วันเวลาปัจจุบัน 12 ต.ค. 2024, 16:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2013, 22:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




อดีต.jpg
อดีต.jpg [ 19.84 KiB | เปิดดู 6610 ครั้ง ]
:b20: ความผิดพลาดเป็นบทเรียนสำคัญ :b20:

พ่อ : ไหน พ่อขอดูสมุดพกหน่อยซิ (น้ำเสียงตื่นเต้น)

เก่ง : คะแนนยังไม่ดีเลยพ่อ (เสียงพลิกสมุดพก)

พ่อ : ใครบอกล่ะ ดีกว่าเทอมที่แล้วตั้งเยอะ พ่อเห็นสองตั้งหลายตัว ไม่เห็นศูนย์ซักกะตัว

เก่ง : เทอมที่แล้วผมสอบตก เพราะหนีเรียนไปเล่นเกม ทำไมพ่อกับแม่ไม่ว่าผมเลย ไม่โกรธเหรอครับ?

พ่อ : พ่อกับแม่เสียใจมากกว่า มัวแต่ทำงานหาเงินเยอะๆ ไม่มีเวลาให้ลูก ทิ้งให้เหงาจนต้องไปติดเกม แล้วสอบตก (เสียงเศร้า)

เก่ง : พ่อรู้ไหม ตอนพ่อพูดว่า คนเราผิดพลาดได้ทั้งนั้น เป็นบทเรียนให้เราไม่ทำผิดซ้ำอีก แล้วแม่ก็เข้ามากอด ไม่ด่า ตีหรือบ่นที่ผมสอบตก ผมรู้สึกอบอุ่น แล้วก็รักพ่อกับแม่มากเลยครับ

พ่อ : พ่อรู้ว่าลูกก็เสียใจมากกับเรื่องที่เกิดขึ้น เก่งสอบตกก็เป็นเรื่องดีนะ

เก่ง : อ้าว! ไหงเป็นงั้นล่ะพ่อ!?!

พ่อ : มันทำให้ได้คิดว่าที่ผ่านมา พ่อกับแม่ผิดพลาดกันแค่ไหน แล้วเราสามคนก็ช่วยกันเอาความสุขของครอบครัวกลับมาไง

เมื่อลูกทำผิดพลาดร้ายแรงพ่อแม่อย่าเพิ่งชี้ผิดไปที่ลูกแต่ฝ่ายเดียว แต่ควรย้อนมองด้วยว่า เรามีส่วนในปัญหานั้นหรือไม่ การยอมรับข้อผิดพลาดและเผชิญกับปัญหาโดยไม่หลบหนี จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา สำคัญคือความรักและกำลังใจจากคนในครอบครัวจะช่วยเปลี่ยนปัญหาที่ติดลบให้กลับเป็นบวกได้ค่ะ

:b2: ขอบคุณความผิดพลาด :b2:

เมื่อลูกทำผิดพลาดร้ายแรง พ่อแม่อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าเป็นความผิดของลูกแต่ฝ่ายเดียว การเพ่งโทษมองแต่พฤติกรรมที่ไม่ดีของลูก ซ้ำเติมด้วยความคิดและอารมณ์ลบๆ จะยิ่งขยายปัญหาให้บานปลายและรุนแรงมากขึ้นไปอีก วางคำตำหนิติเตียนทั้งหมดลง ไม่เริ่มต้นกล่าวโทษอีกฝ่ายก่อน แต่พร้อมเปิดใจรับฟัง จะทำให้ลูกกล้าเปิดเผยถึงสาเหตุของปัญหาและนำไปสู่การแก้ไขร่วมกันได้ในที่สุด ทักษะสำคัญที่พ่อแม่ควรใช้ในการรับฟังปัญหาของลูกคือ

• ฟังลูกให้ได้ยิน

คือฟังอย่างตั้งใจว่า ลูกคิดหรือรู้สึกอย่างไร รอลูกพูดให้จบเสียก่อน ไม่พูดขัดหรือพูดดักคอลูก ไม่ตัดสินความคิดลูกว่าถูกหรือผิด ดีหรือเลว

• เข้าใจความรู้สึกของลูกมากกว่ามุ่งสั่งสอน

การให้ลูกรู้ว่า พ่อแม่เข้าใจความรู้สึกและความทุกข์ของเขาแทนการมุ่งสั่งสอน จะช่วยให้เด็กรู้สึกอบอุ่นและยินดีบอกเล่าถึงปัญหาและให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา

• สอนให้มองมุมบวก

แนะให้มองความผิดพลาดเป็นบทเรียนที่จะไม่พลาดซ้ำ และขอบคุณต่อปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้เราเรียนรู้สิ่งที่ถูกต้อง อย่าจมอยู่กับทุกข์และการเพ่งโทษซึ่งทำให้เสียเวลา รีบแก้ไขและดึงความสุขของครอบครัวกลับมาดีกว่า

:b35: ควรทำ :b35:

• เมื่อเกิดปัญหาให้มองรอบด้าน ไตร่ตรองหาสาเหตุและแก้ที่สาเหตุทุกๆ ด้าน เช่น ปัญหาที่ตัวเด็ก ปัญหาที่พ่อแม่ ปัญหาที่เพื่อน หรือปัญหาของสภาพแวดล้อม จะช่วยให้การแก้ปัญหาทำได้ผล

• การยอมรับปัญหา มองปัญหาในแง่ดี จะช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้ ช่วยทำให้ได้ไตร่ตรองหาสาเหตุ เรียนรู้ข้อผิดพลาดและแก้ไข จะช่วยทำให้ปัญหาลดน้อยลง

• สัมพันธภาพที่ดี จะช่วยทำให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้ามาร่วมมือกัน สามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ได้ด้วยความรัก ความเข้าใจ

• การเผชิญหน้ากับความผิดพลาด ต้องใช้ความกล้าหาญ และเด็กยังต้องการกำลังใจ พ่อแม่ควรชื่นชมกับสิ่งที่เด็กทำ และทำให้เด็กรู้ว่า คุณเข้าใจความรู้สึกของลูก

• ระยะแรกในการฝึกฝนแก้ปัญหา เด็กมักคิดผิดมากกว่าคิดถูก เด็กมักแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่ผิดมากกว่าจะใช้วิธีการที่ถูก ความใกล้ชิดช่วยเด็กให้หัดคิดวิธีการแก้ปัญหาหลายๆ ทาง และให้คิดถึงผลที่จะตามมา จะช่วยให้เด็กทำได้ดีขึ้น ทำได้เก่งขึ้น

• ยิ่งแก้ปัญหาได้หลายอย่าง จะทำให้มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาที่ซับซ้อนง่ายขึ้น เป็นทักษะที่ควรฝึกฝนเด็กมาตั้งแต่เล็ก โดยการปล่อยให้เด็กหัดทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง และเมื่อพบกับปัญหาก็ปล่อยให้เด็กหัดคิดแก้ปัญหา

:b19: ไม่ควรทำ :b19:

• การปฏิเสธปัญหา หรือมองปัญหาในแง่ไม่ดี หรือกล่าวโทษว่าคนใดคนหนึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดปัญหา

นอกจากไม่ช่วยแก้ปัญหาแล้ว ยังทำให้เสียสัมพันธภาพเสียกำลังใจและที่สำคัญ คือ ปัญหายังคงอยู่ต่อไป


ขอบคุณที่มา :: http://men.postjung.com/674001.html

จัดทำข้อมูลโดย : แผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิตเพื่อสุขภาวะสังคมไทย
สนับสนุนโดย : สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ที่มา : ธรรมลีลา (จากนิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 140 สิงหาคม 2555 โดย แผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิตเพื่อสุขภาวะสังคมไทย)


:b44: (♡✿◕‿◕✿♡) กราบอนุโมทนาบุญกับท่านผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่าน บุญรักษา ธรรมคุ้มครอง ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปนะเจ้าค่ะ (♡✿◕‿◕✿♡) :b8: :b8: :b8: :b20:

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2018, 10:58 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2885


 ข้อมูลส่วนตัว


หากนำข้อคิดเอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน ชีวิตเป็นสุขขึ้นแน่นอนเลยค่ะ cool
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2019, 10:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2022, 13:38 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2885


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร