเจ้าศากยะ เสด็จออกไปแม้ครั้งที่ ๒ ทอดพระเนตรเห็นพระศาสดาในที่นั้นนั่นแล ก็เสด็จกลับอีก. เสด็จออกไปแม้ครั้งที่ ๓ ทอดพระเนตรเห็นพระศาสดาในที่นั้นนั่นแล ก็เสด็จกลับ.


แต่เมื่อพระเจ้าวิฑูฑภะนั้นเสด็จออกไปในครั้งที่ ๔, พระศาสดาทรงพิจารณาเห็นบุรพกรรมของเจ้าศากยะทั้งหลาย ทรงทราบความที่กรรมอันลามกคือการโปรยยาพิษ ในแม่น้ำของเจ้าศากยะเหล่านั้น เป็นกรรมอันใครๆ ห้ามไม่ได้
จึงมิได้เสด็จไปในครั้งที่ ๔. พระเจ้าวิฑูฑภะเสด็จออกไปแล้วด้วยพลใหญ่ ด้วยทรงดำริว่า "เราจักฆ่าพวกเจ้าศากยะ."


พระเจ้าวิฑูฑภะฆ่าพวกศากยะ
ก็พระญาติทั้งหลายของพระสัมมาสัมพุทธะชื่อว่าไม่ฆ่าสัตว์ แม้จะตายอยู่ก็ไม่ปลงชีวิตของเหล่าสัตว์อื่น.

เจ้าศากยะเหล่านั้นคิดว่า "พวกเราฝึกหัดมือแล้ว มีเครื่องผูกสอดอันทำแล้ว หัดปรือมาก, แต่พวกเราไม่อาจปลงสัตว์อื่นจากชีวิตได้เลย, พวกเราจักแสดงกรรมของตนแล้วให้หนีไป." เจ้าศากยะเหล่านั้นทรงมีเครื่องผูกสอดอันทำแล้ว จึงเสด็จออกเริ่มการยุทธ. ถูกศรที่เจ้าศากยะเหล่านั้นยิงไปไปตามระหว่างๆ พวกบุรุษของพระเจ้าวิฑูฑภะ, ออกไปโดยช่องโล่และช่องหูเป็นต้น. พระเจ้าวิฑูฑภะทอดพระเนตรเห็น จึงตรัสว่า "พนาย พวกเจ้าศากยะย่อมตรัสว่า ‘พวกเราเป็นผู้ไม่ฆ่าสัตว์’ มิใช่หรือ? ก็เมื่อเช่นนี้ ไฉนพวกเจ้าศากยะจึงยิงบุรุษของเราให้ฉิบหายเล่า." ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งกราบทูลพระเจ้าวิฑูฑภะนั้นว่า "ข้าแต่เจ้า พระองค์ตรวจสอบดูแล้วหรือ?"

พระเจ้าวิฑูฑภะ. พวกเจ้าศากยะยังบุรุษของเราให้ฉิบหาย.
บุรุษ. บุรุษไรๆ ของพระองค์ ชื่อว่าตายแล้ว ย่อมไม่มี, ขอเชิญพระองค์จงรับสั่งให้นับบุรุษเหล่านั้นเถิด.
พระเจ้าวิฑูฑภะ เมื่อรับสั่งให้นับดู ไม่ทรงเห็นหมดไปแม้คนหนึ่ง. ท้าวเธอเสด็จกลับจากที่นั้นแล้ว ตรัสว่า "พนาย คนเหล่าใดๆ บอกว่า ‘พวกเราเป็นเจ้าศากยะ’ ท่านทั้งหลายจงฆ่าคนเหล่านั้นทั้งหมด; แต่จงให้ชีวิตแก่คนที่ยืนอยู่ในสำนักของเจ้าศากยะมหานาม ผู้เป็นพระเจ้าตาของเรา.


เจ้าศากยะทั้งหลายไม่เห็นเครื่องถือที่ตนพึงถือเอา บางพวกคาบหญ้า บางพวกถือไม้อ้อ ยืนอยู่, ถูกเขาถามว่า "ท่านเป็นเจ้าศากยะหรือไม่ใช่? เพราะเหตุที่เจ้าศากยะเหล่านั้น แม้จะตายก็ไม่พูดคำเท็จ; พวกที่ยืนคาบหญ้าอยู่แล้ว จึงกล่าวว่า "ไม่ใช่เจ้าศากยะ, หญ้า." พวกที่ยืนถือไม้อ้อก็กล่าวว่า "ไม่ใช่เจ้าศากยะ, ไม้อ้อ." เจ้าศากยะเหล่านั้นและเจ้าศากยะที่ยืนอยู่ในสำนักของท้าวมหานาม ได้ชีวิตแล้ว.
บรรดาเจ้าศากยะเหล่านั้น เจ้าศากยะที่ยืนคาบหญ้า ชื่อว่าเจ้าศากยะหญ้า, พวกที่ยืนถือไม้อ้อ ชื่อว่าเจ้าศากยะไม้อ้อ.
พระเจ้าวิฑูฑภะรับสั่งให้ฆ่าเจ้าศากยะอันเหลือทั้งหลาย ไม่เว้นทารกแม้ยังดื่มนม ยังแม่น้ำคือโลหิต ให้ไหลไปแล้ว รับสั่งให้ล้างแผ่นกระดาน ด้วยโลหิตในลำคอของเจ้าศากยะเหล่านั้น.

[ผู้โพสต์ ก่อนฆ่าเขา จะถามว่า เป็นศากยะหรือ ถ้าตอบไม่ใช่...เขาก็ไม่ฆ่า ถ้าตอบว่าใช่จึงฆ่า]



ศากยวงศ์อันพระเจ้าวิฑูฑภะเข้าไปตัดแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้. พระเจ้าวิฑูฑภะนั้นรับสั่งให้จับเจ้าศากยมหานาม เสด็จกลับแล้ว ในเวลาเสวยกระยาหารเช้า ทรงดำริว่า "เราจักเสวยอาหารเช้า" ดังนี้แล้ว ทรงแวะในที่แห่งหนึ่ง, เมื่อโภชนะอันบุคคลนำเข้าไปแล้ว, รับสั่งให้เรียกพระเจ้าตามา ด้วยพระดำรัสว่า "เราจักเสวยร่วมกัน."


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 12 เม.ย. 2009, 06:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 06:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


มานะกษัตริย์
แต่กษัตริย์ทั้งหลาย ถึงจะสละชีวิต ก็ไม่ยอมเสวยร่วมกับบุตรนางทาสี เพราะฉะนั้น ท้าวมหานามทอดพระเนตรเห็นสระๆ หนึ่งจึงตรัสว่า "เรามีร่างกายอันสกปรก, พ่อ เราจักอาบน้ำ."
พระเจ้าวิฑูฑภะตรัสว่า "ดีละ พระเจ้าตา เชิญพระเจ้าตาอาบเถิด." ท้าวมหานามทรงดำริว่า "พระเจ้าวิฑูฑภะนี้จักฆ่าเราผู้ไม่บริโภคร่วม, การตายเองของเราเท่านั้น ประเสริฐกว่า" ดังนี้แล้ว จึงทรงสยายผม สอดหัวแม่เท้าเข้าไปในผม ขอดให้เป็นปมที่ปลาย ดำลงไปในน้ำ.
ด้วยเดชแห่งคุณของท้าวมหานามนั้น นาคภพก็แสดงอาการร้อน. พระยานาคใคร่ครวญว่า "เรื่องอะไรกันหนอ?" เห็นแล้วจึงมาสู่สำนักของท้าวมหานามนั้น ให้ท้าวมหานามประทับบนพังพาน แล้วเชิญเสด็จเข้าไปสู่นาคภพ. ท้าวมหานามนั้นอยู่ในนาคภพนั้นนั่นแล สิ้น ๑๒ ปี.
ฝ่ายพระเจ้าวิฑูฑภะประทับนั่งคอยอยู่ ด้วยทรงดำริว่า "พระเจ้าตาของเราจักมาในบัดนี้" เมื่อท้าวมหานามนั้นชักช้าอยู่ จึงรับสั่งให้ค้นในสระ ตรวจดูแม้ระหว่างบุรุษด้วยแสงประทีป ไม่เห็นแล้วก็เสด็จหลีกไป ด้วยทรงดำริว่า "พระเจ้าตาจักเสด็จไปแล้ว."


พระเจ้าวิฑูฑภะถูกน้ำท่วมสวรรคต
พระเจ้าวิฑูฑภะนั้นเสด็จถึงแม่น้ำอจิรวดีในเวลาราตรี รับสั่งให้ตั้งค่ายแล้ว. คนบางพวกนอนแล้วที่หาดทรายภายในแม่น้ำ, บางพวกนอนบนบกในภายนอก. แม้บรรดาพวกที่นอนแล้วในภายใน พวกที่มีบาปกรรมอันไม่ได้กระทำแล้วในก่อน มีอยู่, แม้บรรดาพวกที่นอนแล้ว ในภายนอก ผู้ที่มีบาปกรรมอันได้กระทำแล้วในก่อน มีอยู่, มดแดงทั้งหลายตั้งขึ้นแล้ว ในที่ซึ่งคนเหล่านั้นนอนแล้ว.


ชนเหล่านั้นกล่าวกันว่า "มดแดงตั้งขึ้นแล้วในที่เรานอนแล้ว, มดแดงตั้งขึ้นแล้ว ในที่เรานอนแล้ว" จึงลุกขึ้น, พวกที่มีบาปกรรมอันไม่ได้กระทำแล้ว ลุกขึ้นไปนอนบนบก, พวกมีบาปกรรมอันกระทำแล้ว ลงไปนอนเหนือหาดทราย.

ขณะนั้น มหาเมฆตั้งขึ้น ยังฝนลูกเห็บให้ตกแล้ว. ห้วงน้ำหลากมายังพระเจ้าวิฑูฑภะพร้อมด้วยบริษัท ให้ถึงสมุทรนั่นแล. ชนทั้งหมดได้เป็นเหยื่อแห่งปลาและเต่าในสมุทรนั้นแล้ว.


มหาชนยังกถาให้ตั้งขึ้นว่า
"ความตายของเจ้าศากยะทั้งหลายไม่สมควรเลย,
ความตายนี่ คือพวกเจ้าศากยะ อันพระเจ้าวิฑูฑภะทุบแล้วๆ ชื่ออย่างนี้ให้ตาย จึงสมควร
"
.........................



พวกเจ้าศากยะตายสมควรแก่บุรพกรรม
พระศาสดาทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย, ความตายอย่างนี้ ไม่สมควรแก่เจ้าศากยะทั้งหลายในอัตภาพนี้ ก็จริง ถึงอย่างนั้น ความตายที่พวกเจ้าศากยะนั่นได้แล้ว ก็ควรโดยแท้ ด้วยสามารถแห่งกรรมลามกที่เขาทำไว้ในปางก่อน."


ภิกษุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เจ้าศากยะทั้งหลายนั่นได้กระทำกรรมอะไรไว้ในปางก่อน?
พระศาสดา. ในปางก่อน พวกเจ้าศากยะนั่นรวมเป็นพวกเดียวกัน โปรยยาพิษในแม่น้ำ.

ในวันรุ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลายยังกถาให้ตั้งขึ้นในโรงธรรมว่า "พระเจ้าวิฑูฑภะยังเจ้าศากยะทั้งหลายประมาณเท่านี้ให้ตายแล้ว เสด็จมาอยู่, เมื่อมโนรถของตนยังไม่ถึงที่สุดนั่นแล, พาชนมีประมาณเท่านั้น (ไป) เกิดเป็นภักษาแห่งปลาและเต่าในสมุทรแล้ว."

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ? " เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลว่า "ด้วยกถาชื่อนี้" จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมโนรถของสัตว์เหล่านี้ ยังไม่ถึงที่สุดนั่นแล, มัจจุราชตัดชีวิตินทรีย์แล้ว ให้จมลงในสมุทร คืออบาย ๔ ประดุจห้วงน้ำใหญ่ท่วมทับชาวบ้านอันหลับฉะนั้น" ดังนี้แล้ว

ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๓. ปุปฺผานิ เหว ปจินนฺตํ พฺยาสตฺตมนสํ นรํ
สุตฺตํ คามํ มหโหโฆว มจฺจุ อาทย คจฺฉคติ.
มัจจุ ย่อมพานระผู้มีใจข้องในอารมณ์ต่างๆ
ผู้เลือกเก็บดอกไม้อยู่เที่ยวไป เหมือนห้วงน้ำใหญ่พัด
ชาวบ้านอันหลับแล้วไปฉะนั้น.



แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า พฺยาสตฺตมนสํ นรํ ความว่า ผู้มีใจข้องแล้ว ในอารมณ์อันถึงพร้อมแล้ว หรืออันยังไม่ถึงพร้อมแล้ว.
พระผู้มีพระภาคตรัสคำอธิบายนี้ไว้ว่า :-
นายมาลาการเข้าไปสู่สวนดอกไม้ คิดว่า "จักเก็บดอกไม้ทั้งหลาย" แล้วไม่เก็บเอาดอกไม้จากในสวนนั้น ปรารถนากออื่นๆ ชื่อว่าส่งใจไปในสวนดอกไม้ทั้งสิ้น หรือคิดว่า "เราจักเก็บดอกไม้จากกอนี้" แล้วไม่เก็บเอาดอกไม้จากกอนั้น ย่อมส่งใจไปในที่อื่น เลือกอยู่ซึ่งกอไม้นั้นนั่นเอง ชื่อว่าย่อมถึงความประมาทฉันใด;

นระบางคนก็ฉันนั้นเหมือนกัน หยั่งลงสู่ท่ามกลางกามคุณ ๕ เช่นกันกับสวนดอกไม้ ได้รูปอันชอบใจแล้ว ปรารถนากลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจอย่างใดอย่างหนึ่ง, หรือได้บรรดาอารมณ์มีเสียงเป็นต้นเหล่านั้นอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ยังปรารถนาอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง (ต่อไป). หรือได้รูปนั้นแหละ แล้วยังปรารถนาอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ชื่อว่าย่อมยินดีอารมณ์นั้นนั่นแล, หรือได้บรรดาอารมณ์มีเสียงเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วปรารถนา อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง (ชื่อว่าย่อมยินดีอารมณ์อันตนได้แล้วนั้น).
ในสวิญญาณกทรัพย์และอวิญญาณกทรัพย์ มีโค กระบือ ทาสี ทาส นา สวน บ้าน นิคมและชนบทเป็นต้น ก็นัยนั้นนั่นแล. ในบริเวณวิหารและปัจจัยมีบาตรและจีวรเป็นต้น แม้ของบรรพชิต ก็นัยนั้นเหมือนกัน; (มัจจุย่อมพา) นระผู้มีใจข้องในกามคุณอันถึงพร้อมแล้ว หรืออันยังไม่ถึงพร้อมแล้ว ซึ่งกำลังเลือกเก็บดอกไม้ กล่าวคือกามคุณ ๕ อยู่อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ (ไป).
สองบทว่า สุตฺตํ คามํ ความว่า ชื่อว่าการหลับด้วยสามารถแห่งการหลับแห่งทัพพสัมภาระทั้งหลาย มีฝาเรือนเป็นต้นแห่งบ้าน ย่อมไม่มี, แต่บ้านชื่อว่าเป็นอันหลับแล้ว ก็เพราะเปรียบเทียบความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ประมาทแล้วเพียงดังว่าหลับแล้ว; มัจจุพา (นระ) ไป ดุจห้วงน้ำใหญ่อันกว้างและลึก ๒-๓ โยชน์ (พัดพา) ชาวบ้านที่หลับแล้วอย่างนั้นไปอยู่ฉะนั้น; คือว่า ห้วงน้ำใหญ่นั้นยังชาวบ้านนั้นทั้งหมด ไม่ให้สัตว์ไรๆ ในบรรดาสตรี บุรุษ โค กระบือ และไก่เป็นต้น เหลือไว้ ให้ถึงสมุทรแล้ว ทำให้เป็นภักษาของปลาและเต่าฉันใด; มัจจุราช คือความตาย พานระผู้มีใจข้องแล้วในอารมณ์ต่างๆ คือตัดอินทรีย์ คือชีวิตของนระนั้น ให้จมลงในสมุทรคืออบายทั้ง ๔ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดาปัตติผลเป็นต้นแล้ว,
เทศนามีประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 06:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


มงคลที่ ๒๓ นิวาโต เอตัมมังคะละมุตตะมัง ความเจียมตน เป็นอุดมมงคล นิวาโต นามะ นีจะมะนะตา นิวาตะวุตติ กายะวาจายะ สะมันนาคะโต ปุคละโล นีหะฏะทิฏฐิ ปาทะปุญฉะนะโจฬะกะสะทิโส โหตีติ.

ณ บัดนี้ จักได้วิสัชนาในนิวาโต จัดเป็นมงคลที่ ๒๓ ตามบาลี อรรถกถาว่า นิวาโต นาม แปลว่า บุคคลใดในโลกนี้ประพฤติตนเป็นคนต่ำ กายต่ำ วาจาต่ำ คือ พิจารณาเห็นโทษในมานะทิฏฐิ ความถือตัวตน สัตว์บุคคล และถือชาติตระกูลยศศักดิ์ แล้วก็ละเสียซึ่งทิฏฐิมานะไม่ถือตัว ตน สัตว์ บุคคล ทำตนให้ต่ำ กายวาจาเหมือนผ้าเช็ดเท้า จัดเป็นมงคลอันประเสริฐ

อธิบายว่า ความประพฤติตน ต่ำกาย ต่ำวาจาเหมือนโคอุสุภราชมีเขาอันหลุดเสีย หรือเหมือนงูพิษที่เขี้ยวหลุดเสีย หรือเหมือนพญาครุฑอันปีกหักเสีย ไม่มีอำนาจที่จะแกล้วกล้าอาจหาญ จึงเรียกว่านิวาโต ด้วยไม่มีฤทธิ์ คือ ห้าวหาญมานะทิฏฐินั้นน้อยเบาบางจากสันดาน

ถามว่า มานะ ทิฏฐิทั้ง ๒ นี้ เกิดด้วยอะไร แก้ว่า มานะเกิดด้วยชาติตระกูล เกิดด้วยลาภและยศ และบริวาร ทิฎฐิเกิดด้วยไม่คบนักปราชญ์ และไม่ฟังธรรมของนักปราชญ์ มานะเกิดด้วยชาตินั้น คือ เกิดเป็นกษัตริย์ตั้งแต่วันเสวยสมบัติมา มีอานุภาพมากกว่าคนทั้งปวง ๑ มานะเกิดด้วยตระกูลนั้น คือ เกิดในตระกูลสูงมีกษัตริย์เป็นต้น ๑

อธิบายว่า ผู้มีชาติ อาศัยชาติให้เกิดมานะ ผู้มียศอาศัยตระกูลให้เกิดมานะ ผู้มีลาภ อาศัยบริวารให้เกิดมานะ ผู้มียศ อาศัยยศให้เกิดมานะ ผู้มีบริวาร อาศัยบริวารให้เกิดมานะ ถามว่า อาศัยบริวารให้เกิดมานะแล้วจะได้อาศัยอะไรเล่าจึงจะละมานะได้ แก้ว่า ให้อาศัยซึ่งธรรม คือ ปัญญาพิจารณาชาติ ตระกูล ลาภ ยศ บริวาร เหล่านี้ให้เห็นว่าไม่เที่ยง มีแล้วก็แปรปรวนยักย้ายเป็นอย่างอื่นไป หรือพิจารณาซึ่งชาติเป็นต้น ให้เห็นเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จนเกิดนิพพิทาความเบื่อหน่าย จึงจะคลายจากมานะลงได้

ถามว่า มานะมีอาการอย่างไร แก้ว่า มีอาการทำจิตให้สูงขึ้นด้วยจิตที่อาศัยชาติตระกูลเป็นต้น ทำตนไม่ให้อ่อนน้อมซึ่ง กาย วาจา แก่ผู้ใดผู้หนึ่งที่มีชาติตระกูลอันต่ำ

อนึ่ง มานะทำกายและจิตให้สูงขึ้น ด้วยทิฏฐิวิปลาสอาศัยชาติตระกูล ไม่ให้อ่อนน้อมแก่ผู้ใด ด้วย กาย วาจา คือ ควรจะอ่อนน้อมด้วยกายก็ไม่อ่อนน้อม คือ ควรจะอ่อนน้อมด้วยวาจาก็ไม่อ่อนน้อม เพราะบังเกิดพร้อมด้วยมานะทิฏฐิ จึงไม่อ่อนน้อมด้วยวาจาลงได้

ถามว่า น้อมกายน้อมวาจาจะให้น้อมอย่างไร แก้ว่า น้อมลงซึ่งศรีษะ เรียกว่าน้อมกายด้วยอรรถกถาว่า ตะมะหัง สิระสา นะมามิ แปลว่า ข้าพเจ้าเคารพซึ่งท่านนั้นด้วยศรีษะ น้อมวาจานั้น คือ กล่าวคำอ่อนหวาน ควรเรียกพ่อ เรียกแม่ เรียกพี่ เรียกน้า เรียกป้า เรียกลุง ตามสมควรแก่รูปความประพฤติต่ำกาย ต่ำวาจาเรียกว่า นิวาโท เป็นเครื่องละมานะทิฏฐิให้เบาบางจากสันดานของปุถุชน แต่จะละให้ขาดนั้นยังไม่ได้ ด้วยมานะนี้ละได้แต่พระอรหันต์พวกเดียว อนึ่ง มานะทิฏฐิทั้งสองนี้เป็นเหตุให้เกิดความฉิบหาย ถ้าเกิดมานะทิฏฐิด้วยชาติก็ให้เกิดความฉิบหายด้วยชาติ ถ้าเกิดมานะทิฏฐิด้วยตระกูล ก็ให้เกิดความฉิบหายแต่งตระกูล เหมือนวิฑูฑภศากยราชในนิทานเรื่องเจ้าวงศ์ศากยะและเรื่องสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น...

http://www.larnbuddhism.com/milintapanha/mongkol38/23.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 06:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 06:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อคิดที่ผู้โพสต์ จดไว้ในเรื่องนี้...คือ

ระวังอย่าเป็นคนเสียโอกาส
อุตส่าห์ เกิดเป็นมนุษย์ ชาติตระกูลสูง ได้พบ พระพุทธเจ้า ถึง 3 ครั้ง
แต่ไม่ได้บรรลุธรรมใดๆเลย แถมพาพวก ไปตายในที่สุด..

ฉะนั้นให้มุ่งที่บรรลุธรรมอย่างอื่นให้ละเสีย............................... :b38:


...
ไม่อาจจะอดทนอยู่ได้ จึงออกไป ด้วยคิดว่า " ทีนี้แหละ นางไม่เป็น
ของเราละ" ดังนี้แล้ว ด่าอุบาสิกาและพระศาสดาโดยประการต่าง ๆ ว่า
" อีกาลกิณี มึงเป็นคนฉิบหาย. มึงจงทำสักการะนี้แก่สมณะนั่นเถิด"
ดังนี้เป็นต้น หนีไปแล้ว.

อุบาสิกามีจิตฟุ้งซ่าน
อุบาสิกาละอาย เพราะถ้อยคำของอาชีวกนั้น ไม่อาจจะส่งจิตซึ่ง
ถึงความฟุ้งซ่าน๑ ไปตามกระแสแห่งเทศนาได้.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะนางว่า "อุบาสิกา เธอไม่อาจทำจิต
ให้ไปตาม ( แนว ) เทศนาได้หรือ ?"
อุบาสิกา. พระเจ้าค่ะ เพราะถ้อยคำของอาชีวกนี้ จิตของข้า-
พระองค์ เข้าถึงความฟุ้งซ่านเสียแล้ว .
พระศาสดา ตรัสว่า "ไม่ควรระลึกถึงถ้อยคำที่ชนผู้ไม่เสมอภาค
กันเห็นปานนี้กล่าว, การไม่คำนึงถึงถ้อยคำเห็นปานนี้แล้ว ตรวจดูกิจ
ที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของตนเท่านั้นจึงควร" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถา
นี้ว่า :-
๖. น ปเรสํ วิโลมานิ น ปเรสํ กตากตํ
อตฺตโน ว อเวกฺเขตยฺย กตานิ อกตานิ จ.
"บุคคลไม่ควรทำคำแสยงขนของคนเหล่าอื่นไว้
ในใจ, ไม่ควรแลดูกิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของคน
เหล่าอื่น, พึงพิจารณากิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำ
ของตนเท่านั้น."


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 63


----------


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 31 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร