วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 00:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2021, 07:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อโยนิโสมนสิการ มีลักษณะใส่ใจเห็นความพอใจ(ธรรมที่เป็นเครื่องผูก) อวิชชาเป็นปทัฏฐาน แก่
อโยนิโสมนสิการนั้น(เพราะปกปิดโทษของอโยนิโสมนสิการ)

อวิชชามีลักษณะปิดบังสัจจะ อวิชชานั้นเป็นปทัฏฐานแก่สังขาร
สังขารมีลักษณะยังภพใหม่ให้เกิดขึ้น สังขารนั้นเป็นปทัฏฐานแก่วิญญาณ

วิญญาณมีลักษณะเกิดขึ้นโดยความเป็นอุปปัตติภพ(วิบากขันธ์ที่เป็นโลกียะและกรรมชรูป) วิญญาณนั้นเป็นปทัฏฐานแก่นามรูป

นามรูปมีลักษณะประชุมกันแห่งนามรูป นามรูปนั้นเป็นปทัฏฐานแก่อายตนะ ๖ (เพราะเป็นสหชาตปัจจัย เป็นต้น)

อายตนะ ๖ มีลักษณะกำหนดอินทรีย์ ๖ อายตนะ ๖ นั้นเป็นปทัฏฐานแก่ผัสสะ(เพราะเป็นนิสสยปัจจัย เป็นต้น)

ผัสสะมีลักษณะประชุมกันแห่งจักษุ รูป และวิญญาณจิต ผัสสะเป็นปทัฏฐานแก่เวทนา(เพราะเป็นสหชาตปัจจัย เป็นต้น)

เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ที่น่าปรารถนา หรือไม่ปรารถนา เวทนานั้นเป็นปทัฏฐานแก่ตัณหา(เพราะเป็นอุปนิสสยปัจจัยเป็นต้น)

ตัณหามีลักษณะผูกพัน ตัณหานั้นเป็นปทัฏฐานแก่อุปาทาน(เพราะเป็นอุปนิสสยปัจจัย เป็นต้น)

อุปาทานมีลักษณะก่อให้เกิดอุปัตติภพ อุปาทานนั้นเป็นปทัฏฐานแก่ภพ

ภพมีลักษณะเกิดขึ้นของหมู่นามและรูป ภพนั้นเป็นปทัฏฐานแก่ชาติ

ชาติมีลักษณะปรากฏแห่งขันธ์ ชาตินั้นเป็นปทัฏฐานแก่ชรา

ชรามีลักษณะแก่หง่อมแห่งขันธ์ ชรานั้นเป็นปทัฏฐานแก่มรณะ

มรณะมีลักษณะตัดรอนชีวิตินทรีย์ มรณะนั้นเป็นปทัฏฐานแก่โสกะ(ความเศร้าโศก)

โสกะเป็นสภาพกระทำความเร่าร้อนใจ โสกะนั้นเป็นปทัฏฐานแก่ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ)

ปริเทวะเป็นสภาพกระทำความคร่ำครวญ ปริเทวะนั้นเป็นปทัฏฐานแก่ทุกข์(ความทุกข์กาย)

ทุกข์เป็นสภาพเบียดเบียนกาย ทุกข์นั้นเป็นปทัฏฐานแก่โทมนัส(ความทุกข์ใจ)

โทมนัสเป็นสภาพที่เบียดเบียนใจ โทมนัสนั้นเป็นปทัฏฐานแก่อัปายาส(ความคับแค้นใจ)

อุปายาสเป็นสภาพกระทำการแผดเผา อุปายาสนั้นเป็นปทัฏฐานแก่ภพ
เมื่อใด เหตุเกิดของภพทั้งหมดนี้ย่อมเกิดขึ้น เมื่อนั้นจึงเป็นภพ ภพนั้นเป็นปทัฏฐานแก่สังสารวัฏ

มรรคมีลักษณะนำออก(จากสังสารวัฏ) มรรคนั้นเป็นปทัฏฐานแก่นิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2021, 10:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


พระมหากัจจายนะแสดงปทัฏฐานของอวิชชาเป็นต้นตั้งแต่ตัวอย่างแรกเป็นต้นมา บัดนี้
กล่าวนัยอีกอย่างหนึ่งว่า อปโร นโย(อีกนัยหนึ่ง) เพื่อแสดงอวิชชาเป็นต้นเป็นปทัฏฐานแก่ธรรม
บางอย่างได้เช่นเดียวกัน

ท่านกล่าวว่า อสฺสาทมนสิการลกฺขโณ อโยนิโสมนสิกาโร(อโยนิโสมนสิการมีลักษณะพิยารณาเห็นความน่าพอใจ)
เพราะส่วนใหญ่อโยนิโสมนสิการมักดำเนินไปด้วยอำนาจของโลภะ การใช้คำในลักษณะนี้เรียกว่า
นิทัสสนนัย คือ นัยที่แสดงไว้พอเป็นตัวอย่าง แต่ยังหมายถึงสิ่งอื่นๆได้ ซึ่งในที่นี้คือ การพิจารณาเห็นความ
ไม่น่าพอใจด้วยอำนาจโทสะ หรือพิจารณาเห็นด้วยอำนาจของโมหะ

คำว่า สจฺจสมฺโมหนลกฺขณา อวิชฺชา(อวิชชามีลักษณะปิดบังสัจจะ) โดยไม่รู้เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
ส่วนการไม่รู้บัญญัติไม่จัดว่าเป็นอวิชชา เพราะบัญญัตืเป็นเพียงสมมุติของชาวโลกตามท้องถิ่นและกาล
ไม่ใช่สภาวธรรมมที่ปรากฏอย่างแท้จริง

คำว่า ปุนพฺภววิโรหนา สงฺขารา (สังขารมีลักษณะนังภพใหม่ให้เกิดขึ้น) คือ เจตนาที่มีในภูมิ ๓
ซึ่งจัดเป็นปุญญาภิสังขาร(เจตนาในมหากุศลจิต ๘ รูปาวจรกุศลจิต ๕)
อปฺญญาภิสังขาร(เจตนาในอกุศลจิต ๑๒)
และอเนญชาภิสังขาร(เจตนาในอรูปาวจรกุศลจิต ๔)ย่อมก่อให้เกิดภพใหม่ในภูมิ ๓ ตามสมควร

คำว่า ตํ สํสารสฺส ปทฏฺฐานํ (ภพนั้นเป็นปทัฏฐานแก่สังสารวัฏ) หมายถึง ภพที่เกิดขึ้นก่อนย่อมเป็นเหตุ
ให้เกิดภพใหม่ เพราะเหล่าสัตว์สั่งสมบุญบาปไว้ในภพของตนตามสมควร และได้รับผลในภพต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2021, 14:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คัมภีร์เนตติอรรถกถาอธิบายความหมายของสังสารวัฏว่า
ขนฺธายตนาทีนํ อปราปรุปฺปตฺติสํสรณํ สํสาโร.
"การท่องเที่ยวไปคือการเกิดขึ้นเสมอๆ ของขันธ์และอายตนะเป็นต้น ชื่อว่า สังสารวัฏ

แม้คัมภีร์อัฏฐสาลินีกล่าวว่า
ขนฺธานญฺจ ปฏปาฏิ ธาตุอายตนาน จ
อพฺโพจฺฉินฺนํ วตฺตมานา สํสาโรติ ปวุจฺจติ.

"ลำดับแห่งขันธ์ อายตนะ และธาตุ ที่ดำเนินไปต่อเนื่องไม่ขาดช่วง เรียดว่า สังสารวัฏ"

คำว่า โส นิโรธสฺส ปทฏฺฐานํ (มรรคนั้นเป็นปทัฏฐานแก่พระนิพพาน)ดังคำอธิบายในคัมภีร์เนตติอรรถกถาว่า

สมฺปากเหตุภาวํ สนฺธาย มคฺโค นิโรธสฺส ปทฏฺฐานนฺติ วุตฺตํ.

"พระมหากัจจายตนะกล่าวว่า มรรคเป็นปทัฏฐานแก่พระนิพพาน โดยหมายถึงความเป็นเหตัให้บบรลุ"

ข้อความนี้หมายความว่า มรรคเป็นสาเหตุให้บรรลุพระนิพพาน ไม่ใช่เหตุที่ก่อให้บังเกิดพระนิพพาน
เหมือนอวิชชาเป็นเหตุให้เกิดสังขาร ดังนั้น ปทัฎฐานที่กล่าวไว้ทั้งหมดในปทัฏฐานหาระจึงมี ๒ ประเภท คือ

๑.ชนกเหตุ เหตุก่อให้เกิดผล เช่น อวิชชาเป็นปทัฏฐานแก่สังขาร ดังคำกล่าว พีลโต องฺกุโร ชายติ
(ย่อมเกิดเพราะเมล็ด)

๒. สัมปาปกเหตุ เหตุให้บรรลุผล เช่น มรรคเป็นปทัฏฐานแก่พระนิพพาน ดังคำกล่าวว่า นาวาย ตีรํ ปาปุณาติ
(ย่อมถึงฝั่งเพราะเรือ)

อนึ่ง ไวยากรณ์บาลียังแสดงเหตุอีกประเภทหนึ่ง คือ ญาปกเหตุ(เหตุแสดงให้รู้โดยอ้อม)
เช่น ธูมโต อคฺคิ อตฺถีติ ญายติ(ย่อมรู้ว่ามีไฟ เพราะควันไฟ) แต่เหตุประเภทนี้ไม่จัดเป็นปทัฏฐาน
ในเรื่องนี้ เพราะเหตุที่บุคคลอนุมานรู้โดยปริยาย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร