วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 19:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 60 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2009, 18:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
ทั้งอรรถะทั้งภาพประกอบ วิจิตรยิ่งนัก สาธุๆอนุโมทนาครับ

:b8: :b8: :b8: :b53: :b53: :b53:

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2009, 22:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 23:11
โพสต์: 1044

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาบุญด้วยครับ

ชอบทบทวน มงคล38 ประการครับ

ภาพประกอบกระทู้สวยมากครับ

.....................................................
ตักบาตรทุกวัน....ได้บุญทุกวัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2009, 22:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

นี้แหละครับ

เป็นมงคลที่สูงที่สุด

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 01:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 20:12
โพสต์: 791

แนวปฏิบัติ: พุทโธและสัมมาอรหัง
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ใต้ร่มโพธิญาณ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ

.....................................................
ข้าพเจ้าขออาราธนาพระบารมี 30 ทัศ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จนิพพานไปแล้ว มากยิ่งกว่าเม็ดกรวดเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง 4 ด้วยเดชะพระพุทธานุภาพ พระธรรมมานุภาพ พระสังฆานุภาพ พระบารมีพระโพธิสัตว์ พระปัจเจกโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายและพระบารมีขององค์พระสมณะโคดมบรมครู ขอได้ส่งพลังมายังตัวข้าพเจ้า จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหายจากโรคภัยไข้เจ็บและสรรพเคราะห์ทั้งหลายในกายของข้าพเจ้า จงหายไปสิ้นทั้งหมดขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ชนะต่ออุปสรรคและมารทั้งหลาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
สามีให้กำลังใจภรรยายามไม่สบาย

รูปภาพ
ภรรยาดูแลเอาใจใส่งานบ้านงานเรือน
............................................................



มงคลที่ ๑๓ สงเคราะห์ภรรยา (สามี)

“ในการเคี้ยวอาหาร ถ้าลิ้นกับฟันทำงานไม่ประสานกัน
ก็มีหวังขบลิ้นตนเองต้องเจ็บปวดจนน้ำตาร่วง
เช่นกัน ในชีวิตการครองเรือน
ถ้าสามีภรรยาไม่รู้จักสงเคราะห์กันและกัน ไม่มีความเข้าใจกัน
นอกจากจะไม่มีความก้าวหน้าในชีวิตแล้ว
ทั้งสองฝ่ายก็มีหวังช้ำใจจนน้ำตาร่วงได้เหมือนกัน”


ค ว า ม ห ม า ย ข อ ง ส า มี - ภ ร ร ย า

สามี แปลว่า ผู้เลี้ยง; ผัว

ภรรยา แปลว่า ผู้ควรเลี้ยง; เมีย

คำทั้งสองนี้ เป็นคำที่แฝงความหมายอยู่ในตัว และเป็นคำคู่กัน ผู้ชายที่ได้ชื่อว่าสามีก็เพราะเลี้ยงดูภรรยา ผู้หญิงที่จะได้ชื่อว่าภรรยา ก็เพราะทำตัวเป็นคนควรเลี้ยง

ป ร ะ เ ภ ท ข อ ง ภ ร ร ย า

ภรรยาทั้งหลายในโลกนี้ แบ่งได้เป็น ๗ ประเภท คือ

๑. วธกาภริยา ภรรยาเสมอด้วยเพชฌฆาต คือภรรยาที่มีใจคิดล้างผลาญชีวิตสามี พยายามฆ่าสามี ยินดีในชายอื่น ตบตี แช่งด่าสามี

๒. โจรีภริยา ภรรยาเสมอด้วยโจร คือภรรยาที่ชอบล้างผลาญทรัพย์สามี ใช้ทรัพย์ไม่เป็นบ้าง ยักยอกทรัพย์เพื่อความสุขส่วนตัวบ้าง สร้างหนี้สิน ให้ตามใช้บ้าง

๓. อัยยาภริยา ภรรยาเสมอด้วยนาย คือภรรยาที่ชอบล้างผลาญศักดิ์-ศรีสามี ไม่สนใจช่วยการงาน เกียจคร้าน กินมาก ปากร้าย กล่าวคำหยาบ ชอบข่มขี่สามีซึ่งขยันขันแข็ง เหมือนเจ้านายข่มขี้ข้า ภูมิใจที่ข่มสามีได้

๔. มาตาภริยา ภรรยาเสมอด้วยแม่ คือภรรยาที่มีความรัก เมตตาสามีไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนมารดารักบุตร เช่น สามีจะตกต่ำหมดบุญวาสนา จะป่วยจะพิการตลอดชีวิตก็ไม่ทอดทิ้ง ไม่พูด ไม่ทำให้สะเทือนใจ แม้ตายจากไปตั้งแต่ตนยังสาวก็ไม่ยอมมีสามีใหม่

๕. ภคินีภริยา ภรรยาเสมอด้วยน้องสาว คือภรรยาที่เคารพสามี มีความรักยั่งยืน แต่มีขัดใจกันบ้าง ทั้งซน ทั้งงอน ทั้งขี้ยั่ว ทั้งขี้แย ต้องทั้งขู่ทั้งปลอบ ประเดี๋ยวจะเที่ยว ประเดี๋ยวจะกิน จะแต่งตัว แต่ก็ซื่อสัตย์ต่อสามี

๖. สขีภริยา ภรรยาเสมอด้วยเพื่อน คือภรรยาที่มีรสนิยม มีความชอบเหมือนสามี ถูกคอกัน เป็นคนมีศีลธรรม มีความประพฤติดี แต่อาจมีความทะนงตัวโดยถือว่าเสมอกัน หากฝ่ายตรงข้ามขาดเหตุผลก็ไม่ยอมกันก็เป็นได้

๗. ทาสีภริยา ภรรยาเสมอด้วยคนใช้ คือภรรยาที่ทำตัวเหมือนคนใช้ ถึงสามีจะเฆี่ยนตี ดุด่า ขู่ตะคอก ก็ไม่คิดพิโรธโกรธตอบสามี อดทนได้ อยู่ในอำนาจสามี

จะดูว่าใครเป็นสามี-ภรรยาชนิดไหน ต้องดูหลังจากแต่งงานแล้วสัก ระยะหนึ่งจึงจะชัด การแต่งงานมีอยู่ ๒ ระยะ คือ

- ระยะแต่ง คือก่อนเป็นสามีภรรยากัน ต่างคนต่างแต่ง ทั้งแต่งตัว แต่งท่าทาง อวดคุณสมบัติให้อีกฝ่ายหนึ่งเห็น

- ระยะงาน คือหลังจากเป็นสามีภรรยากันแล้ว ต่างคนต่างต้องทำงานตามหน้าที่ ใครมีข้อดีข้อเสีย มีความรู้ความสามารถ มีความประพฤติอย่างไรก็จะปรากฏชัดออกมา

คุ ณ ส ม บั ติ ข อ ง คู่ ส ร้ า ง คู่ ส ม

พื้นฐานอันมั่นคงที่จะทำให้สามีภรรยาครองชีวิตกันยืนยาว มีความสุข คือคู่สามีภรรยาต้องมี สมชีวิธรรม ได้แก่

๑. สมสัทธา มีศรัทธาเสมอกัน ได้แก่ มีหลักการ มีความเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา มีเป้าหมายชีวิตเหมือนกัน

๒. สมสีลา มีศีลเสมอกัน ได้แก่ ความประพฤติศีลธรรมจรรยา กิริยามารยาทอบรมมาดีเสมอกัน

๓. สมจาคา มีจาคะเสมอกัน ได้แก่ มีนิสัยเสียสละชอบช่วยเหลือไม่เห็นแก่ตัว ใจกว้างเสมอกัน

๔. สมปัญญา มีปัญญาเสมอกัน ได้แก่ มีเหตุผล มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ดื้อด้านดันทุรัง เข้าใจกัน เห็นอกเห็นใจกัน พูดกันรู้เรื่อง

วิ ธี ทำ ใ ห้ ค ว า ม รั ก ยั่ ง ยื น

การเป็นสามีภรรยากัน เป็นเรื่องที่จะว่ายากก็เหมือนง่าย แต่ครั้นจะว่าง่ายก็เหมือนยาก เพราะเพียงแต่เราตั้งคำถามว่า ทำอย่างไรสามีภรรยา จึงจะมีความรักยั่งยืน อยู่กินกันราบรื่นเพียงประเด็นเดียว แล้วลองเที่ยวหาคำตอบดูเถอะ ถามสิบคนก็ตอบสิบอย่าง บ้างก็ว่าเกี่ยวกับดวงชะตาคู่ธาตุ ต้องวางฤกษ์ วางลัคน์ให้เหมาะๆ บ้างก็ว่าเป็นเรื่องของพรหมลิขิต ที่หัวสมัยใหม่หน่อยก็ว่า สำคัญที่แหวนหมั้นขันหมากเงินทุน ให้มากๆ เข้าไว้ ความสุขในชีวิตสมรสจะมีเอง

แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรื่องมงคลสมรสไว้สั้นๆ เพียงคำเดียวว่า สังคหะ แปลว่า การสงเคราะห์กัน และให้ปฏิบัติตามหลักสังคหวัตถุ ๔ เพื่อเป็นการยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน ดังนี้

๑. ทาน การให้ปันแก่กัน คนเราถ้ารักที่จะอยู่ด้วยกันต้องปันกันกินปันกันใช้ หามาได้แล้ว ควรรวมกันไว้เป็นกองกลาง แล้วจึงแบ่งกันใช้ หากไม่เอามารวมกัน อาจเกิดการระแวงกันได้ ที่ใดที่ปราศจากการให้ ที่นั่นย่อมแห้งแล้ง เหมือนทะเลทราย การปันกันนี้ รวมทั้งการปันทุกข์กันในครอบครัวด้วย เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีความทุกข์ มีปัญหา ก็ควรนำมาปรึกษากัน อีกฝ่ายก็ต้องรู้จักรับฟังและปลุกปลอบให้กำลังใจ

๒. ปิยวาจา พูดกันด้วยวาจาไพเราะ แม้การตักเตือนกันก็ต้องระมัด ระวังคำพูด ถ้าถือเป็นกันเองมากเกินไป อาจจะเกิดทิฏฐิ ทำให้ครอบครัวไม่สงบสุข โดยถือหลักว่า ก่อนแต่งงานเคยพูดไพเราะอย่างไร หลังแต่งงานก็พูด ให้ไพเราะอย่างนั้น

๓. อัตถจริยา ฝึกฝนตนให้เป็นคนมีประโยชน์ คือมีความรู้ความสามารถ แล้วนำความรู้ความสามารถที่มีอยู่นั้น มาช่วยเหลือกัน ประพฤติตนเป็นประโยชน์ต่อกันในทุกด้าน เมื่อรู้ว่าอะไรดีหรือไม่ดี ควรหรือไม่ควร ก็นำมาเล่าสู่กันฟัง พยายามศึกษาหาความรู้ทางธรรม เอาใจมาเกาะกับธรรมให้มาก สามีภรรยานั้น เมื่อทะเลาะกันมักจะโยนความผิดให้อีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งแท้จริงแล้ว ย่อมมีความผิดด้วยกันทั้งคู่ อย่างน้อยก็ผิดที่ไม่หาวิธีที่เหมาะสม แนะนำตักเตือนกัน ปล่อยให้อีกฝ่ายหนึ่งทำความผิด

๔. สมานัตตตา วางตัวให้เหมาะสมกับที่ตัวเป็น เป็นพ่อบ้านก็ทำตัว ให้สมกับเป็นพ่อบ้าน เป็นแม่บ้าน ก็ทำตัวให้สมกับเป็นแม่บ้าน ต่างก็วางตัวให้เหมาะสม กับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ทั้งในบ้านและนอกบ้าน ซึ่งข้อนี้จะประพฤติปฏิบัติให้ดี ต้องฝึกสมาธิให้ใจผ่องใสเป็นปกติ เพราะคนที่ใจผ่องใส จะรู้ว่าในภาวะเช่นนั้น ควรจะวางตนอย่างไร ไม่ระเริงโลก จนวางตนไม่เหมาะสม

โดยสรุป คือปฏิบัติตนตามหลักทาน การให้ปันสิ่งของ รักษาศีล เพื่อให้มีคำพูดที่ไพเราะ และเพื่ออุดข้อบกพร่องของตน จะได้เป็นคนมีประโยชน์ เจริญภาวนา คือการฟังธรรมและทำสมาธิ เพื่อให้ใจผ่องใสเกิดปัญญา จะได้วางตัวได้เหมาะสมกับที่ตัวเป็น

ห น้ า ที่ ข อ ง ส า มี ต่ อ ภ ร ร ย า

๑. ยกย่องให้เกียรติ คือยกย่องว่าเป็นภรรยา ไม่ปิดๆ บังๆ หากทำดี ก็ชมเชยด้วยใจจริง หากทำผิดก็เตือน แต่ไม่ตำหนิต่อหน้าสาธารณชน หรือคนในบ้าน เพราะจะเสียอำนาจการปกครอง สิ่งใดเป็นเรื่องส่วนตัว เช่น การเลี้ยงเพื่อน พบปะญาติมิตร ควรให้อิสระตามสมควร

๒. ไม่ดูหมิ่น ไม่เหยียดหยามว่าต่ำกว่าตน ไม่ดูถูกเรื่องตระกูล ทรัพย์ ความรู้ การแสดงความคิดเห็น ไม่กระทำเรื่องที่เกี่ยวกับครอบครัว โดยไม่ปรึกษาหารือ และห้ามทุบตีด่าทอเด็ดขาด

๓. ไม่นอกใจ ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับหญิงอื่นในฐานะเป็นภรรยาเหมือนกัน เพราะเป็นการดูหมิ่น ความเป็นหญิงของภรรยา ให้เอาใจเขามาใส่ใจเรา ภรรยาทุกคนจะปลื้มใจที่สุด ถ้าสามีรักและซื่อตรงต่อตนเพียงคนเดียว

๔. มอบความเป็นใหญ่ให้ คือมอบให้เป็นผู้จัดการภาระทางบ้าน ไม่เข้าไปก้าวก่ายในเรื่องการครัว การปกครองภายใน นอกจากเรื่องใหญ่ๆ ซึ่งภรรยาไม่อาจแก้ปัญหาได้

๕. ให้เครื่องแต่งตัว ขึ้นชื่อว่าผู้หญิงล้วนชอบแต่งตัว สนใจเรื่องสวยๆ งามๆ ถ้าได้เสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวสวยๆ งามๆ แล้วชื่นใจ ถึงจะโกรธเท่าโกรธ ถ้าได้เครื่องแต่งตัวถูกใจ ประเดี๋ยวก็หาย สามีก็ต้องตามใจบ้าง

ห น้ า ที่ ข อ ง ภ ร ร ย า ต่ อ ส า มี

๑. จัดการงานดี จัดบ้านให้สบายน่าอยู่ จัดอาหารให้ถูกปากและทันตามความต้องการ จัดเสื้อผ้าเครื่องใช้ ให้สะอาดอยู่เสมอ ดูแลลูกเต้าให้ความรักความอบอุ่น ให้ลูกเติบโตขึ้นมาด้วยสุขภาพแข็งแรงและเป็นคนดี

๒. สงเคราะห์ญาติข้างสามี ด้วยการเอื้อเฟื้อ กล่าววาจาไพเราะ ให้ความช่วยเหลือตามฐานะที่จะทำได้

๓. ไม่นอกใจ จงรักภักดี ซื่อสัตย์ต่อสามีเพียงผู้เดียว

๔. รักษาทรัพย์ให้ดี ไม่ฟุ่มเฟือย แต่ก็ไม่ตระหนี่ รู้จักใช้ทรัพย์ให้เป็น

๕. ขยันทำงาน ขยันขันแข็งทำงานบ้าน ไม่เอาแต่กิน นอน เที่ยว หรือเล่นการพนัน

ประเพณีแต่งงานของไทยเรา เวลาเจ้าบ่าวเจ้าสาวรับน้ำพุทธมนต์ มักจะ สวมมงคลแฝดไว้บนศีรษะ ดูคล้ายๆ กับยึดคนสองคนไว้ด้วยกัน ความมุ่งหมายนั้นคือ จะยึดคนทั้งสองไว้ไม่ให้แยกจากกัน นั่นเป็นการยึดผูกเพียงภายนอก ผิวเผิน ซึ่งช่วยอะไรไม่ได้จริง

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้ยึดเหมือนกัน แต่แทนที่จะสอนให้ยึดด้วยด้าย ทรงสอนให้ยึดเหนี่ยวน้ำใจกันไว้ ด้วยคุณธรรมที่เรียกว่า สังคหะ แทน การสงเคราะห์ที่ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติต่อกัน จะเป็นเงื่อนใจ ๒ วง วงหนึ่งคล้องไว้ในใจสามี อีกวงหนึ่งคล้องไว้ในใจภรรยา ถ้าทำได้ตามหลักธรรมนี้แล้ว ต่อให้มนุษย์หน้าไหนก็มาพรากไปจากกันไม่ได้ แม้แต่ความตายก็พรากได้เพียงร่างกาย ส่วนดวงใจนั้น ยังคงคล้องกันอยู่ชั่วนิรันดร์

ข้ อ เ ตื อ น ใ จ

มีข้อเตือนใจอยู่ว่า แม้บางคนตั้งใจแล้วว่าจะต้องยึดใจเอาไว้ ครั้นปฏิบัติจริงก็ไม่วายเขว พอสามีทำท่าจะหลงใหล นอกลู่นอกทาง กลับวิ่งไปหาหมอเสน่ห์ยาแฝด เสียเงินเสียทอง เสียเวลา แต่แล้วก็เหลว เพราะทิ้งบ้านทิ้งช่อง ไปเฝ้าหมอเสน่ห์ ข้าวปลาไม่รู้จักหุงหา ปล่อยให้บ้านรกเป็นเล้าไก่รังกา แทนที่จะคอยเอาใจสามี กลับไปกราบเท้าเอาใจหมอเสน่ห์ เพื่อจะมาแข็งข้อเอากับสามี สถานการณ์ก็ยิ่งเลวร้ายลงทุกที ที่ถูกควรปักใจให้มั่นในศีลในทาน ในการทำความดี ปฏิบัติหน้าที่ของเรา ไม่ยอมให้บกพร่อง แล้วทุกอย่างจะดีขึ้นเอง

โ อ ว า ท วั น แ ต่ ง ง า น

เป็นโอวาทปริศนาที่ธนัญชัยเศรษฐี ผู้เป็นบิดาของนางวิสาขาให้แก่นาง ในวันแต่งงาน มีทั้งหมด ๑๐ ข้อ ดังนี้

๑. ไฟในอย่านำออก หมายถึง ไม่นำเรื่องราวปัญหา ความร้อนใจต่างๆ ในครอบครัว ไปเปิดเผยแก่คนทั่วไปภายนอก

๒. ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง ไม่นำเรื่องราวปัญหาต่างๆ ภายนอกที่ร้อนใจเข้ามาในครอบครัว

๓. ให้แก่ผู้ให้ หมายถึง ผู้ใดที่เราให้ความช่วยเหลือ ให้หยิบยืมสิ่งของแล้ว เมื่อถึงกำหนด ก็นำมาส่งคืนตามเวลา เมื่อเรามีความจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือ หากไม่เกินความสามารถของเขา เขาก็ยินดีช่วยเหลืออย่างเต็มใจ บุคคลเช่นนี้ภายหลังถ้ามาขอความช่วยเหลือเราอีก ก็ให้ช่วย

๔. ไม่ให้แก่ผู้ที่ไม่ให้ หมายถึง ผู้ใดที่เราให้ความช่วยเหลือให้หยิบยืมสิ่งของแล้ว ไม่ส่งคืนตามกำหนดเวลา เมื่อเรามีเรื่องขอความช่วยเหลือ แม้ไม่เกินความสามารถของเขา และเป็นเรื่องถูกศีลธรรมเขาก็ไม่ยอมช่วย คนอย่างนี้ ภายหลังถ้ามาขอความช่วยเหลือเราอีก อย่าช่วย

๕. ให้ไม่ให้ก็ให้ หมายถึง ถ้าญาติพี่น้องเราที่ตกระกำลำบากมาขอความช่วยเหลือ แม้บางครั้ง ไม่ส่งของที่หยิบยืมตามเวลา ภายหลังเขามาขอความช่วยเหลืออีก ก็ให้ช่วย เพราะถึงอย่างไรก็เป็นญาติพี่น้องกัน

๖. กินให้เป็นสุข หมายถึง ให้จัดการเรื่องอาหารการกินในครอบครัวให้ดี ปรนนิบัติพ่อแม่ของสามี ในเรื่องอาหาร อย่าให้บกพร่อง ถ้าทำได้อย่างนี้ ตัวเราเอง เวลากินก็จะกินอย่างมีความสุข ไม่ต้องกังวล

๗. นั่งให้เป็นสุข หมายถึง รู้จักที่สูงที่ต่ำ เวลานั่งก็ไม่นั่งสูงกว่าพ่อแม่ของสามี จะได้นั่งอย่างมีความสุข ไม่ต้องกังวล ไม่ถูกตำหนิ

๘. นอนให้เป็นสุข หมายถึง ดูแลเรื่องที่หลับที่นอนให้ดี และยึดหลักตื่นก่อนนอนทีหลัง ก่อนนอนก็จัดการธุระการงาน ให้เรียบร้อยเสียก่อน จะได้นอนอย่างมีความสุข

๙. บูชาไฟ หมายถึง เวลาที่พ่อแม่ของสามีหรือตัวสามีเองกำลังโกรธ เปรียบเสมือนไฟกำลังลุก ถ้าดุด่าอะไรเรา ก็ให้นิ่งเสียอย่าไปต่อล้อต่อเถียงด้วย เพราะในช่วงเวลานั้น ถ้าเราไปเถียงเข้า เรื่องราวก็จะยิ่งลุกลามใหญ่โต ไม่มีประโยชน์ คอยหาโอกาสเมื่อท่านหายโกรธ แล้วจึงค่อยชี้แจงเหตุผลให้ฟัง อย่างนุ่มนวลจะดีกว่า

๑๐. บูชาเทวดา หมายถึง เวลาที่พ่อแม่ของสามี หรือตัวสามีเองทำความดีก็พยายามส่งเสริมสนับสนุน พูดให้กำลังใจให้ทำความดียิ่งๆ ขึ้นไป

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร ส ง เ ค ร า ะ ห์ ภ ร ร ย า (ส า มี)

๑. ทำให้ความรักยืนยง

๒. ทำให้สมานสามัคคีกัน

๓. ทำให้ครอบครัวมีความสงบสุข

๔. ทำให้ได้รับการยกย่องสรรเสริญ

๕. เป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง ฯลฯ

“ภรรยานั้นอยู่ใกล้ชิด หากไม่ผูกมิตร ชีวิตจะสั้น ภรรยานั้นอยู่ร่วมกัน หากคิดสร้างสรรค์ บ้านนั้นเจริญ”


จบมงคลที่ ๑๓ สงเคราะห์ภรรยา (สามี)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
คนสร้างบ้านให้สำเร็จลุล่วง

รูปภาพ
คนเล่นการพนัน คนเอาแต่นอน คนทำงานคั่งค้าง
............................................................



มงคลที่ ๑๔ ทำงานไม่คั่งค้าง

“ดินที่พอกหางหมู มีแต่จะเพิ่มมากขึ้นๆ
และถ่วงหมูให้กินอยู่หลับนอนไม่เป็นสุขยิ่งๆ ขึ้นไปฉันใด
การงานที่ปล่อยทิ้งไว้คั่งค้าง ก็มีแต่จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น
และถ่วงความเจริญก้าวหน้าทั้งแก่ตนเอง และหมู่คณะฉันนั้น
ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน
หากปล่อยการงานให้คั่งค้าง
ก็เท่ากับกำลังทำลายค่าของตนเอง”


เ ห ตุ ที่ ทำ ใ ห้ ง า น คั่ ง ค้ า ง

๑. ทำงานไม่ถูกกาล ยังไม่ถึงเวลาทำก็ใจร้อนด่วนไปทำ แต่พอถึงเวลาควรทำกลับไม่ทำ เช่น ตอนแดดออกมัวไปถูบ้าน พอฝนตกกลับไปซักเสื้อผ้า ตากเท่าไหร่ก็ไม่แห้ง หรือตอนเด็กไม่ยอมเรียนหนังสือ เที่ยวสำมะเลเทเมา พอแก่เฒ่าจะมาเรียนก็เรียนไม่ไหวแล้ว

๒. ทำงานไม่ถูกวิธี ทำผิดขั้นตอน ผิดลำดับ เช่น จะทำความสะอาดบ้าน ก็ไปกวาดพื้นก่อน แล้วกวาดเพดานทีหลัง ฝุ่นผงต่างๆ ก็ตกลงมาต้องกวาดพื้นใหม่อีก เป็นต้น

๓. ไม่ยอมทำงาน ชอบผัดวันประกันพรุ่ง หรือหาเหตุต่างๆ นานามาอ้าง เช่น รอฤกษ์รอยาม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าเราจะทำความดีเมื่อไร ฤกษ์ก็ดีเมื่อนั้น ไม่ต้องรอ ทำไปได้เลย ประโยชน์ย่อมเป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง

“ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนโง่ ผู้มัวรอฤกษ์ยามอยู่ ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง ดวงดาวจักทำอะไรได้” ขุ.ชา.เอก.๒๗/๔๙/๑๖

วิ ธี ทำ ง า น ใ ห้ เ ส ร็ จ

วิธีทำงานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้คือ อิทธิบาท ๔ ได้แก่

๑. ฉันทะ คือความรักงาน หรือ ความเต็มใจทำ

๒. วิริยะ คือความพากเพียร หรือ ความแข็งใจทำ

๓. จิตตะ คือความเอาใจใส่ หรือ ความตั้งใจทำ

๔. วิมังสา คือการพินิจพิเคราะห์ หรือ ความเข้าใจทำ

ฉันทะ คือความรักงาน จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเราเล็งเห็นผลดีของงานว่า ถ้าทำงานนี้แล้วจะได้อะไร เช่น เรียนหนังสือแล้วจะได้วิชาความรู้ไปประกอบอาชีพ เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เราก็จะเกิดความเต็มใจทำ

คนสั่งงานจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความพอใจให้แก่ผู้ทำงาน ควรจะให้เขารู้ด้วยว่า ทำแล้วจะเกิดผลดีอย่างไร หรือถ้าไม่ทำจะเสียผลทางไหน ผู้สั่งงานบางคนใช้อำนาจบาทใหญ่ บางทีสั่งพลางด่าพลาง ใช้ถ้อยคำดูหมิ่นเหยียดหยามไปพลาง เป็นการทำลายกำลังใจของผู้ทำ นับว่าทำผิดอย่างยิ่ง

วิริยะ คือความพากเพียร ความไม่ท้อถอย เป็นคุณธรรมทางใจ เรียกความรู้สึกนี้ว่า ความกล้า อยากจะรู้ว่ากล้าอย่างไร ต้องดูทางตรงข้ามเสียก่อน คือทางความเกียจคร้าน คนเกียจคร้านทุกคนและทุกครั้ง คือคนขลาด คนกลัว กลัวหนาว กลัวร้อน กลัวแดด กลัวฝน จะทำงานแต่ละครั้งเป็นต้องอ้างว่าหนาวจะตาย ร้อนจะตาย หิวจะตาย อิ่มจะตาย เหนื่อยจะตาย ง่วงจะตาย คนเกียจคร้านทุกคนตายวันละไม่รู้กี่ร้อยครั้ง

การเอาชนะคำขู่ของความเกียจคร้านเสียได้ ท่านเรียกว่า วิริยะ คือความเพียร หรือความกล้านั่นเอง แม้จะมีอุปสรรคเพียงใด แต่ก็จะมีความแข็งใจทำ และการจะมีความเพียรขึ้นมาได้ จำเป็นต้องละเว้นจากอบายมุข ให้ได้เสียก่อน

มีข้อน่าสังเกตสำหรับคนทำงานร่วมกันคือ จะต้องขยันด้วยกันทั้งหัวหน้าและลูกน้องจึงจะได้เรื่อง ยิ่งผู้เป็นหัวหน้ายิ่งสำคัญมาก ถ้าเป็นคนเกียจคร้าน คิดกินแรงผู้น้อยท่าเดียว คิดแต่ว่า "ให้แกวิดน้ำท่าข้าจะล่อน้ำแกง" ผู้น้อยก็มักขยันไปได้ไม่กี่น้ำ ประเดี๋ยวก็รามือกันหมด แต่ถ้าหัวหน้าเอาการเอางาน ก็ดึงผู้น้อยให้ขยันขันแข็งขึ้นด้วย

“ฐานะ ๕ อย่างคือ ความชอบนอน ความชอบคุย ความไม่หมั่น ความเกียจคร้าน และความโกรธง่าย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทางแห่งความเสื่อม เพราะคนถึงพร้อมด้วยฐานะ ๕ อย่างนั้น เป็นคฤหัสถ์ ก็ไม่ถึงความเจริญของคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต ก็ไม่ถึงความเจริญของบรรพชิต ย่อมเสียหายถ่ายเดียว ย่อมเสื่อมถ่ายเดียวแน่แท้” อรรถกถา ปราภวสูตร ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

จิตตะ คือความเอาใจใส่ หรือ ความตั้งใจทำ คนมีจิตตะเป็นคนไม่ปล่อยปละละเลยกับงานของตน คอยตรวจตรางานอยู่เสมอ

ปกติคนที่โตเป็นผู้ใหญ่รู้ผิดชอบแล้ว ที่จะเป็นคนเฉยเมยไม่ใส่ใจกับงานเลยมีไม่เท่าไร ส่วนใหญ่มักจะใส่ใจกับงานอยู่แล้ว เพราะธรรมชาติของใจคนชอบคิด ทำให้หยุดคิดสิยาก แต่เสียอยู่อย่างเดียวคือ ชอบคิดเจ้ากี้เจ้าการแต่เรื่องงานของคนอื่น คอยติ คอยสอด คอยแทรก คอยวิพากษ์วิจารณ์ ธุระของตัวกลับไม่คิดเสียนี่ เห็นคนอื่นใส่เสื้อขาดรูเท่าหัวเข็มหมุดก็ตำหนิติเตียนเขาเป็นเรื่องใหญ่ แต่ทีตัวเอง มุ้งขาดรูเท่ากำปั้นตั้งเดือน แล้วเมื่อไรจะเย็บล่ะ และที่เที่ยวไปสอดแทรกงานเขา แต่งานเราไม่ดูนั้น มันทำให้อะไรของเราดีขึ้นบ้าง เพราะฉะนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงสอนให้เราเป็นนักตรวจตรางาน คือให้มีจิตตะ แล้วก็ทรงให้โอวาทสำทับไว้ด้วยว่า

“ควรตรวจตรางานของตัวเอง ทั้งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ” ขุ.ธ.๒๕/๑๔/๒๑

วิมังสา คือความเข้าใจทำ สุดยอดของวิธีทำงานให้สำเร็จอยู่ในอิทธิบาทข้อสุดท้ายนี้ วิมังสา แปลว่า การพินิจพิเคราะห์ หมายความว่า ทำงานด้วยปัญญา ด้วยสมองคิด ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ คนเราแม้จะรักงานแค่ไหน บากบั่น ปานใด หรือเอาใจจดจ่ออยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าขาดการใช้ปัญญาพิจารณางานด้วยแล้ว ผลที่สุดงานก็คั่งค้างจนได้ เพราะแม้ว่าขั้นตอนการทำงานจะสำเร็จไปแล้ว แต่ผลงานก็ไม่เรียบร้อย ต้องทำกันใหม่ร่ำไป

อีกประการหนึ่ง คนทำงานที่ไม่ใช้ปัญญา ไปทำงานที่ไม่รู้จักเสร็จ จะปล้ำให้มันเสร็จ หนักเข้าตัวเองก็กลายเป็นทาสของงาน เข้าตำรา “เปรตจัดหัวจัดตีน” ตามเรื่องที่เล่าว่า เปรตตัวหนึ่ง ได้รับคำสั่งจากหัวหน้าเปรต ให้ไปเฝ้าศาลาข้างทาง เวลาคนนอนหลับเปรตก็ลงจากขื่อมาตรวจดูความเรียบร้อย ทีแรกก็เดินดูทางหัว จัดแนวศีรษะให้ได้ระดับเดียวกัน ให้เป็นระเบียบ ครั้นจัดทางศีรษะเสร็จก็วนไปตรวจทางเท้า เห็นเท้าไม่ได้ระดับก็ดึงลงมาให้เท่ากัน แล้วก็วนไปตรวจทางศีรษะอีก วนเวียนอยู่อย่างนี้ไม่มีวันเสร็จสิ้นได้เลย หาได้นึกไม่ว่า คนเขาตัวสูงก็มี เตี้ยก็มี ไม่เสมอกัน จัดจนตายก็ไม่เสร็จ คนที่ทำงานไม่ใช้ปัญญาจัดเป็นคนประเภท “เปรตจัดหัวจัดตีน” อย่างนี้ก็มี ถ้าใช้ปัญญาพิจารณาหน่อยเดียว ทำให้เสร็จเท่าที่มันจะเสร็จได้ใจก็สบาย

คนที่ทำงานด้วยปัญญานั้นจะต้อง

- ทำให้ถูกกาล ไม่ทำก่อนหรือหลังเวลาอันควร
- ทำให้ถูกลักษณะของงาน

สรุปวิธีการทำงานให้สำเร็จนั้น มีลักษณะล้วนขึ้นอยู่กับใจทั้งสิ้น คือเต็มใจทำ แข็งใจทำ ตั้งใจทำ และเข้าใจทำ วิธีการฝึกฝนใจที่ดีที่สุด ก็คือ การให้ทาน การรักษาศีล และการทำสมาธิเพื่อให้ใจผ่องใส ทำให้เกิด ปัญญาพิจารณาเห็นผลของงานได้ รู้และเข้าใจวิธีการทำงาน มีกำลังใจ และมีใจจดจ่ออยู่กับงาน ไม่วอกแวก

อุ ป ส ร ร ค ใ น ก า ร ทำ ง า น ใ ห้ เ ส ร็ จ

อุปสรรคใหญ่ในการทำงานให้เสร็จก็คือ อบายมุข ๖ ได้แก่

๑. ดื่มน้ำเมา

๒. เที่ยวกลางคืน

๓. ดูการละเล่นเป็นนิจ

๔. เล่นการพนัน

๕. คบคนชั่วเป็นมิตร

๖. เกียจคร้านในการทำงาน

อบาย แปลว่า ความเสื่อม ความฉิบหาย มุข แปลว่า ปาก, หน้า

อบายมุข จึงแปลว่า ปากทางแห่งความเสื่อม เนื่องจากมันเป็น ปากทาง ส่วนตัวความเสื่อมจริงๆ นั้นอยู่ ปลายทาง เมื่อมองเพียงผิวเผินเราจึงมักยังมองไม่เห็นความเสื่อม แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และท่านผู้รู้ทั้งหลายมองเห็น

ถ้าจะดูกันแต่ปากทางแล้ว ก็อาจเห็นเป็นความเจริญด้วยซ้ำ เหมือน...

ปากทางที่จะไปเข้าคุก ก็เป็นถนนราบเรียบ แต่ปลายทางเป็นคุกที่ทรมาน

ปากทางที่จะตกลงบ่อ ก็เป็นพื้นดินสะอาด แต่ก้นบ่อมีน้ำที่จะทำให้ผู้ตกลงไปจมหรือสำลักน้ำตาย

ปากทางที่จะตกลงเหว ก็เป็นป่าหญ้างามดี แต่ก้นเหวลึกมากจนทำให้คนที่ตกลงไปตายได้

เช่นกัน อบายมุขซึ่งเป็นปากทางแห่งความฉิบหายนี้ ดูเผินๆ ก็ไม่มีพิษสงอะไร เที่ยวกลางคืนก็สนุกดี เล่นการพนันก็เพลิดเพลินดี แต่ก็ทำให้ผู้ประพฤติทำการงานไม่สำเร็จ เสื่อมไปจากความเจริญก้าวหน้าและกุศลธรรม ทั้งหลาย ที่ถึงกับฉิบหายขายตัวไปแล้วก็มากต่อมาก อบายมุขจึงเป็นเสมือนหน้าตา สัญลักษณ์ของความเสื่อม บุคคลใดยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขก็รู้ได้ทันทีว่า ผู้นั้นมีความเสื่อมเกิดขึ้นแล้ว

เ รื่ อ ง ที่ น่ า รู้

คุณสมบัติของนายจ้างที่ดี

๑. จัดงานให้ลูกจ้างทำตามความเหมาะสม

๒. ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความสามารถ

๓. ให้สวัสดิการที่ดี

๔. มีอะไรได้พิเศษมา ก็แบ่งปันให้

๕. ให้มีวันหยุดพักผ่อนตามสมควร

คุณสมบัติของลูกจ้างที่ดี

๑. เริ่มทำงานก่อน

๒. เลิกงานทีหลัง

๓. เอาแต่ของที่นายให้

๔. ทำงานให้ดียิ่งขึ้น

๕. นำความดีของนายไปสรรเสริญ

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร ทำ ง า น ไ ม่ คั่ ง ค้ า ง

๑. ทำให้ฐานะของตน ครอบครัว ประเทศชาติดีขึ้น

๒. ทำให้ได้รับความสุข

๓. ทำให้พึ่งตัวเองได้

๔. ทำให้เป็นที่พึ่งของคนทั้งหลายได้

๕. ทำให้สามารถสร้างบุญกุศลอื่นๆ ได้ง่าย

๖. ทำให้เป็นผู้ไม่ประมาท

๗. ทำให้ป้องกันภัยในอบายภูมิได้

๘. ทำให้มีสุคติเป็นที่ไปเบื้องหน้า

๙. ทำให้เป็นนิสัยติดตัวไปข้ามภพข้ามชาติ

๑๐. ทำให้ได้รับการยกย่องสรรเสริญจากคนทั่วไป

“บุคคลใดไม่คำนึงถึงหนาวร้อน อดทนให้เหมือนหญ้า กระทำกิจที่ควรทำด้วยเรี่ยวแรงของลูกผู้ชาย บุคคลนั้นย่อมไม่เสื่อมจากสุข” (สิงคาลกสูตร) ที.ปา.๑๑/๑๘๕/๑๙๙


จบมงคลที่ ๑๔ ทำงานไม่คั่งค้าง

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
ทำบุญใส่บาตร

รูปภาพ
ปล่อยนก ปล่อยปลา

รูปภาพ
เลี้ยงดูบ้านเด็กกำพร้า
............................................................



มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน

“ต้นไม้ที่ให้ผลและร่มเงา
นอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นไม้มีประโยชน์แล้ว
ย่อมได้รับการดูแลใส่ปุ๋ยพรวนดินยิ่งๆ ขึ้นไปอีกฉันใด
ผู้ที่รู้จักให้ทาน นอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นคนมีประโยชน์แล้ว
ย่อมได้รับการยกย่องสรรเสริญ
ช่วยเหลือสนับสนุน จากคนทั้งหลายอีกฉันนั้น”


ท า น คื อ อ ะ ไ ร ?

ทาน แปลว่า การให้ หมายถึง การสละสิ่งของของตน เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ การให้ทาน เป็นพื้นฐานความดีของมนุษยชาติ และเป็นสิ่งที่ขาดเสีย มิได้ในการจรรโลงสันติสุข

พ่อแม่ ถ้าไม่ให้ทาน คือไม่เลี้ยงเรามา เราเองก็ตายเสียตั้งแต่เกิดแล้ว

สามีภรรยา หาทรัพย์มาได้ไม่ปันกันใช้ ก็บ้านแตก

ครูอาจารย์ ถ้าไม่ให้ทาน คือไม่ถ่ายทอดวิชาความรู้แก่เรา เราก็โง่ดักดาน

คนเรา ถ้าโกรธแล้วไม่ให้อภัยทานกัน โลกนี้ก็เป็นกลียุค

ชีวิตของคนเราจึงดำรงอยู่ได้ด้วยทาน เราโตมาได้ก็เพราะทาน เรามีความรู้ในด้านต่างๆ ก็เพราะทาน โลกนี้จะมีสันติสุขได้ก็เพราะทาน การให้ทานจึงเป็นสิ่งจำเป็น และมีคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อมนุษยชาติ

ป ร ะ เ ภ ท ข อ ง ท า น

๑. อามิสทาน คือการให้วัตถุสิ่งของเป็นทาน

๒. ธรรมทานหรือวิทยาทาน คือการให้ความรู้เป็นทาน ถ้าเป็นความรู้ทางโลก เช่น ให้ศิลปวิทยาการต่างๆ เรียกว่า วิทยาทาน หากเป็นความรู้ทางธรรม เช่น สอนให้ละชั่ว ประพฤติดี ทำใจให้ผ่องใส เรียกว่า ธรรมทาน

๓. อภัยทาน คือการสละอารมณ์โกรธเป็นทาน ให้อภัย ไม่จองเวร สละอารมณ์โกรธพยาบาท ให้ขาดออกจากใจ

การให้ธรรมะเป็นทาน ถือว่าเป็นการให้ทานที่ได้บุญสูงสุด มีคุณค่ากว่าการให้ทานทั้งปวง เพราะทำให้ผู้รับมีปัญญารู้เท่าทันโลก เท่าทันกิเลส สามารถนำไปใช้ได้ไม่รู้จักจบสิ้น ทั้งชาตินี้และชาติต่อๆ ไป ส่วนทานชนิดอื่นๆ ผู้รับได้รับแล้วไม่ช้าก็หมดสิ้นไป

“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง” ขุ.ธ.๒๕/๓๔/๖๓

จุ ด มุ่ ง ห ม า ย ข อ ง ก า ร ใ ห้ ท า น

๑. ให้เพื่อทำคุณ เป็นการให้เพื่อยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน ให้เพื่อให้ผู้รับนิยมชมชอบในตัวผู้ให้ ไม่ได้มุ่งเพื่อเป็นบุญ เช่น คนที่สมัครผู้แทนฯ ถึงเวลาหาเสียงทีก็เอากฐิน ผ้าป่า ไปทอด ๑๐ วัด ๒๐ วัด ไปสร้างสะพาน สร้างถนน เพื่อให้ชาวบ้านเห็นว่าตนเป็นคนใจบุญ จะได้ลงคะแนนเสียงให้ตน หรือบางคนรักพี่สาวเขา ก็เลยเอาขนมไปฝากน้องชาย การให้อย่างนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อผลประโยชน์ เพื่อให้ผู้รับรักตัวผู้ให้ การทำเช่นนี้ถ้าถามว่าได้บุญไหม ก็เห็นจะต้องตอบว่า ได้เหมือนกันแต่น้อยเหลือเกิน ได้ไม่เต็มที่ การให้ที่จะได้บุญมากนั้น ต้องให้เพื่ออนุเคราะห์ และสูงขึ้นไปอีกคือให้เพื่อบูชาคุณ

๒. ให้เพื่ออนุเคราะห์ เป็นการอุดหนุนเอื้อเฟื้อกัน ให้ด้วยความเมตตากรุณา เช่น พ่อแม่ให้อาหารแก่ลูก ครูอาจารย์ให้ความรู้แก่ศิษย์ ผู้มีทรัพย์บริจาคทรัพย์เพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ยากจน เป็นต้น

๓. ให้เพื่อบูชาคุณ เมื่อมีผู้ปรารถนาดีต่อเรา เมตตากรุณา ช่วยเหลืออุปการะเรา เช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ เราก็แสดงความเคารพนบนอบท่านด้วย กาย วาจา ใจ บูชาคุณท่านด้วยทรัพย์สินตามกำลัง ยามท่านเจ็บป่วยก็ช่วย พยาบาลรักษา ไม่ละทิ้งท่านทั้งในยามสุขและยามทุกข์ นอกจากนี้บุคคลที่ควรบูชาคุณ คือพระภิกษุสามเณร ผู้ทรงคุณธรรม เป็นผู้ชี้ทางสันติสุขแก่โลก ให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ เป็นธุระคอยสั่งสอน อบรมแนะนำประชาชนให้พ้นทุกข์ เราก็ควรบูชาท่านด้วยปัจจัยสี่ เพื่อให้ท่านมีกำลังบำเพ็ญสมณธรรม และบำเพ็ญประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ ตามสมณวิสัยได้เต็มที่

ข้ อ เ ตื อ น ใ จ

คนเราเมื่อตายไปแล้ว ทรัพย์สมบัติแม้แต่เข็มเล่มเดียวก็ไม่สามารถนำติดตัวไปได้ วิธีเดียวเท่านั้น ที่จะนำทรัพย์ติดตัวไปได้ คือการนำทรัพย์นั้นไปทำทาน

ทานเป็นประโยชน์แก่ผู้มีชรา (ความแก่) พยาธิ (ความเจ็บ) มรณะ (ความตาย) เผาผลาญอยู่ ถ้ารู้จักขนทรัพย์ออกด้วยทาน ทรัพย์นั้นย่อม เป็นประโยชน์แก่เขาได้ ทรัพย์ที่บำเพ็ญทานแล้ว ชื่อว่าขนออกแล้ว ดูเถอะ เจ้าของเรือนที่ถูกไฟไหม้ ทรัพย์ใดที่ขนออกได้ก็เป็นประโยชน์แก่เขา ส่วนทรัพย์ใดที่ขนออกไม่ได้ ก็ต้องถูกไฟไหม้อยู่ในเรือนนั่นเอง

ท า น ที่ ใ ห้ แ ล้ ว ไ ม่ ไ ด้ บุ ญ

๑. ให้สุรายาเสพย์ติด เช่น บุหรี่ เหล้า ฝิ่น กัญชา ยาบ้า ฯลฯ

๒. ให้อาวุธ เช่น เขากำลังทะเลาะกัน ยื่นปืน ยื่นมีดให้

๓. ให้มหรสพ เช่น พาไปดูหนังดูละคร ฟังดนตรี เพราะทำให้กามกำเริบ

๔. ให้สัตว์เพศตรงข้าม เช่น หาสุนัขตัวเมียไปให้ตัวผู้ หาสาวๆ ไปให้เจ้านาย ฯลฯ

๕. ให้ภาพลามก รวมถึงหนังสือลามกและสิ่งยั่วยุกามารมณ์ทั้งหลาย

วิ ธี ทำ ท า น ใ ห้ ไ ด้ บุ ญ ม า ก

การทำทานให้ได้บุญมาก ต้องพร้อมด้วยองค์ ๓ คือ

๑. วัตถุบริสุทธิ์ ของที่จะให้ทานต้องเป็นของที่ตนได้มาโดยสุจริตชอบธรรม ไม่ได้คดโกง หรือเบียดเบียนใครมา

ให้ทานด้วยน้ำพริกผักต้มที่ได้มาโดยบริสุทธิ์ ได้กุศลมากกว่า ให้อาหารโต๊ะจีนราคาตั้งพัน ด้วยเงินทองที่ได้มาโดยไม่บริสุทธิ์

๒. เจตนาบริสุทธิ์ คือมีเจตนาเพื่อกำจัดความตระหนี่ออกจากใจของตน ทำเพื่อเอาบุญ ไม่ใช่เอาหน้าเอาชื่อเสียง ไม่ใช่เอาความเด่นความดังความรัก จะต้องมีเจตนาบริสุทธิ์ทั้ง ๓ ขณะ คือ

- ก่อนให้ก็มีใจเลื่อมใสศรัทธาเป็นทุนเดิม เต็มใจที่จะทำบุญนั้น

- ขณะให้ก็ตั้งใจให้ ให้ด้วยใจเบิกบาน

- หลังจากให้ก็มีใจแช่มชื่น ไม่นึกเสียดายสิ่งที่ให้ไปแล้ว

๓. บุคคลบริสุทธิ์ คือเลือกให้แก่ผู้รับที่เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีความสงบเรียบร้อย ตั้งใจประพฤติธรรม โดยทั่วไปแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนว่า พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญของโลก แต่ถึงกระนั้นก็ทรงสอนให้เลือก ถ้าจะนิมนต์พระภิกษุเฉพาะเจาะจง ก็ให้นิมนต์พระที่เคร่งครัดในสิกขาวินัยน่าเลื่อมใส ถ้าจะนิมนต์พระไม่เฉพาะเจาะจง ให้สมภารจัดให้ ก็ให้เลือกนิมนต์จากหมู่สงฆ์ที่ประพฤติสิกขาวินัยเคร่งครัด สำหรับผู้ให้ทานคือตัวเราเอง ก็ต้องมีศีลบริสุทธิ์ จึงจะได้บุญมาก จะเห็นว่าทุกครั้งที่เราจะถวายสังฆทาน พระท่านจะให้ศีลก่อน เพื่อว่าอย่างน้อยที่สุดในขณะนั้นเรายังมีศีล ๕ ครบ จะได้เกิดบุญกุศลเต็มที่

ผ ล ข อ ง ท า น

“การให้ทานเป็นเรื่องของความชุ่มเย็น ผู้ที่ให้ทานอยู่เสมอย่อมมีใจผ่องใสเยือกเย็น หมู่ชนที่นิยมการให้ทาน ย่อมไม่มีความเดือดร้อนใจ เนื่องจากต่างคนต่างมีอัธยาศัยไมตรีถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน อนึ่ง ผลบุญจากการให้ทาน จะสะสมอยู่ในใจของเรา ทำให้มีอำนาจมีพลังสามารถดึงดูดทรัพย์ได้ ถ้าใครสั่งสมการให้ และการเสียสละมามาก จะมีพลังดูดทรัพย์มาก ถ้าใครมีใจตระหนี่มีความ โลภมาก จะมีพลังดูดทรัพย์น้อย โบราณท่านจึงกล่าวไว้ว่า คนทำทานมามากจะทำให้รวย แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังทรงยกย่องทานไว้หลายลักษณะดังนี้ คนควรให้ในสิ่งที่ควรให้” ขุ.ชา.สตฺตก.๒๗/๑๐๑๒/๒๑๗

“การเลือกให้ทานพระสุคตสรรเสริญ” ขุ.ชา.อฏฺฐก.๒๗/๑๑๘๔/๒๔๙

“คนพาลเท่านั้นที่ไม่สรรเสริญการให้ทาน” ขุ.ธ.๒๕/๒๓/๓๘

“เมื่อมีจิตเลื่อมใสแล้วทักษิณาทานหาชื่อว่าเป็นของน้อยไม่” ขุ.วิ.๒๖/๔๗/๘๒

“บุญของผู้ให้ย่อมเจริญก้าวหน้า” ขุ.อุ.๒๕/๑๖๘/๒๑๕

“ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้” สํ.ส.๑๕/๘๔๕/๓๑๖

“ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก” องฺ.ปญฺจก.๒๒/๓๕/๔๓

“ผู้มีปัญญาให้ความสุขย่อมได้รับความสุข” องฺ.ปญฺจก.๒๒/๓๗/๔๕

“ผู้ให้อาหารชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้าชื่อว่าให้วรรณะ ผู้ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสุข ผู้ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่าให้จักษุ ผู้ให้ที่พักอาศัยชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ผู้ให้ธรรมทานชื่อว่าให้อมฤตธรรม” (กินททสูตร) สํ.ส.๑๕/๑๓๘/๔๔

“ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ ผู้ให้ของที่ดี ย่อมได้ของที่ดี ผู้ให้ของที่ประเสริฐ ย่อมเข้าถึงฐานะอันประเสริฐ นระใดให้ของที่เลิศ ให้ของที่ดี และให้ของที่ประเสริฐ นระนั้นจะเกิด ณ ที่ใดๆ ย่อมมีอายุยืน มียศ ณ ที่นั้นๆ” (มนาปทายีสูตร) องฺ.ปญฺจก.๒๒/๔๔/๕๖


อ า นิ ส ง ส์ ก า ร บำ เ พ็ ญ ท า น

๑. เป็นที่มาของสมบัติทั้งหลาย

๒. เป็นที่ตั้งแห่งโภคทรัพย์ทั้งปวง

๓. ผู้ให้ย่อมได้รับความสุข

๔. ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก

๕. ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้

๖. ทำให้เป็นผู้มีเสน่ห์

๗. ทำให้เป็นที่น่าคบหาของคนดี

๘. ทำให้เข้าสังคมได้คล่องแคล่ว

๙. ทำให้แกล้วกล้าอาจหาญในทุกชุมชน

๑๐. ทำให้มีชื่อเสียงเกียรติคุณดี

๑๑. แม้ตายแล้วก็ไปเกิดในสวรรค์ ฯลฯ


จบมงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2009, 06:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
เข้าวัดปฏิบัติธรรม

รูปภาพ
ฝึกปฏิบัติธรรม

รูปภาพ
หนีคนพาล

รูปภาพ
แย่งสามีคนอื่น
............................................................



มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม

“ไม้จันทร์แม้แห้ง ยังไม่สิ้นกลิ่นหอม
อ้อยแม้ถูกหีบ ยังไม่สิ้นรสหวาน
เกลือแม้ถูกสะตุ ยังไม่สิ้นรสเค็ม
บัณฑิตแม้ตกทุกข์ ยังไม่เลิกประพฤติธรรม”


ก า ร ป ร ะ พ ฤ ติ ธ ร ร ม คื อ อ ะ ไ ร ?

การประพฤติธรรม คือการประพฤติตนให้อยู่ในกรอบของความถูกต้องและความดี ทั้งปรับปรุงพฤติกรรมของตน ให้ดีสมกับที่เกิดเป็นคน และให้มีความเที่ยงธรรม ไม่ลำเอียง

เราจะเห็นได้ว่า การประพฤติธรรมนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ เป็นมงคลที่ ๑๖ ก่อนมงคลที่ ๑๗ และ ๑๘ คือการสงเคราะห์ญาติ และการทำงานไม่มีโทษ

เหตุที่พระองค์ทรงวางลำดับมงคลว่าด้วยการประพฤติธรรมไว้ตรงนี้ ก็เพราะในการสงเคราะห์ญาติ และการทำงานไม่มีโทษ ซึ่งเป็นการทำงานเพื่อส่วนรวมนั้น เราต้องมีการทำงานติดต่อกับคนจำนวนมาก ซึ่งมีอัธยาศัยต่างๆ กันไป ถ้าไม่ระมัดระวังให้ดีแล้ว โอกาสที่จะกระทบกระทั่งกันก็มีมาก โอกาสที่เราจะทำให้งานเสีย เพราะขาดความเป็นธรรมก็มีมากเช่นกัน

ดังนั้น ก่อนทำงานเพื่อส่วนรวมจึงต้องประพฤติธรรม เพื่อเป็นการปรับปรุงตน ให้พร้อมที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างผาสุก ไม่นำความเดือดร้อนมาสู่ตนเองและผู้อื่น ซึ่งได้แก่การประพฤติปฏิบัติตน ๒ ลักษณะควบคู่กันไป ได้แก่

๑. ประพฤติเป็นธรรม
๒. ประพฤติตามธรรม

ประพฤติเป็นธรรม คือมีความเที่ยงธรรม เป็นความถูกต้องและเป็นความดี

ความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยของสังคมนั้น ขึ้นอยู่กับหลักธรรมอย่างหนึ่งคือ “ความเป็นธรรม” สังคมใดก็ตาม แม้จะมีข้าวปลาอาหารสมบูรณ์ มั่งคั่งบริบูรณ์ แต่ถ้าขาด “ความเป็นธรรม” เสียอย่างเดียว สังคมนั้นก็จะมีแต่ความเดือดร้อนวุ่นวาย

เพราะขาดความเป็นธรรม ครอบครัวจึงแตกสลาย

เพราะขาดความเป็นธรรม บ้านเมืองจึงเกิดปฏิวัติรัฐประหาร

เพราะขาดความเป็นธรรม สงครามระหว่างประเทศจึงเกิดขึ้น

ความเป็นธรรม คือการกระทำที่ชอบด้วยเหตุผล เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกหนทุกแห่ง มีบางคนเข้าใจว่า ความเป็นธรรมก็คือความยุติธรรม เป็นเรื่องมาจากผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เป็นผู้ให้ ตนเป็นผู้รับ ความเข้าใจเช่นนี้ผิด อันที่จริงความเป็นธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนจะต้องให้แก่กัน

เราจึงต้องฝึกตนเองให้เป็นคนที่ปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างชอบด้วยเหตุผล มีความเป็นธรรม ไม่ลำเอียงเพราะอคติ ๔ ประการ ดังต่อไปนี้

๑. ไม่ลำเอียงเพราะรัก เช่น ถึงจะรักนาย ก มากเพียงใดก็ตาม แต่ถ้า ไม่มีผลงานดีเด่น ก็ต้องยกย่องคนอื่น ที่มีความสามารถดีกว่าขึ้นมา ไม่เห็นแก่หน้า ข้อนี้รวมถึงการไม่เป็นคนโลภ ไม่รักทรัพย์สมบัติมาก จนยอมเสียความเป็นธรรม

๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง คือถึงจะเกลียดหรือไม่ชอบใครเป็นการส่วนตัว ก็ไม่นำมาปนกับงาน ซึ่งเป็นเรื่องส่วนรวม หากเขาทำความดี ก็ต้องปูนบำเหน็จรางวัลให้ เช่นเดียวกับคนอื่น ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง

๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง คือเป็นคนมีปัญญา หูตากว้างไกล รู้เท่าทันคน ไม่โง่ ใครๆ ไม่สามารถหลอกลวงได้ ไม่เป็นผู้ใหญ่ชนิดลงโทษผู้น้อย โดยที่ไม่ได้ไต่สวนความผิดให้ชัดเจนก่อน เป็นต้น

๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัวภัย คือมีใจอาจหาญไม่หวั่นไหว ไม่เกรงต่ออิทธิพลมืดใดๆ ถึงจะถูกขู่ทำร้าย ก็ไม่ยอมเสียความเป็นธรรม เพราะมีความรักธรรมยิ่งกว่าชีวิต

คุณสมบัติทั้ง ๔ ประการนี้ คนทุกคนจำเป็นต้องมี มิฉะนั้นโลกนี้ก็จะวุ่นวาย โดยเฉพาะผู้นำทุกท่าน จะต้องปลูกฝังคุณสมบัติดังกล่าวนี้ ให้เกิดขึ้นในใจตนอย่างเต็มเปี่ยม เพื่อไม่ให้เป็นที่ติฉินได้ในภายหลัง

“ผู้ใดไม่ละเมิดความยุติธรรม เพราะความรัก ความชัง ความโง่เขลา และความกลัว ยศของผู้นั้น ย่อมเด่นดุจดวงจันทร์ เปล่งแสงสว่างในข้างขึ้นทุกค่ำคืน” (อคติสูตร) องฺ.จตุกฺก.๒๑/๑๘/๒๓

ประพฤติตามธรรม คือการประพฤติปฏิบัติตนตามธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน ฝึกฝนอบรมตนเองให้คุณธรรมในตัวสูงขึ้นประณีตขึ้นตามลำดับ ได้แก่ การปฏิบัติตามหลักกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ดังนี้

๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์ คือไม่ฆ่าสัตว์ นับตั้งแต่ฆ่าคนทั่วไป ฆ่าสัตว์ที่มีคุณ และฆ่าสัตว์อื่นๆ

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนรู้จักแก้ปัญหาโดยสันติวิธี ไม่ใช่โดยวิธีฆ่าอีกฝ่ายหนึ่งเสีย เพราะการฆ่านั้น ผู้ฆ่าย่อมเกิดความทารุณโหดร้ายขึ้นในใจ ทำให้ใจเศร้าหมอง และตนก็ต้องรับผลกรรมต่อไป และต้องคอยหวาดระแวงว่า ญาติพี่น้องเขาจะมาทำร้ายตอบ เป็นการแก้ปัญหา ซึ่งจะสร้างปัญหาอื่นๆ ต่อมาโดยไม่จบสิ้น

๒. เว้นจากการลักทรัพย์ คือไม่แสวงหาทรัพย์มาโดยทางทุจริต เช่น

ลัก = ขโมยเอาลับหลัง

ฉก = ชิงเอาซึ่งหน้า

กรรโชก = ขู่เอา

ปล้น = รวมหัวกันแย่งเอา

ตู่ = เถียงเอา

ฉ้อ = โกงเอา

หลอก = ทำให้เขาหลงเชื่อแล้วให้ทรัพย์

ลวง = เบี่ยงบ่ายลวงเขา

ปลอม = ทำของที่ไม่จริง

ตระบัด = ปฏิเสธ

เบียดบัง = ซุกซ่อนเอาบางส่วน

สับเปลี่ยน = แอบเปลี่ยนของ

ลักลอบ = แอบนำเข้าหรือออก

ยักยอก = เบียดบังเอาของในหน้าที่ตน

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนทำมาหาเลี้ยงชีพโดยสุจริต ซึ่งจะทำให้ใช้ทรัพย์ได้เต็มอิ่ม ไม่ต้องหวาดระแวงว่าจะมีใครมาทวงคืน

๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม คือไม่กระทำผิดในทางเพศ ไม่ลุอำนาจแก่ความกำหนัด เช่น การเป็นชู้กับสามีภรรยาคนอื่น การข่มขืน การฉุดคร่าอนาจาร

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนมีจิตใจสูง เคารพในสิทธิของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม

๔. เว้นจากการพูดเท็จ คือต้องไม่เจตนาพูดให้ผู้ฟังเข้าใจผิดไปจากความเป็นจริง ซึ่งรวมถึงการทำเท็จให้คนอื่นหลงเชื่อรวม ๗ วิธีด้วยกัน คือ

พูดปด = โกหกซึ่งๆ หน้า

ทนสาบาน = อ้างสิ่งต่างๆ ทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อ

ทำเล่ห์กระเท่ห์ = ทำกลอุบายหรือเงื่อนงำอันอาจทำให้คนอื่นหลงเข้าใจผิด

มารยา = เช่น เจ็บน้อยทำเป็นเจ็บมาก

ทำเลศ = ทำทีให้ผู้อื่นตีความคลาดเคลื่อนเอาเอง

เสริมความ = เรื่องนิดเดียวทำให้เห็นเป็นเรื่องใหญ่

อำความ = เรื่องใหญ่ปิดบังไว้ให้เป็นเรื่องเล็กน้อย

การเว้นจากพูดเท็จต่างๆ เหล่านี้ หมายถึง

- ไม่ยอมพูดคำเท็จเพราะเหตุแห่งตน กลัวภัยจะมาถึงตนจึงโกหก

- ไม่ยอมพูดคำเท็จเพราะเหตุแห่งคนอื่น รักเขาอยากให้เขาได้ ประโยชน์จึงโกหก หรือเพราะเกลียดเขา อยากให้เขาเสียประโยชน์จึงโกหก

- ไม่ยอมพูดเท็จเพราะเห็นแก่อามิสสินจ้าง เช่น อยากได้ทรัพย์สินเงินทองสิ่งของ จึงโกหก

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนมีความสัตย์จริง กล้าเผชิญหน้ากับความจริงเยี่ยงสุภาพชน ไม่หนีปัญหา หรือหาประโยชน์ใส่ตัวด้วยการพูดเท็จ

๕. เว้นจากการพูดส่อเสียด คือไม่เก็บความข้างนี้ไปบอกข้างโน้น เก็บความข้างโน้นมาบอกข้างนี้ ด้วยเจตนาจะยุแหย่ให้เขาแตกกัน ควรกล่าวแต่ถ้อยคำที่ทำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการไม่ให้คนเราหาความชอบด้วยการประจบสอพลอ ไม่เป็นบ่างช่างยุ ต้องการให้หมู่คณะสงบสุขสามัคคี

๖. เว้นจากการพูดคำหยาบ คือไม่พูดคำซึ่งทำให้คนฟังเกิดความระคายใจ และส่อว่าผู้พูดเองเป็นคนมีสกุลต่ำ ได้แก่

คำด่า = พูดเผ็ดร้อน แทงหัวใจ พูดกดให้ต่ำ

คำประชด = พูดกระแทกแดกดัน

คำกระทบ = พูดเปรียบเปรยให้เจ็บใจเมื่อได้คิด

คำแดกดัน = พูดกระแทกกระทั้น

คำสบถ = พูดแช่งชักหักกระดูก

คำหยาบโลน = พูดคำที่สังคมรังเกียจ

คำอาฆาต = พูดให้หวาดกลัวว่าจะถูกทำร้าย

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนเป็นสุภาพชน รู้จักสำรวมวาจาของตน ไม่ก่อความระคายใจแก่ผู้อื่นด้วยคำพูด

๗. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ คือไม่พูดเหลวไหล ไม่พูดพล่อยๆ สักแต่ ว่ามีปากอยากพูดก็พูดไปหาสาระมิได้ แต่พูดถ้อยคำที่มีสาระ มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง ถูกกาลเวลา มีประโยชน์

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนมีความรับผิดชอบต่อถ้อยคำของตน

๘. ไม่โลภอยากได้ของเขา คือไม่เพ่งเล็งที่จะเอาทรัพย์ของคนอื่นในทางทุจริต

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้คนเราเคารพในสิทธิข้าวของของผู้อื่น มีจิตใจสงบไม่ฟุ้งซ่านไหวกระเพื่อมไปเพราะความอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่น ทำให้มีใจผ่องแผ้ว มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ พร้อมที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม

๙. ไม่พยาบาทปองร้ายเขา คือไม่ผูกใจเจ็บ ไม่คิดอาฆาตล้างแค้น ไม่จองเวร มีใจเบิกบาน แจ่มใสไม่ขุ่นมัว ไม่เกลือกกลั้วด้วยโทสะจริต

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้คนเรารู้จักให้อภัยทาน ไม่คิดทำลาย ทำให้จิตใจสงบผ่องแผ้ว เกิดความคิดสร้างสรรค์

๑๐. ไม่เห็นผิดจากคลองธรรม คือไม่คิดแย้งกับหลักธรรม เช่น มีความเห็นที่เป็น สัมมาทิฏฐิพื้นฐาน ๘ ประการ คือ

๑. เห็นว่าการให้ทานดีจริง ควรทำ

๒. เห็นว่าการบูชาบุคคลที่ควรบูชาดีจริง ควรทำ

๓. เห็นว่าการต้อนรับแขกมีผล ควรทำ

๔. เห็นว่าผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีจริง

๕. เห็นว่าโลกนี้โลกหน้ามีจริง

๖. เห็นว่าบิดามารดามีพระคุณต่อเราจริง

๗. เห็นว่าสัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมีจริง (นรกสวรรค์มีจริง)

๘. เห็นว่าสมณพราหมณ์ที่หมดกิเลสแล้วมีจริง

หมายเหตุ ข้อ ๕ อาจแยกเป็น โลกนี้มีจริง ๑ โลกหน้ามีจริง ๑

ข้อ ๖ อาจแยกเป็น บิดามีพระคุณจริง ๑ มารดามีพระคุณจริง ๑

ซึ่งถ้าแยกแบบนี้ก็จะรวมได้เป็น ๑๐ ข้อ แต่เนื้อหาเหมือนกัน

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้คนเรามีพื้นใจดี มีมาตรฐานความคิดที่ถูกต้อง ยึดถือค่านิยมที่ถูกต้อง มีวินิจฉัยถูก มีหลักการ มีแนวความคิดที่ถูกต้อง ส่งผลให้ความคิดในเรื่องอื่น ถูกต้องตามไปด้วย

“เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้สักอย่าง ซึ่งจะเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเพิ่มพูนไพบูลย์ยิ่งขึ้นเหมือนอย่างสัมมาทิฏฐินี้เลย” องฺ.เอก.๒๐/๑๘๒/๔๐

คุณธรรมทั้ง ๑๐ ประการนี้ คนทุกคนจำเป็นต้องฝึกให้มีในตน โดยเฉพาะผู้นำ ผู้ที่จะบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม จะต้องฝึกให้มีในตนอย่างเต็มที่ จึงจะทำงานได้ผลดี

“ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม บุคคลใดหวังความสุข หวังความเป็นใหญ่ หวังความก้าวหน้า ต้องประพฤติธรรม”

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร ป ร ะ พ ฤ ติ ธ ร ร ม

๑. เป็นมหากุศล

๒. เป็นผู้ไม่ประมาท

๓. เป็นผู้รักษาสัทธรรม

๔. เป็นผู้นำพระพุทธศาสนาให้เจริญ

๕. เป็นสุขในโลกนี้และโลกหน้า

๖. ไม่ก่อเวรก่อภัยกับใครๆ

๗. เป็นผู้ให้อภัยแก่สรรพสัตว์

๘. เป็นผู้ดำเนินตามปฏิปทาของนักปราชญ์

๙. สร้างความเจริญความสงบสุขแก่ตนเองและส่วนรวม

๑๐. เป็นผู้สร้างทางมนุษย์ สวรรค์ พรหม นิพพาน ฯลฯ

“ธมฺมจารี สุขํ เสติ ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข” ขุ.ธ.๒๕/๒๓/๓๗


จบมงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2009, 07:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
เยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่

รูปภาพ
ช่วยญาติทำงานศพ
............................................................



มงคลที่ ๑๗ สงเคราะห์ญาติ

“ต้นไม้ที่เกิดรวมกันเป็นป่าดง
แต่ละต้นย่อมช่วยต้านลมพายุให้แก่กัน จึงยืนต้นอยู่ได้นาน
ผิดจากต้นไม้ที่เกิดอยู่โดดเดี่ยว แม้จะเป็นไม้เจ้าป่าสูงใหญ่ก็ตาม
เมื่อโต้พายุตามลำพัง ย่อมหักโค่นลงโดยง่ายเช่นกัน
คนที่มีญาติอยู่พร้อมหน้า
ก็ย่อมมีผู้คอยช่วยเหลือต้านทานมรสุมชีวิตให้ผ่อนหนักเป็นเบา
และเมื่อทำดีมีสุข มีทางเจริญก้าวหน้า ก็มีคนให้ความสนับสนุน”


ญ า ติ คื อ ใ ค ร ?

ญาติ แปลว่า คนคุ้นเคย คนใกล้ชิด หมายถึง บุคคลที่คุ้นเคยและวางใจกันได้ มี ๒ ประเภท ได้แก่

๑. ญาติทางโลก แบ่งได้เป็น ๒ พวก คือ

- ญาติโดยสายโลหิต เช่น ทวด ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา พี่ น้อง หลาน เหลน ฯลฯ (สำหรับพ่อ แม่ ลูก ภรรยา สามี ถือว่าเป็นคนใกล้ชิดเรามากที่สุด ขอให้ยกไว้ต่างหาก เพราะเรามีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ต่อบุคคลเหล่านี้ ต่างกันออกไป และมีรายละเอียดอยู่ในมงคลที่ ๑๑, ๑๒, ๑๓ แล้ว)

- ญาติโดยความใกล้ชิดคุ้นเคย เช่น เป็นเพื่อนสนิทสนมกับเราโดยตรง หรือสนิทสนมกับญาติทางสายโลหิตของเรา

๒. ญาติทางธรรม หมายถึง ผู้เป็นญาติเพราะเหตุ ๔ ประการ คือ

- เป็นญาติเพราะบวชให้เป็นพระภิกษุ

- เป็นญาติเพราะบวชให้เป็นสามเณร

- เป็นญาติเพราะให้นิสสัย (พิธีกรรมของสงฆ์ที่พระอุปัชฌาย์ให้แก่ศิษย์)

- เป็นญาติเพราะสอนธรรมะให้

วิ ธี ร่ อ น ห า ญ า ติ แ ท้ ๆ

คนรู้จักกันที่เรียกว่าญาตินั้น ไม่ใช่เพียงรู้จักตัว ไม่ใช่เพียงรู้จักว่าเวลานี้เขาจะช่วยอะไรเราบ้าง แต่จะต้องมีใจผูกพันกับผู้ที่ตนถือว่าเป็นญาติเสมอ แม้แยกย้ายกันไปก็อยากรู้ข่าวคราวว่าผู้นั้นทุกข์หรือสุข หากเดือดร้อนก็พร้อมจะช่วยสงเคราะห์ อย่างนี้เรียกว่าญาติ ญาติที่แท้ต้องมีใจผูกพันทั้งต่อหน้าและลับหลัง ถ้ารู้จักกันเพียงผิวเผินจากไปแล้วก็แล้วกันไป อย่างนี้ไม่นับเป็นญาติ ยิ่งถ้าคนรู้จักมักคุ้นกันนั้นดีกับเรา เฉพาะยามเราเจริญ คำก็พี่สองคำก็น้อง แต่พอเราเพลี่ยงพล้ำลง ชักหันมาเล่นแง่ จะแล่เอาเนื้อจะเถือเอาหนัง คนอย่างนี้ไม่ใช่ญาติแน่นอน วิธีพิจารณาว่าใครเป็นญาติ ดูได้ง่ายๆ คือ ใครก็ตามที่เมื่อรู้ว่าเราเจ็บป่วยก็มาเยี่ยมเยือน แม้ยามที่เราปราศจากลาภ ยศ ตำแหน่งหน้าที่การงานอันมีเกียรติ ก็ยังปฏิบัติตนเสมอต้นเสมอปลายต่อเรา หรือถ้าเราตายก็พร้อมจะไปเผาศพเรา นั่นแหละจึงนับว่าเป็นญาติ

ลั ก ษ ณ ะ ญ า ติ ที่ ค ว ร ส ง เ ค ร า ะ ห์

๑. เป็นคนที่พยายามช่วยเหลือตนเองก่อนแล้วอย่างเต็มที่ ไม่ใช่เอะอะ มีอะไรก็วิ่งมาหาท่าเดียว งอมืองอเท้า ไม่ยอมช่วยตนเอง

๒. รู้จักทำตัวให้น่าช่วย มีความประพฤติดี ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข มีสัมมาคารวะ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีน้ำใจโอบอ้อมอารี

เ ว ล า ที่ ค ว ร ส ง เ ค ร า ะ ห์ ญ า ติ

๑. เมื่อยากจนหาที่พึ่งไม่ได้

๒. เมื่อขาดทุนทรัพย์ค้าขาย

๓. เมื่อขาดยานพาหนะ

๔. เมื่อขาดอุปกรณ์ทำกิน

๕. เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย

๖. เมื่อคราวมีธุระการงาน

๗. เมื่อคราวถูกใส่ความ มีคดี

เรื่องการสงเคราะห์ญาติ จะว่าง่ายก็เหมือนยาก ครั้นจะว่ายากก็เหมือนง่าย คนที่ทิ้งญาติพี่น้อง จนตัวเองเสียผู้เสียคนไปก็มี คนที่สงเคราะห์ญาติพี่น้องจนตัวเองแทบตายทั้งเป็นก็มาก เรื่องนี้จึงต้องมีขอบเขต มีวิธีการที่เหมาะสม ไม่ใช่ว่าใครทำอะไรให้ญาติแล้วจะดีเสมอไป

วิ ธี ส ง เ ค ร า ะ ห์ ญ า ติ ท า ง โ ล ก

ความมุ่งหมายของการสงเคราะห์ญาติ อยู่ที่การผูกสามัคคีรวมน้ำใจญาติให้เป็นปึกแผ่น โดยใช้หลัก สังคหวัตถุ ๔ ดังนี้

๑. ทาน หมายถึง การเอื้อเฟื้อแบ่งกันกินแบ่งกันใช้ ให้ของฝากยามเยี่ยมเยียน ให้ของขวัญยามมงคล ให้ของกินของใช้ยามตรุษยามสารท ตลอดจน ให้ทุนรอนทำมาหากิน โดยควรจะตั้งงบกลางไว้ สำหรับสงเคราะห์ญาติโดยเฉพาะ และเมื่อแบ่งปันให้ญาติไปแล้ว ก็ไม่คิดจะทวงคืน แต่ถ้าเขานำมาคืนเอง ก็ควรเก็บสำรองไว้ในงบกลางนี้อีก สำหรับสงเคราะห์ญาติคนอื่นๆ ที่เดือดร้อนต่อไป

๒. ปิยวาจา พูดจาต่อกันด้วยคำสุภาพอ่อนโยน เรียกสรรพนามตามศักดิ์ เช่น เรียกลุง ป้า น้า อา อันเป็นภาษาของคนรักใคร่เคารพนับถือกัน ถึงจะโกรธเคืองขัดใจก็ไม่แช่งชักหักกระดูกหรือนินทาว่าร้าย

๓. อัตถจริยา ทำตัวให้เป็นประโยชน์แก่ญาติ คือช่วยเหลือเมื่อมีธุระการงาน เช่น แต่งงาน บวชนาค เจ็บป่วย เป็นความ งานศพ และอื่นๆ อย่างน้อยก็ให้กำลังใจ

๔. สมานัตตตา วางตัวกับญาติให้เหมาะสมกับฐานะ ตำแหน่ง เหตุการณ์ สิ่งแวดล้อม เคารพญาติผู้ใหญ่ เอ็นดูญาติผู้น้อย เสมอต้นเสมอปลาย ร่วมทุกข์ร่วมสุขไม่ทอดทิ้งกัน

วิ ธี ส ง เ ค ร า ะ ห์ ญ า ติ ท า ง ธ ร ร ม

คือชักชวนญาติให้รู้จักประกอบการบุญการกุศล ชักนำให้ได้ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ให้ตั้งอยู่ในศรัทธา สอนธรรมะให้ ชักนำให้บวช ชักนำให้ปฏิบัติธรรม

ข้ อ เ ตื อ น ใ จ

การสงเคราะห์ญาติเป็นความดี เป็นมงคลแก่ผู้ทำ แต่ทั้งนี้ต้องทำตามวิถีทางที่ถูกต้อง คือต้องไม่เอาการช่วยเหลือญาติพี่น้อง มาทำให้เสียความเป็นธรรมในหน้าที่ของตน

ทางฝ่ายญาติพี่น้องซึ่งเป็นผู้ขอรับความช่วยเหลือ ยิ่งต้องคิดให้มาก ถ้ารักกันจริงแล้ว ไม่สมควรที่จะไปขอร้องญาติพี่น้องที่มีอำนาจหน้าที่ ให้เขาทำผิด ให้ช่วยเหลือเราในทางที่ไม่เป็นธรรม อย่าขอร้องหรือแม้แต่จะทำให้เขาต้องกังวลใจ ที่จะมาทำความผิดเพื่อผลประโยชน์ของเรา การขอร้องญาตินั้นไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม และไม่เสียมารยาทแต่อย่างใด ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า อย่าขอให้เขาทำผิดเพื่อเราก็แล้วกัน

จะเห็นได้ว่ามงคลที่ ๑๑, ๑๒, ๑๓ เป็นการสงเคราะห์บิดามารดา บุตร ภรรยา แต่การสงเคราะห์ญาติ แทนที่จะอยู่ต่อมาเป็นมงคลที่ ๑๔ กลับเป็นมงคลที่ ๑๗ โดยต้องฝึกทำงานเป็นในมงคลที่ ๑๔ บำเพ็ญทานในมงคลที่ ๑๕ และประพฤติธรรมมีความเที่ยงตรงไม่ลำเอียงในมงคลที่ ๑๖ ก่อน จึงจะสงเคราะห์ญาติ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเล่นพรรคเล่นพวกให้เสียธรรม

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร ส ง เ ค ร า ะ ห์ ญ า ติ

๑. เป็นฐานป้องกันภัย ศัตรูหมู่พาลทำอันตรายได้ยาก

๒. เป็นฐานอำนาจ ให้ขยายกิจการงานได้ใหญ่โตขึ้น

๓. เป็นบุญกุศล

๔. เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน

๕. ทำให้สนิทสนมคุ้นเคยกัน

๖. ทำให้เกิดความสามัคคีกัน

๗. ทำให้เกิดความจงรักภักดีต่อกัน

๘. ทำให้ตระกูลใหญ่โต มั่นคง

๙. ทำให้มีญาติมากทุกภพทุกชาติ

๑๐. เป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง

๑๑. เป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้เกิดขึ้น

๑๒. เป็นเหตุให้เกิดสันติสุขไปทั่วโลก ฯลฯ

“ตระกูลใดที่หมู่ญาติได้ร่วมกันสร้างสรรค์จรรโลงวงศ์วาน ให้เป็นปึกแผ่นแน่นหนา จะเป็นที่เกรงขามแก่บุคคลทั้งหลาย แม้ผู้มุ่งร้ายก็ไม่กล้ามาเบียดเบียน ประดุจความหนาทึบแห่งกอไผ่ ที่มีหนามแวดล้อมอยู่รอบข้าง ย่อมไม่มีใครเข้าไปตัดได้ง่ายๆ หรือเหมือนดังกอบัวที่เจริญงอกงามอยู่ในสระ ย่อมเป็นที่เจริญตาเจริญใจแก่ผู้พบเห็น”


จบมงคลที่ ๑๗ สงเคราะห์ญาติ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2009, 07:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
ร่วมกันสร้างบ้าน

รูปภาพ
แอบค้าอาวุธปืน
............................................................



มงคลที่ ๑๘ ทำงานไม่มีโทษ

“โรงงานที่ดีมีประสิทธิภาพ
ไม่ใช่เพียงเพราะผลิตผลงานได้มากเท่านั้น
แต่จะต้องผลิตผลงานที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ด้วย
เช่นกัน คนเราจะเจริญก้าวหน้า
ทำประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นได้
ไม่ใช่เพียงเพราะทำงานได้มากเท่านั้น
แต่จะต้องเลือกทำเฉพาะงานที่ไม่มีโทษด้วย”


ง า น ไ ม่ มี โ ท ษ คื อ อ ะ ไ ร ?

งานไม่มีโทษ หมายถึง งานที่ไม่มีเวรไม่มีภัย ไม่เบียดเบียนใคร แต่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนและผู้อื่น

ความสามารถในการทำงานของคนมีอยู่ ๒ ระดับ คือ ขั้นทำได้ กับขั้นทำดี

ทำได้ หมายถึง การทำงานสักแต่ให้เสร็จๆ ไป จะเกิดประโยชน์หรือไม่เพียงใด ไม่ได้คำนึงถึง

ทำดี หมายถึง การเป็นผู้คิดให้รอบคอบถึงผลได้ผลเสียทุกแง่มุม แล้วจึงเลือกทำเฉพาะ แต่ที่เป็นประโยชน์จริงๆ สิ่งใดที่เห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นก็ไม่ทำสิ่งนั้น พูดสั้นๆ ก็คือ ถ้าทำต้องให้ดี ถ้าไม่ดีต้องไม่ทำ

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ทำได้ หมายถึง ทำสิ่งต่างๆ ได้ตามที่ตนอยากได้ อยากทำ เช่น ค้าขายหาผลประโยชน์เข้าตัวเป็น โดยไม่ได้เลือกสิ่งของที่ค้า อาจขายสิ่งที่ไม่ควรขาย อย่างพวกเหล้า บุหรี่ ยาบ้า เป็นต้นก็ได้ หรืออยากได้ ยศ อยากได้ตำแหน่ง ก็มุ่งมั่นช่วงชิงเอาให้ได้ ผิดถูกชั่วดีอย่างไรไม่ได้คำนึง การทำได้จึงเป็นเพียงคุณสมบัติขั้นต้นของคนทำงานเท่านั้น ถ้าจะให้ดีจริงแล้ว ต้องถึงขั้น ทำดี คนทำดีนั้นมีคุณสมบัติในตัวถึง ๒ อย่าง คือนอกจากจะ ทำได้ แล้วยังสามารถเลือก ไม่ทำก็ได้ ถ้าเห็นว่าทำแล้วจะไม่ดี อย่างนี้จึงจะเก่งแท้

อาจจะเปรียบได้ว่า คนทำงานขั้นทำได้ ก็เหมือนกับเด็กทารกที่เพิ่งรู้จักกิน ทำเป็นแต่เพียงหยิบอะไรใส่เข้าปาก แล้วกลืนลงท้องไป กินขั้นนี้เรียกว่า กินได้ ยังไม่ใช่คนกินเป็น ยังไม่มีความดีวิเศษอะไรนัก ถ้าพี่เลี้ยงเผลออาจหยิบสิ่งที่เป็นพิษใส่เข้าปากแล้วกลืนลงท้อง ให้ผู้ใหญ่ต้องเดือดร้อนวิ่งหาหมอก็ได้ แต่คนกินเป็น จะต้องรู้จักเลือกของกิน เห็นว่าควรกินจึงกิน ถ้าไม่ควรกินก็ไม่กิน เช่นเดียวกัน นักทำงานที่เก่งแท้ต้องถึงขั้นทำดี คือไม่ใช่สักแต่ว่าทำงานได้ แต่ต้องเห็นว่างานที่จะทำเป็นงานที่ดีควรทำจึงลงมือทำ

วิ ธี พิ จ า ร ณ า ง า น ว่ า มี โ ท ษ ห รื อ ไ ม่

ในการพิจารณางานที่ทำว่าเป็นงานมีโทษหรือไม่ ต้องไม่ถือเอาคำติชม ของคนพาลมาเป็นอารมณ์ เพราะคนพาลนั้น เป็นคนมีใจขุ่นมัวเป็นปกติ มีวินิจฉัยเสีย ความคิดความเห็นผิดเพี้ยนไปหมด สิ่งใดที่ถูกก็เห็นเป็นผิด ที่ผิดกลับเห็นเป็นถูก หรือเรื่องที่ดีคนพาลก็เห็นเป็นเรื่องที่ชั่ว แต่เรื่องที่ชั่วกลับเห็นเป็นเรื่องที่ดี จึงถือเป็นบรรทัดฐานไม่ได้

ส่วนบัณฑิตนั้น เป็นคนมีความคิดเห็นถูกต้อง รู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ ทั้งเป็นคนมีศีลมีสัตย์ คนประเภทนี้ใจกับปากตรงกัน เราจึงควรรับฟังคำติชมของบัณฑิตด้วยความเคารพ

หลักที่บัณฑิตใช้พิจารณาว่างานมีโทษหรือไม่นั้น มีอยู่ ๔ ประการด้วยกัน แบ่งเป็นหลักทางโลก ๒ ประการ และหลักทางธรรม ๒ ประการ

อ ง ค์ ป ร ะ ก อ บ ข อ ง ง า น ไ ม่ มี โ ท ษ

งานไม่มีโทษจะต้องมีองค์ประกอบ ๔ ประการ ดังนี้

๑. ไม่ผิดกฎหมาย
๒. ไม่ผิดประเพณี
๓. ไม่ผิดศีล
๔. ไม่ผิดธรรม

๑. ไม่ผิดกฎหมาย กฎหมายเป็นระเบียบข้อบังคับซึ่งทุกคนต้องปฏิบัติตาม การทำผิดกฎหมายทุกอย่าง จัดเป็นงานมีโทษทั้งสิ้น แม้บางอย่างจะไม่ผิดศีลธรรมข้อใดเลย เช่น การปลูกบ้านในเขตเทศบาล ต้องขออนุญาตตามเทศบัญญัติ ถ้าไม่ขอผิด การทำอย่างนี้ดูเผินๆ ทางธรรมเหมือนไม่ผิด เพราะปลูกในที่ของเราเอง และด้วยเงินทองของเรา แต่การกระทำดังกล่าวก็เป็นงานมีโทษคือมีตำหนิ และโปรดทราบด้วยว่า เมื่อใครทำงานมีโทษ ก็ย่อมผิดหลักธรรมอยู่นั่นเอง อย่างน้อยก็ผิดมงคล

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนเป็นหนักหนา ทั้งพระทั้งชาวบ้าน ให้เคารพต่อกฎหมายบ้านเมือง โดยเคร่งครัด ไม่เคยปรากฏในที่ใดเลยว่า พระบรมศาสดาของเรา สอนพุทธศาสนิกชนให้แข็งข้อต่อกฎหมาย แม้จะเอาการประพฤติธรรมหรือความเป็นพระเป็นสงฆ์เป็นข้ออ้าง แล้วทำการดื้อแพ่ง ก็หาชอบด้วยพุทธประสงค์ไม่

ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาต้องการให้ศาสนิกชนเป็นคนรักสงบและให้เคารพในกฎหมาย ชาวพุทธต้องไม่ทำตัว “ดื้อแพ่ง” ต่อกฎหมายบ้านเมืองไม่ว่าในกรณีใดๆ

ถ้าเราพิจารณาในแง่มงคลแล้ว จะเห็นได้ชัดว่าการทำผิดกฎหมายนั้นเป็นอัปมงคลแน่ เพราะเป็นการสร้างความผิดคล้องคอตัวเอง

๒. ไม่ผิดประเพณี ประเพณีหมายถึง จารีต ขนบธรรมเนียมของมหาชนในถิ่นหนึ่งๆ หรือสังคมหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกันมากบ้างน้อยบ้าง แต่เมื่อคนทั้งหลายเขาถือกันเป็นส่วนมากและนิยมว่าดี ก็กลายเป็นกฎของสังคม ใครทำผิดประเพณีถือว่าผิดต่อมหาชน เช่น ประเพณีแต่งงาน ประเพณีต้อนรับแขก ประเพณีรับประทานอาหาร ประเพณีทำความเคารพผู้ใหญ่ ฯลฯ ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ จึงต้องศึกษาให้ดี

เราชาวพุทธเมื่อจะเข้าไปสู่ชุมชนใด ก็ต้องถามไถ่ดูก่อนว่าเขามีประเพณีอย่างไรบ้าง อะไรที่พอจะโอนอ่อนผ่อนตามได้ ก็ทำตามเขา แต่ถ้าเห็นว่า ทำไปแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อตัวเรา เสียหายแก่ภูมิธรรม และศักดิ์ศรีของชาวพุทธ ก็ควรงดเสียอย่าเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น ประเพณีไม่ให้เกียรติแก่ผู้สูงอายุ ดูถูกผู้หญิง ของคนบางเหล่า ประเพณีถือฤกษ์ยามจนแทบไม่มีโอกาสทำมาหากิน ประเพณีห้ามถ่ายอุจจาระปัสสาวะซ้ำที่ ของชาวอินเดียบางกลุ่ม จนกระทั่งไม่สามารถทำส้วมใช้ได้

๓. ไม่ผิดศีล ศีลเป็นพื้นฐานของการทำความดีทุกอย่าง แม้ในไตรสิกขา ซึ่งถือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ก็กล่าวไว้ว่า

ศีล เป็นพื้นฐานของสมาธิ
สมาธิ ทำให้เกิดปัญญา
ปัญญา เป็นเครื่องบรรลุนิพพาน

ดังนั้นผู้ที่คิดจะสร้างความดีโดยไม่นำพาในการรักษาศีลเลย จึงเป็นการคิดสร้างวิมานในอากาศ

เราชาวพุทธทั้งหลายควรพิจารณาทุกครั้งก่อนทำงาน ว่างานที่เราจะทำนั้นขัดต่อศีล ๕ หรือไม่ ถ้าผิดศีลก็ไม่ควรทำ ให้งดเว้นจากการล่วงละเมิดศีล และงดเว้นจากการสนับสนุนผู้อ้างตัวว่าเป็นผู้วิเศษ แต่ไม่มีศีลด้วยเช่นกัน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “เธอพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า ตัวของเราเองติเตียนตัวเราเองโดยศีลได้หรือไม่ เธอพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า ผู้รู้ ใคร่ครวญแล้วติเตียนเราโดยศีลได้หรือไม่” (นัย อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร) องฺ.ทสก.๒๔/๔๘/๙๒

๔. ไม่ผิดธรรม ธรรมคือความถูกความดี ในการปฏิบัติงานทุกครั้ง ต้องคำนึงถึงข้อธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ ให้ถี่ถ้วน บางอย่างแม้จะไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดประเพณี และไม่ผิดศีล แต่อาจผิดหลักธรรมได้ ดังเช่น

การผูกโกรธ คิดพยาบาท ผิดหลักกุศลกรรมบถ

การเกียจคร้าน ผิดหลักอิทธิบาท

การเป็นนักเลงการพนัน เจ้าชู้ ผิดหลักการละอบายมุข

ดังนั้นเมื่อเราทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานทางกาย ทางวาจา หรือทางใจก็ตาม เราต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย ประเพณี ศีล และธรรม จึงจะได้ชื่อว่าเป็นคนทำงานไม่มีโทษ

คนบางคนมีปัญหาว่า ใจก็ต้องการทำงานไม่มีโทษ แต่ทำงานครั้งใดกว่าจะรู้ว่างานที่ตัวทำเป็นงานมีโทษก็สายไปเสียแล้ว ทำไปแล้ว จึงมีปัญหาว่าทำอย่างไรเราจึงจะเป็นคนที่รู้ก่อนทำ

วิ ธี รู้ ก่ อ น ทำ

ทางพระพุทธศาสนาสอนเรื่องการทำงานไว้ว่า “นิสมฺมกรณํ เสยฺโย” คือ “ใคร่ครวญดูก่อน แล้วจึงลงมือทำดีกว่า” นักทำงานสมัยนี้ก็มีคติว่า “อย่าดมก่อนเห็น อย่าเซ็นก่อนอ่าน” ซึ่งก็เป็นการปฏิบัติตามหลักธรรมนั่นเอง

แต่การทำงานแบบนี้คนหนุ่มสาวมักจะไม่ค่อยชอบเพราะใจร้อน เวลา เสนองานให้ผู้ใหญ่ พอท่านบอกว่า “ขอคิดดูก่อน” เด็กก็มักจะขัดใจหาว่าคนแก่ขี้ขลาดทำอะไรไม่เด็ดขาด ความจริงไม่ใช่เรื่องกล้าหรือขลาด แต่เป็นเรื่องการใช้ความคิด ท่านต้องการรู้ก่อนทำไม่ใช่ทำก่อนรู้ แล้วทำอย่างไรเราจึงจะรู้ก่อนทำ

ข้อสำคัญคือ ต้องทำใจเราให้คลายความอวดดื้อถือทิฏฐิมานะ ต้อง ยอมรับว่าเราไม่ใช่คนเก่งที่สุด เราไม่ใช่คนฉลาดที่สุด ยังมีผู้ที่เกิดก่อนเรา รู้เห็นมามากกว่าเรา ใครลดความลำพองลงเสียได้ดังนี้ คนนั้นจะมีหวังเป็นคนรู้ก่อนทำ ถ้าปรับปรุงตัวอย่างนี้ไม่ได้ก็ไม่มีหวัง จะต้องเป็นคนทำก่อนรู้อยู่ร่ำไป สอบตกแล้วจึงรู้ว่าเกโรงเรียนไม่ดี ตับแข็งแล้วจึงรู้ตัวว่ากินเหล้ามากไป หมดตัวแล้วจึงรู้ว่าไม่ควรเล่นการพนัน หนักเข้าก็ต้องเข้าคุก แล้วจึงรู้ว่าบ้านเมืองมีขื่อ มีแป กรรมแท้ๆ

ป ร ะ เ ภ ท ข อ ง ง า น ไ ม่ มี โ ท ษ

งานที่เราทำนั้นแบ่งได้เป็น ๒ ประการ คือ

๑. งานที่ทำเพื่อประโยชน์ตนเอง
๒. งานที่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

ผู้ที่ทำงานไม่มีโทษก็หมายถึง ผู้ที่ทำงานทั้ง ๒ ประการนี้อย่างถูกต้อง และสมบูรณ์ตามองค์ประกอบทั้ง ๔ ประการ ดังได้กล่าวมาแล้ว

ง า น ที่ ทำ เ พื่ อ ป ร ะ โ ย ช น์ ต น เ อ ง

คือการทำมาหาเลี้ยงชีพต่างๆ เช่น ทำนา ทำสวน ค้าขาย เป็นครู เป็นช่างไม้ ช่างยนต์ ฯลฯ ซึ่งในเรื่องการประกอบอาชีพนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า อาชีพต้องห้ามต่อไปนี้ พุทธศาสนิกชนไม่ควรทำ ได้แก่

๑. การค้าอาวุธ
๒. การค้ามนุษย์
๓. การค้ายาพิษ
๔. การค้ายาเสพย์ติด
๕. การค้าสัตว์เพื่อนำไปฆ่า

ใครก็ตามที่ประกอบอาชีพ ๕ ประการข้างต้นนี้ ได้ชื่อว่าทำงานมีโทษ และก่อให้เกิดโทษแก่ตนเอง มากมายสุดประมาณ แม้จะร่ำรวยเร็วก็ไม่คุ้มกับบาปกรรมที่ก่อไว้

ง า น ที่ ทำ เ พื่ อ ป ร ะ โ ย ช น์ ส่ ว น ร ว ม

คือการทำงานสังคมสงเคราะห์ช่วยเหลือคนข้างเคียง และช่วยเหลืองานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม เช่น สร้างสะพาน ทำถนน สร้างศาลาที่พักอาศัยข้างทาง ฯลฯ

ข้ อ เ ตื อ น ใ จ นั ก ทำ ง า น เ พื่ อ ส่ ว น ร ว ม

ในการทำงานนั้น ให้ทำเต็มที่เต็มกำลัง แต่อย่าทำจนล้นมือ และก่อนจะทำงานเพื่อส่วนรวมนั้น เราจะต้องฝึกฝนตัวเราเองให้ดีก่อน ฝึกแก้นิสัยที่ไม่ดีๆ ในตัวด้วยการประพฤติธรรมดังมงคลที่ ๑๖ เพื่อป้องกันไม่ให้กระทบกระทั่งกับ ผู้อื่นเวลาทำงาน และเพื่อให้สามารถควบคุมการทำงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย ว่าเพื่อสังคมจริงๆ ไม่ใช่เพื่อชื่อเสียง เพื่อความมีหน้ามีตาของเราเอง และให้ รับรู้ว่าการทำงานเพื่อส่วนรวมนั้น แท้จริงผู้ที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดก็คือ ตัวเราเอง คือได้ทั้งบุญกุศล และอุปนิสัยที่ดีติดตัวไปเบื้องหน้า และเป็นการสร้าง สิ่งแวดล้อมที่ดี ให้แก่ตัวเองอีกด้วย ส่วนประโยชน์ที่ผู้อื่นจะได้รับถือเป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้น ถ้าคิดได้อย่างนี้จะทำให้ใจสบาย มีกำลังใจในการทำงาน และไม่คิดทวงบุญทวงคุณเอากับใคร

นอกจากนั้น ผู้ที่จะทำงานเพื่อส่วนรวมจะต้องหัดรักษาศีล ๘ รักษาอุโบสถศีล เพื่อเป็นการฝึกควบคุมอารมณ์ให้ดี เพราะการทำงานเพื่อส่วนรวมนั้น จะต้องคลุกคลีกับคนจำนวนมาก มีโอกาสที่จะกระทบกระทั่งเกินเลยกันได้ง่าย ทำให้เดือดร้อนในภายหลัง ทั้งๆ ที่ทำด้วยความหวังดี ตนเองก็มีกรรมติดตัวไป และก่อนที่จะทำงานเพื่อสังคม ให้ปรับปรุงสภาพในครอบครัวของตนให้ดี ต้องมีเวลาให้ลูกให้ครอบครัวให้พอ ครอบครัวจะได้มั่นคงเป็นสุข ส่งผลให้เราทำงานได้เต็มที่ โดยไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง

ตั ว อ ย่ า ง ก า ร ทำ ง า น ไ ม่ มี โ ท ษ

๑. การรักษาอุโบสถศีล

๒. การทำงานช่วยเหลือกันในทางที่ชอบ

๓. การสร้างสถานที่ปฏิบัติธรรม เช่น วัด เจดีย์ ฯลฯ

๔. การปลูกต้นไม้เพื่อให้ร่มเงาแก่คนเดินทาง

๕. การสร้างสะพาน เพื่อให้คนสัญจรไปมาได้สะดวก

๖. การสร้างประปา สร้างแหล่งน้ำ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้น้ำสะดวก

๗. การตั้งน้ำดื่มน้ำใช้ไว้ เพื่อให้คนได้ใช้สะดวกสบาย

๘. การให้ที่อยู่อาศัยแก่บุคคล

๙. การตั้งอยู่ในบุญกุศล หรือตั้งอยู่ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ

๑๐. การถึงพร้อมด้วยศีลและการเจริญสมาธิภาวนา ฯลฯ

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร ทำ ง า น ไ ม่ มี โ ท ษ

คนทำงานมีโทษนั้น ได้กับเสียเป็นเงาตามตัว ยิ่งได้งานมากก็ทุกข์ใจมาก เข้าทำนอง “อิ่มท้องแต่พร่องทางใจ” ยิ่งรวยได้ทรัพย์มากเท่าไรโอกาสที่ จะเสียคนก็มากเท่านั้น ยิ่งทำก็ยิ่งทุกข์ คุณความดีในตัวลดลงทุกที ส่วนคนที่ทำงานไม่มีโทษนั้น จะก้าวหน้าไปสู่ความสุขแท้และความเจริญแท้ ถึงแม้จะไม่รวยทรัพย์ แต่ก็รวยความดี

คนทำงานไม่มีโทษนั้นจะหลับก็เป็นสุข จะตื่นก็เป็นสุข ไม่อายใคร ไม่ต้องหวาดระแวงใคร เพราะงานที่ทำเป็นประโยชน์แก่โลกล้วนๆ ไม่มีโทษเข้าไปเจือปนเลย ชื่อว่าได้ทดแทนบุญคุณของโลกที่อาศัยเกิดมา เมื่อทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะได้สันติสุขเป็นเครื่องตอบแทนไปชั่วกาลนาน

“ยศย่อมเจริญแก่ผู้มีความหมั่น มีสติ มีการงานสะอาด ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ สำรวมแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม ไม่ประมาท” ขุ.ธ.๒๕/๑๒/๑๘


จบมงคลที่ ๑๘ ทำงานไม่มีโทษ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2009, 07:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
คนขโมยเสื้อผ้า

รูปภาพ
คนตกปลา

รูปภาพ
ตำรวจจับเข้าคุก

รูปภาพ
การเดินหนีจากการทำบาป
............................................................



มงคลที่ ๑๙ งดเว้นบาป

“ก่อนจะแต่งตัวให้สวยงาม
เราจำต้องอาบน้ำชำระล้างสิ่งสกปรกออกก่อนฉันใด
ก่อนจะปรับปรุงใจให้สะอาดบริสุทธิ์
มีคุณธรรมสูงขึ้น
เราก็จำต้องงดเว้นจากบาปทั้งปวงก่อนฉันนั้น”


บ า ป คื อ อ ะ ไ ร ?

สิ่งของที่เสีย เรามีชื่อเรียกต่างๆ กันไป เช่น บ้านเสียเราเรียกบ้านชำรุด อาหารเสียเราเรียกอาหารบูด ฯลฯ คำจำพวกที่ว่า บูด ชำรุด แตก หัก ผุ พัง เน่า ขึ้นรา ฯลฯ ถ้าพูดรวมๆ เราเรียกว่า เสีย หมายความว่า มันไม่ดี

อาการเสียของจิตก็เหมือนกัน เราเรียกแยกได้หลายอย่าง เช่น จิตเศร้าหมอง จิตเหลวไหล ใจร้าย ใจดำ ใจขุ่นมัว ฯลฯ แล้วแต่จะบอกอาการทางไหน คำว่า เศร้าหมอง เหลวไหล ต่ำทราม ร้ายกาจ เป็นคำบอกว่าจิตเสีย ซึ่งสิ่งที่ทำให้จิตเสียนี้ ทางพระพุทธศาสนาท่านใช้คำสั้นๆ ว่า “บาป” คำว่าบาปจึงหมายถึง สิ่งที่ทำให้จิตเสียคือมีคุณภาพต่ำลงนั่นเอง ไม่ว่าจะเสียในแง่ไหนก็เรียกว่าบาปทั้งสิ้น

กำ เ นิ ด บ า ป

การกำเนิดของบาป ในทัศนะของศาสนาอื่น เช่น คริสต์ อิสลาม ฮินดู ต่างกับของศาสนาพุทธอย่างมาก เช่น แนวคิดในศาสนาคริสต์ก็ดี อิสลามก็ดี สอนว่าบาปจะเกิดเมื่อผิดคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า เช่น พระผู้เป็นเจ้า สั่งให้นึกถึงพระองค์อยู่เป็นประจำ ถ้าลืมนึกไปก็เป็นบาป หรือพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาคริสต์ สั่งไม่ให้เอ่ยนามพระองค์ โดยไม่จำเป็น ถ้าใครเอ่ยนามพระเจ้าพร่ำเพรื่อก็เป็นบาป

ยิ่งไปกว่านั้นตามความเชื่อของเขา บาปยังมีการตกทอดไปถึงลูกหลาน ได้อีกด้วย เช่น ในศาสนาคริสต์เขาถือว่าทุกคนเกิดมามีบาป เพราะอาดัมกับอีวา ซึ่งเขาถือว่าเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ขัดคำสั่งพระเจ้า แอบไปกินแอปเปิ้ลในสวนเอเดน ถูกพระเจ้าปรับโทษเอาเป็นบาป ลูกหลานทั่วโลกจึงมีบาปติดต่อมาด้วย โดยนัยนี้ศาสนาคริสต์เชื่อว่า บาปตกทอดถึงกันได้โดยสายเลือด

สำหรับพระพุทธศาสนานั้น เนื่องจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงฝึกสมาธิมาอย่างดีเยี่ยม ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน เป็นผลให้พระองค์ทรงเห็น และรู้จักธรรมชาติของกิเลส อันเป็นต้นเหตุแห่งบาปทั้งหลาย ได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง และสามารถกำจัดกิเลสเหล่านั้น ออกไปได้โดยสิ้นเชิงและเด็ดขาด พระองค์ได้ตรัส สรุปเรื่องการกำเนิดของบาป ไว้อย่างชัดเจนว่า

“นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต บาปย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ทำบาป” ขุ.ธ.๒๕/๑๙/๓๑

“อตฺตนา ว กตํ ปาปํ อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ ใครทำบาป คนนั้นก็เศร้าหมองเอง”

“อตฺตนา อกตํ ปาปํ อตฺตนา ว วิสุชฺฌติ ใครไม่ทำบาป คนนั้นก็บริสุทธิ์” ขุ.ธ.๒๕/๒๒/๓๗


พระพุทธวจนะนี้ เป็นเครื่องยืนยันการค้นพบของพระองค์ว่า บาปเป็นเรื่องเฉพาะตัว ไม่ใช่สิ่งติดต่อกันได้ ใครทำบาปคนนั้นก็ได้บาป ใครไม่ทำบาปก็รอดตัวไป พ่อทำบาปก็เรื่องของพ่อ ลูกทำบาปก็เรื่องของลูก คนละคนกัน เปรียบเหมือนพ่อกินข้าวพ่อก็อิ่ม ลูกไม่ได้กินลูกก็หิว หรือลูกกินข้าวลูกก็อิ่ม พ่อไม่ได้กินพ่อก็หิว ไม่ใช่พ่อกินข้าวอยู่ที่บ้าน ลูกอยู่บนยอดเขาแล้วจะอิ่มไปด้วย เพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัว ใครทำใครได้

ดังนั้นตามความเห็นของพระพุทธศาสนา บาปจึงเกิดที่ตัวคนทำเอง คือเกิดที่ใจของคนทำ ใครไปทำชั่ว บาปก็กัดกร่อนใจของคนนั้นให้เสียคุณภาพ เศร้าหมองขุ่นมัวไป ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานไป ไม่เกี่ยวกับคนอื่น

วิ ธี ล้ า ง บ า ป

เมื่อทัศนะในเรื่องกำเนิดบาปต่างกันดังกล่าว วิธีล้างบาปในศาสนาที่มีพระเจ้า กับการแก้ไขพฤติกรรม ในพระพุทธศาสนา จึงห่างกันราวฟ้ากับดิน ศาสนาที่เชื่อพระเจ้า เชื่อผู้สร้าง ผู้ศักดิ์สิทธิ์ สอนว่าพระเจ้าทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ขาด ที่จะยกเลิกบาปให้ใครๆ ได้โดยการไถ่บาป ขออย่างเดียวให้ผู้นั้น ภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าก็แล้วกัน

แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงรู้แจ้งโลกหาใครเสมอเหมือนมิได้ ตรัสสอนว่า

“สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ ความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ เป็นเรื่องเฉพาะตัว”

“นาญฺโญ อฏฺฐ วิโสธเย ใครจะไถ่บาป ทำให้คนอื่นบริสุทธิ์ไม่ได้” ขุ.ธ.๒๕/๒๒/๓๗


พระพุทธวจนะทั้งหมดนี้ปฏิเสธทัศนะที่ว่า บาปของคนหนึ่งจะตกทอดไปยังอีกคนหนึ่งได้ และปฏิเสธลัทธิที่ว่า บาปที่คนหนึ่งทำแล้วจะมีผู้หนึ่งผู้ใดมาไถ่ถอนให้ได้

ในพระพุทธศาสนามีวิธีการแก้ไขบาปอกุศลที่เคยพลาดพลั้งกระทำไป ได้อย่างมีเหตุผลดังนี้

สมมุติว่าเรามีเกลืออยู่ช้อนหนึ่ง ใส่ลงไปในน้ำ ๑ แก้ว เมื่อคนให้ละลาย แล้วลองชิมดู ผลเป็นอย่างไร

“ก็เค็ม”

ถ้าเอาน้ำแก้วนี้ใส่ลงในถังน้ำแล้วเติมน้ำให้เต็ม ชิมดูเป็นอย่างไร

“ก็แค่กร่อยๆ”

ถ้าเอาน้ำในถังนี้ใส่ลงในแท็งก์น้ำฝนใบใหญ่ ชิมดูเป็นอย่างไร

“ก็จืดสนิท”

“เกลือหายไปไหนหรือเปล่า”

“เปล่า ยังอยู่ครบถ้วนตามเดิม”

“แล้วทำไมไม่เค็ม”

“ก็เพราะน้ำในแท็งก์มีปริมาณมาก มากจนสามารถเจือจางรสเค็มของเกลือจนกระทั่งหมดฤทธิ์ เราจึงไม่รู้สึกถึงความเค็ม ภาษาพระท่านเรียก อัพโพหาริก หมายความว่า มีเหมือนไม่มี คือเกลือนั้นยังมีอยู่ แต่ว่าหมดฤทธิ์เสียแล้ว ถือได้ว่าไม่มี”

เช่นกัน วิธีแก้ไขบาปในพระพุทธศาสนาก็คือ การหยุดทำบาป แล้วตั้งใจทำความดีสั่งสมบุญให้มากเข้าไว้ ให้บุญกุศลนั้นมาทำให้ผลบาปทุเลาลงไป การทำบุญอุปมาเสมือนเติมน้ำ ทำบาปอุปมาเสมือนเติมเกลือ เมื่อเราทำบาป บาปนั้นก็ติดตัวเราไป ไม่มีใครไถ่บาปแทนได้ แต่เราจะต้องหมั่นสร้างบุญกุศลให้มาก เพื่อมาทำให้บาปมีฤทธิ์น้อยลงหรือให้หมดฤทธิ์ลงไปให้ได้

ง ด เ ว้ น จ า ก บ า ป ห ม า ย ค ว า ม ว่ า อ ย่ า ง ไ ร ?

งด หมายถึง สิ่งใดที่เคยทำแล้วหยุดเสีย เลิกเสีย

เว้น หมายถึง สิ่งใดที่ไม่เคยทำ ก็ไม่ยอมทำเลย

งดเว้นจากบาป จึงหมายความว่า การกระทำใดก็ตามทั้ง กาย วาจา ใจ ที่เป็นความชั่ว ความร้ายกาจ ทำให้ใจเศร้าหมอง ถ้าเราเคยทำอยู่ก็จะงดเสีย ที่ยังไม่เคยทำก็จะเว้นไม่ยอมทำโดยเด็ดขาด

สิ่ ง ที่ ทำ แ ล้ ว เ ป็ น บ า ป

คือ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่

๑. ฆ่าสัตว์ เช่น ฆ่าคน ยิงนกตกปลา รวมถึงทรมานสัตว์

๒. ลักทรัพย์ เช่น ลักขโมย ปล้น ฉ้อโกง หลอกลวง คอร์รัปชั่น

๓. ประพฤติผิดในกาม เช่น เป็นชู้ ฉุดคร่า อนาจาร

๔. พูดเท็จ เช่น พูดโกหก พูดเสริมความ ทำหลักฐานเท็จ

๕. พูดส่อเสียด เช่น พูดยุยงให้เขาแตกกัน ใส่ร้ายป้ายสี

๖. พูดคำหยาบ เช่น ด่า ประชด แช่งชักหักกระดูก ว่ากระทบ

๗. พูดเพ้อเจ้อ เช่น พูดพล่าม พูดเหลวไหล พูดโอ้อวด

๘. คิดโลภมาก เช่น อยากได้ในทางทุจริต เพ่งเล็งทรัพย์คนอื่น

๙. คิดพยาบาท เช่น คิดอาฆาต คิดแก้แค้น คิดปองร้าย

๑๐. มีความเห็นผิด เช่น เห็นว่าบุญบาปไม่มี เห็นว่าพ่อแม่ไม่มีพระคุณ เห็นว่าตายแล้วสูญ เห็นว่ากฎแห่งกรรมไม่มี

วิ ธี ง ด เ ว้ น จ า ก บ า ป ใ ห้ สำ เ ร็ จ

คนเราประกอบขึ้นด้วยกายและใจ โดยใจจะเป็นผู้คอยควบคุมกายให้ทำหรือไม่ให้ทำสิ่งต่างๆ ตามที่ใจต้องการ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า

“ทุกอย่างมีใจเป็นใหญ่ สำเร็จได้ด้วยใจ ถ้าใครมีใจชั่วเสียแล้ว การพูดการกระทำของเขา ก็ย่อมชั่วตามไปด้วย เพราะการพูดชั่วทำชั่วนั้น ความทุกข์ก็ย่อมตามสนองเขา เหมือนวงล้อเกวียน ที่หมุนเวียนตามบดขยี้รอยเท้าโค ที่ลากมันไป

แต่ถ้ามีใจบริสุทธิ์ การพูด การกระทำ ก็ย่อมบริสุทธิ์ตามไปด้วย เพราะการพูด การกระทำ ที่บริสุทธิ์ดีงามนั้น ความสุขก็ย่อมตามสนองเขาเหมือนเงาที่ไม่พรากไปจากร่างฉะนั้น” ขุ.ธ.๒๕/๑๑/๑๕


ดังนั้นผู้ที่ปรารถนาหาความสุขความก้าวหน้าทั้งหลาย จึงต้องฝึกใจตนเองให้งดเว้นบาป ซึ่งทำได้โดย ต้องฝึกให้ใจมีหิริโอตตัปปะเสียก่อน

หิ ริ โ อ ต ตั ป ป ะ คื อ อ ะ ไ ร ?

หิริ คือความละอายบาป ถึงไม่มีใครรู้แต่นึกแล้วกินแหนงแคลงใจ ไม่สบายใจ เป็นความรู้สึกรังเกียจ ไม่อยากทำบาป เห็นบาปเป็นของสกปรก จะทำให้ใจของเราเศร้าหมอง จึงไม่ยอมทำบาป

โอตตัปปะ คือความเกรงกลัวผลของบาป เป็นความรู้สึกกลัว กลัวว่าเมื่อทำไปแล้ว บาปจะส่งผล เป็นความทุกข์ทรมานแก่เรา จึงไม่ยอมทำบาป

สมมุติว่าเราเห็นเหล็กชิ้นหนึ่งเปื้อนอุจจาระอยู่ เราไม่อยากจับต้อง รังเกียจว่าอุจจาระจะมาเปื้อนมือเรา ความรู้สึกนี้เปรียบได้กับ หิริ คือความละอายต่อบาป

สมมุติว่าเราเห็นเหล็กท่อนหนึ่งเผาไฟอยู่จนร้อนแดง เรามีความรู้สึกกลัวไม่กล้าจับต้อง เพราะเกรงว่า ความร้อนจะลวกเผาไหม้มือเรา ความรู้สึกนี้เปรียบได้กับ โอตตัปปะ คือความเกรงกลัวต่อผลของบาป

“สัตบุรุษ ผู้สงบระงับ ประกอบด้วยหิริโอตตัปปะ ตั้งมั่นอยู่ในธรรมขาว ท่านเรียกว่า ผู้มีธรรมของเทวดาในโลก” ขุ.ชา.เอก.๒๗/๖/๓

เ ห ตุ ที่ ทำ ใ ห้ เ กิ ด หิ ริ

๑. คำนึงถึงความเป็นคน หรือชาติตระกูล “เรานี่มีบุญอุตส่าห์ได้เกิดเป็นคนแล้ว ทำไมจึงจะมาฆ่าสัตว์ ทำไมต้องมาขโมยเขากิน นั่นมันเรื่องของสัตว์เดียรัจฉาน ทำไมต้องมาแย่งผัวแย่งเมียเขา ไม่ใช่หมูหมากาไก่ ในฤดูผสมพันธุ์นี่ เรานี่มันชาติคน เป็นมนุษย์สูงกว่าสัตว์ทั้งหลายอยู่แล้ว” พอคำนึงถึงชาติตระกูล หิริก็เกิดขึ้น

๒. คำนึงถึงอายุ “โธ่เอ๋ย ! เราก็แก่ป่านนี้แล้ว จะมานั่งเกี้ยวเด็กสาวๆ คราวลูกคราวหลานอยู่ได้อย่างไร โธ่เอ๋ย! เราก็แก่ป่านนี้แล้วจะมาขโมยของเด็กรุ่นลูกรุ่นหลานได้อย่างไร” พอคำนึงถึงวัย หิริก็เกิดขึ้น

๓. คำนึงถึงความดีที่เคยทำ “เราก็เคยมีความองอาจกล้าหาญ ทำความดีมาก็มากแล้ว ทำไมจะต้องมาทำความชั่วเสียตอนนี้ล่ะ ไม่เอาละ ไม่ยอม ทำความชั่วละ” พอคำนึงถึงความดีเก่าก่อน หิริก็เกิดขึ้น

๔. คำนึงถึงความเป็นพหูสูต “ดูซิ...เราก็มีความรู้ขนาดนี้แล้ว รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว รู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ รู้สารพัดจะรู้แล้วจะมาทำความชั่วได้อย่างไร” พอคำนึงถึงความเป็นพหูสูต หิริก็เกิดขึ้น

๕. คำนึงถึงพระศาสดา “เราเองก็ลูกพระพุทธเจ้า พระองค์สู้ทนเหนื่อยยาก ตรัสรู้ธรรมแล้วทรงสั่งสอน อบรมพวกเราต่อๆ กันมา เราจะละเลยคำสอน ของพระองค์ไปทำชั่วได้อย่างไร” พอคำนึงถึงพระศาสดา หิริก็เกิดขึ้น

๖. คำนึงถึงครูอาจารย์ สถานศึกษา “ฮึ ! เราก็ศิษย์มีครูเหมือนกัน ครู อาจารย์สู้อบรมสั่งสอนมา ชื่อเสียงสถาบันของเราก็โด่งดังเป็นที่ยกย่องสรรเสริญ แล้วเราจะมาทำชั่วได้อย่างไร” พอคำนึงถึงครูอาจารย์ สำนักเรียน หิริก็เกิดขึ้น

เ ห ตุ ที่ ทำ ใ ห้ เ กิ ด โ อ ต ตั ป ป ะ

๑. กลัวคนอื่นติ “นี่ถ้าเราขืนไปขโมยของเขาเข้า คนอื่นรู้คงเอาไปพูดกันทั่ว ชื่อเสียงที่เราอุตส่าห์สร้างมาอย่างดี คงพังพินาศหมดคราวนี้เอง” เมื่อกลัวว่าคนอื่นเขาจะติเอา โอตตัปปะก็เกิดขึ้น จึงไม่ยอมทำบาป

๒. กลัวการลงโทษ “อย่าดีกว่า ขืนไปฆ่าเขาเข้า บาปกรรมตามทัน ตำรวจจับได้ มีหวังติดคุกตลอดชีวิตแน่” เมื่อกลัวว่าบาปจะส่งผลให้ถูกลงโทษ โอตตัปปะก็เกิดขึ้น จึงไม่ยอมทำบาป

๓. กลัวการเกิดในทุคติ “ไม่เอาละ ขืนไปขโมยของเขาอีกหน่อยต้องไปเกิดเป็นสัตว์นรก สัตว์เดียรัจฉาน เป็นเปรต เป็นอสุรกาย ไม่ทำดีกว่า” เมื่อกลัวว่าจะต้องไปเกิดในทุคติ โอตตัปปะก็เกิดขึ้นจึงไม่ยอมทำบาป

ข้ อ เ ตื อ น ใ จ

การทำชั่ว เหมือนการเดินตามกระแสน้ำ เดินไปได้ง่าย ทุกคนพร้อมที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ไปตามกระแสกิเลสอยู่แล้ว ถ้าไม่ควบคุมให้ดี ยอมตกเป็นทาสของกิเลส กระทำสิ่งต่างๆ ตามอำนาจของความอยาก ก็จะประสบทุกข์ในบั้นปลาย

การทำดี เหมือนการเดินทวนกระแสน้ำ เดินลำบาก ต้องใช้ความอดทน ใช้ความมานะพยายาม ต้องระมัดระวังไม่ให้ลื่นล้ม การทำความดีเป็นการทวนกระแสกิเลสในตัว ไม่ทำสิ่งต่างๆ ตามอำเภอใจ คำนึงถึงความ ถูกความดีเป็นที่ตั้ง ไม่ยอมเป็นทาสของความอยาก เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ต้องใช้ความสุขุมรอบคอบ ใช้ความมานะพยายามสูง แต่จะประสบสุขในบั้นปลาย

การทำกลางๆ เหมือนยืนอยู่เฉยๆ กลางกระแสน้ำ ไม่ช้าก็ถูกกระแส น้ำพัดพาไปได้ คนที่คิดว่า “ฉันอยู่ของฉันอย่างนี้ก็ดีแล้ว ไม่ได้ทำความเดือดร้อนให้ใคร แต่ความดีฉันก็ไม่สนใจที่จะทำ” เข้าทำนองบุญก็ไม่ทำ กรรมก็ไม่สร้าง วัดก็ไม่เข้า เหล้าก็ไม่กิน เขาย่อมจะมีโอกาสเผลอไปทำความชั่วได้ในไม่ช้า เพราะใจของคนเรา พร้อมที่จะไหลเลื่อนลงไปในที่ต่ำ ตามอำนาจกิเลสอยู่แล้ว ผู้ที่คิดอย่างนี้จึงเป็นคนประมาทอย่างยิ่ง

ดังนั้นเราชาวพุทธทั้งหลาย นอกจากจะต้องพยายามงดเว้นบาป เพื่อป้องกันใจของเรา ไม่ให้ไหลเลื่อนไปทางต่ำแล้ว จะต้องหมั่นยกใจของเราให้สูงอยู่เสมอ ด้วยการขวนขวายสร้างสมบุญกุศลอยู่เป็นนิจ คือการทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้น

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร ง ด เ ว้ น บ า ป

๑. ทำให้เป็นคนไม่มีเวร ไม่มีภัย

๒. ทำให้เกิดมหากุศลตามมา

๓. ทำให้โรคภัยไข้เจ็บไม่เบียดเบียน

๔. ทำให้เป็นผู้ไม่ประมาท

๕. ทำให้เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น

๖. ทำให้จิตใจผ่องใส พร้อมที่จะรองรับคุณธรรมขั้นสูงต่อไป ฯลฯ

“บัณฑิตเห็นภัยในนรกทั้งหลายแล้ว พึงงดเว้นบาปทั้งหลายเสีย พึงสมาทานอริยธรรมแล้วงดเว้น เมื่อความบากบั่นมีอยู่ ชนไม่พึงเบียดเบียนสัตว์ และรู้อยู่ไม่พึงพูดมุสา ไม่พึงหยิบฉวยของที่เขาไม่ให้ พึงเป็นผู้ยินดีด้วยภรรยาของตน พึงงดภรรยาของคนอื่น และไม่พึงดื่มเมรัยสุราอันยังจิตให้หลง” อง.ปญฺจก.๒๒/๑๗๙/๒๓๘


จบมงคลที่ ๑๙ งดเว้นบาป

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 07:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
นั่งกินเหล้า

รูปภาพ
ขาดความละอาย

รูปภาพ
ทะเลาะวิวาท

รูปภาพ
งานการไม่เสร็จ
............................................................



มงคลที่ ๒๐ สำรวมจากการดื่มน้ำเมา

“ไม้ขีดเพียงก้านเดียว
อาจเผาผลาญเมืองทั้งเมืองให้มอดไหม้ไปได้ฉันใด
น้ำเมาเพียงเล็กน้อย
ก็อาจทำลายทุกสิ่งทุกอย่างของเราได้ฉันนั้น”


สำ ร ว ม จ า ก ก า ร ดื่ ม น้ำ เ ม า ห ม า ย ถึ ง อ ะ ไ ร ?

น้ำเมา โดยทั่วไปหมายถึงเหล้า แต่ในที่นี้หมายถึง ของมึนเมาให้โทษทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำหรือแห้ง รวมทั้งสิ่งเสพย์ติดทุกชนิด

ดื่ม ในที่นี้หมายถึง การทำให้ซึมซาบเข้าไปในร่างกาย ไม่ว่า จะโดยวิธี ดื่ม ดม อัด นัตถุ์ สูบ ฉีด ก็ตาม

สำรวม หมายถึง ระมัดระวังในนัยหนึ่ง และเว้นขาดในอีกนัยหนึ่ง

เ ห ตุ ที่ ใ ช้ คำ ว่ า สำ ร ว ม

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประเภทมีเหตุผล บางศาสนาเห็นโทษของเหล้า เห็นโทษของแอลกอฮอล์ เพราะฉะนั้นนอกจากห้ามดื่มแล้วเอามาทาแผลก็ไม่ได้ จับต้องก็ไม่ได้ คนตายแล้ว เอาแอลกอฮอล์มาเช็ดล้างศพก็ไม่ได้ ถือเป็นของบาป

แต่ในพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ห้ามเหมารวมหมดอย่างนั้น เพราะทรงมองเห็นว่า เหล้าหรือสิ่งเสพย์ติดแม้จะมีโทษมหันต์ แต่ในบางกรณีก็อาจนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ เช่น มอร์ฟีนใช้ฉีดระงับความเจ็บปวด หรือยาบางอย่างต้องอาศัยเหล้า สกัดเอาตัวยาออกมาเพื่อใช้รักษาโรค คือเอาเหล้าเพียงเล็กน้อยมาเป็นกระสายยา ไม่มีรส ไม่มีกลิ่นเหล้าคงอยู่ อย่างนี้ในพระพุทธศาสนาไม่ได้ห้าม แต่บางคนที่อยากจะดื่มเหล้าแล้ว หาข้ออ้าง นำเหล้ามาทั้งขวดเอายาใส่ไปนิดหน่อย อย่างนั้นใช้ไม่ได้

โดยสรุป สำรวมจากการดื่มน้ำเมาจึงหมายถึง การระมัดระวังเมื่อต้องใช้สิ่งเสพย์ติดทั้งหลายในการรักษาโรค และเว้นขาดจากการเสพสิ่งเสพย์ติดให้โทษทุกชนิด ไม่ว่าโดยวิธีใดก็ตาม

โ ท ษ ข อ ง ก า ร ดื่ ม น้ำ เ ม า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรุปโทษของการดื่มสุราไว้ ๖ ประการ คือ

๑. ทำให้เสียทรัพย์ เพราะไหนจะต้องซื้อเหล้ามาดื่มเอง ไหนจะต้องเลี้ยงเพื่อน งานการก็ไม่ได้ทำ ดังนี้แม้เป็นมหาเศรษฐี ถ้าติดเหล้าก็อาจจะล่มจมได้

๒. ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท เพราะดื่มเหล้าแล้วขาดสติไม่สามารถ ควบคุมตนเองได้ จะเห็นได้ว่า ในวงเหล้ามักจะมีเรื่องชกต่อย ตีรันฟันแทงอยู่เสมอ เพื่อนรักกันพอเหล้าเข้าปาก ประเดี๋ยวเดียวก็ทะเลาะกัน ฆ่ากันเสียแล้ว

๓. ทำให้เกิดโรคหลายอย่าง ทั้งโรคตับแข็ง โรคกระเพาะ โรคหัวใจ โรคเส้นโลหิตในสมองแตก โรคทางระบบประสาท ฯลฯ

๔. ทำให้เสียชื่อเสียง เพราะไปทำสิ่งที่ไม่ดีเข้า ใครรู้ว่าเป็นคนขี้เมาก็จะดูถูกเหยียดหยาม ไม่มีใครไว้วางใจ

๕. ทำให้แสดงกิริยาที่อุจาดขาดความละอาย พอเมาแล้วอะไรที่ไม่กล้าทำก็ทำได้ จะนอนอยู่กลางถนน จะเอะอะโวยวาย จะถอดเสื้อผ้าในที่สาธารณะ ทำได้ทั้งนั้น

๖. ทำให้สติปัญญาเสื่อมถอย พอเมาแล้ว จะคิดอะไรก็คิดไม่ออก อ่านหนังสือก็ไม่ถูก พูดจาวกวน พอดื่มหนักๆ เข้าอีกหน่อยก็กลายเป็นคนหลงลืม ปัญญาเสื่อม

“เหล้าจึงผลาญทุกสิ่งทุกอย่าง ผลาญทรัพย์ ผลาญไมตรี ผลาญสุขภาพ ผลาญเกียรติยศ ผลาญศักดิ์ศรี ผลาญสติปัญญา”

การดื่มเหล้านั้น อาจทำให้เกิดความสุขได้บ้างสำหรับคนที่ติด แต่เป็นความสุขหลอกๆ บนความทุกข์ เหล้าทำให้เพลิดเพลิน แต่เป็นการเพลิดเพลินในเรื่องเศร้า

การดื่มน้ำเมา นอกจากจะเป็นการมอมเมาตัวเองวันแล้ววันเล่า ยังเป็น การบั่นทอนทุกสิ่งทุกอย่าง ของตนเองอีกด้วย แม้ที่สุดความสุขทางใจที่คนเมาเห็นว่า ตนได้จากการเสพสิ่งเสพย์ติดนั้น ก็เป็นความสุขจอมปลอม

โ ท ษ ข้ า ม ภ พ ข้ า ม ช า ติ ข อ ง ก า ร ดื่ ม สุ ร า

เหล้าไม่ได้มีโทษเฉพาะชาตินี้เท่านั้น แต่ยังมีโทษติดตัวผู้ดื่มไปข้ามภพข้ามชาติมากมายหลายประการ ตัวอย่างเช่น

๑. ทำให้เกิดเป็นคนใบ้ พวกนี้ตายในขณะเมาเหล้า คนที่เมาเหล้ากำลังได้ที่ ลิ้นจุกปากกันทั้งนั้น พูดไม่รู้เรื่อง ได้แต่ส่งเสียง “แบะๆ” พอตายแล้วก็ตกนรก จากนั้นกลับมาเกิดใหม่ กรรมยังติดตามมาเลยเป็นใบ้

๒. ทำให้เกิดเป็นคนบ้า พวกนี้ภพในอดีตดื่มเหล้ามามาก เวลาเมาก็มีประสาทหลอน เวรนั้นติดตัวมา ในภพชาตินี้เกิดมาก็เป็นบ้า อยู่ดีๆ ก็ได้ยิน เสียงคนมากระซิบบ้าง เห็นภาพหลอนว่าคนนั้นคนนี้จะมาฆ่าบ้าง

๓. ทำให้เกิดเป็นคนปัญญาอ่อน พวกที่ดื่มเหล้าจัดๆ ตอนเมาก็คิดอะไรไม่ออกอยู่แล้ว ด้วยเวรสุรานี้ ก็ส่งผลให้เกิดเป็นคนปัญญาอ่อน

๔. ทำให้เกิดเป็นสัตว์เลื้อยคลาน พวกนี้ดื่มเหล้าเมาจัดๆ ก็ซ้อมคลานมาตั้งแต่ตอนเป็นคน พอตายเข้า ก็ได้เกิดมาคลานสมใจนึก

วิ ธี เ ลิ ก เ ห ล้ า ใ ห้ ไ ด้ เ ด็ ด ข า ด

๑. ตรองให้เห็นโทษ ว่าสุรามีโทษมหันต์ดังได้กล่าวมาแล้ว

๒. ตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะเลิกโดยเด็ดขาด ให้สัจจะกับผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือหรือกับพระภิกษุ

๓. สิ่งใดที่จะเป็นสื่อให้คิดถึงเหล้า เช่น ภาพโฆษณา เหล้าตัวอย่าง ขนไปทิ้งให้หมด ถือเป็นของเสนียด นำอัปมงคลมาสู่บ้าน

๔. นึกถึงศักดิ์ศรีตัวเองให้มาก ว่าเราเป็นชาวพุทธ เป็นลูกพระพุทธเจ้า เป็นศิษย์มีครู เป็นคนมีเกียรติยศ เป็นทายาทมีตระกูล นึกถึงศักดิ์ศรีตัวเองอย่างนี้แล้วจะได้เลิกเหล้าได้สำเร็จ

๕. เพื่อนขี้เหล้าขี้ยาทั้งหลาย พยายามหลีกเลี่ยงออกห่าง ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวเขาก็มาชวนเราไปดื่มเหล้าอีก ข้อนี้สำคัญที่สุด ตราบใดยังคลุกคลี สนิทสนมกับเพื่อนขี้เหล้าอยู่ ยากจะเลิกเหล้าได้

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร สำ ร ว ม จ า ก ก า ร ดื่ ม น้ำ เ ม า

๑. ทำให้เป็นคนมีสติดี

๒. ทำให้ไม่ลุ่มหลง ไม่มัวเมา

๓. ทำให้ไม่เกิดการทะเลาะวิวาท

๔. ทำให้รู้กิจการทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคตได้รวดเร็ว

๕. ทำให้ไม่เป็นบ้า ไม่เป็นใบ้ ไม่เป็นคนปัญญาอ่อน

๖. ทำให้มีแต่ความสุข มีแต่คนนับถือยำเกรง

๗. ทำให้มีชื่อเสียง เป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป

๘. ทำให้ไม่หลงทำร้ายผู้มีพระคุณ

๙. ทำให้มีหิริโอตตัปปะ

๑๐. ทำให้มีความเห็นถูก มีปัญญามาก

๑๑. ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย ฯลฯ


จบมงคลที่ ๒๐ สำรวมจากการดื่มน้ำเมา

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า

รูปภาพ
หมั่นไปวัดเพื่อศึกษาธรรม
............................................................



มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม

“ในการก่อสร้างอาคาร
จำเป็นต้องมีเสาเป็นหลักค้ำจุนตัวอาคารไว้ฉันใด
ในการสร้างความดีทุกชนิด
ก็จำเป็นต้องมีความไม่ประมาท
เป็นแกนหลักรองรับฉันนั้น”


ค ว า ม ไ ม่ ป ร ะ ม า ท คื อ อ ะ ไ ร ?

ความไม่ประมาท คือการมีสติกำกับตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะคิด จะพูด จะทำสิ่งใดๆ ไม่ยอมถลำลงไปในทางที่เสื่อม และไม่ยอมพลาดโอกาสในการทำความดี ตระหนักดีถึงสิ่งที่ต้องทำ ถึงกรรมที่ต้องเว้น ใส่ใจสำนึกอยู่เสมอในหน้าที่ ไม่ปล่อยปละละเลย กระทำอย่างจริงจังและดำเนินรุดหน้าตลอดเวลา

ความไม่ประมาทเป็นคุณธรรมที่สำคัญยิ่ง กล่าวได้ว่าคำสอนในพระพุทธศาสนาทั้งหมด เมื่อสรุปแล้วก็คือคำสอนให้เราไม่ประมาท ดังจะเห็นได้จากปัจฉิมโอวาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราจะเตือนเธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย เป็นของไม่เที่ยง มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด” (มหาปรินิพพานสูตร) ที.ม.๑๐/๑๔๓/๑๘๐

ไ ม่ ป ร ะ ม า ท ใ น ธ ร ร ม ห ม า ย ค ว า ม ว่ า อ ย่ า ง ไ ร ?

คำว่า “ธรรม” ในที่นี้หมายถึง คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาแปลเอาความท่านแปลว่าเหตุ หมายถึงต้นเหตุ ข้อธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกข้อ ถ้าดูให้ดีแล้วล้วนแต่เป็นคำบอกเหตุทั้งสิ้นคือ บอกว่าถ้าทำเหตุอย่างนี้แล้ว จะเกิดผลอย่างนั้น หรือไม่ก็บอกว่าผลอย่างนี้เกิดมาจากเหตุอย่างนั้น เช่น ความขยันหมั่นเพียรเป็นเหตุให้เกิดความเจริญ ความเกียจคร้านเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อม

ดังนั้น ไม่ประมาทในธรรม จึงหมายถึง ไม่ประมาทในเหตุ ให้มีสติรอบคอบ ตั้งใจทำเหตุที่ดีอย่างเต็มที่ เพื่อให้บังเกิดผลดีตามมานั่นเอง

ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง ผู้ ที่ ยั ง ป ร ะ ม า ท อ ยู่

๑. พวกกุสีตะ คือพวกไม่ทำเหตุดีแต่จะเอาผลดี เป็นพวกเกียจคร้าน เช่น เวลาเรียนไม่ตั้งใจเรียนแต่อยากสอบได้ งานการไม่ทำ แต่ความดีความชอบจะเอา ไม่ทำประโยชน์แก่ใคร แต่อยากให้คนทั้งหลายนิยมชมชอบ ทานศีลภาวนาไม่ปฏิบัติ แต่อยากไปสวรรค์ไปนิพพาน ฯลฯ

๒. พวกทุจริตะ คือพวกทำเหตุเสียแต่จะเอาผลดี เป็นพวกทำอะไรตามอำเภอใจ แต่อยากได้ผลดี เช่น ทำงานเหลวไหลเสียหาย แต่พอถึงเวลาพิจารณาผลงานอยากได้เงินเดือนเพิ่ม ๒ ขั้น ปากเสียเที่ยวด่าว่าชาวบ้านทั่วเมือง แต่อยากให้ทุกคนรักตัว ฯลฯ

๓. พวกสิถิละ คือพวกทำเหตุดีเล็กน้อยแต่จะเอาผลดีมากๆ เป็นพวกค้ากำไรเกินควร เช่น จุดธูป ๓ ดอกบูชาพระ แต่จะเอาสวรรค์วิมาน มีนางฟ้าเทวดาคอยรับใช้นับหมื่นนับแสน อ่านหนังสือแค่ ๑ ชั่วโมง แต่จะเอาที่ ๑ ในชั้น เลี้ยงข้าวเขาจานหนึ่ง แต่จะให้เขาจงรักภักดีต่อตัวเองไปจนตาย

รวมความแล้วผู้ที่ยังประมาทอยู่มี ๓ จำพวก คือพวกไม่ทำเหตุดีแต่จะเอาผลดี พวกทำเหตุเลวแต่จะเอาผลดี พวกทำเหตุน้อยแต่จะเอาผลมาก ส่วนผู้ไม่ประมาทในธรรม มีคุณสมบัติตรงข้ามกับคน ๓ จำพวกดังกล่าว คือจะต้องไม่เป็นคนดูเบาในการทำเหตุ ต้องทำแต่เหตุที่ดี ทำให้เต็มที่ และทำให้สมผล ผู้ที่ไม่ประมาททุกคนจะต้องมีสติอยู่เสมอ

ส ติ คื อ อ ะ ไ ร ?

สติ คือความระลึกนึกได้ถึงความผิด-ชอบ-ชั่ว-ดี เป็นสิ่งกระตุ้นเตือนให้คิดพูดทำในสิ่งที่ถูกต้อง ทำให้ไม่ลืมตัว ไม่เผลอตัว ใช้ปัญญาพิจารณา ใคร่ครวญสิ่งต่างๆ ได้

ธรรมชาติของจิตมีการนึกคิดตลอดเวลา การนึกคิดนี้ถ้าไม่มีสติกำกับ ก็จะกลายเป็นความคิดฟุ้งซ่าน ไปตามอารมณ์ต่างๆ ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ แต่ถ้ามีสติกำกับแล้ว จะทำให้ไม่เผลอ ควบคุมความนึกคิดได้ ไม่ปล่อยใจให้เลื่อนลอยไป ไม่ปล่อยอารมณ์ให้เป็นไปตามสิ่งที่มากระทบ

ห น้ า ที่ ข อ ง ส ติ

๑. สติเป็นเครื่องทำให้เกิดความระมัดระวังตัว ป้องกันภัยที่จะมาถึงตัว คือระแวงในสิ่งที่ควรระแวง และระวังป้องกันภัยที่จะมาถึงในอนาคต

ความระแวง หมายถึง ความกริ่งเกรงล่วงหน้าว่าจะมีความเสียหาย อันใดเกิดขึ้น เช่น คนขับรถขณะฝนกำลังตกถนนลื่น ก็ระแวงว่ารถจะคว่ำ ระแวงว่าจะมีรถอื่นสวนมาในระยะกระชั้นชิด

ส่วนความระวัง คือการป้องกันไม่ให้ภัยชนิดนั้นๆ เกิดขึ้น เช่น ลดความเร็วลง ตั้งใจขับมากขึ้น อย่างนี้เป็นต้น

๒. สติเป็นเครื่องยับยั้ง เตือนไม่ให้ตกไปในทางเสื่อม ไม่ให้มัวเมาลุ่มหลง ไม่ให้เพลิดเพลินไป ในสิ่งที่เป็นทุกข์เป็นโทษต่อตนเอง เช่น เพื่อนชวนไปดื่มเหล้า ก็มีสติยับยั้งตัวเองไว้ว่าอย่าไป เพราะเป็นโทษต่อตัวเอง ฯลฯ

๓. สติเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนให้ขวนขวายในการสร้างความดี ไม่แชเชือนหยุดอยู่กับที่ ไม่ทอดธุระ ไม่เกียจคร้าน ป้องกันโรค “นอนบิดติดเสื่อ งานการเบื่อทำไม่ไหว ข้าวปลากินได้อร่อยดี”

๔. สติเป็นเครื่องเร่งเร้าให้มีความขะมักเขม้น คือเมื่อเตือนตัวเองให้ทำความดีแล้วก็ให้ทำอย่างเอาจริงเอาจัง ไม่อืดอาดยืดยาด ไม่ทำแบบเรื่อยๆ เฉื่อยๆ

๕. สติเป็นเครื่องทำให้เกิดความสำนึกในหน้าที่อยู่เสมอ ตระหนักถึงสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ ตระหนักถึงสิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ

๖. สติเป็นเครื่องทำให้เกิดความละเอียดรอบคอบในการทำงาน ไม่สะเพร่า ไม่ชะล่าใจว่าสิ่งนั้นๆ เป็นเรื่องเล็กน้อยไม่เป็นไร

คำ อุ ป ม า ส ติ

สติเสมือนเสาหลัก เพราะปักแน่นในอารมณ์ คือคนที่มีสติเมื่อจะไตร่ตรองคิดในเรื่องใด ใจก็ปักแน่นคิดไตร่ตรองในเรื่องนั้นอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่คิดฟุ้งซ่านไปเรื่องอื่น คิดไตร่ตรองจนเข้าใจแจ่มแจ้ง ทะลุปรุโปร่ง ท่านจึงเปรียบสติเสมือนเสาหลัก

สติเสมือนนายประตู เพราะจะทำหน้าที่เสมือนนายประตู คอยเฝ้าดูสิ่งต่างๆ ที่จะผ่านเข้ามากระทบใจ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ตลอดจนเฝ้าดูถึงอารมณ์ที่ใจคิด ถ้าสิ่งใดเกิดขึ้นสติก็จะใคร่ครวญทันทีว่า ควรปล่อยให้ผ่านไปหรือไม่ หรือควรหยุดไว้ก่อนปรับปรุงแก้ไขให้ดีเสียก่อน

สติเสมือนขุนคลัง เพราะคอยตรวจตราอยู่ทุกเมื่อ ว่าของที่ได้เข้ามาและใช้ออกไปมีเท่าไร งบบุญงบบาปของเราเป็นอย่างไร ตรวจตราดูอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่ยอมให้ตัวเองเป็นหนี้บาป

สติเสมือนหางเสือ เพราะจะเป็นตัวควบคุมเส้นทางดำเนินชีวิตของเรา ให้มุ่งตรงไปสู่ความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่วางไว้ ไม่หลงไปทำในสิ่งที่ไม่ควร เหมือนคอยระมัดระวังไม่ให้เรือไปเกยตื้น

ป ร ะ โ ย ช น์ ข อ ง ส ติ

๑. ควบคุมรักษาสภาพจิตให้อยู่ในภาวะที่เราต้องการ โดยการตรวจตราความคิด เลือกรับสิ่งที่ต้องการไว้ กันสิ่งที่ไม่ต้องการออกไป ตรึงกระแสความคิดให้เข้าที่ ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย เช่น จะดูหนังสือก็สนใจ คิดติดตามไปตลอด ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่คิดเรื่องอื่น จะทำสมาธิใจก็จรดนิ่ง สงบตั้งมั่น ละเอียดอ่อนไปตามลำดับ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวก เพราะฉะนั้น “ที่ใดมีสติ ที่นั่นมีสมาธิ ที่ใดมีสมาธิ ที่นั่นมีสติ”

๒. ทำให้ร่างกายและจิตใจอยู่ในสภาพเป็นตัวของตัวเอง ไม่เป็นทาสของอารมณ์ต่างๆ เช่น ความโกรธเคือง ความลุ่มหลงมัวเมา จึงมีความโปร่งเบา ผ่อนคลาย เป็นสุข โดยสภาพของมันเอง พร้อมที่จะเผชิญความเป็นไปต่างๆ และจัดการกับสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องเหมาะสม

๓. ทำให้ความคิดและการรับรู้ขยายวงกว้างออกไปได้โดยไม่มีสิ้นสุด เพราะไม่ถูกบีบคั้นด้วยกิเลสต่างๆ จึงทำให้ความคิดเป็นอิสระมีพลัง แต่มีสติควบคุม เสมือนเรือที่มีหางเสือควบคุมอย่างดี ย่อมสามารถแล่นตรงไปใน ทิศทางที่ต้องการได้โดยไม่วกวน

๔. ทำให้การพิจารณาสืบค้นด้วยปัญญาดำเนินไปได้เต็มที่ เพราะมีความคิดที่เป็นระเบียบ และมีใจซึ่งมีพลังเข้มแข็ง จึงเป็นการเสริมสร้างปัญญาให้บริบูรณ์

๕. ชำระพฤติกรรมทุกอย่าง ทั้งกาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ เพราะมีสติจึงไม่เผลอไปเกลือกกลั้วบาปอกุศลกรรม ทำให้พฤติกรรมต่างๆ เป็นไปด้วยปัญญาหรือเหตุผลที่บริสุทธิ์

ก า ร ฝึ ก ส ติ ใ ห้ เ ป็ น ค น ไ ม่ ป ร ะ ม า ท

๑. มีสติระลึกถึงการละเว้นทุจริตทางกาย วาจา ใจ อยู่เนืองๆ มิได้ขาด จะไปทำชั่วทำบาปอะไรเข้า ก็มีสติระลึกได้ทันทีว่าสิ่งที่กำลังจะทำนั้นเป็นบาปหรือไม่ ถ้าเป็นบาปก็ไม่ยอมทำโดยเด็ดขาด

๒. มีสติระลึกถึงการประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ อยู่เนืองๆ มิได้ขาด จะทำอะไรก็มีสติระลึกได้เสมอว่า สิ่งที่กำลังจะทำนั้นเป็นบุญเป็นกุศลหรือไม่ ถ้าเป็นกุศลจึงทำ

๓. มีสติระลึกถึงความทุกข์ในอบายภูมิอยู่เนืองๆ มิได้ขาด มีสติระลึกได้เสมอว่า การเกิดในอบายภูมิ เป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉาน นั้นมีทุกข์มากเพียงไร เมื่อระลึกได้เช่นนี้แล้วก็ไม่ยอมทำชั่วเลย เพราะเกรงว่าจะต้องไปเกิดในอบายภูมิเช่นนั้น

๔. มีสติระลึกถึงความทุกข์ อันเกิดจากการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ในวัฏฏสงสารอยู่เนืองๆ มิได้ขาด มีสติระลึกได้ว่าถ้าเรายังต้องเวียนว่าย ตายเกิดอยู่อย่างนี้ ก็ต้องมีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์อยู่ร่ำไป จึงหาโอกาสปฏิบัติธรรมอย่างเต็มที่ เพื่อให้เข้านิพพานให้ได้เร็วที่สุดจะได้หมดทุกข์ เมื่อระลึกเช่นนี้บ่อยๆ ย่อมไม่หลงในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ไม่กำหนัด ในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคืองได้ในที่สุด

๕. มีสติระลึกถึงกรรมฐานภาวนาที่จะละราคะ โทสะ โมหะ ให้ขาด จากสันดานอยู่เนืองๆ มิได้ขาด มีสติระลึกได้ว่า การที่เราจะทำดีหรือทำชั่วนั้น ขึ้นอยู่กับใจของเราเป็นสำคัญ ว่าใจของเราจะเข้มแข็งทรงพลัง เอาชนะความทะยานอยากต่างๆ ได้หรือไม่ และวิธีที่จะฝึกใจได้ดีที่สุดคือ การฝึกทำสมาธิ จึงต้องหาเวลาทำสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ

สิ่ ง ที่ ไ ม่ ค ว ร ป ร ะ ม า ท อ ย่ า ง ยิ่ ง

๑. ไม่ประมาทในเวลา มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า “วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่” อย่ามัวเมาทำในสิ่งไร้สาระ เช่น เล่นไพ่ คุยโม้ ดูแฟชั่น ให้เร่งรีบทำงานให้เต็มที่แข่งกับเวลา เพราะเวลามีน้อย เมื่อกลืนกินชีวิตไปแล้วก็เรียกกลับคืนไม่ได้

๒. ไม่ประมาทในวัย มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า อย่าคิดว่าตัวยังเป็นเด็กอยู่ จึงเที่ยวเล่นเพลิดเพลินไปวันๆ หนึ่ง เพราะถ้านับอายุตั้งแต่ชาติแรกๆ จนถึงบัดนี้ แต่ละคนต่างมีอายุคนละหลายกัปป์แล้ว

๓. ไม่ประมาทในความไม่มีโรค มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า อย่าคิด ว่าเราจะแข็งแรงอยู่อย่างนี้ตลอดไป ถ้ากรรมชั่วในอดีตตามมาทันอาจป่วยเป็นโรค ไม่สบายเมื่อไรก็ได้ เพราะฉะนั้นในขณะที่สุขภาพยังดีอยู่นี้ ต้องรีบขวนขวายสร้างความดีให้เต็มที่

๔. ไม่ประมาทในชีวิต มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า อย่าคิดว่าเรายังมี ชีวิตอยู่สุขสบายดี เราจะยังมีชีวิตอยู่อีกนาน เพราะจริงๆ แล้วเราอาจจะตายเมื่อไรก็ได้ มัจจุราชไม่มีเครื่องหมายนำหน้า จึงเร่งรีบขวนขวายในการละความชั่ว สร้างความดีและทำจิตใจให้ผ่องใสอย่างเต็มที่ ทุกรูปแบบ ทุกโอกาส

๕. ไม่ประมาทในการงาน มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่าจะทำงานทุกอย่าง ที่มาถึงมือให้ดีที่สุด ทำอย่างทุ่มเทไม่ออมมือ ทำงานไม่ให้คั่งค้าง ไม่ท้อถอย ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

๖. ไม่ประมาทในการศึกษา มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า จะขวนขวายหาความรู้อย่างเต็มที่ อะไรที่ควรอ่านควรท่องก็จะรีบอ่านรีบท่องโดยไม่แชเชือน ตระหนักถึงคุณค่า และความสำคัญของการศึกษาหาความรู้ ซึ่งจะเป็นกุญแจไขปัญหาชีวิต

๗. ไม่ประมาทในการปฏิบัติธรรม มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า จะปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอไม่ย่อท้อ โดยเริ่มตั้งแต่บัดนี้ ไม่ใช่รอจนแก่ค่อยเข้าวัด จะฟังเทศน์ก็หูตึงฟังไม่ถนัด จะนั่งสมาธิก็ปวดเมื่อยขัดยอกไปหมด ลุกก็โอยนั่งก็โอย เมื่อระลึกได้เช่นนี้จึงมีความเพียรใส่ใจในการปฏิบัติธรรม เพราะทราบ ดีว่าการปฏิบัติธรรมนั้น ทำให้เกิดความสุขแก่ตนทั้งโลกนี้และโลกหน้า และเป็นวิธีการเดียวเท่านั้นที่ทำให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายอันสูงสุดแห่งชีวิต คือนิพพาน

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร ไ ม่ ป ร ะ ม า ท ใ น ธ ร ร ม

๑. ทำให้ได้รับมหากุศล

๒. ทำให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ตายสมดังพุทธวจนะ

๓. ทำให้ไม่ตกไปสู่อบายภูมิ

๔. ทำให้คลายจากความทุกข์

๕. ทำให้เพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่ายในการสร้างความดี

๖. ย่อมมีสติอันเป็นทางมาแห่งการสร้างกุศลอื่นๆ

๗. ย่อมได้รับความสุขในการดำรงชีพ

๘. เป็นผู้ตื่นตัว ไม่เพิกเฉยละเลยในการสร้างความดี

๙. ความชั่วความไม่ดีต่างๆ ย่อมสูญสิ้นไปโดยเร็ว ฯลฯ

“ปมาโท มจฺจุโน ปทํ ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย อปฺปมาโท อมตํ ปทํ ความไม่ประมาท เป็นทางอมตะ” ขุ.ธ.๒๕/๑๒/๑๘

“เวลาใด บัณฑิตกันความประมาทออกได้ด้วยความไม่ประมาท เมื่อนั้น เขานับว่าได้ขึ้นสู่ปราสาท คือปัญญา ไร้ความเศร้าโศก สามารถมองเห็นประชาชนผู้โง่เขลา ผู้ยังต้องเศร้าโศกอยู่ เสมือนคนยืนอยู่บนยอดเขา มองลงมาเห็นฝูงชน ที่ยืนอยู่บนพื้นดินฉะนั้น” ขุ.ธ.๒๕/๑๒/๑๘


รูปภาพ
ประมาทในโรค

รูปภาพ
ประมาทในวัย
............................................................



จบมงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2009, 06:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
แสดงความเคารพพระบรมสารีริกธาตุ
............................................................



มงคลที่ ๒๒ มีความเคารพ

“เมื่อจะใช้ประโยชน์จากสิ่งใด
เราจำเป็นต้องรู้ถึงคุณค่าของสิ่งนั้นก่อนฉันใด
ผู้ที่จะรับประโยชน์จากบุคคลอื่นได้
ก็จำเป็นต้องมีความเคารพต่อบุคคลทั้งหลายก่อนฉันนั้น
เป็นสิ่งจำเป็นในการเดินทางไกลฉันใด
ความเป็นพหูสูต
ก็เป็นสิ่งจำเป็นในการบุกเบิก
สร้างความเจริญให้แก่ชีวิตฉันนั้น”


ค ว า ม เ ค า ร พ คื อ อ ะ ไ ร ?

ความเคารพ หมายถึง ความตระหนัก ซาบซึ้ง รู้ถึงคุณความดีที่มีอยู่จริงของบุคคลอื่น ยอมรับนับถือความดีของเขาด้วยใจจริง แล้วแสดงความนับถือต่อผู้นั้นด้วยการแสดงความอ่อนน้อม อ่อนโยน อย่างเหมาะสม ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

วัตถุทั้งหลายในโลก ต่างมีคุณสมบัติเฉพาะตัวของมัน ถ้าใครทราบคุณสมบัติเหล่านั้นตามความเป็นจริง ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก เช่น นักวิทยาศาสตร์รู้คุณสมบัติของแม่เหล็ก ก็นำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ รู้คุณสมบัติของแร่เรเดียม ก็นำไปใช้รักษาโรคมะเร็งได้

แต่การที่จะรู้คุณสมบัติตามความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ นั้น ทำได้ยากมาก เป็นวิสัยของนักปราชญ์ ของผู้มีปัญญาเท่านั้น

เช่นกัน คนทั้งหลายในโลกต่างก็มีคุณความดีในตัวต่างๆ กันไป มาก บ้างน้อยบ้างไม่เท่ากัน ผู้ใดทราบถึงคุณความดีของบุคคลทั้งหลายได้ตามความเป็นจริง ก็จะเป็นประโยชน์ ทำให้มีโอกาสที่จะถ่ายทอดคุณความดีนั้นๆ จากผู้อื่นมาสู่ตนเอง แต่การที่จะสามารถรู้เห็นถึงคุณความดีของผู้อื่น ก็ทำได้ยาก ยิ่งกว่าการรู้คุณสมบัติของวัตถุต่างๆ เพราะมีกิเลสมาบังใจ เช่น มีความคิดลบหลู่คุณท่านบ้าง ความไม่ใส่ใจบ้าง ความทะนงตัวบ้าง ทำให้มองคนอื่นกี่คนๆ ก็ไม่เห็นมีใครดี คนนั้นก็ไม่ดี คนนี้ก็ไม่ดี คนไหนก็ไม่ดี ไม่เห็นมีใครดีสักคน ถ้าจะมีก็เห็นจะมีอยู่คนเดียว...ใคร ? ตัวเอง

คนพวกนี้เป็นพวกตาไม่มีแวว คือตาก็ใสๆ ดี แต่ไม่เห็นเพราะขาดความสังเกต มองคุณความดีของคนอื่นไม่ออก เมื่อมองความดีของเขาไม่ออก ก็ไม่สนใจที่จะถ่ายทอด เอาความดีของเขาเข้ามาสู่ตัวเอง

ดังนั้น คนที่มีปัญญามากจนกระทั่งตระหนักในคุณความดีของผู้อื่น จึงจัดเป็นคนพิเศษจริงๆ เพราะใจของเขาได้ยกสูงขึ้นแล้ว พ้นจากความถือตัวต่างๆ เปิดกว้างพร้อมที่จะรองรับความดีจากผู้อื่นเข้าสู่ตน คนชนิดนี้คือ คนที่มีความเคารพ

สิ่ ง ที่ ค ว ร เ ค า ร พ อ ย่ า ง ยิ่ ง

ในโลกนี้มีคน สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ การงาน และอื่นๆ อีกมากมายจนนับไม่ถ้วนที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะให้เรามีความเคารพ ไม่ดูเบา ตระหนักในสิ่งมีคุณค่าที่สำคัญ ๗ ประการ ได้แก่

๑. ให้มีความเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

๒. ให้มีความเคารพในพระธรรม

๓. ให้มีความเคารพในพระสงฆ์

๔. ให้มีความเคารพในการศึกษา

๕. ให้มีความเคารพในสมาธิ

๖. ให้มีความเคารพในความไม่ประมาท

๗. ให้มีความเคารพในการต้อนรับแขก

ความเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือตระหนักถึงพระคุณความ ดีอันมีอยู่ในพระองค์ ซึ่งกล่าวโดยย่อ ได้แก่ พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพ ดังนี้

สมัยเมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ ก็แสดงความเคารพโดย

๑. เข้าเฝ้าทั้ง ๓ กาล คือเช้า กลางวัน เย็น

๒. เมื่อพระองค์ไม่สวมรองเท้าจงกรม เราจะไม่สวมรองเท้าจงกรม

๓. เมื่อพระองค์จงกรมในที่ต่ำ เราจะไม่จงกรมในที่สูงกว่า

๔. เมื่อพระองค์ประทับในที่ต่ำ เราจะไม่อยู่ในที่สูงกว่า

๕. ไม่ห่มผ้าคลุมบ่าทั้งสอง ในที่ซึ่งทอดพระเนตรเห็น

๖. ไม่สวมรองเท้าในที่ซึ่งทอดพระเนตรเห็น

๗. ไม่กางร่มในที่ซึ่งทอดพระเนตรเห็น

๘. ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะในที่ซึ่งทอดพระเนตรเห็น

สมัยเมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วก็แสดงความเคารพโดย

๑. ไปไหว้พระเจดีย์ตามโอกาส

๒. ไปไหว้สังเวชนียสถาน คือสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา ปรินิพพาน ตามโอกาส

๓. เคารพพระพุทธรูป

๔. เคารพเขตพุทธาวาส คือเขตโบสถ์

๕. ไม่สวมรองเท้าในลานพระเจดีย์

๖. ไม่กางร่มในลานพระเจดีย์

๗. เมื่อเดินใกล้พระเจดีย์ ไม่เดินไปพูดไป

๘. เมื่อเข้าในเขตอุโบสถ ก็ถอดรองเท้า หุบร่ม ไม่ทำอาการต่างๆ ซึ่งแสดงถึงความกระด้าง หยาบคาย

๙. ปฏิบัติตนตามพุทธโอวาทอยู่เป็นนิตย์

ความเคารพในพระธรรม คือตระหนักถึงคุณประโยชน์อันมหาศาล ของพระธรรมคำสั่งสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพ ดังนี้

๑. เมื่อมีประกาศแสดงธรรมก็ไปฟัง

๒. ฟังธรรมด้วยความสงบ สำรวม ตั้งใจ

๓. ไม่นั่งหลับ ไม่นั่งคุยกัน ไม่คิดฟุ้งซ่าน ขณะฟังธรรม

๔. ไม่วางหนังสือธรรมะไว้ในที่ต่ำ

๕. ไม่ดูหมิ่นพระธรรม

๖. บอกธรรม สอนธรรม ด้วยความระมัดระวังไม่ให้ผิดพลาด

ความเคารพในพระสงฆ์ คือตระหนักถึงคุณความดีของพระสงฆ์ ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ เป็นผู้สืบอายุพระพุทธศาสนา แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพ ดังนี้

๑. กราบไหว้ โดยกิริยาอาการเรียบร้อย

๒. นั่งเรียบร้อย ไม่นั่งกอดเข่าเจ่าจุก

๓. ไม่สวมรองเท้า ไม่กางร่ม ในที่ประชุมสงฆ์

๔. ไม่คะนองมือคะนองเท้าต่อหน้าท่าน

๕. เมื่อพระเถระไม่เชิญ ไม่แสดงธรรม

๖. เมื่อพระเถระไม่เชิญ ไม่อวดรู้แก้ปัญหาธรรม

๗. ไม่เดิน ยืน นั่ง เบียดพระเถระ

๘. แลดูท่านด้วยจิตเลื่อมใส

๙. ต้อนรับท่านด้วยไทยธรรม

ความเคารพในการศึกษา คือตระหนักถึงคุณค่าของการศึกษาหาความรู้ แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพ โดยตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มที่ทั้งทางโลกและทางธรรม จะศึกษาเรื่องใดก็ศึกษาให้ถึงแก่น ให้เข้าใจจริงๆ ไม่ทำเหยาะ แหยะ บำรุงการศึกษา สนับสนุนการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม

ความเคารพในสมาธิ คือตระหนักถึงคุณประโยชน์อันมหาศาลของ การทำสมาธิ แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพ โดยตั้งใจฝึกสมาธิอย่างสม่ำเสมอให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพราะสมาธิเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการสร้างความดีทั้งหลาย เป็นการฝึกฝนตนเองอย่างยิ่งยวด ทำให้รู้และเข้าใจธรรมอย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้จากในไตรสิกขา ซึ่งถือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ว่า “ศีลจะเป็นพื้นฐานทำให้เกิดสมาธิได้ง่าย แล้วสมาธิจะทำให้เกิดปัญญาซึ่งเป็นเครื่องพาเราให้บรรลุนิพพาน” จะเห็นว่าเรารักษาศีลก็เพื่อไม่ให้ไปทำความชั่ว ทำให้ใจไม่เศร้าหมองเป็นสมาธิได้ง่าย และปัญญาก็เกิดจากสมาธิ สมาธิจึงเป็นหัวใจหลักในการทำความดีทุกชนิด แม้การกำจัดกิเลสเข้าสู่นิพพาน

“สมาธิ ภิกฺขเว ภาเวถ ฯ สมาหิโต ภิกฺขเว ภิกฺขุ ยถาภูตํ ปชานาติ ฯ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง” สํ.ข.๑๗/๒๗/๑๘

มีบางคนพยายามจะเข้าถึงธรรม โดยการอ่านและฟังธรรม โดยไม่ยอมทำสมาธิ ซึ่งแม้เขาจะอ่าน จะท่องธรรมะได้มากเพียงใด ก็ย่อมไม่มีโอกาสเข้าถึงธรรมได้เลย เพราะความรู้ธรรมจากการอ่านการท่องนั้น เป็นเพียงพื้นฐานความรู้เท่านั้น จะบังเกิดผลเป็นดวงปัญญารู้แจ้ง สว่างไสว ต่อเมื่อได้นำไปปฏิบัติ ด้วยการทำสมาธิอย่างยิ่งยวดแล้วเท่านั้น

ยังมีบางคนกล่าวว่า การทำสมาธิเป็นส่วนเกินบ้าง เป็นการเสียเวลาเปล่าบ้าง ถ้าพบใครที่กล่าวเช่นนี้ก็พึงทราบทันทีว่าเขากล่าวตู่พุทธพจน์เสียแล้ว เป็นคนที่ใช้ไม่ได้ ไม่ควรคบเพราะเขายกตัวของเขาเอง เขาผยองคิดว่าตนเก่งกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสียแล้ว ใช้ไม่ได้

ความเคารพในความไม่ประมาท คือตระหนักถึงคุณประโยชน์ของการมีสติกำกับตัวในการทำงานต่างๆ แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพโดยหมั่นฝึกสติเพื่อให้ไม่ประมาท ด้วยการเจริญสมาธิภาวนาอยู่เนืองๆ มิได้ขาด

ความเคารพในการต้อนรับแขก คือตระหนักถึงคุณประโยชน์ของการต้อนรับแขก ว่าทำให้ไม่ก่อศัตรู ปกติคนเราจะให้ดีพร้อม ทำอะไรถูกใจคนทุกอย่างย่อมเป็นไปไม่ได้ อาจมีช่องว่างรอยโหว่ มีข้อบกพร่องบ้าง การต้อนรับแขกนี้จะเป็นการปิดช่องว่างรอยโหว่ในตัว ทำให้ได้มิตรเพิ่ม เราจึงต้องให้ ความสำคัญแก่ผู้มาเยือน ด้วยการต้อนรับ ๒ ประการ ดังนี้

๑. อามิสปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยสิ่งของ เช่น อาหารน้ำดื่ม เลี้ยงดู อย่างดี ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ฯลฯ

๒. ธรรมปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยธรรม เช่น สนทนาธรรมกัน แนะนำธรรมะให้แก่กัน ฯลฯ

นอกจากตัวเราจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของการต้อนรับแขกแล้ว แม้คนในบ้านก็ต้องฝึกให้ต้อนรับแขกเป็นด้วย ไม่เช่นนั้นจะพลาดไป เช่น ข้าราชการผู้ใหญ่บางคน ตนเองต้อนรับแขกได้อย่างดีเยี่ยม แต่ไม่ได้ฝึกคนในบ้านไว้ เวลาตนเองไม่อยู่มีแขกมาหาที่บ้าน เด็กและคนรับใช้พูดจากับเขาไม่ดี ทำให้เขาผูกใจเจ็บ คิดว่าเจ้าของบ้านยุยงส่งเสริม จึงหาทางโจมตี จนต้องเสียผู้เสียคนมาก็มากต่อมากแล้ว โดยที่ตนเองก็ไม่รู้สาเหตุว่าเขาเป็นศัตรูเพราะอะไร

เมื่อเราสังเกตให้ดีจะเห็นว่า คนในโลกนี้มีหลายพันล้านคน สิ่งของ เหตุการณ์ การงาน ในโลกนี้มีหลายแสนหลายล้านอย่าง แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสอนให้เราสนใจอย่างจริงจัง ๗ อย่าง ดังนั้น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การศึกษา สมาธิ ความไม่ประมาท และการต้อนรับ ทั้ง ๗ ประการนี้ มีความสำคัญเพียงใดโปรดคิดดู

สิ่งที่ควรเคารพทั้ง ๗ ประการนี้ เป็นแกนหลักของความเคารพทุกอย่าง เมื่อเราสามารถตรอง จนตระหนักถึงคุณ ของสิ่งที่ควรเคารพอย่างยิ่ง ทั้ง ๗ ประการนี้แล้ว ต่อไปเราก็จะสามารถตรอง ถึงความดีของสิ่งอื่นๆ ได้ชัดเจนและละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น กลายเป็นผู้รู้จริง และทำได้จริงผู้หนึ่ง

เมื่อฝึกตนเองให้มากด้วยความเคารพแล้ว ในไม่ช้านิสัยชอบจับผิดผู้อื่น ก็จะค่อยๆ หายไป เจอใครก็จะคอยมองแต่คุณความดีของเขา ต่อไปความชั่วทั้งหลายเราก็จะนึกไม่ออก นึกออกแต่ความดี และวิธีทำความดีเท่านั้น ตัวเราก็จะกลายเป็นที่รวมแห่งความดี เหมือนทะเลเป็นที่รวมของน้ำฉะนั้น

ก า ร แ ส ด ง ค ว า ม เ ค า ร พ

การแสดงความเคารพ คือการแสดงความตระหนักในคุณความดีของสิ่งที่เราเคารพด้วยใจจริง ให้ปรากฏชัดแก่บุคคลทั่วไป ด้วยการแสดง ออกทางกาย วาจา มีอยู่หลายวิธี เช่น หลีกทางให้ ลุกขึ้นยืนต้อนรับ การให้ที่นั่งแก่ท่าน การประนมมือเวลาพูดกับท่าน การกราบ การไหว้ การขออนุญาตก่อนทำกิจต่างๆ การวันทยาวุธ การวันทยหัตถ์ การยิงสลุต การลดธง ฯลฯ

การแสดงความเคารพที่ถูกต้องตามหลักธรรม หมายถึง การแสดง ออกเพราะตระหนักในคุณความดี ของสิ่งที่เคารพด้วยใจจริง นักเรียนที่คำนับครูเพราะเกรงว่าถ้าไม่ทำจะถูกตัดคะแนนความประพฤติ ทหารที่ทำวันทยหัตถ์ ผู้บังคับบัญชาตามกฎระเบียบ หรือทำเพราะเกรงว่าถ้าไม่ทำจะถูกลงโทษ อย่างนี้ไม่จัดว่า เป็นความเคารพ เป็นแต่เพียงวินัยอย่างหนึ่งเท่านั้น

ข้ อ เ ตื อ น ใ จ

ดังได้กล่าวแล้วว่า ความเคารพ คือการตระหนักในความดีของคนอื่นและสิ่งอื่น ซึ่งผู้ที่จะตระหนักในความดีของคนอื่นและสิ่งอื่นได้ จะต้อง มีคุณสมบัติอย่างหนึ่งเป็นทุนอยู่ในใจก่อนคือมีปัญญา ความรู้จักผิดชอบชั่วดีพอสมควร

และเมื่อเราแสดงความเคารพออกไปแล้ว อีกฝ่ายหนึ่งก็จะรู้ทันทีว่า “อ้อ ! คนนี้เขามีคุณธรรมสูง มีความเคารพและมีแววปัญญา” เขาก็เกิดความตระหนักในความดีของเรา และแสดงกิริยาเคารพต่อเราที่เรียกว่า รับเคารพ

แต่ถ้าผู้ใด เมื่อมีคนมาแสดงความเคารพแล้วเฉยเสีย ไม่แสดงความเคารพตอบ ผู้นั้นจัดเป็นคนน่าตำหนิอย่างยิ่ง เพราะการเฉยเสียนั้นเท่ากับบอกให้ชาวโลกรู้ว่า “ตัวข้านี้ แสนจะโง่เง่า หามีปัญญาพอที่จะเห็นคุณความดีในตัวท่านไม่” เท่านั้นเอง

คนที่ไม่อยากแสดงความเคารพคนอื่น หรือเมินเฉยต่อการเคารพตอบ มักเป็นเพราะเข้าใจว่าการแสดงกิริยาเคารพออกมานั้น เป็นการลดสง่าราศรีของ ตนแล้วเอาไปเพิ่มให้แก่คนอื่น เลยเกิดความเสียดายเกรงว่าตัวเองจะไม่ใหญ่โต หรือเกรงว่าคนอื่นจะไม่รู้ว่าตัวเองใหญ่โต ซึ่งเป็นการคิดผิดอย่างยิ่ง

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร มี ค ว า ม เ ค า ร พ

๑. ทำให้เป็นคนน่ารัก น่าเอ็นดู น่าเกรงใจ

๒. ทำให้ได้รับความสุขกาย สบายใจ

๓. ทำให้ไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีเวร ไม่มีภัย

๔. ทำให้สามารถถ่ายทอดความดีจากผู้อื่นได้ง่าย

๕. ทำให้ผู้อื่นอยากช่วยเหลือเพิ่มเติมคุณความดีให้

๖. ทำให้สติดีขึ้น เป็นคนไม่ประมาท

๗. ทำให้เป็นคนมีปัญญาละเอียดอ่อน รู้จริง และทำได้จริง

๘. ทำให้เกิดในตระกูลสูงไปทุกภพทุกชาติ

๙. ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย ฯลฯ

“ภิกษุมีพระศาสดาเป็นที่เคารพ ๑ มีพระธรรมเป็นที่เคารพ ๑ มีความเคารพในพระสงฆ์อย่างแรงกล้า ๑ มีความเคารพในสมาธิ ๑ มีความเพียรเคารพยิ่ง ในไตรสิกขา ๑ มีความเคารพในความไม่ประมาท ๑ มีความเคารพในปฏิสันถาร ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อม ชื่อว่าอยู่ในที่ใกล้นิพพานทีเดียว” องฺ.สตฺตก.๒๓/๒๙/๒๙-๓๐


จบมงคลที่ ๒๒ มีความเคารพ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2009, 06:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
ใช้อำนาจข่มเหงรังแกผู้ที่ขวางทางเดิน
............................................................



มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน

“มหาสมุทรซึ่งเป็นที่ไหลมารวมกันของน้ำจากทุกสารทิศ
จะต้องมีระดับพื้นที่
ต่ำกว่าพื้นที่ตรงต้นน้ำทั้งหลายฉันใด
ผู้ที่ต้องการจะรับการถ่ายทอดคุณความดีจากบุคคลทั้งหลาย
ก็จะต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตนก่อนฉันนั้น”


ค ว า ม ถ่ อ ม ต น คื อ อ ะ ไ ร ?

ความถ่อมตน มาจากภาษาบาลีว่า นิวาโต

วาโต แปลว่า ลม พองลม

นิ แปลว่า ไม่มี ออก

นิวาโต แปลว่า ไม่พองลม เอาลมออกแล้ว คือเอามานะทิฏฐิออก มีความสงบเสงี่ยม เจียมตน ไม่เบ่ง ไม่ทะนงตน ไม่มีความมานะถือตัว ไม่อวดดื้อถือดี ไม่ยโสโอหัง ไม่ดูถูกเหยียดหยามใคร ไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่งจองหอง

ค ว า ม แ ต ก ต่ า ง ร ะ ห ว่ า ง ค ว า ม เ ค า ร พ กั บ ค ว า ม ถ่ อ ม ต น

ความเคารพ เป็นการปรารภผู้อื่น คือตระหนักในคุณความดีของผู้อื่น พบใครก็คอยจ้องหาข้อดีของเขา ไม่จับผิด สามารถประเมินคุณค่าของผู้อื่นได้ตามความเป็นจริง แล้วแสดงอาการเคารพนับถือด้วยกาย วาจา ใจ

ความถ่อมตน เป็นการปรารภตนเอง คือคอยตามพิจารณาข้อบกพร่องของตนเอง จับผิดตัวเอง สามารถประเมินค่าของตนเองได้ถูกต้องตามความเป็นจริง ไม่อวดดื้อถือดี สามารถน้อมตัวลง เพื่อถ่ายทอดคุณความดีของผู้อื่นเข้าสู่ตนเองได้อย่างเต็มที่

คนที่มีความเคารพอาจขาดความถ่อมตนก็ได้ เช่น บางคนเมื่อพบคนดี ก็ตระหนักในความดี ความสามารถของเขา คือมีความเคารพ แต่ขณะเดียวกัน ถ้าจะให้อ่อนเข้าไปหาเขาทำไม่ได้ ชอบเอาตัวเข้าไปเทียบด้วย แล้วใจของตัวก็พองรับทันทีว่า “ถึงเอ็งจะแน่ แต่ข้าก็หนึ่งเหมือนกัน” ใจของเขาจะพองเหมือน อึ่งอ่างพองลม คอยแต่คิดว่า “ข้าวิเศษกว่า” ทุกที

สิ่ ง ที่ ค น ทั่ ว ไ ป ห ล ง ถื อ เ อ า ทำ ใ ห้ ถื อ ตั ว

๑. ชาติตระกูล เช่น คิดว่า “ตระกูลฉันนี้เป็นตระกูลใหญ่ เชื้อสายผู้ดีเก่า พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย กี่รุ่นกี่รุ่นมีชื่อเสียงโด่งดังมาตลอด คนอื่นจะมาเทียบฉันได้อย่างไร” เมื่อหลงถือว่าตนมีชาติตระกูลสูงกว่าผู้อื่น ความถือตัวก็เกิดขึ้น

๒. ทรัพย์สมบัติ เช่น คิดว่า “เฮอะ ! ทรัพย์สินเงินทองของฉันมีมาก มาย จะซื้อจะหาอะไรก็ได้อย่างใจ ไม่เห็นจะต้องไปง้อ ไปเกรงใจใคร” เมื่อหลง ถือว่าตนมีทรัพย์สมบัติมากกว่าผู้อื่น ความถือตัวก็เกิดขึ้น

๓. รูปร่างหน้าตา เช่น คิดว่า “ฮึ ! ฉันนี้สวยน้อยหน้าใครเสียเมื่อไหร่ ดูซี ผิวก็ละเอียด จมูกก็โด่ง ตาก็กลม นางงามจักรวาลที่ว่าสวยๆ ลองมาเทียบกันดูสักทีเถอะน่า ไม่แน่หรอกว่าใครสวยกว่ากัน” เมื่อหลงถือว่า ตนมีรูปร่างหน้าตาดีกว่าผู้อื่น ความถือตัวก็เกิดขึ้น

๔. ความรู้ความสามารถ เช่น คิดว่า “ฉันนี้ความรู้ระดับปริญญาโท ปริญญาเอก ปริญญาที่ไหนที่ว่ายากๆ กวาดมาหมดแล้ว ฝีมือก็แน่กว่าใคร ใครๆ ก็สู้ฉันไม่ได้” เมื่อหลงถือว่าตนมีความรู้ความสามารถสูงกว่าผู้อื่น ความถือตัวก็เกิดขึ้น

๕. ยศตำแหน่ง เช่น คิดว่า “ฮึ ! ฉันนี้มันชั้นผู้อำนวยการกอง อธิบดี ปลัดกระทรวง ซี ๘ ซี ๙ ซี ๑๐ ซี ๑๑ แล้ว ใครจะมาแน่เท่าฉัน” เมื่อหลงถือว่าตนมียศตำแหน่งสูงกว่าผู้อื่น ความถือตัวก็เกิดขึ้น

๖. บริวาร เช่น คิดว่า “เฮอะ ! สมัครพรรคพวก ลูกน้องฉันมีเยอะแยะใครจะกล้ามาหือ ใครจะกล้ามากำเริบเสิบสาน” เมื่อหลงถือว่าตนมีบริวารมากกว่าผู้อื่น ความถือตัวก็เกิดขึ้น

คนทั่วไปมักหลงยึดเอาสิ่งต่างๆ ๖ ประการนี้ เป็นข้อถือดีของตัว ไม่เคยคิดว่าสิ่งต่างๆ ที่ว่านั้น มันจะเป็นของเราตลอดไปหรือไม่ จีรังยั่งยืนหรือเปล่า ที่ว่าหล่อๆ สวยๆ พออายุสักหกสิบเจ็ดสิบจะมีใครอยากมอง เศรษฐี มหาเศรษฐี ทำการค้าผิดพลาดเข้า ล่มจมกลายเป็นยาจกภายในวันเดียวก็มีตัวอย่างมามากแล้ว และถึงจะเป็นเศรษฐีไปจนตายก็ใช่ว่าจะขนเงินขนทองไปปรโลกด้วยได้เมื่อไหร่ ถ้าไม่รู้จักสร้างคุณงามความดี ถึงมีเงินทองมากเท่าไหร่ก็ไม่พ้นทุกข์ไปได้ ยิ่งรวยมากก็ยิ่งทุกข์มาก ทั้งหา ห่วง หวง ยศตำแหน่ง บริวารนั้นก็มิใช่ว่าจะคงอยู่กับเราอย่างนั้นตลอดไป ทุกอย่างไม่มีอะไรแน่นอน ไม่ใช่เป็นของเราจริงๆ เป็นเพียงสิ่งสมมุติกันขึ้นเพื่อให้คนในสังคมทำงานตามหน้าที่ของตนเท่านั้น สิ่งที่จะคงอยู่กับตัวเราอย่างแน่นอน และช่วยให้เราพ้นทุกข์ได้จริงๆ คือความดีในตัวของเราต่างหาก

และการที่เราถือตัวเย่อหยิ่งทะนงตนนั้น มันทำให้อะไรในตัวเราดีขึ้นบ้าง จะทำให้คนอื่นนับถือว่า ตัวเรายิ่งใหญ่ก็หามิได้ รังแต่จะทำให้เขาเกลียดชังเหม็นหน้า เหมือนคนอยากให้คนอื่นรู้ว่าตัวอ้วนท้วนสมบูรณ์ จึงอมลมเข้าเต็มปากทำให้แก้มตุ่ย ใครเห็นเข้าแทนที่จะชม เขาก็มีแต่จะหัวเราะเยาะ และขืนอมลมอยู่อย่างนั้น ข้าวก็กินไม่ได้ น้ำก็กินไม่ได้ ตัวก็มีแต่จะผอมซูบซีดลงทุกที

แท้จริง ผู้ที่จะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ได้รับการยกย่องนับถือจากคนอื่นทั้งกายและใจนั้น จะต้องเป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน อย่างเต็มที่เท่านั้น ผู้ที่ฉลาด จึงไม่ควรหลงยึดเอาสิ่งเหล่านี้ มาทำให้ตนเกิดความถือตัว

โ ท ษ ข อ ง ก า ร อ ว ด ดื้ อ ถื อ ดี

๑. ทำให้เสียตน เพราะเป็นคนรับความดีจากคนอื่นไม่ได้ กลัวเสียเกียรติ ประเมินค่าตนสูงกว่าความเป็นจริง คิดแต่ว่าเราดีอยู่แล้ว ใครๆ ก็สู้เราไม่ได้ โบราณท่านจึงมีคำสอนเตือนใจไว้ว่า “ลูกท่านหลานเธอ ลูกเจ้าบ้านหลานเจ้าวัด มักจะเอาดีไม่ค่อยได้” เพราะมักจะติดนิสัยอวดดีถือตัว ยโสโอหัง จึงไม่มีใครอยากแนะนำสั่งสอนให้ ทำผิดก็ไม่มีใครอยากเตือน สุดท้ายก็คบอยู่แต่กับพวกประจบสอพลอ ทำผิดถลำลึกไปทุกทีจนสุดทางแก้

๒. ทำให้เสียมิตร เพราะเป็นคนเจ้ายศเจ้าอย่าง ที่ไม่ควรถือก็ถือ ไม่ควรโกรธก็โกรธ จึงไม่มีใครอยากคบด้วย คนพวกนี้ถึงแม้ในเบื้องต้นอยากจะ ทำความดี แต่ทำไปได้ไม่กี่น้ำก็จอดเพราะไม่มีคนสนับสนุน เป็นเหมือนเจดีย์ฐานแคบ ไม่สามารถสร้างให้สูงขึ้นไปได้

๓. ทำให้เสียหมู่คณะ เพราะเป็นคนอวดเบ่ง จะเอาแต่อภิสิทธิ์ ทำให้เสียระเบียบวินัย หมู่คณะแตกแยก

หมู่คณะใดที่สมาชิกมีความอ่อนน้อมถ่อมตน แม้บางครั้งจะมีการทะเลาะเบาะแว้งกันบ้าง แต่ไม่นานก็สามารถสมานสามัคคี ป้องกันอันตรายทั้งหลายได้โดยง่าย เหมือนดินเหนียวในท้องนายามหน้าแล้ง ก็แตกระแหงเป็น ร่องลึก ดูเหมือนไม่มีทางที่จะประสานรวมกันได้อีกแล้ว แต่พอฝนตกลงมาซู่เดียว ก็สามารถประสานคืนเป็นผืนเดียวกันได้อย่างน่าอัศจรรย์

ส่วนหมู่คณะใดที่สมาชิกมีความถือตัวจัด จึงไม่มีทางที่หมู่คณะนั้นจะเกิดความสมานสามัคคีกันได้ เหมือนดินทรายที่แม้ฝนจะตกจนน้ำท่วมฟ้าก็ไม่มีทางประสานรวมกันได้สนิท เช่นประเทศอินเดียในอดีต ซึ่งพลเมืองมีความถือตัวจัด แบ่งชั้นวรรณะกันอย่างหนัก แม้เพียงคนวรรณะสูงไปเห็นคนวรรณะต่ำ เห็น คนจัณฑาลเข้าก็ต้องรีบไปเอาน้ำล้างตา เพราะกลัวเสนียดจัญไรจะติด เพราะถือตัวกันอย่างนี้ พอถึงคราวมีข้าศึกรุกราน เลยไม่มีใครช่วยใครกำจัดศัตรู ปล่อยให้ศัตรูเข้ายึดครองประเทศโดยง่าย พวกคนวรรณะต่ำก็คิดว่าดีแล้ว คนวรรณะสูงๆ จะได้รู้สึกเสียบ้าง คนวรรณะสูงด้วยกันเองก็ยังถือตัวทะเลาะรบ กันเอง เพราะถือตัวกันอย่างนี้ แม้มีพลเมืองมากหลายร้อยล้านคนก็ยังตกเป็น เมืองขึ้นของอังกฤษ ซึ่งส่งทหารมาเพียงแค่หยิบมือเดียว

“นระใดกระด้างโดยชาติ กระด้างโดยทรัพย์ และกระด้างโดยโคตร ย่อมดูหมิ่นแม้ญาติของตน กรรม ๔ อย่างของนระนั้น เป็นทางแห่งความเสื่อม” (ปราภวสูตร) ขุ.สุ.๒๕/๓๐๔/๓๔๗

วิ ธี แ ก้ ค ว า ม อ ว ด ดื้ อ ถื อ ดี

๑. ต้องคบกัลยาณมิตร คือคบคนดี จะได้คอยแนะนำเตือนสติเรา ให้ประเมินค่าของตนเองถูกต้องตามความเป็นจริง คอยแนะนำปลูกสร้างนิสัยดีๆ ให้กับเรา ไม่คบคนประจบสอพลอ ซึ่งจะพาเราไปในทางเสีย นอกจากนี้จะต้องแสดงความเคารพบูชาบุคคลที่ควรบูชาเสมอๆ เราจะได้ตระหนักเสมอว่า ผู้ที่มีคุณธรรมสูงกว่าเรายังมีอยู่

๒. ต้องมีโยนิโสมนสิการ คือรู้จักคิดไตร่ตรองเอง เช่น พิจารณาว่า คนเราไม่ได้อยู่ค้ำฟ้า ถึงจะเก่งอย่างไรในที่สุดก็ต้องตายเหมือนกัน ตัวเราเองก็ไม่ได้วิเศษกว่าคนอื่นเลย ขณะเดียวกัน สิ่งใดที่เป็นข้อถือตัวของเรา เช่น ชาติตระกูล ฐานะ รูปร่างหน้าตา ตำแหน่งหน้าที่การงาน บริวาร ให้หมั่นนำสิ่งนั้นมาพิจารณาเนืองๆ ว่า สิ่งเหล่านั้นก็ไม่เที่ยงแท้ ไม่จีรังยั่งยืน ไม่ได้อยู่กับเราตลอดไปเช่นเดียวกัน

ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง ผู้ มี ค ว า ม ถ่ อ ม ต น

ผู้มีความถ่อมตน จะเป็นผู้ที่รู้คุณค่าของตนตามความเป็นจริง เจียมเนื้อเจียมตัว ทำให้มีลักษณะอาการแสดงออก ที่ดีเด่นกว่าคนทั้งหลาย ๓ ประการ ดังนี้

๑. มีกิริยาอ่อนน้อม คือไม่ลดตัวลงจนเกินควร และไม่ถือตัวจนเกินงาม มีกิริยาอันเป็นที่รัก อ่อนโยนละมุนละไมต่อคนทั่วไป ทั้งผู้ใหญ่ผู้น้อยและผู้เสมอกัน รู้ที่ต่ำที่สูง ไม่ตีตนเสมอท่าน มีคุณสมบัติผู้ดี สำหรับแสดงแก่คนทั้งหลายโดยเสมอหน้ากัน ไม่เลือกว่าเขาจะมีฐานะสูงกว่าหรือต่ำกว่าตน สงบเสงี่ยม แต่ก็มีความองอาจ ผึ่งผายในตัว

๒. มีวาจาอ่อนหวาน คือมีคำพูดที่ไพเราะน่าฟัง ออกมาจากใจที่ใสสะอาดนุ่มนวล ไม่แข็งกระด้าง ไม่พูดโอ้อวดยกตัว และไม่พูดกล่าวโทษลบหลู่ ทับถมคนอื่น เมื่อตนทำพลาดพลั้งสิ่งใดต่อใคร ย่อมออกวาจาขอโทษเสมอ เมื่อผู้ใดแสดงคุณต่อตนอย่างไรก็ออกวาจาขอบคุณเขาเสมอ ไม่พูดเยาะเย้ยถากถาง ผู้ทำผิดพลาด ไม่ใช้วาจาข่มขู่ผู้อื่น เห็นใครทำดีก็ชมเชยสรรเสริญจากใจจริง

๓. มีใจอ่อนโยน คือมีใจนอบน้อม ละมุนละม่อม ถ่อมตัว มีใจอ่อนละไมแต่มิใช่อ่อนแอ มีใจเข้มแข็งแต่มิใช่แข็งกระด้าง ไม่นิยมอวดกำลังความสามารถ แต่พยายามฝึกตนเองให้มีความสามารถ ถือคติว่า “จงมีแรงเหมือนยักษ์ แต่อย่าใช้แรงอย่างยักษ์” ไม่ถือความคิดของตัวเป็นใหญ่ มีใจเปิดกว้าง ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น รู้จักลดหย่อนผ่อนผันแก่กัน ถือคติว่า “ไม้ลำเดียวยังต่างปล้อง พี่น้องยังต่างใจ สิบคนสิบความรู้ สิบคนสิบความคิด แม้สิบคนก็สิบความเห็น” เมื่อใครเขาไม่เห็นพ้องกับตนก็ไม่ด่วนโกรธ แล้วค่อยๆ ปรับ ความคิดเห็นเข้าหากัน โดยยึดเอาคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแกนกลาง

ตั ว อ ย่ า ง ผู้ มี ค ว า ม อ่ อ น น้ อ ม ถ่ อ ม ต น

ครั้งหนึ่ง พระสารีบุตรถูกพระภิกษุรูปหนึ่งใส่ความว่า ทะนงตนว่าเป็นอัครสาวกแล้วแกล้งมาเดินกระทบตน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสถามพระสารีบุตรในที่ประชุมสงฆ์ว่าเป็นจริงหรือไม่

พระสารีบุตรทูลตอบว่า ภิกษุที่มิได้มีสติประคองจิตไว้ในกาย ก็จะพึงกระทบเพื่อนสพรหมจารี แล้วจากไปโดยไม่ขอโทษเป็นแน่ แต่ตัวท่านเองนั้น ทำใจเสมือนแผ่นดิน น้ำ ไฟ ลม และผ้าขี้ริ้ว ที่จะต้องพบกับของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้างอยู่เสมอ และเสมือนเด็กจัณฑาลที่พลัดเข้าไปในหมู่บ้าน หรือเหมือนโคที่เขาหักเสียแล้ว ย่อมไม่มีอำนาจที่จะแกล้วกล้าอาจหาญได้แต่อย่างใด ท่านมีแต่ความเบื่อระอา ร่างกายอันเปื่อยเน่าน่ารังเกียจนี้ ที่ยังต้องดูแลประคับประคองอยู่ ประดุจต้องประคองถาดมันข้นที่มีช่องทะลุถึง ๙ ช่อง และมีน้ำมันรั่วไหลออกอยู่เสมอ ย่อมไม่มีใจที่จะไปกระด้างถือตัวกับใครได้

ลองพิจารณาดูเถิดว่า ขนาดพระสารีบุตร ซึ่งก่อนบวชก็ร่ำเรียนจนเจนจบในวิชา ๑๘ ประการมาแล้ว เปรียบสมัยนี้ก็เท่ากับได้ปริญญา ๑๘ สาขา บวชแล้วก็ได้เป็นพระอรหันต์ เป็นอัครสาวกเบื้องขวา ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังมีความอ่อนน้อมถ่อมตนถึงเพียงนี้ มีความเจียมตัวอยู่ตลอดเวลา เปรียบตนเองเหมือนผ้าขี้ริ้วเก่าๆ เหมือนโคที่เขาขาดแล้ว เหมือนเด็กจัณฑาล ซึ่งเป็นคนชั้นต่ำสุดในอินเดียสมัยนั้น ไม่มีความถือตัวทะนงตนแม้แต่น้อย แล้วพวกเราซึ่งยังเป็นปุถุชนธรรมดาๆ อยู่นี่ล่ะ มีดีอะไรมากนักหนาจึงจะมาถือตัวกัน

เมื่อพระสารีบุตรกล่าวอยู่เช่นนี้ พระภิกษุรูปนั้นก็เกิดความเร่าร้อนในสรีระเหมือนมีไฟมาเผาตัว อดรนทนอยู่ไม่ได้ ต้องลุกขึ้นขอโทษพระสารีบุตร และยอมรับสารภาพต่อหมู่สงฆ์ว่ากล่าวตู่ใส่ความพระสารีบุตร

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญพระสารีบุตรว่า “มีใจมั่นคงเหมือนแผ่นดิน เหมือนเสาเขื่อน เป็นผู้คงที่และมีวัตรดี เป็นผู้ใสสะอาดปราศจากกิเลส เหมือนน้ำที่ไม่มีฝุ่นหรือโคลนตม สังสารวัฏย่อมไม่มีแก่บุคคลเช่นนี้”

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร มี ค ว า ม ถ่ อ ม ต น

๑. ทำให้อยู่เป็นสุข ไม่มีศัตรู

๒. ทำให้น่ารัก น่านับถือ น่าเคารพกราบไหว้

๓. ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ

๔. ทำให้ได้กัลยาณมิตร

๕. ทำให้สามารถถ่ายทอดคุณความดีจากผู้อื่นได้

๖. ทำให้ได้ที่พึ่งทั้งภพนี้ภพหน้า

๗. ทำให้ไม่ประมาท ตั้งอยู่ในธรรม

๘. ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย ฯลฯ

“บุคคลผู้เป็นบัณฑิตถึงพร้อมด้วยศีล ละเอียด มีปฏิภาณไหวพริบ ประพฤติถ่อมตน และไม่กระด้างเช่นนั้น ย่อมได้ยศ” ที.ปา.๑๑/๒๐๕/๒๐๖


จบมงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 60 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร