วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2016, 06:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๖. เรื่องคําตอบจากคําเดียว

ครั้งหนึ่ง ท้าวสักกะนําคณะมาฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงแสดง
พระธรรมเทศนาแล้ว ทรงให้โอกาสท้าวสักกะและคณะได้ทูลถามปัญหา
ท้าวสักกะมีปัญหาที่สงสัยหลายข้อและประสงค์จะทูลถามในคราวเดียว จึงกราบทูลถามวา ่
“การให้อะไรเป็นการให้ที่ดีที่สุด” “รสอะไรเป็นรสที่ดีที่สุด” “ความยินดีอะไรเป็นความยินดีที่สุด”
“อะไรเป็นเครื่องดับกิเลสและดับทุกข์ได้ในที่สุด”

พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “คําถามทั้งสี่ข้อนี้ มีคําตอบรวมอยูในคําเดียวคือ ธรรม ่ ”
ท้าวสักกะยิ่งสงสัยมากขึ้น จึงกราบทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงอธิบาย
พระพุทธเจ้าทรงอธิบายว่า “การให้วัตถุเป็นทาน แม้เป็นการกระทําที่ดีงามเป็นประโยชน์
เกื้อกูลกันและเป็นพื้นฐานอันดียิ่งของการอยู่ร่วมกันโดยทั่วไป แต่ก็ยังประโยชน์แก่กันได้จํากัด

ไม่สามารถทําให้ผู้รับล่วงพ้นจากทุกข์ที่แท้จริงได้ ส่วนการให้ธรรมเป็นทานเป็นสุดยอดของการให้
เพราะธรรมเป็นของดีงามถ่ายเดียวที่จริงที่แท้และที่ประเสริฐที่สุด ผู้ได้ฟังธรรมนั้น บ้างก็ได้ฟังสิ่ง
ที่ไม่เคยฟังมาก่อน บ้างที่เคยฟังแล้วแต่ไม่เข้าใจก็ได้เข้าใจมากขึ้น บ้างที่เคยฟังพอเข้าใจแล้ว
แต่ลืมเลือนไปก็จักเกิดสติระลึกได้อันจักทําให้เกิดปัญญามองเห็นทางที่ถูกต้อง และเมื่อเกิดปัญญา
มองเห็นทางที่ถูกต้องแล้วก็จักสามารถนําตนให้รู้แจ้งถึงที่สุดแห่งทุกข์และล่วงพ้นจากทุกข์นั้นได้

การให้ธรรมเป็นทานจึงเป็นการให้ที่ก่อเกิดประโยชน์อย่างอเนกอนันต์ ตถาคตจึงกล่าวว่า
การให้ธรรมเป็นการให้ที่ดีที่สุด” “รสทั้งหลายทั้งปวงในโลกธาตุนี้อันมีกามคุณรวมอยู่นั้น
แม้อาจให้ความอิ่มเอมบ้าง ความบันเทิงเริงรมย์บ้าง แต่ก็เป็นเพียงความสุขสมชั่วคราว
เป็นมายาที่ล่วงล่อให้คนทั้งปวง

คอยลุ่มหลงและติดยึด อีกทั้งเป็นดังเปลือกนอกที่ฉาบสิ่งสวยงามไว้แต่เนื้อในเป็นพิษที่ทําความ
แสบร้อนสลับไปมาให้ผู้รับรสนั้นวนเวียนอยู่ในกงเกวียนแห่งความทุกข์แต่รสแห่งธรรมทําให้
ผู้รับรสนั้นได้มองเห็นความจริง ปล่อยวางจากความลุ่มหลงติดยึด เหตุแห่งความทุกข์ที่แท้จริง
ก็จักดับไป ผู้รับรสแห่งธรรมย่อมล่วงพ้นจากทุกข์นั้นได้ในที่สุ ด ตถาคตจึงกล่าวว่า
รสธรรม เป็นรสที่ดีที่สุด”

“ความยินดีทั้งหลาย อันได้แก่ ความยินดีในรูปรสกลิ่นเสียง หรือในลาภสรรเสริญสุขใดๆ
อันประกอบด้วยกามคุณนั้น ล้วนเป็นความยินดีในสิ่งที่เกิดขึ้นและตั้งอยูเพียงชั่วคราว แต่มิช้านาน
สิ่งนั้นก็จักต้องเสื่อมลงไม่มีทางจะดํารงอยู่ตลอดไปได้ อีกทั้งเมื่อเป็ นสิ่งที่เป็นของคู่ คือ
มีรูปรส กลิ่นเสียงที่ก่อความยินดี ก็จักมีรูปรสกลิ่นเสียงที่ก่อความเดือดร้อนรําคาญ มีลาภ
สรรเสริญและสุขที่ก่อความยินดี ก็จักมีเคราะห์ นินทาและทุกข์แฝงอยู่ภายในที่ก่อความโศกเศร้า
ปวดร้าวใจ

แต่ความยินดีในธรรมเป็นความยินดีในการมองเห็นความจริงอยางที่สุดว่าทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นเพียง
ของชั่วคราว ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมลงและดับไป หาควรติดยึดลุ่มหลงไม่ความอยากได้ใคร่เป็นที่พา
ใจให้ติดยึดลุ่มหลงก็เป็นของชั่คราวเช่นกัน เมื่อมองเห็นธรรมชัดแจ้งแล้ว ความอยากได้ใคร่เป็น
และความติดยึดลุ่มหลงก็จักดับไปเอง ความยินดีที่ได้มองเห็นธรรมนั้นจึงเป็ นสิ่งประเสริฐที่สุด
ตถาคตจึงกล่าวว่า ความยินดีในธรรมเป็นความยินดีที่สุด”

“ทางใดๆ ก็ตามนอกเหนือจากธรรมแล้ว ไม่อาจเป็นเครื่องดับกิเลสและดับทุกข์ได้
อย่างแท้จริง ความสุดโต่งในสองทาง อันได้แก่ การหลงระเริงเสพกาม คุณทางหนึ่ง
กับการครํ่าเครียดทรมานกายตนอีกทางหนึ่ง เป็นการดําเนินไปอย่างหลงทาง การหลงระเริง
เสพกามคุณมีแต่จักทําให้ลุ่มหลงมัวเมาในกามคุณนั้นอย่างถลําลึกมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ กิเลสก็พอกพูน
มากขึ้น ความโหยหาในกามคุณนั้นก็ทวีมากยิ่งขึ้นไม่อาจอิ่มจริงแท้ไปได้ และเมื่อไม่ได้รับรสแห่ง
กามคุณที่ตนหลงใหลอย่างหนักหน่วงมาตอบสนอง ก็จักยิ่งโหยหาและจมดิ่งอยู่ในกองทุกข์

ส่วนการครํ่าเครียดทรมานกายตนก็มีแต่จักทําให้ตายไปเปล่าอย่างโง่เขลาและหลงผิด โมหะคือ
ความหลงผิดติดยึดในตัวตนของตนว่าเหนือกว่าผู้อื่นนั้นก็จักยิ่งพอกพูนและชักนําให้เห็นผิดมาก
ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ทางแห่งธรรมไม่ใช่ทั้งสองทางดังกล่าว หากแต่เป็นทางสายกลาง อันเป็นการเห็น
รู้และปฏิบัติในทางที่ถูกต้องสมควร เมื่อดําเนินในทางแห่งธรรมอย่างมันคงแล้วย่อมสามารถดับ
กิเลสและดับทุกข์ได้ในที่สุด ตถาคตจึงกล่าวว่า ธรรมเป็นเครื่องดับกิเลสและดับทุกข์ได้ในที่สุด”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2016, 06:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๗. เรื่องคําสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับการให้ทาน

มีหลายครั้งที่มีผู้กล่าวตู่คําสอนของพระพุทธเจ้าวาทรงสอนอย่างนั้นอยางนี้โดยไม่ตรงกับ
คําสอนอันแท้จริงของพระพุทธเจ้า ซึ่งเมื่อมีโอกาสอันควรหรือเมื่อมีผู้ทูลถาม พระพุทธเจ้าก็จะทรง
ชี้แจงให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังเช่น

ครั้งหนึ่ง นักบวชคนหนึ่งชื่อ “วัจฉะ” ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าเคย
ได้ยินได้ฟังมาว่า พระสมณโคดมได้กล่าวแล้วว่า ‘ใครๆ พึงทําทานแก่เราเท่านั้น ไม่ควรทําทานแก่
คนพวกอื่น ใครๆ พึงทําทานแก่สาวกทั้งหลายของเราเท่านั้น ไม่ควรทําทานแก่สาวกของคนพวกอื่น
ทานที่ทําแก่เรามีผลมาก ทานที่ทําแก่คนพวกอื่นนั้นไร้ผล ทานที่ทําแก่สาวกของเรามีผลมาก ทานที่
ทําแก่สาวกของคนพวกอื่นนั้นไร้ผล’ ใครๆ ที่กล่าวเช่นนี้ ชื่อว่ากล่าวตรงตามที่พระโคดมกล่าวหรือไม่”

พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “ผู้ใดกล่าวว่าเรากล่าวเช่นนั้น ไม่ชื่อว่ากล่าวตรงตามที่เรากล่าว
หากแต่เขาได้กล่าวตู่เราด้วยเรื่องที่ไม่เป็นความจริง ผู้ใดห้ามผู้อื่นให้ทาน ผู้นั้นชื่อวาเป็นอมิตร ่
ซึ่งทําอันตรายสามสิ่ง กล่าวคือ ทําอันตรายต่อบุญของผู้ประสงค์จะให้ทาน ทําอันตรายต่อลาภ
ของผู้จะรับทาน และทําอันตรายต่อโอกาสของตนเองที่จะได้อนุโมทนาบุญของผู้อื่นนั้น”

แล้วทรงอธิบายความว่า “ดูก่อน วัจฉะ เราย่อมกล่าวดังนี้ว่า ‘ผู้ใดแม้เพียงเทนํ้าล้างชาม
โดยประสงค์จะสงเคราะห์ให้สัตว์ได้อาศัยเลี้ยงชีวิต ก็ยังได้ชื่อว่าให้ทานอันเป็นบุญอย่างหนึ่ง
ของผู้นั้นแล้ว มิพักต้องกล่าวว่าการให้ทานแก่เพื่อนมนุษย์จะมีผลมากยิ่งกว่านั้นเพียงใด’

อีกประการหนึ่ง เรากล่าวว่า ‘ทานที่ให้แก่ผู้มีศีลเป็นทานที่มีผลมาก ส่วนทานที่ให้แก่ผู้ทุศีลเป็นทาน
ที่มีผลน้อย ทานที่ให้แก่ผู้มีศีลที่ละได้ซึ่งองค์ห้า อันได้แก่ ละกามฉันทะ ละความอาฆาตพยาบาท
ละความฟุ้งซ่านรําคาญใจ ละความเซื่องซึม ละความลังเลสงสัย และประกอบด้วยองค์ห้า อันได้แก่
ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัศนะ ยอมเป็นทานที่มีผลมากอย่างยิ่ง่ ’ ดังนี้”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2016, 06:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๘. เรื่องวิธีการจัดการทรัพย์ให้เกิดประโยชน์เกื้อกูลยิ่ง

วันหนึ่ง สตรีในราชสํานักรวม ๕๐๐ คน ได้ฟังธรรมที่พระอานนท์แสดงแล้วเกิดความ
เลื่อมใส ต่างก็ขอถวายผ้าผืนใหม่เนื้อดีคนละผืนรวมเป็ นจํานวนทั้งสิ้น ๕๐๐ ผืนแด่พระอานนท์
พระเจ้าอุเทนทรงทราบแล้วก็เพ่งโทษและโพนทะนาว่า “พระอานนท์เป็นสมณะ รับผ้ามากมาย
เช่นนั้น จะไปเปิดร้านขายผ้าหรือ” ตรัสแล้วก็เสด็จไปหาพระอานนท์ยังพระอาราม และตรัสถาม
พระอานนท์ว่า“พระอาจารย์จะทําอยางไรกับผ้าผืนใหม จํานวน ๕๐๐ ผืนนี้”

พระอานนท์อธิบายว่า “อาตมาจะแบ่งผ้าออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนหนึ่ง อาตมาจะเก็บไว้
เพื่อเป็นประโยชน์แก่คณะสงฆ์ซึ่งจะได้ใช้ในยามจําเป็น อีกส่วนหนึ่งจะถวายแด่พระภิกษุ
ผู้มีจีวรเก่าซึ่งได้เวลาอันควรที่จะมีจีวรใหม่ในปัจจุบัน”พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า
“แล้วจีวรเก่าเหล่านั้น พระอาจารย์จะจัดการอยางไร ่ ”
พระอานนท์ตอบวา ่ “อาตมาจะขอนําเอาจีวรเก่าเหล่านั้นมาจัดทําเป็นผ้าปูที่นอนผืนใหม่”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามต่อไปว่า “แล้วผ้าปูที่นอนผืนเก่า พระอาจารย์จะจัดการอยางไร ่ ”

พระอานนท์ตอบว่า “อาตมาจะขอนําเอาผ้าปูที่นอนผืนเก่ามาจัดทําเป็นผ้าปูพื้นผืนใหม่”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามอีกว่า “ถ้าเช่นนั้น ผ้าปูพื้นผืนเก่า พระอาจารย์จะจัดการอยางไร ่ ”
พระอานนท์ตอบว่า“อาตมาจะขอนําเอาผ้าปูพื้นผืนเก่ามาจัดทําเป็นผ้าเช็ดเท้าผืนใหม่”
พระเจ้าอุเทนก็ยังตรัสถามอีกว่า “แล้วผ้าเช็ดเท้าผืนเก่า พระอาจารย์จะจัดการอยางไร ่ ”

พระอานนท์ตอบว่า “อาตมาจะขอนําเอาผ้าเช็ดเท้าผืนเก่ามาตัดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย และผสม
กับดินเหนียวขยําเข้าด้วยกันปั้นเป็นก้อนเล็กๆ แล้วใช้ฉาบอุดชันบริเวณเสนาสนะที่แตกหรือรั่ว
ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการของที่มีอยู่แล้วและที่ได้รับเพิ่มเติมมาใหม่ล้วนเป็ นกุศลและประโยชน์สูงสุด
ทั้งแก่ผู้ถวายผ้า เพื่อนภิกษุทั้งหลายและส่วนรวมตามสมควรแก่กรณี”

พระเจ้าอุเทนทรงเลื่อมใสจึงตรัสถวายผ้าผืนใหม่เนื้อดีอีก ๕๐๐ ผืน แด่พระอานนท์ และ
หลังจากนั้นยังทรงถวายผ้าจํานวนมากแด่พระอานนท์อีกหลายครั้ง ซึ่ งต่อมาพระอานนท์ได้นําไป
ถวายแด่พระภิกษุทั้งหลายทัวชมพูทวีป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2016, 07:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๙. เรื่องเหตุผลที่ยังคงปฏิบัติธุดงค์แม้เป็นพระอรหันต์แล้ว

“ธุดงค์” หมายถึงข้อปฏิบัติพิเศษประเภทวัตร เพื่อใช้เป็ นวิธีการขัดเกลากิเลสและส่งเสริม
ความมักน้อยและความสันโดษ ไม่ใช่ข้อบัญญัติทางวินัยแต่ขึ้นกับความสมัครใจโดยการสมาทานว่า
จะปฏิบัติ มีทั้งหมด ๑๓ ข้อ ซึ่งอาจสมาทานวาจะปฏิบัติทุกข้อหรือเพียงบางข้อก็ได้ ประกอบด้วย
ถือใช้แต่ผ้าบังสุกุล, ใช้ผ้าเพียง ๓ ผืน คือ ผ้าห่ม ผ้านุ่งและผ้าสังฆาฏิ, บิณฑบาตเป็นประจํา,
บิณฑบาตไปตามลําดับบ้าน, ฉันวันละมื้อเดียว, ฉันเฉพาะในบาตร, เมื่อลงมือฉันแล้วจักไม่ยอมรับ
อาหารเพิ่ม, ถืออยู่ป่า, อยู่โคนไม้, อยู่กลางแจ้ง, อยู่ในป่าช้า, อยู่ในที่แล้วแต่ผู้อื่นจัดให้, ถือนั่ง
อยางเดียวโดยจักไม ่ ่นอน

พระมหากัสสปะสมาทานธุดงค์ทั้ง ๑๓ ข้อ ตั้งแต่ก่อนบรรลุเป็นพระอรหันต์ และแม้ท่าน
บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วก็ยังคงปฏิบัติธุดงค์ตลอดมา วันหนึ่งท่านออกจากป่าเข้าไปเฝ้า
พระพุทธเจ้าในเวฬุวันวิหาร พระพุทธเจ้าตรัสกบพระมหากัสสปะวา “กัสสปะ บัดนีเธอชราแล้ว

ผ้าบังสุกุลของเธอปะซ่อมเกือบทั้งผืนจนหนัก ไม่น่านุ่งห่ม เธอจงใช้ผ้าที่มีผู้ถวาย จงบริโภค
โภชนะที่เขานิมนต์ และมาจําวัดในเวฬุวันวิหารกับตถาคตเถิด การปฏิบัติธุดงค์นั้นย่อมเป็น
ประโยชน์ยิ่งแก่ผู้ที่มุ่งหมายจะขัดเกลากิเลสอาสวะให้ลดน้อยลง แต่เธอบรรลุอรหัตผลแล้ว
ไม่มีกิเลสอาสวะหลงเหลือให้ต้องขจัดขัดเกลาอีกแล้ว เธอเห็นประโยชน์อันใดที่ยังคงปฏิบัติธุดงค์
อยูอีก่ ”

พระมหากัสสปะกราบทูลว่า “เหตุที่ข้าพระองค์ยังคงปฏิบัติธุดงค์ ก็เพื่ออนุเคราะห์
แก่ประชุมชน โดยให้พุทธบริษัทได้เห็นเป็นแบบอย่างว่าการปฏิบัติธุดงค์เป็นเรื่องที่ทําได้จริง
มีคุณประโยชน์จริง พระสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปฏิบัติธุดงค์แล้วเป็นผู้มักน้อย เลี้ยงง่าย
สามารถขัดเกลากิเลสอาสวะให้ลดน้อยลงจนกิเลสอาสวะหมดสิ้นไปได้ และแม้บรรลุอรหัตผลแล้ว

การปฏิบัติธุดงค์ก็ยังความเบาสบายเป็นสุขในปัจจุบัน อีกทั้งอนุชนในภายภาคหน้าเห็นแบบอย่าง
แล้วก็จักได้มีกาลังใจมุ่งมันปฏิบัติตามและสืบทอดวัตรปฏิบัตินี้กันไปชั่วกาลนาน ่ ”
พระพุทธเจ้าจึงตรัสประทานสาธุการว่า “ดีแล้ว เธอปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื่อกูลแก่มหาชน
เพื่อเป็นแบบอย่างให้พุทธบริษัททั้งในปัจจุบันและอนาคตปฏิบัติตามอันจะยังชนเหล่านั้น
ให้ประสบความสุขและความเจริญงามในธรรม เหตุผลของเธอผู้เป็นกัลยาณมิตรชักนํากัลยาณธรรม
ให้แก่คนทั้งหลายจักปรากฏสืบไป”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2016, 07:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๐. เรื่องคําชี้แจงของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับพระองค์เอง

สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับที่โคนไม้ใกล้เมืองเวรัญชรา พร้อมด้วยพระภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป
พราหมณ์สูงอายุคนหนึ่งชื่อว่า “เวรัญชพราหมณ์” ได้ยินเกียรติคุณของพระพุทธเจ้า
มานานแล้ว จึงเข้าไปเฝ้า แต่ไม่ยอมถวายบังคม หลังจากทักทายปราศรัยกนแล้ว เวรัญชพราหมณ์ ั
ก็พูดติเตียนพระพุทธเจ้าว่า “ได้ข่าวคนเขาพูดกันว่า พระสมณโคดมไม่ยอมไหว้พราหมณ์ผู้สูงอายุ
การที่ทําเช่นนั้นเป็นการไม่สมควรเลย” พระพุทธเจ้าตรัสว่าพระองค์มิได้ไหว้พราหมณ์คนใดทั้งนั้น

เพราะพราหมณ์ทั้งหลายยังเป็นผู้หลงอันมีกิเลสอาสวะ แต่พระองค์ตรัสรู้แล้วโดยชอบ กระทํากิเลส
อาสวะหมดสิ้นไปแล้ว เป็นพุทธะ คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน กับเป็นครูของมนุษย์ พรหมและเทวดา
ทั้งหลาย และตรัสเปรียบเทียบวา ลูกไก่ตัวไหนเจาะฟองไข่ออกมาได้ก่อน ควรนับวาแก่กว่าลูกไก่
ตัวอื่น พระองค์เจาะฟองไข่คืออวิชชาได้ก่อนผู้อื่น จึงถือได้ว่าเป็ นผู้ที่แก่กว่าผู้อื่น ที่สําคัญยิ่งคือ
โดยกฎธรรมชาติหากพระองค์ไหว้ปุถุชนคนใดจะยังผลให้ศีรษะของผู้นั้นแตกออกเป็นเสี่ยง

การที่พระองค์ไม่ไหว้พราหมณ์คนใดเลยเป็นเพราะพระองค์มีใจกรุณา
เวรัญชพราหมณ์นึกโกรธ จึงกล่าวถ้อยคําที่คนในสมัยนั้นถือกันว่าเป็นคําดูหมิ่น
เหยียดหยามที่รุนแรงมาก รวม ๘ ข้อ ดังนี้
“พระโคดม ไม่ไยดีอะไรเลย” พระพุทธเจ้าทรงชี้แจงว่า เป็นเช่นนั้นจริงๆ เพราะพระองค์
ไม่ไยดีในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสใดๆ ทรงถอนตัณหาที่เป็นเหตุให้ไยดีหรืออาลัยอาวรณ์นั้น
หมดสิ้นแล้ว “พระโคดม ไม่มีทรัพย์สมบัติอะไรเลย” พระพุทธเจ้าทรงชี้แจงว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ

เพราะพระองค์ทรงถอนสิ้นกิเลสราคะทั้งปวงแล้ว ไม่มีทรัพย์สมบัติคือกิเลสราคะใดๆ เหลืออยูอีก ่
“พระโคดม เป็ นนักปฏิเสธ พูดในทางไม่ทํา” พระพุทธเจ้าทรงชี้แจงวาเป็นเช่นนั้นจริงๆ
เพราะพระองค์ทรงสอนไม่ให้มีจิตอกุศล ไม่ให้ทําทุจริต ไม่ให้ทําบาป ไม่ให้เบียดเบียน
“พระโคดม พูดในทางทําให้วอดวายสูญสิ้น” พระพุทธเจ้าทรงชี้แจงว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ
เพราะพระองค์ทรงสอนให้ปฏิบัติเพื่อความสูญสิ้นไปซึ่งโลภะ โทสะ โมหะ

“พระโคดม เป็ นคนที่ช่างรังเกียจ” พระพุทธเจ้าทรงชี้แจงว่า เป็นเช่นนั้นจริงๆ เพราะ
พระองค์รังเกียจการทําบาปการทุจริต และการเบียดเบียนทั้งปวง
“พระโคดม เป็นคนที่ช่างทําลาย” พระพุทธเจ้าทรงชี้แจงว่า เป็นเช่นนั้นจริงๆ เพราะ
พระองค์แสดงธรรมเพื่อทําลายอวิชชาและความเห็นผิด
“พระโคดม เป็ นคนที่ช่างล้างผลาญ” พระพุทธเจ้าทรงชี้แจงว่า เป็นเช่นนั้นจริงๆ เพราะ
พระองค์แสดงธรรมวาควรล้างผลาญก ่ ิเสสอาสวะทั้งปวงให้หมดสิ้น

“พระโคดม ไม่มีทางได้ผุดได้เกิด” พระพุทธเจ้าทรงชี้แจงว่า เป็นเช่นนั้นจริงๆ เพราะ
พระองค์ตัดรากแห่งการเกิดได้แล้ว ไม่มีทางได้เกิดอีก
พระพุทธเจ้าตรัสตอบแกคําดูหมิ่นเหยียดหยามของเวรัญชพราหมณ์ทุกข้อ โดยไม่ใช้วิธีด่า
ตอบ หากแต่ทรงชี้แจงเหตุผลตามความเป็นจริงดังกล่าว แล้วทรงแสดงธรรมในเรื่องฌานสี่ และ
วิชชาสาม เวรัญชพราหมณ์ได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้วมีจิตศรัทธาเลื่อมใส จึงถวายบังคมและ
ประกาศตนเป็นอุบาสกขอนับถือพระรัตนตรัยไปตลอดชีวิต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2016, 07:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๑. เรื่องยาฟื้นคืนชีพ

เมื่อลูกน้อยของ “นางกิสาโคตมี” ได้เสียชีวิตลงอย่างกะทันหัน นางรํ่าไห้เหมือนว่าหัวใจ
นางกาลังจะแตกสลาย จนสติฟั่นเฟือน ไม่ยอมให้ใครมาเผาศพลูกน้อยของนาง ด้วยนางคิดเข้าข้าง
ความหวังของตัวเองว่าลูกน้อยยังไม่ตาย เพียงแต่หลับไม่ตื่นเท่านั้น แม้ว่าใครจะพรํ่าบอกนางว่า
ลูกของนางตายแล้วก็ไม่ฟังวันๆ นางได้แต่อุ้มศพลูกน้อยเดินไปมา พบใครก็เอ่ยถามว่า “มียาให้ลูก
ฉันฟื้นไหม ขอยาให้ลูกฉันด้วย” ชายคนหนึ่งมาพบเข้ารู้สึกสงสาร จึงบอกนาง่าตนก็ไม่มียาดอก
แต่รู้จักคนที่มียา พระองค์คือสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ขณะนี้ประทับอยูที่วิหารเชตวันนอกเมือง สาวัตถีนางได้ยินดังนั้นก็รู้สึกดีใจมาก รีบอุ้มศพลูกน้อย
ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่วิหารเชตวัน กราบทูลถามวา่า “พระองค์มียารักษาลูกของหม่อมฉันจริงหรือ”
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “ยานั้น จะมีได้ต่อเมื่อได้ทําตามวิธีทํายา”
นางจึงกราบทูลว่า “ขอพระองค์โปรดประทานวิธีทํายาเพื่อช่วยรักษาลูกของหม่อมฉัน ด้วยเถิด”

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เธอไปเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดมาสักกามือหนึ่ง เราจะบอกวิธีทํายาให้ ํ
แต่เมล็ดพันธุ์ผักกาดนั้นจะต้องเอาจากบ้านที่ไม่เคยมีใครตายมาก่อนเลยนะ ถึงจะทํายาได้”
นางอุ้มศพลูกน้อยไปเที่ยวขอเมล็ดพันธุ์ผักกาดจากชาวบ้านทุกบ้านแต่ก็หาไม่ได้ แม้ว่า
ทุกบ้านล้วนมีเมล็ดพันธุ์ผักกาด แต่ไม่มีบ้านไหนเลยที่ไม่เคยมีคนตายมาก่อน ทุกบ้านล้วนเคยมี

คนตายมาแล้วทั้งนั้น บ้างก็ปู่ ย่าตายายตาย บ้างก็พ่อแม่ตาย บ้างก็ลุงป้าน้าอาตาย
บ้างก็พี่น้องตาย บ้างก็สามีภรรยาตาย และบ้างก็ลูกหลานตาย นางเดินทั้งวันทั้งคืนจนเท้าระบ
ก็ไม่ได้เมล็ดพันธุ์ผักกาดแม้แต่เมล็ดเดียว ฉับพลันทันใดนั้นนางก็ได้คิดว่า ไม่ใช่แต่เฉพาะลูกน้อย
ของนางที่ตาย คนอื่นก็ตายด้วย และสักวันหนึ่งนางก็ต้องตายเช่นกันไม่มีใครหลีกหนี
ความตายไปได้ ความตายเป็นความจริงแน่นอนของชีวิต สิ่งใดมีการเกิดขึ้นก็ต้องมีการแตกดับไปเป็นธรรมดา

เมื่อคิดได้เช่นนี้ก็เหมือนเกิดความสว่างขึ้นในใจ ความเศร้าโศกที่นางหมกมุ่นและแบกมาแสนหนัก
ก็ผ่อนคลายและจางหายไป รู้สึกตัวว่าตื่นขึ้น จิตใจสดชื่นเบิกบานและปลอดโปร่งเบาสบาย
นางจึงจัดการเผาศพลูกน้อยของนางแล้วเดินอย่าง มีความสุขไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “ได้เมล็ดพันธุ์ผักกาดแล้วหรือ”

นางกราบทูลตอบว่า “ไม่ได้ พระเจ้าค่ะ เพราะแต่ละบ้านล้วนแต่เคยมีคนตายมาแล้วทั้งนั้น
บัดนี้ หม่อมฉันเข้าใจแล้วว่า ทุกคนเกิดมาล้วนต้องตาย วันหนึ่ งหม่อมฉันก็ต้องตายเช่นกัน
หม่อมฉันปลงได้แล้ว มองเห็นความจริงแล้ว ไม่เศร้าโศกเสียใจแล้ว”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2016, 07:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๒. เรื่องการไหว้ทิศ

ชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อ “สิงคาลกมาณพ” มีบิดาเป็ นชายชราผู้มีศีลธรรมอันดี แต่บิดาไม่มี
ปัญญามากพอที่จะอบรมสอนบุตรได้ จึงวางกุศโลบายโดยคาดหวังว่าเมื่อตนตายไปแล้ว บุตรของ
ตนจะได้พบผู้ที่เป็ นพระบรมศาสดา และจักได้รับการชี้ทางปัญญาจากพระบรมศาสดานั้น ก่อนบิดา
จะถึงแก่กรรมได้เรียกสิงคาลกมาณพมาสั่งเสียว่าให้ทําพิธีไหว้ทิศทั้งหกทุกวัน วันละหลายๆ ครั้ง

ครั้นบิดาถึงแก่กรรมแล้ว สิงคาลกมาณพก็ทําตามคําสั่งเสียของบิดานั้นตลอดมา
วันหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงหยังด้วยญาณเห็นว่าชายหนุ่มผู้นี้พึงเข้าถึงครรลองแห่งธรรม
เพื่อจักเป็นอุปนิสัยใฝ่ การมีสัมมาทิฐิต่อไปได้ และธรรมเทศนาที่จะแสดงแก่ชายหนุ่มผู้นี้จักเป็น
ประโยชน์เก้อกูลแก่คนทั้งหลายในภายหน้าด้วย จึงเสด็จไปยังสถานที่ที่สิงคาลกมาณพกาลังทําพิธี ํ

ไหว้ทิศทั้งหกอยู่ ครั้นสิงคาลกมาณพเห็นพระพุทธเจ้าแล้ว ได้สนทนากันทําให้สิงคาลกมาณพ
เกิดความเลื่อมใสในความสํารวมและการแสดงธรรมอันงดงามของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัส
กับสิงคาลกมาณพว่าในอริยวินัยไม่พึงไหว้ทิศโดยไม่รู้ความหมายแห่งทิศ สิงคาลกมาณพจึงทูลถาม
ว่าการรู้ความหมายแห่งทิศนั้นเป็นอยางไร ่

พระพุทธเจ้าตรัสอธิบายว่า ทิศทั้งหกที่แท้แล้วประกอบด้วยบุคคลหกประเภท กล่าวคือ ทิศเบื้องหน้า
ได้แก่ มารดาและบิดา ทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูบาอาจารย์ ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ ญาติมิตร
ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ คู่สมรสและบุตรหลาน ทิศเบื้องบน ได้แก่ บรรพชิตผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย
ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ บริวารและศิษย์

ครั้นแล้วทรงแสดงหลักธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อบุคคลทั้งหกประเภทดังกล่าว
ตามความสัมพันธ์ในแต่ละคู่ เช่น มารดาบิดากับบุตร อาจารย์กับศิษย์ สามีกับภรรยา มิตรกับมิตร
นายจ้างกับลูกจ้าง สมณะกับคฤหัสถ์ เป็นต้น โดยต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่เก้อกูลซึ่งกันและกัน
ฝ่ายละ ๕ ประการ เมื่อสิงคาลกมาณพได้ฟังอย่างละเอียดแล้วก็เข้าใจโดยพลันถึงกุศโลบายของบิดา
และ ก้มลงกราบพระพุทธเจ้าพร้อมกบแสดงตนขอเป็นอุบาสกนับถือพระรัตนตรัยไปตลอดชีวิต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2016, 11:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๓. เรื่องกุศโลบายในการช่วยให้ลูกเข้าถึงธรรม

อนาถบิณฑิกเศรษฐีแม้เป็นอริยบุคคลชั้น ต้นโดยบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว แต่ก็ประสบปัญหาว่า
ไม่สามารถอบรมสอนลูกชายชื่อ “นายกาละ” ให้มีแม้แต่สัมมาทิฐิได้นายกาละไม่มีความศรัทธาเลื่อมใส
ในพระพุทธเจ้า และไม่มีความปรารถนาที่จะให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา หรือ แม้แต่ฟังธรรมใดๆ
หากแต่มีความคิดเพียงต้องการจะได้เงินจํานวนมากๆ จากพ่อเพื่อนําไปใช้จ่าย เที่ยวเตร่ให้บันเทิงใจเท่านั้น อนาถบิณฑิกเศรษฐีรําพึงว่า “ลูกชายของเราคนนี้มีแต่ความหลงผิด

ถ้าตายไปตอนนี้ก็คงไปสู่ทุคติ เกิดเป็นเปรตหรือสัตว์เดียรัจฉานอย่างแน่แท้เราเองก็ไม่สามารถ
อบรมสอนเขาให้กลับตัวกลับใจได้จําเราจะใช้กุศโลบายให้เหมาะแก่ตัวเขา” คิดดังนั้นแล้วก็เรียก
นายกาละมาต่อรองว่า “เงินเกือบทั้งหมดที่พ่อมีอยู่นั้น พ่อเตรียมไว้เป็นทานแด่พระศาสนาและ
สาธารณชน ตลอดจนคนยากไร้ทั้งหลาย ถึงเจ้าจะเป็นลูกของพ่อ แต่หากอยากได้เงินจํานวนมาก
ก็จะต้องทํางานตอบแทน จะรับเงินไปเปล่าๆ ไม่ได้พ่อจะว่าจ้างเจ้าเป็นเงินครั้งละ ๑,๐๐๐ กหาปณะ
ให้ไปฟังธรรมของพระพุทธเจ้าที่วิหารเชตวัน เจ้าจะตกลงหรือไม่” นายกาละกําลังอยากได้เงินจึงรีบรับปาก
ครั้นวันรุ่งขึ้น นายกาละก็เข้าไปในวิหารเชตวันแต่แอบนอนหลับโดยไม่ฟังธรรม

ตกเย็นก็กลับบ้านมาขอรับเงินค่าจ้างอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็จ่ายเงิน ๑,๐๐๐ กหาปณะให้แก่นายกาละ
พร้อมกับให้คนรับใช้จัดอาหารอย่างดีเลี้ยงนายกาละจนอิ่มหนําสําราญ และอนาถบิณฑิกเศรษฐี
ได้พูดกับนายกาละว่า “ในวันถัดๆ ไป เจ้าจงจดจํา คําสอนของพระพุทธเจ้าให้ได้อย่างน้อยวันละ ๑ บท
แล้วนํามาเล่าให้พ่อฟัง หากทําได้พ่อจะเพิ่ม เงินค่าจ้างให้อีกวันละ ๑,๐๐๐ กหาปณะ”

วันต่อมา นายกาละจึงเข้าไปนั่งเฝ้าที่เบื้องหน้าพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าเพื่อจะจดจํา
คําสอนให้ได้อย่างน้อย ๑ บทตามที่พ่อสั่งไว้แต่ครั้งแรกพระพุทธเจ้าทรงทําให้เขาจดจําบทธรรม
ไม่ได้เลย แม้จะฟังอย่างเพลิดเพลินก็ตาม เขาจึงพยายามตั้งใจฟังธรรมมากขึ้น และมุ่งมั่นว่าในวัน
ต่อๆ ไปจะต้องจดจําบทธรรมมาเล่าให้พ่อฟังให้จงได้เพื่อจะได้รับเงินค่าจ้างเพิ่มมากขึ้น นายกาละ
ไปฟังธรรมของพระพุทธเจ้าติดต่อกันหลายวัน ยิ่งฟังก็ยิ่งรู้สึกดื่มดํ่าและตั้งใจฟังยิ่งขึ้นด้วยใจเคารพ

เมื่อส่งใจไปตามกระแสธรรมอย่างต่อเนื่องก็บรรลุโสดาปัตติผล มีความอิ่มเอมใจอย่างบอกไม่ถูก
ครั้นกลับถึงบ้าน นายกาละได้อธิบายบทธรรมให้อนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้เป็นพ่อฟัง
อนาถบิณฑิกเศรษฐีฟังจนจบแล้วก็ได้หยิบเงิน ๒,๐๐๐ กหาปณะออกมาเพื่อจะมอบเป็นค่าจ้าง
ให้แก่ นายกาละ แต่คราวนี้นายกาละก้มลงกราบพ่อ และบอกว่า “ลูกเต็มใจไปฟังธรรมของพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าทุกวันโดยไม่ขอรับเงินค่าจ้างอีกแล้ว เพราะสิ่งที่ลูกได้มานั้นเป็นอริยทรัพย์อันมีค่ายิ่งกว่า
เงินจํานวนทั้งหมดในโลกนี้และไม่อาจนําทรัพย์สินใดๆ ในโลกนี้มาเทียบได้เลย”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2016, 05:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๔. เรื่องการได้ฌานกับการบรรลุมรรคผล

ภิกษุกลุ่มหนึ่งได้เรียนกรรมฐานจากพระพุทธเจ้าแล้วก็แยกย้ายไปยังสถานที่ที่เหมาะแก่การ
ปฏิบัติกรรมฐาน ต่อมาเมื่อภิกษุกลุ่มนี้เจริญกรรมฐานจนจิตสงบนิ่งดิ่งลึกมีสมาธิมั่นคงและ
บรรลุฌานแล้วก็สําคัญผิดคิดวาตนได้บรรลุธรรมขั้นอรหัตผล จึงชวนกันไปบอกเรื่องราว
ต่อพระอานนท์ เพื่อจะกราบทูลพระพุทธเจ้า ครั้นพระอานนท์กราบทูลพระพุทธเจ้าว่าภิกษุกลุ่มนี้
ประสงค์จะเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อรายงานความสําเร็จในการปฏิบัติกรรมฐาน พระพุทธเจ้าก็ยังไม่ทรงอนุญาต
แต่รับสั่งให้ พระอานนท์ไปบอกภิกษุกลุ่มนี้ให้ไปยังป่าช้าเพื่อพิจารณาซากศพเสียก่อน
ภิกษุกลุ่มนี้จึงไปยังป่าช้า พบศพที่ยังไม่ได้เผาอยู่หลายศพ บ้างก็เป็ นศพที่ขึ้นอืดเขียวคลํ้า

ภิกษุที่พิจารณาศพนั้นก็เกิดความขยะแขยงและหวาดกลัวและบ้างก็เป็นศพหญิงสาวที่เพิ่งตายใหม่ๆ
แลเห็นอวัยวะภายนอกทุกส่วนยังสดอยู่ ภิกษุที่พิจารณาศพนั้นก็เกิดความกาหนัดขึ้น ทําให้ภิกษุ
กลุ่มนี้พลันเข้าใจว่าที่แท้แล้วพวกตนยังไม่บรรลุธรรมหากเพียงแต่ได้ฌานเท่านั้น
ภิกษุกลุ่มนี้เกิดความสลดและสังเวชในความสําคัญผิดของตน จึงกลับมาขอเฝ้าพระพุทธเจ้า
อีกครั้ง พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาว่า “ภิกษุทั้งหลาย เนื้อตัวอันดูภายนอกสวยงาม
ชวนให้เธอเกิดราคะนั้นที่แท้ก็คือเนื้ออันห่อกองกระดูกและของเสียทั้งหลายไว้ ควรหรือที่เธอจะ
เกิดกาหนัดลุ่มหลง ส่วนศพอันขึ้นอืดเน่าเหม็นชวนให้เธอรังเกียจนั้นที่แท้ก็เป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว
ทุกวันตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่เพียงแต่เธอมองไม่รู้ดูไม่เห็นเอง”

แล้วทรงตรัสต่อไปว่า “สรรพสิ่งล้วนเป็นมายา หากแต่คนทั้งหลายแลไม่เห็นความจริง
เพราะถูกครอบงําด้วยอวิชชาจึงเห็นผิดและหลงผิด ติดยึดและลุ่มหลงในวังวนแห่งมายานั้นซํ้าแล้ว
ซํ้าเล่า การมีสมาธิเข้มแข็งจนได้ฌาน แม้อาจข่มกิเลสอาสวะลงได้ในเวลาหนึ่ง แต่เมื่อยังไม่เกิด
ปัญญาญาณรู้แจ้งเท่าทัน กิเลสอาสวะก็ยังนอนเนื่องอยู่ในจิตนั้น และเมื่อถูกกระทบด้วยสิ่งอันยัวยุ
ก็กาเริบขึ้นใหม่ได้ การที่เธอได้ฌานเป็นความก้าวหน้าแห่งการเจริญสมาธิอันนับว่าดี

แต่ฌาน ที่เธอได้พึงเป็นบาทฐานของการเจริญวิปัสสนาญาณต่อไปให้เห็นแจ้งถึงความจริงซึ่งวงจร
แห่งปัจจัยที่ทําให้ลุ่มหลงในมายาภาพอันเป็นเหตุแห่งทุกข์นั้น เมื่อเธอรู้ชัดในเหตุปัจจัยนั้นแล้ว
เธอจักเข้าถึงความจริงว่า ทุกสรรพสิ่งล้วนแต่ไม่เที่ยง ไม่อาจทนอยู่ได้ และไม่มีตัวตนอยู่จริง
แล้วเธอจักเข้าถึงที่สุดแห่งทุกข์และล่วงพ้นจากทุกข์นั้นได้” ภิกษุกลุ่มนี้ฟังพระธรรมเทศนาแล้ว
เจริญสติปัฏฐานต่อไปไม่นานก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ทุกรูป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2016, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๕. เรื่องแก่นแท้ที่ห่อห้มด้วยความสวยงาม

ในสมัยพุทธกาล ตําแหน่งโสเภณีเป็นตําแหน่งที่มีเกียรติมากในกรุงราชคฤห์ นางสิริมา
ผู้เป็นน้องสาวของหมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นโสเภณีที่มีความสวยงามมาก มีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง
เพียงได้ฟังถ้อยคําพรรณนาของผู้อื่นถึงความสวยงามของนางสิริมา ก็รู้สึกหลงรักนางสิริมาทั้งที่ยัง
ไม่ได้เห็นหน้า ต่อมาวันหนึ่งพระภิกษุหนุ่มพร้อมด้วยพระภิกษุอื่นรวม ๗ รูป รับนิมนต์ไปฉัน
ภัตตาหารที่บ้านของนางสิริมา แต่วันนั้นนางสิริมาล้มป่วยหนักจึงสั่งทาสีให้ประเคนภัตตาหาร
แด่คณะพระภิกษุ ครั้นคณะพระภิกษุฉันเสร็จแล้ว

นางสิริมาให้ทาสีพยุงนางออกมากราบไหว้ คณะพระภิกษุ พระภิกษุหนุ่มได้เห็นนางสิริมาแล้ว
รู้สึกกาหนัดมากขึ้นโดยคิดว่า “นางสวยมากจริงๆ ขนาดเจ็บป่วยยังสวยขนาดนี้ ถ้ายามปกติ
จะสวยมากสักเพียงใด” หลังจากนั้นพระภิกษุหนุ่มก็มีราคะ กำเริบมากขึ้น มีใจคิดถึงอยู่แต่นางสิริมา
จนไม่มีแก่ใจที่จะปฏิบัติสมณกิจ แล้วเย็นวันนั้นเอง นางสิริมาก็ป่วยหนักขึ้นและเสียชีวิต
พระเจ้าพิมพิสารราชาแห่งกรุงราชคฤห์ทรงส่งพระราชสาส์น

ทูลพระพุทธเจ้าว่านางสิริมาน้องสาวหมอชีวกโกมารภัจจ์เสียชีวิตแล้ว พระพุทธเจ้าทรงสดับเรื่อง
แล้วจึงขอให้พระเจ้าพิมพิสารมีรับสั่งว่ายังไม่ให้เผาศพของนางสิริมา แต่ให้นําไปไว้ในป่าช้าและ
ให้รักษาไว้ไม่ให้นกหรื อสุ นัขกัดกินศพ รอจนเวลาผ่านไปสามวันถึงวันที่สี่ ขอให้ประกาศ
ให้ชาวเมืองไปดูศพนางสิริมา พระเจ้าพิมพิสารก็ทรงรับสั่งให้ดําเนินการตามนั้น

เวลาผ่านไปสามวันจนถึงวันที่สี่ ศพได้พองขึ้นมีหมู่หนอนชอนไชไต่ออกจากทวารทั้งเก้า
และศพแตกออกมีนํ้าเลือดนํ้าหนองไหลออกมา พระพุทธเจ้าตรัสแจ้งให้พระภิกษุทั้งหลายไปดูศพ
ของนางสิริมา พระภิกษุหนุ่มซึ่ งคิดถึงแต่นางสิริมาจนไม่ยอมฉันอาหารใดๆ นอนไร้เรี่ยวแรงอยู่
หลายวัน ครั้นได้ยินว่าพระพุทธเจ้าตรัสแจ้งให้ไปดูนางสิริมา พระภิกษุหนุ่มแม้จะรู้สึกหิวอาหาร
เพียงใด ก็รีบลุกขึ้นตามพระภิกษุอื่นๆ ไปดูนางสิริมาทันที

ครั้นนั้น พระพุทธเจ้าประทับอยู่ด้านหนึ่งของป่าช้าพร้อมด้วยพระภิกษุทั้งหลาย ส่วน
พระเจ้าพิมพิสารประทับอยูอีกด้านหนึ่งของป่าช้าพร้อมด้วยข้าราชบริพารและชาวเมืองจํานวนมาก ่
พระพุทธเจ้าตรัสขอให้พระเจ้าพิมพิสารรับสั่งให้ป่าวประกาศว่าผู้ใดให้ทรัพย์หนึ่งพันกหาปณะ
ก็มารับนางสิริมาไปได้ พระเจ้าพิมพิสารทรงรับสั่งให้ป่าวประกาศตามนั้น แต่ก็ไม่มีใครสักคนเลย
ที่ต้องการรับนางสิริมาไป

จนลดราคาลงเป็น ๕๐๐ – ๒๕๐ – ๒๐๐ – ๑๐๐ – ๕๐ – ๒๕ – ๑๐ – ๕ –๑ กหาปณะ
ก็ไม่มีผู้ใดต้องการนางสิ ริ มา จนกระทั่งพระเจ้าพิมพิสารทรงรับสั่งให้ประกาศ ยกนางสิริมาให้
ผู้ที่ต้องการไปเปล่าๆ ก็ยังไม่มีใครต้องการ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จงดูร่างกายหญิงผู้เป็นที่หลงใหลของคนทั้งปวง
ในกาลก่อนนี้คนทั้งหลายในพระนครต้องจ่ายเงินจํานวนมากจึงจะได้อภิรมย์กับนาง
แต่บัดนี้ยกให้เปล่าๆ ก็ไม่มีผู้ใดต้องการที่จะรับเอานางไป เธอทั้งหลายจงดูอัตภาพที่ไม่อาจคงทนอยู่ได้

ซึ่งน่ารันทดนี้เถิด ร่างกายที่แลดูสวยงามนั้นแท้จริงแล้วประกอบด้วยกระดูก ไขข้อและเส้นเอ็น
มีกระเพาะ ลําไส้ ตับ ไต ม้าม ดี ปอด หัวใจ อาหาร มูตร นํ้ามูก นํ้าลาย มันข้น นํ้าเหลือง เลือด
อยู่ภายใน แต่ฉาบทาด้วยเนื้อและหนังเปรียบได้กบถุงห ั ่ออุจจาระ อันปุถุชนมองไม่เห็นความจริง
กับมีของอันโสโครกไหลออกจากทวารทั้งเก้าของร่างกายนี้ทุกเมื่อ และเมื่อใดที่ตายร่างกาย
ก็ขึ้นพองเน่าเหม็น ภิกษุทั้งหลายหากรู้ชัดในร่างกายนี้แล้ว พึงใคร่ครวญว่าควรคลายความกำหนัด
ในร่างกายนี้หรือไม่ แล้วพิจารณาให้เห็นความจริงเถิด”

พระภิกษุหนุ่มซึ่งเคยหลงใหลนางสิริมา พร้อมด้วยพระภิกษุอื่นอีกหลายรูปได้พิจารณา
ตามพระธรรมเทศนาก็มีดวงตาเห็นธรรมบรรลุโสดาปัตติผล ต่อมาพระภิกษุหนุ่มดังกล่าวได้ฟัง
พระธรรมเทศนาในเรื่องเดียวกันนี้ ซํ้าอีกและพิจารณาตามก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ ส่วนนางสิริมา
ซึ่งในอรรถกถาเล่าว่านางเป็นอุบาสิกาที่บรรลุโสดาปัตติผลก่อนแล้วตั้งแต่ยังมีชีวิต ครั้นตายแล้ว
เกิดเป็นเทพธิดาได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในขณะนั้นด้วย เมื่อฟังพระธรรมเทศนาแล้วพิจารณาตาม
ก็บรรลุอนาคามิผล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2016, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๖. เรื่องวิธีการเข้าถึงธรรมของแต่ละคนในเส้นทางเดียวกันอาจไม่เหมือนกัน

“จูฬปันถก” มีพี่ชายชื่อ “มหาปันถก” มหาปันถกอุปสมบทเป็ นภิกษุ เจริญสติปัฏฐาน
ตามคําสอนของพระพุทธเจ้า ใช้เวลาไม่นานก็หยังรู้แจ้ง สามารถขจัดกิเลสอาสวะได้หมดสิ้นและ
บรรลุเป็นพระอรหันต์ ท่านระลึกถึงจูฬปันถกน้องชายคนเดียวของท่าน จึงไปชักชวนจูฬปันถก
ให้ออกบวช จูฬปันถกบวชเป็นภิกษุแล้วก็ศึกษาพระธรรมวินัยจากพระมหาปันถก

พระมหาปันถกได้สอนให้พระจูฬปันถกฝึกสมาธิขั้นพื้นฐานก่อนโดยใช้คําบริกรรม
เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว แต่เมื่อพระมหาปันถกได้กาหนดคําบริกรรมให้พระจูฬปันถกนําไปท่องจํา
แม้ว่าเป็นถ้อยคําสั้น ๆ ง่ายๆ พระจูฬปันถกก็ไม่สามารถจดจําได้ ทํานองว่าเมื่อจําได้คําหน้าก็จะลืม
คําหลังและครั้นจําได้คําหลังก็หลงลืมคําหน้า ใช้เวลานานหลายเดือนเพียงท่องจําข้อความเดียวก็ยัง
ไม่สําเร็จ พระมหาปันถกเห็นว่าน้องชายของท่านเกิดมาชาตินี้แม้แต่การท่องจําง่ายๆ ก็ยังทําไม่ได้

คงป่วยการที่จะบวชต่อไป จึงพูดกับน้องชายของท่านตรงๆ ว่า “น้องเอ๋ย ในภพชาตินี้
เธอคงเป็นคนอาภัพในพระธรรมวินัยนี้เสียแล้ว เวลาผ่านไปหลายเดือนเธอยังทําสมาธิขั้นพื้นฐานไม่ได้เลย
แม้แต่คําบริกรรมง่ายๆ ก็ยังจดจําไม่ได้ เธอจะปฏิบัติสมณกิจให้บรรลุธรรมได้อย่างไรเล่า จงสึกกลับไป
อยู่บ้านเถิด ” พระจูฬปันถกถูกไล่ให้สึกออกไปเช่นนั้นก็เสียใจ ไปยืนร้องไห้อยู่หลังพระวิหาร

ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าหยังด้วยญาณทรงทราบว่าพระจูฬปันถกนี้มีอินทรีย์พร้อมจะบรรลุมรรคผลได้
โดยง่ายเพียงแต่จะต้องเจริญวิปัสสนาญาณให้ถูกกับจริต จึงเสด็จออกไปหาพระจูฬปันถก
เมื่อสอบถามสาเหตุที่พระจูฬปันถกร้องไห้อยู่นั้นแล้ว พระพุทธเจ้าก็ประทานผ้าขาวสะอาดขนาดเล็ก
ผืนหนึ่งให้แก่พระจูฬปันถก และตรัสว่า “เธอจงรับผ้าขาวผืนนี้ไปเช็ดมือของเธอ และเพียรทําความรู้สึกตัว
มีสติอยู่เนืองๆ ไปตลอดทั้งวันว่ากำลังใช้ผ้าเช็ดมือ แล้วเธอจักเข้าใจเอง”

พระจูฬปันถกรับผ้าขาวมาแล้วก็ทําตามคําชี้แนะของพระพุทธเจ้า ครั้นถูผ้าขาวกบมือไปเรื่อยๆ
จนเหงื่อไหลเปื้อนผ้าขาวเป็นรอยดําสกปรก พระจูฬปันถกก็เกิดโยนิโสมนสิการและรําพึงขึ้นว่า
“ผ้าผืนนี้เดิมก็เป็นผ้าสะอาด บัดนี้สกปรกแล้วเพราะของเสียจากกายเรานี้ ผ้าผืนนี้ไม่เที่ยง
กายเรานี้ไม่เที่ยง จิตเรานี้ก็ไม่เที่ยง ไม่มีสิ่งใดเที่ยง มีแต่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมลงและดับไป ”

ข้อที่ท่านรําพึงขึ้นนี้เป็นทํานองคล้ายกันกับในชาติก่อนที่ครั้งหนึ่งท่านเคยสังเกตผ้าขาวที่เปื้อน
เพราะเหงื่อจากมือของท่านจนเกิดจิตสังเวชมาแล้ว ความสะเทือนจิตที่เคยซึมซึ้งนับเนื่องจาก
ในอดีตชาติและนอนเนื่องอยู่ในภวังคจิตเป็นเวลา ช้านานได้หวนกลับมาเป็นเครื่องระลึกให้เกิดญาณ
เชื่อมต่อในฉับพลันนั้นจนจิตรวมอย่างต่อเนื่องเป็นฌาน จากนั้นเมื่อท่านพิจารณาองค์ฌาน
ด้วยวิปัสสนาญาณต่อไปก็ได้บรรลุเป็ นพระอรหันต์พร้อมทั้งปฏิสัมภิทาสี่ในวันนั้นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2016, 05:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๗. เรื่องวิธีฆ่าตามครรลองของพระอริยะเจ้า

ครั้งหนึ่งมีผู้ชํานาญการฝึกม้าคนหนึ่ง ชื่อ เกสีมากราบทูลขอสนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “ท่านเป็นผู้ชํานาญการฝึกม้า พอจะเล่าได้ไหมว่าท่านมีวิธีฝึกม้าของท่าน
อย่างไร ”เกสีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะฝึกม้าเฉพาะชนิดที่พอฝึกได้ ด้วยวิธี
อ่อนโยนบ้าง ด้วยวิธีดุดันบ้าง ด้วยวิธีทั้งอ่อนโยนและดุดันผสมผสานกันบ้าง แล้วแต่ว่าม้านั้น
มีนิสัยอยางไร ่ ”

พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อไปว่า “ถ้าม้าของท่านไม่ยอมรับการฝึก และท่านก็ใช้วิธีอ่อนโยน
ก็แล้ว ดุดันก็แล้ว ใช้ทั้งวิธีอ่อนโยนและดุดันผสมผสานกันก็แล้ว ท่านจะทําอยางไรกับม้านั้น”
เกสีกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ยอมฆ่าม้าตัวนั้นเสีย เพื่อมิให้เสียชื่อเสียงแก่สํานักศึกษาแห่ง
ครูของข้าพระองค์ พระเจ้าข้า” แล้วเกสีกราบทูลถามว่า“พระผู้มีพระภาคเจ้ายอมเป็นครู
ผู้ฝึกมนุษย์ที่ควรฝึก ไม่มีครูคนใดมีความสามารถฝึกมนุษย์ยิ่งไปกว่า
พระองค์มีวิธีฝึกมนุษย์ด้วยวิธีอย่างไร พระเจ้าข้า”

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ตถาคตย่อมฝึกมนุษย์ที่ควรฝึกด้วยวิธีอ่อนโยนบ้าง ด้วยวิธีดุดันบ้าง
ด้วยวิธีทั้งอ่อนโยนและดุดันผสมผสานกันบ้าง วิธีอ่อนโยน คือ เราจักฝึกในทางที่จะทําให้เขารู้ว่า
ผลของมโนสุจริต กายสุจริต วจีสุจริต เป็นเช่นไร มีคุณประโยชน์อย่างไร วิธีดุดัน คือ เราจักฝึก
ในทางที่จะทําให้เขารู้ว่าผลของมโนทุจริต กายทุจริต วจีทุจริต เป็นเช่นไร มีโทษภัยอย่างไร

วิธีอ่อนโยนและดุดันผสมผสานกัน คือ เราจักฝึกในทางที่จะทําให้เขารู้ว่าผลของมโนสุจริต
กายสุจริต วจีสุจริต เป็นเช่นไร มีคุณประโยชน์อยางไร และผลของมโนทุจริต กายทุจริต
วจีทุจริต ่เป็นเช่นไร มีโทษภัยอย่างไร เปรียบเทียบกันทั้งสองทางแล้วมีเหตุและผลแตกต่างกันอย่างไร ่ ”
เกสีกราบทูลถามต่อไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ามนุษย์ที่ควรฝึกไม่ยอมรับการฝึก และ
พระองค์ก็ใช้วิธีอ่อนโยนก็แล้ว ดุดันก็แล้ว ใช้ทั้งวิธีอ่อนโยนและดุดันผสมผสานกันก็แล้ว
พระองค์จะทําอยางไร ่”พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เราก็จักฆ่าเขาเสีย”

เกสีรู้สึกตกใจ กราบทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การฆ่าสําหรับผู้ทรงศีลเป็นบาป
มหันต์มิใช่หรือ เหตุใดพระองค์จึงตรัสเช่นนั้นเล่า” พระพุทธเจ้าตรัสต่อไปว่า “แม้เรากล่าวว่า
ฆ่าเช่นกัน แต่ไม่เหมือนกันกับที่ท่านเข้าใจ เมื่อมนุษย์ที่ควรฝึ กไม่ยอมรับการฝึ กโดยวิธีทั้งสามแล้ว
เราก็จักไม่ถือวาเขาเป็นผู้ที่ควรฝึกอีกต่อไป และเราก็จักไม่ว่ากล่าวสั่งสอนเขาอีกต่อไป แม้แต่เพื่อนผู้ประพฤติตามพระธรรมวินัยร่วมกันซึ่งเป็น ผู้รู้ก็จักไม่ถือวาเขาเป็นผู้ที่ควรฝึกอีกต่อไป
และยอมจักไม่ว่ากล่าวสั่งสอนเขาอีกต่อไปด้วย นี้เป็นวิธีฆ่าอย่างดีตามครรลองของพระ อริยะเจ้า”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2016, 05:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๘. เรื่องการคลายความหลงตนเป็นหนทางไปสู่การเข้าถึงความจริง

พระโปฐิละเป็นผู้ทรงคุณความรู้มาก ฟังธรรมมามาก และจดจําหลักธรรมต่างๆ ได้มาก
สามารถพูดข้อความเกี่ยวกับหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนได้ละเอียดลออ
แต่พระโปฐิละไม่เคยลงมือปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเลยแม้แต่น้อย ด้วยในตอนแรกท่านคิดว่า
ไม่จําเป็นและเมื่อท่านบวชมานานแล้วก็เคยชินกับการที่ภิกษุอื่นๆ เรียกท่านว่า “ท่านอาจารย์”
ท่านจึงพอใจอยู่กับการรู้ เพียงข้อความแต่ไม่ลงมือปฏิบัติ

พระพุทธเจ้าทรงทราบอุปนิสัยของพระโปฐิละ จึงดําริ ที่จะช่วยเหลือให้พระโปฐิละเข้าถึงความจริง
ดังนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าพบพระโปฐิละคราใดก็จะตรัสเรียกพระโปฐิละว่า “ท่านใบลานเปล่า”
ครั้นพระพุทธเจ้าตรัสเรียกเช่นนั้นอยูเนืองๆ พระโปฐิละก็เริ่มจะได้คิดว่า “พระบรมศาสดา
ตรัสเรียกเราเช่นนี้ น่าจะเป็นเพราะเรายังไม่ได้ฌาน ยังไม่บรรลุมรรคผล ยังไม่มีคุณวิเศษ
เป็นต้นนั้น อย่างแน่แท้” จึงเกิดความสังเวชในตนเองและคิดจะลงมือปฏิบัติสติปัฏฐาน

ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นทางสายเอก แต่โดยที่พระโปฐิละรู้แต่เพียงข้อความและไม่
เคยลงมือปฏิบัติจริงมาก่อน จึงไม่แน่ใจว่าจะต้องทําอย่างไร พระโปฐิละได้เข้าไปเรียนถาม
พระเถระหลายท่านถึงวิธีการปฏิบัติสติปัฏฐานว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไร โดยกล่าวว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอท่านโปรดเป็นที่พึ่งและชี้แนะแก่กระผมด้วยเถิด”

พระเถระเหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์และทราบพระประสงค์ของพระพุทธเจ้าที่จะขจัดมานะ
ของพระโปฐิละ จึงตอบพระโปฐิละว่า “ท่านอาจารย์ ท่านเป็นพหูสู ตและพระธรรมกถึก
ผู้รู้หลักธรรมกว้างขวาง กระผมได้ความรู้ต่างๆ ก็โดยอาศัยท่านอาจารย์ แล้วจะมีปัญญามาชี้แนะ
ท่านอาจารย์ได้อย่างไร ท่านอาจารย์อย่าทําเช่นนี้เลย” ครั้นพระโปฐิละเรี ยนถามภิกษุอื่นๆ
ภิกษุเหล่านั้นก็ไม่แน่ใจว่าพระโปฐิละผู้ทรงคุณความรู้จะมาลองภูมิด้วยเหตุประการใดแน่

จึงเรียนตอบพระโปฐิละเหมือนกันกับคําตอบของพระเถระดังกล่าว พระโปฐิละเรียนถามจนหมด
คนที่จะถามแล้ว คงเหลือเพียงสามเณรน้อยรูปหนึ่งซึ่งพระโปฐิละเคยเห็นว่าเจริญกรรมฐานอยู่เสมอ ่
สําเหนียกว่าคงเป็นหนทางสุดท้ายแล้ว จึงเข้าไปขอคําชี้แนะจากสามเณรน้อย
สามเณรน้อยผู้นี้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วแม้อายุยังเป็นเด็กอยู่นี้ และทราบพระประสงค์
ของพระพุทธเจ้าเช่นกัน จึงเรียนตอบพระโปฐิละด้วยคําตอบอย่างเดียวกันกับคําตอบของพระเถระ

และภิกษุทั้งหลายดังกล่าว แต่ก็กล่าวเพิ่มเติมว่า “อย่างไรก็ดี กระผมเคยฝึ กกรรมฐานขั้นพื้นฐาน
มาบ้าง ซึ่งพระเถระผู้เป็นครูของกระผมได้เคยให้กระผมฝึกปฏิบัติกายและจิตด้วยวิธีการต่างๆ
ที่จําเป็นก่อน หากท่านอาจารย์ไม่รังเกียจที่จะฝึกปฏิบัติตามวิธีการเหล่านั้น กระผมก็ยินดีจะบอก”
พระโปฐิละก็ยินดีทําตามคําแนะนําของสามเณรน้อย

ครั้นสามเณรน้อยทดสอบจนเห็นว่าพระโปฐิละคลายความถือตัวลงไปมากแล้ว จึงพา
พระโปฐิละไปดูที่บริเวณจอมปลวก และพูดว่า “ท่านอาจารย์ ในจอมปลวกแห่งนี้ มีช่องอยู่๖ ช่อง
ตะกวดเข้าไปภายในจอมปลวกโดยอาศัยช่องใดช่องหนึ่ง หากมีใครประสงค์จะจับมันก็จะอุดช่อง
๕ ช่อง คงเหลือไว้เพียงช่องเดียว จึงจับตะกวดนั้นได้โดยง่ายเพราะเหลือทางเข้าออกเพียงช่องเดียว

อุปมาเหมือนคนเรา เมื่อปิ ดทวารทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย คงเหลือเพียงคอยดูจิตไว้
แต่ทวารเดียว เมื่อเพียรระวังดูจิตอยู่เนืองๆ ก็จักเกิดสติที่มีกำลังรู้เท่าทันกิเลส และสามารถขจัดกิเลส
นั้นได้” พระโปฐิละพิจารณาตามคําชี้แนะของสามเณรน้อยแล้วก็รู้สึกเหมือนเกิดความสว่างขึ้นกลางใจ
ตั้งแต่นั้นมาก็เพียรระวังดูจิตของตนอยู่เนืองๆ จนมีสติและสมาธิตั้งมั่น เมื่อปฏิบัติเป็น เวลานานพอสมควรแล้วก็เกิดปัญญาญาณรู้แจ้ง สามารถขจัดกิเลสอาสวะได้หมดสิ้นและบรรลุเป็นพระอรหันต์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2016, 05:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๙. เรื่องผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นตถาคต

ชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อ “วักกลิ” เล่าเรียนไตรเพทจนจบศิลปศาสตร์ทั้งหมดของพวกพราหมณ์
วันหนึ่งวักกลิได้เห็นพระพุทธเจ้าแล้วรู้สึกเลื่อมใสรวมทั้งชื่นชอบกับการมองดูรูปและความสง่างาม
ของพระพุทธเจ้า วักกลิจึงเที่ยวจาริกติดตามพระพุทธเจ้า และตัดสินใจออกบวชด้วยคิดว่าการได้
บวชจะทําให้มีโอกาสเฝ้ามองพระพุทธเจ้าอยู่เป็นนิตย์ ครั้นบวชแล้วพระวักกลิก็คอยแต่เฝ้ามองดู

พระพุทธเจ้าแทบทุกอิริยาบถ พระพุทธเจ้าก็มิได้ตรัสว่าอะไร เพราะทรงรอความแก่รอบแห่งญาณ
ของพระวักกลิและเวลาอันสมควรที่จะทรงแสดงธรรมแก่พระวักกลิโดยเฉพาะ
ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าหยังด้วยญาณทรงทราบว ่ าได้เวลาอันสมควรที่พระวักกลิจะพึงได้รับ ่
ความสะเทือนใจเพื่อจักได้วางจิตให้เกิดญาณอันเหมาะแก่การรู้ธรรมต่อไปแล้ว จึงตรัสให้โอวาทแก่
พระวักกลิวา ่ “วักกลิ ประโยชน์อะไรในรูปอันโสโครกแต่คนโง่หลงใหลอยู่นั้นเล่า

ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดไม่เห็นธรรมแม้อยูใกล้ชิดเฝ้ามองรูปกายของเราอยู่ก็ไม่ได้
ชื่อว่าเห็นเราแต่อยาง่ใด กายมีโทษเปรียบเสมือนกรงขังอันมีพิษ เป็นที่อยู่ของโรคทุกอย่าง
เป็นที่ประชุมของทุกข์ เพราะฉะนั้นเธอจงเบื่อหน่ายในรูป รู้เท่าทันมายาและกิเลส พิจารณาให้เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของขันธ์ทั้งหลาย แล้วจักเข้าถึงที่สุดแห่งทุกข์และล่วงพ้นจากทุกข์นั้นได้”

แม้พระพุทธเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว พระวักกลิก็ยังไม่ยอมเลิกจากการที่คอยเฝ้ามองพระพุทธเจ้า
อยู่เช่่นเดิม ในวันเข้าพรรษาพระพุทธเจ้าจึงตรัสแก่พระวักกลิว่า “เมื่อเธอยังคงลุ่มหลงมืดบอดอยู่
เช่นนี้ ก็ป่วยการที่จะอยู่ศึกษาพระธรรมวินัย จงไปให้พ้นเถิด ” พระวักกลิถูกพระพุทธเจ้าขับไล่แล้ว
ก็ไม่อาจอยู่ในเขตพระอารามได้ รู้สึกน้อยใจและสะเทือนใจที่จะไม่ได้เห็นพระพักตร์ของ
พระพุทธเจ้าอีกตลอดเวลาแห่งพรรษา จึงเดินขึ้นไปยังยอดเขาและคิดด้วยใจอันยังคงศรัทธา
แน่วแน่ว่า “มาตรแม้นว่าเราจะไม่ได้เห็นพระบรมศาสดา

แต่พระสุรเสียงของพระองค์ที่ตรัสให้โอวาท ทุกครั้งก็ยังคงก้องอยู่ในใจของเรานี้ เราจักนึกตรึกตรองโอวาทของพระองค์แทน”จากนั้นพระวักกลิก็นึกทบทวนคําสอนต่างๆ ของพระพุทธเจ้า บางครั้งก็พิจารณา
ด้วยความรู้สึกอันดื่มดํ่าเป็นสมาธิในที่สัปปายะบนยอดเขา แต่บางครั้งก็กลับคิดฟุ้ งซ่านขึ้นมา
สลับกันไปในขณะที่จิตของพระวักกลิกำลังอยู่ ระหว่างต่อสู้กันภายในอยู่นั้น พระพุทธเจ้าได้เสด็จ
ไปในที่ตรงนั้นและตรัสว่า “ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นตถาคต” ในฉับพลันนั้นพระวักกลิจึงได้นําเอา

คําว่า “ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นตถาคต” มาเป็นกรรมฐานอย่างต่อเนื่องจนจิตรวม สงบ ตั้งมันและ ่
ได้ฌาน ครั้นใช้กาลังแห ํ ่งฌานพิจารณาธรรมต่อไปจนเกิดวิปัสสนาญาณ กิเลสอาสวะได้หมดสิ้นไป
พระวักกลิบรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2016, 05:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๓๐. เรื่องเหตุปัจจัยที่ทําให้พระภิกษุบวชได้ตลอดชีวิต

ครั้งหนึ่ง พระเจ้าอุเทนทรงพบกับพระปิณโฑลภารทวาชะเถระ จึงตรัสถามพระเถระว่า
“อะไรเป็นเหตุปัจจัยที่ทําให้พระภิกษุหนุ่มๆ ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้ตลอดชีวิต ”
พระเถระตอบว่า “เพราะพระภิกษุรูปนั้นรู้ชัดถึงคุณประโยชน์ยิ่งของการประพฤติ
พรหมจรรย์ แต่ก่อนที่จะรู้ชัดได้เช่นนั้นย่อมต้องศึกษาและปฏิบัติตามแนวทางที่พระบรมศาสดา
ทรงสอน คือ ขั้นแรก พระภิกษุพึงตั้งจิตวา่สตรีทั้งหลายที่มีอายุคราวมารดา เราจักสําเหนียกวา

เป็นเหมือนมารดาแท้ๆ ของเรา สตรีทั้งหลายที่มีอายุคราวพี่สาวหรือน้องสาว เราจักสําเหนียกว่า
เป็นเหมือนพี่สาวหรือน้องสาวแท้ๆ ของเราและสตรีทั้งหลายที่มีอายุคราวลูก เราจักสําเหนียกวา
เป็นเหมือนลูกสาวแท้ๆ ของเรา ่เมื่อตั้งจิตไว้เช่นนี้แล้ว โดยสังวรในพระธรรมวินัยยอม่ จะหักทอน
ความคิดเผลอไผลในทางอกุศลนั้นลง เป็นเหตุให้พระภิกษุมีความปกติสุขในการรักษาศีล
และย่อมอยู่เป็นสุขในพรหมจรรย์นั้น”

พระเจ้าอุเทนตรัสถามต่อไปว่า “ในขั้นแรกนี้ จักพอทําให้พระภิกษุหนุ่มๆ
ประพฤติพรหมจรรย์อยูได้ตลอดชีวิตหรือไม่”
พระเถระตอบว่า “อาจยังไม่พอ จึงมีขั้นต่อไปคือ พระภิกษุพึงพิจารณาร่างกายให้เห็น
ความจริงซึ่งความเป็นปฏิกูล ร่างกายที่แลดูสวยงามนั้นแท้จริงแล้วประกอบด้วยกระดูก
ไขข้อและเส้นเอ็น มีกระเพาะ ลําไส้ ตับ ไต ม้าม ดี ปอด หัวใจ อาหาร มูตร นํ้ามูก นํ้าลาย
มันข้น นํ้าเหลือง และเลือด อันน่าสยดสยองอยู่ภายใน และถูกห่อหุ้มด้วยขน ผม เล็บ ฟัน หนัง
อันเปรียบได้กับถุงอุจจาระ กับมีของโสโครกแสนเหม็นไหลออกจากทวารทั้งเก้า
ของร่างกายนี้ทุกเมื่อ และเมื่อใดที่ตาย

ร่างกายก็ขึ้นอืดบวมเน่า แต่คนทัวไปไม่รู้จึงมัวแต่ลุ่มหลงกับถุงหออุจจาระนั้น พระภิกษุพิจารณารู้
เช่นนั้นแล้วจะเกิดทั้งสมาธิและสติกิเลสราคะทั้งหลายที่ลวงล่ออยู่จะหมดกาลังลง ไปเอง และ
เมื่อปฏิบัติควบคู่กันไปกับขั้นแรกดังกล่าวอยู่เนืองๆ จนมันคงดีแล้ว พระภิกษุ ย่อมอยู่เป็นสุข
ในพรหมจรรย์นั้น รู้ชัดถึงคุณประโยชน์ยิงของการประพฤติพรหมจรรย์ ”

พระเจ้าอุเทนตรัสถามต่อไปว่า “ในขั้นที่สองนี้ จักพอทําให้พระภิกษุหนุ่มๆ ประพฤติ
พรหมจรรย์อยูได้ตลอดชีวิตหรือไม่”พระเถระตอบวา ่ “อาจยังไม่พอ จึงมีขั้นต่อไปคือ
พระภิกษุพึงสํารวมอินทรีย์ทั้งหก ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อยู่ เสมอ อันจักทําให้มีกำลัง
แห่งสมาธิสติและปัญญา เมื่อปฏิบัติด้วยความเพียรอยู่เนืองๆ จนมีกาลังแห่งสมาธิสติและปัญญา
มันคงดีแล้ว ่ จะเห็นแจ้งถึงเหตุปัจจัยแห่งกิเลส ราคะทั้งหลายที่ลวงล่ออยู่นั้น กิเลสราคะ
ทั้งหลายจะสลายไปเอง และเมื่อปฏิบัติควบคู่กันไปกับขั้นแรกและขั้นที่สองดังกล่าวอยูเนืองๆ

จนมันคงดีแล้ว พระภิกษุ ย่อมอยู่เป็นสุขในพรหมจรรย์นั้น รู้ชัดถึงคุณประโยชน์ยิ่งของการ
ประพฤติพรหมจรรย์ และเป็นเหตุปัจจัยที่ทําให้สามารถประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้ตลอดชีวิต ”
จบคําของพระเถระแล้ว พระเจ้าอุเทนทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสประกาศตนว่าขอ นับถือ
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ และขอเป็นอุบาสกไปตลอดพระชนม์ชีพ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร