วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 13:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2010, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2004, 19:46
โพสต์: 2305

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ถาม 27

มีคนพูดว่าการปฏิบัติด้วยตนเอง จะได้บุญมากกว่าการบริจาคเงินสร้างโบสถ์ หรือสร้างพระพุทธรูป ช่วยอธิบายด้วยเจ้าค่ะ


ตอบ

ข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ท่านจัดไว้เป็น 3 ระดับ หรือ 3 อย่าง คือ ทาน ศีล ภาวนา บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา

ทาน - ชาวพุทธทุกคนทำได้ ไม่มากก็น้อย ถึงแม้ว่าผู้ที่ประกอบมิจฉาชีพ เช่น ขายเหล้า ขายอาวุธ จับปลาขาย ถ้าพอมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาบ้าง ก็ทำทานได้ทุกคน เช่น ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า สร้างกุฏิ สร้างวิหาร หรือใส่บาตร เป็นต้น

ศีล - การรักษาศีล คนทำได้น้อยมาก

ภาวนา - คนที่ทำได้น้อยลงอีกมาก คือ การเจริญ สติ สมาธิ ปัญญา ฝึกจิต ฝึกใจ ให้เข้มแข็งหนักแน่น

บางทีก็พูดกันทำนองว่า การรักษาศีลมีอานิสงส์มากกว่าการให้ทานเป็น 1000 เท่า เป็นสำนวนที่อธิบายว่า การรักษาศีลนี้ยากมากกว่าการให้ทาน การภาวนายิ่งยากมากกว่าการรักษาศีลเป็น 1000 เท่า สิ่งที่ทำยากนั่นแหละเมื่อทำได้ดี ทำจนได้ผลดีแล้ว ก็มีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่

การบริจาคเงินสร้างโบสถ์ หรือสร้างพระพุทธรูปเป็นการให้ทาน แต่การปฏิบัติด้วยการรักษาศีล รักษาใจ หรือโดยเฉพาะการภาวนาพัฒนาจิตใจให้เข้มแข็ง มีความสำคัญกว่ามาก ต้องอาศัยสติ สมาธิ ปัญญา และความอดทน อดกลั้น ความพยายามอย่างมาก ที่จะรักษาใจไม่ให้ขุ่นมัวเศร้าหมอง แม้จะประสบความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ก็สามารถรักษาใจให้เป็นปกติได้

เช่นนี้ย่อมได้บุญมากกว่า แต่ต้องปฏิบัติให้ถึงใจนะ ไม่ใช่เข้าวัดนั่งฟุ้งซ่านแล้วก็บอกว่าได้บุญมากกว่าคนที่สร้างวิหารสร้างพระพุทธรูปก็ไม่ใช่นะ

.....................................................
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2010, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2004, 19:46
โพสต์: 2305

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ถาม 28

บุญกับกุศลเหมือนกันไหมเจ้าคะ


ตอบ

บุญ คือความสบายใจ การกระทำ (กรรม) อันใดที่ทำไปแล้วสบายใจ สุขใจ เรียกว่า ทำบุญ เป็นบุญ อดีตเราเคยทำอะไรไว้ เมื่อนึกถึงแล้วสบายเรียกว่าบุญ เช่น การให้ทาน รักษาศีล ภาวนา เป็นต้น

กุศล คือความถูกต้อง ความฉลาด ความดี เป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่า กุศลต้องอาศัยปัญญา ความเฉลียวฉลาด ต้องอาศัยจิตใจที่เสียสละ มีเมตตา กรุณา จิตใจหนักแน่นเข้มแข็ง แต่เมื่อทำแล้วก็ได้ทั้งบุญทั้งกุศลสมบูรณ์ เช่น การเข้าไปช่วยเด็กตกเขียว เด็กโสเภณี ช่วยคนเป็นโรคเอดส์และการสังคมสงเคราะห์หลายอย่างๆ ต้องอาศัยจิตใจที่เป็นกุศล เสียสละมากๆ

การกระทำบางอย่างถึงแม้จะมีประโยชน์มาก แต่ต้องมีกำลังใจดี มีสติปัญญาจึงจะทำได้ เด็กโสเภณีที่ถูกพ่อแม่ขายให้เอเย่นต์ ถูกบังคับให้รับแขกแบบโหดร้าย เมื่อเรารู้ปัญหา เกิดความสงสารเด็ก โกรธพ่อแม่ที่ขายลูก ทั้งโกรธแค้นผู้ที่มีส่วนทำลายเด็ก อาจจะเกิดอารมณ์หลายๆ อย่าง การเข้าไปช่วยเหลือเด็กเหล่านี้เป็นบุญเป็นกุศล

แต่ไม่ใช่สิ่งที่ทำแล้วสบายใจทันที เพราะต้องกระทบอารมณ์ต้องต่อสู้อารมณ์มากมาย บางทีก็สงสาร บางทีก็โกรธ บางทีก็เศร้าและบางทีก็อันตรายมากด้วย ระหว่างทำไปก็อาจจะมีอารมณ์มากมายก็ได้ แต่เมื่องานสำเร็จแล้วก็เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมาก จึงเป็นกุศล และเราผู้ทำก็มีปีติมีความสุขใจ เบิกบานใจ จึงเป็นบุญ

ฉะนั้นการกุศล เมื่อทำสำเร็จแล้ว จึงเป็นบุญเป็นกุศลโดยสมบูรณ์ บางคนก็ชอบทำบุญ แต่ยังไม่พร้อมที่จะเข้าไปรับรู้ความเดือดร้อนของเพื่อนมนุษย์ จึงไม่สามารถสละเวลาและแรงกายให้แก่งานการกุศลได้ การจัดงานการกุศลต่างๆ ในการจัดงาน กรรมการก็อาจเกิดปัญหาขัดแย้งกัน เถียงกัน จนไม่สบายใจไปอีกนาน แต่ตัวงานลุล่วงไป เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม ส่วนใหญ่ก็มี มองดูใจผู้จัดก็ยังมีอารมณ์อยู่ แต่งานก็สำเร็จทำให้เกิดความสุขได้ นี่คือลักษณะของงานกุศลคือการกุศล

ในภาษาทั่วๆ ไปคำว่า “บุญ” กับ “กุศล” จะใช้คล้ายๆ กันและบางทีก็ใช้แทนกัน แต่ในทางพุทธศาสนา ท่านจัด บุญกิริยา 10 และกุศลกรรม 10 ไว้ต่างกัน ดังนี้

บุญกิริยา 10

บุญกิริยา คือ การกระทำที่ทำให้เกิดบุญ 10 อย่าง คือ
1. บุญสำเร็จด้วยการบริจาค ทาน
2. บุญสำเร็จด้วยการรักษา ศีล
3. บุญสำเร็จด้วยการเจริญ ภาวนา
4. บุญสำเร็จด้วยการประพฤติ ถ่อมตน แก่ผู้ใหญ่
5. บุญสำเร็จด้วยการ ขวนขวาย ในกิจที่ชอบ
6. บุญสำเร็จด้วยการ ให้ส่วนบุญ
7. บุญสำเร็จด้วยการ อนุโมทนา ส่วนบุญ
8. บุญสำเร็จด้วยการ ฟังธรรม
9. บุญสำเร็จด้วยการ แสดงธรรม
10. บุญสำเร็จด้วยการทำ ความเห็นให้ตรง

กุศลกรรมบถ 10
คือการกระทำอันเป็นกุศล 10 อย่างประกอบด้วย

กายกรรม 3 :
1. เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ล่วงไป
2. เว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ - ขโมย
3. เว้นจากการประพฤติผิดลูกเมียของคนอื่น

วจีกรรม 4 :
4. เว้นจากการพูดเท็จ
5. เว้นจากการพูดส่อเสียด
6. เว้นจากการพูดคำหยาบ
7. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

มโนกรรม 3 :
8. ไม่โลภอยากได้ของเขา
9. ไม่พยาบาทปองร้ายเขา
10. มีความเห็นชอบ เห็นถูก คือสัมมาทิฏฐิ

กุศลกรรมบถต้องอาศัยสติ ปัญญา หิริโอตตัปปะ ควบคุมกาย วาจา จิตพร้อมกัน ประโยชน์สูงสุด คือพระนิพพาน ในการทำการกุศล อันเป็นหน้าที่ต่อสังคม ก็ให้พยายามรักษากุศลกรรมบถ 10 ให้สมบูรณ์พร้อมกันไปด้วย

.....................................................
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2010, 21:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2004, 19:46
โพสต์: 2305

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ถาม 29

เรื่องกินเจ กินเนื้อสัตว์ พระพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องนี้ไว้อย่างไร


ตอบ

ตั้งแต่ในครั้งพุทธกาล ทุกๆ เช้าพระภิกษุจะเดินภิกขาจารไปโปรดสัตว์หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า เดินบิณฑบาตนั่นเอง ชาวบ้านจะแบ่งอาหารของเขาส่วนหนึ่งนำไปใส่บาตร

ครั้งหนึ่ง พระเทวทัต ได้เสนอให้พระพุทธเจ้าบัญญิติพระวินัยว่าห้ามพระภิกษุฉันเนื้อสัตว์ แต่พระพุทธเจ้าได้พิจารณาแล้วไม่รับข้อเสนอนี้

อีกครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ห้ามฉันเนื้อสัตว์ที่ถูกฆ่าเพียงเพื่อถวายพระเท่านั้น เนื้อสัตว์ที่ชาวบ้านเตรียมไว้ เพื่อบริโภคเองและส่วนหนึ่งทำอาหารแล้วแบ่งมาใส่บาตรหรือถวายพระ พระฉันได้

ถ้าพระไม่ได้เห็นการฆ่า ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ ถือว่าอาหารนั้นบริสุทธิ์ รับบริโภคได้ เช่น ถ้าชาวบ้านเชือดไก่ให้ดูต่อหน้าพระ พระเห็นก็ฉันอาหารนั้นไม่ได้ ถ้าชาวบ้านเล่าว่าเมื่อคืนเชือดควายแล้วเอามาทำอาหารใส่บาตร ดังนี้ พระก็ฉันไม่ได้

พระไปบิณฑบาตเห็นหมูเกิดความรู้สึกว่าหมูก็เหมือนคน ฉันเนื้อหมูก็เหมือนฉันเนื้อคน ถ้าเกิดความรู้สึกหรือสงสัยขึ้นมาเช่นนี้ พระองค์นั้นก็ไม่ควรฉันอาหารที่ตนเองรังเกียจในวันนั้น บางทีเห็นสุนัขเกิดความรู้สึกสงสัยว่าอาหารที่เขาใส่บาตรนั้น ทำจากเนื้อสุนัขซึ่งเป็นสัตว์ที่พระพุทธเจ้าห้ามฉันหรือไม่ เช่นนี้ก็ไม่ควรฉันอาหารนั้น

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าเนื้อสัตว์ที่ไม่ควรฉันมี 10 อย่าง ดังนี้

1. เนื้อมนุษย์
2. เนื้อช้าง
3. เนื้อม้า
4. เนื้อสุนัข
5. เนื้องู
6. เนื้อราชสีห์
7. เนื้อหมี
8. เนื้อเสือโคร่ง
9. เนื้อเสือดาว
10. เนื้อเสือเหลือง

การฉันของที่รับบิณฑบาต พระพุทธเจ้าให้พิจารณาก่อนฉันและเมื่อฉันแล้วก็พิจารณาอีก ตามนี้

- ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน
- ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเมามันเกิดกำลังพลังทางกาย
- ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ
- ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง
- ให้เป็นไปเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้
- เพื่อความเป็นไปได้ของอัตตภาพ
- เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย
- เพื่อการอนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์
- เพื่อระงับความหิว ซึ่งเป็นทุกขเวทนาเก่าและไม่ทำให้ทุกขเวทนาใหม่เกิดขึ้น
- เพื่อความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตตภาพ

ก่อนที่จะบริโภคอาหาร พระพุทธเจ้าให้พิจารณาอีกว่าอาหารเหล่านี้เป็นของปฏิกูล เป็นธาตุ 4 แล้วก็ฉันเป็นยา ไม่ให้คิดว่ากำลังฉันเนื้อสัตว์ ฉันผัก ฯลฯ

.....................................................
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2010, 21:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2004, 19:46
โพสต์: 2305

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ถาม 30

ความฝันเกิดจากอะไร และมีวิธีจัดการอย่างไร


ตอบ

ความฝันเกิดจากจิตที่ไม่สงบแล้วคิดปรุงแต่ง ถ้ามีอารมณ์ตกค้างก็จะฝันมาก หรือถ้ามีอารมณ์หยาบ รุนแรง ก็จะฝันร้ายและฝันมาก

ดังนั้นวิธีจัดการกับความฝัน คือ พยายามทำใจให้สงบก่อนที่จะนอน เพราะถ้าจิตสงบเป็นสมาธิมากเท่าไหร่ ความฝันก็ลดน้อยลงเท่านั้น พระอรหันต์ท่านไม่มีฝันเลย สภาวะจิตที่ละเอียดนั้นเป็นจิตที่ตื่น จึงหลับน้อยด้วย

ในการปฏิบัติธรรม เราจึงเน้นให้นอนเท่าที่จำเป็น หรือนอนให้น้อยลง ไม่ให้เกิดความฝันปรุงแต่ง คนเราถ้านอนมากเกินไปก็จะฝันมากเป็นธรรมดา

ก่อนนอนให้ทบทวนชีวิตในวันนั้น มีอะไรที่ยังต้องคิดก็คิดให้จบ อย่าให้ตกค้าง จากนั้นก็เจริญอานาปานสติ พร้อมกับอารมณ์เมตตา ภาวนา 10, 20 นาที หรือนานเท่าไหร่ก็ได้ตามถนัด คือทำใจให้สงบ มีความสุข เช่นนี้ก็จะหลับสบาย ไม่ฝันร้าย อาจจะนอนน้อย หลับน้อยด้วยก็ได้ ตื่นขึ้นก็สดชื่น

ปกติคนเราที่นอน 7–8 ชั่วโมงนั้น หลับจริงๆ ก็ประมาณ 2 ชั่วโมง นอกนั้นจิตก็หลับๆ ตื่นๆ คิดปรุงแต่งไปเรื่อยๆ บางส่วนก็จำได้ บางส่วนก็จำไม่ได้ ส่วนที่จำได้เรียกว่า ฝัน

สำหรับผู้ปฏิบัติก็พยายามตัดชั่วโมงที่หลับๆ ตื่นๆ นึกคิดปรุงแต่งนั้นออก จนถึงสภาวะที่เรียกว่า “หลับในตื่น ตื่นในหลับ“ คือหลับอย่างมีสติ หลวงพ่อชา เล่าว่า สมัยที่ท่านปรารภความเพียร ท่านพยายามเจริญสติในเวลานอนด้วยการนอนในท่าสีหไสยาตรแล้ววางกาน้ำ แก้วใส่น้ำไว้รอบๆ ตัว แล้วกำหนดหลับโดยมีสติ ตื่นขึ้นมาทุกอย่างต้องอยู่ในที่เดิม จึงถือว่าหลับอย่างมีสติ ไม่ฝัน

สำหรับผู้ปฏิบัติถ้าจะนอน 4 ชั่วโมงก็กำลังดี




>>>>> จบ >>>>>

.....................................................
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2010, 21:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2004, 19:46
โพสต์: 2305

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทาพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=20086

รวมคำสอนพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=38514

วัดป่าสุนันทวนาราม-มูลนิธิมายา โคตมี และแผนที่
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=20076

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2010, 01:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2010, 04:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เหอๆๆ

ทุกข์จากปัญหา
ทุกข์เพราะคิด
ตั้งจิตผิดที่

เหอๆๆ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร