วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 13:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2008, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ตอนนี้คุณกำลังโกรธใครอยู่สักคนหรือเปล่า ?
บางคนอาจจะแค่เคือง ไม่พอใจ
หรือบางคนอาจจะถึงขั้นอาฆาตผูกพยาบาท
แล้วเวลาที่คุณคิดถึงหน้าของคนที่คุณโกรธ
หรือสิ่งที่ทำให้คุณขัดเคือง
จิตใจของคุณมันเป็นอย่างไรบ้าง?
.... มันดูสดชื่น โปร่ง สบาย หรือมันขุ่นๆ ร้อนๆอยู่ในอก ?

คำตอบมันคงจะปรากฏอยู่ในใจของแต่ละคนอยู่แล้ว
ก็ความโกรธ หรือที่เรียกกันว่า โทสะ นั้นเป็นกิเลส
และแน่นอนความหมายของกิเลสมันก็บอกอยู่โต้งๆ ว่า
“ สิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง ”
ถ้าเรามีมันเมื่อไหร่... ความขุ่นมัวของจิตใจเราก็ย่อมต้องเกิดขึ้น


ชื่อเรื่อง

1 แล้วกิเลสมันเป็นอย่างไร?

2 ทราบหรือไม่ว่าสาเหตุของความโกรธมีอะไรบ้าง?

3 คุณเป็นคนมักโกรธจำพวกไหน?

4 แล้วโทษของความโกรธมีอะไรบ้าง ?

5 แล้วคนเยือกเย็นจริงๆ เป็นอย่างไร?

6 แล้วเราจะระงับความโกรธของเราได้อย่างไร ?

7 เมื่อถูกเขาด่า ควรทำอย่างไร ?



ที่มา...ข้าวใจดอทคอม
http://www.kaowjai.com

รูปภาพประกอบจาก...
http://www.dhammaforyou.com/index.php?m ... 175&page=9

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2008, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


1 แล้วกิเลสมันเป็นอย่างไร?
แล้วกิเลสเป็นอย่างไรบ้าง ?
กิเลสแบ่งเป็น 3 ระดับด้วยกัน คือ


1. กิเลสอย่างละเอียด(อนุสัยกิเลส)
ไม่สามารถขจัดออกได้ด้วยสมาธิ
แต่ต้องใช้ปัญญาเป็นเครื่องมือในการทำลาย
และมีอยู่ในทุกคนโดยที่เราเองไม่รู้ตัว
ยกเว้นพระอรหันต์ กิเลสชนิดนี้ประกอบด้วย

1.1 ราคานุสัย เป็นเชื้อแห่งความอยากทุกประเภท
และเป็นไวพจน์ของคำว่า โลภะ (ความโลภ)
ตัณหา (ความอยาก) อภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา)

1.2 ปฏิฆานุสัย
คือ เชื้อแห่งความขุ่นข้องหมองใจ
เป็นรากเหง้าของโทสะ ความพยาบาท

1.3 อวิชชานุสัย คือ เชื้อแห่งอวิชชา ได้แก่ความไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้
และเป็นเครื่องส่งเสริมสนับสนุนราคานุสัยและปฏิฆานุสัย


2. กิเลสอย่างกลาง(ปริยุฏฐานกิเลส)
คือ กิเลสที่กลุ้มรุมจิตใจ เปรียบเทียบก็เหมือนกับหม้อต้มน้ำที่ถูกอุ่นจนร้อน
แต่ยังไม่ถึงขนาดเดือดปุดๆ ซึ่งก็คือ กิเลสอย่างละเอียดที่ถูกกวนให้ขุ่น
ให้มันฟุ้งขึ้นมา จะดับมันลงได้ก็ด้วยการใช้สมาธิ กิเลสชนิดนี้ประกอบด้วย

2.1 โลภะ คือ ความโลภ เป็นกิเลสที่ขยายตัวมาจากราคานุสัย
เมื่อกิเลสขั้นนี้เกิดขึ้นจิตใจในจะไม่สงบ
มีลักษณะเป็นบวก คือ อยากจะได้ อยากจะถึงเข้ามาเป็นของตน

2.2 โทสะ คือ ความโกรธ เป็นกิเลสที่ขยายตัวมาจากปฏิฆานุสัย
คือ เมื่อถูกยั่วปฏิฆานุสัยก็ฟุ้งออกมาเป็นโทสะ มีลักษณะลบ
คือ ต้องการจะผลักออกจากตัว อยากทำลาย อยากฆ่า

2.3 โมหะ คือ ความหลง เป็นกิเลสที่ขายตัวมาจากอวิชานุสัย
โดยท่านพุทธทาสได้อธิบายเอาไว้ว่า
“ เมื่อยังไม่แน่ใจว่าจะเป็นบวกหรือลบ มันก็โง่สงสัยอยู่นั่น
ขวนขวายอยู่ด้วยความสงสัยนั่น มัวเมาในสิ่งที่ไม่รู้จัก ”


3. กิเลสอย่างหยาบ (วีติกกมกิเลส)
เป็นกิเลสที่กระฉอกออกมาเพราะเราคุมไม่อยู่
จนแสดงพฤติกรรมออกมา ส่งผลให้ทำให้พูดในทางที่ผิด
โดยพระพุทธเจ้าทางบัญญัติศีล เพื่อป้องกันกิเลสระดับนี้เอาไว้
กิเลสระดับนี้ประกอบด้วย 3 ประเภท คือ

3.1 อภิชฌา คือ ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขาจนคุมไม่อยู่

3.2 พยาบาท คือ ความปองร้าย
เป็นความขุ่นแค้นจนคุมไม่อยู่อาจทำร้ายหรือเข่นฆ่าผู้อื่น

3.3 มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด
เช่น บาปไม่มี บุญไม่มี ผลกรรมไม่มี ชาติหน้าไม่มี
นรกไม่มี สวรรค์ไม่มี เมื่อมิจฉาทิฏฐิเกิดขึ้นทำให้ผิดศีลทุกข้อ

สรุปเป็นตารางได้ก็คือ

รูปภาพ

จากที่อธิบายมา จะเห็นได้ว่า ความโกรธ มีเชื้ออยู่ในใจของเรา
มันกิเลสที่นอนเนื่องอยู่เงียบๆ
แล้วมันจะปรากฏตัวออกมา
ก็ต่อเมื่อมันถูกกวนให้ขุ่นด้วยอะไรก็ตามที่เราไม่พึงพอใจ
เช่น มีคนมาเดินชนเรา คนขับรถตัดหน้าเรา
เราเดินไปเจอแฟนของเราควงกับกิ๊กอีกคนอยู่
เราถูกนายเรียกไปตำหนิ เราถูกเพื่อนนินทาว่าร้าย
เราถูกคนที่ทำงานส่งผลงานตัดหน้า
คนที่เราเกลียดได้ดีแต่เรากลับไม่เป็นอย่างนั้น
หรือคนที่เรารักไปช่วยคนที่เราไม่ชอบขี้หน้า
.... มันมีร้อยล้านเหตุผลสำหรับความโกรธ
ความหมั่นไส้ ความไม่พึงพอใจ ความเกลียด ความอาฆาต

:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2008, 09:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


2 ทราบหรือไม่ว่าสาเหตุของความโกรธมีอะไรบ้าง?

จากที่อธิบายมา จะเห็นได้ว่า ความโกรธ มีเชื้ออยู่ในใจของเรา
มันกิเลสที่นอนเนื่องอยู่เงียบๆ
แล้วมันจะปรากฏตัวออกมาก็ต่อเมื่อมันถูกกวนให้ขุ่น
ด้วยอะไรก็ตามที่เราไม่พึงพอใจ
เช่น มีคนมาเดินชนเรา คนขับรถตัดหน้าเรา
เราเดินไปเจอแฟนของเราควงกับกิ๊กอีกคนอยู่
เราถูกนายเรียกไปตำหนิ เราถูกเพื่อนนินทาว่าร้าย
เราถูกคนที่ทำงานส่งผลงานตัดหน้า
คนที่เราเกลียดได้ดีแต่เรากลับไม่เป็นอย่างนั้น
หรือคนที่เรารักไปช่วยคนที่เราไม่ชอบขี้หน้า
.... มันมีร้อยล้านเหตุผลสำหรับความโกรธ
ความหมั่นไส้ ความไม่พึงพอใจ ความเกลียด ความอาฆาต

พุทธศาสนาได้สรุปรวมสาเหตุของความโกรธ
เอาไว้ 10 ประการ ใน อาฆาตวัตถุสูตร คือ

1. เขาเคยทำความเสียหายให้แก่เรา

2. เขากำลังทำความเสียหายให้แก่เรา

3. เขาจะทำความเสียหายให้แก่เรา

4. เขาเคยทำความเสียหายให้แก่คนที่เรารัก

5. เขากำลังทำความเสียหายให้แก่คนที่เรารัก

6. เขากำลังจะทำความเสียหายให้แก่คนที่เรารัก

7. เขาเคยช่วยเหลือคนที่เราชัง

8. เขากำลังช่วยเหลือคนที่เราชัง

9. เขาจะช่วยเหลือคนที่เราชัง

10. โกรธ โดยไร้สาเหตุ โกรธในฐานะที่ไม่สมควร
แม้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิตเช่น จู่ๆ ก็หมั่นไส้คนที่ไม่รู้จัก
หรือโมโหสิ่งของเครื่องใช้ที่ไม่ได้ดั่งใจ
อาทิ ปากกาเขียนไม่ค่อยออก โกรธจนขว้างปาทิ้ง เป็นต้น


ลองพิจารณาดูนะคะ ว่าเราโกรธใคร หรืออะไรสักอย่าง
เราโกรธด้วยเรื่องอะไร แล้วโกรธวันละกี่ครั้ง ?

:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2008, 09:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


3 คุณเป็นคนมักโกรธจำพวกไหน?

ทีนี้มาดูลักษณะของความโกรธบ้างคะ
ลองสำรวจตัวเองดูว่า เวลาตัวเองโกรธ เราเป็นอย่างไร?
ก็ในพระไตรปิฎก “ อาสีวิสสูตร ”
ท่านได้เปรียบบุคคลไว้เหมือนงูพิษ 4 จำพวก ด้วยกัน
เราลองมาดูกันค่ะ

1. บุคคลที่โกรธบ่อยๆ แต่โกรธไม่นาน
ท่านเปรียบไว้ว่าเหมือนงูที่พิษแล่นแต่พิษไม่ร้าย
ก็คือ เป็นจำพวกงูที่มีพิษแหละค่ะ แต่พิษไม่ร้ายมาก


2. บุคคลที่ไม่ค่อยโกรธ แต่ลองถ้าได้โกรธละก็นาน
ท่านเปรียบไว้ว่าเหมือนงูพิษที่มีร้าย พิษไม่แล่น
ก็คือ จำพวกงูที่พิษแรง แต่พิษแล่นช้าหน่อย
(เวลาถูกงูพวกนี้กัดก็ตายช้าหน่อยไงคะ)


3. บุคคลที่โกรธบ่อย แล้วก็โกรธนาน
ท่านเปรียบไว้ว่า เหมือนงูพิษที่มีพิษแล่นด้วยพิษร้าย
ก็คือ พิษแล่นเช้าร่างกายฉิวเลยแถมเป็นพิษที่มีฤทธิ์ร้ายแรง
ก็ประเภทที่กัดปุ๊บตายปั๊บนั่นแหละค่ะ


4. บุคคลที่ไม่ค่อยโกรธแล้วก็โกรธไม่นาน
ท่านเปรียบไว้ว่าเหมือนงูพิษที่พิษไม่แล่นไม่ร้าย
ก็จะพวกงูเขียวไงคะ


คนเราก็มีความโกรธกันทุกคนล่ะค่ะ
ท่านเปรียบคนเหมือนดั่งงูและความโกรธ
นั่นเหมือนดั่งพิษที่มีลักษณะแตกต่างกันไป
แต่ไม่ว่าอย่างไร
มันก็เป็นพิษที่สร้างความเจ็บปวดให้ทั้งแก่เราที่เป็นผู้โกรธ
และสร้างความเสียหายให้แก่ผู้ที่ถูกเราโกรธทั้งสิ้น
เราพยายามข่มมันไว้ ไม่ไปพ่นพิษใส่คนอื่นไม่ดีกว่าหรือคะ ?


:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2008, 09:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


4 แล้วโทษของความโกรธมีอะไรบ้าง ?

แต่ถ้าหากเรายังพึงพอใจที่จะโกรธต่อไป จะโมโหต่อไป
เราก็ลองมีดูถึงโทษของความโกรธดูบ้างค่ะ

พระพุทธศาสนาเปรียบความโกรธเหมือนลูกศรที่ทิ่มแทงใจ
และก็เปรียบเหมือนไฟที่เผาไหม้เราอยู่

ในโกธนาสูตรได้บรรยายถึงโทษของความโกรธไว้ คือ

1. คนโกรธมีผิวพรรณทราม

2. ย่อมนอนเป็นทุกข์

3. ถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว
กลับปฏิบัติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์

4. ทำปาณาติบาตด้วยกายและวาจา

5. ย่อมถึงความเสื่อมทรัพย์

6. ผู้มัวเมาเพราะความโกรธ
ย่อมถึงความไม่มียศ ญาติมิตร และสหาย
ย่อมเว้นคนโกรธเสียห่างไกล

7. คนผู้ โกรธย่อมไม่รู้จักความเจริญ

8. ทำจิตให้กำเริบภัยที่เกิดมาจากภายในนั่น (สุขภาพจิตเสีย)

9. คนโกรธย่อมไม่รู้อรรถ ไม่เห็นธรรม

10. ความ โกรธย่อมครอบงำนรชนในขณะใด
ความมืดตื้อย่อมมีไม่ขณะนั้น
คนผู้โกรธย่อมก่อกรรมที่ทำได้ยากเหมือนทำได้ง่าย
ภายหลังเมื่อหายโกรธแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้

11. ความโกรธเกิดขึ้น คนนั้นไม่มีหิริ
ไม่มีโอตตัปปปะ และไม่มีความเคารพ

12. คนที่ถูกความโกรธครอบงำ
ย่อมไม่มีความสว่างแม้แต่น้อยเลย

13. คน โกรธฆ่าบิดาก็ได้ ฆ่ามารดาของตนก็ได้
ฆ่าพระขีณาสพก็ได้ ฆ่าปุถุชนก็ได้
ลูกที่มารดาเลี้ยงไว้จนได้ลืมตาดูโลกนี้
ลูกเช่นนั้นกิเลสหยาบช้า
โกรธขึ้นมาย่อมฆ่าแม้มารดานั้นผู้ ให้ชีวิตความเป็นอยู่ได้

14. คน โกรธหมกมุ่นในรูปต่างๆ
ย่อมฆ่าตัวเองได้เพราะเหตุต่างๆ ย่อมฆ่าตัวเองด้วยดาบบ้าง
กินยาพิษบ้าง เอาเชือกผูกคอตายบ้าง โดดเขาตายบ้าง
คนเหล่านั้นเมื่อกระทำกรรมอันมีแต่ความเสื่อม
และทำลายตนก็ไม่รู้สึกความเสื่อม เกิดแต่โกรธ


สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้
ท่านว่าเป็น “ บ่วงของมัจจุราช ” และแนะนำเอาไว้ว่า

“ บุคคลผู้มักโกรธมีการฝึกตน คือ ปัญญา ความเพียร
และสัมมาทิฏฐิ พึงตัดความโกรธนั้นขาดได้
บัณฑิตพึงตัดอกุศลธรรม แต่ละอย่างเสียให้ขาด
พึงศึกษาในธรรมเหมือนอย่างนั้น
เธอทั้งหลายปรารถนาอยู่ว่า ขอความเป็นผู้ปราศจากความโกรธ
ไม่มีความคับแค้นใจ ปราศจากความโลภ ไม่มีความริษยา
ฝึกฝนตนแล้ว ละความโกรธได้ เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จักปรินิพพาน ”


แน่นอนค่ะข้อแนะนำ ข้างต้นนี้
เราไปหาซื้อไม่ได้จากทะเล ภูเขา โรงหนัง ตลาด
หรือห้างสรรพสินค้า มันหาซื้อไม่ได้
... แต่มันอยู่กับเราอยู่แล้ว... เพียงแค่เราฝึกตนเท่านั้นเอง

:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2008, 09:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


5 แล้วคนเยือกเย็นจริงๆ เป็นอย่างไร?

แล้วคนเยือกเย็นจริงๆ เป็นอย่างไร?
เรื่องนี้มีกล่าวไว้ใน กกจูปมสูตร
โดยพระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงเรื่องของนางเวเทหิกาไว้ว่า...


แม่บ้านคนหนึ่งชื่อว่า เวเทหิกา
ชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วว่าเป็นคนเสงี่ยม เจียมตน เยือกเย็น
นางเวเทหิกามีทาสีชื่อกาลี เป็นคนขยัน
ไม่เกียจคร้าน จัดการงานดี
ต่อมานางกาลีสงสัยว่าที่ชื่อเสียงของนางเวเทหิกาดี
เพราะไม่ทำความโกรธที่มีอยู่ภายในให้ปรากฏ?
หรือไม่มีความโกรธอยู่เลย?
หรือไม่ใช่ไม่มีความโกรธ
แต่เพราะว่านางกาลีจัดการงานทั้งหลายเรียบร้อยดีต่างหาก
ว่าแล้วกาลีก็ทดสอบเจ้านายตนเอง
วันรุ่งขึ้นนางกาลีทาสี ก็แสร้งตื่นสาย
ฝ่ายแม่บ้านเวเทหิกา ก็ได้ตวาดนางกาลีขึ้นว่า
“ เฮ้ย อีคนใช้กาลี ”
นางกาลีจึงขานรับว่า “ อะไรเจ้าข้า ”

เว. เฮ้ย ทำไมเองจึงลุกจนสาย.

กา. ไม่เป็นอะไรดอก เจ้าค่ะแม่นาย

นางจึงกล่าวอีกว่า “ อีคนชั่วร้าย ก็เมื่อไม่เป็นอะไร
ทำไมเองจึงลุกขึ้นจนสาย” แล้วโกรธ ขัดใจ หน้านิ่วคิ้วขมวด

นางกาลีทาสีจึงคิดว่า นายหญิงของเรา
ไม่ทำความโกรธที่มีอยู่ในภายในให้ปรากฏเท่านั้น
ไม่ใช่ไม่มีความโกรธ และที่ไม่ทำความโกรธที่มีอยู่ในภายในให้ปรากฏ
ก็เพราะเราจัดการงานทั้งหลายเรียบร้อยดี
แล้วกาลีก็คิดทดสอบนายหญิงให้ยิ่งขึ้นไป

ถัดจากวันนั้นมา นางกาลีทาสีจึงลุกขึ้นสายกว่านั้นอีก
แม่บ้านเวเทหิกาก็ตวาดนางกาลีทาสีอีกว่า “ เฮ้ย อีกาลี ”

กา. อะไร เจ้าขาแม่นาย.

เว. ทำไมเองจึงนอนตื่นสาย.

กา. ไม่เป็นอะไรดอก เจ้าค่ะ.

นางจึงกล่าวอีกว่า “ เฮ้ย! อีตัวร้าย ก็เมื่อไม่เป็นอะไร
ทำไมเองจึงนอนตื่นสายเล่า ”
แล้ว โกรธ ขัดใจ ก็แผดเสียงวาจาที่ขัดใจ
วันต่อมานางทาสีก็ทดลองยิ่งขึ้นไปอีก

วันต่อมา นางกาลีลุกขึ้นสายกว่าทุกวัน
แม่บ้านเวเทหิกาผู้เป็นนายก็ร้องด่ากราด โกรธจัด
จึงคว้าลิ่มประตูปาศีรษะ ด้วยหมายจะทำศีรษะทาสีให้แตก
นางกาลีศรีษะแตกเลือดไหลโทรมกาย
จึงเที่ยวโพนทะนาแก่คนบ้านใกล้เคียงว่า
“ แม่พ่อทั้งหลาย เชิญดูการกระทำของคนเสงี่ยม เจียมตัว
เยือกเย็นเอาเถิด ทำไมจึงทำแก่ทาสีคนเดียวอย่างนี้เล่า
เพราะโกรธว่านอนตื่นสาย จึงคว้าลิ่มประตูปาเอาศรีษะ
ด้วยหมายจะทำลายหัวข้า ”
แต่นั้นมา เกียรติศัพท์อันชั่วของแม่บ้านเวเทหิกา
ก็ขจรไปว่าแม่บ้านเวเทหิกา
เป็นคนดู ร้าย ไม่เจียมตัว ไม่เยือกเย็น

พระสูตรนี้ ท่านสอนไว้ว่า

คนที่เยือกเย็นจริงๆ นั้น ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด
คือทั้งไม่มีอะไรมากระทบ หรือเมื่อมีสิ่งไม่พอใจมากระทบเข้า
ก็จะสามารถคงความเยือกเย็นนั้นไว้ได้

ดังคำที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า...

ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น เป็นคนสงบเสงี่ยมจัด
เป็นคนเจียมตัวจัด เป็นคนเยือกเย็นจัด
ได้ก็เพียงชั่วเวลาที่ยังไม่ได้กระทบถ้อยคำ
อันไม่เป็นที่พอใจเท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดเธอกระทบถอยคำอันไม่เป็นที่พอใจเข้า
ก็ยังเป็นคนสงบเสงี่ยม เจียมตัว เยือกเย็นอยู่ได้
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้นแหละควรทราบว่า
เธอเป็นคนสงบเสงี่ยมเป็นคนเจียมตัว เป็นคนเยือกเย็นจริง


:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2008, 10:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


6 แล้วเราจะระงับความโกรธของเราได้อย่างไร ?

ในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท
อธิบายเอาไว้ว่า “ เวรระงับไม่ได้ เพราะเข้าไปผูกโกรธ 4 ประการ ”

1. คนโน้นได้ด่าเรา

2. คนโน้นได้ตีเรา

3. คนโน้นได้ชนะเรา

4. คนโน้นได้ขโมยของๆเราไป


เราอาจจะไม่ยอมละความโกรธจากใครคนหนึ่ง
เพราะว่าสาเหตุใด สาเหตุหนึ่ง
แต่การที่เราผูกโกรธนั้นไว้กับใจ
ก็เปรียบเหมือนดั่งธนูที่คอยทิ่มแทงใจเราไปเรื่อย
คิดแต่จะคอยจองเวร คิดแต่อยากให้อีกฝ่ายเจ็บช้ำ
สรุปแล้วก็คือ อยากจะเอาชนะ(มัน)ให้ได้

แต่ทราบไหมคะ? การเอาชนะที่แท้จริงคืออะไร ?
ในขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ได้พูดถึงเรื่องการชนะไว้ว่า


1. ผู้ใดชนะหมู่มนุษย์ตั้งพันครั้ง
ครั้งละพันคนในสงคราม ผู้นั้นมิใช่ผู้สูงสุดแห่งชนะในสงคราม

2. ผู้ใดชนะตนเองได้เพียงหนเดียว
ผู้นั้นเป็นยอดแห่งผู้ชนะในสงคราม

และ

1. ตนเท่านั้นที่บุคคลชนะแล้วประเสริฐ

2. หมู่สัตว์นอกจากนี้ที่บุคคลชนะแล้ว ไม่ประเสริฐเลย

ก็ในเมื่อความโกรธทำให้เราร้อนใจ ไม่สบายใจ
เราก็ฆ่าความโกรธไปจากใจเราดีกว่าค่ะ
เพราะประโยชน์ของการฆ่าความโกรธนั้นคือ

1. ฆ่าความโกรธได้แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข

2. ฆ่าความโกรธได้แล้ว ย่อมไม่โศกเศร้า

ใน ปฐมอาฆาตวินยสูตรได้กล่าวถึง
ธรรมที่ใช้ในกรระงับความอาฆาตไว้ 5 ประการด้วยกันค่ะ
ถ้าเรากำลังมีความโกรธใครอยู่ ให้ลองนำไปใช้ดูนะคะ


1. พึงเจริญเมตตาในบุคคลนั้น

2. พึงเจริญกรุณาในบุคคลนั้น

3. พึง เจริญอุเบกขาในบุคคลนั้น
(หมายความว่า วางใจเป็นกลาง วางเฉย ไม่ยินดียินร้าย
เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้นโดยสมควรแก่เหตุ
และรู้ว่าพึงปฏิบัติต่อไปตามควรแก่เหตุนั้น )

4. ไม่นึกไม่ใส่ใจในบุคคลนั้น

5. นึกในใจว่า บุคคลนั้นเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน
ทำกรรมไว้ดีหรือชั่ว เขาเองจะได้รับผลของกรรมนั้นเอง


แล้ว เราเคยกันหรือเปล่าคะ ที่คนนั้นทำไม่ถูกใจเรา
เราถือโทษโกรธเคือง คนนี้พูดจาไม่เข้าหู เราก็หงุดหงิดรำคาญ
หรือบางคนไม่ได้ทำอะให้เราเขาก็พูดดี ทำดี
แต่เรากลับหมั่นไส้ ไม่ชอบขี้หน้า
อิจฉาในความดีหรือสิ่งดีดีที่เขามีอยู่
ถ้าเราเคยเป็นกันอย่างนี้ ในทุติยอาฆาตวินยสูตรก็ได้แนะนำไว้ว่า
คนเรานั้นไม่ว่าเขาจะดี จะชั่วเรา
ก็อย่าไปโกรธเขาเลย ให้มองส่วนดีของเขาที่เหลืออยู่

โดยท่านได้เปรียบบุคคลไว้เป็น 5 ประเภท
โดยแบ่งด้วยเรื่อง กาย วาจา ใจ ค่ะ


1. คนที่มีการกระทำไม่ดี ไม่บริสุทธิ์
(เช่น ยิงนกตกปลา เล่นการพนัน)
แต่มีความประพฤติทางวาจาที่ดี (เช่นไม่พูดจาส่อเสียด ไม่โกหก)
ถ้าเราโกรธคนเช่นนี้ ก็ไม่ต้องไปใส่ใจในส่วนที่ไม่ดีของเขา
ซึ่งก็คือการกระทำ แต่ให้ใส่ในในส่วนที่ดีๆ ของเขาก็คือวาจา


ท่านเปรียบตัวอย่าง
เหมือนกับเราไปเจอผ้าเก่าที่ถูกทิ้งอยู่กลางถนน
แล้วเหยียบให้มั่นด้วยเท้าซ้าย และคลี่ออกดูด้วยเท้าขวา
เห็นผ้าส่วนใดดีเหลืออยู่ก็หยิบเอามาใช้

2. คนที่มีการกระทำดี บริสุทธิ์
(เช่น เรียบร้อย ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย)
แต่มีความประพฤติทางวาจาที่ไม่ดี
(เช่น พูดจาส่อเสียด โกหก พูดคำหยาบคาย)
ถ้าเราโกรธคนเช่นนี้ ก็ไม่ต้องไปใส่ใจในส่วนที่ไม่ดีของเขา
ซึ่งก็คือส่วนของการพูดจา
แต่ให้ใส่ในในส่วนที่ดีๆ ของเขา ก็คือ การกระทำ


ท่านเปรียบตัวอย่างเหมือนกับเราเดินทางมาเหนื่อยๆ
แล้วเจอสระน้ำที่ถูกสาหร่าย ถูกแหนปกคลุมไว้
ก็ให้แหวกสาหร่ายและแหนเหล่านั้น
กอบน้ำดื่มแล้วเดินทางต่อไป
(ตัวสาหร่ายที่ปกคลุมอยู่ก็คือ วาจาที่ไม่ดี
แต่น้ำที่ยังดื่มได้นั้นหมายถึงประกระทำดีดีของเขาที่มีอยู่)

3. คนที่มีการกระทำที่ไม่ดี พูดจาก็ไม่ดี แต่จิตใจยังมีส่วนดี
ถ้าเราโกรธคนเช่นนี้ ท่านให้ไม่ต้องไปใส่ใจส่วนที่ไม่ดีเหล่านี้
แต่ให้ดูที่จิตใจที่เป็นส่วนดีนั้นแทน


ท่านเปรียบความดีที่เหลือเหมือนดั่งน้ำน้อยในรอยเท้าโค
และเราเป็นเหมือนคนเดินทางที่เหนื่อยล้า และกระหายน้ำ
เมื่อเจอน้ำน้อยนั้น จะกอบขึ้นมาดื่มก็ไม่ได้
เพราะจะทำให้น้ำขุ่น
สิ่งที่ควรทำก็คือ คุกเข่าก้มลงดื่มอย่างโค แล้วเดินทางต่อไป

4. คนที่มีการกระทำที่ไม่ดี พูดจาก็ไม่ดี และจิตใจก็ไม่ดี
ถ้าเราโกรธคนเช่นนี้ ท่านให้ไม่ต้องไปใส่ใจส่วนที่ไม่ดีเหล่านี้
แม้การกระทำทั้งทางกาย วาจา ใจ จะสีดำไปเสียหมด
แต่ให้ดูที่ความน่าสงสารของเขา ให้เห็นว่าเขาช่างเป็นคนน่าสงสาร


ท่านเปรียบเหมือนกับเราไปเจอคนไข้อนาถา ให้เมตาสงสาร
และกระทำต่อด้วยความกรุณาว่าเขากำลังมีทุกข์หนัก
และระงับความโกรธที่มีต่อคนเช่นนี้เสีย

5. คนที่มีการกระทำดี วาจาดี ใจก็ดี
ถ้าเราไปโกรธคนเช่นนี้ ท่านให้ใส่ในในส่วนที่ดีดีของเขา
ทั้งกาย วาจา ใจ ที่บริสุทธิ์นั้น


ท่านเปรียบเหมือนกับเราเดินทางมาด้วยความเหนื่อยล้า
และเจอสระที่มีน้ำใส มีน้ำอร่อยดี เย็นดี มีท่าน้ำเรียบ
มีที่นอนใต้ร่มไม้ มีดอกไม้นานพันธุ์ที่สวยงาม
ก็ให้แวะพักผ่อนในสถานที่นี้ แล้วก็เดินทางต่อไป
เพราะ “ การได้พบปะบุคคลผู้เป็นที่น่าเลื่อมใส
โดยประการทั้งปวงนั้น จิตย่อมเลื่อมใสไปด้วย ”


* เห็นไหมคะ? ไม่ว่าเขาจะมีส่วนดีเพียงนิด
ดีทั้งหมด หรือไม่ดีเอาเสียเลย เราก็อย่าไปโกรธแค้นเขาเลยค่ะ
เลือกมองส่วนที่ดีที่มีอยู่ของเขา
ละความโกรธที่มีต่อเขา จิตใจเราก็ย่อมสบาย
มองในทางกลับกันได้อีกว่า คนเราทุกคนไม่ว่าจะทำดีแค่ไหน
เราก็สามารถจะถูกคนอื่นเขาไม่พอใจ
เขาโกรธเราได้อยู่ดีค่ะ เรื่องอย่างนี้ มันเกิดขึ้นได้เสมอ
ถ้าเราไปโกรธตอบเสีย
ก็รังแต่จะมีความร้อนใจ ไม่สบายใจไปเปล่าๆ ค่ะ
ลองมองในส่วนดีที่หลงเหลืออยู่ของเขาดูนะคะ


:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2008, 10:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


7 เมื่อถูกเขาด่า ควรทำอย่างไร ?

คงมีไม่กี่คนหรอกใช่ไหมคะ
ที่จะไม่เคยว่ากล่าวด้วยวาจาที่ทำร้ายจิตใจเรา
แล้วเราควรจะทำอย่างไร คิดอย่างไร? เรื่องนี้มีตัวอย่างมาฝากกันค่ะ

1. เมื่อพระพุทธเจ้าถูกด่าเพราะความแค้น

เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงโกสัมพี
พระนางมาคันทิยา อัครมเหสีของพระเจ้าอุเทน
ผูกอาฆาตในพระพุทธเจ้า
เพราะบิดาเคยยกนางให้พระศาสดาแต่ถูกปฏิเสธ
ด้วยความแค้นที่ฝังใจ พระนางทรงจ้างพวกชาวเมือง
รวมทั้งทาสและกรรมกร และรับสั่งว่า
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จเข้ามาในเมือง จงด่าบริภาษให้เตลิดหนีไป

ครั้นเมื่อพระศาสดาเสด็จเข้ามาในเมือง
พวกชาวเมืองเหล่านั้น ได้ติดตามด่าพระศาสดาด้วยคำด่า
(ที่นิยมด่ากันในสมัยนั้น) ๑๐
(เจ้าเป็นโจร พาล บ้า อูฐ วัว ลา สัตว์นรก สัตว์ดิรัจฉาน
สุคติของเจ้าไม่มี เจ้าหวังได้ทุคติอย่างเดียว)

ท่านพระอานนท์ฟังคำนั้นแล้ว ได้กราบทูลพระพุทธเจ้า

อานนท์ " ชาวเมืองเหล่านี้ด่าว่าพวกเรา พวกเราควรไปที่อื่น "

พระพุทธเจ้า " ไปไหน อานนท์ "

อานนท์ " ไปเมืองอื่น "

พระพุทธเจ้า " เมื่อพวกชาวเมืองนั้นด่าอีก เราจักไปที่ไหนกันเล่า อานนท์ "

อานนท์ " ออกจากเมืองนั้น ไปเมืองอื่น "

พระพุทธเจ้า " อานนท์ การกระทำอย่างนี้ไม่ควร
เรื่องเกิดขึ้นในที่ใด เมื่อมันสงบในที่นั้นแล
จึงควรไปที่อื่นอานนท์ ก็พวกที่ด่าเป็นพวกไหนเล่า "

อานนท์ " พวกชาวเมืองตลอดจนทาสและกรรมกรพากันมาด่า "

พระพุทธเจ้า " อานนท์ เราเป็นเช่นกับช้างที่เข้าสู่สงคราม
การอดทนต่อลูกศรที่แล่นมาจาก ๔ ทิศ
เป็นภาระของช้างที่เข้าสู่สงคราม ฉันใด
การอดทนต่อถ้อยคำที่คนทุศีล (ไม่มีศีล)
เป็นอันมากกล่าวแล้ว เป็นภาระของเรา ฉันนั้น
เราจักอดกลั้นต่อคำล่วงเกิน ดังช้างศึกที่อดทนต่อลูกศร
เพราะคนเป็นอันมากเป็นผู้ทุศีล
บุคคลผู้อดกลั้นต่อคำล่วงเกินได้
ฝึกตนดีแล้ว เป็นผู้ประเสริฐในหมู่มนุษย์ "

หลังจากนั้น พวกปากรับจ้างซึ่งด่าจนเมื่อยปาก
ก็เกิดความเบื่อหน่าย เลิกด่าไปเอง
เรื่องก็สงบลงใน ๗ วัน


2. อาหารที่เขาให้ เราไม่รับ อาหารนั้นเป็นของใคร ? (อักโกสกสูตร)

ครั้งนั้น เมื่ออักโกสกภารทวาชพราหมณ์ทราบว่า
พราหมณ์ภารทวาชโคตรผู้เป็นพี่ชายได้บวชเป็นพระภิกษุ
ก็โกรธ ขัดใจ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
แล้วก็ด่าบริภาษพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวาจาอันหยาบคาย
เมื่อพราหมณ์ด่าว่าจบแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสถามว่า

พระพุทธเจ้า " ดูก่อนพราหมณ์ ญาติมิตรผู้เป็นแขกของท่าน
ย่อมมาเยี่ยมท่านบ้างไหม? "

อักโกสกภารทวาช " ย่อมมาบ้างเป็นบางคราว "

พระพุทธเจ้า " ท่านจัดของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่ม
ต้อนรับญาติมิตรผู้เป็นแขกของท่านบ้างไหม? "

อักโกสกภารทวาช " ย่อมจัดบ้างเป็นบางคราว "

พระพุทธเจ้า " ถ้าญาติมิตรผู้เป็นแขกของท่าน
ไม่รับของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มนั้นจะเป็นของใคร? "

อักโกสกภารทวาช " ของเคี้ยวของบริโภค
หรือของดื่มเหล่านั้นย่อมเป็นของข้าพเจ้า "

พระพุทธเจ้า " ข้อนี้ก็เช่นเดียวกัน ท่านด่าเราผู้ไม่ด่าอยู่
ท่านโกรธเราผู้ไม่โกรธอยู่ ท่านหมายมั่นเราผู้ไม่หมายมั่นอยู่
เราไม่รับเรื่องมีการด่าเป็นต้นของท่านนั้น
เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นก็เป็นของท่านผู้เดียว
ผู้ใดด่าตอบบุคคลผู้ด่าอยู่ โกรธตอบบุคคลผู้โกรธอยู่
หมายมั่นตอบบุคคลผู้หมายมั่นอยู่
ผู้นี้เรากล่าวว่าย่อมบริโภคด้วยกัน ย่อมกระทำตอบกัน
เรานั้นไม่บริโภคร่วม ไม่กระทำตอบด้วยท่านเป็นอันขาด
เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นก็เป็นของท่านผู้เดียว "

อักโกสกภารทวาช " คนทั้งหลายย่อมทราบว่า
พระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์
เมื่อเป็นพระอรหันต์แล้วทำไมพระสมณโคดมจึงยังโกรธอยู่เล่า "

พระพุทธเจ้า " ผู้ไม่โกรธฝึกฝนตนเองแล้ว
มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอ หลุดพ้นแล้ว
เพราะรู้ชอบ สงบ คงที่อยู่ ความโกรธจะมีมาแต่ที่ไหน
ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว
ผู้นั้นเป็นผู้ลามกกว่าเพราะการโกรธตอบนั้น
บุคคลไม่โกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว
ชื่อว่าชนะสงครามอันบุคคลชนะได้โดยยาก
ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติสงบเสียได้
ผู้นั้นชื่อว่าย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย
คือ แก่ตนและแก่ผู้อื่น เ
มื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์อยู่ทั้งสองฝ่ายชนทั้งหลาย
ผู้ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่าเป็นคนเขลา "

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว
อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ก็เกิดความเลื่อมใส
และขอบรรพชาอุปสมบท
อุปสมบทแล้วไม่นานท่านก็ได้เป็นพระอรหันต์

3. การรู้จักข่มใจของพระปุณณะ (ปุณโณวาทสูตร)


เย็นวันหนึ่ง พระปุณณะได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
ขอพระโอวาทย่อเพื่อนำไปปฏิบัติ
พระองค์ก็ตรัสสอนให้ละความยินดีในรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่ถูกต้องกาย) และธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจคิด)
จากนั้นตรัสถามพระปุณณะว่าจะไปอยู่ที่ไหน

ปุณณะ " ชนบทชื่อว่าสุนาปรันตะ "

พระพุทธเจ้า " ชาวสุนาปรันตะเป็นคนดุร้าย หยาบช้า
ถ้าเขาด่า เธอจะคิดอย่างไร? "

ปุณณะ " ยังดีที่เขาไม่ทุบตีด้วยฝ่ามือ "

พระพุทธเจ้า " ถ้าเขาทุบตีด้วยฝ่ามือ เธอจะคิดอย่างไร? "

ปุณณะ " ยังดีที่เขาไม่ขว้างด้วยก้อนดิน "

พระพุทธเจ้า " ถ้าเขาขว้างด้วยก้อนดิน เธอจะคิดอย่างไร? "

ปุณณะ " ยังดีที่เขาไม่ตีด้วยท่อนไม้ "

พระพุทธเจ้า " ถ้าเขาตีด้วยท่อนไม้ เธอจะคิดอย่างไร? "

ปุณณะ " ยังดีที่เขาไม่ตีด้วยอาวุธ "

พระพุทธเจ้า " ถ้าเขาตีด้วยอาวุธ เธอจะคิดอย่างไร? "

ปุณณะ " ยังดีที่เขาไม่ปลิดชีพเราเสียด้วยอาวุธอันมีคม "

พระพุทธเจ้า " ถ้าเขาปลิดชีพเธอเสียด้วยอาวุธอันมีคม
เธอจะคิดอย่างไร? "

ปุณณะ " มีบางคนต้องการฆ่าตัวตาย ต้องเที่ยวแสวงหาอาวุธอันมีคม
เราไม่ต้องแสวงหา ก็ได้อาวุธอันมีคมสำหรับปลิดชีพแล้ว "

เมื่อพระปุณณะตอบอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสสรรเสริญความรู้จักข่มใจของพระปุณณะ
หลังจากพระปุณณะไปอยู่ที่สุนาปรันตชนบทแล้ว
ก็สามารถทำให้ชาวสุนาปรันตะจำนวนหนึ่ง
กลับใจแสดงตนเป็นอุบาสกอุบาสิกา
ต่อมาท่านก็ได้เป็นพระอรหันต์ในพรรษานั้นเอง


:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2009, 23:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 มี.ค. 2009, 21:33
โพสต์: 10

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b18: ขออนุโมทนาเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์จริงๆค่ะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร