วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 23:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 08:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




000000000000.jpg
000000000000.jpg [ 52.61 KiB | เปิดดู 4213 ครั้ง ]
หลวงปู่เครื่องกับวัดปากน้ำและวิชาธรรมกาย

โดย สุพรรณ สาคร
--------------



http://www.sisaket.ru.ac.th/pra-sisaket/.../dhammakai.htm%20-
:b42: :b42: :b42:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 07 มิ.ย. 2010, 10:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 10:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หลวงปู่เครื่องกับวัดปากน้ำและวิชาธรรมกาย

โดย สุพรรณ สาคร



ขออภัยครับ :b8: คงต้องเอาลอกข้อความข้างบนเข้าgoogleแล้วล่ะครับ :b7: ขอบพระคุณที่บอก :b8:
เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 12:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท


วัดสระกำแพงใหญ่
ต.สระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ



โพสต์โดย คุณสาวิกาน้อย

ขออนุญาตลง LINK นี้แทนนะคะ


viewtopic.php?f=13&t=24775&p=132618&hilit=%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87#p132618

:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




000000000000.jpg
000000000000.jpg [ 52.61 KiB | เปิดดู 4148 ครั้ง ]
หลวงปู่เครื่องกับวัดปากน้ำและวิชาธรรมกาย

โดย สุพรรณ สาคร[1]

--------------

หนังสือพระมงคลเทพมุนี ประวัติหลวงพ่อวัดปากน้ำและคู่มือสมภาร โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช 2529 กรุงเทพมหานคร หน้า 91 บันทึกว่า “การปฏิบัติธรรมตามหลักพระกัมมัฏฐาน อันเป็นปฏิปทาสูงสุดในพระพุทธศาสนา ถ้าการปฏิบัตินั้นเข้าขั้นปรมัตถ์ ผู้ปฏิบัติก็ย่อมเข้าถึงอมตสุข แม้ยังไม่เข้าขั้นปรมัตถ์ ก็ยังมีอำนวยผลแก่ผู้ปฏิบัติให้มีกาย วาจา ใจ สงบระงับ อันผู้ปฏิบัติเข้าถึงธรรม ย่อมมีกาย วาจา ใจ ไกลจาก โลภ โกรธ หลง เป็นบุคคลคงที่ต่อหลักธรรม ไม่ก่อกรรมทำเวร”

เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้และเข้าถึงใจจิตวิญญาณของหลวงปู่เครื่อง สุภทฺโท มากขึ้นผู้เขียนจึงขอเชื่อมโยงปฏิปทาในการแสวงหาธรรมอันเป็นทางแห่งความหลุดพ้น ของหลวงปู่ ให้ผู้อ่านได้เห็นความปรารถนาอันแรงกล้า และจุดหมายสูงสุดในการออกบวช ตามที่หลวงปู่ ได้ตั้งปณิธานไว้ นั้น คือ การตัดสินใจออกบวช ในปี 2474 ขณะนั้นอายุได้ 21 ปีบริบูรณ์ (เกิด 15 กรกฎาคม 2453) ก็เพื่อแสวงหาโมกขธรรมเป็นที่ตั้ง[2] ตามคตินิยมในการศึกษาพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในประเทศไทย การศึกษามีข้อแตกต่างเชิงวิธีการ เพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกันคือปัญญาที่รู้แจ้งและเห็นจริง เป็นระบบการศึกษาที่ชัดเจนใน 2 ทาง คือ

1.การศึกษาในทางปริยัติ มุ่งการเรียนรู้พระธรรมวินัยอันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรง เรียนรู้พระสูตรต่างๆ ที่พระเถระในรุ่นต่อมาได้ทำการสังคายนาเพื่อรวบคำสอนที่พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาในที่ต่างๆไว้เป็นเรื่องๆ ให้เป็นหมวดเป็นหมู่ วิธีการศึกษาแบ่งออกเป็นช่วงชั้น ในแต่ละช่วงชั้นจัดทำเป็นหลักสูตรเพื่อให้เกิดการเรียนการสอนและมีการสอบไล่เรียกว่าสอบธรรมสนามหลวง ตั้งแต่นักธรรมตรี โท เอก สำหรับพระภิกษุสามเณร ธรรมศึกษาตรี โท เอก สำหรับคฤหัสถ์ และสอบบาลีสนามหลวง ตั้งชั้นเปรียญ 3 ประโยค ถึงเปรียญ 9 ประโยค ผู้ที่สอบไล่ได้เปรียญธรรมจะเรียกคำนำหน้าว่า “มหา”

2.การศึกษาในทางปฏิบัติ เป็นสาระสำคัญโดยตรงสำหรับผู้แสวงหาความหลุดพ้นจากความทุกข์ อันมีกิเลสมูล ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ หรือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นเครื่องผูกพัน เป็นอกุศลมูล เป็นต้นตอของกองทุกข์ กิเลสจึงเป็นรากเหง้าของความไม่ดีหรือความชั่วทั้งปวง วิธีการศึกษาการปฏิบัติ เริ่มจากการตรวจสอบที่จิต หรือกำหนดการรับรู้ไว้ที่จิต เรียกว่าการพิจารณากัมมัฏฐาน ตามที่พระอุปัชฌาย์ได้สอนให้พระบวชใหม่ทุกรูป พิจารณากัมมัฏฐานจากกองสังขาร คือการพิจารณาจากร่างกายของตนเองและคนอื่น เป็นของไม่เที่ยงหรือเป็นอนิจัง เริ่มพิจารณาตั้งแต่ เกสา คือเส้นผม โลมา คือเส้นขน นะขา คือเล็บ ทันตา คือฟัน ตะโจ คือหนัง เพื่อพระบวชใหม่ได้จดจำขึ้นใจ พระอุปัชฌาย์จะบอกกัมมัฏฐานข้อความเดียวกัน แต่เป็นการทวนกลับอีกครั้งหนึ่งว่า ตะโจ หนัง ทันตา ฟัน นะขา เล็บ โลมา เส้นขน เกสา เส้นผม โดยความหมายแล้ว กัมมัฏฐานซึ่งตามภาษาบาลีหรือกรรมฐานเมื่อเขียนภาษาไทย ความหมายก็คือ เป็นที่ตั้งแห่งการงาน หมายเอาอุบายทางใจ มี 2 ประการ คือ สมถกรรมฐาน เป็นอุบายสงบใจ คือการทำให้ใจสงบ กับ วิปัสสนากรรมฐาน เป็นอุบายในเรื่องของปัญญา ทำให้เกิดปัญญาหรือเพื่อการแสวงหาปัญญา

หลักการรู้แจ้งหรือเป้าหมายการรู้แจ้งของพุทธศาสนา เรียกว่า อริยสัจจ์ในภาษาบาลีหรืออริยสัจในภาษาไทย คือความจริงอันประเสริฐ ได้แก่ 1.ทุกข์ ซึ่งเป็นกฎของไตรลักษณ์เป็นธรรมชาติที่ไม่ยั่งยืน นั้นคือกระบวนการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับคน สัตว์ สิ่งของอยู่ตลอดเวลา ที่เกิดกับคนเพราะ

มีจิตเป็นตัวปรุงแต่ง 2.ทุกขสมุห์ทัย (ที่เกิดแห่งทุกข์) คือสาเหตุของทุกข์หรือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ 3.ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) คือการทำให้ความทุกข์ดับหรือหมดไปอย่างสิ้นเชิง และ 4.ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรค (ทางแห่งความดับทุกข์) ในตัวมรรคยังแยกออกเป็น 3 หมวด ได้ (1).แก่หมวดปัญญา ประกอบด้วยมรรคหรือทาง 2 ทาง คือ

1.ทางสายแรกเป็นเส้นทางที่เป็นหลักในการคิดเรียกว่า “สัมมาทิฏฐิ” เมื่อคนเราจะมีความคิดเห็นใดๆ ความคิดเห็นนั้น จะต้องตั้งอยู่บนฐานของความถูกต้องคือต้องเป็นความจริงก่อน จึงจะเรียกว่า เป็นความคิดเห็นที่ชอบ ภาษาสันสกฤตใช้คำว่า “ทฤษฎี” หมายถึงหลักการซึ่งเป็นที่มาของแนวคิด และ

2.ทางสายที่ 2 ของหมวดปัญญา เป็นวิธีการสังเคราะห์ความคิดเห็นที่ชอบแล้วให้เป็นความจริง เรียกว่า “สัมมาสังกัปปะ” สังกัปป์ เป็นศัทพ์วิชาการทางด้านจิตวิทยา แปลเป็นไทยว่า “ความคิดรวบยอด” ภาษาไทยนำภาษาบาลีสันสกฤตมาใช้โดยตรง แต่เขียนและออกเสียงว่า “สังเคราะห์” น่าจะแปลเป็นภาษาไทยว่า “สรุปแล้วมีความเห็นว่าหรือสรุปแล้วคือหรือสรุปแล้วเป็น” ความจริงตามฐานคิดสัมมาทิฏฐิหรือไม่ เพราะเหตุใด

หมวดที่ 2 ของมรรค เป็นหมวดที่กำหนดไว้ในเรื่องของศีลหรือหมวดศีล ประกอบด้วย

1.สัมมาวาจา พูดจาในเรื่องที่ถูกต้องเป็นจริง

2.สัมมากัมมันตะ ประกอบการงานที่ชอบ

3. สัมมาอาชีวะ ทำมาหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง

หมวดที่ 3 ของมรรค เป็นหมวดที่กำหนดไว้ในเรื่องสมาธิ ประกอบด้วย

1. สัมมาวายมะ ทำความในสิ่งที่ถูกต้อง

2. สัมมาสติ มีสติระลึกในทางที่ชอบที่ควร

3. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ

หลวงปู่เครื่อง สุภทฺโท ออกบวชเมื่อปี 2474 ขณะมีอายุ 21 บริบูรณ์ จำพรรษาอยู่วัดบ้านค้อ 2 ปี 2474 – 2475 ไปอยู่กับอาจารย์ญาครูฉิมที่วัดบ้านทุ่งไชย ด้วยตั้งใจจะเรียนหนังสือ 1 เดือน (มีนักเรียนคนเดียวไม่เปิดสอน) จึงไปเพื่อเรียนหนังสือที่บ้านทอกหลุบใหญ่ จังหวัดมหาสารคาม (ไม่ได้เรียนเพราะอาจารย์ผู้สอนลาสิกขาก่อน) กลับมาอยู่วัดบ้านพงพรตตั้งแต่ปี 2476 – 2489 เดินมาเรียนนักธรรมที่สำนักเรียนวัดสระกำแพงใหญ่ ซึ่งเป็นการศึกษาในทางปริยัติ ช่วงแรกพระอาจารย์ผ่านทำการสอน แต่ค่อยเข้าใจ เพราะเปิดหนังสือสอน ต่อมาพระอาจารย์พันจากจังหวัดนครราชสีมา มาสอนจึงเข้าใจและเรียนจนสอบไล่ตามหลักสูตรธรรมสนามหลวงได้นักธรรมชั้นตรี ปี 2476 นักธรรมชั้นโทปี 2477 ปี 2478 ไปเรียนหนังสือมูลกระจายน์ ที่วัดสุปัฏน์ จังหวัดอุบลราชธานี เรียนนักธรรมเอกที่วัดป่าน้อย สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอกปี 2478 เกิดการแบกแยกนิกาย ฝ่ายธรรมยุติยังเรียนที่วัดสุปัฏน์ ฝ่ายมหานิกายแยกมาเปิดเรียนที่วัดกลาง มีพระมหามณี เป็นอาจารย์สอน หลวงปู่มาเข้าใจภาษาบาลีดีขึ้นก็ตอนย้ายมาเรียนที่วัดกลาง เพราะอาจารย์สอนดีและเข้าใจง่าย หลวงปู่กับเพื่อนพระนักเรียน (มหาบุญมา แสนทวีสุข) อยู่ที่วัดกลาง ได้แลกเปลี่ยนสนทนาผลการเรียนบาลีไวยากรณ์ เพื่อนพระเห็นว่าหลวงปู่เข้าใจและเรียนได้ดีกว่า พระเพื่อนจึงชวนหลวงปู่ไปเรียนหนังสือต่อที่ กรุงเทพฯด้วยกัน ในปี 2478 โดยตกลงกันว่าจะไปอยู่วัดสามปลึ้ม ซึ่งหลวงปู่ตอบตกลง แต่พอถึงวันนัดเดินทาง หลวงปู่ไม่สามารถไปได้ เนื่องป่วยเป็นโรคเหน็บชา ขา 2 ข้างไม่มีเรี่ยวแรงลุกไม่ขึ้น หลวงปู่ต้องนอนพักรักษาตัวอยู่วัดบ้านพงพรตนานถึง 8 เดือนจึงหายเป็นปกติ

แม้หลวงปู่จะได้ศึกษาทางด้านปริยัติ แต่หลวงปู่ก็หาได้ละทิ้งการศึกษาในทางปฏิบัติตามที่ได้ตั้งปณิธานไว้ ในขณะที่เป็นพระหนุ่ม หลวงปู่ได้แสวงหาพระอาจารย์ที่มีความรู้ทางกัมมัฏฐานในระแวกใกล้เคียง ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพามีพระอาจารย์ญาคูฉิม (พระอุปัชฌาย์ฉิม ธมฺมรตฺตโน) วัดบ้านทุ่งไชย เขตอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพระเถระที่มีภูมิธรรมกัมมัฏฐาน ที่โดงดังมีคนเคารพนับถือมากที่สุด หลวงปู่เชื่อว่า พระอาจารย์อุปัชฌาย์ฉิมสามารถพูดภาษาสื่อสารกับนกได้ จึงไปหาเพื่อศึกษากัมมัฏฐานด้วยหลายครั้ง และทุกครั้งพระอาจารย์อุปัชฌาย์ฉิม จะสอนข้อธรรมเปรียบเทียบให้เกิดแง่คิดในเชิงอุปมาอุปไม เช่น “คน 3 บ้านกินน้ำบ่อเดียว เทียวออกเทียวเข้า แต่ไม่เหยียบรอยกัน” หมายถึงอะไร ถ้าคิดไม่ออกท่าน “ให้เดินเข้าป่า ห้ามเหลียวกลับหลัง และให้ภาวนาจึงจะได้บรรลุธรรม”

ขณะที่หลวงปู่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านพงพรต ตำบลหนองห้าง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ และอยู่นาน 11 ปี ในปี 2487 พระมหาบุญมา (บุญมา แสนทวีสุข) ซึ่งเป็นพระสหายสหธรรมิก เมื่อครั้งเรียนหนังสือด้วยกันที่สำนักเรียนวัดสุปัฏน์ และวัดกลาง จังหวัดอุบลราชธานี ได้เดินทางจากกรุงเทพมหานคร มาเยี่ยมหลวงปู่ที่วัดบ้านพงพรต และได้สนทนาถึงข้อสารัตถธรรมทั้งในปัจจุบันและอนาคต พระเพื่อนสหธรรมิก คงเห็นว่าหลวงปู่จมอยู่กับการสร้างน้ำบ่อก่อศาลา อนาคตคงไม่พ้นเป็นหลวงตาเฝ้าวัดเพราะห่วงและหวงบุญ เพราะเห็นหลวงปู่สร้างอะไรต่อมิอะไรตั้งแต่ขุดดิน เลื่อยไม้และก่อสร้างด้วยกำลังพระเณร บทสรุปของการสนทนาธรรมระหว่างพระมหาบุญมากับหลวงปู่ พระมหาบุญมา ได้ถามหลวงปู่ในฐานะเพื่อนแบบตรงไปตรงมาว่า จะอยู่เป็นพระตลอดไปหรือคิดจะสึก (ลาสิกขา) หลวงปู่ตอบยืนยันว่า จะไม่สึก ตามที่ตั้งใจไว้เพราะต้องการจะแสวงหาธรรม ตามเรื่องราวของสมเด็จลุน ที่หลวงปู่ได้ฟังการเล่ามาตั้งแต่ก่อนบวช เมื่อพระมหาบุญมาได้รับรู้ความตั้งใจของเพื่อน จึงเสนอหลวงปู่ว่า จะเสนอข้อคิดให้จะเอาไหม เมื่อหลวงรับข้อเสนอ พระมหาบุญมา จึงเล่าเรื่องการปฏิบัติธรรมของหลวงปู่มั่น ให้ฟังในเชิงเปรียบเทียบ กับกรณีหลวงปู่สร้างน้ำบ่อก่อศาลา หอระฆัง กุฏิ โบสถ์ วิหาร หลวงปู่ต้องลงมือเลื่อยไม้ ขุดดินเอง แต่หลวงปู่มั่นปฏิบัติธรรม ต้องการจะก่อสร้างสิ่งใด จะมีคนนำช่างมาทำให้ ข้อเสนอแนะของมหาบุญมา นอกจากหลวงปู่จะเห็นด้วยแล้ว ยังมีความเลื่อมใส เนื่องจากหลวงปู่มีความคิดออกปฏิบัติธรรมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

เมื่อได้รับทราบแนวทางปฏิบัติธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เกิดความฉันทะต้องการศึกษาธรรมด้วย ในปลายปี 2490 ทราบว่า ท่านพระอาจารย์มั่นพำนักอยู่ที่วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินทร์ชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี หลวงปู่จึงตัดสินใจเดินทางไปพบ เพื่อขอฝากตัวเป็นศิษย์และปฏิบัติธรรมด้วย ในการสนนาธรรมเพียงชั่วคืนเดียว หลวงปู่มั่น ได้บอกกับหลวงปู่เครื่องว่า การปฏิบัติธรรมต้องดูที่จิตให้มาก ต้องนอนน้อย กินน้อย พูดน้อย หลวงปู่ไม่สามารถเดินทางไปปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่นที่จังหวัดสกลนครได้ เพราะขาดปัจจัยเป็นค่ารถเดินทาง เมื่อหลวงปู่รับนิมนต์เป็นเจ้าอาวาสวัดสระกำแพงใหญ่ ได้สร้างศาลาเพื่อประดิษฐานหลวงพ่อนาคปรกกับรอยพระบาทจำลอง และใช้เป็นที่สัปปายะสำหรับปฏิบัติธรรม ไว้ภายในบริเวณกำแพงปราสาทด้านปรางค์ประธาน และหลวงปู่ได้ทำที่อยู่อาศัยเป็นกุฎีเล็กๆไว้ด้านทิศเหนือของกำแพงปราสาท ซึ่งเป็นป่ารกเต็มไปด้วยตนไม้ใหญ่น้อยรายล้อมด้วยกอไผ่สีสุก หลวงปู่ได้ใช้บริเวณดังกล่าวซึ่งเป็นที่สงบเงียบเดินจงกรมและปฏิบัติธรรม

แม้ว่าหลวงปู่จะมีปณิธานแน่วแน่สักปานใด แต่ภาวะของอวิชชาก็ปรากฏขึ้นในตัวของหลวงปู่ได้เช่นปุถุชนคนทั่วไป ช่วงปี 2490 – 2493 หลวงปู่รับนิมนต์มาอยู่วัดสระกำแพงใหญ่ โดยความอุปถัมภ์ของนายอำเภออุทุมพรพิสัย นายพวง ศรีบุญลือ ได้ทำการก่อสร้างศาลาประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองเสร็จ ทำการเฉลิมฉลองเป็นบุญใหญ่ 3 วัน 3 คืน จนกลายเป็นประเพณีบุญเดือน 3 ซึ่งได้จัดขึ้นตรงกับวันมาฆมาสของทุกปี

พระมหาบุญมา (บุญมา แสนทวีสุข) ได้พูดจาทำนองกระตุ้นเตือนเพื่อให้หลวงปู่รู้สึกตัวหลายครั้งทำนองว่า หลวงปู่ไม่เอาจริงเอาจังกับการปฏิบัติธรรมตามปณิธานที่เคยได้ตั้งใจไว้ การพูดของพระมหาบุญมา ทำให้หลวงปู่คิดได้ และจุดประกายความตั้งใจขึ้นมาอีก หลวงปู่คิดตลอดเวลาว่าจะแสวงอาจารย์เพื่อนำการปฏิบัติไปสู่ปัญญาให้ได้ หลวงปู่ได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ การปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อเดิม หลวงปู่รู้ได้ด้วยสัญญาว่า หลวงพ่อเดิมเก่งทางด้านเมตตามหานิยม

ต่อมาในปี 2494 หลวงปู่ได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่คำมี พุทฺธสาโร ที่ถ้ำคูหาสวรรค์ จังหวัดลพบุรี หลวงปู่คำมี สอนปฏิบัติกัมมัฏฐานด้วยการเจริญอานาปานะสติ เป็นวิธีกำหนดลมหายใจเข้าเป็น “พุทธ” กำหนดลมหายใจออกเป็น “โธ” แล้วพิจารณาอารมณ์ที่เกิดจากการปรุงแต่งของจิต กำหนดจิตให้แน่วแน่ทำการตรวจสอบสิ่งที่เกิดขึ้นจากการปรุงแต่งว่า มีอะไร คืออะไร เป็นสัญญา เป็นนิวรณ์ หรือเป็นอะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นกุศลหรือเป็นกุศล และทำการกำจัดหรือทำให้สงบนิ่งได้อย่างไร การปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่คำมี ทำให้หลวงปู่ได้เข้าใจและรู้สึกว่าเข้าถึงการปฏิบัติกัมมัฏฐานมากขึ้น หลวงปู่ได้เดินทางไปมาระหว่างถ้ำคูหาสวรรค์กับวัดสระกำแพงใหญ่หลายครั้งในช่วงระหว่างปี 2493 – 2499 เป็นบางช่วงที่หลวงปู่อยู่นานถึง 2 ปี คือจากปี 2493- 2495 การปฏิบัติธรรมในช่วง 2 ปีแรกกับหลวงปู่คำมีที่ถ้ำคูหาสวรรค์ แม้จะก้าวหน้าและเกิดธรรมปีติหลายอย่างจากการปฏิบัติ แต่หลวงปู่ก็ยังรู้สึกไม่พอใจ ทำให้จิตใจเกิดความพะวงและกังขาไม่สิ้นสุด ใจคิดถึงหลวงปู่มั่นและต้องการเดินทางไปปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่มั่น จึงได้กราบลาหลวงปู่คำมี เพื่อเดินทางไปหาหลวงปู่มั่น โดยที่หลวงปู่คำมีได้ห้ามไว้ แต่ก็ไม่สามารถทำลายความตั้งใจของหลวงปู่เครื่องได้ การเดินทางครั้งนี้แทนที่หลวงปู่จะได้พบหลวงปู่มั่น กลับได้พบพระครูญาณโสภิต พระอาจารย์ทางด้านปฏิบัติที่เคร่งครัด สำนักวัดป่าสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

ปีพุทธศักราชที่ 2495-2496 หลวงปู่ได้เดินทางไป เพื่อขอปฏิบัติธรรมกับท่านอาจารย์ใหญ่วัดป่าสูงเนิน หลวงปู่เครื่องพระอาจารย์องค์นี้ด้วยความเคารพว่า ครูบาใหญ่สูงเนิน คือท่านพระครูญาณโสภิต วัดป่าสูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา หลวงปู่ได้ก้าวเข้าสู่สำนักนี้ ด้วยความศรัทธาเลื่อมใสในตัวของท่านพระครูญาณโสภิตเป็นอย่างมาก เพราะสำนักปฏิบัติธรรมของท่านครูบาสูงเนินจะเน้นในเรื่องปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของพระสงฆ์ ให้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ ซึ่งพระสงฆ์จะต้องปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด จะต้องสำรวมอินทรีย์ มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ว่าจะเป็นการนอน การนั่ง การยืน การเดิน การดื่มขบฉัน การบิณฑบาต การเดินจงกรม หรือการนั่งสมาธิ จะต้องอยู่ในอิริยาบถที่เป็นการสำรวมทั้งสิ้นพระปฏิบัติต้องมีมารยาทอ่อนโยน นิ่มนวล จิตใจเบิกบาน แต่ทุกอย่างเป็นทางสายกลางมัชฌิมาปฏิปทา ไม่สุดโต่งไปมากทางด้านใดด้านหนึ่ง จนภาวะความเป็นธรรมชาติแบกรับไม่ไหว จึงเหมาะแก่ผู้สนใจในทางปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน และสอดคล้องกับจริตหรือความต้องการทางบวกของหลวงปู่ๆ รับรู้และเข้าใจการปฏิบัติ ติดตัวมาเป็นตัวตนของหลวงปู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นมรดกของพระครูญาณโสภิต ซึ่งหลวงปู่เองก็เคารพนับถือพระอาจารย์องค์นี้ เป็นผู้มีใจแน่วแน่และยอดของนักปฏิบัติธรรม

ท่านพระครูญาณโสภิต ท่านได้เริ่มบทเรียนตามแนวกระบวนการเรียรรู้ หรือแนวการสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งกระบวนการขั้นตอนแรกจะว่าด้วยเรื่องของศีล ขั้นตอนที่สองเป็นเรื่องสมาธิ และขั้นตอนที่สามเป็นเรื่องปัญญา ซึ่งโดยทั่วไปจะอธิบายรวมๆ กันไปว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะถ้าหากผู้ใดได้ถือศีลหรือปฏิบัติศีลให้บริสุทธิ์ ศีลก็จะเป็นพื้นฐานของสมาธิอันมั่นคง เมื่อจิตมีสมาธิแล้ว พลังปัญญาก็จะเกิดขึ้นได้เร็ว

ถ้าไม่มีศีล หรือศีลไม่บริสุทธิ์แล้ว จะปฏิบัติธรรมให้มากเท่าไรก็คงไม่เกิดมรรคผล ท่านอุปมาเหมือนคนมือด้วนได้แหวนเพชร คนหัวล้านได้หวี คนตาบอดได้กระจกเงา ย่อมไม่มีคุณค่าต่อจิตใจของผู้ได้เป็นเจ้าของ หรือครอบครองในสิ่งเหล่านั้นอย่างแน่นอน

อนึ่ง ท่านสอนว่า ถ้าเราต้องการเป็นพระปฏิบัติกัมมัฏฐาน หากเรายังยึดติดกับใบลานหรือกระดาษ หรือแนวการศึกษาทางด้านปริยัติธรรมอยู่ แม้เราจะขยันหมั่นเพียรเท่าใดก็ยังหาได้บรรลุธรรมขั้นสูงไม่ เหมือนกับคนยังโง่อยู่ หอบปอทั้งขี้ปอ ย่อมเอาไปทำประโยชน์อะไรไม่ได้ ฉันใด พระผู้ปฏิบัติธรรมหากยังยึดติดอยู่กับใบลาน กระดาษ หรือเพียงแต่การเรียนปริยัติธรรมก็ฉันนั้น การอธิบายข้อธรรมของท่านพระครูญาณโสภิต ทำให้หลวงปู่เครื่อง เกิดความสว่างรู้แจ้งถึงความเป็นมาเป็นไปในทางปฏิบัติ รู้แนวทางในการที่จะดำเนินชีวิตต่อไปในภายหน้า รู้ถึงข้อผิดข้อถูก เหตุและผลในการปฏิบัติธรรม มองเห็นทางเดินทำจิตใจและพร้อมที่จะนำจิตใจเข้าสู่การปฏิบัติตามอย่างสุปฏิปันโน อุชุปฏิปันโน คือการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรงไปตรงมา ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ได้จริง การสอนปฏิบัติธรรมของท่านพระครูญาณโสภิต ท่านมักใช้วิธีสอนแบบประสบการณ์ตรง ตัวอย่างเช่น ท่านเห็นหลวงปู่หยิบหนังสือเกี่ยวกับธรรมะจากศาลามาอ่าน ท่านก็จะสอนบทว่าด้วยการยึดถือ หรือการยึดติดในคัมภีร์หรือใบลาน และเปรียบให้เห็นเป็นรูปธรรมว่า เหมือนกับคนหอบปอทั้งขี้ปอ

หลังจากหลวงปู่ได้ซึบซับเอารสพระธรรมจากท่านอาจารย์ใหญ่สูงเนิน ท่านพระครูญาณโสภิตแล้ว หลวงปู่ไม่ลังเลใจที่จะปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์ให้ได้ โดยได้ทำการสมาทานธุดงควัตร 3 ข้อ คือการตั้งใจที่จะทำใน 3 สิ่งเป็นประจำให้ได้ กล่าวคือ

ข้อที่ 1 สมาทานว่าจะออกบิณฑบาตเป็นวัตร

การออกบิณฑบาต เป็นกิจที่พระภิกษุหรือภิกษุจะต้องทำเป็นปกติ ตามพระวินัยพระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ คำว่า “ภิกษุ” เป็นภาษาสันสกฤต รากศัพท์คำเดิมแปลว่า ผู้ขออาหารหรือยังชีพอยู่ได้ด้วยอาหารที่ขอมา ความหมายใหม่ในทางภาษาไทยแปลว่า ชายที่บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา ดังนั้น คำว่า พระภิกษุ โดยนัยทางพระพุทธศาสนาจึงแปลว่า ผู้ประเสริฐที่ยังชีพอยู่ด้วยอาหารที่ขอมา ซึ่งต่างจากการขอทานหรือผู้ขอทาน

วัตถุประสงค์ของพระพุทธเจ้าที่ไม่อนุญาตให้พระสงฆ์ ทำมาหาเลี้ยงชีพตนเองด้วยการประกอบอาชีพต่างๆ เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้นั้น มาจากแนวคิด 2 แนวคิด คือ

1.1 แนวคิดสำหรับผู้ครองเรือนซึ่งยังต้องหมกมุ่นอยู่ในกระแสของกิเลส จะต้องมีครอบครัว มีทรัพย์ศฤงคาร มีการทำมาหากินด้วยการประกอบอาชีพ เพื่อความสันติของสังคมจึงได้ตรัสเรื่องของฆราวาส เอาไว้เป็นแนวทางดำเนินชีวิต

1.2 แนวคิดสำหรับพระภิกษุแล้วจำเป็นต้องตัดขาดจากต้นตอที่เป็นบ่วงหรือบ่อเกิดของกิเลสให้ได้ พระพุทธเจ้าทรงเล็งเห็นบ่วงกิเลสที่จะติดตามมารัดตรึงจิตใจเป็นกงกรรมบดบังไม่ให้พระภิกษุสามารถหลุดพ้นจากห่วงกิเลสและสำเร็จมรรคเกิดผล หากอนุญาตให้พระภิกษุครองเรือน ประกอบอาชีพเลี้ยงชีวิตหรือปล่อยจิตใจให้กลมกลืนและหมุนไปกับสิ่งแวดล้อม

1.3 กำหนดแนวทางให้ดำรงชีวิตด้วยอัฐบริขารคือเครื่องใช้สอยเท่าที่จะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 8 ชิ้น คือ

1.3.1 บาตร เป็นภาชนะสำหรับใส่อาหาร

1.3.2 อันตรวาสก เป็นผ้าสำหรับใช้นุ่ง ที่นิยมเรียกกันว่า ผ้าสบง

1.3.3 อุตตราสงฆ์ เป็นผ้าสำหรับใช้ห่ม ที่นิยมเรียกกันว่า ผ้าจีวร

1.3.4 สังฆาฏิ เป็นผ้าสำหรับห่มซ้อนเวลาอากาศหนาว แต่นิยมใช้พาดบ่า

1.3.5 กายพันธะ เป็นผ้าสำหรับมัดเอวป้องกันไม่ให้ผ้านุ่งหรือประคดเอว

1.3.6 ธัมมะกะรก เป็นหม้อกรองน้ำหรือเครื่องกรองน้ำ ที่มีผ้ากรองม่ให้สัตว์ ฝุ่นละออง และอื่นๆ หลุดเข้าไปในน้ำดื่มน้ำใช้ นับว่าเป็นมาตรการด้านสาธารณสุขที่สำคัญ เมื่อ 2,600 ปีมาแล้ว

1.3.7 กล่องใส่เข็ม ที่มีเข็มพร้อมด้าย ในสมัยก่อนโยเฉพาะในประเทศอินเดียพระต้องหาเก็บเศษผ้าที่เขาทิ้งแล้วหรือผ้าที่ติดไปกับการห่อซากศพ นำมาซักเย็บต่อกันให้เป็นตารางเหมือนกับคันนาของชาวแคว้นมคธที่มีรูปและลักษณะตามแบบพระวินัยบัญญัติไว้ แล้วนำไปย้อมด้วยน้ำฝาด เข็มจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำรงชีพของพระ

1.3.8 มีดโกน เป็นเครื่องใช้โกนผมและโกนหนวด

ต่อมา ทรงผ่อนผันให้พระภิกษุมีบริขารเพิ่มขึ้น เพื่อแก้ไขความขัดข้อง เป็นเครื่องใช้เฉพาะเหตุ เฉพาะที่ ดังนี้

1. รองเท้า

2. ร่ม

3. ย่าม

4. ผ้าปูนั่ง

5. ผ้าอาบน้ำฝน

6. ผ้าปิดผี

การบิณฑบาตของพระภิกษุจึงมี 2 นัยกล่าวคือ นัยที่หนึ่งหรือความหมายที่หนึ่ง การที่พระพุทธเจ้าต้องบัญญัติให้พระภิกษุออกบิณฑบาต ก็เพื่อให้พระภิกษุหลุดพ้นจากการประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงชีพ อันเป็นกิจของผู้ครองเรือน พระภิกษุจะต้องละความอยากเพื่อให้ละความอยากได้ผลดี พฤติกรรมของพระภิกษุจึงต้องไม่ยึดถือในทรัพย์ซึ่งเป็นต้นทุนของการผลิตหรือแสวงหาทรัพย์สินอื่นเพื่อการดำรงอยู่หรือสะสมไว้เพื่อการดำรงอยู่อันเป็นส่วนของตน นอกเหนือจากอัฐบริขาร 8 เท่านั้น ที่ทรงอนุญาตให้ยึดถือเป็นส่วนของตนได้

นัยที่สอง การออกบิณฑบาตยังทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหว ซึ่งนอกจากจะเป็นผลดีต่อสุขอนามัยของพระภิกษุเองแล้ว การบิณฑบาตยังก่อให้เกิดกุศลแก่ผู้อื่น ภาษาพระเรียกว่าออกโปรดสัตว์ กล่าวคือเปิดโอกาสให้แก่ผู้อื่นได้ทำการบริจาคทานหรือทำบุญ การทำบุญ ก็คือทำความดี ซึ่งจะโน้มนำจิตใจของผู้นั้นให้เข้าถึงธรรมจาคะ อันเป็นการลดละความโลภออกจากจิตใจได้

ดังนั้นการถือปฏิบัติ ด้วยการสมาทานฉันเอกาของหลวงปู่ ก็เพื่อที่จะบังคับใจ ข่มความอยาก ลด ละ กิเลส คือความอยาก ซึ่งเป็นต้นตอของอกุศลมูลให้เบาบางลงด้วยการฉันอาหารเพียงเพื่อให้ชีวิตอยู่ได้ มิใช่ฉันอาหารตามที่จิตใจอยากจะฉัน ที่ว่าความอยากเป็นต้นตอของอกุศลมูล เพราะความอยากเผาผลาญจิตใจแล้ว อกุศลมูลคือความโลภก็จะเป็นเงาตามมาด้วย

ข้อที่ 3 หลวงปู่ได้สมาทานครองผ้าไตร หรือตั้งใจถือครองผ้าเพียง 3 ผืนเป็นวัตร คือหลวงปู่ตั้งใจใช้ผ้าเพียง 3 ผืนอันเป็นบริขารตามพุทธบัญญัติ เพื่อที่จะปล่อยจิตเกิดความโลภอยากจะได้ผ้าผืนที่สี่หรือผ้าอื่นนอกจากผ้า 3 ผืนตนตั้งใจจะครองเท่านั้น คือ มีเพียงผ้าสบง ผ้าจีวร และผ้าสังฆาฏิเท่านั้น

ระหว่างที่ธุดงค์เข้าไปวัดป่าสระเพลง ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 แม้โดยบุคลิกของหลวงปู่จะเป็นคนที่นิ่มนวลและมีจิตใจโอบอ้อมอารีเป็นพื้นฐาน แต่หลายครั้งที่หลวงปู่เกิดความคิดสับสนวุนวายใจในการปฏิบัติธรรม อันเนื่องมาจากความเห็นที่ผุดขึ้นมาจากในใจ หรือความคิดของตนเองที่เรียกว่าความเห็นหรือในภาษาบาลีเรียกว่า ทิฐิ ในภาษาสันสกฤตเรียกว่า ทฤษฎี ซึ่งจะเกิดและมีอยู่ในทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของฐานความคิดเห็นที่ผ่านมาแล้วในอดีต หรือฐานความคิดที่จะเป็นไปในอนาคต ล้วนแต่เป็นเรื่องที่ตั้งอยู่บนฐานของความคิดเห็น หรือทิฐิหรือทฤษฎีทั้งสิ้น

ทิฐิเป็นหลักธรรมข้อแรกของทางเดินไปสู่ความหลุดพ้น ในสาระธรรมที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และเป็นหนึ่งของสี่ความจริง 4 ประการ ซึ่งได้แก่ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค หรือที่เราเรียกว่า อริยสัจ 4 ทางเส้นแรกหรือธรรมข้อแรกของมรรค 8 หรือมรรคมีองค์ 8 ท่านหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ ได้อธิบายสัมมาทิฐิว่า “เป็นความถูกต้องตามความคิดเห็นเรียกว่า สัมมาทิฐิ เป็นความรู้ก็ดี เป้นความเข้าใจก็ดี ความเชื่อก็ดี อะไรก็ดีรวมๆ กันเรียกว่า ความคิดเห็นสัมมาทิฐิ มีทิฐิอันถูกต้อง สัมมาแปลว่าถูกต้อง เขาจึงรู้ดีว่าเกิดมาทำไม ควรทำอย่างไร อะไรเป็นอย่างไร รู้ถูกต้องหมด ไม่ผิดพลาดนี่ความถูกต้องที่หนึ่ง เราคิดดูสำคัญกี่มากน้อย เรากำลังมีหรือไม่มี โลกกำลังมีหรือไม่มี หรือโลกกำลังไม่รู้ว่าความทุกข์คืออะไร หนทางสู่ความดับทุกข์คืออะไร ในโลกนี้มันไม่รู้ โลกนี้จึงดำเนินไป จึงเต็มไปด้วยความทุกข์ เต็มไปด้วยความเบียดเบียน ไม่รู้จักสิ้นจักสุด ทุกหัวระแหงยังมีความทุกข์ มีบุคคลปฏิบัติไม่ถูกต้องแล้วมีความทุกข์ แล้วเกิดสงคราม มีปฏิกิริยาจากสงครามมีผลเหลือจากสงคราม มีความทุกข์อยู่ทั่วๆ ไปทั้งโลก เพราะโลกไม่มีสัมมาทิฐิ ไม่รู้ตามที่เป็นจริง นี่เป็นข้อแรก มีความเห็นถูกต้อง รวมความเชื่อ เข้าใจ รวมอุดมคติ รวมอะไรๆ ไว้ในคำๆ นี่หมดว่าถูกต้อง”

ความคิดเห็น ความเชื่อ หรือความเข้าใจใดๆ ของบุคคลใด เมื่อนำมาเชื่อมเข้ากับความเป็นจริงแล้ว จึงมีผล 2 ทิฐิ หรือทฤษฎี คือถ้าตรงและถูกต้องตามความเป็นจริง ก็จะเป็นสัมมาทิฐิหรือสัมมาทฤษฎี เป็นความคิดเห็นความเชื่อหรือความเข้าใจที่ชอบคือถูกต้อง ถ้าไม่ถูกต้องและไม่ตรงกับความเป็นจริง ก็จะกลายเป็นมิจฉาทิฐิ หรือมิจฉาทฤษฎี เป็นความคิดเห็นความเชื่อหรือความเข้าใจที่ไม่ชอบ คือไม่ถูกต้อง

การที่หลวงปู่สมาทาน งดฉันอาหารเพื่อลดทิฐิ คือการสร้างวินัยในเรื่องการฉันอาหารไว้ในการปฏิบัติ คือ การพยายามกำจัดความรู้สึกที่เกิดขึ้นทางใจ ที่เรียกกันว่าอารมณ์ ถ้าตราบใดที่ยังไม่สามารถข่มความรู้สึกทางใจได้ อารมณ์ก็จะเป็นตัวสนองตอบกับความคิดเห็นจากภายนอกที่มากระทบซึ่งเป็นเรื่องของโลก การก่อเกิดทิฐิในเรื่องของโลกความทุกข์ ความโกรธ ความโลภ ความหลง ก็จะหลุดลอดเข้าทางอารมณ์ ถ้าไม่สามารถใช้ปัญญา ตามเข้าไปตรวจสอบให้ถึงแก่นแท้ได้ ผลตามมาก็จะเป็นมิจฉาทิฐิได้เช่นกัน การสร้างวินัยให้เกิดขึ้นกับตนเอง จึงเป็นกลวิธีโน้มจิตใจเพื่อตรวจสอบภาวะของอารมณ์ ถ้าอารมณ์สงบนิ่ง จิตใจก็แจ่มใส สามารถใช้ปัญญาตรวจสอบเส้นทางมรรคมีองค์ 8 เพื่อเดินไปสู่ความดับทุกข์ได้

ปีพุทธศักราช 2500 อาจารย์ใหญ่ ท่านพระครูญาณโสภิต ได้นำพระศิษย์ปฏิบัติธรรม 5 รูป เดินธุดงค์เข้าไปในป่าลึกชื่อว่าซับม่วง ในเขตอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ลักษณะเป้นป่าดิบชื้นตามเชิงเขา และชุกชุมด้วยไข้ป่าหรือไข้มาลาเรีย พระทั้งหมดได้เข้าพักเพื่อบำเพ็ญภาวนาอยู่ถ้ำที่สวยงามชื่อว่า ถ้ำมืด แสงแดดส่องเข้าไปไม่ถึง อากาศหายใจไม่ค่อยจะพอ ภายในถ้ำมีความเย็นยะเยือก อาจารย์นำคณะธุดงค์เข้าบำเพ็ญอยู่ภายในถ้ำมืด นานถึง 6 วัน 6 คืน

ปรากฏการณ์ในวันแรก มีสหธรรมิกท่านหนึ่ง ชื่อว่าพระมหาบุญ ท่านบำเพ็ญธรรมอยู่ได้เพียงวันเดียว ก็มีอาการอาพาธด้วยไข้มาลาเรียอย่างหนัก ท่านจึงออกถ้ำซับมืด กลับไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลจังหวัดนครราชสีมา และอยู่ได้เพียงวันเดียวก็ถึงแก่มรณภาพ

หลวงปู่เองก็จับไข้ มีอาการหนักหัว แน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หลวงปู่ได้นั่งสมาธิใช้สติสัมปชัญญะตรวจสอบอาการไข้รวบรวมพลังจิตให้เกิดความเข้มแข็งเพื่อเอาชนะแต่อาการไข้ก็ไม่ทุเลาลง สติรับรู้ได้ว่าอาการไข้กลับหนักยิ่งขึ้น จึงรำพึงในใจว่าถ้าขืนปล่อยให้ไข้กำเริบต่อไปอีกคงตายแน่ หลวงปู่จึงได้ตัดสินใจปีนหน้าผาเกาะต้นไม้ เกี่ยวเถาวัลย์หรือเครือกระไดลิงขึ้นไปเพื่อขอยาแก้ไข้มาลาเรียจากพวกฝรั่ง ที่กำลังระเบิดหินอยู่บนหลังเขาเพื่อก่อสร้างถนนมิตรภาพ ได้พบล่ามคนไทย บอกเขาว่าเป็นไข้มาลาเรีย แจ้งความประสงค์ ล่ามจึงพาไปพบฝรั่งได้ยามา 6 เม็ด แต่เขาสั่งให้กินเพียงเม็ดเดียวก็พอ จึงได้กินยาตามที่เขาสั่งอาการไข้จึงหายไป ภายในใจก็คิดว่าได้รอดพ้นจากความตายแล้ว

การออกเดินธุดงค์ในครั้งนั้น พระทั้ง 5 รูป ต่างก็ได้รับเชื้อมาลาเรียกันครบทุกรูป แม้แต่ท่านอาจารย์ใหญ่ พระครูญาณโสภิต ท่านก็ป่วยเป็นไข้ป่าด้วย แต่หมอรักษาได้ทันเวลา อาการท่านดีขึ้นแต่ก็ยังไม่หายขาดทันที จึงได้ถอนธุดงค์(ล้มเลิกการออกปฏิบัติธรรมในป่า)กลับมายังวัดป่าสูงเนิน ท่านอาจารย์ใหญ่ พระครูญาณโสภิต เมื่อคนไปรับศพพระมหาบุญ ซึ่งมรณภาพด้วยพิษไข้มาลาเรียจากโรงพยาบาลนครราชสีมากลับมาถึงวัด พอท่านได้เห็นศพ ก็เกิดความโทมนัสเป็นอย่างมาก จนถึงกับหน้ามืดเป็นลมต้องช่วยกันนวดเฟ้นเกิดความชุลมุนกันพักใหญ่

ตัวหลวงปู่เอง เมื่อกลับจากธุดงค์มาพบศพของพระมหาบุญ ซึ่งเป็นเพื่อนสหธรรมิก ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในการปฏิบัติธรรม และเป็นผู้ร่วมธุดงค์ด้วยกันมามรณภาพลง ก็รู้สึกสลดใจเป็นอย่างยิ่ง ผลของการออกปฏิบัติธรรมด้วยการออกธุดงค์ในครั้งนั้น มีพระถึงแก่มรณภาพลงเพราะไข้มาลาเรียเพิ่มอีก รวมกับพระมหาบุญเป็น 3 องค์ ทำให้เกิดความวุ่นวายทางใจอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อหลวงปู่ตั้งสติได้ จึงใช้ปัญญาตรวจสอบดูตัวเองพบว่าภารกิจของศิษย์ตถาคต คือการแสวงหาทางพ้นทุกข์ ความเศร้าโศกเสียใจ เป็นวิสัยของโลกที่เกิดจากธรรมารมณ์ ในปรากฏการณ์อันเดียวกัน หากจิตตั้งอยู่บนฐานของกิเลสซึ่งเป็นฝ่ายอกุศลมูล ธรรมารมณ์นั้น ย่อมส่งผลให้เกิดทุกข์ ในขณะเดียวกันหากจิตตั้งอยู่บนฐานของธรรมที่เป็นฝ่ายกุศลมูล ย่อมส่งผลให้จิตใจเกิดความสุข

เมื่อพบว่าภารกิจเบื้องหน้า คือการแสวงหาธรรมเพื่อการหลุดพ้น จึงได้กราบลาท่านอาจารย์ใหญ่แยกย้ายกันไปคนละหนคนละแห่ง เพื่อค้นหาธรรม ที่นำไปสู่ความหลุดพ้นต่อไป


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 07 มิ.ย. 2010, 13:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 13:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




000000000000000000000000000000000000000000000.jpg
000000000000000000000000000000000000000000000.jpg [ 80.47 KiB | เปิดดู 4142 ครั้ง ]
หลวงปู่ได้วิชาธรรมกาย

ระหว่างปฏิบัติธรรมอยู่ที่ถ้ำคูหาสวรรค์ จังหวัดลพบุรี[3] หลวงปู่ได้เดินทางไปเยิ่ยมสามเณรสุบรรณ จันบุตรและสมเณรบุญเล็ก ระวังชนม์ ซึ่งเป็นนิสิตจากวัดสระกำแพงใหญ่เข้าไปศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ ขณะนั้นยังเป็นจังหวัดธนบุรี สามเณรได้แนะนำหลวงปู่เข้าไปกราบนมัสการพระเดชพระคุณท่านหลวงพ่อพระเทพมงคลมุนี (สด มีแก้วน้อย) ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสและเป็นเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมที่เป็นต้นตอของธรรมกาย หลวงปู่ได้มีโอกาสเข้าอบรมการปฏิบัติอยู่ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ โดยความอุปถัมภ์ของโยมสอน พักอยู่ที่กุฏิเล็กๆ ปลูกอยู่เหนือคลองน้ำร่องสวนเดิม หลังคามุงด้วยจาก เรียกว่าคณะเนกขัมม์เป็นเวลา 15 วัน[4]

ขณะนั้น หลวงปู่ยังเป็นพระที่เชื่อมโยงความคิดอยู่กับวัฒนธรรมการปฏิบัติของชาวชนบท ด้วยความเคารพต่อพระสงฆ์ การทำบุญของชาวบ้าน นอกจากจะมีอาหารคาวหวานแล้ว ก็จะมีหมากพลูและยาสูบ ซึ่งจัดเตรียมและมวนด้วยใบตองกล้วยแห้งเรียบร้อย พร้อมขบเคี้ยวหรือสูบได้ทันที ไปถวายสมาเณรทุกครั้งที่มีการทำบุญ หรือเมื่อมีโอกาสไปหาพระที่วัดหรือที่ใดๆ ชาวบ้านก็จะเตรียมหมากพลู และยาสูบไปพร้อมทุกครั้ง แม้แต่คุณสนั่น วีรวรรณ นักธุรกิจคนสำคัญ เจ้าของบริษัท วีรวรรณ จำกัด ซึ่งคุ้นเคยกับหลวงปู่มาก ได้มาทอดกฐิน เพื่อรวบรวมเงินสร้างศาลาการเปริยญหลังใหญ่ในปัจจุบัน (สร้างเสร็จในปี 2498) เมื่อไปหาหลวงปู่คราวใด ก็จะนำบุหรี่ไปถวายหลวงปู่ และในครั้งที่หลวงปู่ไปพักอยู่ที่วัดปากน้ำ คุณสนั่น วีรวรรณ ก้ได้ไปเยี่ยมและนำเอาบุหรี่ซิกการ์ไปถวายด้วย เมื่อหลวงปู่มีโอกาสกราบสนทนาธรรมกับหลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญ หลังจากฉันเช้าเสร็จทำให้หลวงปู่จึงต้องสูบบุหรี่ตามที่เคยปฏิบัติมา เมื่อหลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญท่านฉันเช้าเสร็จ ท่านได้เดินลงจากศาลาการเปรียญเพื่อกลับไปยังกุฎี หลวงพ่อวัดปากน้ำมาพบหลวงปู่เครื่อง กำลังสูบบุหรี่ซิกการ์มวนโต ท่านได้มองดูแล้วยิ้มและเดินเข้าไปในกุฎี เมื่อหลวงปู่เครื่องเดินตามเข้าไปก้มลงกราบท่านๆได้ถามขึ้นว่า คุณได้บวชมากี่ปีแล้ว หลวงปู่เครื่องได้ตอบไปว่า กระผมได้บวชมา 22 ปีแล้ว หลวงพ่อวัดปากน้ำได้ถามต่อว่า คุณบวชมา 22 ปีแล้ว ทำไมจึงละเลิกบุหรี่ไม่ได้ บุหรี่มันมีคุณวิเศษกว่าธรรมอย่างอื่นหรืออย่างไร จึงไม่สามารถเลิกมันได้ ซึ่งถือว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านได้ให้บทเรียนที่มีค่ายิ่ง

เมื่อหลวงปู่กราบลาท่านกลับมายังกุฏิพัก จิตก็ระลึกตริตรองคำพูดของท่านอยู่ถึง 3 วัน เห็นว่าเป็นคำพูดที่ล้ำลึก เมื่อได้สติ ก็เกิดปัญญามองเห็นสาระความสำคัญของคำสอน จึงกำหนดจิตตนเองขอเลิกบุหรี่ และเอาบุหรี่ทิ้งทั้งหมด เพียงชั่วระยะประมาณ 20 นาทีเท่านั้น จิตก็หันกลับมาหาบุหรี่อีกทำให้ร่างกายรู้สึกอยากจะสูบบุหรี่ หลวงปู่ได้ใช้ความพยามอดกลั้น ด้วยการนั่งสมาธิกำหนดจิตใจอยู่ที่ สัมมา อรหัง ไปเรื่อยๆ จิตที่กำหนดความอยากจึงค่อยๆ คลายออก เมื่อร่างกายไม่ถูกจิตบังคับ ความต้องการบุหรี่ก็จางไป หลวงปู่เล่าว่า การอบรมธรรมกายแม้จะเป็นเรื่องของการปฏิบัติกัมมัฏฐาน แต่ก็เป็นเรื่องใหม่ จึงเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง เมื่ออบรมครบ 15 วันแล้วได้กราบนมัสการหลวงพ่อวัดปากน้ำ เพื่อลากลับไปถ้ำคูหาสวรรค์ จังหวัดลพบุรี หลวงพ่อวัดปากน้ำได้ประกาศต่อสงฆ์หลังจากฉันเช้าในการเทศนาประจำวันว่า มีพระรูปหนึ่งได้เข้าฝึกอบรมวิชาธรรมกาย ที่วัดปากน้ำและได้ทำการฝึกอบรมจนสำเร็จหลักสูตรวิธีปฏิบัติวิชาธรรมกายแล้ว กำลังจะเดินทางกลับเข้าสู่ป่าเขาที่ จังหวัดลพบุรี

จากการได้ฝึกอบรมโดยการสอนของท่านเจ้าคุณพระภาวนาโกศล จึงเข้าใจว่า ธรรมกายที่หลวงพ่อสอนก็คือการใช้กายเป็นฐาน ในการศึกษาปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์

แม้การปฏิบัติธรรมที่สำนักของหลวงปู่คำมี พุทธสฺสโร ที่ใช้เวลาถึง 2 ปี จะทำให้จิตใจของหลวงปู่เกิดความสงบลงบ้าง แต่หลวงปู่เองคงคิดว่า ตนเองยังไม่สามารถสำเร็จมรรคผลตามที่คาดหวัง หลวงปู่จึงเริ่มคิดถึงอาจารย์มั่นหรือหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต อีกครั้งหนึ่ง การเที่ยวธุดงค์ จึงเป็นแนวคิดที่หลวงปู่ต้องการจะทำให้ได้ จึงกราบลาหลวงปู่คำมี เพื่อเดินทางไปพบหลวงฟู่มั่น แม้หลวงปู่คำมีจะทัดทานไว้ หลวงปู่เครื่องก็ยืนยันจะแสวงหาต่อไป จนหลวงปู่คำมี คงจะจับอารมณ์ความรู้สึกของหลวงปู่เครื่องในขณะนั้นได้ เห็นว่าเพื่อให้เป็นการพักผ่อนวิเวกอันป็นวิธีการเปลี่ยนอาหารทางใจเสียบ้าง จึงเห็นด้วยกับการออกธุดงค์

แต่แทนที่จะไปถึงสำนักของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ระหว่างทางได้พบกับท่านอาจารย์ใหญ่บุญมี หรือท่านพระครูญาณโสภิต ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น ที่วัดป่าสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

หลังจากได้สนทนาธรรมกับหลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญแล้ว หลวงปู่เครื่อง สุภทฺโท ได้นำคำถามของหลวงพ่อสดกลับมาครุ่นคิด โดยพื้นฐานเดิม หลวงปู่เครื่อง เป็นผู้ที่ใช้ปริศนาธรรมสั่งสอนพระและฆราวาสเป็นประจำอยู่แล้ว เมื่อมาเจอคำถามเชิงพฤติกรรมเปรียบเทียบธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ทำให้หลวงปู่ต้องคิดหนักมากขึ้น ความสำคัญและคุณค่าที่ได้จากการฝึกปฏิบัติของวิชาธรรมกาย ปรากฏตามขั้นตอน ความหมายและวิธีการต่อไปนี้

หลวงพ่อวัดปากน้ำ ปฏิบัติเพื่อกำจัดโทษเช่นนี้ มีปฏิปทาเดินทางสายกลาง ไม่ห่วงในลาภสักการะเพื่อตน แต่ขวนขวายเพื่อส่วนร่วม กิจการนิมนต์ทางไกลถึงกับค้างคืนแล้วท่านรับนิมนต์น้อยนัก โดยท่านเคยแจ้งว่าเสียเวลาอบรมผู้ปฏิบัติ ท่านมีจุดมุ่งหมายใช้ความเพียรติดต่อกันทุกวัน ชีวิตไม่พอแก่การปฏิบัติ จึงมีบางท่านตำหนิหลวงพ่อว่าอวดดี อันความจริงคนเรานั้น ถ้ามีความอวดดีก็ควรเอาออกแสดงได้ เว้นไว้แต่ไม่มีดีจะอวดใคร แล้วเอาเท็จจริงมาอวดอ้างว่าเป็นของดี ลวงผู้อื่นให้เข้าใจผิด อันหลวงพ่อไม่ใคร่รับนิมนต์ใครนั้นเป็นปณิธานในใจของท่านเอง ลงได้ตั้งใจแล้วก็ต้องทำตามความตั้งใจเสมอมา มิใช่ว่าเป็นผู้หมดแล้วจากความปรารถนา ยังอยู่ในกลุ่มแห่งความปรารถนา แต่ท่านไม่หลงจนประทุษร้ายให้เสียธรรมปฏิบัติ

ธรรมานุภาพให้ผลแก่หลวงพ่อทันตาเห็น ต้องการโรงเรียนประหนึ่งความฝัน ธรรมานุภาพก็ดลบันดาลให้สมประสงค์กลายเป็นความจริง ต้องการกุฏิ โรงฉัน และการเลี้ยงพระวันละหลายๆ ร้อยรูปก็ได้สมความปรารถนา ต้องการให้มีผู้ปฏิบัติมากๆ นักปฏิบัติก็ติดตามมา ปัจจัยที่จ่ายเรื่องอาหาร เรื่องกุฏิ โรงเรียน ในยุคของท่านมีจำนวนมิใช่ล้านเดียว ถ้าคิดแต่ค่าอาหารอย่างหยาบๆ วันละ 1,000 บาท (สามแสนหกหมื่นบาท) สิบปีเป็นเงินเท่าไร นี้คิดอย่างต่ำ ถ้าหลายสิบปีจะเป็นเงินเท่าไร หลวงพ่อท่านพูดว่า เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เมื่อกาย วาจา ใจ บริสุทธิ์แล้ว ย่อมมีสิทธิ์ใช้มรดกของพระพุทธเจ้าได้และใช้ได้จนตลอดชาติ ถ้าไม่บริสุทธิ์แล้ว แม้จะเอาไปใช้ก็ไม่ถาวรเท่าไร

การปฏิบัติของคณะกัมมัฏฐานวัดปากน้ำ ย่อมเป็นไปตามระเบียบที่หลวงพ่อได้วางไว้ ทุกคราวที่ท่านพูดให้เกิดกำลังในการใช้ความเพียร ธรรมกายของวัดปากน้ำแพร่ปรากฏไปแทบทุกจังหวัด ยิ่งกว่านั้นยังไปแสดงธรรมานุภาพยังภาคพื้นยุโรปด้วย เกียรติศักดิ์ของธรรมกายแพร่หลายเช่นนี้ ย่อมแสดงความศักดิ์สิทธิ์อันเป็นสัจธรรมแก่ผู้ปฏิบัติ ทั้งนี้เนื่องด้วยโดยมากผู้ที่จะเดินทางไปเมืองนอกได้มาขอพรต่อหลวงพ่อก็มี โดยได้รับการบอกเล่าจากผู้ใหญ่ก็มี ชาวยุโรปเกิดความสนใจในเรื่องธรรมวินัยในพระพุทธศาสนานี้แสดงว่าธรรมกายของวัดปากน้ำ ได้ข้ามน้ำข้ามทะเลไปนอกประเทศแล้ว



หลวงปู่เครื่อง สุภทฺโท ฝึกอบรมวิชาธรรมกาย[5]

วิชาธรรมกายคืออะไร ทำไมและเพราะเหตุใด หลวงปู่เครื่อง สุภทฺโท จึงได้ไปฝึกอบรมวิชาธรรมกาย กับหลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญ โดยมีเจ้าคุณพระภาวนาโกศล เป็นอาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรม และหลวงได้ฝึกอบรมตามกระบวนการของวิชาธรรมกายอยู่นานถึง 15 วัน เป็นปกติทุกวันหลังฉันอาหารเช้า หลวงพ่อวัดปากน้ำ จะต้องเทศนาสั่งสอนพระภิกษุสามเณรเป็นกิจวัตร หลวงปู่เครื่อง ได้เห็นวิธีการของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ที่มีทั้งสำนักเรียนปริยัติและสำนักปฏิบัติ น่าเชื่อว่าเป็นตัวอย่างบทเรียนหนึ่ง ที่หลวงปู่ได้นำมาปรับใช้กับสำนักเรียนวัดสระกำแพงใหญ่ ส่งผลให้เกิดแนวคิดโรงหล่อหลอมมนุษย์ เกิดลูกศิษย์ที่มีความรู้ความสามารถมากมาย สามารถทำในปณิธานของหลวงปู่สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีพลัง





โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 13:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




8path.gif
8path.gif [ 103.1 KiB | เปิดดู 4140 ครั้ง ]
เริ่มวิธีทำสมาธิตามแนวทางของธรรมกาย

การทำภาวนาจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ทำจะต้องมีใจและอารมณ์ปลอดโปร่งว่างจากกิจที่จะต้องกังวลทั้งปวง เพราะถ้าหากมีความกังวลมากนักก็อาจจะทำให้สมาธิไม่แน่วแน่ ฉะนั้นถ้ามีความตั้งใจว่าจะทำสมาธิแล้วก็พึงละความกังวลใหญ่น้อยทั้งปวงเสียให้สิ้น มุ่งแต่ธรรมะอย่างเดียว แม้ความรู้ในทางธรรมะใดๆ ที่ได้เล่าเรียนมาแล้ว ก็ควรปล่อยวางให้สิ้นเสียก่อนในเวลาทำภาวนา ถ้าหากไม่ทำเช่นนั้นก็จะเกิดเป็นวิจิกิจฉาขึ้น ทำให้ผู้ปฏิบัติไม่ให้เห็นธรรมได้ตามต้องการ เมื่อรู้แน่ฉะนี้แล้วจะได้กล่าวถึงวิธีนั่งต่อไป

หลังจากการสวดมนตร์ไหว้พระรัตนตรัยแล้ว พึงคู้บัลลังก์ขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้มือขวาจดหัวแม่มือซ้าย หลับตาพอหนังตาติดกันตามสบาย ตั้งกายให้ตรงจนยืดตัวไม่ได้ต่อไป ที่เรียกว่า อุชุ กายํ ปณิธาย ตั้งกายให้ตรง ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตฺวา เข้าไปตั้งสติไว้ให้มีหน้ารอบไม่เผลอ (ตรงกับพระขีณาสพผู้เป็นสติวินัย) มีสติทุกเมื่อ นี่เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ สติไม่เผลอจากการบริกรรมภาวนาและบริกรรมนิมิตต์ให้ติดกัน ไม่แยกกัน บริกรรมภาวนาได้แก่คำว่า “สม์มา อรหํ” ส่วนบริกรรมนิมิตต์นั้นคือกำหนดเครื่องหมายให้ใสเหมือนเพ็ชรลูกที่เจียระไนแล้ว หรือดวงแก้วกลมๆ ที่ใสบริสุทธิ์ปราศจากฝ้าไฝหรือมลทินใดๆ สัณฐานกลมรอบตัว บริกรรมทั้งสองนี้พึงตรึกไว้ให้ได้อยู่เสมอในอิริยาบถทั้ง 4 คือ นั่ง นอน ยืน เดินไม่ให้เผลอสติได้ และนี่เองเป็นของสำคัญในเรื่องที่จะเป็นหรือไม่เป็น

ในขั้นต้นสำหรับผู้เริ่มปฏิบัติควรจะกำหนดรู้จักฐานที่ตั้งของดวงนิมิตต์เสียก่อน เพื่อจะได้รู้จักทางไปเกิดมาของตนไว้บ้าง ฐานที่ตั้งนี้แบ่งเป็น 6 ระยะคือ

ฐานที่ 1 ปากช่องจมูก หญิงซ้าย ชายขวา ตรงกลางพอดี ไม่ล้ำเข้าไปไม่เหลื่อมออกมา

ฐานที่ 2 เพลาตา หญิงซ้าย ชายขวา ตรงหัวตาพอดี

ฐานที่ 3 กลางกั๊กศีรษะตรงกับจอมประสาท ได้ระดับตา แต่อยู่ภายในตรงศูนย์กลาง คือจากดั้งจมูกตรงเข้าไปจดท้ายทอย จากเหนือหูซ้ายตรงไปเหนือหูขวา ตรงกลางที่เส้นทั้งสองตัดกันนั่นเองเป็นฐานที่ 3

ฐานที่ 4 ปากช่องเพดานไม่ให้ล้ำเหลื่อม เหนือลิ้นไก่ตรงที่รับประทานอาหารสำลัก

ฐานที่ 5 ปากช่องคอเหนือลูกกระเดือก อยู่ตรงกลางทีเดียว

ฐานที่ 6 สูดลมหายใจเข้าออกคือกลางตัว ตรงกับสะดือ แต่อยู่ภายใน

ฐานที่ 7 ถอยหลังกลับขึ้นมาเหนือสะดือประมาณ 2 นิ้ว ในกลางตัว

กำหนดดวงนิมิตต์เครื่องหมายไปอยู่ตามฐานนั้นๆ พร้อมกับภาวนาในใจว่า “สมฺมา อรหํ” 3 ครั้ง แล้วจึงเลื่อนดวงนิมิตต์นั้นต่อไป สำหรับฐานที่ 3 เวลาที่จะเลื่อนดวงนิมิตต์ต่อไป ต้องเหลือบตากลับเข้าข้างในคล้ายๆ กับคนนอนกำลังจะหลับแต่แล้วก็ปล่อยให้เป็นไปตามปกติ ทั้งนี้เพื่อจะให้เห็นความจำความคิดความรู้กลับเข้าข้างใน เพราะจะต้องดูด้วยตาละเอียดต่อไป เมื่อเลื่อนดวงนิมิตต์ลงไปจนถึงฐานที่ 7 แล้ว ในฐานที่ 7 นั้น มีศูนย์อยู่ 5 ศูนย์ คือ ศูนย์กลาง, หน้า, ขวา, หลัง, ซ้าย, ศูนย์หน้าเป็นธาตุน้ำ ขวาธาตุดิน หลังธาตุไฟ ซ้ายธาตุลม ศูนย์กลางอากาศธาตุ ตรงกลางอากาศธาตุได้แก่วิญญาณธาตุ ธาตุเหล่านี้เองที่ประชุมกันเป็นกายมนุษย์ขึ้น และศูนย์กลางภายในกายนี้ ก็คือศูนย์กำเนิดของกายมนุษย์นั่นเอง ถ้าหากรู้จักทางคือฐานที่ตั้งเหล่านี้แล้ว ในการทำคราวหลังๆ จะเอาใจไปจดที่กำเนิดของกายมนุษย์เลยทีเดียว

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 13:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




8path.gif
8path.gif [ 103.1 KiB | เปิดดู 4138 ครั้ง ]
วิธีทำให้เห็นธรรมกาย

ลำดับที่ 1

ทำใจให้หยุดให้นิ่งอยู่ในศูนย์กำเนิดของกายมนุษย์ ศูนย์นี้เป็นที่ไปเกิดมาเกิดของสัตว์ อยู่ตรงศูนย์กลางกายพอดี ที่ตรงนั้นใจของกุมารที่เกิดในท้องจดอยู่เสมอจึงไม่ต้องหายใจเพราะถูกส่วนทางมาเกิดไปเกิด ใจหยุดตรงนั้นเหมือนกันทุกคน ถ้าหยุดไม่ถูกส่วนเช่นนั้น ก็ไม่ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์, เมื่อทำใจให้หยุดนิ่งอยู่นั้นได้ถูกส่วนแล้ว จะเป็นดวงปฐมมรรค ซึ่งเรียกว่า ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพราะเป็นดวงธรรมที่ทำให้บังเกิดเป็นกายขึ้น,
ขนาดของดวงที่ปรากฏนั้น อย่างเล็กที่สุดก็เท่ากับดวงดาว อย่างโตที่สุดขนาดเท่าพระอาทิตย์หรือพระจันทร์, สัณฐานกลมรอบตัวใสบริสุทธิ์ยิ่งนัก, เมื่อเห็นชัดเจนดีแล้ว ก็ทำใจให้นิ่งลงไปกลางดวงใสนั้น พอถูกส่วนเข้าก็จะเห็นกายทิพย์ ปรากฏขึ้นจากกลางว่างของดวงใสที่เห็นแล้วนั้น, ต่อไปทำใจให้หยุดให้นิ่งอยู่ในศูนย์กำเนิดของกายทิพย์ พอถูกส่วนดีแล้วจะเกิดดวงธรรม (คือดวงกลมใสนั่นเอง), ดวงนี้คือดวงทุติยมรรค เมื่อดวงนี้ขยายส่วนโตและเห็นชัดเจนดีแล้ว ก็ทำใจให้นิ่งลงไปกลางดวงใสนั้น พอถูกส่วนเข้าก็จะเห็นกายรูปพรหมปรากฏขึ้นกลางเหตุว่างของดวงทุติยมรรคนั้น ต่อไปทำใจให้หยุดให้นิ่งอยู่ในศูนย์กำเนิดของกายรูปพรหม พอถูกส่วนดีแล้วจะเกิดดวงธรรมขึ้นกลางศูนย์กำเนิดของกายรูปพรหมนั้น ดวงนั้นคือดวงตติยมรรค เมื่อขยายส่วนโตขึ้นและชัดเจนดีแล้ว ก็ทำใจให้นิ่งลงไปกลางดวงใสนั้นอีก พอถูกส่วนเข้าก็จะเห็นกายอรูปพรหม ปรากฏขึ้นในกลางเหตุว่างของดวงตติยมรรคนั้น แล้วทำใจให้หยุดให้นิ่งอยู่ในศูนย์กำเนิดของกายอรูปพรหม พอถูกส่วนดีแล้วจะเกิดดวงธรรมขึ้นกลางศูนย์กำเนิดของกายอรูปพรหมนั้น ดวงนี้คือดวงจตุตมรรถ เมื่อขยายส่วนโตขึ้นและชัดเจนดีแล้ว ก็ทำใจให้นิ่งลงไปกลางดวงใสนั้นอีก พอถูกส่วนก็จะเห็นกายธรรมกาย ปรากฏขึ้นในกลางเหตุว่างของดวงจตุตถมรรคนั้น



ลำดับที่ 2

หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายธรรม ใช้ตาธรรมกายดูดวงศีล ซึ่งอยู่ในศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงศีลนี้มีลักษณะกลมรอบตัว ใสบริสุทธิ์ยิ่งนัก มีขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่ นี่เป็นดวงศีลของมนุษย์ ดวงสมาธิซ้อนอยู่ในกลางดวงศีล มีลักษณะกลมรอบตัวใสแบบเดียวกันกับดวงศีล มีขนาดเท่ากัน ดวงปัญญาก็ซ้อนอยู่ในกลางดวงสมาธิ กลมรอบตัวใสสะอาดมีขนาดเท่ากัน ดวงวิมุตติซ้อนอยู่ในกลางดวงปัญญา กลมรอบตัวใสสะอาดมีขนาดเท่ากัน ดวงวิมุตติญาณซ้อนอยู่ในกลางดวงวิมุตติ กลอมรอบตัวใสสะอาดมีขนาดเท่ากัน เหล่านี้เป็น ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ของมนุษย์ที่ว่ามานี้เป็นอย่างเล็ก อย่างโตขนาดเท่าดวงจันทร์ แล้วหยุดนิ่งต่อลงไปในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะของมนุษย์นั้น ก็จะเห็นกายทิพย์ กลางกายทิพย์มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ดวงธรรมนี้มีลักษณะกลมรอบตัวบริสุทธิ์ ขนาดเล็กเท่าฟองไข่แดงของไก่ ขนาดโตเท่าดวงพระจันทร์ กลางดวงธรรมนั้นมีดวงศีลซ้อนอยู่ กลางดวงศีลมีดวงสมาธิ กลางดวงสมาธิมีดวงปัญญา กลางดวงปัญญามีดวงวิมุตติ กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะของกายทิพย์นี้ ก็มีขนาดเท่ากันกับของกายมนุษย์ต่างกันแต่ของกายทิพย์นี้ใสกว่า ละเอียดกว่าของกายมนุษย์ แล้วนิ่งลงไปในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะของกายทิพย์นั้น จะเห็นกายรูปพรหม กลางกายมีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม กลางดวงธรรมมีดวงศีล กลางดวงศีลมีดวงสมาธิ กลางดวงสมาธิมีดวงปัญญา กลางดวงปัญญามีดวงวิมุตติ กลางดวงวิมุตติมีดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หล่านี้คือดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะของกายรูปพรหม มีลักษณะกลมรอบตัว ขนาดเท่าๆ กันกับของกายมนุษย์และกายทิพย์ แต่มีความใสความละเอียดยิ่งกว่า แล้วนิ่งลงไปในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะของกายรูปพรหมนั้น จะเห็นกายอรูปพรหม กลางกายมีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม กลางดวงธรรมมีดวงศีล กลางดวงศีลมีดวงสมาธิ กลางดวงสมาธิมีดวงปัญญา กลางดวงปัญญามีดวงวิมุตติ กลางดวงวิมุตติมีดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เหล่านี้คือดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะของกายอรูปพรหม มีลักษณะกลมรอบตัว ขนาดเท่าๆ กันกับของกายรูปพรหม แต่มีความใสความละเอียดมากกว่า แล้วนิ่งลงไปในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะของกายอรูปพรหมนั้น จะเห็นกายธรรม กลางกายมีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม กลางดวงธรรมมีดวงศีล กลางดวงศีลมีดวงสมาธิ กลางดวงสมาธิมีดวงปัญญา กลางดวงปัญญามีดวงวิมุตติ กลางดวงวิมุตติมีดวงวิมุตติญาณทัสสนะเหล่านี้คือ ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะของกายธรรม มีลักษณะกลมรอบตัว แต่ว่ามีขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักของธรรมกายไม่มีเล็กมีโต มีหน้าตักของธรรมกายเป็นเครื่องวัดด้วยผ่าเส้นศูนย์กลาง ความใสบริสุทธิ์นั้นยิ่งกว่ากายที่กล่าวมาแล้วมากมายหลายเท่า ใสจนกระทั่งมีรัศมีปรากฏ



ลำดับที่ 3

ดูดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ที่ศูนย์กลางกายมนุษย์ให้เห็นเป็นดวงใส แล้วขยายให้กว้างออกไป วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 2 วา หนา 1 คืบ วัดโดยรอบ 6 วา สัณฐานกลม (ไม่ใช่กลมรอบตัวเป็นดวง) ใสเหมือนกระจกส่องหน้า นี่เป็นปฐมฌาน แล้วกายธรรมนั่งบนนั้นดังนี้เรียกว่ากายธรรมเข้าปฐมฌานนั้น เพ่งดูดวงธรรมที่ศูนย์กลางกายทิพย์ให้เห็นเป็นดวงใส แล้วขยายส่วนเท่ากันนั้น นี่เป็นทุติยฌาน ธรรมกายน้อมเข้าทุติยฌานนั้นแล้ว ปฐมฌานก็หายไป ทุติฌานก็มาแทนที่ ธรรมกายนั่งบนนั้น นี้ชื่อว่าธรรมกายเข้าทุติยฌาน แล้วตาธรรมกายที่นั่งบนฌานนั้น เพ่งดูดวงธรรมที่ศูนย์กลางกายรูปพรหมเห็นเป็นดวงใส แล้วขยายส่วนเท่ากันนั้น นี่เป็นตติยฌาน ธรรมกายน้อมเข้าตติฌานนั้นแล้ว ทุติยฌานก็หายไป ตติยฌานมาแทนที่ ธรรมกายนั่งบนนั้น นี้ชื่อว่าธรรมกายเข้าตติยณาน แล้วตาธรรมกายที่นั่งบนฌานนั้น เพ่งดูดวงธรรมที่ศูนย์กลางกายอรูปพรหมเห็นเป็นดวงใส แล้วขยายส่วนเท่ากันนั้น นี่เป็นจตุตภฌาน ธรรมกายน้อมเข้าจตุตถฌานนั้นแล้วตติยฌานก็หายไป จตุตถฌานมาแทนที่ ธรรมกายนั่งบนนั้น ดังนี้ชื่อว่าธรรมกายเข้าจตุตถฌาน (เหล่านี้เป็นรูปฌาน) ต่อจากนี้ไปให้ใจธรรมกายน้อมไปในเหตุว่างของปฐมฌาน เห็นเป็นดวงใสเท่าจตุตถฌาน ธรรมกายก็นั่งบนดวงนั้น เมื่อธรรมกายนั่งอยู่บนอากาสานัญจาตนะฌาน ดังนี้แล้ว ใจธรรมกายน้อมไปในรู้ ในเหตุว่างของทุติยฌาน อากาสานัญจายตนะฌานก็จางหายไป เกิดวิญญาณัญจายตนะฌาน (ใสยิ่งกว่านั้น) ธรรมกายนั่งอยู่บนวิญญาณัญจายตนะฌานนั้น ใจธรรมกายน้อมไปในที่รู้ละเอียดในเหตุว่างของตติยฌาน วิญญาณัญจายตนะฌานก็จางหายไป เกิดอากิญจัญญายตนะฌาน (ใสยิ่งขึ้นไปอีก) ธรรมกายนั่งอยู่บนอากิญจัญญายตนะฌานนั้น ใจธรรมกายน้อมไปในรู้ก็ใช่ไม่รู้ก็ใช่ ในเหตุว่างของจตุตถฌานอากิญจัญญายตนะก็จางหายไป เกิดเนวสัญญานาสัญญายตนะฌานเข้าแทนที่ รู้สึกว่าละเอียดจริงประณีตจริง ธรรมกายนั่งอยู่บนเนวสัญญายตนะฌานนั้น (นี่เป็นส่วนอรูปฌาน) เหล่านี้เรียกว่าเข้าฌาน 1 ถึง 8 โดยอนุโลม แล้วย้อนกลับ จับแต่ฌานที่ 8 นั้น ถอยลงมาหาฌานที่ 7, 6, 5, 4, 3, 2, 1 เรียกว่าปฏิโลม ดูอริยสัจจ์ของกายมนุษย์ให้เห็นจริงว่า ความ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ของมนุษย์เป็นทุกข์ สิ่งที่เรียกว่าเป็นความเกิดนั้น มีลักษณะเป็นดวงกลมใสขนาดเล็กเท่าเมล็ดโพธิ์ ขนาดโตเท่าดวงพระจันทร์ สีขาวใสบริสุทธิ์ ดวงเกิดนี้จะเริ่มมาจดศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ในเวลาที่กายมนุษย์มีอายุครอบ 14 ปี ดวงนี้เองเป็นดวงเริ่มเกิดของมนุษย์ทุกคน ถ้าดวงนี้ไม่มาจดกลางดวงธรรมของมนุษย์ กายมนุษย์ก็จะมาเกิดไม่ได้ เมื่อกายธรรมดูความเกิด ดูเหตุที่จะทำให้เกิดเห็นตลอดแล้ว ก็ดูความแก่ต่อไป ความแก่นี้ซ้อนอยู่ในกลางดวงของความเกิด เป็นดวงกลมขนาดโตเท่าดวงพระจันทร์ ขนาดเล็กเท่าฟองไข่แดงของไก่ สีดำเป็นนิลแต่ไม่ใส เวลาที่เป็นดวงแก่นี้ยังเล็กก็เป็นเวลาที่เริ่มแก่ ถ้าดวงแก่นี้ยิ่งโตขึ้นกายก็ยิ่งแก่เข้าทุกที ดวงนี้เองเป็นเหตุให้ร่างกายทรุดโทรม เมื่อแก่มากขึ้นแล้วก็ต้องมีเจ็บ เพราะดวงเจ็บซ้อนอยู่ในกลางดวงแก่นั้นเอง เป็นดวงกลมขนาดเท่าๆ กับดวงเกิดดวงแก่ สีดำเข้มยิ่งกว่าดวงแก่ ขณะเมื่อดวงเจ็บนี้ มาจดเข้าในศูนย์กลางดวงแก่เข้าเวลาใด กายมนุษย์ก็จะต้องเจ็บทันที เมื่อดวงเจ็บนี้มาจดหนักเข้า ดวงตายก็ซ้อนเข้าอยู่กลางดวงเจ็บ เป็นดวงกลมขนาดเล็กโตเท่าๆ กับดวงเจ็บ แต่มีสีดำใสประดุจนิลทีเดียว เมื่อดวงนี้เข้ามาจดกลางดวงเจ็บแล้ว จดตรงหัวต่อของกายมนุษย์กับกายทิพย์ พอมาจดเข้าเท่านั้น หัวต่อของมนุษย์กับทิพย์ก็จะขาดจากกัน เมื่อกายมนุษย์ไม่เนื่องกับกายทิพย์ได้แล้ว กายมนุษย์ก็ต้องตายทันที เมื่อเห็นด้วยตาธรรมกายและรู้ด้วยญาณของธรรมกายว่า ความ เกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้ไม่เที่ยง ไม่แน่นอนจริงแล้ว รู้เห็นตามจริงเช่นนี้ชื่อว่าสัจจญาณ เมื่อตาธรรมกายเห็นว่าความ เกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้เป็นทุกข์จริง เป็นสิ่งสมควรรู้ชื่อว่าบัลลุกิจจญาณ และความทุกข์ทั้งหมดเหล่านี้เราก็ได้พิจารณาเห็นชัดแจ้งรู้ชัดเจนมาแล้ว ชื่อว่าบัลลุกตญาณ เช่นนี้เรียกว่าพิจารณาทุกขสัจจ์ซึ่งเป็นไปในญาณ 3

ส่วนดวงสมุทัยนั้นมีอยู่ 3 ดวง อยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ขนาดโตเท่าดวงพระจันทร์ และขนาดเล็กเท่าเมล็ดโพธิ์ เหมือนกันทั้งหมด ซ้อนกันอยู่ สำหรับดวงข้างนอกมีสีดำเข้ม แต่อีก 2 ดวงนั้น ก็ยิ่งมีความละเอียด และความดำมากกว่ากันเข้าไปเป็นชั้นๆ เมื่อเห็นด้วยตาและรู้ด้วยญาณของธรรมกายเช่นนี้ รู้ว่าเพราะสมุทัยนี้จึงทำให้ทุกข์เกิดเป็นของจริงเช่นนี้เรียกว่าสัจจญาณ เมื่อรู้แล้วพากเพียรละ เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ควรละเช่นนี้ เรียกว่ากิจจญาณ เมื่อละสมุทัยได้ขาดแล้ว ชื่อว่ากตญาณ เช่นนี้เรียกว่า พิจารณาสมุทัยซึ่งเป็นไปในญาณ 3

เมื่อสมุทัยเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องดูให้รู้ถึงวิธีดับเหตุแห่งทุกข์อันนี้ให้ได้ตลอด ที่เรียกว่านิโรธ นิโรธนี้เป็นดวงกลมใสอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ขนาดวัดตัดกลาง 5 วา ขณะเมื่อมีนิโรธแล้ว สมุทัยย่อมหมดไป เหมือนรัศมีของพระอาทิตย์ที่ขจัดความมือให้หายไปฉะนั้น เมื่อเห็นด้วยตาและรู้ด้วยญาณธรรมกายว่า ความดับไปแห่งสมุทัยเป็นนิโรธจริง ชื่อว่าสัจจญาณ และนิโรธนี้เป็นสิ่งควรทำให้แจ้งชื่อว่าเป็นกิจจญาณ เมื่อรู้เห็นตลอดแล้วชื่อว่าทำให้แจ้งซึ่งนิโรธแล้วจัดเป็นกตญาณ เช่นนี้เรียกว่าได้พิจารณาซึ่งนิโรธอันเป็นไปในญาณ 3

เมื่อทำนิโรธความดับให้แจ้งได้แล้ว ก็จะพึงทำมรรคให้เกิดขึ้น มรรคนี้ก็คือดวงศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเอง มีสัณฐานกลมใสบริสุทธิ์ยิ่งนัก ขนาดเท่ากันกับหน้าตักของธรรมกาย เมื่อได้เห็นด้วยตาได้รู้ด้วยญาณของธรรมกายแน่ชัดแล้ว รู้แน่ว่าสิ่งนี้เป็นมรรคจริง ชื่อว่าเป็นสัจจญาณ เมื่อมรรคนี้เป็นของจริงก็เป็นทางควรดำเนินให้เจริญขึ้น ชื่อว่าเป็นกิจจญาณ เมื่อได้รู้เห็นตลอดด้วยตาและญาณของธรรมกายถึงมรรคนี้ว่า ได้ดำเนินให้เจริญขึ้นแล้วนี้ชื่อว่าเป็นกตญาณ เช่นนี้ชื่อว่าได้เห็นมรรคพร้อมทั้งรู้เป็นไปในญาณ 3 ฉะนี้

เห็นอริยสัจจ์เหล่านี้พร้อมกับเดินสมาสมบัติ เมื่อถูกส่วนเข้าธรรมกายก็ตกสูญเป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 วา ในไม่ช้าสูญนั้นก็กลับเป็นธรรมกาย หน้าตักกว้าง 5 วา สูง 5 วา เกศดอกบัวตูมนี้เป็นพระโสดา แล้วธรรมกายพระ

โสดานั้นเข้าฌาน ดูอริยสัจจ์ของกายทิพย์ให้เห็นจริงใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทำนองเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว เมื่อถูกส่วนเข้าธรรมกายพระโสดาก็ตกสูญเป็นดวงใส วัดผ่าศูนย์กลางได้ 10 วา ในไม่ช้าสูญนั้นก็กลับเป็นธรรมกาย หน้าตักกว้าง 10 วา สูง 10 วา เกศดอกบัวตูม นี่เป็นสกิทาคามี แล้วธรรมกายพระสกิทาคามีนั้นเข้าฌานดูอริยสัจจ์ของกายรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระสกิทาคามีก็ตกสูญเป็นดวงใส วัดผ่าศูนย์กลางได้ 15 วา ในไม่ช้าสูญนั้นก็กลับเป็นธรรมกาย หน้าตักกว้าง 15 วา สูง 15 วา เกศดอกบัวตูม นี่เป็นพระอนาคามี แล้วธรรมกายพระอนาคามีนั้นเข้าฌาน ดูอริยสัจจ์ของกายอรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระอนาคามีก็ตกสูญเป็นดวงใส วัดผ่าศูนย์กลางได้ 20 วา ในไม่ช้าสูญนั้นก็กลับเป็นธรรมกาย หน้าตักกว้าง 20 วา สูง 20 วา เกศดอกบัวตูม นี่เป็นพระอรหัตต์แล้ว

ประกอบธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายของพระโสดาเป็นปฐมฌาน (แบบเดียวกับที่เคยทำมาแล้วในการทำฌาน) ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายของพระสกิทาคามีเป็นทุติยฌาน ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายของพระอนาคามี เป็นตติฌาน ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายของพระอรหัตต์เป็นจตุตถฌานว่าง ของปฐมฌานประกอบเป็นอากาสานัญจาตนะฌาน รู้ในว่างของทุติยฌานเป็นวิญญาณัญจาตนะฌาน รู้ที่ละเอียดในเหตุว่างของตติยฌาน เป็นอากิญจัญญายตนะฌาน รู้ก็ใช่ไม่รู้ก็ใช่ในเหตุที่ว่างของจตุตถฌาน เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน เข้าสมาบัติทั้ง 8 นี้โดยอนุโลมปฏิโลมจนครบ 7 เที่ยว ธรรมกายก็ตกสูญเข้านิพพานของกายมนุษย์ เดินสมาบัติในนิพพานของกายมนุษย์ครบ 7 เที่ยว กายธรรมก็ตกสูญเข้านิพพานของกายทิพย์ เดินสมาบัติในนิพพานของกายทิพย์ครบ 7 เที่ยว กายธรรมก็ตกสูญ เข้านิพพานของกายรูปพรหม เดินสมาบัติในนิพพานของกายรูปพรหมครบ 7 เที่ยว กายธรรมก็ตกสูญ เข้านิพพานของกายอรูปพรหม เดินสมาบัติในนิพพานของกายอรูปพรหมครบ 7 เที่ยว กายธรรมก็ตกสูญ เข้านิพพานของกายธรรมทีเดียว

เวลาจะออกนิพพานของกายธรรม ก็ต้องเดินสมาบัติอีก 7 เที่ยว ตกสูญกลับออกมาถึงนิพพานของกายอรูปพรหม แล้วเดินสมาบัติอีก 7 เที่ยว ตกสูญกลับออกมาถึง นิพพานของกายรูปพรหม แล้วเดินสมาบัติอีก 7 เที่ยว ตกสูญกลับออกมาถึงนิพพานของกายทิพย์ เดินสมาบัติอีก 7 เที่ยว ตกสูญกลับออกมาถึงนิพพานของกายมนุษย์ เดินแบบเดียวกับเวลาเข้าไป

(สำหรับฌานนั้น ขนาดที่กล่าวแล้ว คือวัดตัดกลาง 2 วา หนา 1 คืบ วัดโดยรอบ 6 วา นั้น เป็นขนาดธรรมดา แต่เมื่อเวลาที่ถึงขั้นธรรมกายขยายส่วนโตขึ้นแค่ไหน พึงเข้าใจว่าฌานก็จะขยายส่วนโตขึ้นไปตามนั้นได้)



ลำดับที่ 4

ประกอบธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เป็นสมาบัติ ที่ตั้งของธรรมคือศูนย์กลางกายนั้นเป็นกสิณ กสิณมี 10 คือ ดิน 1 น้ำ 1 ไฟ 1 ลม 1 สีเขียว 1 สีเหลือง 1 สีแดง 1 สีขาว 1 แสงสว่าง 1 และอากาศว่าง 1 กสิณเหล่านี้มีลักษณะกลมใสรอบตัว เวลาเดินสมาบัติในกสิณเหล่านี้ ก็จะต้องซ้อนดวงกสิณให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตั้งแต่ดวงแรกคือดิน น้ำซ้อนอยู่ในดิน ไฟซ้อนอยู่ในน้ำ ลมอยู่ในไฟ สีเขียวอยู่ในลม สีเหลืองอยู่ในสีเขียว สีแดงอยู่ในสีเหลือง สีขาวอยู่ในสีแดง แสงสว่างอยู่ในสีขาว อากาศว่างอยู่ในแสงสว่าง ซ้อนกันเช่นนี้แล้ว จึงเดินสมาบัติในกสิณ ตรวจดูภพมนุษย์ให้เห็นตลอด วิธีเดินสมาบัติต้องใช้กายธรรมเดิน

ประกอบธรรมที่ทำให้เป็นกายอสุรกายเป็นสมาบัติที่ตั้งของธรรมเป็นกสิณ เดินสมาบัติในกสิณตรวจดูภพอสุรกายให้เห็นตลอด

ประกอบธรรมที่ทำให้เป็นกายเปรตเป็นสมาบัติ ที่ตั้งของธรรมที่เป็นกสิณ เดินสมาบัติในกสิณ ตรวจดูภพเปรตให้เห็นตลอด

ประกอบธรรมที่ทำให้เป็นกายสัตว์เดียรัจฉานเป็นสมาบัติ ที่ตั้งของธรรมเป็นกสิณ เดินสมาบัติในกสิณ ตรวจดูภพเดียรัจฉานให้เห็นตลอด

ประกอบธรรมที่ทำให้เห็นเป็นกายสัตว์นรกเป็นสมาบัติ ที่ตั้งของธรรมเป็นกสิณ เดินสมาบัติในกสิณตรวจดูสัตว์นรกให้เห็นตลอด

ประกอบธรรมที่ทำให้เป็นสัตว์โลกันต์เป็นสมาบัติ ที่ตั้งของธรรมเป็นกสิณ เดินสมาบัติในกสิณ ตรวจดูสัตว์โลกันต์ให้เห็นตลอด

ประกอบธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์เป็นสมาบัติ ที่ตั้งของธรรมเป็นกสิณ เดินสมาบัติในกสิณ ตรวจดูภพทิพย์ให้เห็นตลอด

ประกอบธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมเป็นสมาบัติ ที่ตั้งของธรรมเป็นกสิณ เดินสมาบัติในกสิณ ตรวจดูภพรูปพรหมให้เห็นตลอด

ประกอบธรรมที่ทำให้เป็นรูปกายอรูปพรหมเป็นสมาบัติ ที่ตั้งของธรรมเป็นกสิณ เดินสมาบัติในกสิณ ตรวจดูภพอรูปพรหมให้เห็นตลอด

ใช้กายธรรมเป็นผู้เดินสมาบัติ ตรวจดูให้รู้ตลอด ไต่ถามและดูให้รู้ว่า เป็นอยู่กันอย่างไร มีอะไรเป็นอาหาร มีอายุนานเท่าไร ดังนี้เป็นต้น



ลำดับที่ 5

ประกอบธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหมเป็นรูปฌานและอรูปฌาน เดินสมาบัติพร้อมกับตรวจดูชาติของตน (เวลาเดินสมาบัติใช้กายธรรมเป็นผู้เดินสมาบัติ) นิ่งอยู่ในศูนย์กลางกาย ดูความเป็นอยู่ตั้งแต่ปัจจุบันนี้ ถอยออกไปถึงเมื่อวาน วานซืน ฯลฯ และถอยห่างออกไปเป็นลำดับจนถึงเวลาออกจากครรภ์มารดา ก่อนออกครรภ์มารดา จนถึงเวลาที่ยังเป็นกะละละรูป ก่อนเข้าท้องมารดา ก่อนมาเข้าอยู่ภายในกายของบิดา ถอยออกไปจนถึงชาติก่อน ดูถอยออกไปเรื่อยๆ เช่นนี้จนถึงแรกได้ปฐมวิญญาณแล้วถอยกลับมา (แบบเวลาเข้าไป) จนถึงปัจจุบัน แล้วดูต่อไปในชาติข้างหน้าอีก ดูชาติของตนให้เห็นตลอด เช่นนี้เรียกว่าปุพเพนิวาสญาณ

ดูของตนเห็นตลอดแล้วเช่นไร เวลาดูของผู้อื่นก็เอาธรรมที่ทำให้เป็นกายของผู้นั้นประกอบเป็นสมาบัติเดินสมาบัติตรวจดู แบบเดียวกันกับที่ดูของจนเองให้ตลอด เช่นนี้เรียกว่าจุตูปปาญาณ



ลำดับที่ 6

ประกอบดวงธรรมที่ทำให้เป็นภพ 3 เป็นรูปสมาบัติว่างของธรรมนั้นประกอบเป็นอรูปสมาบัติ ที่ตั้งของธรรมที่ทำให้เป็นภพ 3 (คือศูนย์กลางภพ) เป็นกสิณ เดินสมาบัติในกสิณ (กายธรรมเป็นผู้เดินสมาบัติ) ตรวจดูในภพ 3 นี้ ให้เห็นตลอดทั้งข้างนอกข้างใน ดูความเป็นอยู่ให้ชัดแจ้งตลอด ที่เรียกว่าภพ 3 นั้น คือ อสุรกายเปรต สัตว์เดียรัจฉาน นรก 8 ขุม ต่อมาก็มีมนุษย์ 1 สวรรค์ 6 ชั้น รูปพรหม 16 ชั้น อรูปพรหม 4 ชั้น ทั้งหมดนี้รวมเรียกว่า ภพ 3

ประกอบดวงธรรมที่ทำให้เป็นโลกันต์เป็นรูปสมาบัติ เหตุว่างของธรรมเป็นอรูปสมบัติ ที่ตั้งของธรรมที่ทำให้เป็นโลกันต์เป็นกสิณ กายธรรมเข้าเดินสมาบัติในกสิณ ตรวจดูโลกันต์ให้เห็นตลอดทั้งข้างนอกข้างในโลกันต์นี้ เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากภพ 3 คือต่ำลงไปจากอเวจีนรกขุมที่ 8 นั้นออกไปจนนอกภพข้างล่าง ไกลหาประมาณมิได้ มีอายตนะหนึ่งอยู่ที่นั่น เรียกว่าโลกันต์

ประกอบดวงธรรมที่ทำให้เป็นนิพพานเป็นรูปสมาบัติ เหตุว่างของธรรมเป็นอรูปสมาบัติ ที่ตั้งของธรรมเป็นกสิณ กายธรรมเข้าเดินสมาบัติในกสิณ ตรวจดูนิพพานให้เห็นตลอดทั้งข้างนอกข้างในให้หมดสงสัย นิพพานนี้เป็นอายตนะหนึ่ง คือ สูงกว่าภพ 3 ขึ้นไปจากเนวสัญญานาสัญญายตนะออกไปนอกภพไกลจนหาประมาณมิได้ ที่นั่นเรียกว่า อายตนะนิพพาน



ลำดับที่ 7

ให้ดูดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม ในดวงธรรมมีดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติฌาณทัสสนะ พอสุดวิมุตติฌาณทัสสนะ ก็มีกายมนุษย์ที่ละเอียด ดูดวงธรรมของกายมนุษย์ที่ละเอียดนั้น ในดวงธรรมก็มีดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ต่อจากนั้นก็มีกายทิพย์ที่ละเอียด ดูดวงธรรมของกายทิพย์ละเอียด ในดวงธรรมมีดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ต่อไปก็มีกายรูปพรหมที่ละเอียด มีดวงธรรม ในกลางดวงธรรมมีดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วุมุตติญาณทัสสนะ ต่อไปก็มีกายอรูปพรหมที่ละเอียด มีดวงธรรม ในกลางดวงธรรมมีดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ต่อไปก็ถึงกายธรรมที่ละเอียด มีดวงธรรม ในกลางดวงธรรมมีศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ต่อจากนั้นก็ถึงกายที่ละเอียดเข้าไปอีก ดูเข้าไปโดยนัยนี้จนกระทั่งถึงกายที่ละเอียดที่สุด ที่เรียกว่ากายละเอียด แล้วก็ถอยออกมาแบบเดียวกับตอนเข้าไป ดูถอยออกไปจนหยาบเลยกายมนุษย์ออกไป ถอยออกไปเรื่อยจนถึงกายใหญ่ที่สุด มีเนื้อหนังหยาบ เส้นขนเส้นผมใหญ่โตมาก ที่เรียกว่ากายสุดหยาบ (ดวงเหล่านี้ก็ซ้อนกันอยู่เช่นเดียวกับที่เคยดูมาแล้ว)



ให้นับกายสุดหยาบสุดละเอียดว่ามีกี่กาย ตามแบบวิธีนับอสงไขย คือ นับแต่แผ่นดินเกิดขึ้นแล้วประลัยไปจึงถึงศีร์ษะ แผ่นดินเกิดขึ้นใหม่เป็นหนึ่งถึงสิบ-ร้อย-พัน-หมื่น-แสน

ร้อยแสน เป็น โกฏิ

ร้อยแสนโกฏิ เป็น ปโกฏิ

ร้อยแสนปโกฏิ เป็น โกฏิปโกฏิ

ร้อยแสนโกฏิปโกฏิ เป็น นหุต

ร้อยแสนนหุต เป็น นินนหุต

ร้อยแสนนินนหุต เป็น อักโขภินี

ร้อยแสนอักโขภินี เป็น พินทุ

ร้อยแสนพินทุ เป็น อัพภุทะ

ร้อยแสนอัพภุทะ เป็น นิรพุทะ

ร้อยแสนนิรพุทะ เป็น อหหะ

ร้อยแสนอหหะ เป็น อพพะ

ร้อยแสนอพพะ เป็น อฏฏะ

ร้อยแสนอฏฏะ เป็น โสคันธิกะ

ร้อยแสนโสคันธิกะ เป็น อุปละ

ร้อยแสนอุปละ เป็น กมุทะ

ร้อยแสนกมุทะ เป็น ปทุมะ

ร้อยแสนปทุมะ เป็น ปุณฑริกะ

ร้อยแสนปุณฑริกะ เป็น อกถานะ

ร้อยแสนอกถานะ เป็น มหากถานะ

ร้อยแสนมหากถานะ เป็น อสงไขยหนึ่ง








ลำดับที่ 9

ขยายดวงเห็นจำคิดรู้ให้ตลอดสุดหยาบสุดละเอียด

ดวงเห็นของกายมนุษย์ ตั้งอยู่ในกลางกายของมนุษย์ มีลักษณะกลมรอบตัวใสบริสุทธิ์ ขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่ ประกอบดวงเห็นนี้เป็นสมาบัติ ที่ตั้งของดวงเห็นคือศูนย์กลางกายเป็นกสิณ เดินสมาบัติในกสิณให้ใส ขยายดวงเห็นของมนุษย์ให้เท่ากับของกายธรรม

ดวงจำของมนุษย์ซ้อยอยู่ในกลางดวงเห็น มีลักษณะกลมรอบตัวใสบริสุทธิ์ ขนาดเท่าดวงตาขาวทั้งหมด ประกอบดวงจำนี้เป็นสมาบัติ ที่ตั้งของดวงจำ คือ ว่างกลางดวงธรรมนั้นเป็นกสิณ เดินสมาบัติในกสิณให้ใส ขยายดวงคิดของมนุษย์ให้เท่ากับของกายธรรม

ความคิดของมนุษย์ซ้อนอยู่ในกลางว่างของดวงจำมีลักษณะกลมรอบตัวใสบริสุทธิ์ ขนาดเท่าดวงตาขาวทั้งหมด ประกอบดวงจำนี้เป็นสมาบัติ ที่ตั้งของดวงจำ คือว่างกลางดวงเห็นนั้นเป็นกสิณ เดินสมาบัติในกสิณให้ใส ขยายดวงจำของมนุษย์ให้เท่ากับ ของกายธรรม

ดวงคิดของมนุษย์ซ้อนอยู่ในกลางว่างของดวงจำนี้มีลักษณะกลมรอบตัวใสบริสุทธิ์ ขนาดเท่าดวงตาดำข้างนอก ประกอบดวงคิดนี้เป็นสมาบัติ ที่ตั้งของดวงคิดคือว่างกลางดวงจำนั้นเป็นกสิณ เดินสมาบัติในกสิณให้ใส ขยายดวงคิดของมนุษย์ให้เท่ากับของกายธรรม

ดวงรู้ของมนุษย์ซ้อนอยู่ในกลางที่ว่างของดวงคิด มีลักษระกลมรอบตัวใสบริสุทธิ์ ขนาดเท่าแววตาดำข้างใน ประกอบดวงรู้นี้เป็นสมาบัติ ที่ตั้งของดวงรู้ คือว่างกลางดวงคิดนั้นเป็นกสิณ เดินสมาบัติในกสิณให้ใส ขยายดวงรู้ของมนุษย์ให้เท่ากับของกายธรรม

ที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นเพียงดวงเห็นจำคิดรู้ของกายมนุษย์ ส่วนดวงเห็นดวงจำดวงคิดดวงรู้ของกายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม กายธรรม ตลอดจนกายสุดหยาบสุดละเอียด ก็ต้องขยายแบบเดียวกันกับกายมนุษย์ที่กล่าวมาแล้ว



ลำดับที่ 10

ทำอายตนะให้เป็นทิพย์ในธรรม

ประกอบแก้วตาเป็นสมาบัติ ที่ตั้งของแก้วตาเป็นกสิณ เดินสมาบัติในกสิณ ใช้ตามนุษย์มองดูสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะลี้ลับเพียงไร ใกล้ไกลแค่ไหนทั้งของมนุษย์ทิพย์ธรรมให้เห็นตลอดเรียกว่าตาทิพย์ในธรรม

ประกอบแก้วหูทั้งหมดเป็นสมาบัติ ที่ตั้งของแก้วหูเป็นกสิณ เดินสมาบัติในกสิณใช้หูมนุษย์ฟังเสียงต่างๆ ไม่ว่าจะลี้ลับเพียงไร ทั้งของมนุษย์ ทิพย์ ธรรม ให้ได้ยินตลอด เรียกว่าหูทิพย์ในธรรม

ประกอบด้วยแก้วจมูกทั้งหมดเป็นสมาบัติ ที่ตั้งของแก้วจมูกเป็นกสิณ เดินสมาบัติในกสิณ ใช้จมูกมนุษย์ดมกลิ่นต่างๆ ทั้งลี้ลับใกล้ไกลของมนุษย์ ทิพย์ธรรมให้ได้กลิ่นตลอด เรียกว่าจมูกทิพย์ในธรรม

ประกอบแก้วด้วยลิ้นทั้งหมดเป็นสมาบัติ ที่ตั้งของแก้วลิ้นเป็นกสิณ เดินสมาบัติในกสิณ ใช้ลิ้นมนุษย์ลิ้มรสต่างๆ ทั้งลี้ลับเปิดเผย ทั้งของมนุษย์ ทิพย์ ธรรม ให้รู้รสตลอด เรียกว่าลิ้นทิพย์ในธรรม

ประกอบแก้วกายทั้งหมดเป็นสมาบัติ ที่ตั้งของแก้วกายเป็นกสิณ เดินสมาบัติในกสิณ ใช้กายมนุษย์สัมผัส เครื่องสัมผัสที่วิเศษประณีตของมนุษย์ ทิพย์ ธรรมได้ตลอดเรียกว่ากายทิพย์ในธรรม

ประกอบแก้วใจทั้งหมดเป็นสมาบัติ ที่ตั้งของแก้วใจเป็นกสิณ เดินสมาบัติในกสิณให้ใจรู้อารมณ์ต่างๆ ทั้งของมนุษย์ ทิพย์ธรรม ของตนของผู้อื่นได้ตลอด เรียกว่าใจทิพย์ในธรรม



ลำดับที่ 11

ดูดวงบุญดวงบาปดวงไม่บุญไม่บาป ให้เห็นตลอดหมดทุกกาย

ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายของแต่ละกาย มีดวงกลมซ้อนกันอยู่ 3 ดวง ดวงแรกมีสีเทาๆ อยู่ข้างนอก ได้แก่ดวงอพยาหรือธรรมกลาง ถัดเข้าไปในกลางดวงของธรรมกลางนั้น มีอีกดวงหนึ่งสีดำใสดุจนิจ นั่นคือธรรมดำหรืออกุศลธรรม ส่วนดวงที่ 3 ซึ่งซ้อนกันอยู่ในกลางดวงธรรมดำนั้น มีสีขาวใสบริสุทธิ์ยิ่งนัก นั่นคือธรรมขาวหรือกุศลธรรม ธรรมขาวนี้ก็คือดวงบุญ ธรรมดำคือดวงบาป ธรรมกลางคือดวงไม่บุญไม่บาป บุญบาปและไม่บุญไม่บาปนี้มีขนาดของดวงไม่คงที่ บางคนก็มีดวงบาปโตบางคนก็มีดวงบุญโต ส่วนผู้ที่ไม่นิยมทำบุญทำบาป ก็มีดวงไม่บุญไม่บาปโต มีบุญมาก บาปและไม่บุญไม่บาปก็มีย้อย ถ้าบาปมาก บุญและไม่บุญไม่บาปก็ย่อมจะมีน้อยดังนี้เป็นต้น

ดวงบุญบาปไม่บุญไม่บาปนี้ แต่ละดวงก็มีธาตุมีธรรม ส่วนที่เห็นปรากฏนั้นเป็นส่วนธาตุ ธรรมนั้นซ้อนอยู่ในว่างกลางธาตุอีกทีหนึ่ง เพราะละเอียดกว่าประณีตกว่า

เอาธาตุของดวงบุญประกอบเป็นกสิณ ธรรมของดวงบุญเป็นสมาบัติ เดินสมาบัติในกสิณ ตรวจดูธรรมขาว (กุศลธรรม) ให้เห็นตลอดจนถึงภพ

เอาธาตุของดวงบาปประกอบเป็นกสิณ ธรรมของดวงบาปเป็นสมาบัติ เดินสมาบัติในกสิณ ตรวจดูธรรมดำ (อกุศลธรรม) ให้เห็นตลอดจนถึงภพ

เอาธาตุของดวงไม่บุญไม่บาป ประกอบเป็นกสิณ ธรรมของดวงไม่บุญไม่บาปเป็นสมาบัติ เดินสมาบัติในกสิณ ตรวจดธรรมกลาง (อพยากฤต) ให้เห็นตลอดจนถึงภพ

ในธรรมขาว ดำ กลาง เหล่านี้ แต่ละธรรมก็มีนิพพาน ภพ 3 โลกันต์เหมือนกัน พวกนี้ต้องตรวจดูให้ละเอียด



ลำดับที่ 12

ตรวจดูบารมี 10 ทัศ อุปบารมี 10 ทัศ ปรมัตถบารมี 10 ทัศ

บุญที่เกิดจากการบริจาคทานนั้น เมื่อบริจาคบ่อยครั้งเข้า รวมกันได้ขนาดโตวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 1 คืบ หรือขนาดเท่าดวงพระจันทร์ ดวงบุญนั้นจะกลั่นตัวเองเป็นบารมี ที่เรียกว่าทานบารมีได้ดวงทานบารมีราวๆ วัดตัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว และดวงทานบารมีนี้มีมากขึ้น จนวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 1 คืบ หรือขนาดเท่าดวงพระจันทร์แล้วก็จะกลั่นตัวเองเป็นบารมีที่สูงกว่านั้น คือเรียกว่าทานอุปบารมี ได้ดวงทานอุปบารมีราวๆ วัดตัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 1 นิ้ว และดวงทานอุปบารมีนี้ เมื่อมีมากขึ้นจนวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 1 คืบ หรือขนาดเท่าดวงพระจันทร์แล้ว ก็จะกลั่นตัวเองเป็นบารมีที่สูงสุด คือทานปรมัตถบารมี ได้ดวงทานปรมัตถบารมีราวๆ 1 นิ้ว

ส่วนบุญที่เกิดจากการรักษาศีล การออกจากกาม ความมีปัญญา ความเพียร ความอดทน ความสัตย์จริง ความตั้งมั่น ความเมตตา ความมีอุเบกขา เหล่านี้ เมื่อบุญแต่ละอย่างๆ มีจำนวนมากขึ้นได้ขนาดที่จักกลั่นตัวเองแบบทานที่กล่าวแล้ว ก็จักกลั่นตัวเองเป็นบารมี อุปบารมี และปรมัตถบารมี บุญและบารมีทั้ง 3 นี้ จึงเป็นเหตุผลแก่กันดังนี้

ต่อเมื่อไรบุญเหล่านี้ขยายส่วนกลั่นตัวเอง เป็ยบารมี อุปบารมี และปรมัตถบารมี ได้เต็มจำนวนวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 1 คืบ เสมอกันหมดแล้ว สำหรับผู้ที่ปรารถนาเพียงนิพพานโดยการเป็นพระอริยสาวกองค์ใดองค์หนึ่ง บารมีเพียงนี้ก็จะทำให้บรรลุความเป็นปกติสาวกได้ ส่วนผู้ที่ปรารถนาจะสร้างบารมี เป็นพระอสีติมหาสาวก พระอรรคสาวก และพระพุทธเจ้าเหล่านี้ ก็ต้องสร้างบารมีแต่ละบารมีให้มีส่วนโตกว่าจำพวกแรกนี้ขึ้นไปเป็นลำดับ

บารมีนี้ อยู่ในศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทุกกาย

ในดวงทานบารมี มีดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ประกอบดวงเหล่านี้เป็นสมาบัติ ประกอบดวงทานบารมีเป็นกสิณ 10 เดินสมาบัติในกสิณ

ในเมื่อดวงทานบารมีประกอบไปแล้วเช่นนี้ ดวงอื่นๆ คือศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี เหล่านี้ต่างก็มี ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เช่นเดียวกัน เราก็ต้องประกอบเป็นสมาบัติและกสิณ 10 เดินสมาบัติในกสิณไปทีละบารมีจนครบ 10 ทัศ

ส่วนพวกอุปบารมีและปรมัตถบารมี ก็ทำไปเช่นเดียวกันทุกบารมี ทำตลอดทุกกายจนสุดหยาบสุดละเอียด



ลำดับที่ 13

เข้านิพพานเป็นและนิพพานตาย ตลอดจนสุดหยาบสุดละเอียด

ประกอบด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระโสดา เป็นปฐมฌาน

ประกอบดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกิทาคามี เป็นทุติยฌาน

ประกอบดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคามี เป็นตติยฌาน

ประกอบดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตต์ เป็นจตุตถฌาน

ประกอบเหตุว่างของปฐมฌาน เป็นอากาสานัญจายตนะฌาน

ประกอบรู้ในเหตุว่างของทุติยฌาน เป็นวิญญาณัญจายตนะฌาน

ประกอบรู้ที่ละเอียดในเหตุว่างของตติยฌาน เป็นอากิญจัญญายตนะฌาน

ประกอบรู้ก็ใช่ไม่รู้ก็ใช่ในเหตุว่างของจตุตถฌาน เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน

แล้วเดินสมาบัติทั้ง 8 นี้ 7 เที่ยว ตกสูญ เข้านิพพานในศูนย์กลางกายมนุษย์ เรียกว่านิพพานเป็นของมนุษย์ เดินสมาบัติในนิพพานเป็นของมนุษย์อีก 7 เที่ยว ตกสูญ เข้านิพพานในศูนย์กลางภพมนุษย์ ซึ่งเรียกว่า นิพพานตายของมนุษย์ เดินสมาบัติในนิพพานตายของมนุษย์อีก 7 เที่ยว ตกสูญ เข้านิพพานเป็นของทิพย์ ซึ่งอยู่ในศูนย์กลางกายทิพย์ เดินสมาบัติอีก 7 เที่ยว ตกสูญ เข้านิพพานตายของทิพย์ ซึ่งอยู่ในศูนย์กลางภพทิพย์ แล้วเดินสมาบัติอีก 7 เที่ยว ตกสูญ เข้านิพพานเป็นของกายรูปพรหม ซึ่งอยู่ในศูนย์กลางกายรูปพรหม เดินสมาบัติอีก 7 เที่ยว ตกสูญ เข้านิพพานตายในศูนย์กลางภพรูปพรหม เดินสมาบัติอีก 7 เที่ยว ตกสูญ เข้านิพพานเป็นในศูนย์กลางกายอรูปพรหม เดินสมาบัติอีก 7 เที่ยว ตกสูญ เข้านิพพานตายในศูนย์กลางภพอรูปพรหม เช่นนี้เรื่อยเข้าไปจนสุดละเอียด แล้วถอยออกมาแบบเดียวกับเวลาเข้าไป พอถึงมนุษย์ก็ถอยออกไปจนสุดหยาบ เช่นนี้เรียกว่า เข้านิพพานเป็นและนิพพานตายจนสุดหยาบสุดละเอียด



ลำดับที่ 14

ดูกายสิทธิ์ในดวงแก้ว (เป็นปกิณณกะ)

ให้เอาดวงแก้วที่ถืออยู่ในมือนั้น เข้าไปไว้ในสุดละเอียด (ศูนย์กลางกาย) หยุดนิ่งอยู่ในกลางดวงแก้ว ขยายให้ดวงแก้วนั้นโตขึ้น ก็จะแลเห็นกายที่อยู่ในดวงแก้วนั้นได้ถนัด เมื่อต้องการจะรู้ด้วยเรื่องอะไรก็ถามได้จากกายที่อยู่ในนั้นได้ กายนี้เองที่เรียกว่า “กายสิทธิ์”







ลำดับที่ 15

ภาคผู้เลี้ยง

ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้น มีกายผู้เลี้ยงมนุษย์คอยดูแลความเป็นอยู่ของมนุษย์ (ไม่ใช่กายทิพย์) นิ่งลงไปในกลางกายผู้เลี้ยงมนุษย์ ก็มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นผู้เลี้ยงมนุษย์ ในกลางดวงธรรมมีดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ซ้อนกันเข้าไปเป็นลำดับๆ เช่นเดียวกับของมนุษย์ที่เคยดูมาแล้ว

พอสุดดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็ถึงกายผู้เลี้ยงทิพย์กลางกายมีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายผู้เลี้ยงทิพย์ กลางดวงธรรมมีดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

พอสุดดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็ถึงกายผู้เลี้ยงรูปพรหม กลางกายมีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายผู้เลี้ยงรูปพรหม กลางดวงธรรมมีดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

ต่อจากวิมุตติญาณทัสสนะ ก็ถึงกายผู้เลี้ยงอรูปพรหม กลางกายมีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายผู้เลี้ยงอรูปพรหม กลางดวงธรรมมีดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

ต่อจากดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็ถึงกายผู้เลี้ยงธรรมกาย กลางกายมีดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายของผู้เลี้ยงธรรมกาย กลางดวงธรรมมีดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

ทำต่อไปแบบนี้จนถึงสุดละเอียด แล้วก็ถอยออกมาหาสุดหยาบ ดูกายของผู้เลี้ยงให้เห็นตลอดสุดหยาบสุดละเอียดเช่นนี้

สำหรับวิชาภาคผู้เลี้ยง นี้ก็ทำแบบเดียวกันกับที่ทำมาแล้วในภาคมนุษย์ทั้งหมด



นิพพาน



นิพพานเป็นอายตนะหนึ่ง ซึ่งแตกต่างออกไปจากโลกายตนะและอายตนะทั้ง 6 ทั้ง 12 นั้น เป็นอายตนะที่สูงกว่าวิเศษกว่าและประณีตกว่าอายตนะอื่น แต่ก็ทำหน้าที่ในลักษณะที่คล้ายคลึงกันคือ โลกายตนะ ทำหน้าที่ดึงดูดสัตว์โลกที่ยังมีความผูกพันอยู่กับโลกไว้ไม่ให้พ้นไปจากโลกได้ ส่วนอายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ทำหน้าที่ดึงดูด รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ตามหน้าที่ของตนๆ และในทำนองเดียวกัน อายตนะนิพพานก็มีหน้าที่ดึงดูดพระพุทธเจ้าพระอรหันต์เข้าไปสู่อายตนะของตน สถานอันเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าเรียกว่า อายตนะนิพพาน ส่วนพระพุทธเจ้าที่ประทับอยู่ในอายตนะนิพพานนั้น เรียกว่า “พระนิพพาน”

อายตนะนิพพาน มีลักษณะกลมรอบตัวขาวใสบริสุทธิ์จนกระทั่งมีรัศมีปรากฏ ขนาดของอายตนะนิพพานนั้นวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ราว 141 ล้าน 3 แสน 3 หมื่น (141330000) โยชน์ ขอบของอายตนะนิพพานหนาด้านละ 15120000 โยชน์ รวบขอบทั้ง 2 ด้าน เป็น 30240000 โยชน์ ขอบนี้ก็กลมรอบตัวเช่นเดียวกัน ส่วนเนื้อที่อยู่ในขอบเท่าไรเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น ในนิพพานเป็นสถานที่โอ่โถงปราศจากสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น สว่างไสวไปด้วยรัศมีธรรมอันโชติช่วงปราศจากความสว่างจากรัศมีอื่นใด แต่เป็นธรรมรังษีที่เกิดจากความใสบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสและอวิชชาทั้งปวงนั่นเอง

ในปาฏลิคามิวัคคอุทานฯ กล่าวไว้ว่า “อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนฺ ฯลฯ”

ภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ที่ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่มีเลย อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็มิใช่ โลกนี้ก็มิใช่ โลกอื่นก็มิใช่ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้งสองก็มิใช่ อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวเลย ซึ่งอายตนะนั้นว่าเป็นการมา เป็นการไป เป็นการยืน เป็นการจุติ เป็นการเกิด อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้นั่นแลที่สุดแห่งทุกข์

อายตนะในที่นี้ ก็หมายถึง “อายตนะนิพพาน” ดังได้กล่าวแล้วว่าอายตนะนิพพานนั้น ต่างหากออกไปจากอายตนะพวกอื่น อายตนะนิพพานนี้มีอยู่ สูงขึ้นไปจากภพ 3 นี้ เลยออกไปจากขอบเนวสัญญานาสัญญายตนะภพ พ้นออกไปจากวิถีภพนี้ตรงขึ้นไปทีเดียว จะคำนวณระยะทางก็เห็นว่าหาประมาณมิได้ทีเดียว ไม่ได้มีอยู่ในดิน น้ำ ไฟ ลม และดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ไม่ได้อยู่ในนิพพาน ในอรูปภพทั้ง 4 ก็มิใช่ แม้นิพพานก็มีลักษณะของอรูปภพทั้ง 4 นี้เลยในโลก โลกอื่นก็มิใช่ เพราะเหตุที่อายตนะนิพพานพ้นไปจากโลกจากภพคือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพเหล่านี้สิ้นแล้ว นิพพานก็มิใช่สิ่งเหล่านี้ แม้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ก็เป็นสิ่งที่อยู่ในภพนี้ นิพพานจึงมิใช่สิ่งทั้งสอง และที่สุดสิ่งทั้งสองนี้ก็มิได้มีอยู่ในนิพพานเลย อนึ่งอายตนะนิพพานก็ไม่มีการไป การมา การยืน การจุติหรือการเกิดแต่ประการใดประการหนึ่ง ซึ่งแสดงว่าไม่สามารถติดต่อกันได้โดยอาการปกติแม้ที่สุดกำลังของอรูปฌานก็ไม่อาจไปถึงได้ เพราะว่านิพพานจัดเป็นกำลังสูงสุดเกินกำลังของผู้ที่อยู่ในภพจะไปถึงได้ และอายตนะนี้ก็หาที่ตั้งอาศัยมิได้ ไม่มีวัตถุหรืออารมณ์ชนิดใดเป็นที่ตั้งเป็นที่อาศัยทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้เองเป็นเครื่องยืนยันว่าอายตนะนิพพานนั้นมีจริง และไม่เกี่ยวข้องอยู่ในภพเลย พ้นออกไปต่างหากทีเดียว

อนึ่ง นิพพาน 3 คือ กิเลสนิพพาน 1 ขันธนิพพาน 1 ธาตุนิพพาน 1 มีความหมายดังนี้ คือ

เมื่อวันเพ็ญวิสาขมาส (กลางเดือน 6) ก่อนพุทธศก 45 ปี พระสิทธัตถกุมารทรงบำเพ็ญเพียรทางใจ ตัดกิเลสได้ขาดจากใจสิ้น บรรลุถึงซึ่งพระโพธิญาณ ณ ภายใต้ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ครั้งนั้น กิเลสาสวะทั้งปวงที่เคยประจำคอยกีดกันพระองค์ ให้ทรงเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสารมานับจำนวนหลายหมื่นหลายแสนชาติเป็นอันมากนั้นไม่อาจจะกลับมาสู่พระองค์ได้อีก ความสิ้นไปแห่งกิเลสอาสวะ อันเป็นเครื่องเสียบแทงพระองค์ตลอดมานั้นเรียกว่า “กิเลสนิพพาน”

ความแตกทำลายแห่งขันธ์ของพระองค์ ซึ่งแม้ในชาติใดๆ ก็ตาม ขันธ์ในภพ 3 นี้ก็จะต้องสวมพระองค์ตลอดมา ความแตกทำลายแห่งขันธ์ในชาติที่สุดนี้ ขันธ์เหล่านี้ก็มิอาจจะสวมพระองค์ได้ และพระองค์ก็มิกลับมาสวมขันธ์เหล่านี้อีกต่อไป เพราะพระองค์ทรงพ้นไปจากขันธ์เหล่านี้แล้ว ความแตกทำลายแห่งขันธ์นี้เรียกว่า “ขันธนิพพาน”

พระพุทธเจ้าองค์ที่สุดนี้คือพระสมณโคดม ปัจจุบันนี้พระบรมธาตุของพระพุทธองค์ยังคงอยู่ ไม่สูญสิ้นไปก็ยังไม่เรียกว่าธาตุนิพพาน ต่อเมื่อใดเสร็จพุทธกิจของพระองค์ที่จะต้องทำในภพนี้แล้ว ขณะนั้นพระบรมธาตุของพระองค์ก็จะสูญสิ้นไปจากภพนี้ ความสิ้นไปแห่งบรมธาตุนี้เรียกว่า “ธาตุนิพพาน”

ส่วนนิพพานที่ท่านจำแนกเป็น 2 ประเภทนั้น คือ สอุปาทิเสสนิพพาน 1 อนุปาทิเสสนิพพาน 1 สำหรับพวกทำสมาธิปัจจุบันเรียกกันง่ายๆ อีกแบบหนึ่ง คือ นิพพานเป็น อันตรงกับ สอุปาทิเสสนิพพาน และนิพพานตาย อันตรงกับ อนุปาทิเสสนิพพาน

นิพพานเป็นสถานที่อยู่ของกายธรรมนั้น อยู่ในศูนย์กลางของกายธรรมนั่นเอง ที่กล่าวนี้หมายความถึงเวลาที่กายมนุษย์ของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ยังมีชีวิตอยู่ ใช้กายธรรมเดินสมาบัติ 7 เที่ยว ตามแบบวิธีเดินสมาบัติที่เคยกล่าวไว้แล้วนั้น กายธรรมก็จะตกเข้าสู่นิพพานในศูนย์กลางกายธรรมนั้น นิพพานนี้ชื่อเรียกว่า นิพพานเป็น หรือ สอุปาทิเสสนิพพาน เพราะเป็นนิพพานที่อยู่ในศูนย์กลางกายธรรมที่ซ้อนอยู่ในกลางกายอรูปพรหม-การรูปพรหม-กายทิพย์ และกายมนุษย์เป็นลำดับเช่นนี้ ยังอยู่ในกลางของกายที่ยังหมกมุ่นครองกิเลสอยู่ตามสภาพของกายนั้นๆ ความบริสุทธิ์ของนิพพานที่อยู่ท่ามกลางกิเลสเหล่านี้เองที่เรียกว่า “สอุปาทิเสสนิพพาน” สภาพของนิพพานนี้ก็มีลักษณะกลมรอบตัวใสบริสุทธิ์ยิ่งนัก แต่ทว่านิพพานนี้เป็นนิพพานประจำกายของกายธรรม จึงมีพระนิพพานหรือพระพุทธเจ้าประทับอยู่เพียงพระองค์เดียว ความจริงถ้าจะกล่าวตามส่วนและตามลักษณะตลอดจนที่ตั้งแล้ว ก็จะเห็นว่านิพพานเป็นหรือสอุปาทิเสสนิพพานนี้ เป็นที่เร้นอยู่โดยเฉพาะของกายธรรมในเวลาที่ยังมีขันธ์ปรากฏอยู่ นอกจากนั้นสอุปาทิเสสนิพพานยังเป็นทางนำให้เข้าถึง “อนุปาทิเสสนิพพาน” หรือ “นิพพานตาย” อีกด้วย คือเวลาที่ขันธ์ซึ่งรองกายธรรมอยู่นั้นจะสิ้นไป พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ย่อมจะต้องเดินสมาบัติทั้ง 8 และเข้าสู่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ขณะนี้เองเป็นเวลาที่กายธรรมเข้าสู่สอุปาทิเสสนิพพาน ทรงดับสัญญาและเวทนาสิ้นแล้ว จึงเดินสมาบัติปฏิโลมอีก คราวนี้กายธรรมก็จะตกสูญเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพานซึ่งมีลักษณะรูปพรรณสัณฐานและขนาดดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั่นเอง

ส่วน “พระนิพพาน” นั้น คือกายธรรมที่ได้บรรลุอรหัตตผลแล้ว กายเหล่านี้มีกาย, หัวใจ, ดวงจิตต์ และดวงวิญญาณวัดตัดกลาง 20 วาเท่ากันทั้งสิ้น หน้าตักกว้าง 20 วา สูง 20 วา เกศดอกบัวตูมขาวใสบริสุทธิ์ มีรัศมีปรากฏ พระนิพพานนี้ประทับอยู่ในอายตนะนิพพาน
บางพระองค์ที่เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ก็ทรงประทับอยู่ท่ามกลางพระอรหันตสาวกบริวารเป็นจำนวนมาก
บางพระองค์ที่เป็นปัจเจกพุทธเจ้ามิได้เคยสั่งสอนหรือโปรดผู้ใดมาก่อนในสมัยที่ยังมีพระชนม์อยู่ องค์นั้นก็ประทับโดดเดี่ยวอยู่โดยลำพัง หาสาวกบริวารไม่ได้
ส่วนรังสีที่ปรากฏก็เป็นเครื่องบอกให้รู้ถึงการสร้างบารมีของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์เหล่านั้นว่า มากน้อยกว่ากันเพียงไร แค่ไหน แต่ส่วนกว้างส่วนสูงและลักษณะของพระวรกายนั้น เสมอกันหมดมิได้เหลื่อมล้ำกว่ากันเลย พระนิพพานนี้ทรงประทับเข้านิโรธ สงบกันตลอดหมด เพราะความเข้านิโรธนี้เป็นความสุขอย่างยิ่ง และความที่อยู่ในนิพพานมีกายอันยั่งยืนนี้เอง ท่านจึงได้กล่าวว่า [/b]“นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ”[/b] (ประวัติหลวงพ่อวัดปากน้ำและคู่มือสมภาร,2529)

ธรรมใดซึ่งเป็นสภาพอันประเสริฐ แม้จะตั้งอยู่หรือดำรงอยู่ในสภาพใด สภาพนั้นก็คือธรรม หลวงปู่เครื่อง สุภทฺโท ได้รับและนำธรรมอันประเสริฐเข้าสู่กระแสการปฏิบัติ ส่งผลให้เกิดคุณูประการแก่ชาติบ้านเมือง สังคมและสาธุชน จึงควรแก่อนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง

-------------
:b42: :b42: :b42:
:b44: :b44: :b44:
:b8: :b8: :b8:





[1] เป็นศิษย์ที่ขณะเป็นสามเณรได้ติดตามไปอุปถากหลวงปู่ระหว่างปฏิบัติธรรมอยู่ที่ถ้ำคูหาสวรรค์ปี 2499 ปัจจุบันกำลังศึกษาปริญญาเอก ในสาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

[2] การสร้างบารมีและพลังบุญบารมี ของหลวงปู่เครื่อง สุภทฺโท โดยสุพรรณ สาคร โรงพิมพ์พ์ศิริธรรมอ๊อฟเซท 2547 แรงจูงใจที่ผลักดันให้หลวงปู่เครื่อง ออกบวชเพราะได้ฟังและประทับใจในเรื่องราวของสมเด็จลุนหรือสำเร็จลุน เป็นเรื่องเล่าต่อๆกันมาของพระในอาณาจักรลาวที่ได้บรรลุคุณธรรมวิเศษ

[3] หลวงปู่ไปปฏิบัติธรรมที่ถ้ำคูหาสวรรค์หลายครั้ง ช่วงระหว่างปี 2493-2499 ช่วงที่อยู่นานที่สุดคือปี 2493-2494 รวมเวลา 2 ปี นอกนั้นหลวงปู่จะเดินทางไปกลับระหว่างถ้ำกับวัดสระกำแพงใหญ่

[4] ปีที่หลวงปู่ไปเข้าฝึกอบรมวิชาธรรมกาย น่าจะอยู่ในช่วงปี 2497 หรือ 2498 เพราะบุคคลที่หลวงปู่อ้างอิงถึงสองคนคือ สามเณรสุบรรณ จันทบุตร เข้าไปอยู่วัดปากน้ำในปี 2496 และสามเณรบุญเล็ก ระวังชนม์ เข้าไปอยู่ในปี 2498 ส่วนเหตุการณ์ ตัวบุคคล อาจารย์ผู้ฝึกสอนตรงตามที่หลวงปู่เล่าทุกประการ

[5] ประมาณปี 2497-2498 หลวงปู่ได้เข้าอบรมวิชาธรรมกาย ที่ต้องประมาณเพราะหลวงปู่จำวันเดือนปีคลาดเคลื่อน และผู้เขียนได้ตรวจสอบถึงเหตุการณ์อันเป็นปกติวัตรของบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่นหลวงพ่อวัดปากน้ำ เจ้าคุณพระภาวนาโกศล อาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรม โยมสอน คุณสนั่น วีระวรรณ สามเณรสุบรรณ จันทบุตรและสามเณรบุญเล็ก ระวังชนม์ มีอยู่จริงตามที่หลวงปู่บอกเล่า โดยเฉพาะสามเณรสุบรรณ จันทบุตร ยืนยันว่าได้เดินทางจากวัดสระกำแพงใหญ่เพื่อไปอยู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ในปี 2496 แต่จากการบอกเล่าของหลวงปู่เป็นปี 2494 จึงน่าเชื่อว่าหลวงปู่จำวันเดือนปีคลาดเคลื่อน


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 07 มิ.ย. 2010, 13:28, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 13:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


คู่มือสมภาร
[url]sinaeru.com/DHAMMA/Sompana/Sompana.aspx[/url]
[url]sinaeru.com/DHAMMA/Sompana/Sompana.aspx[/url]
sinaeru.com


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 07 มิ.ย. 2010, 13:43, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร