ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

นิทานธรรมะ :: อยู่อย่างรู้คุณค่า (พระมหาวีระพันธ์ ชุติปัญโญ)
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=5&t=44760
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ฟ้าใสใส [ 26 ก.พ. 2013, 23:39 ]
หัวข้อกระทู้:  นิทานธรรมะ :: อยู่อย่างรู้คุณค่า (พระมหาวีระพันธ์ ชุติปัญโญ)

:b20: นิทานธรรมะ :: อยู่อย่างรู้คุณค่า :b20:

:b8: ### เมื่อใดที่เราเห็นคุณค่าของทุกขณะเวลา เราจะรู้จักใช้ชีวิตอย่างรู้คุณค่าทุกเสี้ยววินาที ### :b8:

:b1: อาจารย์ท่านหนึ่งมีลูกศิษย์อาศัยอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก สาเหตุที่มีผู้คนมาเคารพนับถือและยอมรับที่จะเป็นลูกศิษย์ ก็เพราะท่านมีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดวิชาด้วยเทคนิคที่เต็มไปด้วยความชำนาญและชาญฉลาด

:b4: อยู่มาวันหนึ่ง อาจารย์ได้พาลูกศิษย์ไปที่แม่น้ำ โดยท่านจะอาศัยจังหวะนี้เป็นช่วงเวลาในการสอนลูกศิษย์ให้มีความรู้เกี่ยวกับความเพียรพยายามที่จะมีชีวิตอยู่อย่างรู้คุณค่า

:b1: เมื่อเห็นว่าลูกศิษย์พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งที่ท่านต้องการจะถ่ายทอดแล้ว จึงเรียกลูกศิษย์ ๑ คนมาเป็นอาสาสมัครในการเรียนรู้วิชาในครั้งนี้ ครั้นอาจารย์กล่าวจบลงก็มีลูกศิษย์ที่อาสาเป็นผู้ช่วยมายืนต่อหน้าท่าน

:b4: ครั้นเห็นว่าทุกอย่างลงตัวแล้ว อาจารย์ก็พาลูกศิษย์เดินลงไปที่ริมแม่น้ำ แล้วก็จับศีรษะของลูกศิษย์กดลงไปในน้ำทันที ฝ่ายลูกศิษย์เมื่อถูกอาจารย์กดลงเช่นนั้น เมื่อเวลาผ่านไปสักครู่ก็รีบตะเกียกตะกายอย่างสุดแรงเกิด

:b1: อาจารย์ได้จับลูกศิษย์กดน้ำอยู่อย่างนั้น ๓ ครั้งก็หยุด เมื่อเห็นว่าบทเรียนที่ต้องการสอนสมบูรณ์แล้ว จึงกล่าวชื่นชมลูกศิษย์ที่มีความกล้าที่จะเป็นคนถูกทดสอบในครั้งนี้ พร้อมกับถามลูกศิษย์ว่า

:b4: "ในขณะที่อาจารย์กดศีรษะของเจ้าลงไปในน้ำ เจ้ามีความต้องการสิ่งใดมากที่สุด ?"

:b1: "ผมต้องการอากาศหายใจมากที่สุดครับ" ลูกศิษย์ตอบพร้อมกับแสดงสีหน้าที่ดูเหมือนว่าอากาศนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าสิ่งใด

:b4: "ในขณะนั้น ความต้องการลาภ ยส สรรเสริญ และเงินทองต่าง ๆ เกิดขึ้นในใจของเจ้าบ้างไหม?" อาจารย์ถามต่อ

:b1: "ไม่มีเลยครับ ผมต้องการเพียงอากาศให้สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปก็เพียงพอแล้ว ไม่ได้คิดเรื่องอื่นเลยครับ"

:b4: "เธอได้ข้อคิดอะไรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น?"

:b1: ลูกศิษย์มองมาที่อาจารย์ของตน เขาใช้เวลาครุ่นคิดอยู่สักครู่หนึ่งแล้วจึงตอบอาจารย์ว่า

:b4: "แท้จริงแล้ว ชีวิตของคนเราช่างสั้นนัก ลมหายใจเข้าและออกแต่ละขณะนั่นแหละ คือสิ่งที่หล่อเลี้ยงชีวิตของเราให้อยู่ได้ หากเราไม่รู้จักใช้เวลาที่หายไปในแต่ละขณะอย่างรู้คุณค่า แม้จะมีชีวิตอยู่อย่างยาวนาน ก็ไม่มีประโยชน์อะไรต่อการมีชีวิตอยู่ครับ"

:b1: เมื่ออาจารย์ได้ฟังคำตอบของลูกศิษย์แล้ว ก็หันหน้ามาทางบรรดาลูกศิษย์ที่มาด้วยกัน พร้อมกับกล่าวให้ข้อคิดแก่พวกเขาว่า

:b5: "หากพวกเจ้าต้องการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า และมีชีวิตอยู่อย่างควรค่าต่อการชื่นชม ขอให้มองเห็นความสำคัญของเวลาที่เสียไปแต่ละขณะ เหมือนดั่งคนเราที่ต้องการอากาศหายใจตอนที่ถูกกดศีรษะในน้ำ เพราะแต่ละขณะของเวลาที่เสียไป ก็เหมือนกับการสูญหายไปของทุกสิ่งในชีวิตเรา ไม่ว่าจะเป็นร่างกายที่เสื่อมโทรมเมื่อใช้งานมานาน จิตใจที่ไร้ความเบิกบาน เพราะไม่มีการเรียนรู้อย่างผู้มีสติ แต่เมื่อใดที่เราเห็นคุณค่าของทุกขณะของเวลา เราจะรู้จักใช้ชีวิตอย่างรู้คุณค่าสทุกเสี้ยงงินาที เมื่อเป็นเช่นนี้ เราย่อมรู้จักคิด พูด แลทำแต่สิ่งที่นำไปสู่ความเจริญ และที่เป็นไปเพื่อให้เกิดความสุขที่งดงามต่อชีวิตฝ่ายเดียว"

:b44: *** ข้อคิด ***

:b19: หากคิดที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข และมีเกียรติที่ถูกประดับไปด้วยความดีงาม สิ่งสำคัญที่เราควรตระหนักรู้อยู่เสมอก็คือ "ความไม่ประมาทในการมีชีวิตอยู่" เพราะเมื่อไม่ประมาทในการใช้ชีวิต เราจะรู้จักสร้างสิ่งดี ๆ ให้เกิดขึ้นอย่างผู้รู้คุณค่าของตัวเอง ไม่ว่าจะคิด พูด หรือทำอะไรในแต่ละครั้ง ย่อมมีความดีงามคอยเดินทอดเงาไปกับเราเสมอ และจะเป็นเครื่องป้องกันความทุกข์ให้ถอยห่างจากตัวเราตลอดไป

:b41: เมื่อใดที่เราไม่ประมาท เท่ากับว่าเราได้เตรียมพร้อมที่จะเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องราวที่เกิดขึ้นอย่างผู้ใส่ใจทุกสิ่งที่เกิดขึ้นจึงมีความหมายให้เราได้ค้นหา แต่เมื่อใดที่ใช้ชีวิตด้วยความประมาท เพราะหลงเพลินกับสิ่งที่เข้ามาหลอกลวงเรา นั่นคือการเดินทางไปสู่หุบเหวแห่งความทุกข์ ที่มีแต่เราเท่านั้นต้องคอยรับความเจ็บปวดที่จะตามมา


ขอบคุณที่มา :: หนังสือนิทานธรรมะ ตอน สอนใจให้เป็นสุข โดย พระมหาวีระพันธ์ ชุติปัญโญ

:b44: ♡(✿◠‿◠✿)♡ กราบอนุโมทนาบุญกับกัลยาณมิตรและกัลยาณธรรมทุกท่าน ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป ธรรมรักษา เทวดาคุ้มครองนะเจ้าค่ะ :b8: :b8: :b8: :b20: ♡(✿◠‿◠✿)♡

เจ้าของ:  sirinpho [ 02 มี.ค. 2013, 11:52 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: นิทานธรรมะ :: อยู่อย่างรู้คุณค่า (พระมหาวีระพันธ์ ชุติปั

:b8: ขอบคุณสำหรับนิทานธรรมบทนี้คะ :b4:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/