ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
...นกแขกเต้ากับชาวนา... http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=5&t=23399 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลูกโป่ง [ 01 ก.ค. 2009, 14:08 ] |
หัวข้อกระทู้: | ...นกแขกเต้ากับชาวนา... |
ทุกๆ คนมีความสุข เมื่อแสวงหาทรัพย์มาได้ หลายๆ คน มีความสุขกับการครอบครองหวงแหนทรัพย์นั้นไว้ ในขณะที่อีกหลายๆ คนก็มีความสุขกับการใช้จ่ายทรัพย์นั้น แท้จริงแล้ว เราจะแสวงหาความสุขจากทรัพย์สิน ได้ด้วยวิธีการใด ทำอย่างไร? เราจึงจะได้รับความอิ่มกายอิ่มใจ จากทรัพย์ของเราให้ได้มากที่สุด ![]() นกแขกเต้ากับชาวนา มีนกแขกเต้าฝูงหนึ่งประมาณ 500 ตัว อาศัยอยู่ในป่างิ้วบนยอดเขาแห่งหนึ่ง เมื่อถึงเวลาหากิน ฝูงนกแขกเต้า ต่างพากันบินไปกินข้าวสาลีในนา ของชาวมคธ เมื่อกินข้าวสาลีอิ่มแล้ว ต่างก็บินกลับรังด้วยปากเปล่าๆ ทั้งนั้น ส่วนพญานกแขกเต้าที่เป็นหัวหน้า เมื่อกินอิ่มแล้ว ยังต้องคาบข้าวสาลี อีก ๓ รวงกลับไปด้วย ชาวนาเห็นก็แปลกใจ จึงพยายามดักจับพญานกแขกเต้าให้ได้ ด้วยการสังเกตที่ยืนของพญานกนั้น แล้ววางบ่วงดักไว้ วันหนึ่งพญานกถูกจับได้ ชาวนาจึงถามพญานกว่า “นกเอ๋ย ท้องของท่านคงจะใหญ่กว่านกอื่น เพราะเมื่อท่านกินอิ่มแล้ว ยังต้องคาบรวงข้าวกลับไป อีกวันละ 3 รวง เป็นเพราะท่านมียุ้งฉาง หรือเป็นเพราะเรามีเวรต่อกันมาก่อน” ![]() พญานกตอบว่า “ข้าพเจ้าไม่ได้มียุ้งฉาง และเราก็ไม่มีเวรต่อกัน แต่ที่คาบไป 3 รวงนั้น รวงหนึ่งเอาไปใช้หนี้เก่า รวงหนึ่งเอาไปให้เขา และอีกรวงหนึ่งเอาไปฝังไว้” ชาวนาได้ฟังก็เกิดความสงสัย จึงถามว่า “ท่านเอารวงไปใช้หนี้ใคร เอาไปให้ใคร และเอาไปฝังไว้ที่ไหน” พญานกแขกเต้าจึงตอบว่า “รวงที่หนึ่งเอาไปใช้หนี้เก่า คือ เอาไป เลี้ยงดูพ่อแม่เพราะท่านแก่แล้ว และเป็น ผู้มีพระคุณอย่างมาก ทั้งให้กำเนิด และเลี้ยงดูข้าพเจ้าจนเติบใหญ่ นับว่าข้าพเจ้า เป็นหนี้ท่านจึงสมควรเอาไปใช้หนี้” ![]() “รวงที่สองเอาไปให้เขา คือ เอาไปให้ลูกน้อยทั้งหลายที่ยังเล็กอยู่ ไม่สามารถหากินเองได้ เมื่อข้าพเจ้า เลี้ยงในตอนนี้ ต่อไปยามข้าพเจ้าแก่เฒ่า เขาก็จะเลี้ยงตอบแทน จัดเป็นการให้เขา” “รวงที่สามเอาไปฝังไว้ คือ เอาไปทำบุญด้วยการให้ทาน กับนกที่แก่ชรา นกที่พิการหรือเจ็บป่วยไม่สามารถหากินเองได้ เท่ากับเอาไปฝังไว้ เพราะบัณฑิตทั้งหลาย กล่าวว่า การทำบุญเป็นการฝังขุมทรัพย์ไว้” ชาวนาได้ฟังแล้วเกิดความเลื่อมใสว่า นกนี้เป็นนกกตัญญูต่อพ่อแม่ เป็นนกที่มีความเมตตาต่อลูกน้อย ใจบุญ มีปัญญารอบคอบ มองการณ์ไกล ![]() พญานกได้อธิบายต่อไปว่า “ข้าวสาลีที่ข้าพเจ้ากินเข้าไปนั้น ก็เปรียบเสมือนเอาไปทิ้งลงไปในเหวที่ไม่รู้จักเต็ม เพราะข้าพเจ้าต้องมากินทุกวัน วันนี้กินแล้ว พรุ่งนี้ก็ต้องมากินอีก กินเท่าไรก็ไม่รู้จักเต็ม จะไม่กินก็ไม่ได้เพราะถ้าท้องหิวก็ต้องเป็นทุกข์” ชาวนาได้ฟังจึงกล่าวว่า “พญานกผู้มีปัญญา ทีแรกข้าพเจ้าคิดว่า ท่านเป็นนกที่โลภมาก เพราะนกตัวอื่นเขาหากินเสร็จเรียบร้อยแล้ว เขาก็ไม่คาบอะไรไป ส่วนท่านบินมาหากินแล้ว ก็ยังคาบรวงข้าวกลับไปอีก แต่พอฟังท่านแล้ว จึงรู้ว่าท่านไม่ได้คาบไปเพราะความโลภ แต่คาบไปเพราะความดี คือเอาไปเลี้ยงพ่อแม่ เอาไปเลี้ยงลูกน้อย และเอาไปทำบุญ ท่านทำดีจริงๆ” ชาวนามีจิตเลื่อมใสในคุณธรรมของพญานกมาก จึงแก้เครื่องผูกออกจากเท้าพญานก ปล่อยให้เป็นอิสระ แล้วมอบข้าวสาลีให้ ![]() พญานกรับข้าวสาลีไว้เพียงส่วนหนึ่ง ซึ่งกะคะเนแล้วว่าเพียงพอแก่บริวาร จากนั้นจึงให้โอวาทแก่ชาวนาว่า “ขอให้ท่านเป็นผู้ไม่ประมาท หมั่นสั่งสมกุศลด้วยการทำทาน และเลี้ยงดูพ่อแม่ผู้แก่เฒ่าด้วยเถิด” ชาวนาได้คติจากข้อปฏิบัติของพญานก จึงตั้งใจทำบุญกุศลตั้งแต่นั้นมาจนตลอดชีวิต นกแขกเต้าผู้มีปัญญา รู้ว่าควรบริหารจัดการทรัพย์สินอย่างไร จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งต่อตัวเอง ต่อครอบครัว และต่อสังคม นับเป็นการใช้ทรัพย์อย่างชาญฉลาด ที่ยิ่งใช้ก็ยิ่งมีความสุขความเจริญ สุขทั้งกาย สุขทั้งใจ สุขทั้งในปัจจุบัน และอนาคต ![]() เราทุกคนเมื่อรู้จักเก็บ รู้จักหาทรัพย์แล้ว ก็ควรจะรู้จักหาความสุขจากการใช้ทรัพย์อย่างถูกต้องด้วย เพราะการแสวงหา? หรือครอบครองทรัพย์สินที่มี ไม่อาจสร้างความสุขใจ ไม่อาจทำให้เกิดบุญกุศลได้ เทียบเท่ากับการใช้ทรัพย์นั้นให้เกิดคุณค่าอย่างแท้จริงต่อชีวิต : คัดลอกบางตอนมาจาก... : หนังสือ...สันโดษเคล็ดลับของความสุข : พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=11380 ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | วรานนท์ [ 01 ก.ค. 2009, 15:17 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ...นกแขกเต้ากับชาวนา... |
![]() ![]() ![]() อนุโมทนาสาธุกับคุณลูกโป่งด้วยครับ ผมเป็นคนชอบอ่านนิทานมาตั้งแต่เด็กแล้วครับ ปัจจุบันก็ยังชอบอ่านอยู่เลยครับ ยิงนิทานอิงธรรมด้วยแล้ว ยิ่งชอบมากเลยครับ ![]() ![]() ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |