ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

ชาดกต่างๆ ต่อจากกระทู้ที่แล้วนะครับ รู้สึกว่าอึดๆช้าๆผมเลยแบ
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=5&t=56812
หน้า 147 จากทั้งหมด 151

เจ้าของ:  sssboun [ 08 ม.ค. 2019, 17:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ ต่อจากกระทู้ที่แล้วนะครับ รู้สึกว่าอึดๆช้าๆผมเ

:b8:
Quote Tipitaka:
หญิงชั่วผู้เป็นเมียของพ่อ เป็นแม่บัง-
เกิดเกล้าของตัวฉัน พ่อจงขับไล่ไปเสียจาก
เรือนของตน เพราะแม่จะนำทุกข์อย่างอื่นมา
ให้พ่ออีก.

นายสวิฏฐกะได้ฟังคำของบุตรผู้เป็นบัณฑิตแล้ว มีความโสมนัส
กล่าวว่า เราไปกันเถิดลูก แล้วขึ้นนั่งบนยานกับบุตรและบิดาไปบ้าน.

ฝ่ายหญิงอนาจารนั้นก็ร่าเริงยินดีว่า คนกาลกรรณีออกจากเรือน
เราไปแล้ว. จึงเอามูลโคสดมาทาเรือนหุงข้าวปายาสแล้วคอยแลดูทางที่
ผัวจะมา ครั้นเห็นมาทั้ง ๓ คนก็โกรธว่า พาคนกาลกรรณีที่ออกไป
กลับมาอีกแล้ว. จึงด่าว่า เจ้าคนร้าย เจ้าพาคนกาลกรรณีที่ออกไปแล้ว
กลับมาอีกทำไม ? นายสวิฏฐกะไม่พูดอะไรๆ ปลดยานแล้วจึงพูดว่า

คนอนาจาร เจ้าว่าอะไร ? แล้วทุบนางนั้นเสียเต็มที่ กล่าวว่า แต่นี้ไป
เจ้าอย่าเข้ามาเรือนนี้ แล้วจับเท้าลากออกไป ครั้นไล่ภรรยาไปแล้ว ก็
อาบน้ำให้บิดากับบุตร แม้ตนเองก็อาบ แล้วบริโภคข้าวปายาสพร้อมกัน
ทั้ง ๓ คน หญิงใจบาปนั้นไปอยู่เรือนผู้อื่นได้ ๒,๓ วัน.

ในกาลนั้น บุตรกล่าวกะบิดาว่า ข้าแต่พ่อ แม่ฉันคงยังไม่รู้สำนึก
ด้วยการถูกลงโทษเพียงเท่านี้ พ่อจงแกล้งพูดว่า จะไปขอลูกสาวลุงใน
ตระกูลโน้นมาปรนนิบัติตัวกับบิดาและบุตร เพื่อทำให้แม่ฉันเก้อ แล้ว
ถือเอาของหอมและดอกไม้เป็นต้นขึ้นยานไปเที่ยวอยู่ตามท้องนา แล้ว
กลับมาเวลาเย็น. นายสวิฏฐกะได้กระทำตามทุกประการ สตรีในตระกูล

ที่คุ้นเคยบอกหญิงนั้นว่า ได้ยินว่า ผัวของเธอไปบ้านโน้น เพื่อนำหญิง
อื่นมาเป็นภริยา.

หญิงนั้นสะดุ้งกลัวว่า ฉิบหายละเราคราวนี้ เราไม่มีโอกาสอีก
แน่ คิดว่า จะอ้อนวอนบุตรดูสักครั้ง. จึงแอบไปหาบุตร หมอบลง
แทบเท้ากล่าวว่า ลูกรัก เว้นเจ้าเสียแล้ว คนอื่นไม่เป็นที่พึ่งของแม่ได้
ตั้งแต่นี้ไปแม่จะปฏิบัติพ่อและปู่ของเจ้าราวกะพระเจดีย์ที่ประทับไว้ เจ้า
จงช่วยให้แม่ได้เข้ามาอยู่ในเรือนนี้อีก. กุมารกล่าวว่า ดีแล้วแม่ ถ้าแม่
ไม่ทำเช่นนี้อีก ฉันจักช่วย แม่อย่าประมาท. ครั้นเวลาบิดามา ได้
กล่าวคาถาที่ ๑๐ ว่า:-


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

เจ้าของ:  sssboun [ 08 ม.ค. 2019, 17:41 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ ต่อจากกระทู้ที่แล้วนะครับ รู้สึกว่าอึดๆช้าๆผมเ

:b8:
Quote Tipitaka:
หญิงชั่วผู้เป็นเมียของพ่อ เป็นแม่บัง-
เกิดเกล้าของตัวฉัน ซึ่งมีใจบาปนั้น ถูก
ทรมานดังช้างพังที่นายควาญฝึกให้อยู่ในอำนาจ
แล้ว จงกลับมาเรือนเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตาต เป็นต้น ความว่า ข้าแต่พ่อ
บัดนี้ หญิงชั่วผู้เป็นเมียของพ่อ ซึ่งก่อเหตุวุ่นวายนั้น ถูกทรมานดัง
ช้างพังที่นายควาญฝึกให้อยู่ในอำนาจ สิ้นพยศแล้ว. บทว่า ปุนราวชาตุ
คือ จงกลับมาสู่เรือนนี้อีกเถิด.

กุมารนั้นครั้นแสดงธรรมแก่บิดาดังนี้แล้ว ก็ไปนำมารดามา
นางขอขมาโทษผัวและพ่อผัวแล้ว ตั้งแต่นั้นมาก็ประกอบด้วยธรรม
เครื่องข่ม ปฏิบัติผัวพ่อผัวและลูกเป็นอย่างดี สองผัวเมียตั้งอยู่ในโอวาท
ของลูก ทำบุญมีทานเป็นต้น แล้วได้ไปเกิดในสวรรค์.

พระบรมศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง
ประกาศสัจธรรม เวลาจบสัจธรรม บุรุษผู้เลี้ยงบิดา ได้ดำรงอยู่ใน
โสดาปัตติผล พระทศพลทรงประชุมชาดกว่า บิดาบุตรและหญิงสะใภ้
ในครั้งนั้น ได้มาเป็นบิดาบุตรและหญิงสะใภ้ในบัดนี้ ส่วนกุมารผู้เป็น
บัณฑิตในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาตักกลชาดกที่ ๘

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  sssboun [ 08 ม.ค. 2019, 17:49 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ ต่อจากกระทู้ที่แล้วนะครับ รู้สึกว่าอึดๆช้าๆผมเ

:b8:
Quote Tipitaka:
อรรถกถามหาธัมมปาลชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อเสด็จพระนครกบิลพัสดุ์ครั้งแรก ประทับอยู่ ณ
นิโครธาราม ทรงปรารภความไม่ทรงเชื่อของพระพุทธบิดา ในพระ-
ราชนิเวศน์ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า กินฺเต วตํ ดังนี้.

ความย่อว่า ครั้งนั้นพระเจ้าสุทโธทนมหาราชถวายข้าวยาคูและ
ของเคี้ยว แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุ ๒๐,๐๐๐ เป็นบริวาร
ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์ เมื่อทรงกระทำสัมโมทนียกถาใน
ระหว่างภัต ได้ตรัสว่า พระเจ้าข้า เวลาที่พระองค์ทำความเพียรอยู่ มีหมู่

เทวดามายืนอยู่ในอากาศบอกแก่หม่อมฉันว่า สิทธัตถกุมารโอรสของ
พระองค์สิ้นพระชนม์เสียแล้ว เพราะเสวยพระกระยาหารน้อย เมื่อ
พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร พระองค์ทรงเชื่อหรือ ? จึงตรัสว่า
หม่อมฉันไม่เชื่อดอก พระเจ้าข้า ยังห้ามเทวดาที่ยืนกล่าวอยู่ในอากาศ

เสียอีกว่า พระโอรสของเรายังไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้าที่โคนต้นโพธิ์แล้ว
จะยังไม่ปรินิพพาน พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร ในบัดนี้ พระองค์
จักทรงเชื่อได้อย่างไร แม้ในครั้งก่อน ครั้งหม่อมฉันเกิดเป็นมหาธรรม-
ปาลกุมาร เมื่ออาจารย์ทิศาปาโมกข์เอากระดูกแพะมาแสดงบอกว่า บุตร

ของท่านตายเสียแล้ว นี่กระดูกบุตรของท่าน พระองค์ก็มิได้ทรงเชื่อ
กล่าวกับอาจารย์ว่า ในตระกูลของเรานี่จะตายกำลังหนุ่มนั้นเป็นไม่มี
ก็เหตุไร ในบัดนี้ พระองค์จักทรงเชื่อเล่า ? พระพุทธบิดาทูลอาราธนา
ให้ตรัสเรื่องราว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้:-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
นครพาราณสี ได้มีบ้านธรรมปาลคามในแคว้นกาสี บ้านนั้นที่ได้ชื่อ
อย่างนั้น เพราะเป็นที่อยู่ของตระกูลธรรมบาลพราหมณ์ที่อยู่อาศัยใน
บ้านนั้น ปรากฏชื่อว่าธรรมบาล เพราะเหตุที่รักษาธรรม คือกุศล-
กรรมบถ ๑๐ ในตระกูลของเขาชั้นทาสและกรรมกรก็ให้ทานรักษาศีล
ทำอุโบสถกรรม.


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

เจ้าของ:  sssboun [ 08 ม.ค. 2019, 17:50 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ ต่อจากกระทู้ที่แล้วนะครับ รู้สึกว่าอึดๆช้าๆผมเ

:b8:
Quote Tipitaka:
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลนั้น ได้นามว่า ธรรม-
ปาลกุมาร ครั้นเจริญวัยแล้ว บิดาได้ให้ทรัพย์พันหนึ่ง ส่งไปเรียน
ศิลปะ ณ เมืองตักกศิลา ธรรมปาลกุมารไป ณ ที่นั้นแล้ว เรียนศิลปะ
ในสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ได้เป็นหัวหน้ามาณพพวกอันเตวาสิก

๕๐๐ คน ครั้งนั้นบุตรคนโตของอาจารย์ตายลง อาจารย์มีศิษย์มาณพ
แวดล้อม พร้อมด้วยหมู่ญาติร้องไห้คร่ำครวญอยู่ ทำฌาปนกิจศพบุตร
ในป่าช้า ทั้งอาจารย์ทั้งศิษย์และหมู่ญาติต่างร้องไห้คร่ำครวญอยู่ ณ ที่นั้น
ธรรมปาลบุตรคนเดียวเท่านั้น ไม่ร้องไห้ ไม่คร่ำครวญ เมื่อมาณพ
๕๐๐ คนนั้นมาจากป่าช้าแล้ว ได้พากันไปนั่งรำพรรณอยู่ในสำนัก

อาจารย์ว่า น่าเสียดาย มาณพหนุ่มสมบูรณ์ด้วยมารยาทเห็นปานนี้
พลัดพรากจากมารดาบิดา ตายเสียแต่ยังหนุ่มทีเดียว ธรรมปาลกุมาร
กล่าวว่า เพื่อน ท่านทั้งหลายกล่าวว่ายังหนุ่ม ก็เหตุไรเล่าจึงได้ตายกัน

เสียแต่ยังหนุ่ม เวลาหนุ่มยังไม่ควรตายมิใช่หรือ ? มาณพเหล่านั้น
กล่าวกะธรรมปาลกุมารว่า แน่ะเพื่อน ท่านไม่รู้จักความตายของสัตว์
เหล่านี้ดอกหรือ ?
ธรรมปาลกุมาร เรารู้ แต่ไม่มีใครตายแต่ยังหนุ่ม ตายกัน
เมื่อแก่แล้วทั้งนั้น.

มาณพทั้งหลาย สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง มีแล้วกลับไม่มี มิใช่
หรือ ?
ธรรมปาลกุมาร จริง สังขารไม่เที่ยง แต่สัตว์ทั้งหลาย ไม่ตาย
แต่ยังหนุ่ม ตายกันเมื่อแก่แล้ว ถึงซึ่งความไม่เที่ยง.


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

เจ้าของ:  sssboun [ 08 ม.ค. 2019, 17:51 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ ต่อจากกระทู้ที่แล้วนะครับ รู้สึกว่าอึดๆช้าๆผมเ

:b8:
Quote Tipitaka:
มาณพทั้งหลาย แน่ะเพื่อนธรรมปาละ ในเรือนของท่านไม่มี
ใครตายหรือ ?
ธรรมปาลกุมาร ที่ตายแต่ยังหนุ่มไม่มี มีแต่ตายกันเมื่อแก่แล้ว
ทั้งนั้น.

มาณพทั้งหลาย ข้อนี้เป็นประเพณีแห่งตระกูลของท่านหรือ ?
ธรรมปาลกุมาร ถูกแล้ว เป็นประเพณีแห่งตระกูลของเรา.

มาณพทั้งหลาย ได้ฟังถ้อยคำของธรรมปาลกุมารดังนั้นแล้ว จึง
พากันบอกแก่อาจารย์ อาจารย์เรียกธรรมปาลกุมารมาถามว่า พ่อธรรม-
ปาละ ได้ยินว่า ในตระกูลของท่าน คนไม่ตายกันแต่ยังหนุ่ม จริง
หรือ ? ธรรมปาลกุมารตอบว่า จริง ท่านอาจารย์ อาจารย์ฟังคำของ
เขา แล้วคิดว่า กุมารนี้พูดอัศจรรย์เหลือเกิน เราจักไปสำนักบิดาของ

กุมารนี้ถามดู ถ้าเป็นจริง เราจักบำเพ็ญธรรมเช่นนั้นบ้าง อาจารย์นั้น
ครั้นทำฌาปนกิจศพบุตรเสร็จแล้ว ล่วงมาได้ ๗,๘ วัน ได้เรียก
ธรรมปาลกุมารมาสั่งว่า แน่ะพ่อ เราจักจากไป เจ้าจงบอกศิลปะแก่
มาณพเหล่านี้ จนกว่าเราจะกลับมา สั่งแล้วก็เก็บกระดูกแพะตัว ๑

มาล้างเอาใส่กระสอบ ให้คนรับใช้ผู้ ๑ ถือตามไป ออกจากเมืองตักก-
ศิลาไปโดยลำดับ ถึงบ้านนั้น เที่ยวถามถึงเรือนของมหาธรรมปาละว่า
หลังไหน รู้แห่งแล้วก็ไปยืนอยู่ที่ประตู.

พวกทาสของพราหมณ์ที่เห็นก่อน ต่างก็รับร่มรับรองเท้าจากมือ
ของอาจารย์ และรับกระสอบจากมือของคนรับใช้ เมื่ออาจารย์กล่าวว่า
พวกท่านจงไปบอกบิดาของกุมารว่า อาจารย์ของธรรมปาลกุมารบุตร
ของท่านมายืนอยู่ที่ประตู พวกทาสรับคำว่า ดีแล้ว แล้วก็พากันไปบอก
พราหมณ์รีบไปที่ใกล้ประตู เชื้อเชิญว่า มาข้างนี้เถิดท่าน แล้วนำ


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

เจ้าของ:  sssboun [ 08 ม.ค. 2019, 17:51 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ ต่อจากกระทู้ที่แล้วนะครับ รู้สึกว่าอึดๆช้าๆผมเ

:b8:
Quote Tipitaka:
อาจารย์ขึ้นเรือน ให้นั่งบนบัลลังก์ ทำกิจทุกอย่างมีล้างเท้าเป็นต้น
อาจารย์บริโภคอาหารแล้ว เวลานั่งสนทนากันอยู่ตามสบาย จึงแสร้ง
กล่าวว่า ท่านพราหมณ์ ธรรมปาลกุมารบุตรของท่านเป็นคนมีสติปัญญา
เรียนจบไตรเพทและศิลปะ ๑๘ ประการแล้ว แต่ได้ตายเสียแล้วด้วยโรค
อย่าง ๑ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ท่านอย่าเศร้าโศกไปเลย.

พราหมณ์ตบมือหัวเราะดังลั่น เมื่ออาจารย์ถามว่า ท่านพราหมณ์
ท่านหัวเราะอะไร ? ก็ตอบว่า ลูกฉันยังไม่ตาย ที่ตายนั้นจักเป็นคนอื่น
อาจารย์กล่าวว่า ท่านพราหมณ์ ท่านได้เห็นกระดูกบุตรของท่านแล้ว
จงเชื่อเถิด แล้วนำกระดูกออกกล่าวว่า นี่กระดูกบุตรของท่าน พราหมณ์

กล่าวว่า นี่จักเป็นกระดูกแพะหรือกระดูกสุนัข แต่ลูกฉันยังไม่ตาย
เพราะในตระกูลของเรา ๗ ชั่วโคตรมาแล้ว ไม่มีใครเคยตายแต่ยังหนุ่ม
เลย ท่านพูดปด ขณะนั้น คนทั้งหมดได้ตบมือหัวเราะกันยกใหญ่
อาจารย์เห็นความอัศจรรย์นั้น แล้วมีความโสมนัส เมื่อจะถามว่า ท่าน

พราหมณ์ ในประเพณีตระกูลของท่านที่คนหนุ่มๆ ไม่ตาย ถ้าไม่มีเหตุ
คงไม่อาจเป็นไปได้ เพราะเหตุไร คนหนุ่มๆ จึงไม่ตาย ? ดังนี้ ได้
กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า:-

อะไรเป็นวัตรของท่าน อะไรเป็นพรหม-
จรรย์ของท่าน การที่คนหนุ่มๆ ไม่ตายนี้ เป็น
ผลแห่งกรรมอะไร ที่ท่านประพฤติดีแล้ว ดูก่อน
พราหมณ์ ขอท่านจงบอกเนื้อความนี้แก่เรา
เหตุไรหนอ คนหนุ่มๆ ของพวกท่านจึงไม่
ตาย.


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

เจ้าของ:  sssboun [ 08 ม.ค. 2019, 18:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ ต่อจากกระทู้ที่แล้วนะครับ รู้สึกว่าอึดๆช้าๆผมเ

:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วตํ คือเป็นวัตตสมาทาน. บทว่า
พฺรหฺมจริยํ คือเป็นพรหมจรรย์อันประเสริฐสุด. บทว่า กิสฺส
สุจิณฺณสฺส ความว่า การที่คนหนุ่มๆ ในตระกูลของพวกท่านไม่ตาย
เป็นผลแห่งสุจริตอย่างไหน ?
พราหมณ์ได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อจะพรรณนาคุณานุภาพที่เป็น
เหตุให้คนหนุ่มในตระกูลนั้นไม่ตาย จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า:-

พวกเราประพฤติธรรม ไม่กล่าวมุสา
งดเว้นกรรมชั่ว งดเว้นกรรมอันไม่ประเสริฐ
ทั้งหมด เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่มๆ ของ
พวกเราจึงไม่ตาย.
พวกเราฟังธรรมของอสัตบุรุษและของ
สัตบุรุษแล้ว เราไม่ชอบใจธรรมของอสัตบุรุษ
เลย ละอสัตบุรุษเสีย ไม่ละสัตบุรุษ เพราะเหตุ
นั้นแหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.

ก่อนที่เริ่มจะให้ทาน พวกเราเป็นผู้ตั้งใจ
ดี แม้กำลังให้ก็มีใจผ่องแผ้ว ครั้นให้แล้วก็
ไม่เดือดร้อนภายหลัง เพราะเหตุนั้นแหละ คน
หนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.
พวกเราเลี้ยงดูสมณะ พราหมณ์ คน
เดินทาง วณิพก ยาจก และคนขัดสนทั้งหลาย
ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำ เพราะเหตุนั้น
แหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.

พวกเราไม่นอกใจภรรยา ถึงภรรยาก็ไม่
นอกใจพวกเรา พวกเราประพฤติพรหมจรรย์
นอกจากภรรยาของตน เพราะเหตุนั้นแหละ
คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

เจ้าของ:  sssboun [ 08 ม.ค. 2019, 18:47 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ ต่อจากกระทู้ที่แล้วนะครับ รู้สึกว่าอึดๆช้าๆผมเ

:b8:
Quote Tipitaka:
พวกเราทั้งหมดงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
งดเว้นสิ่งของที่เขาไม่ให้ในโลก ไม่ดื่มของเมา
ไม่กล่าวปด เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่มๆ
ของพวกเราจึงไม่ตาย.

บุตรที่เกิดในภรรยาผู้มีศีลดีเหล่านั้น เป็น
ผู้ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต เรียนจบไตรเพท
เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเรา
จึงไม่ตาย.
มารดาบิดา พี่น้องหญิงชาย บุตร ภรรยา
และเราทุกคนประพฤติธรรมมุ่งประโยชน์ใน
โลกหน้า เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่มๆ
ของพวกเราจึงไม่ตาย.

ทาส ทาสี คนที่อาศัยเลี้ยงชีวิต คนรับใช้
คนทำงานทั้งหมด ล้วนแต่ประพฤติธรรมมุ่ง
ประโยชน์ในโลกหน้า เพราะเหตุนั้นแหละ
คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมฺจราม ได้แก่ ประพฤติ
ธรรม คือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ กุศลกรรมทุกอย่างเป็นต้นว่า
พวกเราไม่ปลงสัตว์โดยที่สุดแม้มดดำจากชีวิต เพราะเหตุแห่งชีวิตตน
และไม่มองดูสิ่งของของผู้อื่นด้วยโลภจิต อันบัณฑิตพึงพรรณนาให้

พิสดาร ก็ในคาถานี้ พราหมณ์กล่าวถึงการพูดมุสา แต่กล่าวไว้ด้วย
สามารถแห่งอกุศลกรรมที่สูงขึ้นว่า ขึ้นชื่อว่าบาปที่บุคคลผู้มักพูดเท็จ
จะไม่ทำย่อมไม่มี ได้ยินว่า บุคคลเหล่านั้น ไม่พูดเท็จ แม้ด้วยประสงค์
จะให้หัวเราะ.

บทว่า ปาปานิ ได้แก่ กรรมอันลามกที่เป็นเหตุให้เข้าถึงนรก
แม้ทุกอย่าง. บทว่า อนริยํ ได้แก่ งดเว้นกรรมที่เว้นจากความเป็น
กรรมอันประเสริฐ คือที่ไม่ดี ได้แก่ ไม่บริสุทธิ์ทั้งหมด. หิ อักษร
ในคำว่า ตสฺมา หิ อมฺหํ นี้เป็นเพียงนิบาต อธิบายว่า เพราะเหตุนี้


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

เจ้าของ:  sssboun [ 08 ม.ค. 2019, 18:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ ต่อจากกระทู้ที่แล้วนะครับ รู้สึกว่าอึดๆช้าๆผมเ

:b8:
Quote Tipitaka:
คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย คือขึ้นชื่อว่า อกาลมรณะในระหว่าง
ย่อมไม่มีแก่พวกเรา บาลีว่า ตสฺมา หิ อมฺหํ ดังนี้ก็มี. บทว่า สุโณม
เป็นต้น ความว่า ได้ยินว่า พวกเรา ธรรมอันแสดงกุศลของสัตบุรุษ
ก็ฟัง ธรรมอันแสดงอกุศลของอสัตบุรุษก็ฟังทั้งนั้น แต่พวกเราก็เป็น

สักแต่ว่าฟังธรรมนั้นแล้วเท่านั้น ไม่ชอบใจธรรมของอสัตบุรุษนั้นเลย
แต่ไม่ให้มีการทะเลาะหรือวิวาทกับอสัตบุรุษเหล่านั้น แม้ฟังแล้ว ได้แล้ว
ก็ประพฤติตามสัตบุรุษ ไม่ละสัตบุรุษแม้สักขณะเดียว ละอสัตบุรุษ
คือปาปมิตรเสียแล้ว เป็นผู้ซ่องเสพแต่กัลยาณมิตรเท่านั้น.

บทว่า สมเณ มยํ พฺราหฺมเณ ความว่า ดูก่อนพราหมณ์
พวกเราเลี้ยงดู สมณพราหมณ์ คือพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้มีบาปอันสงบ
แล้วแล มีบาปอันลอยแล้วบ้าง สมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมที่เหลือ
บ้าง ชนที่เหลือมีมารเดินทางเป็นต้นบ้าง ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าว

น้ำ ก็ในพระบาลีคาถานี้ก็มาตามหลังคาถาว่า ปุพฺเพว ทานา เหมือน
กัน. บทว่า นาติกฺกมาม ความว่า พวกเราไม่นอกใจภรรยาของตน
กระทำมิจฉาจารในหญิงอื่นในภายนอก. บทว่า อฺตฺร ตาหิ ความว่า
พวกเราประพฤติพรหมจรรย์ในหญิงที่เหลือ นอกจากภรรยาของตน

แม้ภรรยาของพวกเราก็เป็นไปในชายที่เหลืออย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า
ชายเร แปลว่า ย่อมเกิด. บทว่า สุตฺตมาสุ คือในหญิงผู้สูงสุด ผู้มี
ศีลดีทั้งหลาย.

ข้อนี้มีอธิบายว่า บุตรเหล่าใดของพวกเราเกิดในหญิงผู้สูงสุด
ผู้มีศีลสมบูรณ์เหล่านั้น บุตรเหล่านั้นย่อมเป็นผู้มีประการอย่างนี้ คือ
เป็นผู้ฉลาดเป็นต้น ความตายในระหว่างจักมีแก่บุตรเหล่านั้น แต่ที่

ไหนเล่า แม้เพราะเหตุนั้น คนหนุ่มๆ ในตระกูลของพวกเราจึงไม่ตาย.
บทว่า ธมฺมฺจราม ได้แก่ ประพฤติสุจริตธรรม ๓ ประการ เพื่อ
ประโยชน์แก่ปรโลก. หญิงรับใช้ทั้งหลาย ชื่อว่า ทาสี.

ในที่สุด พราหมณ์ก็ได้แสดงคุณของผู้ประพฤติธรรม ด้วยคาถา
๒ คาถาเหล่านี้ ว่า:-


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

เจ้าของ:  sssboun [ 08 ม.ค. 2019, 18:49 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ ต่อจากกระทู้ที่แล้วนะครับ รู้สึกว่าอึดๆช้าๆผมเ

:b8:
Quote Tipitaka:
ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรม
ที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ นี้
เป็นอานิสงส์ ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้
ประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.

ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
เหมือนร่มใหญ่ในฤดูฝน ฉะนั้น ธรรมปาละ-
บุตรของเรา อันธรรมคุ้มครองแล้ว กระดูกที่
ท่านนำเอามานี้ เป็นกระดูกสัตว์อื่น บุตรของ
เรายังมีความสุข.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รกฺขติ ความว่า ธรรมดาว่า ธรรม
ที่บุคคลรักษาแล้วนั้น ย่อมกลับรักษาซึ่งบุคคลผู้มีธรรมอันตนรักษา
แล้ว. บทว่า สุขมาวหาติ คือย่อมนำสุขในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
กับนิพพานสุขมาให้. บทว่า น ทุคฺคตึ คือย่อมไม่ไปสู่ทุคติ อัน
ต่างด้วยทุคติมีนรกเป็นต้น.

พราหมณ์นั้นแสดงว่า ดูก่อนพราหมณ์ พวกเรารักษาธรรม
อย่างนี้ แม้ธรรมก็รักษาพวกเราเหมือนกัน. บทว่า ธมฺเมน คุตฺโต
คืออันธรรมที่ตนรักษาอันเช่นกับด้วยร่มใหญ่คุ้มครองแล้ว. บทว่า
อฺสฺส อฏฺ€ีนิ ความว่า ก็กระดูกที่ท่านนำมานี้ จักเป็นกระดูก
ของสัตว์อื่น คือของแพะก็ตามของสุนัขก็ตาม ท่านจงทิ้งกระดูกเหล่านั้น
เสีย บุตรของเรายังมีความสุข.

อาจารย์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า การมาของข้าพเจ้าเป็นการ
มาดี มีผล ไม่ไร้ผล แล้วมีความยินดี ขอขมาโทษกะบิดาธรรมปาละ
แล้วกล่าวว่า นี่เป็นกระดูกแพะ ข้าพเจ้านำมาเพื่อจะลองท่าน บุตร
ของท่านสบายดี ท่านจงให้ธรรมที่ท่านรักษาแก่ข้าพเจ้าบ้าง ดังนี้แล้ว
เขียนข้อความลงในสมุด อยู่ในที่นั้น ๒, ๓ วันแล้ว ไปเมืองตักกศิลา

ให้ธรรมปาลกุมารศึกษาศิลปะทุกอย่าง แล้วส่งไปด้วยบริวารใหญ่.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแก่ พระเจ้า-
สุทโธทนมหาราชแล้ว ทรงประกาศสัจธรรมในเวลาจบสัจจะ พระเจ้า-
สุทโธทนมหาราชได้ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พระทศพลทรงประชุมชาดก
ว่า มารดาบิดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพุทธมารดาพุทธบิดาในบัดนี้

อาจารย์ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระสารีบุตรในบัดนี้ บริษัทในครั้งนั้น
ได้มาเป็นพุทธบริษัทในบัดนี้ ส่วนธรรมปาลกุมาร ได้มาเป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามหาธัมมปาลชาดกที่ ๙

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  sssboun [ 08 ม.ค. 2019, 18:50 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ ต่อจากกระทู้ที่แล้วนะครับ รู้สึกว่าอึดๆช้าๆผมเ

:b8:
Quote Tipitaka:
อรรถกถากุกกุฏชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ทรงปรารภ
ความพยายามปลงพระชนม์ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า นาสฺมเส
กตปาปมฺหิ ดังนี้.

ความย่อว่า ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในธรรมสภาถึงความไม่ดี
ของพระเทวทัตว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตทำอุบายเพื่อจะปลงพระ-
ชนม์พระทศพล ด้วยการวางนายขมังธนูเป็นต้น. พระศาสดาเสด็จมา
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันถึงเรื่อง

อะไร ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นที่พระเทวทัตพยายามฆ่าเรา แม้
ในกาลก่อนพระเทวทัตก็พยายามฆ่าเราเหมือนกัน แล้วได้ทรงนำเอา
เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้:-

ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่าโกสัมพิกะครองราชสมบัติ
อยู่ในพระนครโกสัมพี. ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นไก่ ณ
ป่าไผ่แห่งหนึ่ง มีไก่หลายร้อยเป็นบริวารอยู่ในป่า. เหยี่ยวตัวหนึ่งอยู่
ณ ที่ใกล้ๆ กันนั้น มันใช้อุบายจับไก่กินทีละตัวๆ กินจนหมด นอก
จากพระโพธิสัตว์อยู่ตัวเดียว เป็นผู้ไม่ประมาท เที่ยวหาอาหารตามเวลา

แล้วก็เข้าไปอยู่ ณ เชิงไผ่. เหยี่ยวนั้นไม่อาจจับไก่พระโพธิสัตว์นั้นได้
จึงคิดว่า เราจักใช้อุบายอย่างหนึ่งล่อลวงจับไก่นั้นกินให้ได้. แล้วเข้า
ไปแอบอยู่ที่กิ่งไม้ใกล้ๆ กันนั้น กล่าวว่า แน่ะพญาไก่ผู้เพื่อน ท่าน
กลัวเราเพราะเหตุไร ? เราต้องการทำความคุ้นเคยกับท่าน ประเทศชื่อ
โน้นสมบูรณ์ด้วยอาหาร เราทั้งสองไปหาอาหารกันที่นั้น แล้วจักอยู่
อย่างมีความรักใคร่กันและกัน.


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

เจ้าของ:  sssboun [ 08 ม.ค. 2019, 18:51 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ ต่อจากกระทู้ที่แล้วนะครับ รู้สึกว่าอึดๆช้าๆผมเ

:b8:
Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์กล่าวกะเหยี่ยวว่า แน่ะเพื่อนเราจะมี
ความคุ้นเคยกะเจ้าไม่ได้ เจ้าไปเถิด. เหยี่ยวถามว่า แน่ะเพื่อน ท่าน
ไม่เชื่อเราเพราะเราเคยทำความชั่วมาแล้ว ตั้งแต่นี้ไปเราจักไม่ทำเช่น
นั้นอีก. พระโพธิสัตว์ตอบว่า เราไม่ต้องการสหายเช่นเจ้า เจ้าจงไป

เสียเถิด. พระโพธิสัตว์ห้ามเหยี่ยวทำนองนี้ถึง ๓ ครั้ง แล้วส่งเสียงขัน
ก้องป่าว่า ใครๆ ไม่ควรทำความคุ้นเคยกับผู้ที่ประกอบด้วยลักษณะ
เช่นนี้ ดังนี้ เมื่อเทวดาทั้งหลายพากันแซ่ซ้องสาธุการ เมื่อจะเริ่ม
ธรรมกถาได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า:-

บุคคลไม่พึงคุ้นเคยในคนทำบาป คน
มักพูดเหลาะแหละ คนมีปัญญาคิดแต่ประ-
โยชน์ตน คนแสร้งทำสงบเสงี่ยมแต่ภายนอก.
มีคนพวก ๑ มีปกติเหมือนโคกระหาย
น้ำ ทำทีเหมือนจะกล้ำกลืนมิตรด้วยวาจา แต่
ไม่ใช่ด้วยการงาน ไม่ควรคุ้นเคยในคนเช่นนั้น.

คนพวก ๑ เป็นคนชูมือเปล่า พัวพัน
อยู่แต่ด้วยวาจา เป็นมนุษย์กระพี้ ไม่มีความ
กตัญญู ไม่ควรนั่งใกล้คนเช่นนั้น.
บุคคลไม่ควรคุ้นเคยต่อสตรีหรือบุรุษผู้
มีจิตกลับกลอก ไม่ทำความเกี่ยวข้องให้แจ้ง-
ชัดด้วยเหตุต่างๆ.

ไม่ควรคุ้นเคยกับบุคคล ผู้หยั่งลงสู่
กรรมอันไม่ประเสริฐ เป็นคนไม่แน่นอน กำ-
จัดคนไม่เลือกหน้า เหมือนดาบที่เขาลับแล้ว
ปกปิดไว้ ฉะนั้น.


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

เจ้าของ:  sssboun [ 08 ม.ค. 2019, 20:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ ต่อจากกระทู้ที่แล้วนะครับ รู้สึกว่าอึดๆช้าๆผมเ

:b8:
Quote Tipitaka:
คนบางพวกในโลกนี้ คอยเพ่งโทษเข้า
ไปหาด้วยอุบายต่างๆ ด้วยคำพูดอันคมคาย
ซึ่งไม่ตรงกับน้ำใจ ด้วยสามารถแห่งคนเทียม
มิตร แม้คนเช่นนี้ก็ไม่ควรคุ้นเคย.
คนมีความคิดชั่วเช่นนั้น พบเห็นอามิส
หรือทรัพย์เข้า ณ ที่ใด ย่อมคิดประทุษร้าย
และครั้นได้แล้วก็ละสหายนั้นไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาสฺมเส แปลว่า ไม่พึงคุ้นเคย อีก
อย่างหนึ่ง พระบาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน มีคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า บุคคลไม่
ควรคุ้นเคย. บทว่า กตปาปมฺหิ คือ ในคนทำบาปไว้ครั้งแรก. บทว่า
อลิกวาทิเน คือ ไม่พึงคุ้นเคยแม้ในคนที่มักพูดเท็จ เพราะว่า ขึ้น
ชื่อว่าบาปที่บุคคลผู้มักพูดเท็จนั้นไม่พึงทำ ย่อมไม่มี.

บทว่า นาสฺมเส อตฺตตฺถปฺมฺหิ ความว่า บุคคลใดมี
ปัญญาคิดแต่ประโยชน์ตนเท่านั้น คือ ไม่ได้คบด้วยสามารถแห่งเสน่หา
แต่มีความต้องการทรัพย์เหล่านั้นจึงคบ แม้ในบุคคลผู้มีปัญญาคิดแต่
ประโยชน์ตนนั้น ก็ไม่ควรคุ้นเคย. บทว่า อติสนฺเต ได้แก่ ใน

บุคคลผู้แสร้งทำสงบเสงี่ยมด้วยการแสดงความสงบในภายนอก ทั้งๆ
ที่ความสงบในภายในไม่มีอยู่เลย คือ ในบุคคลผู้หลอกลวง ผู้ปกปิด
การงาน ผู้เช่นกับอสรพิษที่ปกปิดรู.

บทว่า โคปิปาสกชาติกา คือ ราวกะมีชาติกระหายน้ำแห่งโค
ทั้งหลาย อธิบายว่า เป็นเช่นกับด้วยโคที่กระหายน้ำ พระโพธิสัตว์แสดง
ความนี้ไว้ว่า เปรียบเหมือนโคตัวที่กระหายน้ำลงสู่ท่าแล้วดื่มน้ำจนเต็ม
ปาก แต่ไม่กระทำสิ่งที่ควรกระทำแก่น้ำอีกฉันใด บุคคลบางพวกก็

ฉันนั้นเหมือนกัน ทำทีจะกล้ำกลืนมิตรด้วยคำอันอ่อนหวานว่า จะทำ
สิ่งโน้นสิ่งนี้ให้ แต่แล้วก็ไม่กระทำสิ่งที่ควรแก่คำอันไพเราะ ความคุ้น-
เคยในบุคคลเช่นนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายอันใหญ่หลวง.


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

เจ้าของ:  sssboun [ 08 ม.ค. 2019, 20:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ ต่อจากกระทู้ที่แล้วนะครับ รู้สึกว่าอึดๆช้าๆผมเ

:b8:
Quote Tipitaka:
บทว่า สุกฺขฺชลิปคฺคหีตา คือ เป็นคนชูมืออันเปล่า. บทว่า
วาจาย ปลิคุณฺ€ิตา คือ ปกปิดด้วยคำว่า จักให้จักทำสิ่งนั้น. บทว่า
มนุสฺสเผคฺคู ความว่า มนุษย์ผู้หาแก่นสารมิได้เห็นปานนี้ ชื่อว่า
เป็นมนุษย์กระพี้. บทว่า นาสิเท ได้แก่ ไม่ควรนั่งใกล้ คือ ไม่ควร
เข้าไปใกล้ในบุคคลนั้นเห็นปานนี้.

บทว่า ยสฺมึ นตฺถิ ความว่า อนึ่ง ความกตัญญูไม่มีในบุคคล
ใด แม้ในบุคคลนั้น ก็ไม่ควรนั่งใกล้. บทว่า อฺฺจิตฺตานํ
ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยจิตอันไม่แน่นอน อธิบายว่า ผู้มีจิตกลับกลอก.
พระโพธิสัตว์แสดงความนี้ไว้ว่า บุคคลไม่ควรคุ้นเคยต่อสตรีหรือบุรุษ
ผู้เห็นปานนี้.

บทว่า นานา วิกตฺวา สํสคฺคํ พระโพธิสัตว์แสดงว่า แม้
บุคคลใดกระทำความเกี่ยวข้องให้แจ้งชัดคือ กระทำให้มั่นด้วยเหตุต่างๆ
เพื่อจะทำอันตรายด้วยโวหารว่า ใครๆ ไม่อาจเพื่อไม่เข้าไปทำสิ่งที่ไม่เป็น
อันตรายแก่เขาได้. ดังนี้แล้วทำอันตรายในภายหลัง บุคคลแม้เช่นนั้น
ก็ไม่ควรคุ้นเคย คือ ไม่ควรสนิทสนม.

บทว่า อนริยกมฺมํ โอกฺกนฺตํ ได้แก่ ผู้หยั่งลงสู่กรรมของผู้
ไม่ประเสริฐ คือ ผู้ทุศีลทั้งหลายดำรงอยู่. บทว่า อ€ิตํ ได้แก่ ผู้ไม่
มั่นคง คือ ผู้มีคำพูดอันไม่แน่นอน.

บทว่า สพฺพฆาตินํ คือ ผู้ได้โอกาสแล้วทำการกำจัดบุคคลไม่
เลือกหน้า. บทว่า นิสิตํว ปฏิจฺฉนฺนํ คือ เหมือนดาบที่ลับแล้ว ปกปิด
ไว้ด้วยฝักหรือเศษผ้าฉะนั้น. บทว่า ตาทิสํปิ ความว่า บุคคลไม่ควร
คุ้นเคย คนผู้มิใช่มิตรผู้เป็นคนเทียมมิตรแม้เห็นปานนี้.

บทว่า สาขลฺเยน คือ ด้วยคำพูดอันคมคาย. บทว่า อเจตสา
แปลว่า อันไม่ตรงกับน้ำใจ จริงอยู่ คำพูดของบุคคลเหล่านั้นเท่านั้น
กลมกล่อม ส่วนจิตกระด้างหยาบคาย คนบางพวกในโลกนี้คอยเพ่งโทษ
เข้าไปหาด้วยอุบายต่างๆ. บทว่า ตาทิสํปิ ความว่า คนใดเป็นเช่นกับ
ด้วยคนผู้มิใช่มิตรผู้เป็นคนเทียมมิตรเหล่านั้น คนแม้เช่นนั้นก็ไม่ควร
คุ้นเคย.


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

เจ้าของ:  sssboun [ 08 ม.ค. 2019, 20:59 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ ต่อจากกระทู้ที่แล้วนะครับ รู้สึกว่าอึดๆช้าๆผมเ

:b8:
Quote Tipitaka:
บทว่า อามิสํ ได้แก่ ของควรเคี้ยวและของควรบริโภค. บทว่า
ธนํ ได้แก่ สิ่งของที่เหลือตั้งต้นแต่ขาเตียง. บทว่า ยตฺถ ปสฺสติ
คือ เห็น ณ ที่ใดในเรือนของสหาย. บทว่า ทุพฺภึ กโรติ ได้แก่
ให้จิตคิดประทุษร้ายเกิดขึ้น คือ นำทรัพย์นั้นไป. บทว่า ตฺจ หิตฺวาน
คือ ครั้นได้ก็ละสหายแม้นั้นไป.

พญาไก่ได้กล่าวคาถา ๗ คาถาด้วยประการดังนี้:-
พระศาสดาผู้เป็นธรรมราชา ได้ทรงภาษิตอภิสัมพุทธคาถา ๔
คาถาดังนี้ว่า:-
มีคนเป็นจำนวนมาก ที่ปลอมเป็นมิตร
มาคบหา บุคคลพึงละบุรุษชั่วเหล่านั้นเสีย
เหมือนไก่ละเหยี่ยว ฉะนั้น.

อนึ่ง บุคคลใดไม่รู้เท่าเหตุที่เกิดขึ้นได้
ฉับพลัน หลงไปตามอำนาจศัตรู บุคคลนั้น
ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง.
ส่วนบุคคลใดรู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นได้
ฉับพลัน บุคคลนั้นย่อมพ้นจากการเบียดเบียน
ของศัตรู เหมือนไก่พ้นจากเหยี่ยว ฉะนั้น.

คนผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา ควรเว้น
บุคคลผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม มักทำการกำจัดอยู่
เป็นนิตย์ เหมือนแร้วที่เขาดักไว้ในป่า เช่นนั้น
เสียให้ห่างไกล เหมือนไก่ในป่าไผ่ละเว้น
เหยี่ยว ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชเห กาปุริเส เหเต ความว่า
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตพึงละบุรุษชั่วเหล่านั้นเสีย ก็ หิ อักษรในพระ-
คาถานี้เป็นเพียงนิบาต.


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

หน้า 147 จากทั้งหมด 151 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/