วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2010, 13:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


19. พิมพ์คัมภีร์ละกาม ลดโทษ เพิ่มบุญ
นายกู่เหยิน คนในราชวงศ์ชิง อายุเลย 50 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีบุตรสืบสกุล เขามีความทุกข์แก่ใจมาก คืนหนึ่ง เขาฝันว่าเขาได้ไปที่ศาลเจ้าประทานบุตร จึงได้เข้าไปกราบไหว้ เทพในศาลเจ้าได้หยิบสมุดเล่มหนึ่งชี้ให้เขาดูเขียนว่า นายกู่เหยินสมัยหนุ่มเคยข่มขืนหญิงสาวคนหนึ่งที่มีสามีแล้ว มลทินนี้จะทำให้เขาขาดบุตรสืบสกุล เขาอ่านแล้ววิตกกังวงมาก ทั้งเสียใจทั้งตำหนิตนเอง จึงได้กราบลงพูดกับเทพประทานบุตรว่า “ข้าสำนึกผิดแล้ว เมื่อสมัยหนุ่ม ข้ายังไม่เข้าถึงธรรมะจึงไม่รู้ดีรู้ชั่ว หักห้ามใจไม่ไหว จึงได้กระทำสิ่งเลวร้ายลงไป ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์โปรดเมตตชี้ทางสว่างให้แก่ข้าฯ ด้วย จะได้ชดใช้กรรมนี้”
เทพประทานบุตรเห็นเขาอ้อนวอนอย่างสำนึกผิดจริง เลยให้โอวาทว่า “เมื่อเจ้าสำนึกผิดก็ดีแล้ว แต่หากเจ้าสามารถชักชวนผู้คนไม่ประพฤติผิดในกามได้ 10 คนก็จะได้รับการอภัยโทษ และหากสามารถชี้แนะคนเลิกประพฤติผิดในกามมากขึ้น โอกาสที่จะได้บุตรก็มีมาก”
เมื่อตื่นจากฝัน เขารู้สึกละอายใจมาก เขาเริ่มเที่ยวแนะนำคนให้มีศีล ไม่ละเมิดผิดลูกผิดเมียคนอื่น นอกจากนั้นยังบริจาคเงินก้อนโตร่วมพิมพ์หนังสือประเภทละกาม และเที่ยวแจกจ่ายให้ผู้อื่นอ่านคนท่านแล้วกลับใจเป็นคนดีมีมาก ผลบุญที่เขาได้พยายามสร้างสมบุญนี้ ทำให้เขามีบุตรติดต่อกัน 3 คนในปัจฉิมวัย และบุตรแต่ละคนเมื่อเติบโตแล้วก็รับราชการมีตำแหน่งดี ส่วนตัวเองอายุยืนถึง 90 กว่าปี ถึงจะหมดอายุขัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2010, 13:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


20. สวรรค์ไม่ลงโทษคนที่สำนึกบาป
สมัยราชวงศ์หมิง มีคนชื่อหลางหลุนซิ่ว เป็นคนเฉลียวฉลาด แต่มีนิสัยเจ้าชู้ ชอบมั่วสุมกับหญิงที่ชอบสนุก เมื่ออายุ 40 ปี เขารู้ว่านิสัยเจ้าชู้ชอบผิดลูกผิดเมียเขานั้น บาปนี้หนักหนา ถึงแม้จะสำนึกบาป แต่ก็ไม่รู้จะแก้ไขอย่างไร จึงปล่อยให้เลยตามเลย มีอยู่ครั้งหนึ่งเขาป่วยและมีโอกาสท่านบทความของเทพเจ้าเหวินเชียง ท่านเขียนไว้ตอนหนึ่งว่า “หากมีใครละเมิดและกระทำความผิดด้านกามตัณหา หากเขาผู้นั้นรู้สำนึกบาป และรีบทำบุญไถ่บาปเป็นประจำ นานวันเข้าก็สามารถลดบาปกรรมลงได้”
เขาอ่านทบทวนอยู่หลายครั้ง มีความดีใจจนกระโดดขึ้นมาพูดกับตัวเองว่า “สิ่งที่ข้าวิตกกังวลที่สุดก็คือ ได้ประพฤติความชั่วในเรื่องกาม กลัวว่าเวลาตายไป ไม่รู้จะต้องไปรับโทษกี่ขุมต่อกี่ขุม วันนี้ได้อ่านบทความของท่านแล้ว ทำให้ข้ารู้ว่าวิธีลดโทษแล้ว”
นับจากนั้นมา เขาอธิษฐานและสาบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า เขาสำนึกบาปแล้วและขอสาบานว่า เขาจะแก้ไขความผิดให้หมดไป และจะพยายามชี้แนะผู้อื่นอย่าประพฤติผิดในกาม ทั้งยังได้บริจาคเงินร่วมพิมพ์หนังสือทุกเล่มที่เกี่ยวกับการละกาม เขาประพฤติตนอย่างจริงจังเช่นนี้เป็นเวลาหลายปี โทษบาปนั้นได้ถูกลดจนหมดสิ้น ชีวิตราชการของเขาก็รุ่งโรจน์ชัชวาล บุตรหลานก็เป็นใหญ่ในราชการ เขาถึงแก่กรรมลงโดยปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เมื่อเขามีอายุ 90 กว่าปี


21. จิตบริสุทธิ์ ทำประโยชน์ผู้อื่นก็คือทำประโยชน์แก่ตน
นายจางบุ้นเส็งมีภูมิลำเนาอยู่ในมณฑลฮกเกี้ยนมีอยู่ครั้งหนึ่งเขาไปธุระเจอ โจรกลุ่มหนึ่งเข้ามาปล้นฆ่า เขากับเพื่อนจึงหลบเข้าไปในถ้ำแห่งหนึ่ง ในถ้ำมีสาวสวยคนหนึ่งหลบอยู่ สาวนั้นเมื่อเห็นพวกเขาก็ตกใจกลัว และจะวิ่งหนีออกไป จางบุ้นเส็งเลยห้ามไว้ ถ้าเธอออกไปจะเจอโจรแน่ มันอันตรายมาก พวกเราเป็นสุภาพบุรุษจะไม่รบกวนเธอดอก หญิงสาวนั้นก็ก้มหน้าลงด้วยความอายโดยไม่กล้าพูดคุยกับพวกเขา
เวลาเที่ยงคืน เพื่อนของจางบุ้นเส็งคิดจะไปข่มขืนเธอแต่ถูกนายจางบุ้นเส็งห้ามไว้ พอฟ้าสาง นายจางออกไปฟังข่าวดูก็รู้ว่าโจรผู้ร้ายได้ถอยหนีไปหมดแล้ว จึงได้เชิญผู้ใหญ่บ้านมาเป็นธุระเพื่อส่งหญิงนั้นกลับบ้าน ผู้ใหญ่บ้านสอบถามรายละเอียดแล้ว จึงรู้ว่าหญิงสาวคนนั้นคือคู่หมั้นของนายจางบุ้นเส็งเอง (สมัยโบราณ การหมั้นหมายกระทำโดยพ่อแม่ทั้ง 2 ฝ่าย ผู้เป็นลูกยังไม่สามารถรู้จักกัน) อีกไม่นานเขาทั้งสองก็จะเข้าสู่วิวาห์กัน
คืนวันแต่งงาน นายจางบุ้นเส็งพูดกับภรรยาว่า “วันที่หลบภัยโจรหากจิตใจฉันไม่บริสุทธิ์ คงไม่ห้ามเพื่อนไปข่มขืนเธอ ดีที่ว่าจิตฉันบริสุทธิ์จึงสามารถปกป้องเธอไม่ให้เสียสาว วันนี้เราทั้งสองแต่งงานกันแล้วจิตใจของเราต่างไม่มีมลทิน มีแต่ขาวสะอาด ฉันขอยกความดีให้กับจิตบริสุทธิ์ ดังนี้ มิฉะนั้นเหตุการณ์จะเป็นเช่นใด คิด ๆ ไปก็น่าวิตก”
เนื่องด้วยจางบุ้นเส็งเป็นคนที่มีจิตใจสูง มีคุณธรรม ฉะนั้นบุตรชายของเขาแต่ละคนก็เจริญรุ่งเรืองดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2010, 13:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


22. ระงับใจไม่ทำชั่ว ผลบุญปกป้องลูกหลาน
สมัยราชวงศ์หมิง มีมณฑลเจอะเจียง เมืองหางโจว ลูกชายของหมอสกุลตั้งไปสอบในเมือง บทความที่เขียนไม่ดีพอ กรรมการผู้ตรวจสอบอ่านแล้วไม่ผ่าน ทันใดมีเสียงแว่วที่หูว่า “ต้องผ่าน” เขาหยิบขึ้นมาทบทวนดูอีก ก็ยังคิดว่า ไม่ควรผ่าน จึงวางบทความไว้ข้าง ๆ และที่หูก็ได้ยินว่า “ไม่ได้ ไม่ได้” กรรมการผู้ตรวจสอบหยิบมาอ่านแล้ว อ่านอีก ยังไม่คิดว่าควรผ่าน เพียงความคิดเท่านั้น เสียงแว่วมาอีกว่า “ไม่ได้ 2 คำนี้ทำยาก” กรรมการผู้ตรวจสอบคิดในใจว่า นักศึกษาผู้นี้คงประกอบกรรมดีอะไรมาแน่ จึงมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยคุ้มครอง เลยเรียกมาสอบถามก็ไม่สามารถได้คำตอบ นักศึกษาผู้นั้นได้กลับบ้านแล้วเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้พ่อฟัง
คุณหมอฟังลูกเล่าเรื่องที่ผ่านมา ได้อุทานออกมาว่า “นั่นมาจากสมัยพ่อยังหนุ่มอยู่ พ่อเคยรักษาคนไข้ที่ยากจนคนหนึ่งจนหายโดยไม่เรียกร้องเงินทองอะไรเลย มีอยู่ครั้งหนึ่ง พ่อออกไปธุระพอดีเจอพายุฝนเลยหลบฝนที่บ้านคนไข้ ภรรยของเขาได้รับคำสั่งจากแม่สามีให้มาปรนนิบัติเป็นการตอบแทนที่พ่อได้ รักษาสามีของเธอไว้ ขณะนั้นพ่อยังหนุ่มแน่น เห็นหญิงงสวยก็อดหวั่นไหวไม่ได้ แต่พ่อมาคิดถึงการล่วงเกินภรรยาผู้อื่นเป็นการขาดคุณธรรม พ่อจึงพึมพำว่า “ไม่ได้” พ่อจึงยับยั้งห้ามใจไว้ ตอนนั้นหญิงสาวนั้นได้ฉุดพ่อขึ้นเตียง พ่อรีบพูดว่า “ไม่ได้ ไม่ได้” และลุกขึ้นนั่งตัวตรง จิตใจว้าวุ่นสับสน แต่สติของพ่อดีคอยยับยั้งและตะโกนออกมาว่า “ไม่ได้ 2 คำนี้ทำยากจัง” ในที่สุดพ่อก็ชนะกิเลสลงได้ เรื่องนี้พ่อไม่เคยปริปากเล่าให้ใครฟังเลย ไม่นึกว่าสวรรค์ตอบแทนพ่อถึงขนาดนั้น จึงประทานเกียรติยศแก่เจ้า หวังว่าวันข้างหน้าลูกต้องขัดเกลากิเลสมาก ๆ เป็นคนที่มีคุณธรรมสูงนะ จึงจะถือว่าเจ้าได้ตอบแทนพระคุณสวรรค์ที่ได้เอ็นดูพวกเรา”

ฝึกจิต เจริญใจ
ลื่อโจ๊ว
การคิดตัดคำ หาคำดีดี
ค่อยฝึกค่อยทำ
ถ้าฟุ่มฟุ่มเฟือย
ก็อย่าได้เอา ขณะคิดคำ
ขอจงระวัง ใจของตนเอง
อย่าคิดฟุ้งไป ถึงแต่ไม่ดี
แม้ว่ารู้รู้ ถึงความไม่ดี
ขอจงกำหนด ตัดจิตตัดใจ
อย่าได้คิดวน กับความไม่ดี
สร้างสรรค์จิตใจ ให้มีเจริญ
อย่าให้ต่ำลง
กับความวนเวียน
ในสิ่งไม่ดี สิ่งที่ดีดี
คิดดีทำดี นำจิตนำใจ
ให้สูงให้สูง ขอจงหมั่นเพียร
ตัดตัดละละ ความคิดวนเวียน
สรรค์สร้างจิตใจ ด้วยการคิดดี
ให้จิตเจริญ เจริญเจริญ



โทษของกาม
ปัญหา : พระพุทธเจ้าทรงอธิบายเปรียบเทียบความสุข อันเกิดแต่กามไว้อย่างไรบ้าง? พุทธดำรัสตอบ : “......ดูก่อนคฤหบดี เปรียบเหมือนสุนัขอันความเพลียเพราะความหิวเบียดเบียนแล้ว พึงเข้าไปยืนอยู่ใกล้เขียงของนายโคฆาต นายโคฆาตหรือลูกมือของนายโคฆาตผู้ฉลาด พึงโยนร่างกระดูกที่เชือดชำแหละออกจนหมดเนื้อแล้วเปื้อนแต่เลือดไปยังสุนัข ฉันใด....
ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเปรียบด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
....ดูก่อนคฤหบดี เปรียบเหมือนแร้งก็ดี นกตะกรุมก็ดี เหยี่ยวก็ดี พาชิ้นเนื้อบินไป แร้งทั้งหลาย หรือนกตะกรุมทั้งหลาย หรือเหยี่ยวทั้งหลาย จะพึงโผเข้ารุมจิกแย่งชิ้นเนื้อนั้น ฉันใด....
.....ดูก่อนคฤหบดี อริวสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
.....ดูก่อนคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงถือคบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว เดินทวนลมไปฉันใด..
.....ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
.....ดูก่อนคฤหบดี เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิงลึกกว่าชั่วบุรุษหนึ่งเต็มด้วยถ่านเพลิงอันปราศจากเปลว ปราศจากควัน บุรุษผู้รักชีวิตไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ พึงมา บุรุษมีกำลังสองคนช่วยกันจับแขน บุรุษนั้นข้างละคน ฉุดเข้าไปยังหลุมถ่านเพลิง ฉันใด...
.....ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง มีความทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
.....ดูก่อนคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงฝันเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าอันน่ารื่นรมย์ ภาคพื้นอันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ บุรุษนั้นตื่นขึ้นแล้ว ไม่พึงเห็นอะไรฉันใด...
.....ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยความฝัน มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
.....ดูก่อนคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงยืมโภคสมบัติ มีแก้วมณีและกุณฑลอย่างดีบรรทุกยานไป เขาแวดล้อมด้วยทรัพย์สมบัติที่ตนยืมมา พึงเดินไปภายในตลาด คนเห็นเขาเข้าแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ บุรุษผู้นี้มีโภคสมบัติหนอ ได้ยินว่าชนทั้งหลายผู้มีโภคสมบัติย่อมใช้สอยโภคสมบัติอย่างนี้ดังนี้ พวกเจ้าของพึงพบบุรุษนั้น ณ ที่ใด ๆ พึงนำเอาของตนคืนไปในที่นั้น ๆฉันใด.....
.....ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเปรียบด้วยของยืม มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
.....ดูก่อนคฤหบดี เปรียบเหมือนราวป่าใหญ่ที่ไม่ไกลบ้านหรือนิคมต้นไม้ในราวป่านั้น พึงมีผลรสอร่อย ทั้งมีผลดก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว บุรุษผู้ต้องการผลไม้ พึงมาเที่ยวเสาะแสวงหาผลไม้ เขาแวะยังราวป่านั้น เห็นต้นไม้อันมีผลรสอร่อย มีผลดกนั้น เขาพึงคิดอย่างนี้ว่า ต้นไม้นี้มีผลรสอร่อย มีผลดก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว แต่เรารู้เพื่อขึ้นต้นไม้ไฉนหนอ เราพึงขึ้นต้นไม้ นี้แล้วกินพออิ่ม และห่อพกไปบ้าง เราขึ้นต้นไม้นั้นแล้ว กินจนอิ่ม และห่อพกไว้ลำดับนั้น บุรุษคนที่สองต้องการผลไม้ ถือขวานอันคมเที่ยวมาเสาะแสวงหาผลไม้ เขาแวะยังราวป่านั้นแล้ว เห็นต้นไม้มีผลรสอร่อย มีผลดกนั้น เขาพึงคิดอย่างนี้ว่า ต้นไม้นี้มีผลรสอร่อย มีผลดก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว และเราก็ไม่รู้เพื่อขึ้นต้นไม้ ไฉนหนอ เราพึงตัดต้นไม้นี้แค่โคนต้นแล้วกินพออิ่ม และห่อพกไปบ้าง เขาพึงตัดต้นไม้นั้นแค่โคนต้นฉันใด...
.....ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยผลไม้ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
โปตลิยสูตร ม. ม. [48-53]
ตบ. 13 : 41-45 ตท. 13 : 40-43
ตอ. MLS. II : 28-31
(จากหนังสือพระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ โดย แสง จันทร์งาม)


ที่มาhttp://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=113&page=35


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร