วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 09:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 140, 141, 142, 143, 144, 145, 146 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 13:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อยู่มาวันหนึ่ง กัณหกุมารได้ตรวจตราเรือนคลังรัตนะทั้งหลาย
แล้วขึ้นนั่งท่ามกลางบัลลังก์ ให้นำบัญชีที่เป็นแผ่นทองมา เห็นอักษร
ที่ญาติก่อนๆ จดจารึกไว้ในแผ่นทองว่า ทรัพย์เท่านี้ ญาติคนโน้นให้
เกิดขึ้น ทรัพย์เท่านี้ญาติคนโน้นให้เกิดขึ้น จึงคิดว่า ผู้ที่ทำทรัพย์นี้ให้
เกิดขึ้นไม่ปรากฏตายไปหมดแล้ว ปรากฏอยู่แต่ทรัพย์อย่างเดียว ผู้ที่ถือ

เอาทรัพย์นี้ไปด้วย แม้คนหนึ่งก็มิได้มี ความจริงไม่มีใครอาจขนเอา
ห่อทรัพย์ติดไปปรโลกได้เลย ทรัพย์เป็นของไม่มีสาระ เพราะจะต้อง
สาธารณะด้วยภัย ๕ ประการ คือ ราชภัย โจรภัย อัคคีภัย อุทกภัย
อัปปิยทายาทภัย. การให้ทรัพย์เป็นทาน เป็นสาระ ร่างกายไม่เป็นสาระ

เพราะจะต้องสาธารณะด้วยโรคมากมาย คนทำความดีมีกราบไหว้ท่านผู้
มีศีลเป็นต้น เป็นสาระ, ชีวิตไม่เป็นสาระ เพราะไม่เที่ยงแท้แน่นอน
การประกอบความเพียรเจริญวิปัสสนาด้วยสามารถไตรลักษณ์ เป็นสาระ
เพราะฉะนั้น เราจักให้ทาน เพื่อถือเอาสาระจากโภคะที่ไม่เป็นสาระ.

คิดดังนี้แล้ว จึงลุกออกจากอาสนะไปเฝ้าพระราชา แล้วถวายบังคมลา
พระราชามาบำเพ็ญทานเป็นการใหญ่ เมื่อบำเพ็ญทานได้ ๗ วัน เขา
เห็นทรัพย์มิได้หมดสิ้นไป จึงคิดว่า ประโยชน์อะไรด้วยทรัพย์สำหรับ
เรา ขณะที่ยังไม่ถูกชราครอบงำนี้ เราจักบวชทำอภิญญาและสมาบัติ
ให้เกิด แล้วจักมีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า คิดดังนี้แล้วก็ให้เปิด

ประตูเรือนทุกประตู ประกาศว่า สิ่งของทั้งหมดเราได้ให้แล้ว ผู้มีความ
ต้องการจงนำไปเถิด เขาเกลียดชังสมบัติเหมือนของโสโครก ละวัตถุกาม
เสีย เมื่อมหาชนกำลังร้องไห้คร่ำครวญถึงอยู่ เขาได้ออกจากเมือง เข้า
หิมวันตประเทศบวชเป็นฤๅษี เที่ยวแลดูภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์เพื่อเป็นที่
อยู่ของตน ได้มาถึงที่ที่ตถาคตยืนอยู่ตรงนี้ คิดว่า เราจักอยู่ในที่นี้.


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 13:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ดังนี้แล้วจึงอธิษฐานเอาต้นอินทวารุณพฤกษ์ต้นหนึ่งเป็นที่อยู่ที่กิน อยู่
ณ โคนต้นไม้นั้น ได้ละเสนาสนะภายในบ้านเสีย ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
ไม่สร้างบรรณศาลา ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตรบ้าง ถือการอยู่ที่แจ้ง
เป็นวัตรบ้าง ถือการไม่นอนเป็นวัตรบ้าง ถ้าจะนอนก็นอนบนพื้นดิน

เท่านั้น ถือการใช้ฟันเป็นดังสาก ใช้ฟันเคี้ยวอย่างเดียว เคี้ยวกินแต่
ของที่ไม่สุกด้วยไฟ ไม่เคี้ยวกินของอะไรๆ ที่มีแกลบหุ้ม บริโภคอาหาร
วันละครั้งเท่านั้นยับยั้งอยู่เหนือแผ่นดิน ทำตนเสมอด้วย ดิน น้ำ ไฟ
ลม สมาทานธุดงคคุณมีประมาณเท่านี้อยู่ ได้ยินว่า ในชาดกนี้ พระ-

โพธิสัตว์เป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่ง ต่อมาไม่นานนักท่านก็ได้อภิญญาและ
สมาบัติ เล่นฌานเพลิดเพลินอยู่ ณ ที่นั้น แม้ต้องการผลาหารก็ไม่ไป
ที่อื่น เมื่อต้นไม้ผลิผลก็กินผล เมื่อผลิดอกก็กินดอก เมื่อมีใบก็กินใบ
เมื่อใบไม้ไม่มีกินก็กินเสก็ดไม้ ท่านเป็นผู้สันโดษอย่างยิ่งถึงเพียงนี้ อยู่

ในสถานที่นี้นาน เวลาเช้าวันหนึ่งท่านเก็บผลไม้สุก เมื่อจะเก็บก็มิได้มี
ความโลภเที่ยวเก็บในที่อื่น คงนั่งอยู่ที่เดิมนั่นแหละ เหยียดมือไปเก็บ
ผลไม้ที่พอมือถึง บรรดาผลไม้เหล่านั้น ท่านก็มิได้เลือกว่าชอบใจหรือ
ไม่ชอบใจ แล้วแต่ถึงมือก็เก็บเอามา ด้วยเดชแห่งศีลของท่านซึ่งสันโดษ

อย่างยิ่งเพียงนี้ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกเทวราชได้แสดงอา-
การร้อนผิดปกติ.


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 13:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ได้ยินว่า อาสนะนั้น จะร้อนขึ้นด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ ท้าว
สักกะสิ้นอายุ ๑ จะสิ้นบุญ ๑ มีสัตว์ผู้มีอานุภาพใหญ่อื่นปรารถนา
ที่นั้น ๑ ด้วยเดชศีลของสมณพราหมณ์ที่มีฤทธิ์มากตั้งอยู่ในธรรม
๑.

ท้าวสักกเทวราชทรงรำพึงว่า ใครหนอที่ประสงค์จะให้เรา
เคลื่อนจากที่ แล้วได้ทอดพระเนตรเห็นกัณหฤๅษีกำลังเก็บผลไม้อยู่ใน
ประเทศนี้ จึงทรงดำริว่า พระฤๅษีนี้มีตบะกล้า ชนะอินทรีย์แล้วอย่าง
ยิ่ง เราจักให้บันลือสีหนาทด้วยธรรมกถา ได้ฟังเหตุดีแล้วจักบำรุงให้

อิ่มหนำด้วยพร ทำต้นไม้ให้มีผลเป็นนิจสำหรับพระฤๅษีนี้แล้วจักมา.
ครั้นทรงดำริดังนี้แล้ว ก็เสด็จลงมาโดยเร็วด้วยอานุภาพใหญ่ ประทับ
ยืนอยู่ที่โคนต้นไม้ ข้างหลังพระฤๅษี เมื่อจะทดลองดูว่า เมื่อเรากล่าว
โทษขึ้นแล้ว ท่านจักโกรธหรือไม่ จึงตรัสพระคาถาที่ ๑ ว่า:-

บุรุษนี้ดำจริงหนอ บริโภคโภชนะก็ดำ
อยู่ในภูมิประเทศก็ดำ เราไม่ชอบใจเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กณฺหํ คือ มีสีดำ. บทว่า โภชนํ
ได้แก่ โภชนะคือผลไม้.
กัณหฤๅษีได้ฟังคำของท้าวสักกะแล้ว พิจารณาดูด้วยทิพยจักษุว่า
ใครหนอมาพูดกับเรา รู้ว่าเป็นท้าวสักกะ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ โดยไม่
แลดูเลยว่า:-

คนประกอบด้วยตบะไม่ชื่อว่าคนดำ เพราะ
คนที่มีแก่นในภายใน ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ บาป
กรรมมีอยู่ในคนใด คนนั้นแหละชื่อว่าเป็นคน
ดำ นะท้าวสุชัมบดี.


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 13:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตปสา คือ บุคคลไม่ชื่อว่า เป็น
คนดำเพราะมีตบะ. บทว่า อนฺโตสาโร ความว่า เพราะว่าคนที่ประ-
กอบด้วยแก่นคือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะใน
ภายในเห็นปานนี้ ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะมีบาปอันลอยแล้ว. บทว่า
ส เว ความว่า ส่วนบาปกรรมมีอยู่ในคนใด คนนั้นถึงจะเกิดในตระ-
กูลไหนๆ ก็ตาม ถึงจะประกอบด้วยสีแห่งสรีระอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม
ก็ชื่อว่า เป็นคนดำทั้งนั้น.

ครั้นพระฤๅษีกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงจำแนกประเภทบาปกรรมที่
ทำให้สัตว์เหล่านี้เป็นคนดำโดยพิสดาร ติเตียนบาปเหล่านั้นแม้ทั้งหมด
สรรเสริญคุณมีศีลเป็นต้น แสดงธรรมแก่ท้าวสักกะ ประดุจว่าให้ดวง-
จันทร์ตั้งขึ้นในอากาศ ท้าวสักกะทรงสดับธรรมกถาของกัณหฤๅษีแล้ว
มีความเบิกบาน เกิดความโสมนัส เมื่อจะนิมนต์พระมหาสัตว์ด้วยพร
ได้ตรัสพระคาถาที่ ๓ ว่า:-

ข้าแต่พราหมณ์ คำนั้นท่านกล่าวดีแล้ว
เป็นสุภาษิตอันสมควร ข้าพเจ้าจะให้พรท่าน
ตามแต่ใจท่านปรารถนาเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตสฺมึ เป็นต้น ความว่า คำนี้
ใด อันท่านผู้เป็นราวกะว่าเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว คำนั้น
อันท่านกล่าวดีแล้ว เป็นสุภาษิต ชื่อว่าสมควร เพราะเป็นคำที่สมควร
แก่ท่าน ท่านปรารถนาพรอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยใจ คือ พรใดอันท่าน
อยากได้แล้วปรารถนาแล้ว ข้าพเจ้าจะให้พรนั้นทั้งหมดแก่ท่าน.


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 13:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้ว คิดว่า ท้าวสักกะนี้เมื่อจะทดลอง
เราว่า เมื่อถูกกล่าวโทษของตนจักโกรธหรือไม่หนอ ? ได้แสร้งติเตียน
ฉวีวรรณ โภชนะ และที่อยู่ของเรา บัดนี้รู้ว่าเราไม่โกรธ จึงมีจิตเลื่อมใส
แล้วให้พร เธอคงสำคัญเราว่าประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความเป็นใหญ่
ชั้นท้าวสักกะชั้นพรหมเป็นแน่ เราจะตัดความสงสัยของท้าวสักกะใน

เรื่องนั้นเสีย ควรจะรับพร ๔ ประการเหล่านี้ คืออย่าให้ความโกรธต่อ
ผู้อื่นเกิดขึ้นแก่เรา ๑ อย่าให้โทสะต่อผู้อื่นเกิดขึ้นแก่เรา ๑ อย่าให้
ความโลภในสมบัติของผู้อื่นเกิดขึ้นแก่เรา ๑ อย่าให้สิเนหาในผู้อื่น
เกิดขึ้น ๑ เราพึงเป็นกลางอยู่เท่านั้น ๑ คิดดังนี้แล้ว เมื่อจะรับพร ๔ ประ-
การ เพื่อจะตัดความสงสัยของท้าวสักกะ จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า:-

ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้งปวง
ถ้าจะโปรดประทานพรแก่ข้าพระองค์ ข้าพระ-
องค์ปรารถนาให้ความประพฤติของตน อย่าให้
มีความโกรธ อย่าให้มีโทสะ อย่าให้มีความ
โลภ อย่าให้มีความสิเนหา ขอได้ทรงโปรด
ประทานพร ๔ ประการนี้แก่ข้าพระองค์เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วรฺจ เม อโท สกฺก ความว่า
ถ้าพระองค์จะโปรดประทานพรแก่ข้าพระองค์ไซร้. บทว่า สุนิกฺโกธํ
คือ อย่าให้มีความโกรธด้วยดี ด้วยสามารถแห่งการไม่โกรธตอบ. บทว่า
สุนิทฺโทสํ คือ อย่าให้มีโทสะด้วยดี ด้วยสามารถแห่งการไม่ประทุษ-

ร้ายตอบ. บทว่า นิลฺโลภํ คือ อย่าให้มีความโลภในสมบัติผู้อื่น. บทว่า
วุตฺติมตฺตโน ความว่า ข้าพระองค์ปรารถนาให้ความประพฤติของตนมี
ภาวะอย่างนี้. บทว่า นิเสฺนหํ ได้แก่ อย่าให้มีความสิเนหา คือ ให้


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 14:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ปราศจากความโลภ แม้ในของของตน คือ ในบุตรและธิดาทั้งหลาย
ซึ่งมีวิญญาณ หรือในทรัพย์มีข้าวเปลือกเป็นต้น ซึ่งไม่มีวิญญาณ.
บทว่า อภิกงฺขามิ ความว่า ข้าพระองค์ปรารถนาให้ความประพฤติของ
ตนประกอบด้วยองค์ ๔ ประการเห็นปานนี้. ด้วยบทว่า เอเต เม จตุโร

วเร นี้ พระมหาสัตว์กล่าวว่า ขอพระองค์ได้ทรงโปรดประทานพร ๔
ประการ มีอย่าให้มีความโกรธเป็นต้นเหล่านั้น แก่ข้าพระองค์เถิด.

ถามว่า ก็พระมหาสัตว์ไม่ทราบหรือว่า ใครๆ ไม่อาจรับพรใน
สำนักของท้าวสักกะ แล้วขจัดความโกรธเป็นต้นได้ด้วยพร.
ตอบว่า ไม่ทราบหามิได้ แต่ที่รับพรเพราะคิดว่า เมื่อท้าวสักกะ
ประทานพร การพูดว่า ข้าพเจ้าไม่รับไม่สมควร และเพื่อจะตัดความ
สงสัยของท้าวสักกะนั้น จึงรับพร.

ลำดับนั้น ท้าวสักกะทรงดำริว่า กัณหบัณฑิตเมื่อจะรับพร ก็
รับแต่พรที่หาโทษมิได้ทั้งนั้น เราจักถามถึงคุณและโทษในพรเหล่านี้กะ
พระฤๅษีก่อน ครานั้น เมื่อพระองค์จะถามพระฤๅษี จึงตรัสพระคาถา
ที่ ๕ ว่า:-

ดูก่อนท่านพราหมณ์ ท่านเห็นโทษใน
ความโกรธ ในโทสะ ในโลภะ และในสิเนหา
เป็นอย่างไรหรือ ? ข้าพเจ้าขอถามความนั้น
ขอท่านจงบอกแก่ข้าพเจ้าเถิด.

พึงทราบความแห่งเรื่องนั้นว่า ดูก่อนท่านพราหมณ์ ท่านเห็น
โทษในความโกรธ ในโทสะ ในโลภะ หรือในสิเนหาอย่างไรหรือหนอ ?
ข้าพเจ้าขอถามความนั้น ขอท่านจงบอกแก่ข้าพเจ้าก่อนเถิด เพราะว่า
ข้าพเจ้าไม่ทราบถึงโทษในอกุศลธรรมนั้น


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวกะท้าวสักกะว่า ถ้าเช่นนี้ ท่าน
จงฟัง. ดังนี้แล้วกล่าวคาถา ๔ คาถาว่า:-
ความโกรธเกิดแต่ความไม่อดทน ทีแรก
เป็นของน้อย แต่ภายหลังเป็นของมาก ย่อม
เจริญขึ้นโดยลำดับ ความโกรธมักทำความ
เกี่ยวข้อง มีความคับแค้นมาก เพราะฉะนั้น
ข้าพระองค์จึงไม่ชอบใจความโกรธ.

วาจาของผู้ประกอบด้วยโทสะ เป็น
วาจาหยาบคาย ถัดจากนั้นก็เกิดปรามาส ถูก
ต้องกัน ต่อจากนั้นก็ชกต่อยกันด้วยมือ ต่อไป
ก็จับท่อนไม้เข้าทุบตีกัน จนถึงจับศัสตราเข้า
ฟันแทงกันเป็นที่สุด โทสะเกิดแต่ความโกรธ
เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ชอบใจโทสะ

ความโลภก่อให้เกิดอาการหยาบ เป็น
เหตุให้เที่ยวปล้นขู่เอาสิ่งของเขา แสดงของ
ปลอมเปลี่ยนเอาของคนอื่น ประกอบอุบาย
ล่อลวง บาปธรรมทั้งหลายนี้มีอยู่ในโลภธรรม
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ชอบใจโลภ.

กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย เป็นเครื่อง
สำเร็จได้ด้วยใจ ถูกสิเนหาผูกมัดเข้าอีกด้วย
แล้ว ถ้านอนเนื่องอยู่เป็นอันมาก มักทำให้
บุคคลเดือดร้อนยิ่งนัก เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า
จึงไม่ชอบใจสิเนหา.


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 14:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อขนฺติโช ความว่า ความโกรธ
นั้น เกิดแต่ความไม่อดทนแห่งบุคคลผู้มีชาติไม่อดกลั้น ทีแรกก็เป็น
ของน้อย แต่ภายหลังเป็นของมาก ย่อมเจริญขึ้นโดยลำดับ ข้อที่ความ
โกรธนั้นเจริญขึ้น พึงพรรณนาด้วยขันติวาทิชาดก และจุลลธรรม-

ปาลชาดก. อนึ่ง ในข้อนี้ พึงเล่าเรื่องที่ติสสอำมาตย์ฆ่าชนทั้งหมด
ตั้งต้นแต่ภรรยาพร้อมด้วยบริวารชนแล้วฆ่าตัวตายในภายหลัง. บทว่า
อาสงฺคิ ความว่า ความโกรธมักทำความเกี่ยวข้อง คือ เกิดขึ้นแก่ผู้ใด
ย่อมทำให้ผู้นั้นเกี่ยวข้องพัวพัน และไม่ให้สละเรื่องนั้นไปได้ ต้องให้
กลับมาทำความชั่วร้ายมีการด่าเป็นต้น.

บทว่า พหุปายาโส ได้แก่ ประกอบด้วยความคับแค้น คือ
ความลำบาก กล่าวคือความทุกข์ทางกายและทางใจเป็นอันมาก จริงอยู่
เพราะอาศัยความโกรธเป็นเหตุ ชนทั้งหลายที่กระทำการล่วงเกินใน
พระอริยบุคคลเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งความโกรธ ย่อมเสวยทุกข์เป็น

อันมาก มีความเดือดร้อนเพราะถูกฆ่าและถูกจองจำเป็นต้น และมีการ
ถูกลงโทษด้วยเครื่องจองจำ ๕ อย่างเป็นอาทิ ทั้งในภพนี้และภพหน้า
เพราะเหตุนั้น ความโกรธ จึงชื่อว่ามีความคับแค้นมาก. บทว่า ตสฺมา
ความว่า เพราะความโกรธนั้นมีโทษมากมายดังกล่าวมานี้ ฉะนั้น
ข้าพเจ้าจึงไม่ชอบใจความโกรธ.

บทว่า ทุฏฺ€สฺส เป็นต้น ความว่า แรกทีเดียววาจาหยาบคาย
ของบุคคลผู้โกรธ ด้วยโกธะอันมีความเดือดดาลเป็นลักษณะ แล้วต่อมา
จึงประทุษร้ายด้วยโทสะอันมีความคิดร้ายต่อผู้อื่นเป็นลักษณะ ย่อมเปล่ง
ออกมา ถัดจากวาจาก็เกิดปรามาสถูกต้องกันด้วยสามารถแห่งการฉุดกัน

มาฉุดกันไป ต่อจากนั้นก็ชกต่อยกันด้วยมือ ด้วยสามารถแห่งความ
พยายาม ต่อไปก็จับท่อนไม้เข้าทุบตีกัน จนถึงจับศัสตราอันมีคมข้าง
เดียวหรือมีคมสองข้างเข้าฟันแทงกันเป็นที่สุด คือ ความสำเร็จแห่งการ
ฟันแทงด้วยศัสตรา เป็นที่สุดแห่งกิจของโทสะทุกอย่าง จริงอยู่ ใน
กาลใด บุคคลใช้ศัสตราฆ่าผู้อื่น ภายหลังจึงใช้ศัสตรานั้นนั่นแหละ
ฆ่าตัวเอง ในกาลนั้น โทสะย่อมถึงที่สุด.


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บทว่า โทโส โกธสมุฏฺ€าโน ความว่า เปรียบเหมือน
เปรียงหรือน้ำข้าวอันไม่เปรี้ยว แต่กลายเป็นของเปรี้ยวด้วยอำนาจแห่ง
ความแปรไป สิ่งที่เปรี้ยวและไม่เปรี้ยวทั้งสองนั้น แม้จะมีกำเนิดอย่าง
เดียวกัน ท่านก็เรียกต่างกันว่าเปรี้ยว ไม่เปรี้ยว ฉันใด โทสะก็ฉันนั้น

เหมือนกัน เมื่อก่อนเป็นความโกรธ ต่อเมื่อแปรไปแล้วจึงเป็นความคิด
ประทุษร้ายในภายหลัง สภาวธรรมทั้งสองนั้น แม้จะมีกำเนิดอย่างเดียว
กัน โดยความเป็นอกุศลมูลด้วยกัน ท่านก็เรียกต่างกันว่า ความโกรธ
ความคิดประทุษร้าย เปรียบเหมือน สิ่งที่มีรสเปรี้ยวเกิดจากสิ่งที่ไม่มี

รสเปรี้ยว ฉันใด โทสะแม้นั้น ก็ตั้งขึ้นจากโกธะฉันนั้น เพราะเหตุนั้น
โทสะจึงมีชื่อว่า โกธะเป็นสมุฏ€าน. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะ
โทสะมีโทษเป็นเอนกอย่างนี้ ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ชอบใจโทสะเลย.

บทว่า อโลภสหสาการา ความว่า ชื่อว่า ก่อให้เกิดอาการหยาบ
เพราะปล้นฆ่าชาวบ้านทุกวันๆ โดยการใช้อาวุธจ่อที่ตัวแล้วข่มขู่ว่า จง
ให้สิ่งชื่อนี้แก่เรา.

บทว่า นิกติ วฺจนานิ จ ความว่า การแสดงของปลอม
เปลี่ยนเอาของของผู้อื่นไป ชื่อว่า การสับเปลี่ยน การสับเปลี่ยนนั้น
พึงเห็นตัวอย่าง ในการให้ทองเก๊ว่าทองแท้ และกหาปณะปลอมว่า
กหาปณะแท้ แล้วถือเอาสิ่งของของผู้อื่นไป ส่วนการถือเอาสิ่งของของ

ผู้อื่นไปด้วยสามารถแห่งปฏิภาณ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย ชื่อว่า
การล่อลวง พึงทราบเรื่องราวของการล่อลวงนั้นอย่างนี้ว่า บุรุษชาว-
บ้านผู้มีความซื่อตรงคนหนึ่ง นำกระต่ายมาจากป่าวางไว้ที่ฝั่งแม่น้ำแล้ว
ลงอาบน้ำ ลำดับนั้น นักเลงคน ๑ เอากระต่ายนั้นวางไว้บนศีรษะ


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
แล้วลงอาบน้ำ บุรุษชาวบ้านขึ้นมาแล้ว เมื่อไม่เห็นกระต่าย จึงมองหา
ข้างโน้นข้างนี้ นักเลงเห็นดังนั้นจึงถามบุรุษนั้นว่า มองหาอะไรท่านผู้-
เจริญ. บุรุษชาวบ้านนั้นตอบว่า ข้าพเจ้าวางกระต่ายไว้ตรงนี้ แต่ไม่
เห็นกระต่ายนั้น. นักเลงจึงกล่าวว่า แน่ะอันธพาล ท่านไม่รู้ดอกหรือ

ว่า ชื่อว่ากระต่ายทั้งหลาย ที่บุคคลวางไว้ที่ฝั่งแม่น้ำย่อมหนีไปได้ ท่าน
ดูซิ ฉันยังต้องเอากระต่ายของตนวางไว้บนศีรษะอาบน้ำด้วยเลย. บุรุษ
ชาวบ้านเข้าใจว่า จักเป็นอย่างนั้น เพราะความที่ตนเป็นผู้ไม่มีปฏิภาณ.
จึงหลีกไป ในข้อนี้ พึงเล่าเรื่องที่เขารับเอาลูกเนื้อด้วยเงิน ๑ กหาปณะ
ให้ลูกเนื้อนั้นอีก แล้วจึงรับเอาเนื้อ ซึ่งมีราคา ๒ กหาปณะ.

บทว่า ทิสฺสติ โลภธมฺเมสุ ความว่า ข้าแต่ท้าวสักกะ บาป
ธรรมทั้งหลายมีโลภะเป็นต้นเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในสภาวะคือความโลภ
ทั้งหลาย คือ ในสัตว์ทั้งหลายผู้ถูกความโลภครอบงำแล้ว เพราะว่า
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่โลภแล้ว ย่อมไม่กระทำกรรมเห็นปานนี้ ความโลภมี
โทษมากมายอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ชอบใจความโลภ.

บทว่า เสฺนหสงฺคนฺถิตา คนฺถา ความว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด
กายคืออภิชฌาทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปอยู่ในอารมณ์ทั้งหลายมีประการต่างๆ
ถูกสิเนหาอันมีความติดอยู่ในอารมณ์ทั้งหลายเป็นลักษณะร้อยรัดแล้ว
คือสืบต่อแล้วด้วยสามารถแห่งการเกิดขึ้นบ่อยๆ ดุจดอกไม้ทั้งหลายที่
เขาร้อยไว้ด้วยด้าย ฉะนั้น.

บทว่า เสนฺติ มโนมยา ปุถู ความว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด
กายคืออภิชฌาทั้งหลาย อันเกิดขึ้นแล้วในอารมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็น
เครื่องสำเร็จได้ด้วยใจ เพราะเป็นสภาพที่เกิดขึ้นทางใจ ดุจวัตถุทั้งหลาย
มีเครื่องประดับเป็นต้น อันเกิดแล้วจากรัตนะทั้งหลายมีทองเป็นต้น
ชื่อว่าอันสำเร็จแล้วด้วยรัตนะทั้งหลายมีทองเป็นอาทิ นอนเนื่องอยู่ใน
อารมณ์เหล่านั้น.


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บทว่า เต ภุสํ อุปตาเปนฺติ ความว่า กิเลสเหล่านั้น ถ้า
นอนเนื่องอยู่แล้วเป็นอันมาก คือมีกำลังรู้ชัดอยู่ มักทำบุคคลให้เดือด-
ร้อน คือให้ลำบากโดยยิ่ง ก็ในการที่กิเลสเหล่านั้นมักทำให้บุคคลเดือด-
ร้อนโดยยิ่ง พึงนำเรื่องของคาถาว่า สลลฺวิทฺโธว รุปฺปติ เป็นต้น และ

พระสูตรทั้งหลายมีความว่า ดูก่อนคฤหบดี ความเศร้าโศก ความร่ำไร
ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นทั้งหลายล้วนเกิดแต่ความ
รัก ล้วนมีความรักเป็นแดนเกิดทั้งนั้น ความโศกย่อมเกิดแต่สิ่งที่รัก
ความโศกย่อมเกิดแต่ความรัก. ดังนี้เป็นต้น มาเป็นอุทาหรณ์อีกอย่าง
หนึ่ง หัวใจของสุมังคลโพธิสัตว์แตกแล้ว เพราะความโศกอันมีกำลัง

เหตุให้เด็กทั้งหลายเป็นทาน โทมนัสเป็นอันมากก็ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พระ-
เวสสันดรโพธิสัตว์ ความรักย่อมทำให้พระมหาสัตว์ทั้งหลายผู้บำเพ็ญ
บารมีแล้วเดือดร้อนได้ด้วยประการฉะนี้ เพราะโทษนี้มีอยู่ในความ
สิเนหาฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ชอบใจ แม้ซึ่งความสิเนหา.

ท้าวสักกเทวราชได้ทรงสะดับคำวิสัชนาปัญหาแล้ว จึงตรัสว่า
ข้าแต่ท่านกัณหบัณฑิต ปัญหานี้ท่านกล่าวดี เปรียบดังพุทธลีลา ข้าพ-
เจ้ายินดีเหลือเกิน ฉะนั้น ขอท่านจงรับพรอย่างอื่นอีก แล้วตรัสพระ
คาถาที่ ๑๐ ว่า:-

ข้าแต่ท่านพราหมณ์ คำนั้นท่านกล่าวดี
แล้ว เป็นสุภาษิตอันสมควร ข้าพเจ้าจะให้
พรแก่ท่าน ตามแต่ใจท่านปรารถนาเถิด.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถาต่อไปว่า:-


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 17:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้งปวง
ถ้าจะโปรดประทานพรแก่ข้าพระองค์ ขออา-
พาธทั้งหลายอันเป็นของร้ายแรง ซึ่งจะทำ
อันตรายแก่ตบะกรรมได้ อย่าพึงเกิดขึ้นแก่
ข้าพระองค์ผู้อยู่ในป่า ซึ่งอยู่แต่ผู้เดียวเป็น
นิตย์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺตรายกรา ภุสา คือ อันจะทำ
อันตรายแก่ตบะกรรมของข้าพระองค์นี้.
ท้าวสักกะได้ทรงสะดับดังนั้นแล้ว ทรงดำริว่า กัณหบัณฑิตเมื่อ
จะรับพร ก็ไม่รับพรที่อาศัยอามิส รับแต่พรที่อาศัยตบะกรรมเท่านั้น
ท้าวเธอยิ่งทรงเลื่อมใสมากขึ้น เมื่อจะประทานพรอื่นอีก จึงตรัสพระ-
คาถานอกนี้ว่า:-

ดูก่อนท่านพราหมณ์ คำนั้นท่านกล่าว
ดีแล้ว เป็นสุภาษิตอันสมควร ข้าพเจ้าจะให้
พรแก่ท่าน ตามแต่ใจท่านปรารถนาเถิด.
แม้พระโพธิสัตว์ เมื่อจะแสดงธรรมแก่ท้าวสักกะโดยอ้างการรับ
พร จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า:-

ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้งปวง
ถ้าจะโปรดประทานพรแก่ข้าพระองค์ ขอใจ
หรือร่างกายของข้าพระองค์ อย่าเข้าไปกระทบ
กระทั่งใครๆ ในกาลไหนๆ เลย ขอได้ทรง
โปรดประทานพรนี้เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มโน วา ได้แก่ มโนทวาร. บทว่า
สรีรํ วา ได้แก่ กายทวาร. แม้วจีทวาร ก็พึงทราบว่า ท่านถือเอา
แล้วด้วยการถือเอาทวารเหล่านั้นเหมือนกัน. บทว่า มงฺกุเต คือ เพราะ
เหตุแห่งข้าพระองค์. บทว่า อุปหฺเถ ได้แก่ อย่าเข้าไปกระทบ-
กระทั่ง คือ พึงเป็นทวารอันบริสุทธิ์แล้ว.


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ข้อนี้มีอธิบายว่า ข้าแต่ท้าวสักกเทวราช ขออย่าให้กรรมที่เป็น
ไปในทวาร แม้ทั้ง ๓ นี้เข้าไปกระทบแก่ใครๆ คือแก่ท้าวสักกะในกาล
ไหนๆ เพราะเหตุแห่งข้าพระองค์ คือเพราะอาศัยข้าพระองค์ ได้แก่
เพราะความที่แห่งข้าพระองค์เป็นผู้ใคร่ต่อความพินาศ คือ ขอกรรมที่
เป็นไปในทวารทั้ง ๓ นี้พึงเป็นธรรมชาติอันหลุดพ้นแล้ว คือ บริสุทธิ์
แล้ว จากอกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการ มีปาณาติบาตเป็นต้นนั่นเทียว.

พระมหาสัตว์ เมื่อจะรับพรในฐานะทั้ง ๖ ได้รับเอาพรอันอาศัย
เนกขัมมะเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้ จริงอยู่ พระโพธิสัตว์นั้น ย่อม
ทราบว่า ขึ้นชื่อว่าสรีระ ย่อมมีความเจ็บเป็นธรรมดา ท้าวสักกะไม่
อาจเพื่อจะกระทำสรีระนั้นให้มีความไม่เจ็บเป็นธรรมดาได้ อนึ่ง ความ

ที่แห่งสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีตนอันบริสุทธิ์แล้วในทวารทั้ง ๓ อันท้าว-
สักกะก็ไม่อาจทำให้เป็นนิสัยของตนได้เลย แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น พระ-
มหาสัตว์ก็ได้รับพรเหล่านี้แล้ว เพื่อแสดงธรรมแก่ท้าวสักกะนั้น แม้
ท้าวสักกเทวราชก็ได้ทรงบันดาลต้นไม้นั้นให้มีผลหวานอร่อย นมัสการ

พระมหาสัตว์ประคองอัญชลีเหนือพระเศียร ตรัสว่า ขอท่านจงอยู่ที่นี้
โดยปราศจากโรคเถิด. แล้วได้เสด็จไปยังพิมานของพระองค์ แม้พระ-
โพธิสัตว์ก็มิได้เสื่อมจากฌาน ได้เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนอานนท์ ที่นี้เป็นภูมิประเทศที่เราเคยอยู่มาแล้ว ดังนี้แล้วทรง
ประชุมชาดกว่า ท้าวสักกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอนุรุทธะในบัดนี้
ส่วนกัณหบัณฑิต ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากัณหชาดกที่ ๒
อรรถกถาจตุโปสถิกชาดกที่ ๓
จตุโปสถิกชาดกนี้ มีคำเริ่มต้นว่า โย โกปเนยฺโย จักมีแจ้งใน
ปุณณกชาดก.
อรรถกถากัณหชาดกที่ ๒

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 17:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อรรถกถาสังขพราหณชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ถวายบริขารทั้งปวง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า พหุสฺสุโต ดังนี้.

ได้ยินว่า ในพระนครสาวัตถี มีอุบาสกคนหนึ่ง ฟังธรรม
เทศนาของพระตถาคตแล้ว มีจิตเลื่อมใสในพระศาสดา จึงเข้าไปนิมนต์
เพื่อฉันในวันรุ่งขึ้น แล้วให้ทำมณฑปใกล้ประตูเรือนของตน ประดับ
ตกแต่งเป็นอย่างดี วันรุ่งขึ้นให้คนไปกราบทูลภัตกาลต่อพระตถาคต
พระศาสดามีภิกษุ ๕๐๐ เป็นบริวาร เสด็จไป ณ ที่นั้น ประทับนั่งบน

บวรพุทธาอาสน์ที่อุบาสกปูลาดไว้ อุบาสกพร้อมด้วยบุตรภรรยาและ
บริวารชน ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ได้
นิมนต์ฉันถวายมหาทานอย่างนี้ต่อไปถึง ๗ วัน ในวันที่ ๗ ได้ถวาย
เครื่องบริขารทุกอย่าง แลเมื่อจะถวายนั้น ได้จัดทำรองเท้าถวายเป็น

พิเศษ คือคู่ที่ถวายแด่พระทศพล ราคาพันหนึ่ง ที่ถวายพระอัครสาวก
ทั้งสอง ราคาคู่ละ ๕๐๐ ที่ถวายพระภิกษุ ๕๐๐ นอกนั้น ราคาคู่ละ
ร้อย. อุบาสกนั้นครั้นถวายเครื่องบริขารทุกอย่าง ดังนี้แล้ว ได้ไปนั่ง
อยู่ในสำนักพระผู้มีพระภาคกับบริษัทของตน.

ครั้งนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงอนุโมทนาด้วยพระสุรเสียงอัน
ไพเราะแก่อุบาสกนั้น ได้ตรัสว่า นี่แน่ะอุบาสก การถวายเครื่องบริขาร
ทุกอย่างของท่าน โอฬารยิ่ง ท่านจงชื่นชมเถิด ครั้งก่อนเมื่อพระพุทธ-
เจ้ายังไม่เกิดขึ้น ชนทั้งหลายถวายรองเท้าคู่หนึ่งแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า

เรือไปแตกในมหาสมุทรซึ่งหาที่พึ่งมิได้ เขายังได้ที่พึ่งด้วยผลานิสงส์ที่
ถวายรองเท้า ก็ตัวท่านได้ถวายเครื่องบริขารทุกอย่างแก่ภิกษุสงฆ์มีพระ-
พุทธเจ้าเป็นประธาน ผลแห่งการถวายรองเท้าของท่านนั้น ทำไมจักไม่
เป็นที่พึ่งเล่า ดังนี้ แล้วอุบาสกนั้น ทูลอาราธนาให้ตรัสเรื่องราว จึง
ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้:-


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 17:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในอดีตกาล พระนครพาราณสีนี้ มีนามว่าโมลินี พระเจ้า-
พรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในกรุงโมลินี มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อสังขะ
เป็นผู้มั่งคั่ง มีโภคทรัพย์มาก มีเครื่องที่ทำให้ปลื้มใจ เช่น ทรัพย์
ข้าวเปลือกและเงินทองมากมาย ให้สร้างโรงทาน ๖ แห่ง คือประตูเมือง

๔ ประตู ที่กลางเมือง และที่ประตูเรือน สละทรัพย์วันละ ๖ แสนให้
ทานเป็นการใหญ่ แก่คนกำพร้าและคนเดินทางเป็นต้นทุกวัน วันหนึ่ง
เขาคิดว่า เมื่อทรัพย์ในเรือนสิ้นแล้ว เราจักไม่อาจให้ทานได้ เมื่อทรัพย์
ยังไม่สิ้นไปนี้ เราจักลงเรือไปสุวรรณภูมิ นำทรัพย์มา คิดดังนี้แล้ว

จึงให้ต่อเรือบรรทุกสินค้าจนเต็ม แล้วเรียกบุตรภรรยามาสั่งว่า พวกท่าน
จงให้ทานของเราเป็นไปโดยไม่ขาดจนกว่าเราจะกลับมา แล้วก็แวดล้อม
ไปด้วยทาสและกรรมกร กั้นร่มสวมรองเท้าเดินตรงไปยังบ้านท่าเรือจอด
ในเวลาเที่ยง.

ในขณะนั้น ที่ภูเขาคันธมาทน์ มีพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง
พิจารณาดูก็ได้เห็นพราหมณ์นั้นกำลังจะเดินทางเพื่อนำทรัพย์มา จึง
พิจารณาดูว่า มหาบุรุษจักไปหาทรัพย์ จักมีอันตรายในสมุทรหรือไม่
หนอ ก็ทราบว่า จักมีอันตราย จึงคิดว่า มหาบุรุษนั้นเห็นเราแล้ว
จักถวายร่มและรองเท้าแก่เรา เมื่อเรือแตกกลางสมุทร เขาจักได้ที่พึ่ง

ด้วยอานิสงส์ที่ถวายรองเท้า เราจักอนุเคราะห์แก่เขา แล้วก็เหาะมาลง
ณ ที่ใกล้สังขพราหมณ์ เดินเหยียบทรายร้อนเช่นกับถ่านเพลิง เพราะ
ลมแรงแดดกล้า ตรงมายังสังขพราหมณ์.

สังขพราหมณ์พอเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นเท่านั้น ก็ยินดีว่า
บุญเขตของเรามาถึงแล้ว วันนี้เราควรจะหว่านพืช คือทานลงในบุญเขต
นี้ จึงรีบเข้าไปนมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ เพื่ออนุเคราะห์ข้าพเจ้า ขอท่านได้ลงจากทางสักหน่อย แล้ว

เข้าไปที่โคนต้นไม้นี้ พอพระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไปโคนต้นไม้ ก็พูนทราย
ขึ้นแล้วเอาผ้าห่มปูลาดนมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วล้างเท้าด้วยน้ำ
ที่อบและกรองใสสะอาด ทาเท้าด้วยน้ำมันหอม ถอดรองเท้าที่ตนสวม
ออกเช็ด ทาด้วยน้ำมันหอม แล้วสวมเท้าพระปัจเจกพุทธเจ้า ถวาย
ร่มและรองเท้าด้วยวาจาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงสวมรองเท้า
กั้นร่มไปเถิด.


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 140, 141, 142, 143, 144, 145, 146 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 28 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร