วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 05:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2010, 14:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

คำนำ

หนังสือเรื่อง “สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ” นี้

รวบรวมจากการแสดงธรรมของ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวัฑฒนมหาเถระ)

ในการปฏิบัติอบรมจิตทุกวันธรรมสวนะและวันหลังวันธรรมสวนะ ณ ตึก สว. วัดบวรนิเวศวิหาร

ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๒๗ ถึงเดือนกรกฎาคม ๒๕๒๘ รวม ๔๒ ครั้ง

ซึ่งท่านแสดงโดยมุขปาฐะทุกครั้ง และ ดร.เสาวนีย์ จักรพิทักษ์

บันทึกถอดจากแถบบันทึกเสียงเรียบเรียง

เป็นต้นฉบับถวายให้ท่านตรวจแก้เติมหัวข้อเป็นตอนๆ ไป

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า

พระธรรมเทศนาชุดนี้นอกจากจะแสดงข้อธรรมะสำคัญๆ

อันเป็นแก่นคำสอนของพระพุทธศาสนาแล้ว

ยังแสดงให้ประจักษ์ถึงปรีชาญาณอันกว้างขวางล้ำลึกของพระสารีบุตร

ในการอธิบายธรรมะนี้ประการหนึ่ง

และประการที่สาม สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวัฑฒนมหาเถระ)

ได้นำพระเถราธิบายแห่งพระอัครสาวกองค์นั้นมาอธิบาย

ถ่ายทอดเพิ่มเติมให้พอเหมาะพอดีแก่ความรู้ ความคิดของคนในยุคปัจจุบัน

ให้เข้าใจได้โดยสะดวกและแจ่มแจ้ง

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มสมุด

สำหรับพระราชทานในงานฉลองชนมายุ ๖ รอบ

ของสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวัฑฒนมหาเถระ)

เพื่อบูชาเฉลิมเกียรติคุณ

และเพื่อเผยแผ่สารธรรมในพระพุทธศาสนาให้แพร่หลาย

ทรงหวังพระราชหฤทัยว่าผู้ที่ได้รับพระราชทานไปอ่าน

ไปศึกษาจักได้รับประโยชน์ คือ ความรู้

ความเข้าใจอันถูกต้อง แน่ชัดในธรรมที่มีแสดงอยู่ทั้งนั้นโดยทั่วกัน

สำนักราชเลขาธิการ

วันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๒๘


ที่มา... http://www.bloggang.com/viewblog.php?id ... 28&gblog=1

:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2010, 15:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


คำนำ

หนังสือเรื่อง “สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ” นี้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

ให้จัดพิมพ์ขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘

พระราชทานถวายสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ขณะเมื่อทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร

เนื่องในวโรกาสทรงบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชนมายุครบ ๖ รอบ

เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘

ดังความแจ้งในพระราชปรารภและคำนำในการพิมพ์ครั้งนั้นแล้ว

หลังจากพิมพ์ครั้งแรกแล้ว ยังไม่มีการจัดพิมพ์ขึ้นใหม่อีก

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้

ทรงมีพระราชปรารภกับสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

สกลมหาสังฆปริณายก ถึงหนังสือสัมมาทิฏฐิฉบับพิมพ์ครั้งแรกว่า

ยังมีที่บกพร่องอยู่หลายแห่ง ได้ทรงพระราชอุตสาหะ

ตรวจทานต้นฉบับใหม่ตลอดทั้งเรื่อง

แล้วพระราชทานมาที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

เพื่อจัดพิมพ์ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

พระราชทานพระราชทรัพย์สำหรับการพิมพ์ครั้งนี้ด้วย

ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

ได้ทรงแก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำ ข้อความ ในบางเรื่องบางตอนบ้างเพื่อความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

อนึ่ง ได้มีผู้มาแสดงความประสงค์ที่มหามกุฏราชวิทยาลัยฯใคร่จะได้หนังสือเรื่องนี้

ฉะนั้น ในการที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดพิมพ์

เรื่องสัมมาทิฏฐิขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง

มหามงกฏราชวิทยาลัยจึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต

สมทบจัดพิมพ์เพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่ง

สำหรับจัดจำหน่ายเป็นการเผยแพร่แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป


มหามงกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕

:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2010, 15:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ


พระสารีบุตรเถระ ได้อธิบาย เรื่อง สัมมาทิฏฐิ

คือ ความเห็นชอบ ความเห็นตรง ดังนี้

สัมมาทิฏฐิ นำมาซึ่งความสิ้นทุกข์

เมื่อได้ สัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบ ความเห็นตรง


คือได้รู้จัก อกุศล รู้จักอกุศลมูล รู้จัก กุศล รู้จัก กุศลมูล

ได้รู้จัก อริยสัจ 4

ได้รู้จัก อาหาร 4 ได้รู้จัก เหตุเกิดแห่งอาหาร ได้รู้จักความดับอาหาร

ได้รู้จักข้อปฏิบัติอันเป็นทางให้ถึงความดับอาหาร

ได้รู้จัก ชรามรณะ ได้รู้จักชาติ ได้รู้จักภพ

ได้ รู้จัก อุปาทาน ได้รู้จักตัณหา ได้รู้จักเวทนา ได้รู้จักผ้สสะ

ได้รู้จัก อายตนะ ได้รู้จัก นามรูป ได้รู้จัก วิญญาณ ได้รู้จักสังขาร

ได้รู้จัก อวิชชา ได้รู้จัก อาสวะ

ได้รู้จักปฏิจจสมุปบาท ได้รู้จักหรือรู้วิธีการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 (ภาวนา)

ย่อมจะเป็นเหตุให้ปฏิบัติ ละ กิเลสที่นอนจมหมักหมมดองจิตสันดาน

คือ ราคะ หรือที่เรียกว่า อาสวะ

หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุสัย ละอวิชชา และทำให้มีวิชชาเกิดขึ้น

และเป็นไปเพื่อความสิ้นสุดแห่งกองทุกข์

สัมมาทิฏฐิ เป็นความเห็นชอบ เป็นความเห็นตรง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2010, 15:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สติปัฏฐาน 4

สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่าน พระสารีบุตรเถระ

สติปัฏฐาน 4 ก็คือ ตั้งสติ คือ ความระลึกได้

หรือความระลึกรู้ไว้ ในกาย ในเวทนา ในจิต และในธรรม


ข้อที่พึงระลึกไว้ในกายไว้ คือ

ข้อว่าด้วยลมหายใจเข้าออก

ข้อว่าด้วยอิริยาบถทั้งสี่ ยืน เดิน นั่ง นอน

ข้อว่าด้วยสัมปชัญญะ ความรู้ในความเยื้องกรายอิริยาบถ

ทั้งสี่นี้และอิริยาบถประกอบทั้งหลาย

ข้อว่าด้วยกายนี้จำแนกอกเป็นอาการ ทั้งหลาย

มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น

ข้อว่าด้วย ธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ

ข้อว่าด้วยป่าช้าเก้า คือพิจารณาศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า

แยกออกเป็น 9 ข้อ ตั้งต้นตั้งแต่ ศพที่ตายแล้ววันหนึ่ง

สองวันสามวันเป็นต้นไปจนถึงเป็นกระดูกผุป่น

ตั้งสติพิจารณาเวทนา ก็คือตั้งสติกำหนดเวทนา

ความรู้เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือเป็นกลางๆ ไม่สุขไม่ทุกข์


ทั้งที่มีสามิสคือมีกิเลสเป็นเครื่องล่อให้เกิดขึ้น ทั้งที่เป็น

นิรามิส คือไม่มีเครื่องล่อ หรือเป็นเครื่องนำให้เกิดขึ้น

ตั้งสติ พิจารณาจิต ก็คือตั้งสติกำหนดดูจิตใจนี้

ที่มีราคะความติดใจยินดีหรือปราศจากราคะความติดใจยินดี

ที่มีโทสะ ที่มีโมหะความหลงหรือปราศจากโมหะความหลง เป็นต้น

ตั้งสติพิจารณาธรรม ก็คือตั้งจิตกำหนดดูธรรมะทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นในจิต

ตั้งต้นตั้งแต่กำหนดดูนิวรณ์ทั้งห้า คือกิเลสที่เป็นเครื่องกั้นจิต บังเกิดขึ้น กลุ้มรุมจิต

มีกามฉันท์ ความพอใจรักใคร่อยู่ในกาม

พยาบาท ความมุ่งร้ายปองร้าย เป็นต้น

กำหนดดูขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

กำหนดดูความเกิดของขันธ์ 5 ความดับของขันธ์ 5


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 07 เม.ย. 2010, 15:29, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2010, 15:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ตั้งสติกำหนดดู อายตนะภายในทั้ง 6 ที่รับอายตนะภายนอกทั้ง 6

อายตนะภายในภายนอกที่รับกัน ก็ คือ

ตากับรูปที่ประจวบกัน

จมูกกับกลิ่นที่ประจวบกัน

หู กับเสียงที่ประจวบกัน

ลิ้นกับรสที่ประจวบกัน

กายและสิ่งถูก ต้องทางกายประจวบกัน

มโนคือใจกับธรรมะคือเรื่องราวที่ประจวบกัน

เกิดสังโยชน์คือความผูกใจ และ

ก็ให้รู้จักความเกิดของสังโยชน์

ความ ดับของสังโยชน์

และสังโยชน์ที่ดับแล้วจะไม่เกิดขึ้น


ตั้งสติ กำหนดดูโพชฌงค์ทั้ง 7 มีสติโพชฌงค์ องค์แห่งความรู้ คือ สติ


ธรรมวิจยโพชฌงค์ องค์แห่งความรู้คือ ธรรมวิจัย

ความเลือกเฟ้นธรรม เป็นต้น

ตั้งสติกำหนดดูอริยสัจทั้ง 4

คือทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์


สติปัฏฐาน 4 ในบางพระสูตร


ได้ตรัส อธิบายวิธีปฏิบัติ

คือตั้งสติ ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม



ตั้งสติคือความระลึกได้ความกำหนดในกาย

ก็คือใน

ปฐวีกาย กายที่เป็น ส่วนดิน

อาโปกาย กายที่เป็นส่วนน้ำ

เตโชกาย กายที่เป็นส่วนไฟ

วาโยกาย กายที่เป็นส่วนลม

เกสากาย กายที่เป็นส่วนผม

โลมากาย กายที่เป็นส่วนขน

ฉวิกาย กายที่เป็นส่วนผิว

จมฺมกาย กายที่เป็นส่วนหนัง

มงฺสกาย กายที่เป็นส่วยเนื้อ

นหารูกาย กายที่เป็นส่วนเส้นเอ็น

อฎฺฐิ กาย กายที่เป็นส่วนกระดูก

อฎฺฐมิญฺชกาย กายที่เป็นส่วนเยื่อในกระดูก


ตั้งสติกำหนดเวทนา

ก็คือ ในสุขเวทนา

เวทนาความรู้ที่เป็นสุข

ทุกข์เวทนา ความรู้ที่เป็นทุกข์

อทุกขมสุขเวทนา เวทนาที่มิใช่สุขมิใช่ทุกข์

ตั้งสติกำหนด

เวทนาที่เกิดทาง สัมผัสทางตา

เวทนาที่เกิดจาก สัมผัสทางหู

เวทนาที่เกิดจาก สัมผัสทางจมูก

เวทนาที่เกิด จาก สัมผัสทางลิ้น

เวทนาที่เกิดจาก สัมผัสทางกาย

เวทนาที่เกิดจาก สัมผัสทางมโนคือใจ


ตั้งสติกำหนดจิตใจ ก็คือ

กำหนดดูจิตที่มีราคะ คือความติดใจยินดี

หรือที่ปราศจากราคะคือความติดใจยินดี

จิตที่มีโทสะหรือจิตที่ปราศจากโทสะ

จิตที่มีโมหะ หรือจิตที่ปราศจากโมหะ

จิตที่ฟุ้งซ่านหรือจิตที่หดหู่

จิตที่ถึงความใหญ่ด้วยเมตตา ภาวนาสมาธิเป็นต้น หรือ

จิตที่ไม่ถึง ความใหญ่ จิตที่ยิ่ง คือยิ่งด้วยสามาธิปัญญา

วิมุตติ หลุดพ้น หรือจิตที่ไม่ยิ่ง จิตที่มีสมาธิหรือไม่มีสมาธิ

จิตที่หลุดพ้นหรือจิตที่ไม่หลุดพ้น


ตั้งสติกำหนดดูธรรม

คือธรรมะที่เป็นกุศลหรือเป็นอกุศลหรือที่เป็นกลางๆ

อันนอกไปจากข้อที่กล่าวแล้ว

ในกายในเวทนาและในจิตทั้งสามข้างต้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2010, 15:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ทางปฏิบัติสติปัฏฐาน

ให้ปฏิบัติพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรมทั้งหมด

โดยเป็นอนิจจะ คือไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่เกิดดับ

โดยเป็นทุกข์ คือเป็นสิ่งที่ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลง

ไม่ตั้งอยู่คงที่ มิใช่โดยเป็นสุข

โดยเป็นอนัตตา มิใช่ตัวตน มิใช่เป็นเรา

มิใช่เป็นของเรา ไม่ใช่โดยอัตตา คือโดยเป็นตัวตน

เป็นเรา เป็นของเรา

มีความหน่าย มิใช่มีความเพลิดเพลิน

มีความคลาย ติดใจ มิใช่ติดใจ

มีความดับ คือดับตัณหาความดิ้นรนทะยานของใจ

มิใช่ก่อตัณหา

มีความสละวาง มิใช่มีความยึดถือ


วิธีปฏิบัติสติปัฏฐาน คือ ภาวนา



ก็คือ ปฏิบัติทำสติความระลึกได้

หรือ ความกำหนด ทำญาณความหยั่งรู้

ที่เป็นตัวปัญญาให้บังเกิดขึ้นให้มีขึ้นทัน

ในธรรมมะที่เกิดขึ้นใน เวลานั้น

โดยไม่ให้พลาด ไม่ให้ล่วงเลยเผลอเรอ

ในธรรมะที่ บังเกิดขึ้นในเวลานั้น

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อตั้งจิตกำหนดดูกาย

เช่นลมหายใจเข้าออก

ก็หมายถึงว่า กำหนดลมหายใจเข้า ลมหายใจออก

ที่บังเกิดอยู่ในบัดนี้

หายใจเข้าในบัดนี้ ก็มีสติมีญาณกำหนดรู้

หายใจออกในบัดนี้ ก็มีสติมีญาณกำหนดรู้

มิใช่ว่าเผลอ หายใจเข้าหายใจออกอยู่ในบัดนี้

แต่ว่าจิตมิได้กำหนด หรือกำหนดมิทัน

จึงไม่มีสติไม่มีญาณ อยู่ในลมหายใจเข้า ลมหายใจออกนั้น


หน้าที่ของภาวนา


1. กำหนดให้มีสติ ให้มีปัญญาหรือญาณ

กำหนดทันต่อธรรมะที่เกิดขึ้นในเวลานั้น


2. ให้รวมอินทรีย์ทั้งหลายมาปฏิบัติกิจคือหน้าที่พร้อมกัน

ได้รวมตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

ให้มาปฏิบัติหน้าที่กำหนดอยู่ในธรรมมะที่ เกิดขึ้นอยู่ในเวลานั้น

สุดแต่ว่าจะยกเอา ข้อไหน กายข้อไหน เวทนาข้อไหน จิตข้อไหน

ธรรมะข้อไหน ขึ้นมา ก็ให้ทั้ง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

มาปฏิบัติหน้าทีกำหนดรู้พร้อมกัน


3. นำความเพียรพยายามปฏิบัติ

โดยเริ่มดำเนิน และก้าวหน้าไปจนบรรลุถึงเป้าหมาย

บรรลุถึงความสำเร็จ

เป็นสติ เป็นญาณกำหนดรู้อยู่ในธรรมะที่เกิดขึ้นอยู่ในเวลานั้น


4. ใช้ความเพียรปฏิบัติส้องเสพอยู่ในข้อปฏิบัตินี้เนืองๆ

เสมอๆ ให้สม่ำเสมอไม่ทอดทิ้ง

หมายความว่า ให้รับเอาข้อปฏิบัตินี้เข้าไปให้ถึงใจ

ให้ตั้งอยู่ในใจ เหมือนอย่างบริโภคอาหาร

ส้องเสพอาหาร บริโภคอาหาร ก็ให้นำเข้าปากเคี้ยวกลืน

เข้าไปให้ถึงในท้อง เพื่อย่อยไปเลี้ยงร่างกายให้อิ่มเอิบ

ในการปฏิบัติก็เช่นเดียวกัน

ต้อง รับเอาข้อปฏิบัติปฏิบัติกรรมฐานที่ปฏิบัติ

ให้เข้าไปถึงใจ ให้ตั้งอยู่ในใจ ให้แผ่ซ่านไปในใจ

ดังเช่นที่ให้ปรากฏเป็นปีติเป็นสุข เป็นผลที่ได้รับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2010, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่าน พระสารีบุตรเถระ

กัลยาณมิตร และ โยนิโสมนสิการ


สัมมา ทิฏฐิ ความเห็นชอบ เป็นทิฏฐิ คือความเห็น

เป็นทัสสนะ คือ ความเห็น เป็นญาณะ คือความรู้

หรือเป็นปัญญา คือความรู้ทั่วถึงที่จำต้องการเป็นขั้นต้น

ของทุกๆคนในโลก

แต่ว่าจะได้สัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบดั่งนี้ได้

ก็ต้องอาศัยความที่ ใช้ปัญญาที่มีอยู่เป็นพื้น

ในการประกอบปลูกปัญญาให้ยิ่งๆขึ้นไป

ด้วย การฟัง การเรียน อันรวมในคำว่า สุตะ

ด้วยการ คิดพินิจพิจารณา อันรวมเรียกว่า จินตา และ

ด้วยการปฏิบัติ อบรมต่างๆ

ในข้อที่พึงปฏิบัติอบรมนั้น อันเรียกว่า ภาวนา


และเมื่อได้ ประกอบปฏิบัติปลูกปัญญา

อบรมปัญญา เพิ่มพูนปัญญาในทางที่ถูกต้องอยู่เสมอ

ก็ย่อมจะได้ ปัญญา ที่เป็นปัญญาถูกต้อง

อันเรียกว่า สัมมัปปัญญา

ได้สัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบดังกล่าว



และข้อนี้ได้มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้ ในที่อื่นอีกว่า

ก็ต้องอาศัย มิตตสัมปทา คือ ความถึงพร้อมด้วยมิตร

อันหมายความว่า ได้มิตรที่ดีงาม อันเรียกว่า กัลยาณมิตร

พระพุทธเจ้า เป็นยอดกัลยาณมิตร

มารดาบิดาครู อาจารย์ทั้งหลายก็เป็นกัลยาณมิตร

เพื่อนมิตรทั้งหลายซึ่งเป็นผู้ทรงปัญญาสามารถ

ที่จะให้คำแนะนำอบรมอันถูกต้องได้

ก็เรียกว่า กัลยาณมิตร

โยนิโสมนสิการ ที่แปลว่า การทำไว้ในใจ


จับให้ถึงต้นเหตุ ดังเช่นเมื่อกำหนดเพื่อรู้จักอกุศล

ก็ต้องจับให้ถึงต้นเหตุว่ามีมูลเหตุมาจากต้นเหตุ

มาจาก โลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งเป็นอกุศลมูล

และเมื่อกำหนดเพื่อรู้จัก กุศลมูล ก็ต้องจับให้ถึงต้นเหตุ

ว่ามีต้นเหตุหรือมูลเหตุมาจากกุศลมูล คือ

อโลภะ อโทสะ อโมหะ ดังกล่าว

ความใส่ใจ ความกำหนดใจ

พินิจพิจารณาจับเหตุของผล ให้ได้ดั่งนี้ คือ

โยนิโสมนสิการ

ก็ต้องอาศัย โยนิโสมนสิการนี้อีกข้อหนึ่ง



ได้มีพระพุทธภาษิต ตรัสไว้ว่า กัลยาณมิตรและโยนิโสมนสิการ นี้

เป็นเบื้องต้นของสัมมาปฏิบัติทุกอย่าง

ไม่ว่าจะเป็น สมาธิ ไม่ว่าจะเป็นปัญญา

หรือจะคลุมไปถึง ศีล 5 ทั้งหมด ต้องอาศัย

กัลยาณมิตร และโยนิโสมนสิการ

มาตั้งแต่เบื้องต้น เหมือนอย่างรุ่งอรุณเป็นเบื้องต้นของวัน

กัลยาณมิตรและโยนิโสมนสิการ ก็เปรียบเหมือนว่าเป็นรุ่งอรุณ

เป็นเบื้องต้นของความสว่าง ของสัมมาปฏิบัติ

คุณงามความดีทั้งสิ้น อันนับว่าเป็นความสว่าง

จึงต้องอาศัยกัลยาณมิตรและโยนิโสมนสิการดั่งนี้


ในหมวดธรรมบางหมวด

ก็ได้ตรัสอธิบายขยายความออกไปในทางปฏิบัติว่า

ส้องเสพ คบหาสัตบุรุษ คือคนดี ก็ได้แก่ กัลยาณมิตรนี้เอง

ฟังธรรมของคนดี มีโยนิโสมนสิการใส่ใจ

คือนำเอาธรรมะที่ฟังมาใส่ไว้ในใจ

ตั้งต้นตั้งแต่ ตั้งใจฟัง

ตั้งใจพิจารณา

จับเหตุจับผลและ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

ข้อใดที่พึงละก็ละ

ข้อใดที่พึงปฏิบัติก็ปฏิบัติ

ข้อใดพึงปฏิบัติก่อนก็ปฏิบัติก่อน

ข้อใดที่ พึงปฏิบัติหลังก็ปฏิบัติหลัง

ดั่งนี้เป็นต้น เรียกว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

และเมื่อมีทั้ง 4 ข้อนี้ ก็เป็นอันว่า

นำให้ได้ สัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบ ความเห็นตรง

นำให้ความเลื่อมใส ที่ไม่หวั่นไหวในพระธรรม

นำมาสู่สัทธรรม คือ ธรรมของ สัตบุรุษ หรือธรรมที่ดี

คือ ถูกต้อง คือพระธรรมวินัยนี้ดั่งนี้

เพราะ ฉะนั้น ปัญญาที่ต้องการในทางพุทธศาสนา

อันเป็นขั้นต้นที่ต้องการ คือปัญญาที่ทำให้เป็นสัมมาทิฏฐิ

ความเห็นชอบดั่งกล่าว

แต่ว่า พึงทำความเข้าใจด้วยอีกว่า ความรู้ที่เป็นตัวปัญญา

ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ไม่ใช่ สัญญา คือความทรงจำ

เช่นการเรียน ความจำนี้ยังไม่เป็นปัญญา

ยังไม่เป็นสัมมาทิฏฐิ

ต้องอาศัย ความคิดพินิจพิจารณาและการปฏิบัติอีกด้วย

คือว่า ต้องคิดพิจารณาไป และต้องปฏิบัติไป


ก็คือ ปหานะละ อย่างหนึ่ง

ภาวนา ทำให้มีขึ้น ให้เป็นขึ้น อย่างหนึ่ง

ละคือฝึก ละ อกุศลกรรมบถทั้ง 10

นี้เป็นข้อปฏิบัติฝึกหัด ละ

ภาวนา คือ ทำให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นนั้น


คือต้องปฏิบัติที่จะประกอบกุศลกรรมบถทั้ง 10 และอบรม กุศลมูล

คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ให้มีขึ้น ให้บังเกิดขึ้นในจิตใจ

นี้รวมเข้าในคำ ว่า สุตะ จิตตา ภาวนา

ซึ่งเป็นเหตุให้ได้ปัญญา

ที่ได้จากการ เรียนการอ่าน ก็เรียกว่า สุตมัยปัญญา

ที่ได้จากการคิดพินิจพิจารณา ก็เรียกว่า จินตามัยปัญญา

ที่ได้จากการปฏิบัติอบรม ก็เรียกว่า ภาวนามัยปัญญา


แต่ว่าใน 3 ข้อนี้ ก็ต้องประกอบด้วยทั้ง ละ

และ ทั้งทำให้มีขึ้น ดังกล่าวนั้น

และเมื่อปฏิบัติไป ปฏิบัติไป อาศัย สุตะ อาศัย จินตา

อาศัยภาวนา ทั้ง 3 นี้ ก็ย่อมจะได้ปัญญาที่เป็นตัวความรู้ขึ้น

ของตัวเอง ได้ความเห็นขึ้นของตัวเอง

ซึ่งมีคำเรียกว่า ญาณทัสสนะ ความรู้ ความเห็น

ในการปฏิบัติธรรมทั้ง 3อย่างนั้น

ก็ต้องอาศัยกัลยาณมิตร และอาศัยโยนิโสมนสิการ

ประกอบกันตลอดเวลา

ฉะนั้นผู้มุ่งจะได้ปัญญาที่เป็นสัมมาทิฏฐิ

จะต้องปฏิบัติตาม มงคลสูตรคาถาแรกของพระพุทธเจ้า

อยู่ให้เป็นประจำ คือ

ไม่เสวนาคบหาคนพาลทั้งหลาย

เสวนาคบหาบัณฑิตทั้งหลาย

และบูชาผู้ที่ควรบูชาทั้งหลาย


เมื่อ ปฏิบัติได้ดังนี้

จึงจะได้ กัลยาณมิตร

และเมื่อมีโยนิโส มนสิการประกอบอยู่ตลอด

ก็ย่อมจะเจริญปัญญาขึ้นโดยตลอด

ทำให้เกิดความรู้ของตัวเองขึ้นรับรองว่านี่เป็นอย่างนี้จริง

ข้อนี้ เป็นจริง

และเมื่อได้ปัญญาคือความรู้ของตัวเอง ให้เกิดความเห็นชอบ

ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2010, 15:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


กุศลมูล อกุศลมูล


สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่าน พระสารีบุตรเถระ



สัมมาทิฏฐิ คือ ความรู้จัก กุศลมูล


รู้จักมูลเหตุแห่ง กุศลมูล

กุศลมูล ทางแห่งกรรม ที่เป็น กุศล

หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า กุศลกรรมบถ ทั้ง 10

ทางแห่งกรรมที่เป็น กุศล

มี 3 ทาง คือ

กายกรรม 3

วจีกรรม 4

มโนกรรม 3

กุศล ทาง กายกรรม 3 คือ


1. เว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ล่วงตก ( ไม่ฆ่าสัตว์ )

2. เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ( ไม่ขโมย )

3. เว้นจากการผิดในกามทั้งหลาย ( ไม่ผิดในกาม )

กุศล ทาง วจีกรรม 4


1. เว้นจาการพูดเท็จ ( ไม่พูดเท็จ )

2. เว้นจากการพูดส่อเสียด ( ไม่พูดส่อเสีอด )

3. เว้นจากการพูดคำหยาบ ( ไม่พูดคำหยาบ )

4. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อเหลวไหล ( ไม่พูดเหลวไหล )


กุศลทาง มโนกรรม 3



1.ไม่โลภเพ่งเล็งทรัพย์สิ่งของของผู้อื่น

2. ไม่พยาบาทปองร้าย

3. มีสัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบ มีความเห็นตรงตามคลองธรรม



มูลเหตุของ กุศล

คือ อโลภะ ความไม่โลภอยากได้ โดยมีความสันโดษ

ความพอใจ อยู่ในทรัพย์สมบัติเฉพาะที่เป็นของตนเท่านั้น

มูลเหตุของกุศลมูล คือ อโทสะ ความไม่โกรธแค้นขัดเคือง

ก็โดยที่มีเมตตากรุณา

มูลเหตุของกุศล คือ อโมหะ ความไม่หลง

ก็คือความที่มีปัญญารู้ตามความเป็นจริง

อันทำให้ไม่หลงไหล ไม่ให้ถือเอาผิด



สัมมาทิฏฐิ คือ ความรู้จัก อกุศลมูล


สัมมาทิฏฐิ คือรู้จักเหตุแห่ง อกุศลมูล

คือทางแห่งกรรม ที่ล่วงละเมิดออกมาทางไตรทวาร

ทางกายกรรม 3 วจีกรรม 4 มโนกรรม 3


ซึ่ง ตรงกันข้ามกับ กุศลมูล

อกุศลทาง กายกรรม 3


1. ฆ่าสัตว์

2. ขโมย

3. กระประพฤติผิดในกาม


อกุศลทาง วจีกรรม 4



1. พูดเท็จ

2. พูดส่อเสียด

3. พูดคำหยาบ

4. พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล


อกุศลทาง มโนกรรม 3



1. โลภเพ็งเล็งเอาของของผู้อื่นมาเป็นของตน

2. พยาบาท โกรธแค้นขัดเคือง

3. มีความเห็นผิด คือไม่มีสัมมาทิฏฐิ

คือเห็นว่า บาปบุญไม่มี ไม่มีคลองธรรม

เห็นว่า ไม่มีกรรมดี กรรมชั่ว


มูลเหตุของ อกุศลมูล คือ

โลภะ ความโลภอยากได้ของเขา

โทสะ ความโกรธแค้นขัดเคือง

โมหะ ความหลง ไม่มีปัญญารู้ตามความเป็นจริง


สัมมาทิฏฐิคือ การรู้จัก กุศลมูล และรู้จัก อกุศลมูล

รู้จักเหตุแห่ง กุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ

และ รู้จักเหตุแห่ง อกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ โมหะ



พุทธศาสนา เป็นศาสนาทางปัญญา และปัญญาที่มุ่งหวัง

คือ สัมมาทิฏฐิ เป็นความเห็นชอบ ความเห็นตรง

เมื่อได้ความเห็นชอบ ความเห็นตรง

ก็ย่อมจะได้ปสาทะ คือความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม

เป็นผู้มาสู่สัทธรรม ความเลื่อมใสที่ไม่หวั่นไหวในพระธรรม

ก็ต้องอาศัย สัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบ ความเห็นตรงเป็นหลัก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2010, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อาสวะ


สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ


ความรู้จักอาสวะ


คือ รู้จัก อาสวะ อาสวะ มี 3 คือ

กามาสวะ อาสวะคือ กาม

ภวาสวะ อาสวะคือ ภพ

อวิชชา อาสวะ อาสวะคือ อวิชชา



รู้จักเหตุเกิดอาสวะ คือเพราะอวิชชาเกิด

อาสวะทั้งหลายจึงเกิด

รู้จักความดับอาสวะ คือรู้จักว่า เพราะ อวิชชาดับ

อาสวะทั้งหลาย จึงดับ


รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ


ก็คือรู้จัก มรรคมีองค์ 8


อาสวะและอนุสัย เป็นกิเลสอย่างละเอียด

กิเลสที่ดองจิตสันดานที่ หมักหมมอยู่ในจิตสันดานนี้

เรียกว่า อาสวะ

กิเลสที่นอนจม ติดตามไปอยู่เสมอ นี้

เรียกว่า อนุสัย


อนุสัยนี้ก็แจกเป็น 3 อีกเหมือนกัน คือ

ราคานุสัย อนุสัยคือ ราคะ

ปฏิฆานุสัย อนุสัยคือ ปฏิฆะ

อวิชชาอนุสัย อนุสัยคือ อวิชชา

อาสวะ อนุสัย เป็นกิเลสอย่างละเอียด

เมื่อมี กิเลสอย่างละเอียด ก็ย่อมจะมี กิเลสอย่างหยาบ

และมี กิเลสอย่างกลางอีกด้วย


ซึ่ง ก็มีแสดงไว้ คือ

กิเลสอย่างหยาบ หรืออกุศลมูล



คือ กิเลสที่เป็นเหตุให้ ล่วงละเมิดออกไปทางไตรทวาร

สำเร็จเป็น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ หรือ ราคะ โทสะ โมหะ

เป็นรากเหง้าของ อกุศลทั้งหลาย

ได้แก่รากเหง้าของ อกุศลกรรม

ดังเรียกว่า อกุศลกรรมบถ

อกุศลกรรมบถของทางกรรม แจกเป็น 3 คือ


1. กายกรรม 3 ได้แก่

ฆ่าสัตว์ ขโมย ผิดในกามทั้งหลาย


2. วจีกรรม 4 ได้แก่


พูดเท็จ

พูดส่อเสียด

พูดคำ หยาบ

พูดโปรยประโยชน์ คือ พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล


3. มโนกรรม 3 ได้แก่


3.1 โลภเพ่งเล็ง ทรัพย์สิ่งของต่างๆ ของผู้อื่นมาเป็นของตน

3.2 พยาบาท มุ่งปองร้ายหมายล้างผลาญ

3.3 เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม

คือ เห็นว่าไม่มีกรรมที่กระทำ คือไม่มีบุญ ไม่มีบาป


อกุศลกรรมบถ เกิดขึ้นเพราะ มีเจตนา อันประกอบไปด้วย


กิเลส กองโลภ กองหลง กองโกรธ

ซึ่ง เป็นกิเลสอย่างหยาบ คือบังเกิดขึ้นรุนแรง

จนให้ละเมิดออกไป ทาง กาย ทางวาจา ทางใจ



กิเลสอย่างกลาง คือนิวรณ์


เป็นกิเลสที่บังเกิดขึ้นเป็น นิวรณ์อยู่ในจิตใจ

คือทำให้จิตใจไม่พบกับความสงบ

ทำปัญญาให้ เสียให้ทราม คือไม่เกิดปัญญา

คือกิเลสที่ทำให้เกิดความกลัดกลุ้ม วุ่นวาย

กระสับกระส่าย เดือดร้อน

ที่เรียกว่าเป็นกิเลส อย่างกลาง ก็เพราะ

บังเกิดขึ้นในใจ ไม่ถึงให้ล่วงละเมิดออกไปทาง กายทางวาจา ทางใจ

พระพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงนิวรณ์เอาไว้ ก็คือ

กามฉันท์ ความพอใจรักใคร่ในกาม

คือความพอใจรักใคร่ในกาม คือรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เรื่องราว

พยาบาท ความโกรธแค้นขัดเคือง

ถีน มิทธะ ความง่วงงุนเคลิบเคลิ้ม

อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ

วิจิกิจฉา ความเคลือบแคลงสงสัย

ย่อลงมาก็เป็น ราคะ โทสะ โมหะ

เป็นกิเลสอย่างกลาง ทำจิตใจให้กลัดกลุ้ม ไม่เป็นสมาธิ

ทำให้ไม่ได้ปัญญา

การปฏิบัติทางกรรมฐานไม่ค่อยได้ ก็เพราะ นิวรณ์

เมื่อสงบนิวรณ์เสียได้

หรือเรียกว่า สงบ ปริยุฏฐานะ คือกิเลสที่ปล้นใจ

จึง ได้สมาธิจึงจะได้ปัญญา

การปฏิบัติกรรมฐานจึงจะสำเร็จขั้นตอนขึ้นไป ได้


กามาสวะ อาสวะคือ กาม

ใน ส่วนอนุสัย ราคานุสัย อนุสัยคือ ราคะ



กาม แปลว่า ใคร่

ราคะ แปลว่า ติด ติดใจยินดี

ราคะความติดใจก็เป็น กิเลสกองยินดีด้วยกัน

กาม กับราคะนั้นก็หมายถึง กิเลสกองยินดีด้วยกัน

แม้จะมีชื่อต่างกัน แต่ก็มีความหมายเดียวกัน

กามาสวะ อาสวะคือ กาม มี 2 อย่างคือ

กิเลส กาม กับวัตถุกาม หรือที่เรีกยว่า กามคุณ ทั้ง 5

คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส


ภวาสวะ และ ปฏิฆานุสัย

ภวา สวะ อาสวะคือ ภพ ที่แปลว่า ความเป็น คือ

เป็นนั่น เป็นนี่ ตั้งต้นตั้งแต่ ความเป็นเรา เป็นของเรา

เมื่อมีเราเป็นเรา เราก็เป็นนั่น เป็นนี่ต่อไปอีก

นี้คือภพ

ปฏิฆานุสัย ที่แปลว่า การกระทบ

ตั้งต้นตั้งแต่ เป็นเราขึ้นมา จึงมีการกระทบกระทั่ง

ถ้าไม่มีตัวเราเป็นเรา ความกระทบกระทั่งจึงไม่มี

ดังพึงจะเห็นได้ว่า บุคคลทั่วไปเมื่อมีใครมาสรรเสริญ

นายก. นาง ข. ดีอย่างนั้น อย่างนี้ ตัว นายก. นาง ข.

นั้นย่อมมีตัวภพ

ซึ่ง นาย ก. นาง ข. นั้นก็ออกรับคำสรรเสริญ

คำสรรเสริญนั้นก็แปลว่ามีที่กระทบ

เพราะ มีตัวของ นายก. นาง ข.

ถ้าเป็นคำนินทา

นายก. นาง ข. ก็ออกรับ ก็เกิดความขัดใจ

แต่ถ้าหากว่า นายก. นาง ข.ไม่มีตัวเราออกรับ

คำ สรรเสริญ หรือ นินทา ของใครๆ นั้นก็ไม่มากระทบ

คำสรรเสริญ นินทานั้น ก็ผ่านไป

ไม่บังเกิดให้มีความ ยินดี ยินร้าย

เพราะ ว่าไม่มีตัวของนายก. นาง ข.

เพราะฉนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมะจึงต้องทำสติให้มีความรู้

คือไม่เอาตัวเราออกรับ ก็ไม่มี การกระทบเกิดขึ้น

ไม่ทำให้จิตใจเกิดความขึ้นลง


อวิชชาสวะ

ได้แก่ความไม่รู้ในสัจจะที่เป็นตัวความจริง


อวิชชาเกิด เพราะอาสวะ

อาสวะเกิด เพราะอวิชชา

อวิชชา คือ ไม่หยั่งรู้ในทุกข์

ไม่หยั่งรู้ ในความดับทุกข์

ไม่หยั่งรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์

ไม่หยั่งรู้ ในทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

อนุสัยกิเลส เกิดจากเวทนา

สัมผัส หรือผัสสะคือ การกระทบ ทำให้เกิดเวทนา

คือ ความรู้เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์

ทางกายทางใจ ก็ย่อมจะมีความติดใจยินดีในสุข

เมื่อเป็นดั่งนี้ ราคะ คือความติดใจยินดีในสุขนี้

ก็ตกตะกอนนอนเนื่องอยู่ในจิต เรียกว่า ราคานุสัย

แม้ว่า สุขเวทนานั้นจะหายไปแล้ว

แต่ว่า ราคานุสัยยังตกตะกอนนอนเนื่องอยู่ในจิต

ทุขเวทนาก็เกิดความทุกข์ เดือดร้อน

ปฏิฆะ คือความกระทบกระทั่ง นั้น

ก็ตกตะกอนนอน เนื่องอยู่ในจิต

แม้ว่า ทุกขเวทนา การกระทบกระทั่งจะสงบไปแล้ว

แต่ ปฏิฆานุสัยก็ยังตกตะกอนนอนเนื่องอยู่ในจิต

เวทนาที่เป็นกลางๆ ก็มีตะกอนนอนเนื่องอยู่ในจิต

ดังเปรียบได้กับ ตะกอนนอนก้นตุ่ม ไม่ฟุ้งขึ้นมา

น้ำในตุ่มดูใส สะอาด แต่อันที่จริงแล้ว

ไม่ใช่ น้ำสะอาดโดยสิ้นเชิง ยังมีตะกอนนอนก้นตุ่มอยู่

ตะกอนนอนก้นตุ่ม คือ อนุสัย

พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้มี อินทรียสังวร

คือความสำรวม อินทรีย์ คือ

คือสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ดังที่ตรัส สอนเอาไว้ว่า

เห็นรูปอะไรทางตา

ได้ยินเสียงอะไรทางหู

สูดกลิ่น อะไรทางจมูก

ลิ้มรสอะไรทางลิ้น

ถูกต้องอะไรทางกาย

คิด หรือรู้เรื่องอะไรทางใจ

ก็ไม่ยึดถือโดย นิมิต

คือ ไม่ยึดถือว่างามหรือไม่งาม

น่าชอบหรือ ไม่น่าชอบ

ไม่ยึดถือโดย อนุพยัญชนะ คือเลือกแต่บางส่วนว่างามหรือไม่งาม

บาปอกุศลย่อมไหลมาสู่จิต

เพราะ เหตุที่ไม่ได้รวมไม่ได้รักษา

เพราะฉะนั้นเมื่ออายตนะภายในภายนอก ประจวบกันเกิด

วิญญาณ เกิดผัสสะ เกิดเวทนา

จึงยัง ยินดียินร้ายยังมียังหลงไม่รู้

ความยินดียินร้ายหลงไม่รู้ที่บังเกิด ขึ้นจะสงบเป็นคราวไป

แต่ก็ยังนอนจมเป็นตะกอนอยู่ในจิตดองเป็นอาสวะ

นอน เนื่องเป็นอานุสัย และก็เพิ่มพูนอยู่เสมอ

ต่อเมื่อได้ปฏิบัติใน อินทรีย์สังวร

และได้ปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าสั่งสอน

คือ ในมรรค มีองค์ 8

รวมเข้าเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา

รักษาอินทรีย์ รักษาจิต

มิให้ยินดียินร้าย หลงไม่รู้ในเวลาที่ประสบ

เรื่อง ประสบอารมณ์ต่างๆ

ทาง ตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทาง ใจ

จึง ปฏิบัตที่ไม่เพิ่ม ราคะนุสัย

และเมื่อ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ลึกซึ้ง

ลงไปจนถึงรู้ตัวอาสวะนุสัยได้บางส่วนจนถึงสิ้นเชิง

นั่นแหละจิตจึงเป็น ธรรมชาติที่บริสุทธิ์

พร้อมทั้งปภัสสร คือผุดผ่อง

ประกอบด้วย วิชาวิมุตติ อยู่กับ วิชาวิมุตติตลอดเวลา

ดังที่พระพุทธภาษิตตรัส ไว้ว่า

ตถาคตคือพระพุทธเจ้าอยู่ด้วยวิชชาวิมุตติ

ทรงมีวิชชา วิมุตติเป็นธรรมะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร