วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 02:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2013, 23:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




หลักคุณธรรม.gif
หลักคุณธรรม.gif [ 52.4 KiB | เปิดดู 3785 ครั้ง ]
:b20: นิทานสอนใจ :: ผู้บริหาร :b20:

:b6: มีเรื่องเล่าอยู่เรื่องหนึ่ง กาลครั้งหนึ่งมีกษัตริย์อยู่ที่เมืองหนึ่ง เป็นกษัตริย์ที่เอาใจใส่พสกนิกรดีมาก มักจะปลอมตัวเป็นคนธรรมดาไปตรวจดูทุกข์สุขอยู่ตลอดสม่ำเสมอ คราหนึ่งปลอมตัวไปตรวจดูบ้านเมืองว่าอยู่กันเป็นสุขดีไหม ไปถึงที่ตำบลแห่งหนึ่ง มีบ้านหลังใหญ่หลังหนึ่งเป็นบ้านร้างไม่มีคนอยู่เลย นึกแปลกใจว่าบ้านหลังใหญ่โต ทำไมปล่อยให้หยากไย่ ฝุ่นจับเปรอะ ไม่มีคนดูแลเลย จึงถามชาวบ้านแถวนั้นว่าทำไม เขาก็บอกว่าไม่มีใครกล้าอยู่ เพราะอุบาศว์ลง อยู่แล้วแย่ พระราชาชักงงเลยกลับมาถึงวัง นั่งคิดนอนคิดว่าอุบาศว์เป็นอย่างไร คิดไม่ออก เช้าขึ้นมาประชุมราชการเสนาอำมาตย์พร้อมหน้าก็ไล่ถามจากมหาอำมาตย์ลงไปอัครเสนาบดี ไล่ลงไปเรื่อยว่าตัวอุบาศว์เป็นอย่างไร ถามไล่ทีละคนก็ไม่มีคนรู้จักเลย พระราชาเกิดขัตติยมานะอยากจะรู้ให้ได้ว่าอุบาศว์เป็นอย่างไร จึงชี้ไปทางเสนาคนหนึ่งแล้วบอกว่า หามาให้ได้ว่าอุบาศว์เป็นอย่างไร หามาให้ได้ภายใน 7 วัน หาไม่ได้จะตัดคอ

:b5: :b5: :b5:

:b19: เสนาเที่ยวถามทั่วบ้านทั่วเมืองว่าอุบาศว์เป็นอย่างไร ก็ไม่มีใครรู้ ผ่านไปได้ 6 วันก็ไม่ได้คำตอบ ก็นึกว่าคราวนี้ข้าพเจ้าต้องตายแน่นอน ถ้าถูกประหารตายในเมืองก็อับอายเขา ขอไปตายในป่าหิมพานต์เพื่อไม่ให้ใครเห็น จึงเลยเดินเข้าป่า ไปถึงกลางป่าได้พบฤๅษีตนหนึ่งพักอยู่ที่บรรณศาลา เห็นเขาเดินหน้าหมองมา ฤๅษีถามว่าเป็นอะไรมา เขาบอกว่ามาหาตัวอุบาศว์แต่หาไม่เจอ คงถูกพระราชาประหารแน่ เลยมาหาที่ตายกลางป่า ฤๅษีก็หัวเราะและบอกว่า หาตัวอุบาศว์ไม่ยาก ไปตัดกระบอกไม้ไผ่มา เสนาก็ไปตัดไม้ไผ่มาลำหนึ่ง เปิดฝาไว้ข้างหนึ่ง ฤๅษีมาถึง ก็หายไปในบรรณศาลา เอาชานหมากที่เคี้ยวใส่ลงไปกระบอกไม้ไผ่แล้วปิดไว้ กระบอกไม้ก็ลึกพอสมควร ชานหมากที่เคี้ยวแล้วคายใส่ลงไปแล้วปิดฝาไว้ เอาตัวอุบาศว์ใส่ลงไปแล้วให้ระวังให้ดี เวลาเปิดฝาให้ค่อย ๆ แง้มดู แต่ห้ามเท ถ้าเท เดี๋ยวตัวอุบาศว์ เสนาก็รับคำอย่างแข็งขัน ทำหน้าชื่นมา คิดว่ารอดตายแล้วคราวนี้ กลับเข้าเมืองไปเข้าเฝ้าเช้าวันที่ 7 พอดี บอกว่า พระพุทธเจ้าข้าได้มาแล้ว ตัวอุบาศว์อยู่นี่เอง แต่ให้ระวัง อย่ารีบเปิดและอย่าเท เดี๋ยวมันจะหนี กว่าจะหาได้ เลือดตาแทบกระเด็น พระราชาดีใจที่ได้เห็นตัวอุบาศว์ รับมาถึงแง้มดู กระบอกไม้ไผ่ลึกพอสมควร แสงเข้าไม่ถึงก้น เห็นพอรำไร ก็คอยเล็ง ไม่กล้าเท กลัวมันหนี พระราชาก็ว่าคล้ายกบ ให้มหาอำมาตย์มาว่าเหมือนอะไร มหาอำมาตย์มาเล็งดู ก็บอกว่าพระพุทธเจ้าข้าว่าเหมือนอึ่งอ่าง ส่งต่อเสนาอำมาตย์รอง ๆ ลงไป ข้าพเจ้าว่าเหมือนจิ้งจก เหมือนคางคก ว่าไปเรื่อย พักเดียวดูกันทั่วท้องพระโรง เสียงเถียงกันขรม ทะเลาะกันในวัง ไม่ว่าผู้ใหญ่ผู้น้อยเลิกคิดกัน จะตุ้ยกันท่าเดียว หน่อยเป็นผู้น้อยเพิ่งเป็นอมาตย์ได้ไม่กี่วันเถียงผู้ใหญ่หรือนี่ ข้าว่าเหมือนอึ่งอ่างเอ็งมาว่าเหมือนจิ้งจกได้อย่างไร ผู้น้อยก็ว่าผู้ใหญ่ตาฝ้าฟางดูไม่ชัด ต้องเชื่อข้าพเจ้ายังหนุ่มยังแน่น เห็นชัดกว่า ทะเลาะกันให้อุตลุดวุ่นวายไปหมด พระราชาเห็นท่าไม่ดี ขืนเอาเจ้าตัวอุบาศว์อยู่ต่อไป ท้องพระโรงท่าจะแตกแน่ คิดว่ามันจะหนีก็เป็นหนี เทมันเลยอย่าเก็บไว้เลย พอเทออกมา เห็นว่าที่แท้เป็นชานหมากนี่เอง ทะเลาะกันเกือบตาย แท้จริงแล้วเจ้าตัวอุบาศว์ก็คือ ความรั้นในตัว ความถือรั้น ไม่ยอมกัน คือ ตัวอุบาศว์ ที่ต้องทำให้ทะเลาะเบาะแว้งกัน มีเรื่องมีราว เพราะความถือรั้น หรือสามีภรรยาที่คบกันนาน 5-6 ปีกว่าจะแต่งงาน แล้วไม่เท่าไร ก็ทะเลาะกัน หย่าร้างกันไป เพราะความถือรั้นนี่เอง เพื่อนฝูงคบกันมานานแสนนาน ทะเลาะกัน แตกหักกันไปก็เพราะความถือรั้น ไม่ยอมกัน บางทีรู้ทั้งรู้ว่าเราผิด แต่ไม่ยอมรับผิด กลัวเสียหน้า เสียเหลี่ยม จะไว้เหลี่ยม ซึ่งมีดีตรงไหนก็ไม่รู้ กลัวเสียเหลี่ยมเลยยอมทะเลาะกันและยอมมีความทุกข์อยู่อย่างนั้น ก็เพราะความถือรั้น นี่คือตัวอุบาศว์ของแท้

:b8: :b8: :b8:

ดังนั้น เราต้องเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีมิตรภาพกับทุก ๆ คน ต้องเอาความถือรั้นนี้ให้ออกไปจากใจของเรา เมื่อไรผิดก็ยอมรับ รู้จักแกล้งโง่เสียบ้าง อย่าเป็นคนฉลาดเสียทุกเรื่อง เขาพูดอะไร เรารู้หมด ดีหมด เก่งหมดทุกเรื่อง อะไรเราไม่ยอมใครสักอย่าง ฉันเก่ง ฉันแน่ อย่างนี้อยู่กับใครก็ไม่ยืดเป็นแน่ แต่ถ้าเกิดแกล้งโง่เป็นบ้าง เขาอยู่ในอารมณ์ที่อยากแสดงสิ่งนั้นเราก็แกล้งโง่ฟัง ตั้งอกตั้งใจฟังบ้าง ไม่ได้เสียอะไร แล้วเราจะเป็นที่รักของทุกคน คนเราฉลาดทุกเรื่องไม่ได้ ต้องแกล้งโง่เป็น จะมีความสุข มองตัว รู้จักตัวเอง วางตัวสมฐานะบทบาท

คนไหนมองคนอื่นไม่ออก นับว่าเป็นคนมืดมัว ส่วนคนไหนที่มองตัวเองไม่ออก จัดว่าเป็นคนมืดมิดเพราะหนักยิ่งกว่าดูคนอื่นไม่ออกเสียอีก ต้องมองตัวเองให้ออก วางตัวให้สม และดูเขาให้ออก วางตัวให้สมกับจริตอัชฌาสัยของเขา เข้าอกเข้าใจเขา ไม่มีความอวดดื้อถือดี ไม่ถือรั้น ไม่มีทิฏฐิมานะ ยอมเขาบ้าง ก็จะมีความสุข อยู่ที่ไหนก็เป็นที่รักของที่นั้น เข้าที่ไหน เบิกบานที่นั่น เป็นแก้วประสาน เข้าไปคนหนึ่งเชื่อมทุกคนเข้ามาหากันได้อย่างดี เป็นคนสมานใจ เป็นคนที่มีคุณค่ามากในทุก ๆ วงการ ทุกแห่งต้องการคนอย่างนี้ เพราะเป็นคนที่ประสานใจคนได้ รวมใจคนได้ เป็นคนที่มีคุณค่ามากในตัว ท่านบอกว่าสุดยอดของการทำงานคือการประสานงาน คนไหนประสานงานได้ ประสานใจได้ คือ สุดยอดนักทำงาน นักบริหาร ระดับสูง ๆ จริง ๆ แล้วไม่ได้ทำอะไรมาก แต่ทำหน้าที่เพียงแค่รวมใจคน รวมใจลูกน้อง รวมใจทีมให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างเข้าขากัน อย่างแน่นแฟ้นเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน นั่นแหละคือหัวหน้า หน้าที่ของหัวหน้าคนรวมใจคนเท่านั้นเอง ดังนั้น คนไหนประสานใจคนได้รวมใจคนได้ เขาคือคนที่มีคุณสมบัติน่าสรรเสริญน่ายกย่อง เป็นคนที่จะนำความสุขและนำความเจริญมาสู่หมู่คณะ เราเองก็ต้องฝึกให้ได้อย่างนั้นเหมือนกัน


:b8: :b8: :b8:

:b20: ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา ตั้งใจฝึกคู่กันไปให้ดี ทั้ง 4 ประการจะง่ายขึ้น จะปรับปรุงแก้ไขได้อย่างดี ต้องแก้ไขที่ใจหยุด รถเราจะยกเครื่อง จะซ่อมแซม นอตไม่แข็งแรง ล้อตั้งศูนย์เครื่องไม่ค่อยดี จะซ่อมรถที่กำลังวิ่งอยู่ ก็ซ่อมไม่ได้เพราะไม่ถนัด จะซ่อมก็ต้องจอดเสียก่อนให้รถมันหยุด จะยกขึ้น จะดูข้างบนข้างล่าง จะซ่อมแซมอย่างไรก็ทำได้เต็มที่ เช่นเดียวกัน เราจะซ่อมแซมปรับปรุงแก้ไขนิสัยอัชฌาสัยของเรา สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย จะแก้ไขได้ต้องตอนที่ใจหยุด ถ้าใจยังไม่หยุด ก็เห็นไม่ชัด ดูไม่ตลอด จะปรับปรุงแก้ไข ก็เบลอ ๆ ใจหยุดแล้วจะเห็นทั้งข้อดีข้อเสียของเราได้อย่างชัดเจนขึ้น จะปรับปรุง จะแก้ไข ก็ทำได้ง่ายขึ้น ดีขึ้น ดังนั้น ต้องทำใจหยุด ต้องอาศัยการทำสมาธิภาวนา พอทำสมาธิภาวนา พอใจหยุดแล้วใจก็ตกตะกอนที่ให้ใจเราขุ่น เทียบกับฝุ่นต่าง ๆ ที่เป็นตะกอนให้น้ำขุ่น พอเริ่มตกตะกอนลงไป น้ำก็ใสกระจ่าง เหมือนใจเราที่ใสกระจ่าง ทำให้เห็นสิ่งต่าง ๆ อย่างชัดเจน การแก้อะไรก็ต้องพยายามย้อนมาแก้ที่ตัวเราเอง จะง่ายกว่าแก้ที่คนอื่น เพราะเราบังคับเขาไม่ได้ แต่เราสามารถฝึกตัวเราเองได้

ขอบคุณที่มา :: Oknation

:b44: ♡(✿◠‿◠✿)♡ กราบอนุโมทนาบุญกับกัลยาณมิตรและกัลยาณธรรมทุกท่าน ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป ธรรมรักษา เทวดาคุ้มครองนะเจ้าค่ะ ♡(✿◠‿◠✿)♡ :b8: :b8: :b8: :b20:

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2015, 09:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2008, 09:20
โพสต์: 349


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาค่ะ :b8: ได้รับประโยชน์มากค่ะ :b45:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 31 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร