วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 02:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 129 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2022, 05:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


[83] ในธรรมที่เป็นปัจจัยมีอาหารเป็นต้นเหล่านั้น กวฬิงการาหารและผัสสาหารอันใด อาหาร 2 เหล่านี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต ฯ
มโนสัญเจตนาหารและวิญญาณาหารอันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้มีทิฏฐิจริต ฯ
ในวิปลาสเหล่านั้น วิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่างาม และวิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าสุขอันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง และวิปลาสในสิ่งที่มิใช่ตนว่าตนอันใด ทั้ง 2 นี้เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ
ในอุปาทานเหล่านั้น กามุปาทานและภวุปาทาน อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต ทิฏฐุปาทานและอัตตวาทุปาทาน อันใด ทั้ง 2นี้เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ
ในโยคะเหล่านั้น กามโยคะและภวโยคะ อันใด ทั้ง 2 นี้เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต ทิฏฐิโยคะและอวิชชาโยคะ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ
ในคันถะเหล่านั้น อภิชฌากายคันถะและพยาปาทคันถะ อันใด ทั้ง 2 นี้เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต ปรามาสกายคันถะและอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ
ในอาสวะเหล่านั้น กามาสวะและภวาสวะ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต ทิฏฐาสวะและอวิชชาสวะ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ
ในโอฆะเหล่านั้น กาโมฆะและภโวฆะ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต ทิฏโฐฆะและอวิชโชฆะ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ
ในสัลละเหล่านั้น ลูกศรคือราคะและลูกศรคือโทสะ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต ลูกศรคือมานะและลูกศรคือโมหะ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ
ในวิญญาณฐิติเหล่านั้น วิญญาณฐิติที่เข้าถึงรูปและวิญญาณฐิติที่เข้าถึงเวทนา อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต วิญญาณฐิติที่เข้าถึงสัญญาและวิญญาณฐิติที่เข้าถึงสังขาร อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ
ในอคติเหล่านั้น ฉันทาคติและโทสาคติ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต ภยาคติและโมหาคติ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ
[84] บรรดาธรรมเหล่านั้น วิปลาส "ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม" ในกวฬิงการาหารวิปลาส "ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข" ในผัสสาหาร วิปลาส "ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง" ในวิญญาณาหาร วิปลาส "ในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าตน" ในมโนสัญเจตนาหาร บุคคลผู้ตั้งอยู่ในวิปลาสที่ 1 ย่อมยึดมั่นกามทั้งหลาย การยึดมั่นนี้ เรียกว่ากามุปาทาน ฯ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในวิปลาสที่ 2 ย่อมยึดมั่นภพอันเป็นอนาคต นี้เรียกว่า ภวุปาทาน บุคคลผู้ตั้งอยู่ในวิปลาสที่ 3 ย่อมยึดมั่นซึ่งทิฏฐิอันเพลิดเพลินในสังสาร นี้เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน ฯ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในวิปลาสที่ 4 ย่อมยึดมั่นซึ่งตนว่าสมควร นี้เรียกว่า อัตตวาทุปาทาน ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2022, 05:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคลอันกามุปาทานใด ผูกไว้กับกามทั้งหลาย ธรรมคือ กามุปาทานนี้เรียกว่า กามโยคะ ฯ บุคคลอันภวุปาทานใด ผูกไว้กับภพทั้งหลาย ธรรมคือภวุปาทาน นี้เรียกว่า ภวโยคะ ฯ บุคคลอันทิฏฐุปาทานใด ผูกไว้กับทิฏฐิธรรมคือทิฏฐุปาทานนี้ เรียกว่า ทิฏฐิโยคะ ฯ บุคคลอันอัตตวาทุปาทานใดผูกไว้กับอวิชชา ธรรมคือ อัตตวาทุปาทานนี้ เรียกว่า อวิชชาโยคะ ฯ
บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโยคะที่ 1 นามกายย่อมผูก คือย่อมสืบต่อด้วยอภิชฌาอันมีลักษณะเพ่งเล็ง (โลภ) ในวัตถุของคนอื่นนี้ ท่านเรียกว่า อภิชฌากายคันถะ ฯ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโยคะที่ 2 นามกายย่อมผูก คือย่อมสืบต่อด้วยพยาบาทอันมีลักษณะยังจิตให้ประทุษร้าย ในอาฆาตวัตถุทั้งหลายนี้ ท่านเรียกว่าพยาปาทกายคันถะ ฯ บุคคผู้ตั้งอยู่ ในโยคะที่ 3 นามกายย่อมผูก คือ ย่อมสืบต่อด้วยการยึดมั่นนี้ ท่านเรียกว่า ปรามาสกายคันถะ ฯ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโยคะที่ 4 นามกายย่อมผูก คือย่อมสืบต่อด้วยการยึดมั่นว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง นี้ท่านเรียกว่า อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ ฯ
กิเลสทั้งหลายของบุคคลนั้นผูกไว้แล้วอย่างนี้ ย่อมไหลไปฯ กิเลสทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมไหลไปแต่ที่ไหน ย่อมไหลไปแต่อนุสัย หรือแต่ปริยุฏฐาน ฯ ในกิเลสเหล่านั้น ชื่อว่า กามาสวะเป็นธรรมสำเร็จแล้ว เพราะเป็นสภาพแห่งกามราคะอันสำเร็จแล้วโดยอภิชฌากายคันถะ ชื่อว่า ภวาสวะเป็นธรรมสำเร็จแล้วด้วยความสำเร็จโดยพยาปาทกายคันถะ ชื่อว่า ทิฏฐาสวะเป็นธรรมสำเร็จแล้วด้วยความสำเร็จโดยปรามาสกายคันถะ ชื่อว่า อวิชชาสวะเป็นธรรมสำเร็จแล้วด้วยความสำเร็จโดยอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ ฯ
อาสวะ 4 เหล่านี้ของบุคคลนั้นถึงความมั่งคั่งแล้ว ท่านเรียกว่า โอฆะเพราะอรรถะว่าถ่วงลง คือให้จมลงในวัฏฏะ เพราะฉะนั้น ชื่่อว่า ความมั่งคั่งแห่งโอฆะ เพราะความมั่งคั่งแห่งอาสวะ ฯ ในโอฆะเหล่านั้น ชื่อว่า กาโมฆะ สำเร็จแล้วด้วยกามาสวะ ชื่อว่า ภโวฆะสำเร็จแล้วด้วยภวาสวะ ชื่อว่า ทิฏโฐฆะ สำเร็จแล้วด้วยทิฏฐาสวะ ชื่อว่า อวิชโชฆะสำเร็จแล้วด้วยอวิชชาสวะ ฯ
โอฆะ 4 เหล่านี้ ของบุคคลผู้พรั่งพร้อมแล้วนั้น ถึงความเป็นไปร่วมกับอนุสัย เข้าไปสู่อัธยาสัย กระทบแล้วซึ่งหทัยตั้งอยู่ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า สัลละ (ลูกศร) เพราะถอนได้โดยยาก ฯ ในลูกศรเหล่านั้น ชื่อว่า ลูกศร คือราคะ เป็นธรรมสำเร็จแล้วด้วยกาโมฆะ ชื่อว่า ลูกศร คือโทสะ เป็นธรรมสำเร็จแล้วด้วยภโวฆะ ชื่อว่า ลูกศร คือมานะ เป็นธรรมสำเร็จแล้วด้วยทิฏโฐฆะ ชื่อว่าลูกศร คือโมหะ เป็นธรรมสำเร็จแล้วด้วยอวิชโชฆะ ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2022, 05:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วิญญาณของบุคคลนั้น อันลูกศร 4 เหล่านี้ ไม่ให้โอกาสแล้ว ถือเอาโดยรอบ ย่อมตั้งอยู่ในธรรม 4 คือ ในรูป เวทนา สัญญา และสังขาร อันเป็นอารมณ์ ฯ ในลูกศรเหล่านั้น ชื่อว่า วิญญาณฐิติ (การตั้งอยู่ของวิญญาณ) ที่เข้าถึงรูป เพราะวิญญาณสัมปยุตด้วยความยินดีอันมีลูกศรคือราคะเป็นเหตุ ชื่อว่าวิญญาณฐิติที่เข้าถึงเวทนา เพราะวิญญาณสัมปยุตด้วยความพอใจมีลูกศร คือโทสะเป็นเหตุ ชื่อว่า วิญญาณฐิติที่เข้าถึงสัญญา เพราะวิญญาณสัมปยุตด้วยความพอใจมีลูกศร คือ มานะเป็นเหตุ ชื่อว่า วิญญาณฐิติที่เข้าถึงสังขาร เพราะวิญญาณสัมปยุตด้วยความพอใจมีลูกศร คือโมหะเป็นเหตุ ฯ
วิญญาณของบุคคลนั้น อันวิญญาณฐิติ 4 เหล่านี้อุปถัมภ์แล้ว ย่อมถึงความลำเอียง 4 อย่าง คือ ลำเอียงเพราะฉันทะ เพราะโทสะ เพราะความกลัวเพราะโมหะ ในอคติ 4 เหล่านั้น บุคคลย่อมถึงฉันทาคติเพราะราคะ ย่อมถึงโทสาคติเพราะโทสะ ย่อมถึงภยาคติเพราะความกลัว ย่อมถึงโมหาคติเพราะโมหะ ฯ ก็กรรมใดที่กล่าวไว้ก่อนว่า เจตนาเจตสิก กรรมนั้นด้วย กิเลสทั้งหลายเหล่านี้ด้วย นี้เป็นเหตุแห่งสังสาร กิเลสทั้งปวง บัณฑิตพึงแสดงด้วยวิปลาส 4อย่างนี้ ฉะนี้แล ฯ
[85] บรรดาพระสูตร 10 มีอาหาร 4 เป็นต้นเหล่านั้น กวฬิงการาหาร เป็นวิปลาส "ในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม" เป็นกามุปาทาน เป็นกามโยคะ เป็นอภิชฌากายคันถะ เป็นกามาสวะ เป็นกาโมฆะ เป็นลูกศรคือราคะ เป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงรูป และเป็นการเข้าถึงความลำเอียงเพราะฉันทะ ดังนี้ ชื่อว่า ทิศที่ 1 ผัสสาหารเป็นวิปลาส "ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าสุข" ดังนี้ เป็นภวุปาทาน เป็นภวโยคะ เป็นพยาปาทกายคันถะ เป็นภวาสวะ เป็นภโวฆะ เป็นลูกศรคือโทสะเป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงเวทนา และเป็นการถึงความลำเอียงเพราะโทสะ ดังนี้ชื่อว่า ทิศที่ 2 วิญญาณาหารเป็นวิปลาส "ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง" ดังนี้ เป็นทิฏฐุปาทานเป็นทิฏฐิโยคะ เป็นปรามาสกายคันถะ เป็นทิฏฐาสวะ เป็นทิฏโฐฆะ เป็นลูกศรคือมานะ เป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงสัญญา และเป็นการถึงความลำเอียงเพราะความกลัว ดังนี้ ชื่อว่า ทิศที่ 3 มโนสัญเจตนาหารเป็นวิปลาส "ในสิ่งที่ไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน" ดังนี้ เป็นอัตตวาทุปาทาน เป็นอวิชชาโยคะ เป็นอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นอวิชชาสวะ เป็นอวิชโชฆะ เป็นลูกศรคือโมหะ เป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงสังขาร และเป็นการถึงความลำเอียงเพราะโมหะ ดังนี้ ชื่อว่า ทิศที่ 4 ในพระสูตร 10 มีอาหาร 4 เป็นต้นนั้น กวฬิงการาหารอันใด และวิปลาสว่า"อสุเภ สุภํ" ดังนี้ อันใดจัดเป็นกามุปาทาน เป็นกามโยคะ เป็นอภิชฌากายคันถะเป็นกามาสวะ เป็นกาโมฆะ เป็นลูกศรคือราคะ เป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงรูปและเป็นการถึงอคติเพราะฉันทะ ดังนี้ อรรถะแห่งพระสูตร 10 เหล่านี้อย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ธรรมเหล่านี้ เป็นอุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) ของบุคคลผู้ราคจริต ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2022, 05:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในพระสูตร 10 เหล่านั้น ผัสสาหารอันใด วิปลาสว่า "ทุกฺเข สุขํ" ดังนี้อันใดจัดเป็นภวุปาทาน เป็นภวโยคะ เป็นพยาปาทกายคันถะ เป็นภวาสวะเป็นภโวฆะ เป็นลูกศรคือโทสะ เป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงเวทนา และเป็นการถึงอคติเพราะโทสะ ดังนี้ พระสูตร 10 เหล่านี้ มีอรรถะอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ธรรมเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสของบุคคลผู้โทสจริต ฯ
ในพระสูตร 10 เหล่านั้น วิญญาณาหารอันใด วิปลาสว่า "อนิจฺเจ นิจฺจํ"ดังนี้ อันใดจัดเป็นทิฏฐุปาทาน เป็นทิฏฐิโยคะ เป็นปรามาสกายคันถะ เป็นทิฏฐาสวะ เป็นทิฏโฐฆะ เป็นลูกศรคือมานะ เป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงสัญญา และเป็นการถึงอคติเพราะกลัว ดังนี้ พระสูตรเหล่านี้มีอรรถะอย่างเดียวกัน มีพยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ธรรมเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสของทิฏฐิจริตมันทบุคคล ฯ
ในอาหาร 4 เหล่านั้น กวฬิงการาหารอันใด ผัสสาหารอันใด อาหารทั้ง 2นี้ย่อมถึงซึ่งการรู้รอบ (ปริญญา) ด้วยวิโมกขมุข ชื่อว่า อัปปณิหิตะ วิญญาณาหารย่อมถึงซึ่งการรอบรู้ด้วยวิโมกขมุข ชื่อว่า สุญญตะ มโนสัญเจตนาหารย่อมถึงซึ่งการรู้รอบด้วยวิโมกขมุข ชื่อว่า อนิมิตตะ ฯ
ในวิปลาส 4 เหล่านั้น วิปลาสว่า "อสุเภ สุภํ" ดังนี้อันใด และวิปลาสว่า"ทุกฺเข สุขํ" ดังนี้อันใด วิปลาสทั้ง 2 นี้ย่อมถึงการละ อันตั้งอยู่ไม่ได้ ด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ฯ วิปลาสว่า "อนิจฺเจ นิจฺจํ" ดังนี้ วิปลาสนี้ย่อมถึงการละตั้งอยู่ไม่ได้ ด้วยสุญญตวิโมกขมุข ฯ วิปลาสว่า "อนตฺตนิ อตฺตา" ดังนี้วิปลาสนี้ย่อมถึงการละตั้งอยู่ไม่ได้ ด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
ในอุปาทาน 4 เหล่านั้น กามุปาทานและภวุปาทานย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ทิฏฐุปาทานย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข อัตตวาทุปาทานย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
ในโยคะ 4 เหล่านั้น กามโยคะและภวโยคะย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ทิฏฐิโยคะย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข อวิชชาโยคะย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุขในคันถะ 4 เหล่านั้น อภิชฌากายคันถะและพยาปาทกายคันถะย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ปรามาสกายคันถะย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
ในอาสวะ 4 เหล่านั้น กามาสวะและภวาสวะย่อมถึงการละ ด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ทิฏฐาสวะย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข อวิชชาสวะย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
ในโอฆะ 4 เหล่านั้น กาโมฆะและภโวฆะย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ทิฏโฐฆะย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข อวิชโชฆะย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
ในลูกศร 4 เหล่านั้น ลูกศรคือราคะ และลูกศรคือโทสะย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ลูกศรคือมานะย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข ลูกศรคือโมหะย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2022, 05:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในวิญญาณฐิติ 4 เหล่านั้น วิญญาณฐิติที่เข้าถึงรูป และวิญญาณฐิติที่เข้าถึงเวทนาย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข วิญญาณฐิติที่เข้าถึงสัญญาย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข วิญญาณฐิติที่เข้าถึงสังขารย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
ในอคติ 4 เหล่านั้น ฉันทาคติและโทสาคติย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ภยาคติย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข โมหาคติย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ ธรรมทั้งปวง มีอาหารเป็นต้นมีปกติแล่นไปตามวัฏฏะกล่าวคือโลกอย่างนี้ ธรรมที่เป็นทิศฝ่ายสังกิเลส ย่อมออกไปจากโลกด้วยวิโมกขมุข 3 มี อนิจจานุปัสสนา เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้ ฯ
[86] ในธรรมเหล่านั้น การนำออกนี้ เป็นไฉน
ปฏิปทา 4 สติปัฏฐาน 4 ฌาน 4 วิหารธรรม 4 สัมมัปปธาน 4อัจฉริยอัพภูตธรรม 4 อธิฏฐาน 4 สมาธิภาวนา 4 สุขภาคิยธรรม 4 และอัปปมัญญา 4 ฯ
ปฏิปทาข้อที่ 1 (เป็นไปแล้ว) สติปัฏฐานข้อที่ 1 (ย่อมมี) ปฏิปทาข้อที่ 2เป็นสติปัฏฐานข้อที่ 2 ปฏิปทาข้อที่ 3 เป็นสติปัฏฐานข้อที่ 3 ปฏิปทาข้อที่ 4เป็นสติปัฏฐานข้อที่ 4 ฯ สติปัฏฐานข้อที่ 1 เป็นฌานที่ 1 สติปัฏฐานข้อที่ 2เป็นฌานที่ 2 สติปัฏฐานข้อที่ 3 เป็นฌานที่ 3 สติปัฏฐานข้อที่ 4 เป็นฌานที่ 4ฯ ฌานที่ 1 เป็นวิหารธรรมที่ 1 ฌานที่ 2 เป็นวิหารธรรมที่ 2 ฌานที่ 3 เป็นวิหารธรรมที่ 3 ฌานที่ 4 เป็นวิหารธรรมที่ 4 ฯ วิหารธรรมที่ 1 เป็นสัมมัปปธานที่ 1 วิหารธรรมที่ 2 เป็นสัมมัปปธานที่ 2 วิหารธรรมที่ 3 เป็นสัมมัปปธานที่ 3 วิหารธรรมที่ 4 เป็นสัมมัปปธานที่ 4 ฯ สัมมัปปธานที่ 1 เป็นอัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 1 สัมมัปปธานที่ 2 เป็นอัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 2 สัมมัปปธานที่ 3เป็นอัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 3 สัมมัปปธานที่ 4 เป็นอัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 4 ฯ
อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 1 เป็นอธิฏฐานที่ 1 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 2 เป็นอธิฏฐานที่ 2 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 3 เป็นอธิฏฐานที่ 3 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 4 เป็นอธิฏฐานที่ 4 ฯ อธิฏฐานที่ 1 เป็นสมาธิภาวนาที่ 1 อธิฏฐานที่ 2 เป็นสมาธิภาวนาที่ 2 อธิฏฐานที่ 3 เป็นสมาธิภาวนาที่ 3 อธิฏฐานที่ 4 เป็นสมาธิภาวนาที่ 4 ฯ สมาธิภาวนาที่ 1 เป็นสุขภาคิยธรรมที่ 1 สมาธิภาวนาที่ 2เป็นสุขภาคิยธรรมที่ 2 สมาธิภาวนาที่ 3 เป็นสุขภาคิยธรรมที่ 3 สมาธิภาวนาที่ 4 เป็นสุขภาคิยธรรมที่ 4 ฯ สุขภาคิยธรรมที่ 1 เป็นอัปปมัญญาที่ 1สุขภาคิยธรรมที่ 2 เป็นอัปปมัญญาที่ 2 สุขภาคิยธรรมที่ 3 เป็นอัปปมัญญาที่ 3สุขภาคิยธรรมที่ 4 เป็นอัปปมัญญาที่ 4 ฯ คืออย่างไรปฏิปทาที่ 1 อันพระโยคาวจรอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐานที่ 1 ให้บริบูรณ์,ปฏิปทาที่ 2 อันพระโยคาวจรอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐานที่ 2 ให้บริบูรณ์,ปฏิปทาที่ 3 อันพระโยคาวจรอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐานที่ 3 ให้บริบูรณ์,ปฏิปทาที่ 4 อันพระโยคาวจรอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐานที่ 4 ให้บริบูรณ์ ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2022, 05:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐานที่ 1 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังฌานที่ 1ให้บริบูรณ์,
สติปัฏฐานที่ 2 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังฌานที่ 2ให้บริบูรณ์,
สติปัฏฐานที่ 3 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังฌานที่ 3ให้บริบูรณ์,
สติปัฏฐานที่ 4 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังฌานที่ 4ให้บริบูรณ์ ฯ
ฌานที่ 1 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิหารธรรมที่ 1ให้บริบูรณ์,
ฌานที่ 2 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิหารธรรมที่ 2ให้บริบูรณ์,
ฌานที่ 3 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิหารธรรมที่ 3ให้บริบูรณ์,
ฌานที่ 4 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิหารธรรมที่ 4ให้บริบูรณ์ ฯ
วิหารธรรมที่ 1 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังการไม่ให้เกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้บริบูรณ์,วิหารธรรมที่ 2 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังการละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ให้บริบูรณ์,วิหารธรรมที่ 3 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ให้บริบูรณ์,วิหารธรรมที่ 4 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งอยู่ ไม่หลงลืม ให้เจริญขึ้น ให้บริบูรณ์ ฯ
สัมมัปปธานที่ 1 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังการละมานะ ให้บริบูรณ์,สัมมัปปธานที่ 2 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังการถอนขึ้นซึ่งความอาลัยให้บริบูรณ์,สัมมัปปธานที่ 3 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังการละอวิชชาให้บริบูรณ์,สัมมัปปธานที่ 4 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังการเข้าไปสงบแห่งภพให้บริบูรณ์ ฯ
การละมานะ อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัจจาธิฏฐานให้บริบูรณ์,
การถอนขึ้นซึ่งความอาลัย อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมยังจาคาธิฏฐานให้บริบูรณ์,การละอวิชชา อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาธิฏฐานให้บริบูรณ์,การเข้าไปสงบภพ อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังอุปสมาธิฏฐานให้บริบูรณ์ ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2022, 05:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สัจจาธิฏฐานอันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังฉันทสมาธิให้บริบูรณ์,
จาคาธิฏฐานอันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิริยสมาธิให้บริบูรณ์,
ปัญญาธิฏฐานอันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังจิตตสมาธิให้บริบูรณ์,
อุปสมาธิฏฐานอันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิมังสาสมาธิ ให้บริบูรณ์ ฯฉันทสมาธิอันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังอินทริยสังวรให้บริบูรณ์,
วิริยสมาธิอันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังตบะให้บริบูรณ์,จิตตสมาธิอันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังพุทธิให้บริบูรณ์,วิมังสาสมาธิ อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังการสละคืนอุปธิทั้งปวงให้บริบูรณ์ ฯ
อินทริยสังวร อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังเมตตาให้บริบูรณ์,
ตบะ อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังกรุณาให้บริบูรณ์,พุทธิ อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังมุทิตาให้บริบูรณ์,สัพพูปธิปฏินิสสัคคะ อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังอุเบกขาให้บริบูรณ์ ฯ
ธรรมที่เป็นทิศ 4 เป็นไฉน
[87] ในธรรม 10 มีปฏิปทาเป็นต้นนั้น ทิศ 4 เหล่านั้น คือ ปฏิปทาที่ 1,สติปัฏฐานที่ 1 ฌานที่ 1 วิหารธรรมที่ 1 สัมมัปปธานที่ 1 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 1,อธิฏฐานคือสัจจะ ฉันทสมาธิ อินทริยสังวร เมตตา ดังนี้ เป็นทิศที่ 1 ฯ
ปฏิปทาที่ 2 สติปัฏฐานที่ 2 ฌานที่ 2 วิหารธรรมที่ 2 สัมมัปปธานที่ 2,อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 2 อธิฏฐานคือจาคะ วิริยสมาธิ ตบะ กรุณา ดังนี้ เป็นทิศที่ 2 ฯ ปฏิปทาที่ 3 สติปัฏฐานที่ 3 ฌานที่ 3 วิหารธรรมที่ 3 สัมมัปปธานที่ 3 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 3 อธิฏฐานคือปัญญา จิตตสมาธิ พุทธิ มุทิตา ดังนี้เป็นทิศที่ 3 ฯ ปฏิปทาที่ 4 สติปัฏฐานที่ 4 ฌานที่ 4 วิหารธรรมที่ 4,สัมมัปปธานที่ 4 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 4 อธิฏฐานคืออุปสมะ วิมังสาสมาธิสัพพูปธิปฏินิสสัคคะ อุเบกขา ดังนี้ เป็นทิศที่ 4 ฯ
ในธรรม 10 เหล่านั้น พระสูตร 10 คือ ปฏิปทาที่ 1 สติปัฏฐานที่ 1,ฌานที่ 1 วิหารธรรมที่ 1 สัมมัปปธานที่ 1 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 1 สัจจาธิฏฐานฉันทสมาธิ อินทริยสังวร เมตตา เหล่านี้ มีอรรถะอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ธรรมนี้เป็นเภสัชชะ (ยาแก้โรค) แห่งบุคคลผู้ราคจริต ฯ
ในธรรม 10 เหล่านั้น พระสูตร 10 คือ ปฏิปทาที่ 2 สติปัฏฐานที่ 2 ฌานที่ 2 วิหารธรรมที่ 2 สัมมัปปธานที่ 2 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 2 จาคาธิฏฐานวิริยสมาธิ ตบะ และกรุณา เหล่านี้ มีอรรถะอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ธรรมนี้เป็นยาแก้โรคของบุคคลผู้โทสจริต ฯ
ในธรรม 10 เหล่านั้น พระสูตร 10 คือ ปฏิปทาที่ 3 สติปัฏฐานที่ 3 ฌานที่ 3 วิหารธรรมที่ 3 สัมมัปปธานที่ 3 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 3 ปัญญาธิฏฐานจิตตสมาธิ พุทธิ มุทิตา เหล่านี้ มีอรรถะอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกันธรรมนี้เป็นยาแก้โรคของคนทิฏฐิจริตผู้มีปัญญาน้อย ฯ ในธรรม 10 เหล่านั้นพระสูตร 10 คือ ปฏิปทาที่ 4 สติปัฏฐานที่ 4 ฌานที่ 4 วิหารธรรมที่ 4สัมมัปปธานที่ 4 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 4 อุปสมาธิฏฐาน วิมังสา สมาธิสัพพูปธิปฏินิสสัคคะและอุเบกขา เหล่านี้ มีอรรถะอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ธรรมนี้เป็นยาแก้โรคของคนมีทิฏฐิจริตผู้มีปัญญาแก่กล้า ฯ
ในปฏิปทา 4 นั้น ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า และปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว เป็นทางแห่งความหลุดพ้น (วิโมกฺขมฺุขํ) ชื่อว่า อัปปณิหิตะ ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า เป็นทางแห่งความหลุดพ้น ชื่อว่า สุญญตะ ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว เป็นทางแห่งความหลุดพ้น ชื่อว่า อนิมิตตะ ฯ
ในสติปัฏฐาน 4 นั้น สติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย และสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุขสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นสุญญตวิโมกขมุข สติปัฏฐาน คือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2022, 05:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในฌาน 4 นั้น ปฐมฌานและทุติยฌานเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุข ตติยฌานเป็นสุญญตวิโมกขมุข จตุตถฌานเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
ในวิหารธรรม 4 นั้น วิหารธรรมที่ 1 และวิหารธรรมที่ 2 เป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุข วิหารธรรมที่ 3 เป็นสุญญตวิโมกขมุข วิหารธรรมที่ 4 เป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
ในสัมมัปปธาน 4 นั้น สัมมัปปธานที่ 1 และสัมมัปปธานที่ 2 เป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุข สัมมัปปธานที่ 3 เป็นสุญญตวิโมกขมุข สัมมัปปธานที่ 4เป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
ในอัจฉริยอัพภูตธรรม 4 นั้น การละมานะ และการถอนขึ้นซึ่งความอาลัยเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุข การละอวิชชาเป็นสุญญตวิโมกขมุข การยังภพให้สงบเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
ในอธิฏฐาน 4 นั้น สัจจาธิฏฐาน และจาคาธิฏฐานเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุขปัญญาธิฏฐานเป็นสุญญตวิโมกขมุข อุปสมาธิฏฐานเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
ในสมาธิ 4 นั้น ฉันทสมาธิ และวิริยสมาธิเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุข จิตตสมาธิเป็นสุญญตวิโมกขมุข วิมังสาสมาธิเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
ในสุขภาคิยธรรม 4 นั้น อินทริยสังวรและตบะเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุขพุทธิ (โพชฌงค์) เป็นสุญญตวิโมกขมุข สัพพูปธิปฏินิสสัคคะเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
ในอัปปมัญญา 4 นั้น เมตตา และกรุณาเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุขมุทิตาเป็นสุญญตวิโมกขมุข อุเบกขาเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
สีหวิกกีฬิตนัยวิกกีฬิตะใด กล่าวคือการก้าวล่วง และการละซึ่งกิเลสวัตถุ 10 หมวด มีอาหาร 4 เป็นต้น วิกกีฬิตะใด กล่าวคือการเจริญกุศลธรรม 10 หมวด มีปฏิปทา 4 เป็นต้น วิกกีฬิตะใด กล่าวคือการกระทำพระนิพพานให้แจ้ง ทั้ง 3นัยนี้ เป็นวิกกีฬิตะของพระอริยะผู้พ้นแล้วเหล่านั้น ฯ
ความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นปฏิปักษ์กัน ความที่ธรรมเหล่านั้นอันบุคคลพึงละ ความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นผู้ละ พึงทราบด้วยอำนาจฉันทราคะที่ผูกพันกับสิ่ง
นั้น ๆ ดังนี้
อาหาร 4 มีอยู่ ปฏิปทา 4 เป็นปฏิปักษ์ต่ออาหารเหล่านั้น ฯลฯ วิปลาส 4มีอยู่ สติปัฏฐาน 4 เป็นปฏิปักษ์ต่อวิปลาสเหล่านั้น ฯ อุปาทาน 4 มีอยู่ ฌาน 4เป็นปฏิปักษ์ต่ออุปาทานเหล่านั้น ฯ โยคะ 4 มีอยู่ วิหารธรรม 4 เป็นปฏิปักษ์ต่อโยคะเหล่านั้น ฯ คันถะ 4 มีอยู่ สัมมัปปธาน 4 เป็นปฏิปักษ์ต่อคันถะเหล่านั้นฯ
อาสวะ 4 มีอยู่ อัจฉริยอัพภูตธรรม 4 เป็นปฏิปักษ์ต่ออาสวะเหล่านั้น ฯ โอฆะ 4 มีอยู่ อธิฏฐาน 4 เป็นปฏิปักษ์ต่อโอฆะเหล่านั้น ฯ ลูกศร 4 มีอยู่ สมาธิภาวนาเป็นปฏิปักษ์ต่อลูกศรเหล่านั้น ฯ วิญญาณฐิติ 4 มีอยู่ สุขภาคิยธรรม 4 เป็นปฏิปักษ์ต่อวิญญาณฐิติเหล่านั้น ฯ การถึงอคติ 4 มีอยู่ อัปปมัญญา 4 เป็นปฏิปักษ์ต่อการถึงอคติเหล่านั้น ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2022, 05:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธะและพระสาวกทั้งหลาย ผู้ฆ่าราคะโทสะ โมหะแล้ว ชื่อว่า สีหะ การเจริญโพธิปักขิยธรรมที่ควรเจริญ การกระทำให้แจ้งซึ่งผลและนิพพานอันควรกระทำให้แจ้ง การกระทำให้สิ้นไปไม่เหลือแห่งกองกิเลส ชื่อว่า วิกกีฬิตะ ของพระอริยะผู้เป็นสีหะเหล่านั้น ฯ อธิฏฐานคือการเป็นไป การเจริญ และการกระทำให้แจ้งแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ชื่อว่า วิกกีฬิตะและการละ ไม่ให้วิปลาสเกิดขึ้นเป็นไป ชื่่อว่า วิกกีฬิตะ ฯ อินทรีย์มีสัทธินทรีย์เป็นต้น เป็นอารมณ์แห่งสัทธรรมในฝ่ายแห่งโวทาน เป็นเหตุละวิปลาส เป็นอารมณ์แห่งกิเลส นัยนี้เป็นภูมิแห่งนัย ชื่อว่า สีหวิกกีฬิตะและทิสาโลจนะ ฯ
เพราะเหตุนั้น ท่านพระมหากัจจายนะจึงกล่าวว่า "นัยใด ย่อมนำไปซึ่งสังกิเลสทั้งหลาย เพราะเป็นอารมณ์วิปลาสทั้งหลาย" เป็นต้น และในการวิสัชชนาอรรถะแห่งพระสูตรว่า "ธรรมเหล่าใดเป็นกุศลและอกุศล" เป็นต้น ฯ
[88] ในบุคคล 4 เหล่านั้น บุคคลเหล่าใด ย่อมออกไปด้วยการปฏิบัติลำบากรู้ช้า และการปฏิบัติลำบาก รู้เร็ว บุคคลทั้ง 2 เหล่านี้ มีอยู่ บุคคลเหล่าใดย่อมออกไปด้วยการปฏิบัติสบาย รู้ช้า และปฏิบัติสบาย รู้เร็ว บุคคลทั้ง 2 เหล่านี้มีอยู่ ฯ บุคคลทั้ง 4 เหล่านั้น มีสังกิเลสนี้คือ อาหาร 4 วิปลาส 4 อุปาทาน 4โยคะ 4 คันถะ 4 อาสวะ 4 โอฆะ 4 ลูกศร 4 วิญญาณฐิติ 4 และการถึงอคติ 4 ฯ
บุคคล 4 เหล่านั้น มีโวทานนี้ คือ ปฏิปทา 4 สติปัฏฐาน 4 ฌาน 4วิหารธรรม 4 สัมมัปปธาน 4 อัจฉริยอัพภูตธรรม 4 อธิฏฐาน 4 สมาธิภาวนา 4 สุขภาคิยธรรม 4 และอัปปมัญญา 4 ฯ
ในบุคคล 4 เหล่านั้น บุคคลเหล่าใด ย่อมออกไป ด้วยการปฏิบัติลำบากรู้ช้า และปฏิบัติลำบาก รู้เร็ว บุคคลทั้ง 2 เหล่านี้ ฯ และบุคคลเหล่าใด ย่อมออกไปด้วยการปฏิบัติสบาย รู้ช้า และปฏิบัติสบาย รู้เร็ว บุคคลทั้ง 2 เหล่านี้ ฯ
ในบุคคล 4 เหล่านั้น บุคคลใด ย่อมออกไปด้วยการปฏิบัติสบาย รู้เร็ว บุคคลนี้เป็นอุคฆฏิตัญญู ฯ บุคคลใดย่อมออกไปด้วยการปฏิบัติอันเป็นสาธารณะ คือปฏิบัติลำบาก รู้เร็ว และปฏิบัติสบาย รู้ช้า บุคคลนี้เป็นวิปัญจิตัญญู ฯ บุคคลย่อมออกไป ด้วยการปฏิบัติลำบาก รู้ช้า บุคคลนี้เป็นเนยยะ ฯ
ในบุคคล 3 เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแนะนำ สมถะแก่บุคคลผู้อุคฆฏิตัญญู ย่อมทรงแสดงวิปัสสนาแก่เนยยบุคคล ย่อมทรงชี้แจงสมถะและวิปัสสนาแก่วิปัญจิตัญญูบุคคล ฯ ในบุคคลทั้ง 3 นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงธรรมน้อยแก่อุคฆฏิตัญญูบุคคล ย่อมแสดงธรรมมากแก่เนยยบุคคล ย่อมแสดงธรรมไม่น้อยไม่มากแก่วิปัญจิตัญญูบุคคล ฯ ในบุคคลทั้ง 3 นั้น ย่อมทรงแนะนำการสลัดออกแก่อุคฆฏิตัญญูบุคคล ย่อมทรงชี้แจงถึงโทษ และการสลัดออกแก่วิปัญจิตัญญูบุคคล ย่อมแสดงอัสสาทะ (ความยินดี)อาทีนวะ (โทษ) และการสลัดออกแก่เนยยบุคคล ฯ ในบุคคลทั้ง 3 นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงประกาศ อธิปัญญาสิกขาแก่อุคฆฏิตัญญูบุคคลย่อมทรงประกาศอธิจิตตสิกขาแก่วิปัญจิตัญญูบุคคล ย่อมทรงประกาศอธิศีลสิกขาแก่เนยยบุคคล ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2022, 05:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในบุคคล 4 เหล่านั้น บุคคลเหล่าใด ย่อมออกไปด้วยทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาและทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา บุคคล 2 เหล่านี้ และบุคคลเหล่าใดย่อมออกไปด้วยสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา และสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา บุคคล 2 เหล่านี้ รวมเป็นบุคคล 4 พวกนี้แล ย่อมเป็นบุคคล 3 คือ อุคฆฏิตัญญูวิปัญจิตัญญและเนยยบุคคล ฉะนี้ ฯ
เครื่องเศร้าหมองของบุคคล 3 พวกบุคคล 3 พวกเหล่านั้น มีสังกิเลสนี้ คืออกุศลมูล 3 คือ โลภอกุศลมูล โทสอกุศลมูล โมหอกุศลมูลทุจริต 3 คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตอกุศลวิตก 3 คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกอกุศลสัญญา 3 คือ กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญาวิปริตสัญญา 3 คือ นิจจสัญญา สุขสัญญา อัตตสัญญาเวทนา 3 คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาทุกขตา 3 คือ ทุกขทุกขตา สังขารทุกขตา วิปริณามทุกขตาอัคคิ 3 คือ ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะลูกศร 3 คือ ลูกศรคือราคะ ลูกศรคือโทสะ ลูกศรคือโมหะชัฏ (ชฏา) 3 คือ ชัฏคือราคะ ชัฏคือโทสะ ชัฏคือโมหะอกุสลูปปริกขา 3 คือ อกุศลกายกรรม อกุศลวจีกรรม อกุศลมโนกรรมวิบัติ 3 คือ ศีลวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ อาจารวิบัติ ฯ
ความผ่องแผ้วของบุคคล 3 พวกบุคคล 3 พวกเหล่านั้น มีโวทาน (ความผ่องแผ้ว) นี้ คือ กุศลมูล 3 คืออโลภะ อโทสะ อโมหะสุจริต 3 คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตกุศลวิตก 3 คือ เนกขัมมวิตก อัพยาปาทวิตก อวิหิงสาวิตกสมาธิ 3 คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ อวิตักกอวิจารสมาธิ
กุศลสัญญา 3 คือ เนกขัมมสัญญา อัพยาปาทสัญญา อวิหิงสาสัญญาสัญญาไม่วิปริต 3 คือ อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญาการตรวจสอบกุศล (กุสลูปปริกฺขา) 3 คือ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศลความสะอาด 3 คือ ความสะอาดกาย ความสะอาดวาจา ความสะอาดใจสมบัติ 3 คือ ศีลสมบัติ สมาธิสมบัติ ปัญญาสมบัติสิกขา 3 คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขาขันธ์ 3 คือ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์วิโมกขมุข 3 คือ สุญญตะ อนิมิตตะ อัปปณิหิตะ ฯ
บุคคลเป็น 4 พวก ด้วยอำนาจแห่งปฏิปทา 4 เป็น 3 พวกด้วยอำนาจแห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ และเป็น 2 พวก คือ บุคคลผู้ตัณหาจริต และบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฉะนี้แล ฯ
เครื่องเศร้าหมองของบุคคล 2 พวกบุคคล 2 พวกเหล่านั้น มีสังกิเลส นี้ คือ ตัณหา อวิชชา อหิริกะ อโนตตัปปะไม่มีสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มนสิการโดยไม่แยบคาย ความเกียจคร้าน ความเป็นคนว่ายาก (ดื้อรั้น) อหังการ (การถือตัว) มมังการ (ความเห็นแก่ตัว)ไม่มีศรัทธา ประมาท ไม่ฟังพระสัทธรรม ไม่สังวร มีอภิชฌา มีพยาบาทมีนิวรณ์ มีสังโยชน์ มีความโกรธ มีความผูกโกรธ มีความลบหลู่มีการตีเสมอ มีริษยา ความตระหนี่ มีมายา มีความโอ้อวด มีความเห็นว่าเที่ยงและมีความเห็นว่าขาดสูญ ฯ
ความผ่องแผ้วของบุคคล 2 พวกบุคคล 2 พวกเหล่านั้น มีโวทาน คือ ความผ่องแผ้วนี้ คือ มีสมถะวิปัสสนา มีิหิริ โอตตัปปะ สติ สัมปชัญญะ มนสิการโดยแยบคาย ปรารภความเพียร มีความเป็นผู้ว่าง่าย ธัมมญาณ (ญาณในปรมัตถ์) อันวยญาณ(อนุโลมญาณ) ขยญาณ อนุปาทญาณ (ญาณในความไม่เกิด) มีศรัทธา มีความไม่ประมาท มีการฟังพระสัทธรรม มีสังวร ไม่มีอภิชฌา ไม่มีพยาบาทเป็นเจโตวิมุตติเพราะสำรอกราคะ เป็นปัญญาวิมุตติเพราะสำรอกอวิชชา มีการตรัสรู้ มีความปรารถนาน้อย มีความสันโดษ มีความไม่โกรธ มีความไม่ผูกโกรธ มีความไม่ลบหลู่ มีความไม่ตีเสมอ ละความริษยา ละความตระหนี่ มีวิชชา มีวิมุตติ มีวิโมกข์อันเป็นสังขตะอารมณ์ มีวิโมกข์อันเป็นอสังขตะอารมณ์มีนิพพานธาตุที่มีวิบากอันเหลืออยู่ และมีอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ฯ
นัยนี้ บัณฑิตเรียกว่า ภูมิแห่งติปุกขลมัย และอังกุสนัย ฉะนี้ เพราะเหตุนั้นท่านพระมหากัจจายนะ จึงกล่าวว่า "บุคคลใด ย่อมนำไปซึ่งอกุศลทั้งหลายโดยมูลทั้งหลาย ด้วยกุศลมูล" และ "ด้วยการดูแล้วพิจารณาดูทิศ" ดังนี้ เป็นต้น ฯ
จบ นยสมุฏฐาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2022, 03:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


+สาสนปัฏฐาน

[89] ในสาสนปัฏฐานนั้น มูลบท 18 พึงเห็นได้ ณ ที่ไหนมูลบท 18 นั้น พึงเห็นในสาสนปัฏฐาน ฯ ในสาสนปัฏฐาน
อันเป็นไปกับมูลบทนั้น สาสนปัฏฐานนั้นเป็นไฉน
สาสนปัฏฐานนั้น เป็นพระสูตรในส่วนแห่งสังกิเลส เป็นพระสูตรในส่วนแห่งวาสนา เป็นพระสูตรในส่วนแห่งสังกิเลสและในส่วนแห่งวาสนา เป็นพระสูตรในส่วนสังกิเลสและในส่วนแห่งปัญญาเครื่องแทงตลอด เป็นพระสูตรในส่วนสังกิเลสและในส่วนแห่งอเสกขะ เป็นพระสูตรในส่วนสังกิเลสและในส่วนแห่งปัญญาเครื่่องแทงตลอดและในส่วนแห่งอเสกขะ เป็นพระสูตรในส่วนแห่งวาสนาและในส่วนแห่งปัญญาเครื่องแทงตลอด เป็นพระสูตรในส่วนแห่งตัณหาสังกิเลส เป็นพระสูตรในส่วนแห่งทิฏฐิสังกิเลส เป็นพระสูตรในส่วนแห่งทุจริตสังกิเลส เป็นพระสูตรในส่วนแห่งตัณหาและโวทาน เป็นพระสูตรในส่วนแห่งทิฏฐิและโวทาน เป็นพระสูตรในส่วนแห่งทุจริตและโวทาน ฯ
ในพระสูตรเหล่านั้น สังกิเลสมี 3 อย่างคือ ตัณหาสังกิเลส ทิฏฐิสังกิเลสและทุจริตสังกิเลส ฯ ในสังกิเลสเหล่านั้น ตัณหาสังกิเลส ย่อมหมดจดด้วยสมถะ สมถะนั้นเป็นสมาธิขันธ์ ฯ ทิฏฐิสังกิเลส ย่อมหมดจดด้วยวิปัสสนาวิปัสสนานั้นเป็นปัญญาขันธ์ ฯ ทุจริตสังกิเลสย่อมหมดจดด้วยสุจริต สุจริตนั้นเป็นศีลขันธ์ ฯ ถ้าความปรารถนาในภพย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในศีลนั้น ผู้ยังไม่อาจตัดฉันทราคะในภพทั้งหลายได้ไซร้ บุญญกิริยาวัตถุอันสำเร็จด้วยภาวนาคือสมถะและวิปัสสนา มีอยู่ บุญญกิริยาวัตถุนี้ ย่อมให้เป็นไปพร้อมเพื่อการเกิดขึ้นในภพนั้น ๆ ฯ
พระสูตร 4 เบื้องต้น มีพระสูตรอันเป็นส่วนแห่งสังกิเลสเป็นต้นเหล่านี้(เป็นอสาธารณะตามนัยแห่งฎีกาจารย์) พระสูตรที่เป็นสาธารณะท่านกระทำไว้ 8 สูตร 8 สูตรนั้นนั่นแหละกระทำไว้เป็น 16 สูตร ฯ
ปริยัตติสูตรทั้งสิ้น 9 อย่าง (นวังคสัตถุศาสน์) มีสุตตะและเคยยะเป็นต้นท่านจำแนกโดยพระสูตร 16 เหล่านี้ ฯ พึงนับพระสูตรมีสังกิเลสภาคิยสูตร เป็นต้น อย่างไร
คาถาพึงคำนวนด้วยคาถาอันเป็นประเภทแห่งสังกิเลสภาคิยะเป็นต้นไวยากรณ์พึงคำนวนด้วยไวยากรณ์อันเป็นประเภทแห่งสังกิเลสภาคิยะเป็นต้นพระสูตรพึงคำนวนด้วยพระสูตรอันเป็นประเภทแห่งสังกิเลสภาคิยะ เป็นต้น ฯ
[90] ในโสฬสสูตรนั้น สังกิเลสภาคิยสูตรเป็นไฉน
คาถาที่กล่าวไว้ในหนหลังว่า"สัตว์ทั้งหลายมืดมนเพราะกาม ถูกตัณหาซึ่งเป็นดุจข่ายปกคลุมไว้แล้ว ถูกเครื่องมุงคือตัณหาปกปิดไว้แล้ว ถูกกิเลสมารและเทวปุตตมารผูกพันไว้แล้ว ย่อมไปสู่ชราและมรณะ เหมือนปลาที่ปากไซ เหมือนลูกโคที่ยังดื่มนม ไปตามแม่โค ฉะนั้น" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูตร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2022, 03:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ดูกรภิกษุทั้งหลาย การถึงอคตินี้มี 4 อย่าง 4 อย่างเป็นไฉน คือบุคคลย่อมถึงฉันทาคติ ย่อมถึงโทสาคติ ย่อมถึงโมหาคติและย่อมถึงภยาคติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ 4 อย่างนี้แล" ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสพระธรรมเทศนาไวยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว ครั้นแล้วจึงตรัสนิคมคาถาประพันธ์นี้อีกว่า"บุคคลใด ย่อมประพฤติล่วงธรรมเพราะความรัก เพราะความชังเพราะความกลัว เพราะความหลง ยศของผู้นั้น ย่อมเสื่อมไป เหมือนดวงจันทร์ในวันกาฬปักษ์ ฉะนั้น" ดังนี้ ฯ สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูตร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า"ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จแล้วด้วยใจถ้าบุคคลมีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว กล่าวอยู่ก็ตาม กระทำอยู่ก็ตามทุกข์ย่อมไปตามบุคคลนั้น เพราะทุจริต 3 อย่างนั้น เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคผู้ลากเกวียนไปอยู่ ฉะนั้น" ฯ สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูตร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า"เมื่อใด บุคคลเป็นผู้บริโภคมาก มักง่วงซึม นอนหลับ พลิกกลับไปมา ดุจสุกรใหญ่ อันบุคคลปรนปรือเหยื่อ เมื่อนั้น บุคคลนั้น เป็นคนเขลาย่อมเข้าห้องบ่อย ๆ" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูุตร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า"สนิมเกิดขึ้นแต่เหล็ก ครั้นเกิดขึ้นแต่เหล็กแล้ว ย่อมกัดเหล็กนั่นแหละฉันใด กรรมของตน ย่อมนำบุคคลผู้มีปกติประพฤติล่วงปัญญา ชื่อ โธนาไปสู่ทุคติ ฉันนั้น" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูุตร
พระรัฏฐบาลเถระได้ภาษิตไว้ว่า"โจร ผู้มีธรรมอันชั่วช้า ถูกเขาจับได้พร้อมทั้งของกลาง ย่อมเดือดร้อนและถูกจับเพราะกรรมของตน ฉันใด หมู่สัตว์ผู้มีธรรมอันชั่วช้านี้ละไปแล้ว ย่อมเดือดร้อนและถูกจับไปในปรโลกเพราะกรรมของตนฉันนั้น" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูุตร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า"ผู้ใด แสวงหาความสุขเพื่อตน ย่อมเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายผู้ใคร่ความสุขด้วยอาชญา ผู้นั้นย่อมไม่ได้ความสุขในโลกหน้า" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูตร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า"เมื่อฝูงโคข้ามแม่น้ำอยู่ ถ้าโคผู้นำไปคดไซร้ โคเหล่านั้นทั้งหมดย่อมไปคด เพราะมีผู้นำไปคด ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน ผู้ใด ได้สมมติให้เป็นผู้นำ ถ้าผู้นั้นประพฤติอธรรมไซร้ จะกล่าวไปใยถึงปวงประชาเหล่านี้ก็ย่อมประพฤติอธรรมเหมือนกัน แว่นแคว้นทั้งหมด จะประสบความทุกข์เพราะผู้นำไม่ตั้งอยู่ในธรรม" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูตร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า"มนุษย์เหล่านี้ มีรูปอันถึงความลำบากแล้วหนอ ยินดีในอุปธิทั้งหลายแล้ว ย่อมทำบาป มนุษย์เหล่านั้น ย่อมไปสู่นรกอเวจีอันน่ากลัว อันเป็นที่อยู่ของชนหมู่มาก" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูุตรพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า"ผลกล้วยย่อมฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่ ดอกอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ ลูกม้าอัสสดรย่อมฆ่าแม่ม้าอัสสดร ฉันใด สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่วฉันนั้น" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูุตรพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า"ภิกษุ เป็นผู้หนักในความโกรธและความลบหลู่ในคุณของผู้อื่นหนักในลาภและสักการะ ย่อมไม่งอกงามในพระสัทธรรม เหมือนเมล็ดพืชเน่าที่บุคคลหว่านแล้ว แม้ในนาดี ฉะนั้น" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูตร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2022, 03:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ดูกรภิกษุทั้งหลาย การถึงอคตินี้มี 4 อย่าง 4 อย่างเป็นไฉน คือบุคคลย่อมถึงฉันทาคติ ย่อมถึงโทสาคติ ย่อมถึงโมหาคติและย่อมถึงภยาคติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ 4 อย่างนี้แล" ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสพระธรรมเทศนาไวยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว ครั้นแล้วจึงตรัสนิคมคาถาประพันธ์นี้อีกว่า"บุคคลใด ย่อมประพฤติล่วงธรรมเพราะความรัก เพราะความชังเพราะความกลัว เพราะความหลง ยศของผู้นั้น ย่อมเสื่อมไป เหมือนดวงจันทร์ในวันกาฬปักษ์ ฉะนั้น" ดังนี้ ฯ สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูตร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า"ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จแล้วด้วยใจถ้าบุคคลมีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว กล่าวอยู่ก็ตาม กระทำอยู่ก็ตามทุกข์ย่อมไปตามบุคคลนั้น เพราะทุจริต 3 อย่างนั้น เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคผู้ลากเกวียนไปอยู่ ฉะนั้น" ฯ สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูตร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า"เมื่อใด บุคคลเป็นผู้บริโภคมาก มักง่วงซึม นอนหลับ พลิกกลับไปมา ดุจสุกรใหญ่ อันบุคคลปรนปรือเหยื่อ เมื่อนั้น บุคคลนั้น เป็นคนเขลาย่อมเข้าห้องบ่อย ๆ" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูุตร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า"สนิมเกิดขึ้นแต่เหล็ก ครั้นเกิดขึ้นแต่เหล็กแล้ว ย่อมกัดเหล็กนั่นแหละฉันใด กรรมของตน ย่อมนำบุคคลผู้มีปกติประพฤติล่วงปัญญา ชื่อ โธนาไปสู่ทุคติ ฉันนั้น" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูุตร
พระรัฏฐบาลเถระได้ภาษิตไว้ว่า"โจร ผู้มีธรรมอันชั่วช้า ถูกเขาจับได้พร้อมทั้งของกลาง ย่อมเดือดร้อนและถูกจับเพราะกรรมของตน ฉันใด หมู่สัตว์ผู้มีธรรมอันชั่วช้านี้ละไปแล้ว ย่อมเดือดร้อนและถูกจับไปในปรโลกเพราะกรรมของตนฉันนั้น" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูุตร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า"ผู้ใด แสวงหาความสุขเพื่อตน ย่อมเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายผู้ใคร่ความสุขด้วยอาชญา ผู้นั้นย่อมไม่ได้ความสุขในโลกหน้า" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูตร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า"เมื่อฝูงโคข้ามแม่น้ำอยู่ ถ้าโคผู้นำไปคดไซร้ โคเหล่านั้นทั้งหมดย่อมไปคด เพราะมีผู้นำไปคด ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน ผู้ใด ได้สมมติให้เป็นผู้นำ ถ้าผู้นั้นประพฤติอธรรมไซร้ จะกล่าวไปใยถึงปวงประชาเหล่านี้ก็ย่อมประพฤติอธรรมเหมือนกัน แว่นแคว้นทั้งหมด จะประสบความทุกข์เพราะผู้นำไม่ตั้งอยู่ในธรรม" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูตร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า"มนุษย์เหล่านี้ มีรูปอันถึงความลำบากแล้วหนอ ยินดีในอุปธิทั้งหลายแล้ว ย่อมทำบาป มนุษย์เหล่านั้น ย่อมไปสู่นรกอเวจีอันน่ากลัว อันเป็นที่อยู่ของชนหมู่มาก" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูุตรพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า"ผลกล้วยย่อมฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่ ดอกอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ ลูกม้าอัสสดรย่อมฆ่าแม่ม้าอัสสดร ฉันใด สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่วฉันนั้น" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูุตรพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า"ภิกษุ เป็นผู้หนักในความโกรธและความลบหลู่ในคุณของผู้อื่นหนักในลาภและสักการะ ย่อมไม่งอกงามในพระสัทธรรม เหมือนเมล็ดพืชเน่าที่บุคคลหว่านแล้ว แม้ในนาดี ฉะนั้น" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูตร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2022, 03:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เทวดากล่าวว่า
"ธรรมของสมณะ คนไม่ฉลาด ทำได้ยาก ทนได้ยาก เพราะธรรมของสมณะนั้น มีความลำบากมาก ในความเป็นแห่งสมณะ เป็นที่ติดขัดข้องของคนพาล" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูุตร
คำกล่าวว่า "จริงอยู่ บุคคลใด เมื่อพระตถาคตกำลังแสดงอรรถะและธรรมะ เป็นคนพาลย่อมยังใจให้ประทุษร้าย ชีวิตของบุคคลนั้นย่อมเป็นโมฆะแลก็บุคคลใด ยังไม่ปราศจากราคะ ย่อมยังจิตให้ประทุษร้ายในพระตถาคตผู้มีคุณไม่มีประมาณ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมติเตียนคนนั้นว่าเป็นผู้มีทุกข์ และมีบาปยิ่งกว่าทุกข์นั้น" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูตร
สุทธาวาสพรหม ปรารภพระกตโมรกติสสกะ ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า"ใครเล่า ผู้มีปัญญาในโลกนี้ จะพึงกำหนดวัดซึ่งพระขีณาสพผู้มีคุณไม่มีประมาณได้ ข้าพระองค์ย่อมเห็นผู้นั้นว่า ไม่มีธุตธรรม ไม่มีปัญญา วัดอยู่ซึ่งพระขีณาสพผู้อันบุคคลไม่พึงประมาณ" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูตร
ตุทุปัจเจกพรหมได้กล่าวกะโกกาลิกภิกษุว่า "คนพาล เมื่อกล่าวคำทุพภาษิต ชื่อว่า ย่อมตัดตนด้วยศาสตราใด ก็ศาสตรานั้น ย่อมเกิดในปากของบุรุษผู้เกิดแล้ว จริงอยู่ ศาสตราที่เขาลับดีแล้ว ยาพิษที่มีพิษกล้าย่อมเป็นไปโดยประการใด วาจาทุพภาษิต ย่อมยังสัตว์ผู้ทำผิดให้ตกไป โดยประการนั้น หามิได้ เพราะวาจาทุพภาษิตนั้นย่อมให้ตกไปในอบาย" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูตร
[92] ตุทุปัจเจกพรหมกล่าวต่อไปว่า"ผู้ใด สรรเสริญผู้ที่ควรติหรือติผู้ที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้น ชื่อว่าสั่งสมโทษด้วยปาก เพราะโทษนั้น เขาย่อมไม่ประสบความสุข ความปราชัยด้วยทรัพย์ ในเพราะการพนันทั้งหลาย พร้อมด้วยสิ่งของอันเป็นของตนทั้งหมดก็ดี พร้อมด้วยตนก็ดี ก็เป็นโทษเพียงเล็กน้อย บุคคลใดทำใจให้ประทุษร้าย ในท่านทั้งหลายผู้ดำเนินไปโดยชอบ ความประทุษร้ายแห่งใจของบุคคลนั้น เป็นโทษใหญ่กว่า บุคคลตั้งวาจาและใจอันลามกไว้ เป็นผู้มักติเตียนพระอริยเจ้าย่อมเข้าถึงนรก ซึ่งมีประมาณแห่งอายุถึงแสนสามสิบหกนิรัพพุทะกับห้าอัพพุทะ" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูตร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2022, 03:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสประพันธ์คาถาว่า"ผู้ประกอบเนือง ๆ ในคุณคือความโลภ ไม่มีศรัทธา กระด้างคือห้ามคนอื่นไม่ให้ทำทาน ไม่รู้ความประสงค์ของผู้ขอ มีความตระหนี่ ประกอบเนือง ๆ ในคำส่อเสียด ย่อมบริภาษผู้อื่นด้วยวาจาแน่ะคนผู้มีปากเป็นหล่มกล่าวคำอันไม่จริง แน่ะอสัตบุรุษ ผู้กำจัดความเจริญ ผู้ลามก ผู้กระทำความชั่ว ผู้เป็นบุรุษอธรรม เป็นคนกลี เป็นอวชาติ ท่านอย่าได้พูดมากในที่นี้ อย่าเป็นสัตว์นรกท่านย่อมเกลี่ยธุลีคือกิเลสลงในตน ผู้กระทำกรรมมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล ผู้กระทำกรรมหยาบ ย่อมติเตียนสัตบุรุษ ท่านประพฤติทุจริตเป็นอันมากแล้ว ย่อมไปสู่นรกสิ้นกาลนาน" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยสูตร
ในพระสูตร 16 นั้น สูตรชื่่อว่า วาสนาภาคิยะเป็นไฉน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จแล้วแต่ใจถ้าบุคคลมีใจผ่องใส กล่าวอยู่ก็ตาม กระทำอยู่ก็ตาม สุขย่อมไปตามบุคคลนั้น เพราะสุจริต 3 อย่างนั้น เหมือนเงามีปกติไปตามตัว ฉะนั้น" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า วาสนาภาคิยสูตร
[93] เจ้ามหานามศากยราช ได้กราบทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนครกบิลพัสดุ์นี้ เป็นพระนครมั่งคั่งเจริญรุ่งเรือง มีผู้คนมาก แออัดไปด้วยมนุษย์ มีถนนคับแคบ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันนั่งใกล้ (เยี่ยมเยียน) พระผู้มีพระภาคเจ้าหรือนั่งใกล้ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นที่เจริญใจแล้ว เมื่อเข้าไปยังพระนครกบิลพัสดุ์ในเวลาเย็น ย่อมไม่เข้าไปพร้อมกับช้าง ม้า รถ เกวียน และแม้กับบุรุษสมัยนั้น หม่อมฉันลืมสติที่ปรารภถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมพระสงฆ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันมีความดำริว่า ถ้าในเวลาเย็นเราพึงทำกาละ คติของเราจะเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพจะเป็นอย่างไร"พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ขอถวายพระพร มหาบพิตรอย่ากลัวเลย ๆ การสวรรคตอันไม่เลวทรามจักมีแก่มหาบพิตร กาลกิริยาอันไม่เลวทรามจักมีแก่มหาบพิตรดูกรมหาบพิตร อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ธรรม 4 ประการเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้าว่า อิติปิโส ภควา อรหํ ฯลฯ พุทฺโธ ภควา ดังนี้เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิทั้งหลาย ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนต้นไม้ ที่น้อมไป โน้มไปโอนไป ทางทิศปราจีน เมื่อรากขาดแล้ว จะพึงล้มไปทางไหน" "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พึงล้มไปทางต้นไม้น้อมไป โน้มไป โอนไป พระเจ้าข้า""ดูกรมหาบพิตร ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสาวก ผู้ประกอบด้วยธรรม 4เหล่านี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่พระนิพพาน โน้มไปสู่พระนิพพาน โอนไปสู่พระนิพพาน ขอถวายพระพร มหาบพิตรอย่ากลัวเลย การสวรรคตอันไม่เลวทรามจักมีแก่มหาบพิตร กาลกิริยาอันไม่เลวทรามจักมีแก่มหาบพิตร" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า วาสนาภาคิยสูตร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ผู้ใด แสวงหาความสุขเพื่่อตน ย่อมไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายผู้ใคร่กามสุขด้วยอาชญา ผู้นั้นย่อมได้รับความสุขในโลกหน้า" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า วาสนาภาคิยสูตร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"เมื่อฝูงโคข้ามแม่น้ำอยู่ ถ้าโคผู้นำไปตรงไซร้ โคเหล่านั้นทั้งหมดย่อมไปตรง เพราะมีผู้นำไปตรง ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน ผู้ใด ได้รับสมมติให้เป็นผู้ประเสริฐสุด (พระราชา) ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรมไซร้ จะป่วยกล่าวไปใยถึงปวงประชานอกนี้ ก็ย่อมประพฤติธรรมเหมือนกัน ชาวแว่นแคว้นทั้งหมดจะประสบความสุข เพราะพระราชาตั้งมั่นอยู่ในธรรม" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า วาสนาภาคิยสูุตร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 129 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 26 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร