ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
แบ่งกันไม่ลงตัว http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=5&t=23177 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | walaiporn [ 21 มิ.ย. 2009, 19:01 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | แบ่งกันไม่ลงตัว | ||
แบ่งกันไม่ลงตัว ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภพระอุปนันทศากยบุตรผู้โลภมาก ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า... กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิ์สัตว์เกิดเป็นรุกขเทวดาประจำอยู่ต้นไม้ที่ฝั่งแม่น้ำแห่งหนึ่ง ณ ที่ไม่ไกลจากนั้น มีสุนัขจิ้งจอกสองผัวเมียอาศัยอยู่ อยู่มาวันหนึ่งสุนัขจิ้งจอกตัวเมียพูดกับสามีว่า "พี่ ฉันแพ้ท้องอยากกินเนื้อสด ๆ ที่ยังมีเลือดอยู่ ที่ช่วยหามาหาให้หน่อยสิ" สุนัขสามีรับคำว่า "น้องไม่ต้องเป็นห่วงเดี๋ยวพี่จะจัดการหามาให้" จึงเดินไปตามริมฝั่งแม่น้ำนั้น ขณะนั้นเองมีนาก ๒ ตัวหากินอยู่ฝั่งแม่น้ำนั้น ตัวหนึ่ง หากินอยู่ในน้ำลึก อีกตัวหนึ่งหากินตามฝั่ง วันนั้น นากตัวหากินในน้ำลึกได้ปลาตะเพียนแดงตัวใหญ่ตัวหนึ่ง แต่ไม่สามารถนำปลาขึ้นฝั่งได้ เพราะปลาตัวใหญ่เกินไป จึงเรียกนากอีกตัวมาช่วยกันลากปลาขึ้นฝั่ง พอลากปลาขึ้นฝั่งได้แล้ว นากทั้งสองตัวทะเลาะกันตกลงแบ่งปลากันไม่ได้ พอดีสุนัขจิ้งจอกตัวนั้นเดินไปพบเข้า นากทั้งสองตัวจึงวิงวอนให้สุนัขจิ้งจอกช่วยแบ่งปลาให้หน่อย สุนัขจิ้งจอกจึงบอกว่า "สบายมากสหายทั้งสอง เราเคยเป็นผู้พิพากษามาก่อน" ว่าแล้วก็แบ่งปลาออกเป็น ๓ ส่วน พร้อมกับพูดว่า "ท่อนหางเป็นของนากผู้หากินตามฝั่ง ท่อนหัวเป็นของนากผู้หากินทางน้ำลึกนะ ส่วนท่อนกลางเป็นของเราผู้พิพากษา" กล่าวจบก็คาบปลาท่อนกลางเดินจากไป นากทั้งสองเห็นเช่นนั้น และก็ได้แต่นั่งซึมเซาพร้อมกับบ่นว่า "ถ้าพวกเราไม่ทะเลาะกัน ท่อนกลางก็จะเป็นอาหารของเรากินได้อีกหลายวัน เพราะทะเลาะกันท่อนกลางจึงตกเป็นอาหารของสุนัขจิ้งจอกไป" ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกก็คาบปลาท่อนกลางไปให้เมียได้กินตามความต้องการ เมียเห็นก็ดีใจพร้อมกับถามว่า "พี่ไปได้มาอย่างไร" สุนัขจิ้งจอกจึงตอบด้วยความเย่อหยิ่งว่า "น้องรัก คนทั้งหลายผ่ายผอมเพราะทะเลาะกัน สูญเสียทรัพย์ก็เพราะทะเลาะกัน นาก ๒ ตัวก็เพราะทะเลาะกัน จึงทำให้ไม่ได้กินปลาท่อน กลางน้องรักเจ้าจงกินปลาสดเถิด" รุกขเทวดาผู้เห็นเหตุการณ์นั่นแล้วได้แต่ให้เสียงสาธุการ พระพุทธองค์เมื่อตรัสอดีตนิทานมาสาธกแล้ว จึงตรัสพระคาถาว่า "ในมนุษย์ ขอพิพาทกันเกิดขึ้น ณ ที่ใด พวกเขาจะวิ่งหาผู้พิพากษาเพราะผู้พิพากษา เป็นผู้แนะนำพวกเขา ฝ่ายพวกเขาก็จะเสียทรัพย์ ณ ที่นั้น เหมือนนาก ๒ ตัวนั้นเอง แต่คลังหลวงเจริญขึ้น" นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : ญาติพี่น้องเพราะทะเละกันเรื่องมรดก จึงเป็นเหตุให้เสียทรัพย์เพื่อจ้างทนายให้เป็นผู้แบ่งปันให้ ดังนั้น จึงไม่ควรทะเลาะกัน เพราะจะนำความสูญเสียทรัพย์มาให้ ที่มา :หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย) : เว็บไซด์ธรรมะไทย dhammathai
|
เจ้าของ: | walaiporn [ 22 มิ.ย. 2009, 01:48 ] | |||||||||||
หัวข้อกระทู้: | Re: แบ่งกันไม่ลงตัว | |||||||||||
หมอนวิเศษ
|
เจ้าของ: | walaiporn [ 22 มิ.ย. 2009, 02:07 ] | |||||
หัวข้อกระทู้: | Re: แบ่งกันไม่ลงตัว | |||||
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ขอเพียงคุณรู้จักคำว่า " พอ " ไม่ว่าคุณจะอยู่ในสภาพแบบไหน คุณย่อมมีความสุข
|
เจ้าของ: | อมิตาพุทธ [ 22 มิ.ย. 2009, 04:38 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: แบ่งกันไม่ลงตัว |
อนุโมทนา สาธุ ครับ ![]() |
เจ้าของ: | ลูกโป่ง [ 23 มิ.ย. 2009, 13:34 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: แบ่งกันไม่ลงตัว |
สาธุ สาธุ สาธุ ธรรมะสวัสดีค่ะ ![]() |
เจ้าของ: | walaiporn [ 05 ก.ค. 2009, 21:02 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: แบ่งกันไม่ลงตัว | ||
ตะปู มีเด็กน้อยคนหนึ่งที่สีหน้าแสดงอารมณ์ไม่ค่อยจะดีนัก พ่อของเขาจึงให้ตะปูกับเขา 1 ถุง และบอกกับเขาว่า “ทุกครั้งที่เขารู้สึกโมโห หรือโกรธใครสักคน ให้ตอกตะปู 1 ตัวเข้าไปกับรั้วที่หลังบ้าน” วันแรกผ่านไป เด็กน้อยคนนั้นตอกตะปูเขาไปที่รั้วหลังบ้านถึง 37 ตัว และก็ค่อย ๆ ลดจำนวนลงเรื่อย ๆ ในแต่ละวันที่ผ่านไป ก็ลดจำนวนลง น้อยลง น้อยลง เพราะเขารู้สึกว่า การรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเองให้สงบ ง่ายกว่าการตอกตะปูตั้งเยอะ และแล้ว หลังจากที่เขาสามารถควบคุมตนเองได้ดีขึ้นใจเย็นมากขึ้น เขาจึงเข้าไปพบกับพ่อ และบอกกับพ่อของเขาว่า เขาสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้แล้ว ไม่มุทะลุเหมือนแต่ก่อนที่เคยเป็นมา พ่อยิ้ม และบอกกับลูกชายของเขาว่า “ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงเจ้าต้องพิสูจน์ให้พ่อรู้ โดยทุกๆ ครั้งที่เขาสามารถควบคุมอารมณ์ฉุนเฉียวของตนเองได้ ให้ถอนตะปูออกจากรั้วหลังบ้าน 1 ตัว ทุกครั้ง” วันแล้ววันเล่า เด็กน้อยคนนั้นก็ค่อยๆ ถอนตะปูออก ทีละตัว จาก 1 เป็น 2 …. จาก 2 เป็น 3 จนในที่สุดตะปูทั้งหมดก็ถูกถอนออก จนหมด เด็กน้อยดีใจมากรีบวิ่งไปบอกกับพ่อเขาว่า “ฉันทำได้ ในที่สุดฉันก็ทำจนสำเร็จ !!” พ่อไม่ได้พูดอะไร แต่จูงมือลูกของเขาออกไปที่รั้วหลังบ้าน และบอกกับลูกว่า “ทำได้ดีมาก ลูกพ่อ และเจ้าลองมองกลับไปที่รั้วเหล่านั้นสิ เจ้าเห็นหรือไม่ว่า รั้วนั้นมันไม่เหมือนเดิม ไม่เหมือน..กับที่มันเคยเป็น จำไว้นะลูก เมื่อใดก็ตามที่เจ้าทำอะไรลงไปโดยใช้อารมณ์ สิ่งนั้นมันจะเกิดเป็นรอยแผล เหมือนกับการเอามีดที่แหลมคมไปแทงใครสักคน ต่อให้ใช้คำพูด ว่า “ขอโทษ” สักกี่หน ก็ไม่อาจลบความเจ็บปวด ไม่อาจลบรอยแผลที่เกิดขึ้นกับเขาคนนั้นได้ ฉันใดก็ฉันนั้น “กับเพื่อน” .. เพื่อนเปรียบเสมือน อัญมณีอันมีค่าที่หายาก เป็นคนที่ทำให้เรายิ้ม เป็นคนที่คอยให้กำลังใจ และยินดีเมื่อเราพบกับความสำเร็จ เป็นคนที่คอยปลอบใจเราเมื่อยามเศร้า ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเรา และจริงใจกับเราเสมอ … แสดงให้เขาเห็น ว่าเราห่วงใยเขามากแค่ไหน และระวังสิ่งที่เราทำไป ไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือการกระทำ และจงจดจำไว้เสมอว่า ” คำขอโทษ “ ไม่ว่าเขาจะยกโทษให้เราหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งที่มันเกิดขึ้น คือ รอยร้าวที่เขาคงไม่อาจลืมมันได้ …… ตลอดไป” หวังว่านิทานนี้คงช่วยให้พวกเรา อยู่ร่วมกัน ทำงาน ร่วมกัน คบกัน ด้วยความรู้สึกที่ดีต่อกันขึ้นเรื่อยๆ ตลอดไป….. อ้างอิง : จากเว็ปไซด์ Deedeejang
|
เจ้าของ: | walaiporn [ 15 ก.ค. 2009, 00:54 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: แบ่งกันไม่ลงตัว | ||
ชายชาวอินเดียคนหนึ่ง ห้วงสองปีที่ผ่านมา ผู้คนจะพบเห็นจนชินตาว่าบนบ่าของเขามีหม้อดินใบใหญ่ วางอยู่ข้างละใบ หม้อดินใบหนึ่งมีรอยร้าว ขณะอีกใบสมบูรณ์ สวยงามไร้ที่ติ หม้อใบสวยสามารถบรรจุน้ำไว้เต็มเปี่ยม นับจากลำธารจนถึงบ้านเจ้านาย ขณะที่อีกใบหนึ่งนั้น เมื่อมาถึงปลายทางกลับเหลือน้ำแค่ครึ่งเดียว เท่ากับว่าชายผู้นี้ขนน้ำได้เที่ยวละหม้อครึ่งอยู่ทุกครั้ง แน่ล่ะ...หม้อดินใบสวยย่อมภาคภูมิใจในตนเอง ที่ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน ส่วนหม้อดินใบร้าว นอกจากอดไม่ได้ที่จะรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจในความไม่สมประกอบ ของตนเองแล้ว มันยังรู้สึกผิดกับการทำหน้าที่ได้ ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยอีกด้วย หลังจากสองปีเต็ม ที่แบกความทุกข์ระทมขมขื่นนั้นเอาไว้ วันหนึ่งมันจึงตัดสินใจเอ่ยกับคนหาบน้ำตรงลำธารว่า "ฉันรู้สึกละอายใจเหลือเกิน.. ฉันอยากขอโทษท่าน.. ตลอดสองปีมานี้ ฉันทำงานให้ท่านได้เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น เนื่องจากเจ้ารอยร้าวบนตัวฉันมันทำให้น้ำรั่วไหลไปตลอดทาง" เมื่อฟังเช่นนั้นแล้ว คนขนน้ำก็พลอยรู้สึกเสียใจไปด้วย และแล้วเขาก็พูดว่า "เอาล่ะ.. ระหว่างทางที่เราจะเดินกลับ ไปบ้านเจ้านาย ฉันอยากให้เธอสังเกตดอกไม้สวยๆข้างทางเดิน สักหน่อย เธอไม่ได้สังเกตหรอกหรือว่า... ทำไมดอกไม้ป่าเหล่านั้น ถึงได้งอกงามเฉพาะฝั่งที่ฉันแบกเธอเท่านั้น ทำไมมันไม่ขึ้น อีกฟากหนึ่งด้วยล่ะ.. นั่นเป็นเพราะฉันได้ตระหนักในข้อจำกัดของเธอ จึงอาศัยเงื่อนไขนี้เพาะเมล็ดพันธุ์ดอกไม้ป่า ตรงทางเดินฝั่งที่ฉันแบกเธอเสมอมา และทุกๆวัน ขณะที่เราเดินกลับบ้าน เธอเองก็ได้ช่วยฉันรดน้ำให้มัน.. แล้วในสองปีนี้ฉันก็ได้เด็ดดอกไม้สวยๆนี้ไปปักแจกัน ให้เจ้านายของเราด้วย นี่ถ้าหากไม่มีเธอแล้วล่ะก็ เจ้านายของเราคงไม่มีโอกาสได้ดอกไม้ป่าอันแสนสวยงาม.. ที่ผลิสะพรั่งอยู่ระหว่างทางมาประดับบ้านเป็นแน่" ของทุกอย่างล้วนมีคุณค่าในตัวเอง .. สุดแต่ว่าตัวเรานั้นจะมองเห็นคุณค่าของๆสิ่งนั้นหรือเปล่า
|
เจ้าของ: | ลูกโป่ง [ 15 ก.ค. 2009, 14:43 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: แบ่งกันไม่ลงตัว |
ขอบคุณเรื่องราวน่ารักๆ...ให้เรารู้จักมองต่างมุม จะได้พบสิ่งดีดีเช่นกัน ธรรมะสวัสดีวันพระค่ะ ![]() |
เจ้าของ: | walaiporn [ 15 ก.ค. 2009, 20:52 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: แบ่งกันไม่ลงตัว | ||
อภัยโทษ ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพระเจ้าโกศล ผู้เข้าเผ้าด้วยความลำบากใจที่มีอำมาตย์และหญิงเป็นที่รักคบชู้กัน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า... กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นอำมาตย์ทำหน้าที่สอนธรรมแก่พระเจ้าพรหมทัต ในเมืองพาราณสี ในสมัยนั้น มีอำมาตย์คนหนึ่งแอบเป็นชู้กับหญิงคนรักของพระราชา พระองค์เองก็ทรงทราบอยู่บ้าง แต่ก็ไม่อาจตัดสินพระทัยที่จะทำอย่างใดอย่างหนึ่งได้ เพราะอำมาตย์เป็นผู้มีอุปการะคุณมาก และหญิงนั้นก็เป็นที่รักยิ่งของพระองค์ วันหนึ่งพระองค์ด้วยความโทรมนัสเป็นอย่างยิ่งจึงรับสั่งให้อำมาตย์โพธิสัตว์มาเข้าเฝ้า แล้วตรัสถามปัญหาเป็นคาถาว่า "สระโบกขรณีมีน้ำเย็นใสสะอาด รสอร่อย เกิดอยู่ที่เชิงเขาหิมพานต์ น่ารื่นรมย์ สุนัขจิ้งจอกรู้อยู่ว่าสระนั้นราชสีห์รักษาอยู่ก็ยังลงไปดื่มกิน" พระโพธิสัตว์ทราบเรื่องนั้นอยู่แล้ว จึงกราบทูลเป็นคาถาเช่นกันว่า "ข้าแต่มหาราช ถ้าสัตว์มีเท้าทั้งหลายพากันดื่มน้ำในมหานที แม่น้ำจะไม่ชื่อว่าเป็นแม่น้ำ เพราะเหตุนั้นก็หาไม่ หากว่าคน ๒ คนนั้นเป็นที่รักของพระองค์ พระองค์ก็ทรงอภัยโทษเสียเถิด" พระราชาทรงคลายความโทรมนัสลงไปได้บ้าง และตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ จึงเรียกบุคคลทั้งสองเข้าเฝ้าและยกโทษให้แก่คนทั้งสอง พร้อมตรัสสอนว่า "นับตั้งแต่นี้ไปเจ้าทั้งสองอย่าได้กระทำกรรมชัวนี้อีก" คนทั้งสองรับคำและก็เป็นคนดีมีศีลธรรมมาตั้งแต่วันนั้นตราบเท่าชีวิต นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : คนที่ไม่มีความชั่วโดยชาติกำเนิด ควรได้รับอภัยโทษให้กลับตัวกลับใจ และอาจทำประโยชน์ให้ได้มากมาย ที่มา :ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)เว็บไซด์ธรรมะไทย dhammathai
|
เจ้าของ: | walaiporn [ 05 ส.ค. 2009, 01:27 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: แบ่งกันไม่ลงตัว | ||
ขอในสิ่งที่ไม่ควรขอ ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่อัคคาฬวเจดีย์เมืองอาฬวี ทรงปรารภกุฏิการสิกขาบทที่ภิกษุชาวเมืองอาฬวีพากันสร้างกุฏิด้วยการเที่ยวขอไม่มีขีดจำกัด เป็นเหตุให้ชาวเมืองอาฬวีเดือดร้อนเห็นพระภิกษุ ที่ไหนก็กลัวหลบหนีหน้าไปหมด พระองค์จึงตรัสติเตียนพวกภิกษุว่า " ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าการขอ อย่าว่าแต่มนุษย์เลย แม้พวกนาคในนาคภิภพ ก็ไม่ชอบใจ " แล้วทรงนำอดีตนิทานมาสาธก ว่า... -------------------------------------------------------------------------------- กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพราหมณ์ในตระกูลมั่งคั่งมีทรัพย์สมบัติมากตระกูลหนึ่ง ท่านมีน้องชายอยู่คนหนึ่งรักกันมาก ต่อมาเมื่อมารดาบิดาเสียชีวิตแล้ว พราหมณ์สองพี่น้องก็ พากันสละทรัพย์สมบัติบริจาคทานออกบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญพรตอยู่ฝั่งแม่น้ำคงคา ฤาษีพี่ชายอยู่ทางทิศเหนือของแม่น้ำ ส่วนฤาษีน้องชายอยู่ทางทิศใต้ของแม่น้ำ -------------------------------------------------------------------------------- อยู่มาวันหนึ่ง พญานาคมณิกัฏฐะได้แปลงเพศเป็นชายหนุ่มเที่ยวเล่นไปตามฝั่งแม่น้ำคงคา ผ่านไปถึงอาศรมของฤาษีผู้น้องจึงแวะเข้าไปสนทนาปราศรัยด้วยเกิดความสนิทสนมคุ้นเคยชอบพอกัน กับฤาษีผู้น้องนั้น จึงเทียวมาเยี่ยมเยือนทุกวันมิได้เว้น เมื่อสนทนาเสร็จก่อนจะกลับก็จะคืนร่าง เป็นพญานาคเอาขนดหางตะหวัดรัดรอบฤาษีแผ่พังพานไว้เหนือหัวด้วยความสิเนหาในฤาษีนั้น นอนพักอยู่หน่อยหนึ่งแล้วค่อยคลายร่างออกไหว้ฤาษีแล้วจึงกลับนาคพิภพ จะเป็นเช่นนี้ประจำ -------------------------------------------------------------------------------- ฤาษีนั้นทุกครั้งที่ถูกรัดตัวเกิดความกลัวจึงกินไม่ได้นอนไม่หลับจนร่างกายซูบซีดผ่ายผอมลงทุกวัน วันหนึ่ง ท่านได้แวะไปหาฤาษีพี่ชาย เล่าเรื่องให้ฟังแล้วปรับทุกข์กับพี่ชายว่า " ผมไม่อยากให้พญานาคมาหาผมเลย พี่ช่วยผมหน่อยซิ" พี่ชายถามว่า " พญานาคเวลามา มีเครื่องประดับอะไรไหมละ" " ประดับแก้วมณีมาครับพี่" ท่านตอบพี่ชาย ฤาษีพี่ชายจึงแนะนำว่า " เมื่อพญานาคมาถึงอาศรมของท่าน ยังไม่ทันได้ไหว้ ท่านก็ขอแก้วมณีของมันเลย มันก็จะหนีไป วันที่สองพอมันมาถึงประตูอาศรมเท่านั้น ท่านก็เอ่ยปากขอแก้วมณีของมันอีก พอถึงวันที่สาม ท่านไปยืนดักรอที่ฝั่งแม่น้ำ พอมันโผล่หัวขึ้นจากฝั่งแม่น้ำเท่านั้น ท่านก็เอ่ยปากขอแก้วมณีอีก ทีนี้แหละมันก็จะไม่มารบกวนท่านอีกเลย " -------------------------------------------------------------------------------- ฤาษีผู้น้องได้ทำตามนั้น ในวันที่ ๓ พญานาคขณะยืนอยู่ในน้ำเมื่อถูกฤาษีขอแก้วมณีอีก จึงพูดว่า " ท่านฤาษี ข้าวและน้ำอันไพบูลย์ยิ่งมีแก่ข้าพเจ้าก็เพราะแก้วมณีดวงนี้ ข้าพเจ้าจักให้แก้วมณีแก่ท่านได้อย่างไร ท่านก็ยิ่งขอหนักขึ้น ต่อแต่นี้ไปข้าพเจ้า จักไม่มาอาศรมของท่านอีกแล้วละ เมื่อท่านขอแก้วมณีดวงนี้ทำให้ข้าพเจ้าหวาดเสียวเหมือน ชายหนุ่มถือดาบอันคมกริบ "กล่าวจบก็ดำน้ำลงไปนาคพิภพไม่กลับมาที่นั้นอีกเลย -------------------------------------------------------------------------------- ฝ่ายฤาษี เมื่อพญานาคไปแล้วไม่มาหาอีกกลับคิดถึง เกิดความเศร้าเสียใจมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม จึงยิ่งซูบผอมลงไปมากกว่าเดิมอีก หลายวันต่อมาฤาษีพี่ชายอยากจะทราบเรื่อง จึงแวะมาที่อาศรมน้องชาย เมื่อเห็นน้องชายแล้วยิ่งตกใจจึงถามถึงสาเหตุ ฤาษีน้องชายจึงตอบเป็นคาถาว่า " บุคคลไม่ควรขอสิ่งที่รู้ว่าเป็นที่รักของเขา อนึ่ง เพราะขอเกินไปย่อมเป็นที่เกลียดชัง นาคราชถูกฤาษีขอแก้วมณี จึงไม่หวนกลับมาให้ฤาษีเห็นอีกเลย " ฤาษีพี่ชายได้ปลอบน้องชายให้หายเศร้าเสียใจแล้วจึงกลับอาศรมของตน ฤาษีสองพี่น้องบำเพ็ญ ฌานสมาบัติได้ไปเกิดในพรหมโลกในที่สุด -------------------------------------------------------------------------------- นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : โดยธรรมชาติของคนและสัตว์ไม่ชอบการขอ ควรขอเท่าที่จำเป็นและขอในสิ่งที่เขาจะสามารถให้ได้เท่านั้น ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย) เว็บไซด์ธรรมะไทย dhammathai
|
เจ้าของ: | เครื่องทองน้อย [ 14 ส.ค. 2009, 13:24 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: แบ่งกันไม่ลงตัว |
สาธุ สาธุ |
เจ้าของ: | walaiporn [ 03 มี.ค. 2010, 03:48 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: แบ่งกันไม่ลงตัว | ||
นิสัยของลิงชั่ว ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพระเทวทัต ผู้อกตัญญูประทุษร้ายมิตร ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า... กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์แห่งหนึ่ง ในแคว้นกาสี ในระหว่างทาง มีบ่อน้ำลึกอยู่บ่อหนึ่ง สัตว์ลงกินน้ำไม่ได้ ผู้คนสัญจรไปมาต่างต้องการบุญ ใช้กระบอกตักน้ำเทใส่ราง ทิ้งไว้ให้สัตว์ได้ดื่มกิน ใกล้บ่อน้ำนั้นมีป่าใหญ่ล้อมรอบมีลิงฝูงใหญ่อาศัยอยู่ในป่านั้น ต่อมาช่วงหนึ่ง ทางนั้นขาดคนสัญจรไปมาติดต่อกันถึง ๒-๓ วัน สัตว์ต่าง ๆ รวมทั้งฝูงลิงไม่ได้ดื่มน้ำ มีลิงตัวหนึ่งกระหายน้ำมากเดินวนเวียนรอบบ่อน้ำนั้นอยู่ วันนั้นพระโพธิสัตว์เดินทางผ่านไปทางนั้นพอดี จึงตักน้ำในบ่อเทใส่รางให้มันดื่มกิน เสร็จแล้วคิดจะเอนหลังนอนพักเหนื่อยใต้ต้นไม้สักงีบหนึ่งก่อน เดินทางต่อไป ส่วนลิงนั้นดื่มน้ำแล้วก็ไม่หนีไปไหนได้นั่งทำหน้าล่อกแล่กหลอกพระโพธิสัตว์อยู่ใกล้ ๆ นั่นเอง พระโพธิสัตว์เห็นกริยาของมันแล้วจึงพูดตวาดว่า "อ้ายวายร้าย ลิงอัปรีย์ ข้าได้ให้เจ้าดื่มน้ำรอดตายแล้ว ยังจะมาทำหน้าล่อกแล่กหลอกข้าอีกน่าอนาถใจแท้ ข้าช่วยเหลือสัตว์ชั่ว ๆ ไม่มีประโยชน์เลย ลิงได้ฟังคำนั้นแล้วพูดตอบว่า "ท่านเข้าใจว่าจะมีเพียงแค่นี้หรือ เราจะถ่ายอุจจาระรดหัวท่านอีกด้วยนะ" แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า "ท่านเคยได้ยินหรือเคยได้เห็นมาบ้างไหมว่า ลิงตัวไหนที่ชื่อว่าเป็นสัตว์มีศีล เราจะถ่ายอุจจาระรดหัวท่านเดี๋ยวนี้แล้วจึงจะไป นี่เป็นธรรมดาของพวกเรา" พระโพธิสัตว์ได้ฟังเช่นนั้นจึงเตรียมจะลุกขึ้น ทันใดนั้นเองลิงกระโดดจิบกิ่งไม้แล้วถ่ายอุจจาระ รดหัวพระโพธิสัตว์ แล้วร้องเจี๊ยก ๆ เข้าป่าไป พระโพธิสัตว์อาบน้ำชำระร่างกายแล้วจึงเดินกลับบ้านไป อย่างคนหัวเสีย นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : การคบและช่วยเหลือคนชั่วไม่มีประโยชน์เลย มีแต่จะสร้างความรำคาญและให้โทษ ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)
|
เจ้าของ: | walaiporn [ 12 มี.ค. 2010, 23:55 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: แบ่งกันไม่ลงตัว | ||
เต่าชอบโอ้อวด ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุสหายกันสองรูป ที่มักเถียงกันว่า ใครรูปหล่อกว่ากัน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า... กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นรุกขเทวดาประจำอยู่ต้นไม้ อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา สมัยนั้นมีปลาอยู่ ๒ ตัว ตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในแม่น้ำคงคา อีกตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในแม่น้ำยมุนา ปลาทั้ง ๒ ตัวเมื่อว่ายมาเจอกันที่แม่น้ำทั้ง ๒ สายมาบรรจบกันตรงที่ต้นไม้นั้นอยู่ ก็มักจะทุ่มเถียงกันว่าใครงามกว่ากันเสมอ ต่างก็ว่าตัวเองนั้นงามกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ตกลงกันไม่ได้สักที จึงพากันไปหาเต่าตัวหนึ่งเป็นผู้ตัดสินให้ว่าใครงามกว่ากัน "ท่านเต่าผู้น่ารัก ขอท่านช่วยตัดสินให้พวกข้าพเจ้าเสียทีว่าใครงามกว่ากัน" เต่าตัดสินว่า "ท่านปลาทั้งสอง ท่านที่มีอยู่แม่น้ำคงคาก็งามดีไม่มีที่ติ ท่านที่อยู่แม่น้ำยมุนาก็งามดี ไม่มีที่ติ แต่โดยรวมแล้วเรางามกว่าพวกท่านทั้งสองอยู่ดี" ปลาทั้ง ๒ ตัวฟังคำตัดสินของเต่าแล้วก็ด่ามันกว่า "เจ้าเต่าชั่ว เจ้าไม่ตอบคำถามของพวกเรา กลับตอบไปอย่างอื่น" แล้วก็กล่าวเป็นคาถาว่า "ท่านไม่ตอบเรื่องที่เราถาม เราถามอย่างหนึ่ง ท่านกลับตอบเสียงอีกอย่างหนึ่ง คนที่ยกย่องตนอง พวกเราไม่ชอบใจเลย" ว่าแล้วปลาทั้ง ๒ ตัวก็พ่นน้ำใส่เต่านั้น เต่ากลับไปที่อยู่ของตนตามเดิม เทวดาโพธิสัตว์เห็นเหตุการณ์นั้นโดยตลอดได้แต่ให้เสียงสาธุการ นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ผู้มักโอ้อวดตนเอง ยกตนข่มท่าน มักจะไม่มีเพื่อนและขาดคนเชื่อถือ ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)
|
เจ้าของ: | Supatorn [ 04 ส.ค. 2011, 06:49 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: แบ่งกันไม่ลงตัว |
อนุโมทนาสาธุๆค่ะ ขอบพระคุณค่ะ ![]() ![]() ![]() อัตตนา โจทยัตตานัง จงกล่าวโทษความผิด จิตของเราไว้เสมอ" ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | nateay [ 09 ก.ย. 2011, 10:14 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: แบ่งกันไม่ลงตัว |
อนุโมทนาบุญด้วยคะ สาธุ สาธุ สาธุ ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปค่ะ |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |