วันเวลาปัจจุบัน 09 ก.ย. 2024, 12:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2018, 19:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 17:07
โพสต์: 23

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ต้องแสดงอำนาจก็มีอำนาจได้

ใช่เลย ศศิวรุณรู้สึกสับสนในชีวิตของตนเอง

เธอไม่คิดว่าจะใช้ชีวิตเป็นแพทย์ แต่เธอก็ต้องไปสอบเข้าแพทย์ เพราะเพียงเพื่อต้องการลดปมด้อยของพ่อ ด้วยการแสดงให้พ่อเห็นว่าพ่อมีอำนาจเหนือเธอ

อำนาจมีที่มาได้ 2 ทาง ตามแนวคิดของนายมาเคียเวลลี ที่เธอเคยอ่านผ่านตามา

มาเคียเวลลี (Machiavelli) เป็นนักการทหาร นักปรัชญา นักเขียน และนักรัฐศาสตร์ชาวอิตาลี มีชีวิตในช่วงราววันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1469 ถึงวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1527

ในช่วงที่มีชีวิตอยู่ ท่านเขียนหนังสือชื่อ The prince ซึ่งเป็นหนังสือเล่มที่โด่งดังมาก เป็นตำราเรียนของนักศึกษามาหลายยุคหลายสมัย หนังสือเล่มนี้ท่านเขียนไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1513 แต่กว่าที่จะพิมพ์ออกเผยแพร่ได้ ก็เมื่อท่านตายไปแล้ว 5 ปี เพราะในเนื้อเรื่องเป็นเรื่องราวที่ชำแหละพฤติกรรมอันเลวร้ายของนักปกครองเผด็จการ

อย่างเช่น ท่านบอกว่า ผู้ปกครองจะต้องแอบจัดงานเลี้ยง แอบกินของดีๆ อย่าให้ประชาชนรู้ เพราะประชาชนไม่ชอบที่ผู้ปกครองทำตัวฟุ่มเฟือย อย่างนี้เป็นต้น

ก็เล่นแฉกันแบบนี้ คนที่เป็นผู้ปกครองเขาก็ต้องสั่งห้ามพิมพ์แน่ๆ อยู่แล้ว

ความจริงในหนังสือเล่มนี้ก็มีหลายเรื่อง แต่เรื่องที่ศศิวรุณนำมาปรับใช้ก็คือเรื่อง ที่มาของอำนาจ
ท่านเขียนไว้ว่าอำนาจมีที่มา 2 ทางคือ อำนาจที่มาจากความกลัวหรืออำนาจหน้าที่ และอำนาจที่มาจากความรักหรืออำนาจบารมี

อำนาจที่มาจากความกลัวอย่างเช่น นักเรียนกลัวครูจะไม่ให้เกรด 4 ดังนั้นพอครูสั่งให้ทำการบ้าน นักเรียนก็เลยต้องรีบทำส่งครูให้ตรงตามเวลา อย่างนี้เป็นต้น

อีกทางหนึ่งก็คือ อำนาจที่มาจากความรัก อย่างเช่น ลูกทำการบ้านไม่ได้ก็เลยเอามาให้แม่ช่วยทำ แม่รักลูก กลัวลูกจะทำไม่ได้ก็เลยช่วยทำทั้งๆ ที่แม่ก็มีงานอื่นที่ต้องทำอีกมากมาย

กรณีหลังนี้เป็นกรณีที่ลูกมีอำนาจเหนือแม่

เพราะว่าอำนาจ หมายถึง ความสามารถของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ที่ทำให้บุคคลอื่นเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือการกระทำ หรือวิถีชีวิตของตน ไปจากเดิม

ศศิวรุณรักพ่อจึงจำต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตของตน จากการมุ่งสอบเข้าเรียนทางดีไซเนอร์ ไปเป็นสอบเข้าเรียนทางแพทย์

แต่ก็ใช่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เราคิดจะสมหวัง

เธอพลาด สอบเข้าไม่ได้ ทั้งๆ ที่เพื่อนร่วมห้องของเธอหลายคนก็สอบได้

เธอเครียด เคว้งไปพักใหญ่ ก็มีหม่าม้านี่แหละ คอยให้กำลังใจ แนะนำให้เรียนสาขาที่สอบได้นี้ไปก่อน ปีหน้าค่อยไปสอบใหม่ก็ได้

จากคนเรียนเก่ง พอสอบพลาด ความไม่มั่นใจในตัวเองก็ตามมา การเรียนในปีที่หนึ่งในมหาวิทยาลัย จึงเป็นไปในลักษณะจับปลาสองมือ ห่วงหน้าพะวงหลัง ทำให้การจัดเวลาดูหนังสือทำได้ไม่ถูกต้อง ผลก็คือเธอสอบเข้าแพทย์พลาดเป็นครั้งที่สอง

เธอเสียใจมาก เก็บเนื้อเก็บตัวร่ำไห้ ครุ่นคิดถึงวิถีชีวิตของตัวเองหลายวัน รำพึงในใจว่า ฟ้าดินทำไมไม่ช่วยเราเลย เราพยายามทำความดีแท้ๆ ฟ้าดินกลับไม่เห็นความดีของเรา

ทุกข์ในครั้งนี้ ถ้าไม่มีหม่าม้าคอยช่วยปลอบโยนแล้ว เธออาจเที่ยวสำมะเลเทเมา ไปเที่ยวผับเที่ยวบาร์ฟังคอนเสิร์ตกลับหอดึกๆ ดื่นๆ กับผู้ชายที่มีปัญหาชีวิตเหมือนเธอไปแล้วก็ได้

แต่เธอเชื่อหม่าม้า เพราะพื้นฐานทางด้านนิสัยสันดานของเธอยังดีอยู่ เธอจึงตั้งใจเรียนในสาขาเดิมของมหาวิทยาลัยเดิม

หม่าม้ามักจะพูดกับเธอเสมอว่า การเรียนให้ได้ที่หนึ่งนั้น เราคิดว่ายากแล้ว แต่การรักษาที่หนึ่งไว้นี่ซิ กลับยากยิ่งกว่า

ใช่แล้ว ตอนนี้เราเรียนตกไปมากเลย พยายามกู้เท่าไรๆ ก็กู้ไม่ขึ้น ทั้งๆ ที่ใช้เวลาในการอ่านหนังสือมากกว่าเดิมเสียอีก แต่อ่านเท่าไรๆ ก็ไม่ค่อยเข้าใจ

เวลาก็มีมากกว่าตอนมัธยมปลาย เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง แต่ก็อ่านหนังสือได้ไม่เข้าเป้า จึงทำข้อสอบได้ไม่ดีเท่าที่หวังไว้

มันต้องมีอะไรซักอย่างที่ลึกลับซับซ้อนในตัวเราแน่ๆ

ปกติในช่วงที่เราเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเรามักสอบได้คะแนนสูงๆ พอสอบวิชาไหนๆ มันก็ได้คะแนนสูงทุกวิชา บางครั้งเราก็คิดว่ามันจะไม่ได้คะแนนสูง เพราะรู้สึกว่าทำไม่ค่อยจะได้ แต่พอผลสอบออกมาทีไร เราก็ได้คะแนนนำเพื่อนทุกครั้ง เรียกว่าผูกขาดที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม วนเวียนอยู่นี่แหละ

ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าในร่างกายเรามีสารเคมีอะไรหรือเปล่า ที่มันผลักดันให้เราทำข้อสอบได้ทุกครั้ง หรืออาจจะเป็นกฎของเต๋าพลังของเต๋ออย่างที่หม่าม้าชอบพูด หรืออาจจะเป็นโชค

แต่ก็ไม่น่าจะเป็นโชคนะ เพราะสอบทีไรก็ได้คะแนนสูงอยู่เรื่อย หลายครั้งหลายปี หลายวิชา ทั้งๆ ที่ก็ดูหนังสือแบบปกตินั่นแหละ คือเครียดจากการดูหนังสือแบบปกติธรรมดา ไม่ได้เครียดมากเครียดมายอะไร

หรืออาจจะเป็นเรื่องของกำลังใจ พอเราเอนทรานซ์ไม่ได้ก็เลยทำให้ใจเสีย เรียนมหาวิทยาลัยเทอมแรกก็เรียนแบบห่วงหน้าพะวงหลัง เพราะต้องการไปสอบใหม่ ก็เลยทำคะแนนตอนเรียนเทอมแรกไม่ดี

พอเรียนไม่ดีตอนเทอมแรก ตัวสารเคมีอะไรในร่างกายของเรามันก็เลยมีแรงโน้มถ่วงให้เราเรียนไม่ค่อยดีต่อๆ มาเรื่อยๆ เทอมสองก็คะแนนไม่ดี ยิ่งพอปีสองเทอมต้นสอบเอนท์อีกครั้งไม่ได้ก็เลยใจเสียหนัก คะแนนเลยไม่ดีใหญ่ เรียกว่าพอเราเรียนตกลงมาแล้ว รู้สึกกู้ขึ้นยากเหลือเกิน เหมือนเข็นครกขึ้นภูเขา

มันจะต้องมีอะไรที่มีความลึกลับซับซ้อนในร่างกายของเราเป็นแน่ เพราะนอกจากตัวเราแล้ว กลุ่มเพื่อนของเราคนที่เคยได้คะแนนสูง พอสอบทีไรก็ได้คะแนนสูงอยู่นั่นแหละ แล้วคนเคยได้คะแนนต่ำ พอสอบทีไรเขาก็ได้คะแนนต่ำอยู่นั่นแหละ เรียกว่าคนสอบรู้ผลก่อนสอบได้เลยว่าจะอยู่ในกลุ่มสูงหรือกลุ่มต่ำ

แต่เราคิดว่า หัวของเราเคยดีตอนเด็กมันก็เหมือนมีฐานที่แน่นและมั่นคง อย่างไรเสีย เราจะต้องมีความสามารถพัฒนาตัวเอง แล้วก็หลุดออกจากวงจรอุบาทว์นี้ไปได้

ดูหนังสือมากกว่าสมัยก่อนมันยังกู้ไม่ขึ้น ฝึกสมาธิอย่างที่หม่าม้าบอกอาจจะช่วยเราได้ คงจะต้องลองศึกษาดู

การทำงานทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ถ้าเราชอบมัน แล้วก็ เรามีเวลาให้มัน เราต้องทำสำเร็จแน่

ศศิวรุณคิดอย่างมุ่งมั่น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2018, 19:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 17:07
โพสต์: 23

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาจารย์หนูผู้ปราดเปรื่อง

นั่งสมาธิแล้วเรียนเก่งจริงเหรอ หม่าม้า

จริงซิ ฝึกนั่งสมาธิแล้วเรียนได้เกียรตินิยมเลยก็มีนะลูก

เย็นใจชักมีกำลังใจโน้มน้าวลูก เมื่อเห็นลูกเริ่มสนใจ

ศศิวรุณก็เริ่มสนใจมากขึ้น อยากจะได้เกียรตินิยมเหมือนกัน

การเรียนให้ได้เกียรตินิยม มันก็เหมือนกับการที่เราประสบความสำเร็จในชีวิตในช่วงวัยเรียน เพราะเรามีความรู้มากกว่าเกณฑ์ปกติธรรมดาที่สถาบันสอนให้แก่บุคคลอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อนร่วมห้อง

เรียกว่าได้ยืดกับเพื่อนร่วมห้องได้ ว่างั้นเหอะ

มันก็จริง เพราะเราควรยืดได้กับเพื่อนร่วมห้องที่มีความรู้ด้วยกัน รู้ไส้รู้พุงกัน ดีกว่าไปยืดกับคนอื่นนอกห้องเรียน เพื่อนต่างสถาบันหรือญาติพี่น้อง ที่เขาไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์หรือในห้องเรียนนั้นด้วย

เมื่อเขาไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย เราจะยืดอย่างไง เขาก็เชื่อหมดอยู่แล้ว เรียกว่าไม่เจ๋งจริง

ถ้าเจ๋งจริงแล้ว ขอให้ยืดในกลุ่มที่เรียนด้วยกันให้ได้ก่อนเป็นอันดับแรก

โดยหลักการแล้ว ถ้าช่วงวัยเรียนของเราประสบความสำเร็จ ก็มีแนวโน้มว่าในช่วงวัยทำงานหลังเรียนจบ จะประสบความสำเร็จในชีวิตตามไปด้วย

เพราะการเรียนก็คือการทำงานในหน้าที่ชนิดหนึ่ง แต่เป็นการทำงานในหน้าที่ในช่วงที่ยังเป็นวัยเด็ก ที่ยังคงต้องขอเงินจากพ่อแม่มาใช้จ่าย

จากประสบการณ์ที่เราเคยพานพบ คนที่เรียนประสบความสำเร็จ โอกาสที่จะทำงานประสบความสำเร็จ จะมีมากกว่าคนที่เรียนไม่ประสบความสำเร็จ แต่กลับทำงานประสบความสำเร็จ มากมายหลายเท่านัก คนที่อ้างว่าไม่ต้องเรียนเก่งก็ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ นี่ก็อ้างเพื่อปกปิดปมด้อยของตนเองเท่านั้น

ดังนั้น เราจะต้องเริ่มต้นที่จุดนี้ คือเรียนให้ได้เกียรตินิยมก่อนเลย

ศศิวรุณก็คิดไปเรื่อยเปื่อย

เธอได้ยินเสียงหม่าม้าเล่าแว่วๆ มาว่า เมื่อหลายปีก่อนหม่าม้าเจอเพื่อนเก่าคนหนึ่ง ไม่ได้เจอกันมานานแล้ว ชื่ออาจารย์หนู

เป็นผู้หญิงเหรอ หม่าม้า

ศศิวรุณส่งเสียงถาม เพราะกลัวว่าจะใจลอยไปมากกว่านี้ การพูด การส่งเสียงจะทำให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวมากขึ้น

เป็นผู้ชายลูก หม่าม้าตอบ

เราไม่ได้เจอกันมานาน หลังจากจบ ป. 7 แล้ว

อ้าว มี ป. 7 ด้วยเหรอค่ะ ศศิวรุณชักสงสัย เพราะช่วงที่เธอเรียนระบบการศึกษารัฐบาลไม่ได้จัดแบบนี้

มี ในช่วงนั้นเป็นช่วงที่ประเทศไทยจัดระบบการศึกษาแบบ 7:3:2 คือมีการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา 7 ปี มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี และมัธยมศึกษาตอนปลาย 2 ปี เรียกกันโดยทั่วไปว่า ป. 1 ถึง ป. 7 ม.ศ.1 ถึง ม.ศ 3 และ ม.ศ. 4 ถึง ม.ศ. 5

ก่อนหน้านี้ คือก่อนปี พ.ศ. 2507 ประเทศไทยจัดระบบการศึกษาเป็นแบบ 4:6:2 คือ ป.1 ถึง ป.4 เป็นระดับประถมศึกษา ม.1 ถึง ม. 6 เป็นระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและ ม.7 ถึง ม. 8 เป็นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

แต่รัฐบาลต้องการที่จะเพิ่มการศึกษาภาคบังคับจาก 4 ปี เป็น 7 ปี จึงจัดระบบการศึกษาเป็นแบบ 7:3:2 ที่เพื่อนแล้วก็หม่าม้าเรียนนั่นแหละ

ช่วงขณะที่ลูกเรียนนี้ เป็นการจัดระบบการศึกษาแบบ 6:3:3 คือ ป. 1 ถึง ป. 6 เรียกเป็นประถมศึกษา ม. 1 ถึง ม. 3 เรียกเป็นมัธยมศึกษาตอนต้น และ ม. 4 ถึง ม. 6 เรียกเป็นมัธยมศึกษาตอนปลาย

เข้าใจแล้ว หม่าม้า

ศศิวรุณรีบเข้าใจ เพราะอยากฟังเรื่องของอาจารย์หนูที่ชื่อแปลกๆ คล้ายผู้หญิง แต่ตัวเป็นผู้ชายมากกว่า

เจออาจารย์หนูแล้วเป็นไงเหรอ หม่าม้า

อาจารย์หนูเล่าให้หม่าม้าฟังว่า หลังจากจบ ป 7 แล้ว ก็ไม่ได้เรียนต่อ เพราะจบการศึกษาภาคบังคับของรัฐบาลแล้ว ใครจะเรียนต่อหรือไม่เรียนต่อก็ได้ ไม่มีใครบังคับ

อาจารย์หนูเลือกที่จะไม่เรียนต่อ เนื่องจากฐานะทางครอบครัวไม่ดี ไม่มีเงินพอที่จะส่งเสียให้เรียนต่อในชั้นสูงขึ้นไปได้

อาจารย์หนูก็ไม่ได้น้อยอกน้อยใจพ่อแม่ ไม่ได้น้อยอกน้อยใจโชคชะตาของตนเอง เพราะโดยพื้นฐานแล้ว อาจารย์หนูเป็นคนที่มีหัวก้าวหน้า จึงรู้ว่าบางสิ่งบางอย่างในชีวิต ตนไม่อาจลิขิตชีวิตของตนเอง ได้

แม้ว่า ต้องการจะเรียนแต่ไม่ได้เรียนก็ไม่เป็นไร ขอให้มีจิตใจมุ่งมั่นที่ต้องการเรียนต่อ แล้วพยายามหาวิธีไปเรื่อยๆ เป็นใช้ได้

เมื่อไม่มีเงิน แต่อยากเรียนต่อ อาจารย์หนูจึงไปบวชเป็นสามเณรแถววัดข้างบ้าน

อาศัยที่เป็นคนขยันขันแข็ง ช่วยงานวัดทุกอย่าง เรียกว่าใครใช้อะไรอาจารย์หนูทำหมด จึงเป็นที่รักใคร่ของพระเกือบทุกรูปในวัด

ที่ว่าเกือบทุกรูปเพราะ มันเป็นการยากที่จะให้พระทุกรูปพอใจ เพราะในวัดมีพระหลายรูป ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา

แต่ส่วนใหญ่แล้ว พระที่ประพฤติดีประพฤติชอบมักรักและชอบอาจารย์หนูทุกรูป รวมถึงสมภารวัด

สมภารวัดเห็นสามเณรรูปนี้มีความขยันขันแข็ง และมีหัวก้าวหน้า เห็นแล้วอยากส่งเสริม จึงนำไปฝากไว้กับวัดของเพื่อนพระด้วยกันที่ใหญ่กว่า และมีเครือข่ายมากกว่า

เหมือนเดิม อาจารย์หนูไปอยู่วัดใหม่ก็ไม่นิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น คือใครใช้ให้ทำอะไรก็ทำหมด ไม่แบ่งว่าเป็นกุฏิโน้นกุฏินี้ คณะโน้นคณะนี้ เรียกว่าใครเห็นแล้วเรียกใช้ ก็รีบทำให้ทันทีเหมือนกัน

ผลก็คือ อาจารย์หนูเป็นที่รู้จักของคนมาก เพราะหลายคนเคยใช้งาน แล้วอาจารย์หนูก็ทำงานตามคำสั่งได้โดยไม่ขาดตกบกพร่อง จึงเป็นที่รักใคร่ชอบพอของคนในวัด ทั้งคนทั้งพระที่มองภาพอาจารย์หนูในแง่ดีมากกว่าพระเณรในวัดหลายรูป

เรียกว่าเป็นเณรเหนือเณร หรือเผลอๆ อาจจะเป็นเณรเหนือพระบางองค์ด้วยซ้ำ

อันที่จริง สรรพสิ่งในโลกมันเป็นเรื่องของธรรมดาตามธรรมชาติ ที่คนทำความดี ก็มักมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นในชีวิตเสมอ ถ้าเราไม่ท้อใจที่จะทำความดีเสียก่อน

อาจารย์หนูก็เช่นกัน

หลายปีต่อมา พระที่วัดองค์หนึ่ง ถูกแต่งตั้งให้ไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ

วัดแห่งนี้เป็นวัดที่บุกเบิกใหม่ ต้องการคนที่ทำงานคล่องแคล้วว่องไว เจ้าอาวาสมองไปมองมาก็เลยไปคว้าเอาตัวอาจารย์หนู ที่คิดว่าทำงานประเภทนี้ได้ ไปด้วย

อาจารย์หนูก็ไม่ทำให้เจ้าอาวาสผิดหวัง เพราะช่วยงานเต็มที่ ครั้นพอมีเวลาว่างขึ้นมาบ้าง ก็ไปเรียนหนังสือแบบสอบเทียบ จนกระทั่งจบการศึกษาในระดับพอที่จะเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้

เมื่อท่านเริ่มเรียนปี 1 ของมหาวิทยาลัย ท่านก็มีอายุได้ 27 พรรษาเข้าไปแล้ว เรียนหนังสือช่วงเย็น ส่วนช่วงกลางวันก็ทำงานในวัดตามที่วัดมอบหมายให้ทำทุกวันเป็นกิจวัตร

อาจารย์หนูตัดสินใจเข้าเรียนทางด้านการบริหารจัดการคอมพิวเตอร์ ซึ่งในที่สุดท่านก็เรียนจนจบการศึกษาปริญญาตรีตามปกติ

แต่ที่ไม่ปกติก็คือ อาจารย์หนูจบมาแบบได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง

อันที่จริงแล้ว คนไทยที่ไปเรียนในประเทศอังกฤษที่จบออกมาได้เกียรตินิยมอันดับ 1ก็มีกันหลายคน คล้ายกับเป็นเรื่องธรรมดา

แต่ที่ไม่ธรรมดาสำหรับอาจารย์หนูก็คืออาจารย์หนูจบแค่ชั้น ป.7 ของประเทศไทยเท่านั้น แถมขณะเริ่มเรียนปริญญาตรีก็มีอายุปาเข้าไปตั้ง 27 ปีเข้าไปแล้ว

อายุระดับนี้ แม้จะมีความคิดที่ดี แต่ระดับความจำคงจำแข่งสู้กับนักศึกษาที่มีอายุอยู่ในวัยเรียนปริญญาตรีไม่ได้

แต่อาจารย์หนูทำได้

แล้วมหาวิทยาลัยที่จบออกมาก็เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง เพราะช่วงที่หม่าม้าคุยอยู่กับอาจารย์หนูนั้น มีฝรั่งคนหนึ่งคุยอยู่ด้วย

ฝรั่งคนนี้เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยในประเทศออสเตรเลีย ขณะนี้ทำงานเป็นอาจารย์สอนและทำงานวิจัย ตามโครงการแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่เป็นหนึ่งในห้าของมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ของรัฐในประเทศไทย

ฝรั่งบอกว่า เพื่อนอาจารย์ของเขาคนหนึ่ง ก็จบมาจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ได้ยินฝรั่งคุยกับอาจารย์หนูว่าอย่างนั้น

ปัจจุบันอาจารย์หนูจบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน และกลับเข้ามาจำพรรษาอยู่ที่วัดต้นสังกัดในประเทศไทยแล้ว

ปัญหาที่หม่าม้าสงสัยก็คือทำไมจึงเรียนเก่ง เพราะช่วงที่เรียน ป. 7 อยู่ด้วยกัน อาจารย์หนูก็ไม่ได้เป็นคนเรียนเก่งอะไรเลย เรียนอยู่ในระดับธรรมดา

อาจารย์หนูบอกว่า อาตมานั่งสมาธิก่อนไปเรียน

วัดที่อาจารย์หนูจำวัดอยู่ตั้งแต่ก่อนไปอังกฤษนั้น เป็นวัดที่สอนสมาธิให้กับบุคคลทั่วไป อาจารย์หนูก็ฝึกด้วย แล้วก็ฝึกมาเรื่อยๆ จนกระทั่งย้ายไปอยู่ที่อังกฤษก็ยังฝึกต่อเนื่องมาโดยตลอด เพราะวัดที่อังกฤษก็สอนฝึกสมาธิให้ญาติโยมด้วยเหมือนกัน

ก่อนเรียนหนังสือก็นั่งสมาธิสักพัก อาจารย์หนูว่าอย่างนั้น

พอนั่งไปสักพักแล้ว ก็ทำเหมือนกับเอากระจกส่องเข้าไปทางด้านหลังตรงท้ายทอย ให้มันใสทั้งท้ายทอยเลย

สักพักก็ได้เรื่อง สมองปรอดโปร่ง พอถึงตอนฟังคำบรรยายก็ฟังไปได้เรื่อยๆ เรื่องที่เพื่อนนักศึกษาฝรั่งบ่นกันว่าฟังไม่รู้เรื่องเลย อาตมารู้เรื่องตลอด ไม่มีปัญหาอะไร

แต่หม่าม้ามีปัญหา เพราะเท่าที่ฟังอาจารย์หนูเล่าให้ฟังแล้วก็ยังงงๆ กับวิธีการเอากระจกส่องเข้าไปที่ท้ายทอย ว่ามันทำได้อย่างไร

แม้ไม่แน่ใจว่าจะทำได้อย่างไร แต่หม่าม้าก็ชอบฟังผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์เล่าให้ฟัง

หม่าม้าฟังแล้วก็จำไว้ คือฟังไม่รู้เรื่องก็ขอจำขอจดเอาไว้ก่อน

เรื่องแบบนี้ บางครั้งมันก็น่าสนใจดีเหมือนกัน ถ้ามีเวลาเราจะลองฝึกดู หม่าม้าคิด

ลึกลงไปกว่านั้น หม่าม้ามีความเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ว่า การทำงานทุกชนิด ถ้าเราชอบมัน แล้วก็มีเวลาให้มัน มันต้องสำเร็จแน่ มันมีสองอย่างนี้คือ ชอบมัน แล้วก็มีเวลาให้มัน

แล้วในที่สุดหม่าม้าก็ทำสำเร็จ แม้ใช้เวลาหลายปี มันไม่เหนือบ่ากว่าแรงของเราเลย

ฝึกสมาธินี่วิเศษจริงๆ ให้ผลทันตาเห็น ถ้าเราฝึกให้ถูกวิธี

ลูกต้องทำได้แน่ๆ ถ้าฝึกตามที่หม่าม้าบอก ไม่ยากเลย

เย็นใจให้กำลังใจศศิวรุณ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2018, 21:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 17:07
โพสต์: 23

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาค 2 การฝึกสมาธิช่วยได้

ศศิวรุณจะเริ่มฝึกสมาธิแล้ว

คำว่าสมาธิตามบริบทของการฝึกสมาธิคืออะไรเหรอ หม่าม้า

ศศิวรุณเริ่มสอบถาม เพราะอยากจะฝึกจริงๆ แล้ว

คำว่าสมาธินั้น ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2544 ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “ความตั้งมั่นแห่งจิต; ความสำรวมใจให้แน่วแน่เพื่อให้จิตใจสงบ หรือเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นจริง”

อ้าว แล้วจิตคืออะไรเหรอ หม่าม้า

จิต ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2544 ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิด และนึก”

หม่าม้าขอแถมอีกตัวหนึ่งนะ คือคำว่าสติ

สติ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2544 ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า“ความรู้สึก, ความรู้สึกตัว, เช่น ได้สติ ฟื้นคืนสติ สิ้นสติ, ความรู้สึกผิดชอบ เช่น มีสติ ไร้สติ, ความระลึกได้ เช่น ตั้งสติ กำหนดสติ”

ว้า ยากเหมือนกันนะ หม่าม้า มันยุ่งๆ พันๆ กันพิกล

ศศิวรุณชักเริ่มบ่น ดูท่าเธอจะลาโรงเสียให้ได้ เพราะหม่าม้าพูดถึงแต่คำจำกัดความที่มันมีมากเกินไป เริ่มต้นก็ไม่เข้าใจแล้ว

ไม่ยากหรอกลูก ตอนแรกเราอาจจะต้องรู้จักกับคำจำกัดความก่อน เพื่อให้ฐานมันแน่นไว้ เผื่อเวลาเราขึ้นไปสูงๆ แล้วเราอาจหลงทาง เราก็จะได้ย้อนกลับมาพิจารณาจากฐานได้ไงละลูก

อันที่จริงรู้แค่สามตัวนี้ก็พอแล้ว คือสมาธิ จิต แล้วก็สติ แค่นี้เราก็หากินได้แล้ว ฝึกสมาธิได้แล้ว ปฏิบัติได้แล้ว สบายหายห่วง

แต่ถ้าลูกคิดว่ายาก หม่าม้าอาจจะพูดในอีกมุมมองหนึ่งก็ได้นะ อาจจะชัดเจนขึ้น

ได้ หม่าม้า เอาชนิดง่ายๆ นะ ศศิวรุณรีบตอบรับ

ดูแค่สามตัวคือ สมาธิ จิต แล้วก็สติ .... สมาธิ จิต แล้วก็สติ ..... สมาธิ จิต แล้วก็สติ

จำไว้แค่นี้ก็พอแล้ว สามตัวนี่มันพันกันยุ่งไปหมด แต่ถ้าเรานั่งสมาธิจนได้ที่แล้ว เราจะสามารถแยกแยะออกจากกันได้ทั้งสามตัว

ลูกก็ทำได้ พอลูกฝึกนั่งไปสักพัก ลูกก็จะสามารถแยกแยะออกจากกันได้เหมือนกัน พอแยกออกจากกันได้แล้ว เวลาเราจะเอามารวมกัน เราก็สามารถนำเอามารวมกลับเข้าที่เดิมได้

เย็นใจให้กำลังใจลูก

เหมือนตอนเรียนหนังสือ ครูให้สมการคณิตศาสตร์มาสมการหนึ่ง แล้วสั่งให้เราแยกสมการ เราก็แยกได้ แล้วสมการเดิมนี่แหละ ถ้าครูสั่งให้รวมสมการ เราก็รวมได้

ถ้าเราทำถูกต้องตามวิธีแล้ว เราก็จะได้ผลลัพธ์เหมือนเดิม สมาธิ จิต แล้วก็สติ นี่ก็เช่นกัน

เราจะมาลองเริ่มต้นที่คำว่าสมาธิก่อนก็แล้วกัน

เย็นใจสรุป เพื่อที่จะได้ไม่เสียเวลาไปในการพูดมากเกินไป เพราะการฝึกสมาธิจะเน้นไปในทางปฏิบัติมากกว่า

ในทุกหน่วยของเวลาที่เสียไปนั้นหมายถึงชีวิตของเราจะสั้นลงหนึ่งหน่วยแล้ว นั่นหมายถึงเวลาในการนั่งสมาธิของเราก็จะลดน้อยถอยลงตามไปด้วย

สมาธิคือความตั้งมั่นแห่งจิต ตามพจนานุกรม หรือเราอาจจะแปลกลับเพื่อให้ง่ายขึ้นตามบริบทแห่งการฝึกสมาธิของเราว่า สมาธิ คือจิตที่ตั้งมั่น

นั่นหมายถึงว่า เมื่อไรที่ตัวจิตของเรามันตั้งมั่น เมื่อนั้นเราก็บอกว่า เรามีสมาธิ

ตามตำราแล้ว สมาธิ เกิดขึ้นได้ 2 ทาง คือสมาธิที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ และสมาธิที่เราทำขึ้นหรือสร้างขึ้น

สมาธิที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาตินั้น ทุกคนมีอยู่ในตัวของตัวเองอยู่แล้ว อย่างเช่น นักเทนนิสอาชีพตอนเขาแข่งขันกัน พอเขาโยนลูกขึ้นไปบนอากาศเพื่อเสิร์ฟ เขาก็ต้องใช้สมาธิในการตีลูกให้ถูกตามเหลี่ยมตามมุมที่เขาต้องการ

ถ้าขณะเขาจะเสิร์ฟลูก มีคนดูเดินไปเดินมา เขาก็จะไม่เสิร์ฟ เขาจะหยุดรอจนกว่าคนดูจะนั่งเสียก่อน เขาจึงเริ่มเสิร์ฟ เพราะเขาบอกว่าเขาไม่สามารถใช้สมาธิได้

หรือเวลานักยิงปืน ตอนยกปืนขึ้นเล็งเป้า เขาก็ต้องใช้สมาธิ เพราะถ้าไม่ใช้สมาธิ เขาก็จะยิงไม่เข้าเป้า

หรือขณะเราอ่านหนังสือ เราก็ต้องใช้สมาธิในการอ่าน เราจึงอ่านได้รู้เรื่อง

ตัวอย่างทั้งสามกิจกรรมดังที่กล่าวมานี้ เราจะต้องใช้สมาธิในการทำงานทั้งสิ้น

ปกติแล้ว สรรพสิ่งต่างๆ จะต้องมีสิ่งใดเสียก่อน เราจึงใช้สิ่งนั้นได้ เราต้องมีเงินก่อน เราจึงใช้เงินได้

คราวนี้ ถ้าเราไม่มี เราก็ต้องไปหามา หรือไปทำขึ้น หรือไปสร้างขึ้น นี่เป็นหลักทั่วไป

เช่นเดียวกับสรรพสิ่งอื่นๆ สมาธิก็เช่นกัน เราจะต้องมีสมาธิก่อน เราจึงใช้สมาธิได้

จะเห็นได้ว่าสมาธิที่ใช้ในสามกิจกรรมที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็นสมาธิที่มีมาโดยธรรมชาติ หรือเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ซึ่งมีอยู่ในตัวของเราทุกผู้ทุกคน

คราวนี้ในบางคน หรือในบางกรณีหรือในบางกิจกรรม สมาธิที่เรามีอยู่โดยธรรมชาตินั้น มันไม่เพียงพอ มันน้อยไป เราจึงจำเป็นที่จะต้องไปทำมันขึ้นมาใหม่หรือไปสร้างมันขึ้นมาใหม่

การสร้างสมาธิขึ้นมาใหม่ก็คือการฝึกสมาธิที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี่เอง

จริงๆ แล้ว หลายคนเขาก็ทำกัน เพื่อพัฒนาสมาธิของเขาให้เพิ่มมากขึ้น

อย่างเช่นนักยิงปืนระดับชาติท่านหนึ่ง ได้ให้สัมภาษณ์ว่าสมาธิของท่านไม่พอ ก่อนออกไปแข่งขันในต่างประเทศ ท่านต้องไปฝึกสมาธิก่อน เพื่อทำให้มีสมาธิเพิ่มมากขึ้น

ผลก็คือเมื่อท่านแข่งเสร็จ ท่านก็ได้เหรียญทองกลับมา

หรืออย่างลูกที่เรียนหนังสือได้คะแนนไม่ดี แสดงว่าลูกมีสมาธิไม่เพียงพอที่จะอ่านหนังสือให้รู้เรื่องได้
ดังนั้นลูกจึงต้องไปสร้างสมาธิขึ้นมาใหม่ เพื่อให้มีเพียงพอในการใช้อ่านหนังสือให้รู้เรื่องได้ อย่างนี้เป็นต้น

เข้าใจแล้วหม่าม้า เข้าใจแจ่มแจ้งชัดแจ๋วเลยกับคำว่าสมาธิ

หนูทวนให้ฟังนะ คือมันต้องมีสมาธิก่อน แล้วเราจึงจะใช้สมาธิได้ ถ้าเรามีสมาธิที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติในสต๊อกของเราไม่พอเพียง เราก็ต้องไปสร้างมันเพิ่มเติมขึ้นมาอีก เพื่อที่จะได้ใช้ทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งตามวัตถุประสงค์ที่เราต้องการ

การสร้างสมาธิเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่นี้ก็คือ การฝึกสมาธินี่เอง

แล้วคำว่าจิตกับสติล่ะ อธิบายแบบง่ายๆ แบบมะกี้นะหม่าม้านะ

ศศิวรุณเริ่มอ้อนถาม เพราะดูแล้วการฝึกสมาธิงวดนี้น่าจะพอกล้อมแกล้มไปได้ ไม่ยากเกินไปนัก

บางสิ่งบางอย่างมันก็อธิบายแบบง่ายๆ ไม่ได้หรอกลูก มันต้องปฏิบัติเองหรือทำเองเราจึงจะรู้จักมัน คำว่าจิตกับสตินี่ก็เช่นกัน

ยกตัวอย่างนิดก็ได้

อย่างเช่น ลูกบอกว่าให้อธิบายคำว่าจิตแบบง่ายๆ นะ ว่าจิตมันคืออะไร อยู่ตรงไหน
ไหนละ ไหนละ จิต

อ้ายตัวที่ลูกคิดสงสัยว่า ไหนละ ไหนละ จิต นั่นแหละ

มันก็คือจิต

เพราะถ้าหนูย้อนกลับขึ้นไปดูคำจำกัดความของจิตที่หม่าม้าพูดถึงเมื่อกี๊นี้ เขาได้ให้ความหมายไว้ว่า จิตก็คือคิด

ในที่นี้ก็คือคิดว่าจิตอยู่ตรงไหน นั่นเอง

งงหรือเปล่าลูก

งงสุดๆ เลย หม่าม้า

แล้วถ้าจิตก็คือคิดแล้วทำไมเขาบัญญัติศัพท์เป็นสองตัว ไม่ยุบรวมเป็นตัวเดียวละ หม่าม้า เพราะความหมายมันเหมือนกัน

มันไม่ใช่อย่างนั้น ความจริงจิตมันมีหลายความหมายมากกว่านั้นมาก หนูเคยได้ยินคำว่าจิตสงบไหม

เคยได้ยินค่ะ หม่าม้า

จิตสงบ นั่นก็คือจิตที่สงบอยู่ คือมันอยู่นิ่งๆ แต่มันก็เป็นจิต แต่มันกำลังจะเปลี่ยนไปทำหน้าที่อื่น

ทำหน้าที่อื่นนอกจากหน้าที่คิดเรียกว่าจิตที่เล่ามาแล้ว ก็ยังมีทำหน้าที่รู้สึก

คือถ้ามันทำหน้าที่รู้สึกเราก็เรียกมันว่ามโน

หรือถ้ามันทำหน้าที่รู้แจ้งที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เราก็เรียกมันว่าวิญญาณ เป็นต้น

ดังนั้น ตัวคำว่า จิต มโน วิญญาณ ก็คือสิ่งๆ เดียวกัน แต่ทำหน้าที่ต่างกันนั่นเอง

ความจริงแล้ว สิ่งต่างๆ เหล่านี้ มันเป็นสันฐิติโก คือสามารถรู้เห็นได้ด้วยตัวของตัวเอง ตามบทสวดมนต์ที่เราสวดกันเป็นประจำนั่นแหละ แต่มีข้อแม้ว่าเราจะต้องฝึกสมาธิไปจนถึงจุดๆ หนึ่งก่อน

สรุปง่ายๆ ก็คือ เราจะต้องฝึกสมาธิก่อน แล้วทุกสิ่งทุกอย่างที่ลูกสงสัย จะหายสงสัยทันที รวมทั้งคำว่า จิต และสติ ด้วย

ถ้าอย่างนั้นหนูจะเริ่มฝึกเลย หนูพร้อมแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2018, 21:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 17:07
โพสต์: 23

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานสติ

หม่าม้าจะเล่าไปเรื่อยๆ นะ บางช่วงลูกก็ทำตาม

การฝึกสมาธิมีหลายแบบหลายวิธี

อย่างที่เราคุ้นๆ กันเช่น

วิธีบริกรรมพุทโธ หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ

วิธีพองยุบ หายใจเข้าพองที่ท้อง หายใจออกยุบที่ท้อง

วิธีสัมมาอรหัง เพ่งลูกแก้วหรือองค์พระที่ศูนย์กลางกายเหนือสะดือ

วิธีอานาปานสติ คือการดูลม หรือสังเกตลมที่ผ่านปลายจมูกก็ได้ หรือดูลมยาวๆ ตามลมไปก็ได้ บางทีดูไปดูมา ดูตามลมจนเหนื่อย เราก็เลยดูมันที่จุด...จุดเดียว คือที่ปลายจมูกอย่างนี้ก็ได้

ท่านว่า เหมือนเราไกวเปลเด็ก ตอนแรกเรากลัวเด็กจะตกจากเปล เราก็เลยต้องดูเด็กในเปลที่แกว่งไปไกวมาซ้ายทีขวาที แต่พอดูไปดูมา หันไปหันมาจนเมื่อยคอแล้ว เห็นว่าเด็กไม่ตกจากแปลแน่แล้ว เรารู้จังหวะมันแล้ว เราก็อาจจะดูที่จุดกลางเปลหรือจุดใดจุดหนึ่ง จุดเดียวก็ได้ เพราะเราดูจนรู้แน่แก่ใจแล้วว่า เด็กไม่ตกแน่ เลยดูมันอยู่ที่จุดๆ เดียวก็พอ

เวลาดูลมของอานาปานสติที่จุดๆ เดียวนี้บางทีเขาก็ดูที่ปลายจมูก เพราะเป็นทางผ่านของลมหายใจจากนอกร่างกายเข้าสู่ในร่างกาย ท่านบอกว่ามันเป็นต้นลม

ต้นลมมันก็ที่ปลายจมูก กลางลมมันก็ที่หน้าอก ปลายลมมันก็ที่ท้อง ท่านบอกว่าอย่างนั้น

แต่ถ้าพูดแบบนี้เดี๋ยวคนฝึกพองยุบจะต่อว่าเอา แล้วเลิกอ่านเลย เพราะพองยุบเขาดูที่ท้อง ท้องมันก็ปลายลม

ถ้าอย่างนั้นขออนุญาตพูดใหม่เอาใจคนฝึกแบบพองยุบก็ได้ว่า ท้องมันก็เป็นต้นลมเหมือนกัน เพราะตอนเราหายใจออก ท้องมันก็เป็นต้นลม ลมออกทิ้งที่ปลายจมูก ปลายจมูกมันก็เป็นปลายลม

ความจริงต้นลม กลางลม ปลายลมมันก็ลมเส้นเดียวกัน วิธีไหนก็ได้ ฝึกให้ได้ที่แล้วมันก็จะเหลือจิตอยู่ตัวเดียว หรือจะสมมติชื่อให้เป็นอะไรก็ได้ ตัวรู้ก็ได้

ตัวรู้ตัวเดียวลอยอยู่ภายในร่างกายของเรา อย่างนี้ก็ได้

มันก็เหมือนกันกับตอนที่เราหิวอยากจะกินอาหาร เราจะใช้ตะเกียบกินก็ได้ ช้อนกินก็ได้ อิ่มเหมือนกัน อิ่มแล้วก็เอาเวลาที่เหลือไปทำการงานอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อ

คงไม่มีใครมาเถียงกันว่า ใช้ช้อนกินอิ่มดีกว่าใช้ตะเกียบกิน หรือใช้ตะเกียบกินอิ่มดีกว่าใช้ช้อนกิน

วิธีการฝึกจิตให้เหลือตัวจิตดวงเดียว หรือจิตที่มีสมาธินี่ก็เหมือนกัน ป่วยการที่จะเถียงกันว่าวิธีไหนดีกว่ากัน พอฝึกได้วิธีใดวิธีหนึ่งจนถึงระดับหนึ่งแล้ว วิธีอื่นเราแอบไปทำแป๊บเดียวก็ได้แล้ว เหมือนเราฝึกกินช้อนเป็นได้ไม่นาน เราก็แอบไปฝึกกินตะเกียบเป็นได้ภายในไม่นานเหมือนกัน

เป็นอันว่าเราจะทดลองฝึกวิธีกินช้อนกันก่อนก็แล้วกัน

สมมติว่าวิธีกินช้อนเป็นวิธีอานาปานสติ เพราะฉะนั้นหม่าม้าก็เลยจะเล่าให้ลูกฟังถึงวิธีฝึกสมาธิแบบที่เรียกกันว่า อานาปานสติ

เราอาจจะเริ่มที่ความหมายของคำก่อน ก็น่าจะดี

อานะ แปลว่า หายใจเข้า

อปานะ แปลว่า หายใจไม่เข้า อะ แปลว่าไม่ อปานะ แปลว่าหายใจไม่เข้า ซึ่งก็คือ หายใจออก

ดังนั้น อานาปานะ ก็คือ การหายใจเข้าและการหายใจออกบวกกับคำว่าสติ เลย กลายมาเป็น อานาปานสติ แปลว่า สติกำหนดลงไปที่ลมหายใจเข้าลมหายใจออก นี่เป็นการแปลคัมภีร์ตามแบบฝ่ายพระสูตร

แต่ถ้าตามแบบคัมภีร์ของฝ่ายพระวินัย

เขาแปลคำว่า อานะก็คือออก และ อปานะก็คือเข้า ดังนั้น อานาปานสติ ก็คือสติกำหนดลงไปที่ลมหายใจออกลมหายใจเข้า

หม่าม้าก็เดาต่อเอาไปตามความเห็นของหม่าม้าเลยว่า เพราะเด็กเกิดมาจะร้องไห้จ๊ากก่อนเลย แสดงว่าหายใจออกก่อน ขืนหายใจเข้าก่อน เด็กก็คงหายใจเอาน้ำเข้าไปในปอดเป็นโรคปอดบวมแน่ อีกอย่างหนึ่ง เด็กก็คงต้องสั่งอะไรที่มันยังคั่งค้างอยู่ในรูจมูกออกมาก่อนกระมัง แล้วจึงหายใจเข้า

แปลกนะลูก เด็กเกิดมาพร้อมเสียงร้องไห้เลย

แสดงว่าเศร้าใจที่ต้องเกิดมา เพราะเกิดมางวดนี้มีแต่ความทุกข์รออยู่เบื้องหน้าจมเลย แต่ผู้ใหญ่ที่อยู่รอบๆ ที่เป็นกองเชียร์กลับชอบใจ หัวเราะกันใหญ่ คงดีใจมั้ง ที่มีเพื่อนมาร่วมแบกทุกข์อีกคนหนึ่ง

ถ้าเด็กไม่ร้องไห้ผู้ใหญ่ก็ต้องรีบตีเด็กใหญ่ เพื่อให้เด็กร้องไห้ แล้วถ้าเด็กไม่ยอมร้องไห้จริงๆ เพราะขี้เกียจเกิดมาแบกทุกข์ ผู้ใหญ่ก็เลยต้องร้องห่มร้องไห้แทน เพราะเสียใจที่เด็กได้ตายไปเสียแล้ว

โลกนี้มักจะมีอะไรแปลกๆ เสมอ ร้องไห้ท่ามกลางเสียงหัวเราะ หัวเราะท่ามกลางเสียงร้องไห้ โลกมันจึง ชุลมุนชุลเก ยุ่งเหมือนยุงตีกันอยู่แบบนี้

ว่าแล้วหม่าม้าก็กลับมาเข้าเรื่อง การกำหนดลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ของเรากันต่อดีกว่า

“เราจะกำหนดลมหายใจเข้าก่อนหรือกำหนดลมหายใจออกก่อน ก็แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน แต่ในช่วงที่เริ่มฝึก เพื่อความสะดวกที่จะได้ทำไปพร้อมๆ กันอย่างมีระบบระเบียบ เราอาจทำแบบง่ายๆ ตามแบบที่ครูบาอาจารย์หลายท่านแนะนำกันต่อๆ มา นั่นก็คือการหายใจเข้าก่อนแล้วจึงหายใจออกก็แล้วกัน ง่ายดี”

หม่าม้าแนะนำ

เอาเลย ฝึกเลย ฝึกเลย ฝึกเดี๋ยวนี้เลย เอาที่ปัจจุบันนี้เลย ธรรมะเป็นเรื่องของปัจจุบัน ที่นี่และเดี๋ยวนี้ พิสูจน์ได้ทันทีเลย เพราะมันเป็นวิทยาศาสตร์

แล้วปกติเราก็ต้องหายใจอยู่แล้ว ไม่ต้องหาอุปกรณ์อะไรเพิ่มเติมอีก ฝึกกันได้แบบง่ายๆ ทุกคนเลย
ผู้หญิงก็ฝึกได้ ผู้ชายก็ฝึกดี ใครว่าผู้หญิงฝึกได้ไม่ดีเท่าผู้ชาย อย่าไปเชื่อ ใครๆ ก็ฝึกได้ดีหมด เหมือนกันทุกคน

ไม่ว่าเป็นคนผิวขาว ผิวดำ ผิวเหลือง ทุกสีผิวฝึกได้หมด ไม่ว่าจะนับถือศาสนาไหนๆ ลัทธิใดๆ ก็ฝึกได้หมดเหมือนกัน เพราะทุกคนต้องหายใจอยู่แล้ว

เอาละ เราจะจัดการพิสูจน์เดี๋ยวนี้เลย เอาให้รู้เรื่องเดี๋ยวนี้เลย

ช่วงชีวิตที่ผ่านมาของเราจนถึงเดี๋ยวนี้ เราได้ทำประโยชน์ให้กับคนอื่นมา ก็มากแล้ว เราจะมาลองทำประโยชน์ให้กับตัวเองบ้าง ซักห้านาทีสิบนาที จะเป็นไรไป แป๊บเดียวเท่านั้นเอง

“แป๊บเดียวที่ว่านี้ บางทีเราอาจจะได้รับประโยชน์คุ้มค่าเกินกว่าที่เราคิดก็ได้ มันอาจจะเปลี่ยนชีวิตแบบเดิมๆ ของเรา ให้เป็นชีวิตใหม่ที่จ๊าบกว่าเดิมก็ได้ ถ้าเราทำถูกต้อง ถ้าเราหายใจถูกต้อง แล้วก็หายใจถูกวิธี”

หม่าม้าพยายามโน้มน้าว

“ลองหายใจเข้าดูซิ หายใจเข้า...ก็สบายยยย....ลองใหม่ ลองใหม่..”

หายใจเข้า ก็สบายยยยย.....นึกเอาไว้ก่อนว่าสบาย....นึกเอาไว้ก่อนว่าสบาย....

หายใจออก ก็สบายยยยย....นึกเอาไว้ก่อนว่าสบาย....นึกเอาไว้ก่อนว่าสบาย....

“แล้วหายใจเข้าทำไมมันถึงสบาย”

ก็เพราะเราหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปในร่างกาย

มันก็เลยสบาย.....

ในร่างกายเรามีออกซิเจนเป็นตัวขับเคลื่อน เราได้รับออกซิเจนมากๆ มันดีอยู่แล้ว เพราะออกซิเจนมันเป็นปราณที่ทำให้เราสามารถมีชีวิตอยู่ได้ เราไม่ต้องไปสูดออกซิเจนหรือสูดอากาศถึงชายทะเลหรือในป่าเขา นั่งอยู่ตรงเนี๊ยะ ถ้าหายใจถูกวิธี มันก็เป็นการหายใจอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ได้ปริมาณออกซิเจนเหมือนในป่าในเขาหรือชายทะเลเลย

มันก็เลยสบายยย...

“หายใจออกก็สบาย แล้วทำไมมันจึงสบาย”

ก็เพราะเราหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นของเสียในร่างกายออกไป

มันก็สบาย.......

“หายใจเข้า มันก็เลย...สบาย....หายใจออก มันก็เลย.....สบาย....”

“หายใจเข้า สบายยยย.....หายใจออก สบายยยย...”

เอาละ เราจะเริ่มฝึกแล้วนะ ตั้งใจดี..ดี... แล้วมันจะได้สิ่งดี..ดี..กลับมาเอง แต่เราก็ไม่ต้องไปหวัง ไม่ต้องไปอยากว่ามันว่าจะดี ทำดีแล้วมันก็จะ ดี...ดี...ดี...ในขณะทำนี่แหละ

เคล็ดลับข้อแรกคือ อย่าได้ไปหวัง อย่าได้ไปอยากว่าจะดี แต่ถ้าเราทำถูกต้องแล้วมันก็จะดีเอง

อยากมันเป็นกิเลส ถ้าเราไปอยากมันเมื่อไรเราจะปฏิบัติให้ถึงจุดหมายได้ช้ามาก นี่คือเคล็ดลับที่นักปฏิบัติทุกคนรู้แจ้งอยู่แก่ใจ แต่ตอนปฏิบัติ คือตอนทำ เราก็ต้องทำให้ดี..ดี..

ตอนเป็นนักเรียน ถ้าเราทุ่มเวลาให้กับการอ่านหนังสือให้ดี..ดี มันก็เข้าใจ พอไปสอบก็จะได้คะแนนดี..ดี ไปเองโดยอัตโนมัติ เราไม่ต้องไปหวัง ไม่ต้องไปอยาก ว่าจะได้คะแนนดี..ดี มันได้มาเอง สอบเสร็จนอนร้องเพลงรอเกรดดี..ดี ได้เลย

ตอนเราจะเริ่มฝึกสมาธิ เราก็จะต้องตั้งใจฝึกให้ดี..ดี เราจะทุ่มเวลาให้มันสักแป๊บนึงนี่แหละ ทำให้ดีๆ แล้วเราก็จะได้อะไรที่ดีๆ ออกมาเอง เอาใหม่....เอาใหม่

หายใจเข้า สบายยยย..... หายใจออก สบายยยย.....

“ได้เรื่องแล้ว ชักจะได้เรื่องแล้ว พร้อมยัง ทำให้เต็มที่นะ ทำให้เต็มที่ ทำให้ดีที่สุด ที่นี่และเดี๋ยวนี้ เอาที่ปัจจุบันให้ดีที่สุด”

หม่าม้ากระตุ้น

เอาตอนนี้เลย นั่งตัวตรง..ตรง ยืดตัวตรง..ตรง ดำรงสติให้มั่น......แล้วหายใจเข้าให้ลึกกก.....ลึกกก....... ลองทำดู ลองทำดู เอาเลย.... เอาเลย

“หายใจเข้าให้ลึกกก.........ลึกกกกก.......ให้เต็มปอดเลย......แล้วก็หายใจออกให้.......ยาววว.....ยาวววว......ให้หมดปอดเลย ออกทางจมูกก่อนนะ อย่าออกทางปาก เข้าก็ทางจมูก แล้วก็ออกก็ทางจมูก เข้าให้ลึกๆ นี่ใช้เวลาเท่าไรก็ได้ ยิ่งนานยิ่งดี ออกให้ยาวๆ ก็เหมือนกัน นานเท่าไรก็ได้แต่ยิ่งนานก็ยิ่งดี ทำใหม่ ทำใหม่”

หายใจเข้าให้ ลึกกก....ลึกกกก........หายใจออกให้..ยาววว.....ยาวววว........

หายใจเข้าให้ ลึกกก....ลึกกกก........หายใจออกให้..ยาววว.....ยาวววว........

“เห็นอะไรเปลี่ยนแปลงหรือเปล่า... เห็นอะไรเปลี่ยนแปลงมั๊ย.....”

ไม่เห็นมีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย......

“อ้าว แล้วกัน...ความจริงเราว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงนะ...แต่ลูกไม่รู้เอง..”
หม่าม้าบอก...

“คือตอนที่เราหายใจเข้า เรารับรู้ว่าเราหายใจเข้า ตอนที่เราหายใจออกเราก็รับรู้ว่าเราหายใจออก”

ปกติเราจะรู้ว่าคนที่มีชีวิต ต้องหายใจ มันเป็นปราณ มันเป็นลมปราณที่มีออกซิเจนอยู่ มันทำให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้ อย่างที่ได้เล่าไปแล้ว

“แต่เรา..ไม่รู้สึกว่าเราหายใจ..ใช่หรือไม่...”

เรารู้ว่าคนเราต้องหายใจ........แต่เราไม่รู้สึกว่าเรากำลังหายใจในช่วงเวลาปกติ

เอ..แปลกดีนะ..พูดไง..งง..งง..

เอาใหม่ หายใจเข้าใหม่....ทำเลย...ทำเลย..

หายใจเข้าให้ ลึกกก....ลึกกกก........หายใจออกให้..ยาววว.....ยาวววว........

หายใจเข้าให้ ลึกกก....ลึกกกก........หายใจออกให้..ยาววว.....ยาวววว........

ฮั่นแน่...เริ่มรู้สึกตอนเราหายใจเข้า หายใจออกแล้ว

แล้วไง....รู้ก็รู้ซิ.....

แต่เมื่อกี๊ก่อนที่เราจะพูดคุยกันนั้น เราไม่รู้สึกเลยว่าเรากำลังหายใจ แสดงว่าตอนนี้เรามีความรู้เพิ่มขึ้นมาอีกนิดหนึ่งแล้ว ใช่หรือไม่

เรารู้ว่าเรามีการหายใจ เพราะเรารับรู้ได้จาก....ลมหายใจ.....ของเราเอง

การหายใจ กับลมหายใจมันคนละตัวกัน

การหายใจเป็นกริยา เป็น Verb เป็นกริยาอาการ แต่ ลมหายใจ เป็น Noun หรือเป็นนาม ที่เราจับต้องได้ด้วยประสาทสัมผัสที่มันมาสัมผัสกับรูจมูกของเรา การหายใจทำให้เกิดลมหายใจ

ตัวลมหายใจนี่มันเป็นโผฏฐัพพะ คือสิ่งที่มากระทบผิวหนัง มันก็เป็นอายตนะภายนอก

อายตนะภายนอกก็มี 6 สิ่ง สิ่งที่มันมาสัมผัสทางกายเราเรียกมันว่าโผฏฐัพพะ ส่วนกายหรือในที่นี้ก็คือผิวหนังมันเป็นอายตนะภายในโผฏฐัพพะเป็นอายตนภายนอก สำหรับ 5 คู่ที่เหลือก็คือ ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส และใจกับธรรมารมณ์

อายตนะภายนอกพวกนี้ ถ้าเรานั่งสมาธิแล้วเพ่งมัน มันก็จะกลายมาเป็นอารมณ์ (Object) ที่ถูกเราเพ่ง หรือพูดให้ง่ายที่สุดก็คือ ถ้าเราเพ่ง (Meditate) ที่ลมหายใจมันก็จะเป็นการนั่งสมาธิโดยมีลมหายใจเป็นอารมณ์

ทำไมจึงต้องมีลมหายใจเป็นอารมณ์ ก็เพราะลมหายใจตัวนี้สติของเราไปกำหนดไว้ ตามความหมายของวิธีการฝึกอานาปานสติที่ว่า เอาสติไปกำหนดลมหายใจเข้าลมหายใจออก

เมื่อเราเอาสติไปกำหนดอยู่ที่ลมหายใจ สติมันก็ไม่หนีไปไหน มันก็อยู่กับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ลมหายใจมันก็เลยเป็นสิ่งที่ยึดหน่วงสติไว้

คำว่า สิ่งที่ยึดหน่วงนี้ เราอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อารมณ์ก็ได้ เพราะในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานปี 2542 ให้ความหมายของคำว่าอารมณ์ไว้ว่า

อารมณ์เป็นคำนาม แปลว่าสิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่าน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา โผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์ของกาย เป็นต้น

ในบริบทนี้อารมณ์ไม่ได้เป็นคำวิเศษณ์ ที่แปลว่ามีอัธยาศัย เช่น มีอารมณ์เยือกเย็น ดังนั้น ห้ามเรานำมาปนกัน ไม่งั้นเราจะงงเอง

เราจะต้องยึดหน่วงอะไรไว้สักอย่างหนึ่งเวลานั่งสมาธิ เพราะถ้าเราไม่ยึดหน่วงอะไรไว้เลยมันก็จะลอยไปลอยมา กลายเป็นนั่งใจลอยไม่ใช่การนั่งสมาธิเป็นแน่

ตัวที่เราจะยึดหน่วงเอาไว้ได้ดีที่สุดก็คือลมหายใจของเรานี่แหละ เพราะมันเป็นวัตถุ หรือเป็น Object ที่มันวิ่งเข้ามาชนโครม...โครมเข้ากับรูจมูกของเราอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา ตอนเราสูดลมหายใจเข้า สูดลมหายใจออก ขณะที่เรานั่งสมาธิ

เห็นไหม เมื่อก่อนเราไม่รู้จักกับ...ลมหายใจ....แต่ตอนนี้เรารู้จักกับ...ลมหายใจ...ของเราแล้ว....โดยที่เราเพ่งที่ตัวลมหายใจ แล้วถ้าเราทำติดต่อกันไปเรื่อยเรื่อย..แบบกัดติดไม่ปล่อย...จนเรารู้จักกับลมหายใจของเรานาน...นานแล้ว ได้เรื่องเลย เราจะรู้จักกับสติ

แล้วถ้าเราทำต่อไปเรื่อยเรื่อย...เราก็จะรู้จักกับจิต...แต่ตอนนี้ช่างมันก่อน.......เอาเป็นว่าตอนนี้เรารู้จักแต่เพียง..ลมหายใจ...แค่นี้ก็เจ๋ง สุด สุด แล้ว

อ้าว...เฟ้ย..เฟ้ย......ลมหายใจของหนูหายไปไหนแล้วเนี๊ยะ.........หม่าม้าหลอกให้หนูฟังเพลินไปหน่อย ลมหายใจมันเลยหายไปไหนแล้วก็ไม่รู้

หายใจเข้าให้ ลึกกก....ลึกกกก........หายใจออกให้..ยาววว.....ยาวววว........

หายใจเข้าให้ ลึกกก....ลึกกกก........หายใจออกให้..ยาววว.....ยาวววว........

อ๋อ อ๋อ ...ยังอยู่...อิ..อิ.. เผลอแป๊บเดียว ไม่รู้ว่าลมหายใจหายไปไหนซะแล้ว

ลมหายใจนี่ก็ช่างกระไรเลย ชอบหนีศศิวรุณไปเที่ยวอยู่เรื่อยเลย....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2018, 22:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 17:07
โพสต์: 23

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตเหมือนวัวป่า

คราวที่แล้วหม่าม้าได้คุยให้ลูกฟังถึงเรื่อง การหายใจกับลมหายใจ แล้วก็ให้ลูกทำความรู้จักกับลมหายใจ จนเราคุ้นเคยกับลมหายใจดีแล้ว

คราวนี้เราน่าจะมาทำความรู้จักกับจิตกันบ้างก็ถ้าจะดี

วิธีที่จะทำความรู้จักกับจิต และเข้าถึงจิตแบบง่ายๆ ก็คงจะต้องใช้วิธีสื่อผ่านนิทานเซ็นที่มีชื่อเรื่องว่า จิตเหมือนวัวป่า

วัวป่าที่ว่านี้ ชื่อมันก็สื่อความหมายในตัวอยู่แล้วว่า เป็นวัวที่เกิดในป่าอันเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมัน

คราวนี้เมื่อมันเกิดมาแล้ว มันก็วิ่งกันไปวิ่งกันมาอยู่ในป่าเขาตามธรรมชาติของมัน กิจกรรมหลักของมันหลังจากกินเสร็จมันก็ถ่ายของเสียออกมา แล้วก็กินต่อ ถ่ายของเสียต่อ แล้วก็วิ่งต่อไปในสถานที่ต่างๆ ในป่าเขานั่นแหละ

ตัวมันไม่ค่อยได้ทำประโยชน์อะไรมากนัก เป็นเรื่องของการระเห็จเตร็ดเตร่ท่องเที่ยวหากินไปตามเรื่องตามราวของมันมากกว่า

ว่าโดยสรุปก็คือ วันๆ มันก็วิ่งวกไปวนมาอยู่ในป่า ตามวิถีชีวิตประจำวันของมัน จนกระทั่งมันตายไป

จิตของเราก็เหมือนกัน คิดโน่นคิดนี่ แว็ปไปวนมา ทั้งเรื่องโน้นทั้งเรื่องนี้ คิดได้คิดดี คิดวนไปเวียนมาทั้งวัน จนมึนไปหมด

บางเรื่องที่คิดไปนั้นก็ไม่ค่อยจะมีประโยชน์อะไรมากนัก ครั้นพอเรามีความจำเป็น จะให้มันคิดแบบเป็นเรื่องเป็นราวก็คิดไม่ได้ เพราะมันหมดพลังไปกับความคิดที่ฟุ้งซ่าน ที่เราไม่อยากจะคิดเหล่านี้ไปเสียแล้ว

แม้ขณะนี้ก็เถิด กำลังอ่านเรื่องจิตกับวัวป่าอยู่ดีๆ อ้าว ความคิดแว็บไปถึงไหนแล้ว

กลับมาเร๊ว กลับมาเร็ว จิตจ๋าจิต มาอยู่ที่เรื่องวัวป่านะ

เจ้าวัวป่าที่ว่านี้ความจริงมันก็ใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์เอาเสียเลยทีเดียว ถ้าเรารู้จักใช้มัน

ด้วยเหตุนี้ก็เลยมีคนฉลาดอยู่คนหนึ่งคิดว่า เอ นี่ถ้าเราไปไล่จับเอาวัวป่าที่มันมีแรงมากมายก่ายกองเหล่านี้มาใช้งานได้ มันก็น่าจะดีนะ เอามาฝึกทำไร่ไถนาลากเกวียนให้เราก็ได้ มันก็คงจะทำประโยชน์ให้กับเราแน่ๆ ดีกว่าที่จะปล่อยให้มันวิ่งวกไปเวียนมาอยู่ในป่าเขาตามธรรมชาติของมัน แล้วมันก็ตายไป

แต่เราคงจะต้องจับวัวป่ามาให้ได้เสียก่อน วิธีการจับเราก็คงจะต้องไปหาเชือกมาสักเส้นหนึ่ง แล้วก็เอาเชือกนี่แหละไปคล้องคอวัวป่ามันมาให้ได้

เมื่อคล้องวัวป่ามาได้แล้ว เราก็จะได้ทำการฝึกวิธีทำไร่ไถนาให้มัน แล้วเราก็สามารถใช้มันให้เป็นประโยชน์ได้

ตัววัวป่าเองมันก็จะมีมูลค่าประโยชน์ แล้วก็เป็นกำลังสำคัญในการทำมาหากินของเราสืบต่อไป

ดีทั้งตัววัวป่า ดีทั้งตัวเรา ที่ไปจับมันมา

จิตของเราก็เหมือนกัน มันวิ่งไปวิ่งมาคิดโน่นคิดนี่จนเพลียไปหมด

ถ้าเราสามารถจับมันไว้ได้ เราก็คงสามารถนำพลังจิตอันมากมายก่ายกองของมันนี้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมากมายมหาศาล

การจับวัวป่าเราก็ใช้มือกับเชือกไปคล้องมันมาไว้เพื่อใช้งาน แล้วการจับจิตเล่า เราใช้อะไรไปคล้องมัน

ความจริงแล้ว วิธีจับจิตมาไว้ใช้งานนั้นมีหลายวิธี แต่วิธีที่ง่ายและสะดวกวิธีหนึ่งก็คือวิธีที่เรียกว่า อานาปานสติ คือสติกำหนดลงไปที่ลมหายใจเข้าลมหายใจออก

จิต................เหมือน.................วัวป่า
|
|
ลมหายใจ......เหมือน.................เชือก
|
|
สติ................เหมือน.................มือ


ลมหายใจนั้น ในบทที่ผ่านมา เรารู้จักกับมันแล้ว เราคุ้นเคยกับมันแล้ว เรารู้ว่ามันอยู่ที่ตัวเรานี่แหละ

ถ้าเราหายใจเข้าให้ ลึกกกก...ลึกกกกกก.....หายใจออกให้ ยาวววว...ยาวววว...เราก็จะพบ จะเห็น แล้วก็รู้จักกับลมหายใจของเรา

อ้างย้อนกลับไปถึงคำจำกัดความของอานาปานสติ ที่กล่าวไว้ว่า อานาปานสติ ก็คือสติกำหนดลงไปที่ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก

ลมหายใจเรารู้จักแล้ว แล้วสตินั้นเล่า คืออะไร อยู่ที่ไหน

เมื่อวานนี้นะ หม่าม้าเดินออกจากบ้านจะไปขึ้นรถเมล์ หม่าม้าเริ่มเล่า

พอเดินออกมาได้ซักประมาณ 400 เมตรเห็นจะได้นึกสงสัยขึ้นมาว่าเอ..ตอนที่หม่าม้าออกจากบ้านมานี่ หม่าม้าล็อคกุญแจที่ประตูบ้านหรือยังนี่....

นึกเท่าไรเท่าไรก็นึกไม่ออก เลยโมโหอยู่ในใจแล้วบ่นกับตัวเองว่า ว้า หม่าม้านี่ไม่มีสติเอาเสียเลย มันน่าเขกหัวตัวเองนักเชียว

ว่าแล้วหม่าม้าก็เดินย้อนกลับไปดูที่ประตูบ้านอีกครั้ง ปรากฏว่ากุญแจถูกล็อคเรียบร้อยแล้ว หม่าม้าล็อคมันเอง หม่าม้าทำไปโดยอัตโนมัติอย่างงั้นแหละ จำไม่ได้หรอกว่าหม่าม้าทำไปแล้ว

เออ นี่หม่าม้าถ้าจะไม่มีสติจริงๆ

วันนี้หม่าม้าเลยเอาใหม่ เช้าตื่นขึ้นมาหม่าม้าก็นึกเอาไว้เลยว่า คราวนี้แหละ หม่าม้าจะไม่ให้ขาดสติแบบเมื่อวานอีกแล้ว

พอออกจากบ้านแล้วล็อคกุญแจปุ๊บ หม่าม้าก็นึกไว้เลยว่า

ล็อคแล้ว...ล็อคแล้ว...ล็อคแล้ว...นึกไปเรื่อยๆ ว่า

ล็อคแล้ว...ล็อคแล้ว...ล็อคแล้ว...นึกไปจนถึงจุดๆเดิมที่ 400 เมตรที่เดียวกับเมื่อวานนี้แหละ แล้วหม่าม้าก็นึกออกเลยว่า อ๋อ หม่าม้าได้ล็อคกุญแจบ้านเรียบร้อยแล้ว

งวดนี้สบายเลย ไม่ต้องเดินกลับไปดูกุญแจบ้านเหมือนเมื่อวานนี้อีกแล้ว แล้วก็ไม่ต้องโมโหตัวเองว่าขาดสติอีกด้วย

เพราะฉะนั้น สติก็คือตัวนึกนั่นเอง ช่วงเวลาที่หม่าม้านึก..นึก..นึก..อยู่ ช่วงเวลานั้นก็คือช่วงเวลาที่หม่าม้ามี สติ..สติ..สติ..อยู่

ดังนั้น การฝึกอานาปานสติของลูกก็ไม่ต้องทำอะไรมาก เพียงแต่นึกลงไปที่ลมหายใจก็พอ

นึก..นึก..นึก..ลงไปที่ลมหายใจเข้า นึก..นึก..นึก..ลงไปที่ลมหายใจออก

หรือจะพูดอีกอย่างหนึ่งก็ได้ว่า สติอยู่ที่ลมหายใจเข้า สติอยู่ที่ลมหายใจออกหรือ สติจับอยู่ที่ลมหายใจเข้า สติจับอยู่ที่ลมหายใจออก ก็ได้

แต่ก็ต้องนึกให้มันติดต่อกันให้ตลอดนะ จะไปนึกลงไปที่ลมหายใจมั่ง แล้วไปแอบนึกถึงเพื่อนมั่ง นึกถึงว่าวันนี้จะไปกินอะไรดีมั่ง อย่างนี้ไม่ได้ ต้องนึกแต่ลมหายใจอย่างเดียว แล้วลูกก็จะจับตัวจิตของลูกเอาไว้ได้

ฟังๆดูแล้วมันง่าย พอลูกนึกไปที่ลมหายใจแล้ว ลูกก็จะจับตัวจิตได้ แล้วเอาจิตไปใช้งาน แต่ในทางปฏิบัติแล้วมันคงจะไม่ง่ายอย่างนั้น

เพราะจิตมันเหมือนวัวป่า

วัวป่าเวลาลูกเอาเชือกไปคล้องมันจะจับมัน มันยอมให้ลูกคล้องไหม มันก็ไม่ยอม มันก็ต้องดิ้นต้องพยายามหนีลูก ลูกก็ต้องจับเชือกไว้ให้แน่นๆ

โดยทฤษฏีแล้ว ลูกไม่ให้เชือกหลุดมือเป็นใช้ได้ ลูกจะสามารถจับมันได้ แต่ถ้าเชือกหลุดมือแล้ววัวป่ามันก็จะหายไปพร้อมเชือกเลย

จิตของลูกก็เหมือนกัน ลูกจะจับมัน ลูกก็ต้องนึกลงไปที่ลมหายใจของลูกนี่แหละ ลมหายใจมันคล้ายเชือกที่ลูกคล้องวัวป่า

นึกลงไปที่ลมหายใจเหมือนลูกเอามือไปจับที่เชือก อย่าให้มันหลุดมือไป นึกให้มันติดกับลมหายใจให้ตลอด แล้วลูกจะจับตัวจิตได้

แต่ถ้านึกไม่ติดกับลมหายใจแล้วมันหลุดออกไปตอนวิกฤติแล้วแย่เลย ลูกจะตามหามันยากมาก เพราะมันตกใจที่มีคนไปจับมัน มันก็เลยวิ่งเตลิดหนีหายไปลิบเลย

มันก็เหมือนกันกับวัวป่าที่ปกติมันก็วิ่งไปวิ่งมาอยู่ในป่า เผลอๆ มันอาจจะวิ่งผ่านหน้าลูกไป ผ่านหน้าลูกมาเป็นปกติ แถมบางครั้งมันอาจจะเอียงคอหยุดดูลูกด้วยความสงสัย

แต่วันดีคืนดีลูกเอาเชือกไปไล่คล้องคอมันจนมันตกใจแล้วดิ้นใหญ่ ถ้าลูกจับมันไว้ไม่ได้แล้วมันดิ้นหลุดหนีไปได้ คราวนี้แหละยากมากเลย

ถึงแม้ลูกจะเพียรพยายามหาตัวมันจนพบ แต่การที่จะได้มีโอกาสไปอยู่ใกล้ๆ กับมันเพื่อเอาเชือกไปคล้องคอมันนั้น มันเป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญเสียนี่กระไร

เพราะตอนนี้วัวป่ามันไม่ไว้ใจลูกเสียแล้ว

นี่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของคนเริ่มนั่งสมาธิ

อย่าให้เหมือนหม่าม้า ตอนที่หม่าม้าฝึกนั่งสมาธิใหม่ๆ ก็นึกลงไปที่ลมหายใจเข้า นึกลงไปที่ลมหายใจออกแบบนี้แหละ

นึกไปนึกมานึกจนจิตชักจะสงบ จนเห็นแสงไฟมันสว่างวูบวาบไปหมดแล้วตัวหม่าม้ามันชักจะเบาขึ้นๆ ตัวมันกำลังจะลอย แล้วลมหายใจมันหายไปไหนก็ไม่รู้

หม่าม้าก็เลยตกใจกลัวตายขึ้นมา รีบลืมตาขึ้นมาทันทีเลย

แล้วนานเลย กว่าหม่าม้าจะได้เห็นอาการแบบนี้เกิดขึ้นอีก เพราะจิตมันตกใจหนีหายไปแล้ว เหมือนวัวป่าที่มันตกใจหนีหายไปอย่างนั้นแหละ

ตอนหลังหม่าม้านึกทบทวนดู เลยพบว่า ตอนนั้นหม่าม้าเอาสติไปนึกอยู่ที่ลมหายใจ แล้วตัวลมหายใจมันก็ไปคล้องตัวจิตได้มาแล้ว เหมือนหม่าม้าเอามือไปจับเชือกแล้วไล่คล้องวัวป่าเอาไว้ได้แล้ว

ตอนนั้นวัวป่ามันยังไม่เชื่องมันก็ดิ้น เหมือนจิตดิ้นนี่แหละ จิตดิ้นจนหม่าม้านึกรู้สึกกับลมหายใจไม่ชัด

เหมือนวัวดิ้นสะบัดเชือกไปสะบัดเชือกมาจนหม่าม้ามองเห็นเส้นเชือกไม่ชัดอย่างนั้นแหละ

ย้ำอีกครั้ง แม้ลมหายใจจะไม่ชัด แต่มันก็ยัง มีอยู่... มีอยู่.... มีอยู่.....

อย่าไปตกใจกับมัน เพราะว่า ความจริงแล้ว เชือกมันยังมีอยู่ ลมหายใจมันก็ยังมีอยู่ เหมือนกัน

กรณีเชือกพันกันไปพันกันมา สะบัดไปสะบัดมาอย่างนี้ พรานผู้เชี่ยวชาญในการจับวัวป่าเขาทำอย่างไร

เขาก็ต้องมีวิธีการของเขา เช่น ผ่อนสั้นผ่อนยาวเชือกเส้นนั้น อาจจะผ่อนเชือกให้มันยาวออกไปให้มากๆ จนมันเหนื่อยแล้วดึงสู้กับมัน หรือจับเชือกไว้แน่นๆ หรือวิธีอื่นๆโดยอาศัยประสบการณ์ของเขา

ในกรณีจับจิตของลูกก็เหมือนกัน ลูกก็ต้องจับลมหายใจ หรือนึกลงไปที่ลมหายใจ จนได้ประสบการณ์จับตัวจิตของลูกเอง

เช่น การสาวลมหายใจเข้าให้ลึกกก...ลึกกก...ออกให้ยาวว...ยาววววว..หรือคอยผ่อนลมหายใจให้มันสั้นๆ
หายใจเข้าให้สั้นๆ หายใจออกให้สั้นๆ เพื่อเป็นการผ่อนสั้นผ่อนยาวให้จิตมันหายพยศ แล้วมันก็จะอ่อนเปลี้ยเพลียแรงไปเอง

ถึงตอนนี้ลูกก็จะจับจิตมันมาใช้งานได้ คราวนี้แหละ พอลูกจับมันได้แล้ว ลูกก็จะสามารถนำเอามันมาฝึกใช้งานให้ลูกได้ เหมือนฝึกวัวป่าไว้ใช้งาน ฉันใดก็ฉันนั้น

ที่สำคัญลูกจะต้องนึกอยู่ที่ลมหายใจอยู่ตลอดเวลา

นึกให้หนักๆ นึกให้เห็นลมหายใจเหมือนเป็นแท่งเลย อาจารย์พุทธทาสแห่งสวนโมกข์เคยเทศน์ไว้ว่าอย่างงั้น

แท่งสีอะไรก็ได้ ขนาดไหนก็ได้ แล้วแต่ธาตุของแต่ละคน มันอาจจะไม่เหมือนกัน

สมมติเห็นเป็นแท่งสีขาวๆ ใสๆ เย็นๆ ก็แล้วกัน

นึกเข้าไป... นึกเข้าไป.... นึกเข้าไป.... อย่าให้หลุด

ถ้านึกหลุดจากลมหายใจแล้ว มันก็เหมือนลูกทำเชือกหลุดจากมือตอนวัวป่าดิ้น แล้ววัวป่ามันตกใจวิ่งหนีหายไป อย่างนั้นแหละ

ดังนั้นวิธีที่จะจับจิตเอามาฝึกไว้ เพื่อใช้งาน ให้ลูกทำอยู่อย่างเดียว ก็คือนึกไม่ให้หลุดไปจากลมหายใจ

เอ้า...ทำเลย ทำเลย ลึกให้มากที่สุด ยาวให้มากที่สุด เหมือนสร้างเชือกให้ยาวววว.....ที่สุด เป็นทุนไว้ต่อสู้กับวัวป่า

เพื่อเวลาลูกต่อสู้กับวัวป่า ลูกก็จะได้ปล่อยให้วัวป่ามันดึงกองเชือก กองโต..โต ไปเรื่อย..เรื่อย ไม่สุดซักที อย่างงี้ก็ได้ ส่วนเราไม่ต้องออกแรงดึงเชือกสู้กับมันเลย วัวป่าซะอีก มันจะเหนื่อย แล้วก็ยอมสยบเรา

หายใจเข้าให้ลึกก...ลึกกกก......หายใจออกให้ยาวว...ยาวววว...

หายใจเข้าให้ลึกก...ลึกกกก......หายใจออกให้ยาวว...ยาวววว...

นึกเข้าไปที่ลมหายใจ...นึกเข้าไปที่ลมหายใจ............... แล้วก็

หายใจเข้าให้ลึกก...ลึกกกก......หายใจออกให้ยาวว...ยาวววว...

หายใจเข้าให้ลึกก...ลึกกกก......หายใจออกให้ยาวว...ยาวววว...

นึกเข้าไปที่ลมหายใจเข้า.......นึกเข้าไปที่ลมหายใจออก........

นึกเข้าไปที่ลมหายใจเข้า.......นึกเข้าไปที่ลมหายใจออก........

เอ้า..หลับตา..หลับตา...ปิดเปลือกตาให้เบาเบา อย่าให้แน่น....แล้วก็...

นึกเข้าไปที่ลมหายใจเข้า.......นึกเข้าไปที่ลมหายใจออก........

นึกเข้าไปที่ลมหายใจเข้า.......นึกเข้าไปที่ลมหายใจออก........

อ้าว...ลืมตาแล้วเหรอ...เนียะ...ทำไปหยั่งเงี๊ยะ อีกไม่นานลูกก็จะจับตัวจิตได้

หม่าม้าขออนุโมทนากับลูกด้วยนะ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2018, 20:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 17:07
โพสต์: 23

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจอจิตแล้ว

หนูเจอแล้ว....หนูชักจะทำได้แล้ว รู้จักกับลมหายใจแล้ว รู้จักกับสติแล้ว ไม่ยากเลย

หนูก็ทำตามที่หม่าม้าเล่านี่แหละ ที่ขออนุญาตหม่าม้าแอบไปปลีกวิเวกอยู่ในที่เงียบๆ คนเดียว ปฏิบัติคนเดียว อาทิตย์เดียวก็รู้เรื่องเลย อ๋อจิตมันอยู่ที่นี่เอง

จิตมันก็อยู่ในเส้น..เส้นเดียวกันกับลมหายใจแล้วก็สติ นั่นแหละ เหมือนกันกับวัวป่า ที่มันอยู่บนเส้นเชือกเส้นเดียวกันกับมือที่เราถือเชือก

“แล้วจิตมันมีรูปร่างลักษณะรายละเอียด เป็นอย่างไร”

นั่นซิ ศศิวรุณชักลังเล เพราะแอบไปฝึกอาทิตย์เดียว แม้จะรู้ว่าจิตมันอยู่ที่นี่ แน่ แน่ เลย แต่ก็ยังมองเห็นไม่ค่อยชัดเจนเท่าไรเลย

“ตอนเราจะไปจับวัวป่านั้น เรารู้รูปร่างลักษณะวัวป่าในส่วนที่เป็นรายละเอียดหรือไม่”

หม่าม้าตั้งคำถามให้ศศิวรุณขบคิด

“เราเห็นแต่มือแล้วก็เชือกเท่านั้น สองอย่างนี้เราเห็นมัน รู้ลักษณะของมัน”

แล้วหม่าม้าก็วิเคราะห์ต่อให้ศศิวรุณฟังว่า

“แม้เราจะรู้ว่าวัวป่ามันมีรูปร่างอย่างไร แต่ลักษณะที่เป็นรายละเอียด เช่น สีคล้ำมากคล้ำน้อย เขายาวมากยาวน้อย มีจุดดำขาวกี่จุด ขนยาวหรือขนสั้น เป็นวัวป่าที่เป็นโรคปากและเท้าเปื่อยหรือไม่ ต่างๆ เหล่านี้เป็นรายละเอียดที่เรายังไม่รู้......

แต่ถ้าเราจับมันมาได้แล้ว ฝึกจนเชื่อง แล้วเราได้พิจารณามันใกล้ๆ เราก็จะรู้ลักษณะที่เป็นลายละเอียดของมัน”

จิตก็เหมือนกัน

ตอนแรกเรายังไม่รู้ลักษณะที่เป็นรายละเอียดของมัน เรารู้แต่ลมหายใจแล้วก็สติ

ลมหายใจมันก็เหมือนเชือก สติมันก็เหมือนมือ

ดังนั้นถ้าเราเอาสติกับลมหายใจไปคล้องจิตมาได้ แล้วค่อยๆ พิจารณามัน

คราวนี้แหละ เราก็จะรู้ลักษณะที่เป็นรายละเอียดของจิต เหมือนเรารู้ลักษณะที่เป็นรายละเอียดของวัวป่าอย่างนั้นแหละ

แต่ ปัญหาในการปฏิบัติของนักปฏิบัติที่มักจะพบเห็นกันเกือบทุกคน ก่อนจะเจอกับตัวจิตก็คือ เรื่องของลมหายใจ

ดังนั้น ถ้าเราพบปัญหานี้ เราก็อาจจะนึกถึงเรื่องการจับวัวป่าก็ได้ เพราะลมหายใจมันเหมือนเชือก

เรื่องก็คือ ในบางช่วงเรามองไม่เห็นเชือก เราก็วิเคราะห์ว่า ก็เพราะวัวป่ามันเชื่องแล้ว เราก็เลยสามารถเอามือไปจับตัววัวป่าได้ เชือกมันก็เลยไม่ตึง อาจห้อยอยู่ระหว่างมือที่จับเชือกกับวัวป่า มือมันก็เลยบังเชือกไว้ หรือถ้าเรามองมาจากด้านตรงข้ามของวัวป่า หรืออีกด้านหนึ่งของวัว ตัววัวมันก็จะบังเชือกอยู่มันเลยคล้ายกับไม่มีเชือก

ลมหายใจก็เหมือนกัน

พอจิตใจเราชักสงบ ตัวสติกับตัวจิตมันก็จะอยู่ใกล้กัน ลมหายใจมันก็เลยเบามากคล้ายไม่มีลมหายใจ

อย่างงี้ดี เราเรียกว่าจิตเริ่มมีสมาธิแล้ว

เอ..ใช่ซิ แล้วคำว่าสมาธิเนียะ หนูเคยได้ยินเขาพูดกันบ่อย มันหมายความว่าอย่างไรกัน ทำอย่างไรหนูจึงจะรู้ว่าหนูได้สมาธิหรือยัง แล้วมันไปถึงระดับไหนแล้ว

“ศัพท์คำว่า สมาธิ ในภาษาไทยเราสามารถแยกแยะออกได้เป็น 2 ความหมายใหญ่ๆ เหมือนกันกับคำว่าแกงอย่างนั้นแหละ”

หม่าม้าไขข้อข้องใจให้ศศิวรุณ

“ถ้าเราพูดถึงแกงเราจะต้องพูดให้ชัดๆ ลงไปว่าเราจะไปแกง หรือเราจะไปเอาแกงที่เราแกงเสร็จแล้วมากิน

ถ้าเราไปแกงก็หมายถึงกริยาอาการที่เราเข้าไปปรุงเพื่อให้เกิดแกงขึ้นมา ปรุงแกงเพื่อที่จะได้แกง ทำแกงเพื่อให้เกิดแกง”

คำว่าสมาธิก็เหมือนกัน มันมี 2 ความหมาย

คือไปทำสมาธิ

หรือไปใช้สมาธิที่เราทำมาแล้ว

การที่เราจะไปทำแกงเพื่อให้เกิดแกงที่มีสูตรอร่อย มันก็ต้องมีหลายเหตุ หลายปัจจัย หลายสิ่ง

มันต้องมีอุปกรณ์การปรุงที่ดี มีเครื่องปรุงที่ดี แล้วก็มีเทคนิคการปรุงที่ดี รวมทั้งต้องมีเวลาให้มัน

เราก็หัดปรุงของเราไปเรื่อยๆ ครั้งแรกๆ อาจจะไม่ได้สูตรอร่อย กินบ้างทิ้งบ้าง แต่ถ้าเราทนฝึกไปเรื่อยๆ ในที่สุดเราก็จะได้แกงสูตรอร่อยเข้าสักวันหนึ่งจนได้

ถ้าได้แกงสูตรอร่อยแล้ว เราเอาแกงไปใช้งานได้ดีก็แล้วกัน จะใช้งานอย่างไรมันก็แล้วแต่วัตถุประสงค์ของเรา เช่น

เราจะเอามากินเองมันก็อร่อย

จะเอาไปให้คนอื่นกิน คนอื่นก็ว่าอร่อยด้วย

ถ้าเอาไปขายก็ขายดิบขายดี เพราะเราปรุงได้แกงสูตรอร่อย

พอเราฝึกแกงจนได้แกงสูตรอร่อยของเราแล้ว เวลาเราต้องการจะใช้งานมันอีกครั้ง เราก็ใช้เวลาปรุงแป๊บเดียว เราก็ได้แกงที่อร่อยเหมือนเดิม พอเพื่อนอยากจะกินเราก็วิ่งหายเข้าไปในครัวเดี๋ยวเดียว เราก็ได้แกงสูตรอร่อยมาเลี้ยงเพื่อนแล้ว ขืนมัวไปฝึกทำแกงเพื่อให้ได้แกงสูตรอร่อยใหม่คงไม่ทันกาล เพื่อนหนีหมด

สมาธิก็เช่นกัน เราจะต้องฝึกทำสมาธิก่อนเพื่อให้ได้สมาธิมาใช้งาน

ช่วงการฝึกก็อาจจะยากหรือใช้เวลาเหมือนการฝึกแกง แต่ถ้าฝึกจนได้สมาธิแล้ว ครั้งต่อไปเราก็จะสามารถเรียกสมาธิสูตรเก่งที่เราเคยฝึกมาแล้ว เอามาใช้งานได้เลย

แกงสูตรอร่อยเวลาเรากินมันก็รู้สึกว่ามันอร่อยดี พอเอาไปให้เพื่อนกินเพื่อนก็ชมใหญ่ พอเราเอาไปขายก็ขายดิบขายดี เราก็เลยมั่นใจว่านี่แหละเป็นแกงสูตรอร่อยของเรา

“แล้วสมาธิสูตรเก่งที่ว่านี้ มันเป็นอย่างไร” ศศิวรุณชักจะสงสัย

สมาธิสูตรเก่งเราก็ต้องวัดเอาเอง เราก็ต้องประเมินผลเอาเอง จะให้คนอื่นประเมินผลหรือให้คนอื่นชิมแบบชิมแกงมันไม่ได้ เพราะมันเป็นเรื่องของสันทิฏฐิโก (สนฺทิฏฺฐิโก) ที่แปลว่ารู้เห็นได้ด้วยตนเอง

แต่มันก็จะต้องมีเค้าลางให้เราเห็นบ้างเล็กน้อยว่า นี่มันเป็นสมาธิสูตรเก่งแล้วหรือยัง

จิตที่เป็นสมาธินั้น ตามหลักทฤษฏีเขากล่าวไว้ว่าจะต้องประกอบด้วยอาการ 3 อย่างนี้คือ

บริสุทธิ์ ตั้งมั่น แล้วก็พร้อมใช้ หรือ

ปริสุทโท สมาหิโต กัมมนีโย หรือ

Purity Steadiness Activeness ก็ได้ ความหมายเหมือนกัน เพียงแต่สื่อกันคนละภาษาเท่านั้น

จิตบริสุทธิ์หรือปริสุทโท นั้น มันบริสุทธิ์เพราะไม่มีอะไรรบกวน เมื่อไม่มีอะไรรบกวนมันก็ตั้งมั่นอยู่ได้ เหมือนน้ำถ้าบริสุทธิ์มันก็ตั้งมั่นเป็นน้ำอยู่ได้ แต่ถ้าเราเอาดินไปใส่ในน้ำตั้งมากมายก่ายกอง มันก็เลยกลายเป็นโคลน ไม่สามารถตั้งมั่นเป็นน้ำอยู่ได้

จิตก็เหมือนกัน มันต้องบริสุทธิ์ มันจึงตั้งมั่น

พอจิตมันตั้งมั่นหรือสมาหิโตแล้ว เราก็ทำอะไรได้หลายอย่างหลายชนิด กองทหารที่ตั้งมั่นอยู่ในที่ตั้ง เขาก็ทำอะไรได้หลายอย่าง เช่นซ้อมรบ ฝึกแถวทหาร เลิกแถวทหาร หรืออื่นๆ เพื่อการพัฒนาความพร้อมของกองทหาร

จิตก็เหมือนกัน พอตั้งมั่นแล้ว เราก็อาจใช้จิตที่มีพลังมากมายก่ายกองนี้ทำอะไรได้หลายอย่าง เช่น

เราเห็นแสงสว่างอยู่ทั่วไปหมดตอนเราหลับตานั่งสมาธิ เราก็อาจจะเคี่ยวให้แสงสว่างนี้มันข้นจนมันเข้ามารวมศูนย์อยู่ที่จุดๆ เดียวก็ได้ หรืออาจจะพูดอีกภาษาหนึ่งเราก็อาจจะกล่าวว่า เราจะ Concentrate มันลงไปให้มันรวมศูนย์เลย เราจะเคี่ยวมันให้มันเข้มข้นขึ้นจนเกิดสมาธิเลย อย่างงี้ก็ได้

นี่เป็นคุณสมบัติของจิตที่เป็นสมาธิ

หรือเราเบื่อมัน เราก็อาจจะขยับจุดที่ว่านี้เคี่ยวต่อ ให้มันเข้มสุดๆ แบบเอาเลนส์นูนมารองรับแสงแดดโฟกัสให้มันสว่างลุกพรึบขึ้นใหม่เลย อย่างนี้ก็ได้

หรือพวกที่ชอบเย็นๆ ธาตุเย็นๆ อาจจะโฟกัสจุดจุดใดตามที่ตนถนัดให้เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นน้ำพุพุ่งขึ้นไปบนฟ้า แล้วตกลงมา แล้วบังคับให้มันพุ่งขึ้นไปใหม่ อ้าว เมื่อกี๊นี้มันพุ่งขึ้นไปทางซ้ายเหรอ เอาใหม่ เอาใหม่ คราวนี้ให้มันพุ่งขึ้นไปทางขวา หรือให้มันพุ่งขึ้นไปกลางกระหม่อมเลย อย่างนี้ก็ได้ แล้วแต่คนถนัด เพราะคนเราย่อมมีทั้งธาตุน้ำธาตุไฟธาตุอื่นๆ หลายธาตุตามที่ได้กล่าวมาแล้ว นี่เป็นวิธีการพัฒนาความพร้อมของจิต

อันสุดท้ายที่ทำให้เรารู้ว่าจิตของเราเป็นจิตที่เป็นสมาธิก็คือ จิตพร้อมใช้หรือกัมมนีโย กัมมนียะ แปลว่า เหมาะสมที่จะทำหน้าที่การงาน

เหมือนวัวป่าที่เราจับมันมาได้แล้ว แต่มันยังไม่เชื่อง เมื่อเราต้อนมันให้เข้าไปอยู่ในฐานที่ตั้ง หรือให้มันตั้งมั่นแล้ว เราก็เริ่มฝึกให้มันทำไร่ไถนาจนมันชำนาญ พร้อมใช้งานได้เลย ฝึกเสร็จมันนอนต่อ แต่พอจะให้มันไถนามันก็พร้อมใช้งานได้เลย ไถได้เลย

เหมือนจิตเราตอนที่มันตั้งมั่น เราก็ฝึกพวกแสงไฟพวกน้ำพุ หรือบางคนก็ทำดิ่งเลยใต้ก้นที่เรานั่งขัดตะหมาดนี่แหละ คือดิ่งลงไปลึก...ลึก..ให้เงียบสงัดเลย ว่างสบายภายในร่างกายของเราเลย อย่างนี้ก็ได้ ตามถนัดของแต่ละคน พอฝึกได้ที่เราก็พร้อมใช้งานได้เลย นี่เป็นลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิแล้ว เหมือนสูตรแกงที่อร่อยแล้ว รอการใช้งานจากเราได้เลย

เอ้า....

ตั้งกายตรง ดำรงสติให้มั่น (อุชุง กายัง ปะณิธายะ, ปริมุขัง สะติง อุปัฏฐเปตวา : ตั้งกายตรง ดำรงสติให้มั่น)...ทำเลย..ทำเลย...

ตั้งกายตรง ดำรงสติให้มั่น.......หายใจเข้าให้ลึกกก..ลึกกกกก..... เอาใหม่... เอาใหม่

หายใจเข้าให้ลึกกก...ลึกกกก........หายใจออกให้ยาววว....ยาวววววว...

หายใจเข้าให้ลึกกก...ลึกกกก........หายใจออกให้ยาววว....ยาวววววว...

นึกเข้าไปที่ลมหายใจด้วย...นึกเข้าไปที่ลมหายใจด้วย..แล้ว..หลับตา..หลับตาเบาเบา..

หายใจเข้าให้ลึกกก...ลึกกกก........หายใจออกให้ยาววว....ยาวววววว...

หายใจเข้าให้ลึกกก...ลึกกกก........หายใจออกให้ยาววว....ยาวววววว...

เห็นการเปลี่ยนแปลงไม๊..เห็นอะไรเปลี่ยนแปลงไม๊...

“....ถ้าไม่เห็น...ไม่เป็นไร ทำต่อไปเรื่อยๆ จะหนึ่งวัน หรือหนึ่งเดือน หรือหนึ่งปี หรือหลายปีก็แล้วแต่ ทำต่อไปเรื่อยๆ แล้วเราก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงแน่ๆ ของอะไรที่เราชอบมันศรัทธามัน แล้วเรามีเวลาให้มัน เราทำสำเร็จแน่ ขอให้มีสองสิ่งนี้คือชอบมัน แล้วก็มีเวลาให้มัน เราทำสำเร็จแน่”

หม่าม้าพูดให้กำลังใจศศิวรุณ

“แต่ถ้าลูกเห็นการเปลี่ยนแปลงแล้ว เอาใหม่ เอาใหม่ ทำขั้นสูงแบบมืออาชีพเขาทำกันเลย......มันเป็นสูตรเรียนลัด ที่จะทำให้ลูกบรรลุถึงเป้าหมายได้เร็วๆ ไง....”

หม่าม้าเป็นคนประเภท สัมฤทธิ์คตินิยม หรือ Pragmatism คือทำให้มันง่ายๆ แล้วเห็นผลทันทีเลย ดีกว่า ยังไม่ต้องประดิดประดอย คือให้มันสัมฤทธิ์ผลเอาไว้ก่อน

เหมือนกับสมัยก่อนคนเค้าจะกินกาแฟ เค้าอาจจะต้องไปต้มกาแฟกิน มันจึงช้า กว่าที่เราจะได้กินมันนาน เมื่อเป็นอย่างนี้ก็เลยมีคนบางคนคิดกาแฟพร้อมดื่มหรือพวก Instance coffee ทั้งหลายขึ้นมา ตักกาแฟใส่ถ้วย ใส่น้ำตาล เทน้ำร้อนที่ต้มเดือดแล้วลงไป กินได้เลย ยิ่งเดี๋ยวนี้ยิ่งเร็วใหญ่มีแบบซองที่มีทั้งกาแฟ น้ำตาล แล้วก็ครีม พอฉีกใส่ถ้วยเทน้ำเดือดลงไป กินได้เลย

คนเรากินกาแฟก็มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ง่วงหรือเพื่อให้กระปรี้กระเปร่า กินพวกInstance นี่...ให้ผลทันทีเลย ทันทีทั้งได้กิน ทันทีทั้งแก้ง่วง แล้วเราก็ไปทำงานต่อได้เลย ได้งานเพิ่มขึ้นอีกตั้งมากมาย เก็บไว้ตอนที่เรามีเวลาว่างจากการทำงาน แล้วเราอยากจะกินกาแฟที่อร่อยกว่า เราอาจจะไปเอาเครื่องชงกาแฟมาชง จะเลือกกาแฟชนิดไหนก็ได้ จะให้อร่อยแบบไหนก็ได้ เพราะงานเราทำเสร็จแล้ว

สูตร นี่ไงใช่เลย ที่หม่าม้าจะเล่าให้ฟังนี้ ก็เป็นการทำแบบง่ายๆ แต่เป็นการทำสมาธิที่ให้ผลได้อย่างเฉียบพลันทันที

ลองทดลองเทียบความเย็นร้อน ของลมหายใจเข้า กับลมหายใจออกดูว่า ลมหายใจเข้ากับลมหายใจออก อันไหนมันเย็นร้อนกว่ากัน

โดยปกติแล้วลมหายใจเข้ามันจะเย็นกว่าลมหายใจออก แล้วเราก็สังเกตไปเรื่อยๆ เราจะเรียนลัดแล้ว.....เราจะเรียนลัดแล้ว..... เอ้า..ทำเลย...ทำเลย..

เข้า...เย็นนน....................................ออก...ร้อนนน............................

เข้า...เย็นนน....................................ออก...ร้อนนน............................

เห็นข้อแตกต่างยัง เห็นความแตกต่างยัง ถ้ายังไม่เห็น ทำต่อ ทำต่อไปเรื่อยๆ เดี๋ยวมันก็เห็นเอง......

เข้า...เย็นนน...................................ออก...ร้อนนน.............................

เข้า...เย็นนน...................................ออก...ร้อนนน.............................

ถ้าเห็นแล้ว เอาตัวเย็นร้อนที่สัมผัสมาได้นั่นแหละมาทำเชื้อ แล้วทำต่อเลย ทำต่อเลย ใกล้ความจริงแล้ว เอาเลย.... เอาเลย....

นึกเข้าไปที่ลมหายใจเข้า....แล้วรู้ว่ามันเย็นนนนนนนนน

นึกเข้าไปที่ลมหายใจออก..แล้วรู้ว่ามันร้อนนนนนนนนน

รู้สึกขนลุกไม๊.....รู้สึกขนลุกไม๊.....

นึกเข้าไปที่ลมหายใจเข้า....แล้วรู้ว่ามันเย็นนนนนนนนน

นึกเข้าไปที่ลมหายใจออก..แล้วรู้ว่ามันร้อนนนนนนนนน

ช่างมัน ช่างมัน ขนลุกไม่ลุกช่างมัน อย่าไปสนใจอะไรมันมาก มันอยากจะลุกก็ลุก มันไม่อยากลุกก็ไม่ลุก ถ้าลุกก็ดี ไม่ลุกก็ดี มันเป็นอาการตามธรรมชาติของมันเท่านั้น

เอาใหม่.....เอาใหม่.......

หลับตา หลับตา หลับตาเบาเบา ....ดูความเย็นกับความร้อน...ของลมหายใจ

นึกเข้าไปที่ลมหายใจเข้า....แล้วรู้ว่ามันเย็นนนนนนนนน

นึกเข้าไปที่ลมหายใจออก..แล้วรู้ว่ามันร้อนนนนนนนนน

ทำไปเรื่อยๆ จนรู้ว่าเมื่อไรที่เรารู้สึกเย็น นั่นหมายถึงเราหายใจเข้า เมื่อไรที่เรารู้สึกร้อนนั่นหมายถึงเราหายใจออก

ทำไปเรื่อยๆ จนความเย็นความร้อนมันอยู่ในระดับใกล้กันมากๆ แล้วมาลอยคลอเคลียรอความสมดุลอยู่ที่ปลายจมูกของเราเอง หรือที่ไหนก็ได้แล้วแต่ๆ ละคน แล้วคราวนี้แหละ เสร็จเรา

เมื่อความเย็นความร้อนมันใกล้กันมาก มันก็ใกล้ๆ หนึ่งเดียวขึ้นมาทุกที เมื่อมันเป็นหนึ่ง เราก็สามารถจะโน้มเคลื่อนมันไปไหนก็ได้หรือให้หยุดนิ่งก็ได้ แล้วแต่วัตถุประสงค์ของเรา หรือจุดมุ่งหมายของเรา แต่ทั้งหมดทั้งสิ้นนั้นมันก็จะไม่พ้นจุดมุ่งหมาย 4 อย่างนี้ คือ

เพื่อทิฏฐะธรรมิกสุข หรือเพื่อความสุขทันตาเห็น อันที่สองก็คือเพื่อญาณทัสสนปฏิภารายะที่เป็นหูทิพย์ตาทิพย์อันที่สามก็คือเพื่อความสมบูรณ์แห่งสติสัมปชัญญะ ส่วนอันสุดท้ายก็คือ เพื่อสิ้นอาสวะ

เพื่อความสุขทันตาเห็น

หรืออาจเรียกว่าความสุขในปัจจุบันก็ได้ อันนี้อาจจะไม่ยากนัก ทำตามที่หม่าม้าเล่ามาจนรู้สึกว่าลมหายใจมันเหลือน้อยที่สุดก็ใช้ได้แล้ว พอลมหายใจเหลือน้อยก็แสดงว่าเราใช้ลมหายใจน้อย ใช้ออกซิเจนน้อย ดังนั้นถ้าเราสูดลมหายใจเบาๆ เพิ่มขึ้นมาอีกนิด อีกนิดหนึ่งจริงๆ อาจขยับลมหายใจที่มันลอยๆ อยู่ที่ปลายจมูกซักครึ่งฟองที่ลอยอยู่ก็พอ แต่เอ๊ะ ครึ่งฟองมันมองไม่เห็นภาพ งั้นครึ่งช้อนชาก็ได้ มันก็จะทำให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้นอีกตั้งมากมายก่ายกอง มากกว่าสุขจากลมหายใจที่เราสูดตามปกติร้อยเท่าพันเท่า โอ้ นี่คือความสุขทันตาเห็น แต่ต้องเป็นอย่างนี้นานๆ นะ ไม่ใช่มีความสุขแป๊บเดียว แล้วก็ต้องรีบลืมตาขึ้นมานั่งหอบเป็นชั่วโมง เพราะมันขาดอากาศหายใจ แบบนี้ต้องฝึกใหม่ ฝึกให้มากขึ้นกว่าเดิมอีก

เพื่อญาณทัสสนะ

อันนี้เป็นพวกหูทิพย์ตาทิพย์ มันวิเศษน่าอัศจรรย์ หรืออาจใช้ในทางรักษาโรคภัยไข้เจ็บก็ได้ หรือที่ศศิวรุณอยากจะเรียนเก่งให้ได้เกียรตินิยม ก็อยู่ในชั้นนี้แหละ นั่งประคองสมาธิให้ดีๆ แล้วก็เอากระจกส่องตามที่อาจารย์หนูบอก หรือถ้าไม่ถนัด ก็ทำแบบสั่นก็ได้ ไม่ใช่สั่นแบบเจ้าเข้านะ ดูภายนอกคล้ายๆ เรานั่งเฉยๆ แต่ภายในตรงสมองเราดูอาการที่มันสั่นหรือกระเพื่อม แล้วก็โน้มให้มันกระเพื่อมอยู่ด้านหลัง หัวดีแน่ อย่าคิดว่าพูดเรื่อยเปื่อย มันสั่นหรือกระเพื่อมได้จริงๆ เพราะร่างกายของเรามันก็กระเพื่อมอยู่แล้วเพราะเราหายใจเข้าไป แล้วลมหายใจมันเข้าไปทำการสันดาป (Metabolism) ในร่างกาย แต่เราไม่รู้สึก เพราะเรามัวเดินไปเดินมา

แต่ถ้าเมื่อไร ที่เรานั่งเงียบๆ มีสมาธิ แล้วเราจะรู้สึกได้ หรือถ้าไม่ทำแบบนี้เราจะทำแบบอื่นก็ได้ แล้วแต่วัตถุประสงค์ของเรา ที่เราจะฝึกมัน แล้วก็แล้วแต่ว่าเราจะชอบหรือไม่ ถ้าเราชอบก็ฝึกในสาขาที่เราชอบ เหมือนตอนสมัยที่เรายังไม่ได้เข้าโรงเรียน เรียนหนังสือ เราก็ไม่รู้หรอกว่าในโรงเรียนมีการสอนวิชาเลข วิชาเคมี วิชาชีวะ จนเราเข้าเรียน เราจึงรู้ว่ามีวิชาเหล่านี้ แล้วเราก็ดูว่าเราชอบสาขาอะไร เราก็ศึกษาลงลึกในสาขาวิชานั้นเพื่อเป็นวิชาชีพ สมาธิก็เช่นเดียวกัน พอเราฝึกแล้วเราก็รู้ว่ามันมีสาขาย่อยๆ ที่ให้เราเลือกฝึกตามความชอบใจของเรามากมาย ถ้าเราชอบในสาขานั้นๆ แล้วเราก็จะฝึกได้ดี

เพื่อความสมบูรณ์แห่งสติสัมปชัญญะ

อันนี้เราก็กำหนดของเราไป อย่างเช่นเวทนาเกิดขึ้นอย่างไร ตั้งอยู่อย่างไร ดับลงอย่างไร คอยติดตามต่อไปเรื่อยๆ เหมือนเราคอยติดตามลมหายใจอย่างที่เคยทำมาอย่างนั้นแหละ เมื่อเราคอยติดตามทำมันอยู่อย่างนั้นอยู่ตลอดเวลา แบบกัดไม่ปล่อย สติสัมปชัญญะมันก็จะไม่หนีไปไหน ฝึกเสร็จเวลาเราจะเรียกใช้ เราก็เรียกสติสัมปชัญญะที่เราเคยฝึกมาแล้ว ออกมาใช้ได้เลย หรือบางทีมันก็ออกมาเองตามธรรมชาติ แล้วแต่สถานการณ์ในช่วงนั้นๆ ว่ามันเป็นอย่างไร

เพื่อสิ้นอาสวะ

ก็คือการพิจารณาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของเบญจขันธ์ (ขันธ์ 5) ที่เป็นอุปาทานขันธ์ ที่เราไปยึดถือว่ามันเป็นตัวเรา ของเรา หรือยึดถือว่าเป็นตัวกู ของกู ซึ่งพอเราพิจารณาไป ปรากฏว่ามันไม่ใช่ เพราะมันก็มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปตลอด ก็เลยตกผลึกออกมาว่าทุกสิ่งเป็นอตัมมยตา แปลว่ากูไม่เอากับมึงแล้วโว้ย เป็นอันว่าจบกัน จบหลักสูตรแล้ว หลุดพ้นแล้ว...บรรลุถึงปลายทางของพุทธศาสนาแล้ว

วรรคสุดท้ายนี้ หม่าม้าจะขอยกนิทานบาลีเรื่อง อลวนอลเวงกับสัตว์ทั้ง 5 มาเล่าสู่กันฟัง เผื่อว่าลูกจะได้ใช้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากนิทานเรื่องนี้ เป็นแรงบันดาลใจ เสริมความเพียรพยายาม ในการฝึกอานาปานสติเพิ่มเติมต่อไป

เรื่องก็มีอยู่ว่า

ถ้าจับนกใหญ่ งู * สุนัขจิ้งจอก แล้วก็เต่า อย่างละตัว ผูกเชือกตัวละเส้นแล้วเอาปลายเชือกทั้ง 5 มามัดติดกัน

พอเราปล่อยมือจากปลายเชือกเท่านั้นเอง สนุกกันใหญ่ นกก็จะบินขึ้นฟ้า งูก็จะเข้าโพลง เหี้ยก็จะลงน้ำ (ว้า....ชื่อไม่ไพเราะเลยนะลูก น่าจะเปลี่ยนชื่อเป็นตัวเงินตัวทองเสียมากกว่า แต่จะเปลี่ยนชื่อก็เกรงว่าเจ้าของตำราที่หม่าม้าไปลอกเขามา จะต่อว่าเอา ก็เลยต้องปล่อยเลยตามเลย ตั้งชื่อมันว่าเหี้ยเหมือนเดิมก็แล้วกัน).... เจ้าสุนัขจิ้งจอกก็จะไปป่าช้า เจ้าเต่าก็จะไปที่สระน้ำ มันก็เลยดึงกันใหญ่

สมมติว่าตัวหนึ่งชนะไปแล้ว มันก็เลยหมดแรง จะของีบเอาแรงสักพัก......

อ้าว... เฟ้ย...ตัวอื่นมันมีแรงขึ้นมาอีกแล้ว มันดึงกลับไปอีกแล้ว...

เลยผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะอยู่อย่างนี้แหละ ไม่มีความสงบเลย ไม่มีความสุขเลย

เหมือนกัน เรามีตา หู จมูก ลิ้น แล้วก็กาย รวม 5 สิ่ง ส่วนเจ้าใจเราที่เป็นสิ่งที่ 6 นี้ก็มักจะอ่อน ชอบ เออ ออ ห่อหมกไปตามความต้องการของพวกเจ้าพ่อทั้ง 5 สิ่งนี้ ไปพบเห็น ซึ่งในแต่ละวัน ตาเราก็จะวิ่งไปหารูปที่มันชอบ หูก็จะวิ่งไปหาเสียงที่มันชอบ จมูกก็จะวิ่งไปหากลิ่นที่มันชอบ ลิ้นก็จะวิ่งไปหารสมันชอบ กายก็จะวิ่งไปหาสัมผัสที่มันชอบ มันก็เลยชักคะเย่อกันใหญ่ เดี๋ยวก็อยากจะกินไอศกรีม เดี๋ยวก็อยากจะไปช๊อปปิ้งดูของสวยๆ คิดดูก็แล้วกัน ใจมันจะไม่มีวันนิ่ง มันจะไม่มีวันพบกับความสุขเอาเสียเลย ในแต่ละวัน เพราะมันร้อนรนไปหมด

แล้วเราจะแก้ไขอย่างไร ศศิวรุณชักสงสัย หม่าม้าเล่นเล่าแต่ปัญหา ไม่เห็นเล่าถึงวิธีแก้ไขเลย

“อานาปานสติช่วยได้...”

หม่าม้าสรุป

“เอ้า..เตรียมตัว เตรียมตัว.....”

หายใจเข้า...รู้ว่าเย็นนนนน...เอาใหม่..นึกเข้าไปที่ลมหายใจด้วย...เอาใหม่..เอาใหม่...

หายใจเข้า...รู้ว่าเย็นนนนน............หายใจออก....รู้ว่าร้อนนนนน......

หายใจเข้า...รู้ว่าเย็นนนนน............หายใจออก....รู้ว่าร้อนนนนน......

หลับตา..........หลับตาเบาเบา...............................

เย็นนนนนน..........ร้อนนนนนน

เย็นนนนน........ร้อนนนนน

เย็นนนน.....ร้อนนนน

เย็นนน....ร้อนนน

เย็นน....ร้อนน

เย็น......ร้อน

เย็น...ร้อน

เย็นร้อน

OOO

OO

O


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2018, 22:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 17:07
โพสต์: 23

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอกสารน่าอ่านต่อ

ชาตรี แซ่บ้าง. ศึกษาคัมภีร์เต้าเต๋อ. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ, 2543.

เดล คาร์เนกี. วิธีชนะมิตรและจูงใจคน. แปลโดย อาษา ขอจิตต์เมตต์. พระนคร: ห้างหุ้นส่วน
จำกัดรวมสาส์น, 2514.

ตถตา. จิตแจ่มใส ใจสบาย ด้วยปลายจมูก. เอกสารโรเนียวแจกฟรี. ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์
และปี ที่พิมพ์

ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. ศาสนาและปรัชญาในจีน ทิเบต และญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ,
2545.

ประดิษฐ์ มีสุข. เคมีชีวิต: ชีวเคมีเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2524.

ปัญญานันทภิกขุ. นานาจิตตัง. อ่านได้ในอินเตอร์เน็ตที่
http://www.panya.iirt.net/read/all-html/130816.html

พระครูเกษมธรรมทัต. หลักการเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน4. วัดมเหยงคณ์
จังหวัดอยุธยา. กรุงเทพมหานคร:โอวเอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, 2546.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม(ฉบับเดิม). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บริษัท
สหธรรมิกจำกัด, 2544.

พระธรรมวิสุทธิกวี. บทอบรมสมาธิภาวนาหลักสูตรขั้นต้น. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, 2543.

พุทธทาสภิกขุ. ไกวัลยธรรม. อ่านได้ในอินเตอร์เน็ตที่ http://www.angelfire.com/ego/self0/kaival/kaival1.html

พุทธทาสภิกขุ. ปรมัตถสภาวธรรม. สุราษฎร์ธานี: ธรรมทานมูลนิธิ, 2543.

พุทธทาสภิกขุ. คู่มือปฏิบัติอานาปานสติฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : สุขภาพใจ, 2543.

พุทธทาสภิกขุ. ธรรมะเล่มเล็กจากสวนโมกข์ ไม้สามขา. กรุงเทพฯ : ไพลิน. 2549.

พุทธทาสภิกขุ. สูตรของเว่ยหล่าง. กรุงเทพฯ: สำนักหนังสือธรรมบูชา ของคณะเผยแพร่
วิธีการดำเนินชีวิตอันประเสริฐ(ผชป.). 2525.

พุทธทาส อินทปัญโญ. ธัมมิกสังคมนิยม. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์สยามประเทศ, 2538.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊กส์
พับลิเคชั่นส์, 2542.

โลเวลล์, เอ็ดเวิร์ด เอ็มฮัล. กล้าให้อภัย. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน, 2552.

วศิน อินทสระ. หลักธรรมอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
ธรรมดา, 2548.

อรุณ รักธรรม. ทฤษฎีองค์การและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เสมาธรรม, 2541.

Kuhn, Thomas S. (1962). The Structure of Scientific Revolutions (1st ed.)
University of Chicago Press. p. 172.

K-Expert. ออมเงินอย่างมีวินัยตั้งแต่วันนี้เพื่อชีวิตวัยเกษียณที่สุขสบาย. อ่านได้ในอินเตอร์เนตที่ https://kexpert.askkbank.com/KnowledgeR ... _A012.aspx

Machiavelli. The Prince. อ่านได้ในอินเตอร์เน็ตที่ http://en.wikipedia.org/wiki/The_Prince


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2018, 22:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 17:07
โพสต์: 23

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปกิณกคดีเกี่ยวกับผู้เขียน

จบการศึกษาปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย * ตี๊ด * ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าของ
มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ของรัฐ ที่ตั้งอยู่ในเขต กทม. [เสียง*ตี๊ด*นี่ ผู้เขียนขออนุญาตเซ็นเซ่อร์ ฮะ ขอประทานโทษทุกท่านด้วย ฮะ]

จบการศึกษาปริญญาตรีทางด้านนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย * ตี๊ด ตี๊ด * ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัย
ของรัฐที่ตั้งอยู่ใน เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล [ตี๊ด อีกแล้ว ตี๊ดยันเลย คือผู้เขียนพิจารณาแล้วเห็นว่างานเขียนเล่มนี้เป็นงานเขียนออกแนวธรรมะ อันที่จริงการเขียนหนังสือแนวธรรมะมันก็เป็นเรื่องปกติ แต่หนังสือเล่มนี้รู้สึกว่ามันจะออกแนวประหลาดๆ ไม่เหมือนชาวบ้านเขา เลยกลัวว่า มหาวิทยาลัยเขาจะว่าเอาได้ว่า ไม่ได้คิดที่จะผลิตบัณฑิตที่เขียนเรื่องเขียนราวอะไร แผลง แผลง แบบนี้ เล๊ย]

จบการศึกษาปริญญาโททางด้านศิลปศาสตร์จากมหาวิทยาลัย * ต๊อด * ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัย
เอกชนที่ตั้งอยู่ในเขต กทม. [ถูกดูดไปแล้วฮะ ชื่อของมหาวิทยาลัย คือหม่าม้า ของผู้เขียนไม่ได้เรียนหนังสือ ท่านเลยอยากจะให้ผู้เขียนเรียน ท่านบอกว่าเรียนไปเฮอะ จะได้ไม่ต้องทำงานหนักประเภทต้องแบก ต้องหาม ต้องคาน ต้องคอน อะไรพวกเนี๊ยะ ตอนนั้นผู้เขียนก็ไม่ค่อยมีความเข้าใจเหมือนกันว่า ถ้าต้องทำงานประเภทต้องแบก กับไม่ต้องแบก นี่มันหนักหนาสาหัสมากกว่ากันอย่างไร เพราะยังไม่เคยทำงานแบบใดเลย ได้แต่เรียน แต่เมื่อให้เรียนผู้เขียนก็ชอบซิฮะ เพราะตอนไปโรงเรียนก็จะได้ไม่ถูกใช้ทำโน่นใช้ทำนี่ ใช้ทำงานกระจุกกระจิกทุกเรื่อง คือไม่ต้องทำงานบ้านว่างั้นเหอะ ไม่ต้องทำงานยังไม่พอ บางทีก็เอางานที่ทำไม่ได้จากโรงเรียนมาฝากให้หม่าม้าทำอีกต่างหาก หม่าม้าก็ไม่ว่าอะไร ก็เห็นช่วยทำ ผู้เขียนก็เลยเรียนไปเรื่อยๆ ไม่ค่อยเดือดร้อนอะไรนักในตอนเรียน ชีวิตของผู้เขียนตอนเรียนก็เลยเรียบๆ ง่ายๆ เพราะมีคนสนับสนุน ผู้เขียนซะอีกที่ตอนจบก็อยากจะจบแบบได้คะแนนดีๆ แต่ตอนครูให้ทำการบ้าน ให้ท่องหนังสือ ผู้เขียนก็ขี้เกียจทำการบ้าน ขี้เกียจท่องหนังสือ จะให้ท่องท่าเดียว ผู้เขียนก็เลยท่องมั่ง ไม่ท่องมั่ง แล้วก็จำได้มั่ง จำไม่ได้มั่ง มันก็เลยเรียนจบแบบทุลักทุเลแบบนี้แหละ ถ้าจะให้ย้อนอดีตแล้ว คือมันเป็นไปไม่ได้ แต่มันเป็นเพียงความคิดของผู้เขียนเองเท่านั้น ถ้าย้อนเวลาหาอดีตได้แล้ว ตอนนั้นผู้เขียนจะขยันทำการบ้าน ขยันท่องหนังสือให้มากกว่านี้ เพื่อที่จะได้ทำให้หม่าม้าของผู้เขียนชื่นใจมากกว่านี้]

จบการศึกษาปริญญาโททางด้านรัฐประศาสนศาสตร์จากสถาบัน*ต๊อด ต๊อด*ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัย
ของรัฐที่ตั้งอยู่ในเขต กทม. [ถูกดูดเลยกลายเป็นเรื่องปกติตามฟอร์ม ฮะ ผู้เขียนก็ศึกษาตามแบบที่เขาเรียกกันว่าการศึกษาในระบบ เพื่อเอากระดาษแผ่นหนึ่งที่เขากำหนดเอาไว้ว่า เวลาเราจะไปทำงาน เขาก็เอากระดาษแผ่นนี้แหละมากำหนดค่าตัวของเรา คือกำหนดเงินเดือนเริ่มต้นให้เราตามแบบของมนุษย์เงินเดือนน่ะฮะ ซึ่งผู้เขียนก็ต้องเห็นพ้องตามสมมติอยู่แล้ว ไม่งั้นอยู่ในโลกนี้ลำบาก แต่ก็มีความเห็นเพิ่มเติมนิดหนึ่งว่า เราอาจจะยืดหยุ่นเล็กน้อยว่า ขั้นตอนก่อนที่จะได้กระดาษแผ่นนี้มา ไม่ต้องท่องตามครูมากก็ได้ ถ้าเข้าหลักเข้าเกณฑ์ก็ได้คะแนนเพื่อผ่านวิชานั้นด้วยเหมือนกัน คือพูดง่ายๆ ว่า Think out of box ได้ หรือคิดนอกกรอบได้ น่ะฮะ อ้าว ทั้งอังกฤษ ทั้งไทย ทั้งบาลี มั่วซั่วกันไปหมด ผิดมั่งหรือเปล่าก็ไม่รู้ ถ้าผิดท่านผู้อ่านช่วยตักเตือนด้วยนะฮะ จะขอบพระคุณเป็นอย่างสูงเลยฮะ คืออยากได้ส่วนที่ผิดเพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขตัวเองได้ฮะ กลับเรื่องเดิมต่อดีกว่า คืออ้ายคิดนอกกรอบนี่ มันก็ต้องแล้วแต่ลักษณะโครงสร้างเนื้อหาในวิชานั้นๆ ด้วย แล้วครูก็ต้องเก่งและทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวนักเรียนไปเปิดอินเตอร์เน็ตเจอเรื่องใหม่ๆ ส่งครู แล้วครูไม่ให้คะแนนเพราะยังไม่รู้เรื่องเลย อย่างนี้ครูถูกนักเรียนไล่ทุบหัวแน่ แฮะ แฮะ ความจริงแล้ว การศึกษาในระบบตามรูปแบบก่อนเข้ามหาวิทยาลัยคือโรงเรียน แล้วก็ระบบในมหาวิทยาลัยอย่างนี้ มันมีกันทั่วโลกมานานแล้ว อย่างมหาวิทยาลัยนาลันทานี่ก็มีมาเป็นพันปี มันเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มันดีขึ้น ให้มันเติบโตขึ้น ให้สมองมันเจริญขึ้นควบคู่กันกับการเจริญเติบโตทางร่างกาย แล้วมันก็จะได้ทำงานดีขึ้น ทำงานมีประสิทธิภาพประสิทธิผลมากขึ้น เมื่อทำงานดีขึ้น ทำงานมีประสิทธิภาพประสิทธิผลมากขึ้น มันก็ดีอยู่แล้ว แสดงว่าเรามีธรรมะดี เพราะท่านอาจารย์พุทธทาสแห่งสวนโมกขพลารามท่านเทศน์เอาไว้ว่า การทำงานคือการปฏิบัติธรรม เมื่อเราทำงานดีก็แสดงว่าเราปฏิบัติธรรมดีไปด้วย เรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ว่านี้ มันก็อยู่ในส่วนของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ที่บางทีพวกฝรั่งเขาเรียกว่า Human Resource Management หรือ HRM แล้วบางท่านเขาก็แบ่งไว้ว่ามันอาจทำได้ 3 แนวทาง ซึ่งแนวทางที่ว่านี้เขาบอกว่าเป็นแนวทางที่เรียกว่า การให้การศึกษา (Education) ซึ่งก็เป็นแนวทางที่ผู้เขียนศึกษามาแล้วตั้งแต่เด็กนั่นแหละ คือเริ่มศึกษาตั้งแต่ประถมปีที่ 1 แล้วศึกษามาเรื่อยๆ เพื่อวัตถุประสงค์ในการทำงานในอนาคต (Focus on a future job for the learner) ตามที่เราต้องการ]

เคยทำงานในรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวง*ตุ๊ก*ปฏิบัติงานที่จังหวัดนราธิวาส [ถูกดูดอีกเหมือนกัน
เพราะขืนไม่ดูดท่านจะว่าเอาว่า ออกไปแล้วยังมาอ้างถึงอีก ช่วงเวลาที่ทำงานอยู่ก็ไม่เห็นทำประโยชน์อะไรให้หน่วยงานดีขึ้นเลย ความจริงท่านจะว่าหรือเปล่าก็ไม่ทราบ หรือว่าเราคิดฟุ้งซ่านกินปูนร้อนท้องไปเอง สรุปก็คือเคยทำงานที่นี่มาก็แล้วกัน คือผู้เขียนก็เหมือนคนอื่นๆ ท่านอื่นๆ นั่นแหละฮะ พอจบก็ต้องหางานทำ เมื่อหางานได้แล้วก็ต้องทำงาน จะมาแบมือขอตังจากหม่าม้าไม่ได้แล้ว จบแล้ว ชีวิตสบายๆ ที่อยู่ในมหาวิทยาลัย มีคนเขาเคยทำการวิจัยมานานแล้วว่า ในช่วงชีวิตของคนเราที่สบายที่สุดก็คือ ช่วงที่อยู่ในมหาวิทยาลัยนี่แหละ เวลาตอนเรียนก็ไม่ถูกบังคับให้อยู่ในกฎระเบียบมากเหมือนตอนอยู่โรงเรียน ดังนั้น ก็ทำอะไรต่อมิอะไรได้อย่างสบายๆ แถมไม่ต้องหาเงินเอง ขอลูกเดียว จึงใช้เงินได้อย่างสบาย แต่ตอนเรียนผู้เขียนก็ไม่ได้ใช้เงินฟุ่มเฟือยนะ คนส่วนใหญ่จะบอกว่าผู้เขียนขี้เหนียว ผู้เขียนก็ฟังไปเรื่อยๆ พอฟังไปได้บ่อยๆ มันก็คงจะเก็บกดมั้ง โอ้โฮ ตอนมาทำงานเท่านั้นแหละ หาเงินได้เองเท่านั้นแหละ ผู้เขียนใช้เงินใหญ่ กู้หนี้ยืมสินยุ่งไปหมด พอเงินเดือนออกแทนที่เราจะได้ใช้ กลับถูกเขาหักหนี้ไปเกือบหมดแล้ว นี่หมายถึงหนี้ในระบบนะฮะ ฮั่นแน่ ใช้ศัพท์ทันสมัยซะด้วยคือหนี้แบบกู้ยืมเงินสวัสดิการจากหน่วยงานอะไรแบบเนี๊ยะ ตอนใช้หนี้เขาก็หักเอาจากเงินเดือนนี่แหละตั้งแต่ก่อนจะถึงมือเรา พอถึงมือเราก็เลยเหลือนิดเดียว ไม่พอกินไม่พอใช้ อ้าว แล้วทำไงล่ะ มันก็ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาจากแหล่งนอกระบบน่ะซิ ก็กู้หมุนไปหมุนมายุ่งอีนุงตุงนังไปหมด ไม่คิดต่อดีกว่า คิดแล้วผู้เขียนปวดหัว แฮะ แฮะ]

เคยรับราชการในกระทรวง *ตุ๊ก*[ฮั่นแน่ รู้นะ ตุ๊กเสียงเดียวกันกับกระทรวงที่ผ่านมาเลยแสดง
ว่าต้องเป็นกระทรวงเดียวกัน คือพี่ชายอยากให้รับราชการ บอกว่ามันเหมือนน้ำซึมบ่อทราย แม้จะทีละไม่มากแต่ก็ซึมออกมาเรื่อยๆ ไม่อดตาย ท่านว่างั้น พอพูดถึงพี่ชายคนนี้แล้วก็เลยนึกถึงเทียนไข พี่ชายคนนี้เปรียบได้เลย กับเทียนไขที่ยอมเผาตัวเองเพื่อให้เกิดแสงสว่างส่องทาง ให้ผู้อื่นก้าวเดินต่อไปข้างหน้า มิใยว่าใครจะเพียรพยายามตามไปลบเศษของเปลวเทียน ที่ตกลงสู่พื้นทิ้งเพื่อทำลายหลักฐาน แล้วบอกกับคนอื่นว่าฉันเดินมาได้ด้วยความสามารถของฉันเองนะ แต่พี่ชายคนนี้ยังมั่นคง ไม่หวั่นไหว ยังคงพยายามที่จะเผาตัวเองเพื่อส่องทางให้ผู้อื่นต่อไปอย่างไม่สะทกสะท้าน เห็นแล้วน่าเลื่อมใส ความจริงแล้วผู้เขียนไม่ค่อยชอบรับราชการเท่าไร แต่ก็ต้องยอมเออ ออ ห่อหมกด้วย ตามแบบวัฒนธรรมไทยๆ ที่นับถือพุทธศาสนากัน แล้วคนส่วนใหญ่เขาก็ทำกันแบบนี้ คือถือเอาความกตัญญูกตเวทีเป็นที่ตั้ง กตัญญูแปลว่ารู้คุณท่าน กตเวทีแปลว่าสนองคุณท่าน สรุปก็เลย ทำก็ทำ ดีเหมือนกันไม่ต้องหางานใหม่ ก็ทำไปเรื่อยๆ ไม่ค่อยเจริญรุ่งเรืองเท่าไรหรอกฮะ ก็เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยมาเรื่อยๆ แต่ก็ เอ ไม่ทราบนะฮะ ว่าคิดเองเออเอง เข้าข้างตัวเอง ยกหางตัวเองหรือเปล่า คือว่าผู้เขียนก็ทำไปเรื่อยๆ ก็คิดว่าพยายามทำให้ดีที่สุด ให้คุ้มกับภาษีอากรของประชาชนน่ะฮะ พวกข้าราชการนี่เค้า อยู่ได้ด้วยภาษีอากรของประชาชนที่เขาจ่ายให้รัฐ แล้วรัฐก็จ่ายมาเป็นเงินเดือนของข้าราชการอีกทีหนึ่ง]

เคยเป็นอาจารย์พิเศษและอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์นักศึกษา ที่มหาวิทยาลัย * ติ๊ง * ซึ่งเป็น
หนึ่งในห้าของมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ของรัฐที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพและ ปริมณฑล [หนึ่งในห้าของมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ของรัฐ ..หนึ่งในห้าของมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ของรัฐ...อ๋อ.. คนละเสียงดูดกันกับมหาวิทยาลัยแรกโน้น แสดงว่าคนละที่กัน ]

ประกาศนียบัตร การจัดการฐานข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ทางด้านบัญชี จากสถาบัน*แต๊ด* ซึ่งเป็น
สถาบันนานาชาติที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย [สมัยนี้เขาบอกว่าจะคำนวณอะไรจะต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หมด จะมัวมานั่งนับนิ้วมือหรือใช้กระดาษทด บวกลบคูณหารกันอย่างนี้ใช้ไม่ได้ ไม่ทันสมัย ไม่รวดเร็ว คนอื่นเขาทำเสร็จก่อนเราแล้วก็เอาผลที่ได้ไปใช้ก่อนเรา จึงประสบผลสำเร็จก่อนเรา แล้วเราก็เลยไล่ตามเขาไม่ทัน แนวคิดในการบริหารองค์กรสมัยใหม่เพื่อให้บริการแก่ผู้รับบริการนั้น เขาบอกว่าผู้รับบริการต้องการสิ่งที่เรียกว่า Better Cheaper แล้วก็ Faster เขาว่างั้น ผู้เขียนก็เลยต้องไปฝึกอบรมวิธีการจัดการฐานข้อมูล คือเอาข้อมูลที่เป็นตัวเลขมากๆ มารวมกันไว้ที่ฐานๆ หนึ่ง ในที่นี้ก็คือในเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วก็จัดระบบให้มันดีๆ เวลาเรียกมันขึ้นมาใช้งาน จะได้เรียกง่ายๆ แล้วก็ใช้เวลาไม่มาก เหมือนกับเราจัดหนังสือในห้องสมุดหรือตู้หนังสือบ้านเราอย่างงั้นแหละ จัดให้มันเข้าที่เข้าทางเข้าฐาน จะได้ไม่กินเนื้อที่มาก เวลาเรียกใช้มันจะได้รวดเร็ว ผู้เขียนก็เลยต้องไปฝึกทำฐานข้อมูล (Database) พวกนี้ตามๆ เขาไป เพราะตอนนี้เราเลิกเรียนแบบศึกษา (Education) แล้ว ความรู้ที่เรียนๆ มาชักหมดแล้ว หรือไม่ทันสมัยแล้ว เขาก็เลยต้องให้ไปฝึกอบรมเพิ่มเติม แล้วเอามาใช้งานได้เลย คือตอนเรียนมันเป็นการเรียนแบบกว้างๆ เพราะมหาวิทยาลัยที่เขาสอนผู้เขียน เขาก็ไม่รู้เหมือนกันว่าผู้เขียนจะไปทำงานเน้นหนักไปในด้านใด หน่วยงานเขาก็เลยต้องส่งไปฝึกอบรม การทำแบบนี้ ตามตำราภาษาฝรั่งเขาก็บอกว่า ไป Training เป็นการทำเพื่อวัตถุประสงค์ เอามาใช้งานตอนทำงานนี่แหละ (Focus on the present job for the learner) บางท่านแยกย่อยลงไปอีกว่า อย่างเงี๊ยะ เป็น Off the job training สรุปก็คือ แบบนี้เป็นอีกวิธีหนึ่งของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์]

ประกาศนียบัตร การสำรวจเพื่อการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจและสังคมครัวเรือน จากสถาบัน
*แต๊ด แต๊ด* ซึ่งเป็นสถาบันนานาชาติที่ตั้งอยู่นอกประเทศไทย [เรียกว่าสมัยใหม่เขาจะวิเคราะห์กันไปหมด คือวิเคราะห์ทั้งภาวะทางด้านเศรษฐกิจ แล้วก็ภาวะทางด้านสังคม แต่บางครั้งภาวะทางด้านสังคมก็ไม่ค่อยจะได้วิเคราะห์กันเท่าไร แต่ไปเน้นการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐกิจกันใหญ่ คือว่าอยากให้คนรวยๆ กันโดยถ้วนหน้า ว่างั้นเถิด จริงๆ แล้ว รวยๆ มันก็ดีอยู่ แต่วิธีการที่จะได้มาซึ่งความรวยนะซิ ทำได้ไม่กี่คน เพราะโดยหลักแล้วทรัพยากรมันมีจำกัด แต่ใจเรามันก็อยากจะได้โน่นได้นี่กันแยะๆเกือบทุกคน แถมถูกกระตุ้นโดยการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ ด้วยแล้ว ยิ่งไปกันใหญ่ (Endless demand... Limited resource) เมื่อมันเป็นอย่างนี้มันก็ต้องมีการแย่งชิงกัน เมื่อมีการแย่งชิงกัน มันก็ต้องมีคนที่แย่งชิงเขามาได้ แล้วก็ต้องมีคนถูกเขาแย่งชิงไป คนที่ไปแย่งชิงเขามาได้เขาก็จะมีอำนาจเพิ่มขึ้น แล้วก็ไปแย่งชิงต่อไปได้อีกเรื่อยๆ แล้วก็มีกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำไปทำมาเลยเหลือคนที่ไปแย่งชิงเขามาได้อยู่ไม่กี่คน เป็นเจ้าพ่ออยู่ไม่กี่คน นอกนั้นเป็นคนถูกแย่งชิงหมด เรียกว่าเหลือคนรวยๆ อยู่ไม่กี่คน ไม่กี่ตระกูล สภาพเศรษฐกิจที่เราเห็นจนเจนตามันเป็นอย่างนี้ แล้วถ้าเราย้อนกลับไปดูทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์ ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันแล้ว มันก็มาจากปรมาจารย์ทางเศรษฐศาสตร์ท่านหนึ่ง อย่าไปเอ่ยถึงชื่อท่านเลย ท่านเขียนไว้ในหนังสือเมื่อปี ค.ศ. 1776 กล่าวถึงแนวคิดและทฤษฎีของท่านที่จะทำให้ประเทศร่ำรวยเศรษฐกิจจะเฟื่องฟู มันก็จะมีวิธีการต่างๆ อยู่หลายอย่างก็แล้วกัน อย่างน้อยๆก็ต้องมีการผลิตกันขนานใหญ่ แล้วก็บริโภคกันขนานใหญ่ มันจึงจะบรรลุเป้าตามทฤษฎีนี้ คือต้องผลิตวัตถุกันให้มากๆ แล้วก็บริโภควัตถุกันให้มากๆ เรียกว่าเป็นวัตถุนิยมกันให้เต็มสูบ นิยมแปลว่า กำหนด คือใช้วัตถุเป็นตัวกำหนดการดำเนินชีวิตของเรามันจึงจะดี เห็นไม๊ ตอนนี้แนวคิดของท่านผู้นี้ก็ใช้กันอยู่แพร่หลายทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย ก็เห็นใช้กันอย่างสนุกสนาน แต่ถ้าย้อนกลับไปดูแนวคิดของท่าน ก่อนที่จะเขียนออกมาเป็นหนังสือที่เป็นตำราหลักของวิชาเศรษฐศาสตร์ที่ทั่วโลกใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้นี่ซิ น่าตกใจ ท่านบอกไว้ว่า พื้นฐานของคนเรามันมีความละโมบแล้วก็เห็นแก่ตัวอยู่แล้ว (Wealthy = Greedy + Selfish) ถ้าส่งเสริมให้แต่ละคนแสดงสันดานดิบของตัวเองแย่งชิงทรัพยากรกัน แต่ละคนก็จะได้รวยๆ กัน มาก มาก แล้วถ้าเอาความร่ำรวยของแต่ละคนมารวมๆ กัน เป็นภาพรวมของประเทศ ก็จะกลายเป็น ขนาดจีดีพี (GDP) ของประเทศนั้น ประเทศไหนที่มีขนาดจีดีพีใหญ่..ใหญ่..ประเทศนั้นก็จะร่ำรวยมาก แล้วทุกๆ ประเทศก็จะได้ร่ำรวยกันโดยถ้วนหน้าทั่วโลกถ้าแย่งชิงกัน เขาว่างั้น ดังนั้น โลกยุคหลังๆ ของเราเลยมีคนที่มีคุณธรรมน้อยลงไปกว่าสมัยโบราณมาก เพราะแย่งกันรวย รวยจริงรวยปลอมก็ไม่รู้ บางคนหน้าฉากรวยหลังฉากหนี้ ผู้เขียนเลยคิดว่า น่าจะใช้วิธีนั่งสมาธิตามที่ฝึกมาข้างต้นนี่แหละ ฝึกให้หนักจนถึงจุดๆ หนึ่ง ที่จิตใจเราเกิดสมดุล แล้วเราก็จะได้ไม่เกิดความละโมบ แต่ก็ไม่ใช่ไม่ละโมบแล้วจะขี้เกียจทำงานนะ มันก็ยังทำงาน แต่ทำงานเพื่องาน ไม่ได้ทำงานเพื่อเงิน เพราะร่างกายมันสมดุลแล้ว เรารู้แล้ว ทำงานเพื่องานนี่มันได้งานมากกว่าทำงานเพื่อเงินซะอีก จริงๆ นะ จะบอกให้ อิอิ]

เคยปฏิบัติงานเป็นหัวหน้าคณะผู้วิเคราะห์ทางด้าน*ต๊อง*ในโครงการ*ต๊องต๊อง* ซึ่งเป็นโครงการ
เงินให้ (Grant) ที่จังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [คือในโลกมันก็มีหลายประเทศ บางประเทศก็มีเงินมาก บางประเทศก็มีเงินน้อย ประเทศที่มีเงินมากเขาก็บริจาคเงินให้ประเทศที่มีเงินน้อย ในรูปโครงการช่วยเหลือต่างๆ ตามที่ประเทศที่มีเงินน้อยจะเขียนโครงการขอไป ในโครงการที่ว่านี้เป็นของฝรั่ง เจ้าของโครงการเขาให้เงินครึ่งหนึ่ง แล้วให้รัฐบาลไทยออกสมทบอีกครึ่งหนึ่ง พอเขาให้มาแล้วก็เป็นไปไม่ได้ ที่เขาจะให้เงินมาเฉยๆ ให้เราเอาเงินมาถลุงกันเล่นๆ อย่างสบายอุรา เพราะมันไม่ใช่เงินบาทสองบาท เขาก็ต้องบริหารจัดการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของเขาละ ดังนั้นเขาก็ต้องวิเคราะห์ประเมินผลกันมากมายหลายด้าน ผู้เขียนจับพลัดจับผลูท่าไหนอย่างไรก็ไม่ทราบ ต้องไปวิเคราะห์เพื่อประเมินผลด้าน *ต๊อง* ที่ถูกดูดไปนี้กับเขาด้วย อ้าว อ่านมาถึงตอนนี้เดี๋ยวท่านผู้อ่านรำคาญปาหนังสือเล่มนี้ทิ้งแน่ เพราะยิ่งอ่านยิ่งงง ไม่รู้ว่าเขียนเรื่องอะไร คือว่า ในโครงการหนึ่งๆ มันก็จะมีการวิเคราะห์ประเมินผลในเรื่องต่างๆ อาทิ เช่น การผลิต การบัญชี การส่งเสริม หรือพวกวิเคราะห์เศรษฐกิจต่างๆ อะไรพวกเนี๊ยะ ผู้เขียนก็จับพลัดจับผลูไปกับเขาเรื่องหนึ่งก็แล้วกัน หุ หุ]

เคยเป็นนักวิชาการในโครงการ * ตุ๊ก ตุ๊ก * ซึ่งเป็นโครงการเงินให้ (Grant) ที่รัฐบาลไทยให้แก่
รัฐบาลประเทศอื่น [เขียนถึงโครงการเมื่อกี๊นี้ไปแล้ว นึกขึ้นมาได้ว่าขืนเขียนแบบนี้มีหวังถูกต่อว่าเอาแน่เลยว่า ไม่จริ๊ง ไม่จริง เอาอะไรมาพูด ประเทศเราพัฒนาแล้ว ตึกรามบ้านช่องออกใหญ่โตเต็มบ้านเต็มเมือง แล้วทำไมต้องไปรับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ความจริงแล้ว เขาให้เราก็มี แล้วก็เราให้เขาก็มีเหมือนกัน อย่างเช่นโครงการที่ว่านี้ แต่โครงการนี้ผู้เขียนทำงานเป็นทั้งนักวิชาการ และเป็นคนคอยหิ้วกระเป๋า กะ ชงกาแฟให้หัวหน้าด้วย ดังนั้นพอหัวหน้าสั่งให้ชงกาแฟ ผู้เขียนก็ชงตามสั่ง ถ้าหัวหน้าบอกว่าหวานไป ผู้เขียนก็ลดน้ำตาลลงนิดหนึ่งตามสั่งอีกเหมือนกัน เพราะถ้าขืนไปใส่น้ำตาลเพิ่มมีหวังวงแตกถูกไล่กลับประเทศกลางคันแน่ๆ แหะ แหะ]

ได้รับเหรียญพิทักษ์เสรีชนชั้น 2 จากโครงการพัฒนาตาม * แต๊ง * ในการปฏิบัติงานที่จังหวัด
เพชรบูรณ์และปราจีนบุรี [สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกมันก็มีการพัฒนาในตัวของมันเองอยู่แล้ว มันเป็นไปตามหลักธรรมะ อย่าไปพัฒนาเพื่อเพิ่มกิเลสมากเป็นใช้ได้ สำหรับโครงการนี้ก็ไม่ได้ไปพัฒนาเพื่อเพิ่มกิเลส คือให้อยู่กันแบบธรรมชาติให้มากที่สุด เพราะธรรมะคือธรรมชาติ พัฒนาให้มันเป็นไปตามธรรมะให้มากที่สุด แม้หัวเผือกหัวมันที่มันอยู่ในดินมันก็ต้องพัฒนาตัวมันให้ โตขึ้นๆ อยู่แล้วตามหลักธรรมะ พัฒนา แปลว่า เจริญขึ้นหรือภาษาฝรั่งเขียนว่า Development ภาษาบาลีเขียนว่าภาวนาตัวเดียวกันหมด สมมติชื่อต่างกัน เจริญขึ้นตามแบบหัวเผือกหัวมัน มันเป็นการเจริญขึ้นตามแบบที่เรามองเห็นเป็นรูปธรรมเลย แต่ของเราหรือของมนุษย์เรา หรือในหนังสือเล่มนี้จะเน้นไปที่ส่วนของนามธรรม คือการพัฒนาจิตหรือจิตภาวนามากกว่า]

นักธรรมตรี จากสำนักเรียน * ติ๊ง ติ๊ง * ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี [ คือทำงานไปทำงานมา
มันก็เป็นทุกข์อยู่ดี ไม่ใช่ว่าทำงานแล้ว มีเงินใช้แล้ว ไม่ทุกข์ ก็ไม่ใช่ เลยคิดศึกษาธรรมะกับเขาบ้าง ก็รู้สึกดีขึ้นมากเลย ไม่ใช่งาน งาน งาน อยู่อย่างเดียว มันก็ต้องมีอย่างอื่นบ้าง ก็เหมือนกันทุกตำราว่าจะต้องเป็นแบบนี้ ตำราฝรั่งที่ว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก็เหมือนกัน เขาบอกว่าจะต้องเรียน เพื่อไปหางานทำ พอหางานทำได้แล้ว จะทำงานจริงๆ ในรายละเอียดบางครั้งทำไม่ได้ ก็ต้องไปฝึกอบรมเอา มันก็ทำได้แล้วงานทุกชนิด คราวนี้พอทำงานแล้วบางทีมันก็ต้องมีเบื่อๆ เซ็งๆ มั่ง อาจจะต้องไปดูหนังฟังเพลง หรือพักผ่อน หรือเจ็บป่วยก็ไปหาหมอ ก็จะทำให้สุขภาพกาย สุขภาพใจแข็งแรงขึ้น ว่างั้นเถิด เขาเลยเรียกมันว่าเป็นการพัฒนาตัวมนุษย์นี่แหละ (Development) อย่างพวก ส่งเสริมสุขภาพให้ดีขึ้น โดยให้ไปออกกำลังกายหรือไปพักผ่อนนันทนาการบ้าง แล้วถ้าเจ็บป่วยก็ไปหาหมอทั้งป่วยกายและป่วยใจ การพัฒนาแบบนี้มันไม่เกี่ยวกับตัวงานที่ทำ (Not focus on any job) แต่มันก็ทำให้สุขภาพดี แล้วส่งผลต่อมาให้ประสิทธิภาพการทำงานของเราดีขึ้นด้วย สรุปก็คือ ตำราฝรั่งบางเล่มเขาบอกว่า Human Resource Management มันอาจแบ่งเป็นสาม Approach คือ Education, Training แล้วก็ Development แต่ตัวที่เราต้องการจะพูดถึงจริงๆ ก็คือ ตัว Development นี่แหละ เพราะตัวนี้พระพุทธเจ้าทำมาก่อนเป็นพันๆ ปีแล้ว Development แปลว่าพัฒนา หรือภาวนา หรือเจริญขึ้น พวกนี้ความหมายเดียวกันหมด พระพุทธเจ้าท่านทำอานาปานสติภาวนามาตั้งแต่สมัยก่อนบวช ตอนตามเสด็จพระราชบิดาไปในพิธีแรกนาขวัญแล้ว คือภาวนาหรือ Development มานานแล้ว เราอาจทำตามแบบพระพุทธเจ้า คือพอต้องการพักผ่อนก็ทำอานาปานสติซะเลย ไม่ต้องไปดูหนังฟังเพลงที่ไหน หาที่เหมาะๆ หลับตาทำอานาปานสติ พอติดปุ๊บ อยากจะดูหนังฟังเพลงอย่างไรก็จัดการไปตามแบบของ อานาปานสติของเราได้เลย อย่าหัวเราะผู้เขียนนะ คือมันทำได้จริงๆ ผู้เขียนไม่โกหกหรอก เพราะโกหกนี่มันผิดศีลข้อมุสา ผู้เขียนฝึกสมาธิ ถ้าผิดศีลแล้วมันก็นั่งสมาธิไม่ได้เรื่องหรอก เพราะมันต้องเริ่มตั้งแต่ ศีล สมาธิ แล้วก็ปัญญา ดังนั้นพอเราอยากจะดูหนังฟังเพลงอย่างไร เราก็นั่งดูมันไปตอนอยู่ในอานาปานสตินี่แหละ ไม่ต้องเสียสตางค์ด้วย แล้วพอออกจากอานาปานสติปั๊บ ก็สดชื่นแจ่มใสทันทีเลย สดชื่นแจ่มใสกว่าไปดูหนังฟังเพลงเสียอีก เพราะเรากำกับหนังได้เอง อิอิ]

ประกาศนียบัตร ครูสมาธิจากวัด * แต๊ง แต๊ง * ซึ่งตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร [นักธรรมนี่
มันเป็นการศึกษาแบบปริยัติ คราวนี้เลยต้องมาแบบปฏิบัติมั่ง ปฏิบัติมันก็มีหลายอย่าง นั่งสมาธินี่ก็เป็นการปฏิบัติแบบหนึ่ง สมาธิเรายังไม่พอ เราก็ต้องไปสร้างมันเพิ่มเติมขึ้น เพราะการนั่งสมาธินี่มันก็เป็นการสะสมพลังจิต คือว่าคนเรานี้มันอาจแบ่งได้เป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือกายกับจิต เราจะสะสมพลังกาย เราก็ไปออกกำลังกาย วิธีไหนก็ได้ สมมติวิ่งจ๊อกกิ้งก็แล้วกัน วิ่งเสร็จพลังกายมันก็มันก็จะสะสมอยู่ในร่างกายเรานี่แหละ อย่างเช่น วันแรกเราทดลองออกไปวิ่งออกกำลังกายแบบจ๊อกกิ้ง พอวิ่งไปได้ 500 เมตร ก็หอบ แฮก แฮก แฮก แล้ว ไม่ไหวแล้ว เลิกกิจการดีกว่า แต่ถ้าวันดีคืนดีเราฮึดสู้ ทนหอบ แฮก แฮก แฮก คือไปวิ่ง 500 เมตร ให้มันหอบแฮก แฮก แฮก ต่ออีกสักอาทิตย์ เราก็หอบ แฮก แฮก น้อยลง เหลือเพียงสองแฮก แถมเราสามารถวิ่งเพิ่มเป็น 600 เมตร 700 เมตร ได้สบาย อย่างนี้เป็นต้น เพราะร่างกายมันสะสมพลังกายเอาไว้ เหมือนกัน พลังจิตก็เหมือนกัน เราก็นั่งสมาธิเพื่อสะสมพลังจิตของเราไปเรื่อยๆ วันนี้นั่งได้ซัก 10 นาที ทนนั่ง 10 นาทีไปซักอาทิตย์สองอาทิตย์ มันก็นั่งเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ เป็น 20 นาที 30 นาที ไปเรื่อยๆ เคยได้ยินคนถามพระอาจารย์ท่านหนึ่งที่เป็น ปรมาจารย์ในการสอนคนนั่งสมาธิว่า ท่านนั่งสมาธิวันละกี่ชั่วโมง ท่านตอบว่า ก็นั่งให้นานที่สุดเท่าที่จะนั่งได้ ท่านไม่ได้บอกว่านั่งนานเท่าไร แต่ก็เดาเอาว่าท่านต้องนั่งนานแน่ๆ เพราะท่านได้สะสมพลังจิตเอาไว้มากแล้ว อย่ากระนั้นเลย ผู้เขียนเลยเอาอย่างมั่ง พยายามนั่งให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ แต่ไม่บอกกก...ว่านั่งนานเท่าไร อิอิ มันอาย เดี๋ยวผู้อ่านจะรู้ความลับหมดว่า ว้า นกกระจอกยังไม่ทันกินน้ำเลย เมื่อยแล้ว เลิกนั่งแล้ว ไม่ได้เรื่อง]

ปัจจุบัน เป็นนักเขียนอิสระ เขียนหนังสือแล้วพิมพ์แจก ปกติก็เป็นงานเขียนออกแนวธรรมะ
ที่เน้นให้ผู้อ่าน อ่านแล้วปฏิบัติได้จริงขณะอ่าน อย่างเช่นงานเขียนเล่มนี้แหละ สาเหตุที่ผู้เขียนถนัดเขียนหนังสือออกแนวนี้ก็เพราะ ผู้เขียนไม่ต้องมีความรู้ความสามารถอะไรมากมายนักก็เขียนได้ ผู้เขียนกับผู้อ่านก็มีความรู้เท่ากันอยู่แล้ว ผู้เขียนเขียนว่าสูดลมหายใจเข้า เขียนแล้วปฏิบัติตามขณะเขียน ผู้เขียนก็รู้สึกเองว่าผู้เขียนกำลังสูดลมหายใจเข้า ผู้อ่านอ่านว่าสูดลมหายใจเข้า ผู้อ่านอ่านแล้วปฏิบัติตามก็จะรู้สึกตัวได้ว่าผู้อ่านกำลังสูดหายใจเข้าเหมือนกัน เมื่อมันเหมือนกันเลยเข้าใจตรงกันไม่ขัดแย้ง เกิดความเข้าใจได้ง่ายด้วยกันทั้งสองฝ่าย ถ้าเป็นงานเขียนที่สลับซับซ้อนต้องการความรู้ในการวิเคราะห์วิจัยหลายชั้นหลายตลบ ผู้เขียนก็คงไปไม่รอด อาจจะต้องลาโรง อันที่จริงแล้ว งานเขียนเล่มนี้แม้จะเขียนได้ไม่สู้ดีนัก ในทัศนคติของบางท่าน แต่ผู้เขียนก็ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ ตามความรู้ความสามารถอันน้อยนิดนี้แล้ว ดังนั้น ถ้าผิดพลาดพลั้งไปก็ขออภัยให้กับลูกช้างด้วยก็แล้วกัน แฮะ แฮะ ที่โหมโรงร่ายยาวมานี่ก็เพราะอยากจะเรียนท่านผู้อ่านว่า คนเราเขียนหนังสือก็อยากให้มีคนอ่านงานของเรา มันเป็นเรื่องธรรมดาของโลก งานเขียนเล่มนี้ก็เช่นกัน แม้แนวจะออกมาประหลาดๆ อยู่บ้าง แต่ก็อยากให้ท่านผู้อ่านได้อ่านเสริมเป็นทางเลือก ที่ต่างมุมไปจากหนังสือธรรมะเล่มหลักของท่านผู้อ่าน ดังนั้น ถ้าผู้อ่าน จ๊ะเอ๋ เอากับหนังสือเล่มนี้ แล้วเปิดพลิกไปพลิกมา แล้วตี๊ต่างว่า ไปเปิดเจอเอาหน้าที่พูดถึงการปฏิบัติ ก็อาจอ่านควบคู่ไปกับการปฏิบัติ อย่างนี้ผู้เขียนก็จะแทบกราบกรานเอาเลยทีเดียว หรือถ้ายังเปิดไม่เจอ แต่ไปเจอเอาพวกน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง ก็พลิกต่อไปอ่านตอนปฏิบัติ หรือบทที่เขียนไว้ว่าอานาปานสติก็ได้ เพราะฝึกปฏิบัติแล้ว มันให้ผลทันตาเห็น รู้จากการปฏิบัติ หรือรู้จากการชิมเองนี่มันสุดยอดที่สุด เค้าบอกกันว่า ความรู้หรือสิ่งที่เรียกว่าโนเลจ (Knowledge) นี้มันมีที่มาหลายทาง อย่างเช่น รู้จากการฟัง พอฟังเราก็จะมีความรู้เพิ่มขึ้น ตอนเด็กๆ เรายังไม่รู้เรื่องอะไรเลย ก็ฟังจากพ่อแม่ แล้วเราก็ได้ความรู้เพิ่มขึ้น เป็นต้น แบบที่สองก็คือการอ่าน คือบางทีเราฟังเขามาแล้วอยากรู้รายละเอียดเพิ่มขึ้นไปอีก แทนที่เราจะเซ้าซี้ถามคนอื่นให้เสียอารมณ์กันทั้งสองฝ่าย เราก็ไปหาอ่านเอาเอง ซื้อตามร้านหนังสืออ่านก็ได้ หาอ่านตามห้องสมุดก็ได้ หรือเดี๋ยวนี้ยิ่งสบายใหญ่ คลานขึ้นมาจากเตียง ขึ้นไปนั่งที่โต๊ะคอมพิวเตอร์ข้างๆ เตียงนั่นแหละ เปิดอินเตอร์เน็ตดู ก็รู้หมดว่าเรื่องโน้นเรื่องนี้คนอื่นเขาว่าอย่างไร นี่เป็นความรู้ที่ได้มาจากแบบที่สอง คือรู้ได้จากการอ่าน แต่ความรู้ทั้งสองแบบนี้ก็ยังไม่รู้ลึกเท่าความรู้ที่ได้มาจากสิ่งที่เราเรียกว่า สันทิฏฐิโก (สนฺทิฏฺฐิโก) ซึ่งก็คือ รู้เห็นได้ด้วยตัวของตัวเอง อย่างเช่น นาย ก ไก่ เคยกินแต่เกลือ ถ้าพูดถึงความเค็มก็นึกถึงแต่เกลือ ในขณะที่ นาย ข ไข่ เคยกินแต่น้ำปลา ถ้าพูดถึงความเค็มก็จะนึกถึงแต่น้ำปลา คราวนี้ถ้านาย ค ควาย พูดถึงความเค็ม นาย ก ไก่ ก็จะไปนึกมโนภาพไปถึงความเค็มแบบเกลือ ในขณะที่ นาย ข ไข่ ก็จะนึกมโนภาพไปถึงความเค็มแบบน้ำปลา ทั้งสองคนนี่อธิบายกันด้วยปาก ให้อีกคนหนึ่งเข้าใจไม่ได้ว่า เค็มแบบเกลือมีรสเค็มแบบไหน เค็มแบบน้ำปลามีรสเค็มแบบไหน เผลอๆ อาจจะทะเลาะกันเองเพราะอธิบายกันไม่เข้าใจ จะไปหาอ่านเอาจากอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าของประเทศไหนก็ไม่มีอธิบายไว้ แต่ถ้านาย ก ไก่ ไปชิมน้ำปลาดู หรือนาย ข ไข่ ไปชิมเกลือดู ต่างคนต่างร้อง อ๋อ กันเลยว่า ตถตา มันเป็นเช่นนี้เอง มันเค็มเช่นนี้เอง เค็มแบบนี้เอง เค็มแบบที่มีเหตุปัจจัยของเกลือปรุงแต่ง กับเค็มตามแบบที่มีเหตุปัจจัยของน้ำปลาปรุงแต่งนี่มันต่างกัน เรียกว่าบรรลุธรรมเลย คือมันต้องชิมเองว่างั้นเถิด หนังสือเล่มนี้ก็เช่นกัน ชิมได้เลย รีบเปิดไปที่หน้า 58 ที่เขียนไว้ว่า อานาปานสติ แล้วทำตามเลย ใช้เวลาไม่นานก็จะจับตัวจิตได้เลย พอจับตัวจิตมาได้แล้วคราวนี้เราเอาจิตไปใช้งานอะไรก็ได้ อย่างผู้เขียนนี่เมื่อก่อนขี้โรค แล้วก็นอนไม่ค่อยหลับ ก็เลยไปจับจิตมาฝึกใช้งาน แล้วก็ใช้งานมันให้มันไปบอกอ้ายจิตนี่แหละ ให้ไปรักษาโลกให้หน่อย มันก็ไปรักษาโรคให้ พอไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมันก็หลับสบาย ครอกฟรี๊....ครอกฟรี๊...ตื่นขึ้นมาก็จิตแจ่มใส.....ใจก็สบาย....ด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นจากปลายจมูกของเรานี่เอง ............แฮะ..แฮะ........มีศรัทธาอยากจะฝึกสมาธิรึยังฮะ ผู้เขียนอยากจะให้ท่านผู้อ่านฝึกน่ะฮะ เลยพล่ามใหญ่ ยังไม่มีศรัทธา ยังไม่ประทับใจยังไม่อยากจะฝึก ไม่เป็นไรขออนุญาตพูดใหม่ ขอพูดใหม่ ขอตื้อใหม่อีกครั้งว่า ลมหายใจมันเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตเรา ดีไม่ดีมันอยู่ที่ลมหายใจของเรานี่แหละ ชีวิตของเราที่มันโอ๊ล่ะล้า ชุนมุนชุลเกทั้งกายและจิตก็เพราะเราสูดเจ้าลมหายใจเข้าไป แล้วเจ้าร่างกายของเรานี่ เอาออกซิเจนที่ติดไปกับลมหายใจ ไปใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพนั่นเอง คือสูดเข้าไปเท่าช้างแต่ใช้เท่ามด เกี่ยวกันหรือเปล่าเนียะ สรุปก็คือสูดเข้าไปมากแต่ใช้น้อยก็แล้วกัน คราวนี้ถ้าเราปรับลมหายใจของเราให้ดีๆ ให้เหมาะสม ร่างกายของเราก็จะใช้ออกซิเจนได้มากกว่า ทั้งๆ ที่สูดลมหายใจเข้าไปเท่าเดิม เราก็เลยยิ่งนั่งลมหายใจก็ยิ่งเบาลงเรื่อยๆ คือออกแรงน้อยได้ของเท่าเดิมว่างั้นดีกว่า ดังนั้น หนังสือเล่มนี้ทั้งเล่ม ก็จะเน้นเขียนแต่เรื่องนี้แหละฮะ คือใช้จมูกสูดลมหายใจเข้าไปให้ถูกวิธี ชีวิตของเราก็จะดีขึ้นเอง เรียกว่าใช้มนต์จากปลายจมูกของเราเองนี่แหละ เสกชีวิตของตัวเราขึ้นมาใหม่ ให้มันพิชิตโรคา อันเนื่องมาจากการนอนไม่หลับทั้งหลาย หรือโรคอื่นๆ หลายโรค จาระไนไม่หมดฮะ ยกตัวอย่างดีกว่า อย่างเช่น โรคเกี่ยวกับความคิดที่คิดวกไปเวียนมาว่า เอ เราเกิดมาท่าไหนหว่า มันจึงต้องมาทนแบกทุกข์จนหลังแอ่นอยู่คนเดี๊ยะ คนอื่นไม่ยักกะช่วยเรามั่ง ไม่เห็นใจเรามั่งเลย โรคอย่างงี้..รับรองนั่งสมาธิแล้วมันหายวับไปกับตาเลย...หุหุ เรียกว่าวิธีฝึกสมาธิแบบสูตรสนุก ทำให้เรามีความสุขทุกวี่ทุกวัน นี่มันดีจริงๆ เลย เรื่องของเรื่องก็คล้ายกับว่าผู้เขียนไปเจออาหารสูตรอร่อย แล้วผู้เขียนกินแล้วก็อร่อย เลยอยากเชิญชวนให้คนอื่นมากินมั่งเท่านั้นแหละไม่มีอะไรมาก อิอิ

ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการเขียนหนังสือเล่มนี้ก็คือ ..............เจ้าพ่อคุ๊ณณณณ....... ขอให้ ทุก..ทุก..ท่าน .......ฝึกสมาธิกันให้.... มาก... มากกกก .... มาก... มากกก .... มากกกกก ..... เท่า.. ฟ้า....... เล๊ยยยยย.......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2018, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 13:23 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2021, 08:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 เม.ย. 2015, 09:43
โพสต์: 718

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุนะครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2022, 13:41 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2884


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร