วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ย. 2024, 06:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 102 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 01:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องที่ 77

นิทานเซ็น : ความหมายแอบแฝง



พวกมองโกลได้รบชนะชาวจีนภาคเหนือเมื่อประมาณคริสตศักราช ที่ ๑๒๓๐
และประมาณอีก ๔๐ ปีต่อมายังได้ครอบครองประเทศจีนภาคใต้อีกด้วย

พระเจ้ากุบไลข่านทรงเตรียมกองทัพที่ยิ่งใหญ่ เพื่อรุกรานประเทศญี่ปุ่นถึงสองครั้ง
แต่ถูกซามูไรซึ่งครองเมืองคามาคูระขับไล่ออกไปทั้งสองครั้ง การสู้รบในประเทศจีน
ครั้งนั้นกินเวลายืดเยื้อเกือบหนึ่งศตวรรษ

เมื่อใกล้สิ้นยุคสมัยนั้นแล้ว ขุนนางผู้ยิ่งใหญ่ชาวจีนท่านหนึ่งได้เข้าพบเพื่อพูดคุยกับอาจารย์เซ็น
ท่านหนึ่ง จากสถานที่ซึ่งทั้งสองท่านนั่งคุยกันนั้น สามารถมองเห็นค่ายของชาวมองโกลผู้พิชิต
และเห็นว่า ชาวมองโกลกำลังตระเตรียมการรุกรานครั้งต่อไปอีกแล้ว

“การสู้รบนี้ดูจะไม่มีวันจบสิ้น ช่างยืดเยื้อเหลือเกิน ไม่มีทางระงับได้เลย” ขุนนางจีนรำพันอย่างเศร้าๆ

“การสู้รบสามารถจบสิ้นได้” อาจารย์เซ็นพูด

“ด้วยวิธีใดเล่า” ขุนนางจีนถาม

อาจารย์เซ็นยกมือตบหน้าขุนนางจีนนั้นฉาดใหญ่

ขุนนางจีนตกตะลึงและโกรธมาก.......ชายคนนี้หยาบคายเหลือร้าย!………เลวทรามที่สุด......
รู้แล้วละว่า เราถาม แต่ทำไมต้องทำอย่างนี้ด้วย!..........คงจะเป็นปริศนาเซ็นบ้าๆ
อย่างของพวกนี้ละกระมัง.....เอะอะก็ว่ามีความหมายแฝงอยู่.......คนโง่!..........
ไม่ใช่หรอก คงต้องมีความหมายแน่ๆ ...........ต้องมีความหมายบางอย่างในนี้แน่ๆ......

อาจารย์เซ็นพิจารณาหน้าตาของขุนนางจีนอย่างใกล้ชิดแล้วพูดว่า

“ท่านเองนั่นแหละ.....ที่หยุดการสู้รบได้แล้ว!”






เหตุเกิดที่ไหน ดับที่นั่น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 22:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




vesakdaylordbuddhaday4vj8.jpg
vesakdaylordbuddhaday4vj8.jpg [ 137.03 KiB | เปิดดู 14884 ครั้ง ]
เรื่องที่ 78

พระกับมาร



มีนักวาดที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่ง ต้องการจะวาดภาพของพระและของมาร
แต่คิดยังไงก็คิดไม่ออกว่า ลักษณะของพระและมารควรจะเป็นอย่างไร
และก็ไม่สามารถหาของจริงที่มาเป็นแบบอย่างได้ จึงยังลงมือวาดไม่ได้สักที

ครั้งหนึ่งขณะที่กำลังไหว้พระอยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง บังเอิญเห็นภิกษุรูปหนึ่ง
มีรูปหน้าและจริยาวัตรที่งดงามยิ่งนัก ลักษณะและท่าทางอย่างนั้นช่างดึงดูด
ใจนักวาดเช่นเขาเป็นอย่างยิ่ง เขาจึงไปหาพระรูปนั้น และจ้างให้มาเป็นแบบ
ด้วยราคาที่สูงเป็นอย่างยิ่ง

หลังจากเมื่อวาดภาพนั้นเสร็จ ภาพนั้นก็ได้กลายเป็นภาพที่มีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่ว
นักวาดนั้นกล่าวว่า “ตั้งแต่ที่ได้วาดภาพเป็นต้นมา ภาพนี้เป็นภาพที่ตนเองพอใจ
มากเป็นที่สุด เพราะใครๆที่มาเห็นภาพนี้ จะต้องนึกทันทีว่า นี่คือภาพพระพุทธที่
แท้จริง รูปร่างหน้าตา และลักษณะที่เปี่ยมล้นด้วยความสงบและมีเมตตา ทำให้ผู้
ที่ได้พบเห็นเกิดความพึงพอใจ และศรัทธาอย่างเต็มเปี่ยม"

และก็เป็นเพราะภาพภาพนี้ ผู้คนไม่ได้เรียกเขาว่านักวาดเหมือนเมื่อก่อน แต่ได้
ฉายาใหม่ว่า “ปรมาจารย์แห่งนักวาด”

ผ่านไปอีกระยะหนึ่ง จึงคิดจะวาดรูปมารขึ้นมา แต่ก็เกิดปัญหาที่ว่าไม่รู้จะหาลักษณะ
ที่เป็นมารมาเป็นแบบได้จากที่ไหน? เขาเดินไปหาอยู่หลายที่ เพื่อจะหาคนที่มีลักษณะ
ดุร้ายโหดเหี้ยม แต่หาอย่างไรก็ไม่ถูกใจสักคน สุดท้ายก็ไปหาเจอในคุกแห่งหนึ่ง
นักวาดนั้นดีใจยิ่งนัก เพราะการจะไปหาคนๆหนึ่งที่หน้าเหมือนมารจริงๆนั้น
เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย

เมื่อเขาเข้าไปเจรจากับนักโทษนั้น นักโทษนั้นร้องไห้คร่ำครวญออกมาว่า
“ทำไมเมื่อตอนที่จะวาดรูปพระ คนที่ท่านหาก็คือข้า ตอนที่จะวาดภาพมาร
คนที่ท่านหาก็ยังคงเป็นข้า เป็นเพราะเจ้าที่ทำให้ข้าจากพระกลายเป็นมาร”

“เป็นไปได้อย่างไร? คนที่เป็นแบบให้ข้าวาดภาพพระ ลักษณะดีเลิศผิด
ผู้อื่น แต่เจ้าดูทีเดียวก็รู้แล้วว่า เหมือนลักษณะของมารอย่างแท้จริง
แล้วจะเป็นคนๆเดียวกันได้อย่างไร?”

คนคนนั้นพูดอย่างปวดร้าวใจ “ตั้งแต่ได้เงินก้อนใหญ่จากเจ้า ได้แต่ไปหา
ความรื่นเริงบันเทิงใจทุกวัน ใช้เงินอย่างสุรุ่ยสุร่ายจนเงินหมด แต่ความหลง
อยู่ในความมัวเมาเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมจะหยุดลงได้ยาก

ดังนั้น...ข้าจึงไปปล้นและฆ่าเจ้าทรัพย์ ขอเพียงให้ได้เงิน ไม่ว่าเรื่องที่ทำจะ
เลวร้ายอย่างไรข้าก็ทำ ที่สุดก็กลายมาเป็นสภาพอย่างที่ท่านเห็น”

นักวาดเมื่อได้ฟังจนจบ รู้สึกสังเวชใจยิ่งนัก รู้สึกพรั่นพรึงถึงจริตนิสัย
ของคนเรา ที่สามารถถูกกิเลสลากจูงไปได้อย่างรวดเร็ว สภาพจิตของคนช่าง
อ่อนแอ พลังดึงดูดของกิเลสก็ช่างแข็งแกร่ง




ที่เห็นนั้นไม่จริง แต่ที่จริงนั้นมองไม่เห็น
เฉกเช่นเดียวกับกิเลส มีทั้งกิเลสตัวจริงและกิเลสตัวปลอม

กิเลสตัวปลอม คือ กิเลสที่เห็นด้วยตาเปล่า
กิเลสตัวจริง จะเห็นได้เพียงทางจิตเท่านั้น


.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 22:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




pdvd022bh7.png
pdvd022bh7.png [ 113.1 KiB | เปิดดู 14659 ครั้ง ]
เรื่องที่ 79

เหมือนลาหรือเหมือนพระ





กวงเหยิ่งเป็นคนฉลาดหลักแหลม ชอบอ่านหนังสือและบทกลอน
แม้จะเป็นฆราวาส แต่ก็ใฝ่ธรรมะ และชอบปฏิบัติธรรม

วันหนึ่งได้ไปเยี่ยมคารวะพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังท่านหนึ่ง
พระอาจารย์เห็นกวงเหยิ่งมาจึงถามว่า “เจ้ามาที่นี่ทำไม?”

“มาเยี่ยมคารวะและถามไถ่ทุกข์สุข” กวงเหยิ่งตอบ

“ในเมื่อเจ้ามาถามทุกข์สุขอาจารย์ เจ้าเห็นอาจารย์หรือเปล่า?”

“ เห็นซี “ กวงเหยิ่งตอบ

“เจ้าเห็นอาจารย์เหมือน “ลา” หรือเปล่า?”

กวงเหยิ่งตอบว่า “ไม่เหมือนทั้งลา แต่ว่า ก็ไม่เหมือนพระ”

“เมื่อไม่เหมือนลา และไม่เหมือนพระ แล้วจะเหมือนอะไร?”

กวงเหยิ่งย้อนกลับไปว่า “ทำไมถึงจะต้องให้เหมือนอะไรสักอย่าง?
ถึงจะเหมือนลาหรือเหมือนพระ แล้วจะแตกต่างกันอย่างไร?
ถ้าอยากจะเหมือนอะไร คิดเอาเองแล้วกันว่าจะให้เหมือนอะไร”

พระอาจารย์ฟังแล้วรู้สึกทึ่ง คิดว่าเจ้าหมอนี่ไม่ธรรมดา แม้ว่าจะเป็นแค่
ฆราวาส แต่สามารถเข้าถึงหลักธรรมที่ลึกๆได้
ตามปกติเคยใช้คำถามเหล่านี้กับคนทั่วไป หลายสิบปีที่ผ่านไป ไม่มีใคร
ตอบคำถามได้เป็นที่น่าพอใจอย่างนี้ มีแต่เจ้าหมอนี้เท่านั้นที่ตอบได้
ครบถ้วนที่สุด คนนี้ไม่ธรรมดาจริงๆ

“อาจารย์ใช้คำถามนี้ถามคนมายี่สิบกว่าปีแล้ว แต่ไม่มีใครผ่านด่านนี้
ไปได้ มีแต่เจ้าเท่านั้นที่ตอบได้ หายากจริงๆ"

"เจ้าต้องขยันฝึกให้ต่อเนื่องสม่ำเสมอ รักษาความคิดที่ไม่มีทั้งปุถุชนหรืออริยชนไว้"





เมื่อไม่ให้ค่าหรือให้ความหมายต่อสิ่งใดๆ อุปทานย่อมหมดสิ้นลงไป

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 07 มิ.ย. 2010, 22:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 23:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนที่ 80

ชาวนาซื้อที่ดิน



มีชาวนาคนหนึ่งได้ข่าวว่ามีผู้จะขายที่ดิน จึงไปถามหาเจ้าของที่ว่าขายอย่างไร?
เจ้าของที่บอกว่า “เพียงแค่จ่ายเงินมาหนึ่งพันบาท หลังจากนั้นให้เวลาหนึ่งวัน
ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนตกดิน หากสามารถใช้เท้าเดิน วนจนกลับมาที่จุดตั้งต้น
เดินวนได้กว้างแค่ไหนก็จะได้ที่ดินมากเท่านั้น แต่ถ้าพระอาทิตย์ตกดินแล้ว
ยังกลับมาที่เดิมไม่ได้ เงินที่จ่ายไปก็จะสูญเปล่า"

ชาวนานั้นคิดว่า “หากวันนั้นเดินให้ได้มากที่สุด ก็คงจะได้ที่ดินมากยิ่งขึ้น
ทำการค้าอย่างนี้ช่างคุ้มค่าจริงๆ” จึงเซ็นสัญญาที่จะซื้อที่นั้น

วันที่ตามนัดในสัญญา ชาวนาจึงรีบเดินกึ่งวิ่งไปอย่างรวดเร็ว
เขาก้าวเท้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ยอมหยุดแม้แต่วินาที มุ่งไปข้างหน้าเรื่อยๆ พลางคิดในใจว่า
“อดทนวันนี้สักหน่อย ต่อไปจะได้เสวยสุขจากความเหนื่อยในวันนี้ที่นำสุขมาให้”

ขณะที่จะวกกลับไปที่เดิมนั้น ก็เป็นเวลาเที่ยงวันแล้ว เขาจึงเร่งฝีเท้าอย่าง
รวดเร็วเพื่อที่จะกลับที่เดิม เมื่อใกล้เวลาที่พระอาทิตย์ใกล้จะตกดิน ความเหนื่อย
บวกกับความเร่งรีบที่เดินไม่ได้หยุดพัก ทำให้เขาล้าลงและเดินช้าลงเรื่อยๆ
เมื่อพระอาทิตย์ตกดินเขาเหลือไม่กี่ก้าวก็จะถึงที่เดิม ขณะที่เขาล้มลงมือสอง
ข้างมาล้มลงตรงจุดตั้งต้นพอดี แต่ก็ไม่มีประโยชน์อะไรเพราะชีวิตของเขาสูญสิ้น
ไปแล้ว แล้วจะมีความหมายอะไร




เมื่อยังไม่รู้จักคำว่า " พอ " ชีวิตย่อมสูญสิ้นลงไปอย่างน่าเสียดาย
เมื่อใดรู้จักกับคำว่า " พอ " เมื่อนั้น ย่อมหยุดจากการแสวงหา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 22:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




544213246wl0.png
544213246wl0.png [ 364.17 KiB | เปิดดู 14628 ครั้ง ]
เรื่องที่ 81


หยดน้ำ


พระอาจารย์ท่านหนึ่งขณะที่จะอาบน้ำ น้ำที่ลูกศิษย์ผสมให้อาบร้อนเกินไป
จึงเรียกให้ลูกศิษย์นำน้ำเย็นมาเติม ลูกศิษย์เติมแล้วมีน้ำเหลือก็เททิ้งทันที

พระอาจารย์จึงบอกว่า “ เจ้าทำไมถึงเทน้ำทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์
สิ่งต่างๆที่อยู่ในโลกนี้ย่อมมีประโยชน์อยู่ในตัวของมันเอง
เพียงแต่มีคุณค่า และราคาต่างกันเท่านั้น เจ้าทำไมถึงเทมันทิ้งไปอย่างง่ายดาย

แม้จะเป็นน้ำเพียงหยดเดียว หากเอาไปรดลงที่ต้นไม้ใบหญ้า
ไม่แต่ต้นไม้ใบหญ้าจะชอบ ตัวของน้ำเองก็ไม่เสียคุณค่าของตัวมันเอง
ทำไมต้องเททิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ แม้จะเป็นน้ำเพียงหยดเดียว
แต่คุณค่าราคาของมันยิ่งใหญ่มหาศาล “

ศิษย์ฟังแล้วจึงเข้าใจถึงอะไรบางอย่าง เลยตั้งชื่อตัวเองใหม่ว่า
“ พระหยดน้ำ “ ซึ่งต่อมากลายเป็นพระที่มีผู้เคารพนับถือมากรูปหนึ่ง

วันหนึ่งหลังจากที่ท่านเทศน์เสร็จแล้ว มีผู้ถามท่านว่า
“ ในโลกนี้สิ่งใดมีคุณงามความดีมากที่สุด “
“ หยดน้ำ “ พระหยดน้ำตอบ
“ ความว่างเปล่าสามารถห่อหุ้มสรรพสิ่ง อะไรสามารถหุ้มห่อความว่างเปล่า “
“ หยดน้ำ “

ตั้งแต่นั้นพระหยดน้ำ นำจิตกับหยดน้ำสมานรวมเป็นหนึ่ง
จิตห่อหุ้มความว่างเปล่า ภายในหยดน้ำก็มีความว่างเปล่าที่ไม่มีสิ้นสุด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




Buddha.jpg
Buddha.jpg [ 5.96 KiB | เปิดดู 14613 ครั้ง ]
เรื่องที่ 82

สิ่งที่ต้องบำเพ็ญภาวนา


มีพระรูปหนึ่งเพียรภาวนาอยู่กับพระอาจารย์ท่านหนึ่งมานานหลายปี
ก็ยังไม่สามารถเข้าถึงหลักธรรมที่ลึกๆได้

ค่ำวันหนึ่งขณะที่กำลังจะนั่งสมาธิ ได้ถามพระอาจารย์ขึ้นว่า
“ศิษย์เพียรภาวนามานานหลายปี ก็ยังหลงวนไม่รู้แจ้งสักที
เสียแรงที่ฉันบิณฑบาตของชาวบ้านเปล่าๆ ทุกวันนี้ก็ยังไม่รู้อะไร
ทั้งยังต้องขอรับความเมตตาจากอาจารย์ช่วยชี้แนะ ทุกวันที่ปฏิบัติธรรม
นอกจากภารกิจที่ต้องปฏิบัติ ยังมีบทเรียนอะไรที่จำเป็นต้องฝึกฝนอีก?”

“เจ้าเพียงแต่ดูแลนกอินทรีย์ 2 ตัว กวาง 2 ตัว เหยี่ยว 2 ตัว
และคอยบังคับหนอนในปาก 1 ตัว พร้อมกันนั้นก็คอยต่อกรกับ
หมีตัวหนึ่ง และดูแลผู้ป่วยผู้หนึ่งให้ดีๆ ถ้าหากสามารถทำได้ก็คือสามารถ
ทำหน้าที่ของตัวเองดีที่สุดแล้ว คิดว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยเจ้าได้ดีที่สุด”

“อาจารย์ครับ ศิษย์ตั้งใจแน่วแน่มาฝึกบำเพ็ญภาวนาที่นี่ ไม่ได้นำ
สัตว์ชนิดใดมาด้วย แล้วจะดูแลอะไรอย่างไร? แล้วบทเรียนที่ศิษย์จะ
ต้องเรียน กับสัตว์เหล่านั้นเกี่ยวข้องกันอย่างไร?”

“นกอินทรีย์สองตัว คือตาของเจ้าที่จะต้องคอยระวังสิ่งต่างๆที่กระทบเข้ามา

กวางสองตัวคือขาของเจ้าที่จะต้องระมัดระวังไม่เดินไปสู่หนทางที่ผิดบาป

เหยี่ยวสองตัวคือมือทั้งสองข้างของเจ้าที่จะต้องคอยทำการงานอยู่เสมอ
ทำสิ่งที่เป็นบุญกุศลเสมอ สิ่งที่ไม่ดีก็อย่าไปทำ"

หนอนหนึ่งตัวคือลิ้นของเจ้าต้องคอยระวังไว้เป็นอย่างยิ่ง ไม่พูดในสิ่งที่ไม่ดีงาม

หมีหนึ่งตัวคือใจของเจ้าต้องควบคุมอย่าให้เห็นแก่ตัวและวุ่นวาย สิ่งไม่ดีก็อย่าไปคิด

คนไข้ก็คือร่างกายของเจ้าเอง หวังว่าเจ้าจะไม่ให้มันหลงเข้าไปในทางผิดบาป
ในหนทางแห่งการบำเพ็ญภาวนา สิ่งเหล่านี้เป็นบทเรียนที่ขาดไม่ได้




ทุกข์ เปรียบเสมือนโรค คือ สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด หรือที่เรียกว่า สภาวะ

สมุทัย เปรียบเสมือนต้นเหตุแห่งโรคที่เป็น คือ อุปทาน การไปให้ค่าให้ความหมายต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

นิโรธ เปรียบเสมือนการหายจากโรค คือ ดับกิเลส ที่เป็นต้นเหตุทั้งปวง

มรรค เปรียบเสมือนยารักษาโรค คือ การเจริญสติปัฏฐาน ๔
เรียกภาษาชาวบ้านแบบง่ายๆคือ การเจริญสติ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 03 ก.ค. 2010, 01:18, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2010, 01:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




109487.gif
109487.gif [ 58.59 KiB | เปิดดู 14605 ครั้ง ]
เรื่องที่ 83

ทุกข์จากการรู้ล่วงหน้า


มีเณรรูปหนึ่ง ทุกๆเช้าจะต้องรับผิดชอบปัดกวาดเศษใบไม้ในบริเวณวัด
การกวาดใบไม้ในตอนเช้าท่ามกลางสายลมเย็นยะเยือกหลังจากที่ตื่นนอน
เป็นเรื่องที่น่าทรมานเป็นอย่างยิ่ง ยิ่งถ้าเป็นช่วงในฤดูหนาวด้วยแล้ว
ทุกครั้งที่สายลมเย็นโชยมา ใบไม้ก็ร่วงหล่นลงมาตามลมเช่นกัน
ทุกๆเช้าต้องเสียเวลาไปไม่น้อยถึงจะเก็บกวาดใบไม้ได้หมด
มันทำให้เณรน้อยหัวเสียทุกวันเณรคิดที่จะหาทุกวิถีทางที่จะทำให้ตัวเองสบายขึ้น

มีพระรูปหนึ่งพูดกับเณรน้อยว่า “พรุ่งนี้ก่อนที่เจ้าจะเก็บกวาดให้ใช้แรงเขย่าต้นไม้เสียก่อน
เขย่าจนใบไม้ร่วงหล่นลงมาให้หมด มะรืนนี้เจ้าจะได้ไม่ต้องเก็บกวาดใบไม้ให้ลำบากอีก”

เณรน้อยเห็นด้วยและคิดว่าวิธีการนี้ดีที่สุด ดังนั้นวันรุ่งขึ้นจึงลุกขึ้นมาแต่เช้า
แล้วเขย่าต้นไม้จนสุดแรง ทำอย่างนี้จะช่วยให้ใบไม้ของวันนี้และพรุ่งนี้กวาด
พร้อมกันเลยในครั้งเดียว วันนั้นเณรน้อยครื้มใจไปทั้งวันอย่างมีความสุข

วันรุ่งขึ้นเมื่อไปดูที่ลานวัด ได้แต่กลับกลอกลูกตาไปมา
ที่ลานวัดก็มีใบไม้ร่วงหล่นลงมาเหมือนทุกวัน
พระอาจารย์เดินเข้ามาด้วยความเอ็นดูแล้วพูดว่า
“เจ้าเด็กโง่!...
ไม่ว่าในวันนี้เจ้าจะเขย่าต้นไม้ให้สุดแรงอย่างไร
พรุ่งนี้ใบไม้ก็ยังคงร่วงหล่นลงมาเหมือนเดิม”

ที่สุดเณรน้อยก็เข้าใจแล้วว่า เรื่องราวต่างๆในโลกนี้
บางอย่างไม่สามารถทำล่วงหน้าได้ และถ้าจะจริงจังแล้วก็
ชั่วขณะนี้ถึงจะเป็นความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์




ใบไม้ร่วง เปรียบเสมือนสิ่งที่มากระทบ
หากเราสามารถเห็นตามความเป็นจริงได้ เราจะเห็นว่า
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น มันมี มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ไม่ว่าจะมีเราหรือไม่มีก็ตาม

เมื่อมีสิ่งใดๆมากระทบแล้วทำให้จิตกระเพื่อม เฉกเช่นใบไม้ร่วงที่มีผลต่อจิตของเณรน้อย
ให้เรามีหน้าที่ แค่รู้ แค่ดู แล้วอยู่กับปัจจุบัน

ทุกสรรพสิ่งล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป โดยตัวของสภาวะเอง
สำคัญที่จิตเราเองนี่แหละ จะรู้ทันปัจจุบันได้หรือไม่เท่านั้นเอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2010, 01:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




109330.gif
109330.gif [ 60.3 KiB | เปิดดู 14585 ครั้ง ]
เรื่องที่ 84

ยืนหยัดอยู่ในคุณค่าของตัวเอง

มีลูกศิษย์คนหนึ่งมักจะคอยถามพระอาจารย์ด้วยคำถามเดิมๆทุกวัน
“อาจารย์ครับ อะไรคือคุณค่าของชีวิตที่แท้จริงครับ?”

วันหนึ่งพระอาจารย์นำก้อนหินก้อนหนึ่ง แล้วพูดกับศิษย์ว่า
“เจ้าจงนำก้อนหินก้อนนี้ไปขายที่ตลาด แต่ไม่ต้องขายจริงๆหรอกนะ
เพียงแต่ให้คนตีราคาก็พอ แล้วคอยดูว่า แต่ละคนจะตีราคาก้อนหิน
ก้อนนี้สักเท่าไร?”

ลูกศิษย์นั้นจึงนำก้อนหินไปขายที่ตลาด บางคนก็บอกว่าก้อนหินก้อนนี้ใหญ่ดี สวยดีให้ราคาสองบาท
บางคนก็บอกว่าก้อนหินก้อนนี้มาทำเป็นลูกตุ้มชั่งน้ำหนักได้ ก็ตีราคาให้สิบบาท
ที่สุดแต่ละคนก็ตีราคาไปต่างๆนานา แต่ราคาที่ให้สูงสุดคือสิบบาท

ลูกศิษย์รู้สึกดีใจ กลับไปบอกอาจารย์ว่า
“ก้อนหินที่ไม่มีประโยชน์อะไรนี้ ยังขายได้ถึงสิบบาท น่าจะขายออกไปจริงๆ”

อาจารย์พูดขึ้นว่า“อย่าเพิ่งรีบขายก่อน ลองพาไปขายในตลาดทองคำดู
แต่ก็อย่าขายออกไปจริงๆ”

ลูกศิษย์จึงนำก้อนหินก้อนนั้นไปขายในตลาดทองคำ เริ่มต้นมีคนตีราคาให้
หนึ่งพันบาท คนที่สองตีราคาให้หนึ่งหมื่นบาท สุดท้ายมีคนให้ถึงหนึ่งแสนบาท
ลูกศิษย์รู้สึกดีใจ รีบกลับไปรายงานพระอาจารย์ถึงผลพลอยได้ที่นึกไม่ถึง

พระอาจารย์กล่าวต่อไปอีกว่า “นำก้อนหินนี้ไปตีราคาที่ตลาดเพชร”

ลูกศิษย์จึงนำไปที่ตลาดค้าเพชร คนแรกให้ราคาหนึ่งแสน สองแสน
สามแสน ไปเรื่อยๆ เมื่อพ่อค้าเห็นไม่ยอมขายสักที จึงให้เขาตีราคาเอง
แต่ลูกศิษย์นั้นกล่าวว่า “พระอาจารย์ไม่ให้ขาย” จึงนำก้อนหินนั้นกลับไป
พูดกับพระอาจารย์ว่า “ก้อนหินก้อนนี้คนให้ราคาถึงเรือนแสนแล้ว”

“ใช่แล้ว ตอนนี้อาจารย์ไม่อาจสอนเจ้าถึงเรื่องคุณค่าของชีวิตเพราะ
เพราะเจ้ามองชีวิตของเจ้าเหมือนกับการตีราคาของตลาด คุณค่าของชีวิต
คนเรา ควรจะอยู่ในจิตใจของตนเอง ต้องมีสายตาของนักค้าเพชรที่เก่งที่สุด
เสียก่อน จึงจะมองเห็นคุณค่าที่แท้จริงของชีวิตคนเรา”

คุณค่าของคนเรา ไม่ได้อยู่ที่ราคาที่อยู่ข้างนอก แต่อยู่ที่เราให้ราคาของตัวเอง
ราคาของเราทุกคนเป็นสิ่งที่ไม่มีสิ่งใดเปรียบเทียบ

ยอมรับตัวเอง ฝึกฝนตัวเอง ให้ช่องว่างกับตัวเองได้เติบโต
พวกเราก็จะกลายเป็น “สิ่งที่มีค่าจนประเมินไม่ได้”

อุปสรรคทุกอย่างที่เกิดขึ้น ความปวดร้าวที่เกิดขึ้นทุกครั้ง ความทุกข์ที่โหมกระหน่ำ
ล้วนมีความหมายอยู่ในตัวของมัน

ที่มา จากอินเตอร์เน็ต

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 22:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




344590549.jpg
344590549.jpg [ 23.03 KiB | เปิดดู 14574 ครั้ง ]
เรื่องที่ 85

รู้หรือไม่รู้

ลูกศิษย์ท่านหนึ่งเรียนถามพระอาจารย์ด้วยความนบนอบว่า

ลูกศิษย์ : ผู้ปฏิบัติธรรมเมื่อรู้แจ้งแล้ว สภาพจิตและความรู้สึกสามารถ บรรยายออกมาได้หรือไม่?

อาจารย์ : หากรู้แจ้งแล้ว ไม่สามารถบรรยายออกมาได้

ลูกศิษย์ : เมื่อพูดออกมาไม่ได้ เปรียบเหมือนกับอะไร?

อาจารย์ : เหมือนคนใบ้กินน้ำผึ้ง

ลูกศิษย์ : เมื่อผู้ปฏิบัติที่ยังไม่รู้แจ้ง ถ้าบรรยายธรรมและเขียนคัมภีร์ นับว่าเป็นผู้เข้าใจ “เซน” หรือเปล่า?

อาจารย์ : เมื่อยังไม่รู้แจ้ง สิ่งที่พูด จะนับว่าเป็นการเข้าใจ”เซน”ได้อย่างไร?

ลูกศิษย์ : เพราะเขาสามารถบรรยายธรรมได้อย่างลึกซึ้ง และแจ่มแจ้ง
ถ้าหากไม่นับว่าเขาเข้าใจ”เซน”แล้วจะเหมือนอะไร?

อาจารย์ : เหมือนนกแก้วหัดพูดภาษาคน

ลูกศิษย์ : คนใบ้กินน้ำผึ้งกับนกแก้วหัดพูด แตกต่างกันอย่างไร?

อาจารย์ : คนใบ้กินน้ำผึ้ง คือ “รู้”อุปมาดั่งคนดื่มน้ำ น้ำจะเย็นหรือร้อน
ผู้ดื่มย่อมจะรู้อยู่แก่ใจดี นกแก้วหัดพูดเป็นการไม่ “รู้”
เหมือนเด็กหัดพูด ย่อมจะไม่เข้าใจความหมายของสิ่งที่พูด

ลูกศิษย์ : เมื่อเป็นอย่างนี้ เมื่อยังไม่รู้แจ้ง จะบรรยายธรรมฉุดช่วย ผู้คนได้อย่างไร?

อาจารย์ : พูดในสิ่งที่ตัวเองรู้ ไม่พูดในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้

ลูกศิษย์ : ตอนนี้พระอาจารย์รู้แล้วหรือยัง?

อาจารย์ : อาจารย์เหมือนคนใบ้กินยาขม รู้รสขมแต่พูดออกมาไม่ได้
แล้วก็เหมือนนกแก้วหัดพูด พูดได้เหมือนมาก

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2010, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




avatar_519.png
avatar_519.png [ 49.33 KiB | เปิดดู 14558 ครั้ง ]
เรื่องที่ 86

เขาไม่ได้ปล้นอาตมา


ดึกสงัด ขโมยคนหนึ่ง ถือมีดย่องเข้าไปในอาราม ข่มขู่อาจารย์เซ็นชีหลี่ว่า
"เอาเงินออกมาเสียดี ๆ ไม่อย่างนั้นจะฆ่าเสีย"

อาจารย์เซ็นชีหลี่กล่าวว่า
"อย่ามารบกวนอาตมาทำสมาธิภาวนา เงินอยู่ในลิ้นชัก ไปหยิบเอง!"

ขโมยคนนั้นรีบไปค้นที่ลิ้นชัก เก็บเอาเงินไปหมด
ขณะที่จะจากไปอาจารย์เซ็นชีหลี่กล่าวว่า
"อย่าเอาไปหมดนะ เหลือไว้หน่อยให้อาตมาซื้อดอกไม้ไหว้พระพรุ่งนี้"

ขโมยจึงทิ้งเงินเล็กน้อยไว้ในลิ้นชัก
พอหันหลังจะจากไปอาจารย์เซ็นชีหลี่ก็กล่าวอีกว่า "ไม่ขอบคุณสักคำหรือ?"

ขโมยจึงกล่าวขอบคุณก่อนสาวเท้าจากไป

หลังจากนั้น ขโมยผู้นี้ได้ก่อคดีขึ้นอีก กระทั่งถูกมือปราบจับตัวไว้ได้
ขโมยให้การว่าเคยปล้นเงินของอาจารย์เซ็นชีหลี่
ขณะที่มือปราบเรียกตัวอาจารย์เซ็นชีหลี่ไปให้การชี้ตัวจำเลย
อาจารย์ชีหลี่กลับให้การว่า "เขาไม่ใช่ขโมย เขาไม่ได้ปล้นอาตมา
อาตมาให้เงินเขาเอง เขาขอบคุณอาตมาแล้ว"

คำให้การของอาจารย์เซ็นชีหลี่ช่วยให้ขโมยผู้นี้ได้ลดหย่อนผ่อนโทษ
เมื่อขโมยผู้นี้พ้นโทษจึงปลงผมออกบวชขอเป็นศิษย์จากอาจารย์เซ็นชีหลี่อย่างซาบซึ้งตื้นตัน
และยินยอมพร้อมใจ

เห็นได้ชัดว่าอาจารย์เซ็นชีหลี่เป็นอาจารย์เซนที่แท้จริง ท่านมิเพียงละกิเลส
บำเพ็ญธรรม เพื่อให้ตัวเองหลุดพ้นจากสังสารวัฏเท่านั้น
ยังชักนำผู้อื่นสู่หนทางหลุดพ้นด้วยจิตใจเมตตาการุณย์
เปี่ยมด้วยปฏิภาณและสติปัญญาอันเฉียบแหลม




ผู้ที่รู้กิเลสของตัวเอง ย่อมรู้กิเลสของคนอื่นๆได้ เพราะเขาและเราล้วนไม่แตกต่างกัน
ไม่มีใครที่ไม่อยากเป็นคนดี แต่ทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนเป็นเหตุปัจจัยให้เป็นไป
ผู้ที่เข้าใจแล้ว ย่อมมีแต่เมตตา มิคิดเพ่งโทษแก่ใครๆ จิตจะมีแต่เมตตาและให้การอโหสิกรรม

ส่วนที่ใครมาเชื่อใครนั้น ล้วนเคยสร้างเหตุมาร่วมกัน
หากแม้นไม่เคยสร้างเหตุมาร่วมกัน จึงเป็นเหตุให้ไม่มาเชื่อกัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2010, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




5d913273115f2b147860dbd58b7e47c8.jpg
5d913273115f2b147860dbd58b7e47c8.jpg [ 81.26 KiB | เปิดดู 14544 ครั้ง ]
เรื่องที่ 87

คน 3 คน



ณ วัดบ้านไร่แห่งหนึ่ง
หลวงตาเพิ่งกลับจากการบิณฑบาตเห็นลูกศิษย์วัดนั่งร้องไห้สะอึกสะอื้น จึงเข้าไปถามไถ่ว่าเป็นอะไร

ลูกศิษย์ตอบกลับมาว่า
'ผมถูกใส่ร้าย ผมไม่ได้ขโมยเงินในหอพระ แต่ผมเข้าไปปัดกวาดเช็ดถูบ่อย ๆ
ทุกคนก็หาว่าผมเป็นขโมย ไม่มีใครเชื่อผมเลย ฮือ ฮือ '

หลวงตานั่งลงข้าง ๆ พยักหน้าเข้าใจแล้วสอนลูกศิษย์ว่า

'เจ้ารู้ไหม ในตัวเรามีคนอยู่สามคน

คนแรกคือ คนที่เราอยากจะเป็น
คนที่สองคือ คนที่คนอื่นคิดว่าเราเป็น
คนที่สามคือ ตัวเราที่เป็นเราจริง ๆ '

ลูกศิษย์หยุดร้องไห้ นิ่งฟังหลวงตา

'คนเราล้วนมีความฝัน ความทะยานอยาก ตามประสาปุถุชนทั่วไป ไม่ใช่สิ่งเลวร้าย
บางครั้งความฝันก็เป็นสิ่งสวยงาม เป็นพลังที่ทำให้เราก้าวเดิน เช่น บางคนอยากเป็นนักร้อง
เป็นนักมวย เป็นดารา ถ้าถึงจุดหมายเราก็จะรู้สึกว่าโลกนี้ช่างสว่างไสวสวยงาม
ดังนั้นเราควรมีความฝันไว้ประดับตน เพื่อเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงหัวใจ '

'มาถึงไอ้ตัวที่สอง จะเป็นเราแบบที่คนอื่นยัดเยียดให้เป็น บางครั้งก็ยัดเยียดว่าเราดีเลิศ จนเราอาย
เพราะจิตสำนึกเรารู้ดีว่ามันไม่จริงหรอก แต่เราก็ยิ้มรับ แต่บางครั้งไอ้ตัวที่สองนี้ก็มหาอัปลักษณ์
จนไม่อยากจะนึกถึง ซ้ำร้ายยังเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะมันเป็นโลกในมือคนอื่น
มันเป็นสิ่งแปลกปลอมที่คนอื่นยื่นให้ '

'อย่างคนขับสิบล้อจอดรถอยู่ข้างทางเฉย ๆ เช้ามาพบศพใต้ท้องรถ ก็ต้องขับรถหนี
ทั้งที่ศพนั้น ถูกรถชนตายอีกฝั่งแล้วดันถลามาใต้ท้องรถ แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นคนขับสิบล้อ
บางคนก็ตัดสินไปแล้วว่าเขาเป็นฆาตกร '

'สมัยที่หลวงตายังไม่ได้บวชเคยไปส่งเพื่อนผู้หญิงที่มีผัวแล้ว เพราะเห็นว่าบ้านเป็นซอยเปลี่ยว
ส่งได้สองครั้งก็เป็นเรื่อง ชาวบ้านซุบซิบนินทา หาว่าเป็นชู้กับเมียชาวบ้าน คนที่เห็นนั้น
มองคนอื่นด้วยใจที่หยาบช้า ไร้วิจารณญาณ ใจแคบ มองคนอื่นผ่านกระจกสีดำแห่งใจตัวเอง
คนเหล่านี้มีอยู่ทั่วไปในสังคม

เจ้าต้องจำไว้นะ ทุกครั้งที่เราว่าคนอื่นเลว คนอื่นไม่ดี ก็เท่ากับเราประจานความมืดดำ
ในใจตัวเองออกมา เห็นสิ่งไม่ดีของใครจงเตือนตัวเองว่าอย่าทำ อย่าเลียนแบบ
นั่นแหละวิถีของนักปราชญ์ ถ้าเอาไปว่าร้ายนินทาเรียกว่าวิถีของคนพาล '

'แล้วเราต้องทำตัวอย่างไรละครับในเมื่อเราต้องเจอคนเหล่านั้นเรื่อย ๆ'

ลูกศิษย์หยุดร้องไห้แล้วเริ่มสนทนาโต้ตอบหลวงตา

'เจ้าต้องทำความเข้าใจจิตใจมนุษย์ เรียนรู้ว่าความเข้าใจผิดเกิดขึ้นได้ เราห้ามใจใครไม่ได้
สิ่งใดที่เราไม่ได้ทำ ไม่ได้คิด ไม่ได้เป็น แต่คนอื่นคอยยัดเยียดให้เรา เราก็ไม่ควรให้ความสำคัญ
เพราะเราสัมผัสได้ว่าสิ่งนั้นไม่มีอยู่จริง ใจเราควรสงบนิ่ง ยังไม่ต้องชำระ

ใจคนอื่นต่างหากที่ควรซักฟอกให้ขาวสะอาดกว่าที่เป็นอยู่ เขาเหล่านั้นเป็นบุคคลที่น่าสงสาร
มีเวลามองคนอื่น แต่ไม่มีเวลามองตัวเอง จงแผ่เมตตาให้เขาไป เข้าใจใช่ไหม'

'เข้าใจครับหลวงตา' เด็กน้อยยิ้มมีความสุขอีกครั้ง



เหตุมี ผลย่อมมี เราเคยว่าเขา เขาจึงว่าเรา หากเราไม่เคยว่าเขา เขาย่อมไม่ว่าเรา
หากจะแก้ จงแก้ที่ตน ดับเหตุที่ตนเอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2020, 16:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องศิษยโง่ไปเรียนเซน


ปู่ในสวนคนหนึ่ง เล่านิทานเรื่องศิษยโง่ไปเรียนเซนให้เด็กน้อยฟัง ...

กาลคร้ังหน่ึ่งมีศิษยท์ ติดตามอาจายเซนมานาน ตั้งคำถามขึ้นว่า
“อาจารยค์รับ ...ผมจะต้องทำอย่างไร จึงจะเข้าถึงเซนได้"
“เธอต้องเข้าใจฝึกปล่อยวางเรื่องตัวกู-ของกูให้ได้”
“หมายความวามว่า ผมต้องกำจัดเกลี้ยงซึ่ง ตัวกู-ของกู แล้วจึงจะเรียนเซนได้ใช่ไหมครับ”
“ไอ้ศิษย์โง่ ... หากปราศจากสิ้นเชิงซึ่งตัวกูของกูแล้ว จะเรียนเซนไปทำไม!!!”

.

คำว่า เธอต้องเข้าใจฝึกปล่อยวางเรื่องตัวกู-ของกูให้ได้
ได้แก่ สักกายทิฏฐิ

อัตตทีปวรรคที่ ๕
๑. อัตตทีปสูตร
ว่าด้วยการพึ่งตนพึ่งธรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ จงเป็นผู้มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่เถิด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายจะมีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่
จะต้องพิจารณาโดยแยบคายว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส มีกำเนิดมาอย่างไร เกิดมาจากอะไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส มีกำเนิดมาอย่างไร เกิดมาจากอะไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม
ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีรูป ๑ ย่อมเห็นรูปในตน ๑ ย่อมเห็นตนในรูป ๑
รูปนั้นของเขาย่อมแปรไป ย่อมเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา เพราะรูปแปรไปและเป็นอื่นไป

ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ
ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑
วิญญาณนั้นของเขาย่อมแปรไป ย่อมเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา เพราะวิญญาณแปรไปและเป็นอย่างอื่นไป.

[๘๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุรู้ว่ารูปไม่เที่ยงแปรปรวนไป คลายไป ดับไป เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า รูปในกาลก่อน และรูปทั้งมวลในบัดนี้ ล้วนไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ดังนี้

ย่อมละโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้ จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมอยู่เป็นสุข
ภิกษุผู้มีปรกติอยู่เป็นสุข เรากล่าวว่า ผู้ดับแล้วด้วยองค์นั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุรู้ว่า
เวทนาไม่เที่ยงฯลฯ
สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ
วิญญาณไม่เที่ยง แปรปรวนไป คลายไป ดับไป เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า วิญญาณในกาลก่อน และวิญญาณทั้งมวลในบัดนี้ ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ดังนี้
ย่อมละโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้ ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมอยู่เป็นสุข

ภิกษุผู้มีปรกติอยู่เป็นสุข เรากล่าวว่าผู้ดับแล้วด้วยองค์นั้น

.
วิธีการปฏิบัติ สำหรับฆราวาส(ที่ไม่รู้ปริยัติ)

ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เรียกสีลปาริสุทธิ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ในสีลปาริสุทธินั้นว่า
เราจักยังสีลปาริสุทธิเห็นปานนั้นอันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
จักใช้ปัญญาประคับประคองสีลปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ นี้เรียกว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ สีลปาริสุทธิ ฯ

.
จักใช้ปัญญาประคับประคองสีลปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ย่อมได้ความวางเฉย(อุเบกขา) ว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้
อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา
ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้
อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง
อนุสัย คือมานะ อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

.
กล่าวโดยยย่อ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เธอไม่ทำกรรมใหม่ด้วย และสัมผัสถูกต้องกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไป
โดยคิดเห็นว่า ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ ซึ่งผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง
เป็นของไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ด้วย ฯ

.

วิธีการปฏิบัติ สำหรับผู้ที่ศึกษาปริยัติ

ผัสสะ

๕. สุนักขัตตสูตร (๑๐๕)
[๗๐] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า
ดูกรสุนักขัตตะ กามคุณนี้มี ๕ อย่างแล ๕ อย่างเป็นไฉน คือ
(๑) รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รักประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
(๒) เสียงที่รู้ได้ด้วยโสต อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รักประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
(๓) กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รักประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
(๔) รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รักประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
(๕) โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจเป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ดูกรสุนักขัตตะ นี้แลกามคุณ ๕ อย่าง ฯ

.
จักใช้ปัญญาประคับประคองสีลปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ

๔. อนิจจสูตรที่ ๒
ว่าด้วยความเป็นไตรลักษณ์แห่งขันธ์ ๕
[๙๓] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
เวทนาไม่เที่ยง ... สัญญาไม่เที่ยง ... สังขารไม่เที่ยง ... วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา
เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้น (อดีต) ย่อมไม่มี
เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้นไม่มี ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลาย (อนาคต) ย่อมไม่มี
เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลายไม่มี ความยึดมั่นอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี.
เมื่อความยึดมั่นอย่างแรงกล้าไม่มี จิตย่อมคลายกำหนัดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เพราะหลุดพ้น จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น
ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
.
กล่าวโดยยย่อ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เธอไม่ทำกรรมใหม่ด้วย และสัมผัสถูกต้องกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไป
โดยคิดเห็นว่า ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ ซึ่งผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง
เป็นของไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ด้วย ฯ

.

สภาวะที่มีเกิดขึ้น คือ ผลของการปฏิบัติ ทั้งฆราส(ไม่รู้ปริยัติ) และผู้ที่ศึกษาปริยัติ

พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกายเป็นปัจจัย
เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางกายแล้ว อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย
นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัย
เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย
นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ...วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางใจเป็นปัจจัย
เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางใจแล้ว อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย
นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ...วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย
นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ...อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมบรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ๖ ประการ
เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรส ด้วยลิ้น...
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น

ดูกรวัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้ ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้ามา เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน ครั้นแล้ว ขุดคุ้ยเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เท่าต้นแฝกก็ไม่ให้เหลือ เขาตัดผ่าต้นไม้นั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้เป็นซีกๆ แล้วผึ่งลมและแดด ครั้นผึ่งลมและแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำให้เป็นขี้เถ้า โปรยในที่มีลมพัดจัดหรือลอยในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ เมื่อเป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้นั้น มีรากขาดสูญ ประดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด

ดูกรวัปปะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมได้บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการ
เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 102 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร