วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 15:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2011, 18:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 18:31
โพสต์: 292


 ข้อมูลส่วนตัว


การรู้สภาวะที่แท้จริง ของร่างกายในธรรมปัจจุบัน คือ อริยสัจ




เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ ก.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตา มาสอนไว้ดังนี้


๑. "การรู้สภาวะที่แท้จริงของร่างกายในธรรมปัจจุบัน คือ อริยสัจ เป็นทุกขสัจ ที่พระอริยเจ้าจักต้องยอมรับนับถือ สภาวะที่แท้จริงของร่างกายไม่มีใครเขาฝืนมันได้ ยิ่งฝืนมากเท่าไหร่ ยิ่งทุกข์มากเท่านั้น ร่างกายมันเป็นไปตามสภาวะปกติของมัน คือ ทำงานหนักมากเกินกำลัง มันก็เสื่อมโทรมให้เห็นปรากฏชัด เป็นเวทนาอยู่ภายใน หากจิตรับทราบเวทนานั้นแล้ว วางเป็นสังขารุเบกขาญาณ คือยอมรับสภาพของร่างกายในขณะนั้น ๆ จิตก็จักไม่ดิ้นรนเพื่อให้พ้นจากสภาวะนั้น ซึ่งไม่มีใครพ้นไปได้ เมื่อยอมรับ จิตก็จักมีความสุข ด้วยความเห็นร่างกายนี้ มีความเสื่อมไปตามปกติของมัน"

๒. "ประการสำคัญต้องรู้อยู่เสมอว่าร่างกายนี้มิใช่เรา มิใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา จิตก็จักผ่อนคลายจากความยึดเกาะในเวทนานั้น ดังนั้นการกำหนดรู้ว่าร่างกายเสื่อมนั้นเป็นของจริง จิตก็ควรจักยอมรับความจริงนั้น ๆ"

๓. "ในเมื่อรู้ก็สมควรพัก ดูความเสื่อมและเห็นความดับไปของความเสื่อมนั้น เมื่อร่างกายได้พักพอสมควรแล้ว ก็จักเห็นความไม่เที่ยงของร่างกายอย่างชัดเจน"

๔. "บุคคลผู้รู้จริง จักไม่ฝืนสภาพของร่างกายกล่าวคือไม่มีความเบียดเบียนร่างกายให้เกินไปกว่ากฎธรรมดา (ผู้เห็นทุกข์จริงจะไม่ฝืน และไม่เพิ่มทุกข์ให้กับตนเอง)"

๕. "กฎธรรมดาคืออะไร อย่างร่างกายแก่ก็ไม่ฝืนความแก่ อย่างสตรีแก่แต่ไม่ยอมแก่ ไปผ่าตัดเสริมสาว ทำร่างกายให้เจ็บปวดก็เป็นการเบียดเบียน หรือคนเจ็บป่วยมีหนทางรักษา แต่ฝืนกฎธรรมดา ไม่ยอมรักษา ไม่ยอมใช้ยา ไม่ยอมหาหมอก็เบียดเบียนร่างกาย อย่างร่างกายเสื่อม ต้องการเปลี่ยนอิริยาบถ จิตไม่รู้เท่าทัน ถือ ทิฎฐิ นั่งนาน ยืนนาน เดินนาน นอนนาน ก็ฝืนกฎธรรมดา คือ เบียดเบียนร่างกายเช่นกัน"

๖. "คำว่าสังขารุเบกขาญาณ ต้องแปลว่า วางเฉยอย่างรู้เท่าทันในกองสังขารทั้งปวง คือ ยอมรับกฎธรรมดาอันเป็นความจริงของสภาพร่างกาย"

๗. "อย่าคิดว่า เกิดมาชาตินี้ ขอมีร่างกายเป็นชาติสุดท้าย แล้วตะบี้ตะบันใช้งานมันไปอย่างไม่มีปัญญา ร่างกายถูกเบียดเบียนเท่าไหร่ จิตอาศัยเป็นเครื่องอยู่ ก็จักมีเวทนาที่ถูกเบียดเบียนเท่านั้น"

๘. "จักต้องรู้จักกฎธรรมดาของร่างกาย จิตจึงจักอยู่เป็นสุขได้ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ร่างกายมันมีความสกปรก ต้องอาบน้ำชำระล้างทุกวัน จิตเหมือนคนอยู่ในบ้าน บ้านสกปรกตามกฎธรรมดาของโลก ถ้าไม่เช็ดไม่ล้างไม่ถูกให้สะอาด คนอยู่จักหาความสบายใจได้หรือไม่ ร่างกายก็เช่นกัน กฎธรรมดามันเป็นอย่างนั้น ถ้าฝืนกฎธรรมดาไม่อาบน้ำให้มัน จิตก็ทุกข์ไม่สบายใจเช่นกัน"

๙. "นี่คือธรรมในธรรมของร่างกาย ที่เจ้าจักต้องศึกษาเรียนรู้เพื่อก้าวไปสู่อารมณ์ สังขารุเบกขาญาณที่ถูกต้อง โดยไม่ฝืนกฎธรรมดาของร่างกาย"

๑๐. "จำไว้ธรรมของตถาคต ต้องเป็นไปเพื่อความไม่เบียดเบียนทั้งร่างกายและจิตใจ ยอมรับกฎธรรมดาของร่างกายและจิตใจ เช่น
ก) ทุกข์ของร่างกาย หรือโรคของร่างกาย ระงับได้ ก็พึงระงับอย่างรู้ เท่าทัน
ข) ทุกข์ของจิตใจ หรือโรคของจิตใจ อันได้แก่สังโยชน์ ๑๐ ก็จักต้องกำหนดรู้กฎธรรมดาของอารมณ์ที่ยังมีสังโยชน์นั้น ๆ เห็นการเกิดการดับไปของอารมณ์ที่ยังมีสังโยชน์นั้น ๆ แล้วพึงอาศัยพระธรรมคำสั่งสอนของตถาคตเป็นยารักษาโรคหรือทุกข์ของจิตใจ ให้หายขาดจากโรคนั้น ๆ

๑๑. "อารมณ์กำหนดรู้จักต้องมี รู้ร่างกาย รู้จิตใจ รู้ระงับ รู้รักษา ให้ตรงจุดที่เป็นโรค จิตก็จักเป็นสุข หมดความเบียดเบียนทั้งร่างกายและจิตใจ"

ทุกสิ่งในโลกพระองค์จับเอาเป็นธรรมได้หมด

เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๙ ก.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปัจจุบัน ทรงพระเมตตาตรัสสอนไว้ดังนี้

๑. "ผู้มีธรรมประจำอยู่ในจิต ย่อมมองทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมได้หมด"

๒. "ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา ถ้าเข้าใจ"

๓. "สมถะ คือ ธรรมดาในธรรมนั้น ๆ วิปัสสนา คือ ทุกข์หรืออริยสัจอันเป็นกฎธรรมดาของธรรมนั้น ๆ ดังนั้นท่านจึงหยิบยกขึ้นมาอุปมาอุปไมยเป็นคำสอนได้ เพราะเข้าใจและรู้แจ้งเห็นจริง"

๔. "ธรรมดาในธรรมดา เห็นทุกข์ในธรรมดานั้น ๆ ธรรมดาของโลกไม่เที่ยง ยึดเมื่อไหร่ก็ทุกข์เมื่อนั้น"

จากนั้น สมเด็จองค์ปฐม ก็ทรงพระเมตตาตรัสสอนต่อให้ดังนี้

๑. "อย่าคิดสงสัยในธรรม จงคิดพิจารณาในธรรม จักเห็นความจริงของกฎของธรรมทั้งปวง"

๒. "เห็น ทุกขสัจในทุกๆ เรื่องที่ตถาคตกับพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ ตลอดจนพระสาวกแสดงมา จิตพวกเจ้าจงกำหนดรู้ว่าทุกข์ทั้งหลายนั้นมีจริง ให้ยอมรับในทุกข์นั้น ๆ สร้างความเบื่อหน่ายทุกข์ให้เกิด จนจิตคลายจากอารมณ์กำหนัดในการเกาะทุกข์นั้น ๆ ลงได้ในที่สุด"

๓. "บุคคลผู้มองไม่เห็นทุกข์ ก็มักจักไม่ยอมรับว่าทุกข์นั้นมีจริง เป็นของจริงที่สิงอยู่ในจิตของผู้มากด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม จึงทำให้มีอารมณ์กำหนัด ไปยึดมั่นถือมั่นในทุกข์ที่เกิดจากไฟโมหะ โทสะ ราคะ นั้น ๆ"

๔. "เมื่อมองไม่เห็นทุกข์ จิตจึงไม่ยอมวางทุกข์ ตกเป็นทาสของอารมณ์ ด้วยไม่เห็นของจริงอันเป็นกฎของธรรม (กรรม) หรืออริยสัจนั้น ๆ"

๕. "จงอย่าประมาทในธรรมเป็นอันขาด พวกเจ้าจงจำเอาไว้เผลอมากเท่าไหร่ประมาทมากเท่านั้น"

๖. "ดูอารมณ์ของจิต ให้คงไว้ในพระกรรมฐานให้มากที่สุดเท่าที่จักมากได้"

๗. "เวลานี้พวกเจ้าประหนึ่งกำลังทำสงครามยื้อแย่งพื้นที่ของจิต โลกธรรมหรือ โลกียวิสัย มันครอบครองจิตของเจ้ามานาน ต้องหมั่นพยายามสร้างเสริมกองทัพธรรม หรือโลกุตระวิสัยให้เกิดขึ้นในพื้นที่ของจิตให้มากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อเป็นการขับไล่ กองทัพโลกียวิสัยนั้นให้ถอยออกไปจากจิตให้ได้มากที่สุด"

๘. "อย่าเผลอให้บ่อยนัก กิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรมมันเหมือนครอบครองเป็นเจ้าถิ่นอยู่ มันก็จักยึดทำเลพื้นที่ของจิตได้อย่างชำนาญเกมการรบ พวกเจ้าต้องดูอารมณ์จิตไว้ให้ดี ๆ อดทนกัดฟันต่อสู้กับเจ้าถิ่นเดิม ด้วยการเกาะอารมณ์พระกรรมฐานเข้าไว้อย่างแนบแน่น เผลอให้น้อยที่สุด สักวันหนึ่งชัยชนะก็จักเป็นของพวกเจ้า"

ภาพจักชัดหรือไม่ชัดไม่สำคัญ
ขอให้ใช้อารมณ์ปักตรงต่อพระนิพพานก็แล้วกัน

เมื่อวันอังคารที่ ๒๐ ก.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนไว้ดังนี้

๑. "ร่างกายยิ่งเหนื่อยมากเท่าไหร่ ก็สมควรจักยิ่งซ้อมตาย ทิ้งร่างกายมากขึ้นเท่านั้น"

๒. "อารมณ์จับภาพพระนิพพาน แม้จักไม่แจ่มใสตามปกติ ก็จงพยายามกำหนดจิตขึ้นมาอยู่บนวิมานแห่งนี้ ภาพจักชัดหรือไม่ชัดไม่สำคัญ ขอให้ใช้อารมณ์ปักตรงต่อพระนิพพานก็แล้วกัน"

๓. "กิจการงานที่เจ้าทำ ก็ถือได้ว่าเป็นกิจพระพุทธศาสนา จงมีความภูมิใจ หากร่างกายมันจักตายลงในขณะเหน็ดเหนื่อยในหน้าที่การงานนี้ ก็ถือว่าเพื่อพระพุทธศาสนา จักตายครั้งสุดท้ายเพื่อพระนิพพาน หรือเพื่อความไม่เกิดไม่ดับอีก"

๔. "อย่าทำงานเหนื่อยแล้วทำจิตให้บ่น ทำเช่นนั้นเจ้าจักขาดทุน การบ่นเป็นอารมณ์ปฏิฆะ จัดเป็นอารมณ์ไม่พอใจ จงดูและกำหนดรู้ให้ดี ๆ จึงจักละซึ่งอารมณ์กามฉันทะ และปฏิฆะได้"

๕. "พยายามละอารมณ์บ่นให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจักเป็นมโนกรรมหรือวจีกรรม บ่นเมื่อไหร่ถือว่าเจ้าพ่ายแพ้ต่ออารมณ์ปฏิฆะเมื่อนั้น เวลานี้รบกับอารมณ์ จักต้องตั้งใจต่อสู้กับอารมณ์ของจิตให้ดี ๆ ไม่ใช่สู้แบบไม่รู้จักหน้าค่าตาของศัตรู จักถูกเขาเอาดาบฟันตายอยู่รอมร่อแล้ว ยังมองไม่เห็นภัยของศัตรูอีก"

๖. "แยกแยะอารมณ์ให้ถูกตลอดวัน ตลอดเวลา อย่าเผลอ จักบอกว่าไม่รู้ไม่ได้ อารมณ์ของตน ตนเองไม่รู้ แล้วจักให้ใครที่ไหนช่วยรู้ได้ เมื่อรู้เองไม่ได้ ก็แก้ไข อารมณ์จิตของตนเองไม่ได้เหมือนกัน ชาตินี้ทั้งชาติเจ้าอย่าหวังได้พระอนาคามีผล ก็ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป อย่างนี้จักดีหรือ"

๗. "กลัวการเกิดให้มาก ๆ อย่ากลัวความตาย อย่ากลัวความเหนื่อย อย่ากลัวความเจ็บไข้ได้ป่วย เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นอริยสัจ เป็นทุกขสัจของการมีอัตภาพร่างกายเป็นกฎของธรรมดา"

๘. "จงกำหนดจิตยอมรับกฎของธรรมดาหรืออริยสัจนี้เป็นชาติสุดท้าย ให้รู้จักเข็ดทุกข์อยู่ในจิต ไม่ขอกลับมาเกิดให้พบทุกข์เยี่ยงนี้อีก"

๙. "อย่าบ่นเมื่อทุกข์มาเยือน อย่าลิงโลดเมื่อสุขทางโลกมาเยือน จงพยายามทรงอารมณ์จิต ให้เบื่อหน่ายในอารมณ์กามฉันทะและปฏิฆะนั้น ๆ และทรงพรหมวิหาร ๔ ให้จิตมีกำลัง วางทุกข์ วางสุขนั้น ๆ โดยมีความรัก ความสงสารจิตของตนเองเป็นประการสำคัญ"

๑๐. "หมั่นทรงอารมณ์เฉยเข้าไว้ ใหม่ ๆ เฉยบ้าง ไหวบ้าง ก็อย่าท้อแท้ใจ เฉยน้อย ๆ จักเป็นเฉยใหญ่ได้ในภายภาคหน้า จนกระทั่งเข้า สู่สังขารุเบกขาญาณในที่สุด"

๑๑. "อย่าลืมนึกถึงความตายเข้าไว้เสมอ ๆ เป็นการตัดอารมณ์กามฉันทะและปฏิฆะเข้าไว้ หากเจ้าคิดว่าร่างกายจักตายในขณะจิตนี้เสียอย่าง อารมณ์ก็จักระงับได้ง่าย เพราะมัวแต่ตกเป็นทาสของอารมณ์ ตายไปก็ไม่ถึงพระนิพพาน"

๑๒. "อย่าลืมคิดตามนี้ให้จิตมันชิน จักได้คลายความประมาทในธรรมที่เข้ามากระทบลงได้"

ให้เลิกบ่น เพราะเป็นอารมณ์ปฏิฆะ

เมื่อวันพุธที่ ๒๐ ก.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงเมตตามาสอนให้ดังนี้

๑. "ให้เลิกบ่น เพราะเป็นอารมณ์ปฏิฆะ (เพื่อนผมท่านคิดว่า น่าจะให้คุณหอมคอยเตือนด้วยเวลาบ่น) หลวงพ่อก็มาบอกว่า เอ็งมันต้องเตือนตัวเอง มันถึงจะจำ ไปให้คนอื่นเขาเตือน จิตมันไม่จำหรอก ทุกอย่างต้องพึ่ง อัตตนาโจทยัตตานัง เตือนตนเองทั้งนั้น อารมณ์ของตนมันชั่วหยุดไว้ไม่อยู่ แล้วใครที่ไหนจะมาช่วยหยุดได้"

๒. ทรงตรัสว่า "ในเมื่อเจ้ากำหนดรู้ได้ว่าอารมณ์ใดเป็นอารมณ์ที่ตกเป็นทาสของนิวรณ์เข้ามารบกวน ก็จงหมั่นระงับนิวรณ์นั้นในทุกครั้งที่กำหนดรู้ว่ามีอารมณ์ในขณะจิตนั้นลงด้วยเถิด"

๓. "ต้องทำการระงับให้บ่อย ๆ จักได้มีสติรู้เท่าทันอารมณ์ของจิตที่ตกเป็นทาสของนิวรณ์เข้ารบกวน ระงับได้มากเท่าไหร่ ผลของการปฏิบัติจักได้มากขึ้นเท่านั้น"

๔. "อารมณ์ใดที่เกิดกับจิต เจ้าต้องหมั่นกำหนดรู้ อย่าคิดปล่อยอารมณ์ไป โดยคิดว่า ไม่เป็นไร นั่นคือการประมาทในธรรมโดยแท้"

๕. "โดยเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์หลง ที่คิดว่าไม่เป็นไร เรายังจักไม่ถึงที่ตาย แล้วเที่ยวส่งจิตไปว่าคนนั้นคนนี้ ตำหนิกรรมของผู้อื่นไปตามความไม่ชอบใจ สรรเสริญคนโน้นทีไปยุ่งก้าวก่ายกับกฎของกรรมของผู้อื่น"

๖. "มัวแต่มีอารมณ์ยินดี ยินร้าย ในกรรมของบุคคลอื่น ทำให้เสียผลของการปฏิบัติ เขาดีหรือเขาเลวก็ไม่ได้มาช่วยให้จิตของเจ้าดีขึ้น ถ้าหากละเลยไม่สนใจผลของการปฏิบัติ มัวแต่มองผลของกรรมของบุคคลอื่น สังขารุเบกขาญาณก็เกิดขึ้นได้ยาก"

๗. "อย่าลืม อารมณ์ใครก็ไม่สำคัญ สำคัญที่อารมณ์จิตของเรา พยายามดูอารมณ์ของตนเองเข้าไว้เป็นสำคัญ"

๘. "อารมณ์คนอื่นดูแล้ว ละไปจากอารมณ์ของเราโดยเร็ว ให้ลงตัวปกติในธรรมของบุคคลนั้นๆ อย่าใช้อารมณ์ของเราเข้าไปปรุงแต่งธรรม มันจักทำให้อารมณ์จิตของเราเสีย ทำให้เกิดอารมณ์ตำหนิกรรม ไม่มากก็น้อย"

๙. "จงระมัดระวังให้มาก ดูอารมณ์จิตตรงนี้เอาไว้ให้ดี ๆ ที่เอาดีกันไม่ค่อยจักได้ ก็เพราะมัวแต่สนใจอารมณ์ของบุคคลอื่นนี่แหละ"

๑๐. "ขาดอุเบกขารมณ์เป็นสำคัญ พรหมวิหาร ๔ ขาดตัวปลายอีก ๓ ตัว กำลังก็ยังอ่อน เจ้าจงหมั่นพยายามเจริญพรหมวิหาร ๔ ให้มาก ไม่ใช่ท่องจำ ต้องหมั่นเอามาคิดพิจารณาทุกครั้งที่จิตเสวยอารมณ์ที่เบียดเบียนตนเอง ต้องรู้ด้วย - จำด้วย และทำด้วยในพรหมวิหาร ๔ อย่าจำแค่ตัวหนังสือ จักหาผลได้ยาก พรหมธรรมทำไม่ได้ ก็เป็นพระอนาคามีไม่ได้ จักหวังอะไรกับพระอรหัตผล"

๑๑. "จงหมั่นทำไป อย่าละความเพียร และห้ามบ่นท้อแท้ด้วย กิเลสมันไหลออกมาทางวาจา ยิ่งบ่นยิ่งเพิ่มอารมณ์ จักมีประโยชน์อันใด เลิกจริยานี้เสียที"


รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2011, 18:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 18:31
โพสต์: 292


 ข้อมูลส่วนตัว


จิตเหมือนเด็ก ชอบของเล่นใหม่ ๆ และวิธีแก้ไข




ในวันต่อมา พฤหัสบดีที่ ๒๒ ก.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตา มาสอนไว้ดังนี้

๑. "สภาพของจิตมันจักตื่นเต้นกับงานชิ้นใหม่ ๆ จิตฟุ้งไม่รู้จักหยุด เช่นเดียวกับการเจริญพระกรรมฐาน หากได้ภาพกสิณใหม่ ๆ เจ้าก็มักจักชมชอบ เล่นอยู่อย่างนั้น แต่พอไประยะหนึ่ง จิตก็จักคลายจากอารมณ์การชมชอบนั้น งานก็เช่นกัน สักระยะหนึ่งก็จักลงตัวเบื่อหน่าย นี่หากเจ้าสามารถเบื่อกิเลสได้เยี่ยงนี้บ้าง ก็จักดีมาก" (เพื่อนของผม ท่านบอกว่ารู้สึกอายท่าน ที่ตนมักเบื่อจากความดี ไปเกาะความไม่ดีอยู่เสมอ เพราะไม่รู้จักเบื่อกิเลส)

๒. ทรงตรัสว่า "หากจักกล่าวไปตามความเป็นจริงแล้ว งานทุกอย่างไม่ใช่ของใหม่ ในชาติก่อน ๆ เจ้าก็เคยทำงานเหล่านี้มาแล้ว และบุคคลอื่น ๆ ก็เคยทำงานเหล่านี้มาแล้ว ชีวิตร่างกายมันหายไป ก่อนที่งานเหล่านั้น มันก็จักหายไปบ้าง จิตมันก็หลงวนเวียนติดงาน กลับมาเกิดแล้วทำอีก ชอบบ้าง-เบื่อบ้าง-หลงบ้างอยู่เยี่ยงนี้ ตลอดกาลตลอดสมัย"

๓. "กิเลสก็เช่นกัน ก็เป็นกิเลสตัวเก่า ไม่มีอะไรนอกเหนือไปกว่าโมหะ - โทสะ - ราคะ แต่จิตไม่รู้เท่าทันจึงหลงติดอยู่ในบ่วงกิเลส ยังอารมณ์ให้เกิดชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้าง อยากบ้าง แต่ไม่รู้จักเบื่อจริง ๆ เพื่อคลายกำหนัดในกิเลสทั้งปวง"

๔. "นี่เป็นเพราะเจ้าไม่รู้เท่าทันอารมณ์ของจิต รู้ไม่เท่าทันสภาวะของไตรลักษณญาณ จึงได้ตื่นเต้นอยู่กับของใหม่ ๆ อยู่เรื่อย แม้จักเป็นวิหารทานก็ตาม ภาพกสิณก็ตาม อย่าตื่นหลงของใหม่ จนหลงลืมความตาย"

๕. "มรณะภัยที่จักมาเยือนได้ทุกขณะจิต ระงับความฟุ้งซ่านไม่อยู่ ก็เท่ากับประมาท เพราะอารมณ์จิตไม่เกาะพระนิพพานเข้าไว้ จิตมีกิเลสโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อยากให้ภาพกสิณนั้นมันทรงตัวอยู่เช่นนั้นตลอดไป ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ทุกอย่างเกิด-ดับเป็นปกติ"

๖. "บุคคลผู้ฉลาดนำภาพกสิณเกิด-ดับมาพิจารณาเป็นวิปัสสนา จนอารมณ์จิตสบาย แล้วจึงกำหนดอานาปานัสสติ ขึ้นมาใหม่ และกำหนดภาพกสิณขึ้นใหม่ ทำอยู่เยี่ยงนี้จึงไม่รู้จักเบื่อในภาพกสิณนั้น ๆ"

๗. "งานก็เช่นกัน ที่เจ้าฟุ้งอยู่นี้ เพราะใช้จิตทำงานไปล่วงหน้า ซึ่งงานเหล่านี้ต้องอาศัยร่างกายเป็นตัวทำ โดยมีจิตบงการอยู่เบื้องหลัง ทำงานให้มีสติอยู่กับงานเฉพาะหน้าเท่านั้น จิตจึงจักเป็นสุข ไม่เบื่องาน อย่าวาดแผนงานไปในอนาคต จงอยู่กับงานปัจจุบัน จิตก็จักไม่ฟุ้งซ่าน ตรัสมาถึงตรงนี้ เจ้าเห็นสาเหตุของอารมณ์ที่เกิดหรือยัง" (ก็รับว่าเห็นแล้ว) ทรงตรัสว่า "อะไรเป็นสาเหตุหรือ" ตอบ "ความใจร้อน"

๘. "ใช่ ตัวนี้แหละที่ทำให้อารมณ์ของเจ้าเสีย ทั้งงานทางโลกและทางธรรม มรรคยังไม่ทันเดินก็ครุ่นคิดไปถึงผลเสียแล้ว เมื่อใจร้อนงานทุกอย่างย่อมมีขั้นตอน ก็เสร็จไม่ทันใจเจ้า ทั้งงานทางโลกและงานทางธรรม อารมณ์ท้อแท้เบื่อหน่ายก็เกิดขึ้น เจ้าเห็นจุดด่างพร้อยของจิตจุดนี้หรือยัง" (ก็รับว่าเห็นแล้ว)

๙. "เมื่อเห็น ก็จงหมั่นแก้ไข กำหนดรู้ลมหายใจให้มาก ๆ อารมณ์จักได้ไม่ฟุ้งซ่านไปในธรรมอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ค่อย ๆ ทำไปอย่าใจร้อน เตือนจิตตนเองเอาไว้ให้ดี ๆ ละอารมณ์นี้ไม่ได้ ก็เอาดีไม่ได้เช่นกัน สาเหตุนี้คือต้นเหตุของอารมณ์เบื่องานทั้งทางโลกและทางธรรม เจ้าจงหมั่นแก้ไข"

๑๐. "หมั่นพิจารณาพรหมวิหาร ๔ ซึ่งเป็นกรรมฐานซึ่งทำให้จิตเยือกเย็น สลับกันไปกับภาพกสิณพระ โดยอาศัยอานาปานัสสติ เป็นพื้นฐาน ทำให้จิตทรงตัว และจงหมั่นคิดถึงความตาย กับความประมาทเข้าไว้เสมอ ๆ"

๑๑. "จงพยายามพิจารณาให้เห็นสภาพที่แท้จริงของร่างกาย นอกจากความเสื่อมและสกปรกแล้ว มันยังตายได้ทุกขณะจิต"

๑๒. "และจงคิดอยู่เสมอ งานทางโลกและกิเลสก็ดี เราจักเพียรทำไปตามหน้าที่ งานทางโลกทำไป การเพียรละกิเลสก็ทำไป"

๑๓. "กำหนดรู้ว่างานและกิเลสไม่ใช่ของใหม่ ล้วนแต่เป็นของเก่า ที่เราพบมาแล้วอย่างจำเจ ควรทำจิตให้พ้นเสียที อย่าผูกพันกับมันให้มากนัก"

๑๔. "งานทางโลกรู้ สักแต่ว่ามีร่างกายก็ต้องทำมันไป กิเลสที่เข้ามากระทบก็รู้ สักแต่ว่ามีร่างกายมันก็ต้องกระทบเป็นธรรมดา จิตพร้อมที่จักปล่อยวางงานทางโลก เมื่อร่างกายมันพังลงไปก็ตาม อย่าเอาจิตไปผูกพัน ให้ศึกษาอารมณ์จิตเอาไว้ให้ดี ๆ" (จุดนี้เท่ากับซ้อมตาย และพร้อมที่จะตายอยู่เสมอ)

ศรัทธาคือขุมทรัพย์อันยิ่งใหญ่ในพุทธศาสนา


เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๖ ก.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนไว้ดังนี้

๑. "จงหมั่นสร้างความศรัทธาและเลื่อมใสในธรรมให้เกิดแก่จิตของตนเองเข้าไว้ ด้วยการพิจารณาเห็นคุณประโยชน์ของสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน จักได้มีกำลังเสริมสร้างอิทธิบาท ๔ ให้เข้มข้นขึ้นในจิต และจักเห็นคุณค่าของพระธรรมนั้น ๆ"

๒. "ตถาคตและพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ก็ต่างอาศัยความศรัทธาและเลื่อมใสเป็นกำลัง พิจารณาวิโมกขธรรม และนำ ธรรมนั้นไปสอนแก่ผู้มีศรัทธาและเลื่อมใสเท่านั้น มรรคผลจึงจักเกิดขึ้นได้"

๓. "เพราะฉะนั้น เจ้าจงศึกษากำลังศรัทธา และเลื่อมใสของจิตที่มีต่อพระธรรมให้ดี ๆ และดูศึกษากำลังศรัทธาและเลื่อมใสในพุทธศาสนาของบุคคลภายนอกด้วย อย่าขัดศรัทธา หรือทำลายความเลื่อมใสของเขาเป็นอันขาด จงส่งเสริมและสนับสนุนบุคคลเหล่านั้น เพื่อเป็นกำลังให้พระศาสนาต่อไป"

ข้อคิดจากพระธรรม

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ก.ค. ๒๕๓๖ มีข้อคิดจากพระธรรมดังนี้

๑. ศูนย์ปฏิบัติพระกรรมฐาน มี ๒ แห่ง คือ ภายนอกกับภายใน ภายนอก หมายถึงศูนย์ทั่ว ๆ ไป ส่วนใหญ่อยู่ตามวัดและบ้านคน รวมทั้งสถานที่ต่าง ๆ ที่สมมุติขึ้นมา ภายใน มีอยู่ที่จิตของเราทุก ๆ คน คือ จิตตานุปัสสนามหาสติปัฎฐาน ท่านแนะให้ดูอารมณ์ของจิตตนเองอย่างเดียว จุดนี้แหละคือศูนย์การปฏิบัติพระกรรมฐานที่แท้จริง ที่พระพุทธเจ้าต้องการให้พวกเราปฏิบัติ เพราะมีอยู่แล้วทุก ๆ คนที่ตัวเรา ทรงหมายถึงกายกับจิต พระพุทธองค์ทรงตรัสสอน ๘๔,๐๐๐ บท ก็ล้วนอยู่แค่กายกับจิตเท่านั้น จึงเสมือนเรามีตู้พระไตรปิฎกอยู่แล้วทุกคน แต่ขาดปัญญาที่จะศึกษาปฏิบัติให้พบความจริง คือ อริยสัจ เท่านั้น

๒. จุดมุ่งหมายของศูนย์นี้ ก็เพื่อมุ่งตัด สักกายทิฎฐิ ซึ่งแปลว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับร่างกาย ตัดได้ก็จบกิจในพุทธศาสนา

๓. วิธีปฏิบัติ ก็มุ่งตรงตัดด้วย ศีล สมาธิปัญญา (อริยมรรค ๘) ทาน ศีล ภาวนา (ปฏิบัติบูชา) และโอวาทปาฏิโมกข์ (ละชั่ว ทำดี ทำจิตให้ผ่องใสอยู่เสมอ) สิ่งใดที่ขัดต่อหลักปฏิบัติดังกล่าวแล้ว จงอย่าทำ

๔. จงพร้อมอยู่ในความไม่ประมาทตลอดเวลาเผลอเมื่อไหร่ประมาทเมื่อนั้น
ก็ขอจบสั้น ๆ แค่นี้ เพราะรายละเอียดมีมากสุดประมาณ แค่ไม่ประมาทอย่างเดียวก็จบพระไตรปิฎกแล้ว

การระงับอารมณ์ฟุ้งซ่าน และวิตกจริต

เมื่อวันเสาร์ที่ ๓๑ ก.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตามาตรัสสอนเพื่อผม ดังนี้

๑. "การวิตกกังวลทำให้สติสัมปชัญญะบกพร่อง เจ้านึกอยู่แต่ว่าจักทำงานโน้น งานนี้ จิตถูกส่งไปตามงานที่คิด จึงลืมงานปัจจุบันไปเสียสนิท"

๒. "งานบางอย่างไม่ควรที่จักนำมาคิดล่วงหน้า ควรแก้ไขอยู่แต่ในธรรมปัจจุบัน คิดแก้ไขหรือวางแผนไปล่วงหน้า รังแต่จักเสียอารมณ์ เจ้าต้องหัดวางอารมณ์ฟุ้งซ่าน เรื่องงานภายนอกทิ้งไปในขณะที่เวลานั้นเป็นชั่วโมงเจริญพระกรรมฐาน ต้องทำงานภายใน เป็นการระงับนิวรณ์ ๕ ซึ่งต้องระงับกันอยู่ตลอดเวลา ในเวลาก็ต้องระงับ นอกเวลาก็ต้องระงับ รู้ตัวหรือไม่ว่าฟุ้งซ่านมากไป"

๓. "นี่เป็นเพราะเจ้าลืมลมหายใจเข้าออก จิตจึงไม่มีกำลังบังคับอารมณ์ สติสัมปชัญญะจึงเสื่อมทรามลงไป อารมณ์ที่คิดไปล่วงหน้า และหมกมุ่นอยู่กับเรื่องที่ผ่านไปเบื้องหลัง จักต้องหมั่นสลัดทิ้งไป ต้องแก้ไขอารมณ์เหล่านี้ลงให้ได้ มิฉะนั้นการเจริญพระกรรมฐานจักไม่มีผลเท่าที่ควรจักได้"

๔. "พยายามให้จิตคิดอยู่เสมอว่า ถ้าฟุ้งซ่านอยู่อย่างนั้นมันจักตายหรือไม่ตาย เกิดตายในขณะฟุ้งซ่าน ก็เท่ากับเสียท่ากิเลส ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิด อยู่ในหน้าที่การงานอย่างนี้อีก"

๕. "เหนื่อยหรือไม่เหนื่อย คำว่าการมีขันธ์ ๕ แล้ว จักไม่เหนื่อยนั้นไม่มี เจ้าต้องการจักไม่มีขันธ์ ๕ อีก ก็จงหมั่นระงับอารมณ์ฟุ้งซ่านนี้ทิ้งไป"

๖. "ดอกสว่านหักก็จงเคารพในความไม่เที่ยงของฝีมือของเจ้าของเอง ธรรมะเหล่านี้เป็นของธรรมดา มิพึงจักนำมาคิดให้ฟุ้งซ่าน เรื่องคุณปอจักเอาของมาให้ ก็เป็นเรื่องของอนาคตซึ่งไม่เที่ยง ชีวิตของเจ้าทั้งสอง คนใดคนหนึ่งอาจจักแตกดับก่อนที่อนาคตนั้นจักมาถึงก็เป็นได้ ใยจึงไปคิดให้ฟุ้งไกลนักเล่า และจงอย่าขัดศรัทธาของคน จงทำตนให้เป็นผู้รับที่ดี สิ่งใดควรรับก็รับ ควรจ่ายให้ทานก็จงจ่าย สิ่งใดรับไม่ได้จักเป็นโทษ ก็ชี้แจงเขาไปโดยตรง บุคคลทั่วไปย่อมมีเหตุผลของตนเอง หากเจ้าชี้แจงเหตุผลให้เขาฟัง เขาย่อมจักเข้าใจ อย่าวิตกให้ไกลเกินไป"

๗. "ต้นเหตุจากมีคนจะเอาของมาให้ใช้ส่วนตัวมากเกินเหตุ เพราะไม่เห็นทุกข์หรือปัญหาที่จะพึงเกิดขึ้นภายหลัง จิตจึงฟุ้งซ่าน ทรงตรัสว่า เป็นของธรรมดา ธรรมของตถาคตมิใช่ของเนิ่นช้า (จะ) ละสิ่งใด สิ่งนั้นจักมากระทบจิต เพื่อทดสอบอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ยินดีก็แพ้ต่อกิเลส ยินร้ายไม่พอใจก็แพ้ต่อกิเลส ตถาคตจึงจักกล่าวว่าให้ชี้แจงเหตุผลให้เขาทราบ รักษาอารมณ์ใจให้เป็นกุศล เพื่อประโยชน์สุขของผู้ให้ทาน เขาจักได้รับผลใหญ่ด้วยจิตของเจ้าที่เป็นกุศลนั้น"

๘." เรื่องอาหารการกินก็เช่นกัน เจ้าเห็นทุกข์เห็นโทษ ตามที่ตถาคตและทุกองค์ตลอดจนท่านฤๅษีเฝ้าพร่ำสอน แต่เจ้าจักให้บุคคลอื่นเห็นทุกข์ เห็นโทษของการบริโภคอาหารเหมือนกับเจ้านั้นย่อมเป็นไม่ได้ เพราะฉะนั้น จงดูเจตนาที่เขาหวังดีกับเจ้าเป็นสำคัญ"

๙. "บุคคลผู้ยังเกาะติดอยู่ในกายมาก ก็ย่อมคิดที่จักบำรุงกายนั้นเพื่อให้ทรงอยู่ตลอดเวลา นี่เป็นเรื่องธรรมดาของผู้ที่เขาห่วงกายเรา จึงเฝ้าบำรุงบำเรอ คิดว่ามันจักทรงตัว นี่เป็นความดีของเขาที่มีเมตตาต่อร่างกายเจ้า นั่นเป็นธรรมดาของเขาที่เจ้าควรจักยอมรับกฎของธรรมดานั้น"

๑๐. "มาศึกษาทางด้านจิตของเจ้าเอง กลับมาคิดมากจนขาดเมตตาจิตของเจ้าเอง เอามาเป็นอารมณ์ฟุ้งหาจุดลงไม่ได้ นี่เป็นโทษใหญ่ แม้ทั้ง ๆ ที่รู้ว่ากายนี้ไม่ใช่เรา แต่กายนี้มันก็ยังทรงอยู่ในปัจจุบัน การต้องการบริโภคอาหารก็ยังมีอยู่เป็นปกติของผู้ยังมีกายอยู่ ก็เป็นกฎธรรมดาอีกนั่นแหละ"

๑๑. "แม้เจ้าจักพยายามละกามคุณอยู่ แต่ควรกำหนดรู้ว่า การมีร่างกายก็ยังจักต้องเกี่ยวข้องอยู่กับกามคุณ ๕ การละต้องดูอารมณ์จิตเป็นสำคัญ อย่างกรณีอาหารและเครื่องอุปโภคที่เขาจักนำมาให้ ก็จงดูอารมณ์ของใจเป็นสำคัญ ถ้าหากยังฟุ้งอยู่ด้วยความยินดีหรือไม่ยินดี ก็นับว่าอารมณ์ยังเลวอยู่ ขาดเมตตาต่อจิตของตนเอง จึงยังอารมณ์ให้หวั่นไหวอยู่ และอารมณ์นั้นก็สร้างทุกข์ให้เกิด อย่างนี้เสียผลของการปฏิบัติหรือไม่" (ก็รับว่าเสียหาย)

๑๒. "การคิดให้สับสน นำเรื่องโน้นเรื่องนี้เข้ามาหลายเรื่อง ทำให้อารมณ์จิตวุ่นวาย หาความสงบมิได้ จุดนี้ขอให้เจ้าพิจารณาให้ดี ๆ อย่าสักแต่ว่าเรื่องภายนอก แม้กระทั่งธรรมภายในก็เช่นกัน จับโน่นวางนี่ กรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง หากไม่ขึ้นต้นด้วยอานาปานัสสติให้ทรงตัวเสียก่อนแล้ว จิตเจ้าก็ไปคว้าหมวดโน้นนิด หมวดนี้หน่อย ก็ทำให้อารมณ์จิตสับสนวุ่นวาย สุดท้ายก็เอาอะไรดีไม่ได้"

๑๓. "ธรรมะไปสายเดียวกันก็จริงอยู่ เอโกธัมโมนั้นถูกต้อง แต่จิตของเจ้าไม่ฉลาดพอ จึงไม่รู้เท่าทันอารมณ์ จับโน่นนิดคิดนี่หน่อย เลยฟุ้งไปเสียก่อนที่จักได้ดี ปรับอารมณ์ตรงนี้เสียใหม่ พยายามบังคับจิตให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ควบสมถะภาวนากองใดกองหนึ่งให้ถึงที่สุดเสียก่อนทุกครั้ง จิตจักได้มีกำลังต่อสู้กับกิเลส มิฉะนั้นเจ้าก็ต้องย่ำเท้าอยู่อย่างนี้ หาความก้าวหน้าในมรรคผลของการปฏิบัติไม่ได้"

๑๔. "ตั้งใจให้จริง อย่าทิ้งความตั้งใจทำจริง เพื่อมรรคผลนิพพานเป็นสำคัญ ต้องจดจำเอาไว้เสมอ จักได้พ้นทุกข์ของจิตเสียที อย่าลืม สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ควรยึดว่าเป็นเราเป็นของเรา ถ้าอยากให้อารมณ์จิตเป็นสุขและไม่ฟุ้งซ่าน จงอยู่ในธรรมปัจจุบัน อย่ายุ่งกับธรรมในอดีตและธรรมในอนาคต อย่าจับปลาหลายตัว ให้จับทีละตัวแบบกรรมฐาน ๔๐ ทำให้ดีที่สุดกองเดียวก่อน"


รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2011, 18:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 18:31
โพสต์: 292


 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญวิปัสสนาขาดทุน





เมื่อวันพุทธที่ ๓ พ.ย. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ ไว้ดังนี้

๑. "อย่าฝืนสังขาร ถ้าหากร่างกายเพลียจนเกินไป แม้เป็นเวลาเจริญพระกรรมฐาน ก็ให้ร่างกายได้พัก แต่กำหนดจิตพักอยู่บนพระนิพพานไปด้วย ปลงมรณานุสสติไว้ให้ดี เพราะหากร่างกายเพลียมาก ยิ่งฝืนเท่าไหร่ อารมณ์กลุ้มก็จักเกิดมากขึ้นเท่านั้น จำจักต้องโอนอ่อนผ่อนตามร่างกายบ้างในบางขณะ อย่าเบียดเบียนร่างกายจนเกินไป การเจริญพระกรรมฐานจักไม่เป็นผล เพราะเป็นอัตตกิลมถานุโยค" (ตึงหรือเครียดเกินไป)

๒. "การพักผ่อนไม่พอ แล้วฝืนปฏิบัติธรรมจักให้ได้ดั่งใจนั้น ทำคนให้จิตฟั่นเฟือนมามากแล้ว เพราะไม่รู้จักคำว่าพอดี คำว่าพอดีไม่ใช่ทำมาก ๆ โดยไม่คำนึงถึงร่างกาย หากแต่คำว่าพอดี คือ ทำพอสมควรให้สบายทั้งจิตและร่างกาย ทำน้อยแต่ผลมาก ไม่ใช่ทำมากแต่ได้ผลน้อย ดูอารมณ์จิตเอาไว้ให้ดี หากเจริญกรรมฐานแล้วปลอดโปร่งเบาสบายใช้ได้ แต่ถ้าหากทำแล้วอารมณ์จิตเครียด มีความหนัก กลัดกลุ้มงุ่นง่านอย่างนี้ใช้ไม่ได้ ต้องวางอารมณ์ให้ถูก"

๓. "ตัวอย่างเช่น หากเจริญสมถะภาวนา รู้ลมเข้าออก จักได้ฌานใดก็ตาม ให้พอใจตามนั้น อย่าไปกำหนดว่าจักต้องได้เหมือนกันทุกครั้ง อารมณ์ฌานย่อมไม่เที่ยง บางวันก็ได้ปฐมฌาน บางวันตกต่ำมา แค่ขณิกะสมาธิ บางวันได้ถึงฌาน ๒-๓-๔ จิตจักต้องพอใจในผลที่ได้ในแต่ละครั้งเสมอ โดยยอมรับความไม่เที่ยง ซึ่งเป็นปกติของฌานอยู่เสมอ ซึ่งความสันโดษเยี่ยงนี้จักทำให้จิตเป็นสุข เพราะยอมรับในกฎธรรมดานี้ หรืออย่างวิปัสสนาภาวนา ยกตัวอย่างเช่นพิจารณา กายคตาหรือ มรณานุสสติ กองใดกองหนึ่ง เห็นทุกข์ของความไม่เที่ยงนั้น หากจิตเกาะทุกข์ไม่ยอมปล่อย ก็เท่ากับไม่ยอมรับความปกติของความไม่เที่ยงอันทำให้เกิดทุกข์นั้น จิตก็จักเกิดความกลัดกลุ้มในการฝืนสภาวธรรมนั้น อย่างนี้เรียกว่าเจริญวิปัสสนาขาดทุน"

๔. 'หากจักให้เป็นสุข ก็คือ เมื่อพิจารณาถึงความไม่เที่ยงที่เป็นทุกข์ของร่างกายแล้ว จิตคลายความยึดเกาะความทุกข์นั้น เพราะยอมรับนับถือความเป็นจริงของร่างกายว่า นอกจากสกปรกและจักต้องตายแล้ว ร่างกายนี้มันไม่ใช่ของเรา ไม่มีในเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายนี้เมื่อตายแล้วจิตเราก็จักต้องโคจรจากไป หากคิดถึงความหวังที่จักพ้นทุกข์เมื่อร่างกายนี้ได้ตายไปแล้ว ให้ตั้งความหวังไว้ยังพระนิพพานจุดเดียว พิจารณาตามนี้จิตก็จักเป็นสุข"

๕. "เมื่อร่างกายนี้ยังไม่ตาย ก็ตั้งใจละอารมณ์ชั่วให้ออกจากจิตตามคำสั่งสอนที่ตรัสมาโดยตลอดอย่างตั้งใจจริง นี่เป็นวิปัสสนาที่กำไรทุกครั้ง เจ้าพึงจำหลักสันโดษเข้าไว้ และจำหลักไม่เบียดเบียนร่างกายและจิตเข้าไว้"

๖. "ปกติร่างกายเบียดเบียนเจ้ามากอยู่แล้ว อย่าเอาอารมณ์จิตเราไปเบียดเบียนร่างกายและจิตของตนอย่างไม่รู้เท่าทันเลย หลักมัชฌิมาปฏิปทา จดจำและปฏิบัติกันเอาไว้ให้ดี ๆ"

นินทาและสรรเสริญ เหมือนสาดน้ำเข้าใส่กัน

เพื่อนของผมท่านฝันว่า ตนและผู้ปฏิบัติธรรมหลายคนกำลังถือขันน้ำ เพื่อรอ จะสาดใส่ผู้อื่นให้เปียก แต่รออยู่พักหนึ่งก็ไม่รู้สึกสนุกตามเขา ก็เดินหลีกไปทางอื่นทั้ง ๆ ที่มีคนชักชวนให้เล่นสาดน้ำกันต่อ แต่ก็ไม่สนใจ พระพุทธองค์ก็ทรงพระเมตตามาตรัสสอนให้ดังนี้

๑. "นิมิตนั้นหมายความว่า นินทาและสรรเสริญเหมือนสาดน้ำเข้าใส่กันไม่เป็นเรื่อง เจ้าจักตระหนักถึงธรรมนี้ได้ดีว่าหาสาระมิได้ ใครชมว่าดีแต่จิตเรายังไม่ดีก็หาได้ดีตามคำชมนั้น ใครด่าว่าเลว ถ้าจิตเราไม่เลวไปตามเขาด่า ก็มิจำเป็นต้องเดือดร้อนแต่ประการใด"

๒. "การมีร่างกายอยู่ในโลก ย่อมหนีโลกธรรมไปไม่ได้ เขานินทา สรรเสริญ เราได้ก็ตรงมีร่างกายนี้ หากเอาจิตไปผูกพันคำติ คำชม ก็เท่ากับหลงยึดมั่นถือมั่นว่า ร่างกายนี้เป็นเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา"

๓. "เวลานี้ซ้อมวางอารมณ์ให้ลงตัวธรรมดาเข้าไว้เสมอ โดยพิจารณาโทษของอารมณ์ราคะและปฏิฆะ ซึ่งมีต่อรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ โดยเอาความปรารถนาที่จักไปพระนิพพานเข้ามาเป็นกำลังของจิต เพราะศึกษากันมานานแล้ว พอจักเตือนสติให้กำหนดรู้ได้ว่า การจักไปพระนิพพานได้นั้น จิตจักต้องหมดจากอาสวะกิเลส อารมณ์ราคะ และปฏิฆะอันมีต่อรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์นั้นเป็นตัวทำให้เกิด แต่พระนิพพานต้องการดับ ไม่มีเชื้อเกิด นิพพานนังปรมังสูญญัง นิพพานเป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง คือว่างจากอารมณ์ที่เป็นกิเลสทั้งปวง จึงจักถึงพระนิพพานได้ เจ้าจงเอาจุดนี้เตือนจิตทุกครั้งที่เกิดอารมณ์ราคะ และปฏิฆะ"

๔. "เจ้าเป็นคน โทสะจริต เด่นก็จงพยายามกำหนดภาพพระเอาไว้เสมอ ๆ และพรหมวิหาร ๔ พยายามรักษาเข้าไว้ให้เป็นฌานอย่าทิ้งเป็นอันขาด ระมัดระวังคำพูดเข้าไว้ โดยเอาอานาปานัสสติคุมจิตไม่ให้หลงลืมจุดอ่อนข้อนี้ ต้องทำให้มาก ๆ มิฉะนั้นจักไม่มีผล"

๕. "อย่าลืม พูดมากเท่าไหร่ เสียผลของการปฏิบัติมากขึ้นเท่านั้น จำข้อบกพร่องตรงนี้เอาไว้ให้ดีๆ"

๖. "ของสงฆ์นั้นควรรักษา ช่วยกันดูแลนั้นถูกต้องแต่พยายาม อย่าใช้อารมณ์เข้าไปดูแล ให้เห็นเป็นธรรมดาของความหยาบและละเอียดของคนที่มาพัก พิจารณาและแก้ไขไปตามวาระอันพึงจักทำได้ด้วยความใจเย็น รักษาผลประโยชน์ของสงฆ์ด้วย รักษาผลประโยชน์ของจิตด้วย โลกจักได้ไม่ช้ำ ธรรมก็ไม่เสีย ได้กับได้ กำไรทั้ง ๒ อย่าง ของสงฆ์ก็ไม่เสียหาย อารมณ์ของจิตก็ไม่เสียหายจึงจักดี จำหลักนี้เอาไว้ให้ดีๆ นิสสัมมะกรณังเสยโย ใคร่ครวญด้วยพรหมวิหาร ๔ คือ ทั้งทางของสงฆ์และทางของจิตแล้วจึงทำ อย่างนี้ไม่มีอะไรพลาด"

๗. "และอีกจุดหนึ่ง ถ้าเจ้าไม่เกิดอารมณ์ ๒ เพราะราคะหรือปฏิฆะก็ตาม เป็นอารมณ์หนึ่งในนิวรณ์ ๕ ประการ เป็นกิเลสหยาบที่ทำปัญญาให้ถอยหลัง ถ้าหากเจ้าประสบเหตุปัญหาใด ๆ ถ้าหากหมั่นรักษาอารมณ์จิตให้สงบเอาไว้ ก็จงนำปัญหาแห่งเหตุนั้น ๆ ขึ้นมากราบทูลถามตถาคตให้ทราบหนทางแก้ไขได้เสมอ จุดนี้พวกเจ้าได้ทำกันมาแล้วเมื่องาน ๑๐๐ วันท่านฤๅษีที่ ๑๒ ไร่ แต่มาวาระนี้ เจ้าเองกลับไม่นำมาใช้ ปล่อยให้อารมณ์ราคะและปฏิฆะจูงจมูกไปอย่างนี้มันเป็นการดีหรือไม่ดี" (ก็ยอมรับว่า ไม่ดี)

๘. "เมื่อรู้ว่าไม่ดี ก็จงหมั่นแก้ไขเสีย"

ทำอานาปานัสสติกองเดียว ก็ ถึงพระอรหันต์

เมื่อวันเสาร์ที่ ๖ พ.ย. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนไว้ดังนี้

๑. "บ่ายนี้ที่เจ้าฟังท่านฤๅษีสอนในเทปหมวดอานาปานัสสติที่ว่า แม้แต่ในขณะพูดอยู่ก็กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกได้ จักขาดจริง ๆ แค่คำภาวนาเท่านั้น แล้วเจ้ามาคิดต่อไปว่า คำพูดคำหนึ่งคือลมหายใจเข้า เมื่อต่ออีกคำหนึ่งก็คือลมหายใจออกนั้น เป็นการถูกต้อง เพราะขณะจิตหนึ่งคือลมหายใจเข้า ยังไม่ทันลมหายใจออก หรือแค่ พุท ยังไม่ทัน โธ"

๒. "แล้วที่เจ้าคิดต่อไปว่า ในคนที่พูดรุนแรงรวดเร็ว ด้วยอารมณ์โทสะ จักนับว่าคำพูดหนึ่งเท่ากับลมหายใจออกได้ไหม ตถาคตรับรองว่าได้ เพราะในคนที่กำลังมีโทสะเกิดขึ้นกับจิตนั้น กำลังไฟเผาผลาญร่างกายให้ทำงานเร็วขึ้น โลหิตร่างกายถูกหัวใจสูบฉีดให้ไหลแรงเร็วขึ้น ลมหายใจก็ถี่ขึ้นตามอารมณ์ที่ถูกกระทบนั้น เหมือนคนที่วิ่งออกกำลังกายมาเหนื่อย ๆ หัวใจก็เต้นแรงปานกัน คำพูดที่รัวออกมา จึงเป็นจังหวะของลมหายใจได้เสมอกัน" (สันตติภายนอกกับสันตติภายใน)

๓. "แล้วที่เจ้าคิดว่า เมื่อพระอรหันต์ท่านกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา การพูดของท่านก็ย่อมรู้ในวาจาที่พูดออกมาตลอดเวลา เพราะจิตท่านทรงสติสมบูรณ์ด้วย อานาปานั้น จักใช่หรือไม่ ตถาคตก็จักยืนยันว่า ใช่ เพราะฉะนั้น คำว่า เพ้อเจ้อ เหลวไหล ไม่มีเหตุ ไม่มีผล ย่อมไม่มีในวาจาของพระอรหันต์อย่างแน่นอน เพราะท่านมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ด้วยการกำหนดรู้ อานาปานัสสติ กำหนดรู้ในอริยสัจ หรือกฎของกรรมอย่างมั่นคง ความหลงไม่ยอมรับนับถือในกฎของกรรมนั้น ไม่มีในพระองค์ และเป็นคำจริงที่เจ้าคิดต่อไปว่า พระอรหันต์เห็นอะไรที่เกิดขึ้นในโลกนี้เป็นเรื่องธรรมดาหมด"

๔. "เจ้าเห็นอิทธิพลของอานาปานัสสติแล้วหรือยัง(ก็ยอมรับว่าเห็นแล้ว)เมื่อเห็นแล้ว ก็จงจำคำที่ท่านฤๅษีกล่าวว่าจักต้องทรงอานาปาให้ได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ตราบใดที่จิตนี้ยังตื่นอยู่ ความนี้เจ้าสำคัญว่าเป็นไฉน" (เข้าใจว่าขณะที่กายหลับ จิตที่ฝึกดีแล้วในอานาปา สามารถทรงฌานในอานาปาจนชิน ก็จะยังทรงอานาปาอยู่ในขณะหลับได้ด้วย จึงจัดได้ว่าเป็นผู้รู้-ผู้ตื่น-ผู้เบิกบานอยู่ตลอด ๒๔ ชั่วโมง)

๕. "ถูกต้องแล้วเจ้า แต่ถ้าจักให้ดียิ่งขึ้น อย่าลืมยกอาทิสมานกายให้ขึ้นไปอยู่บนพระนิพพานด้วย และพึงปลงมรณานุสสติ ควบ กายคตา และอสุภกรรมฐาน ตัดกังวล ห่วงใยในร่างกายที่นอนอยู่นี้ไปเสียเลย อย่าคิดว่าหนักทำไม่ได้ ที่กล่าวมานี้เจ้าจักต้องฝึกให้เกิดอารมณ์ชินด้วย ได้บ้างไม่ได้บ้าง ก็พยายามไปเรื่อย ๆ ทำอย่าหยุด พยายามอย่าขี้เกียจ แล้วผลก็จักบังเกิดแก่เจ้าได้อย่างแท้จริง"

๖. "วกกลับมายืนยันอีกครั้ง การกำหนดรู้อานาปานัสสติ เป็นกำลังให้จิตมีสติ - สัมปชัญญะสมบูรณ์ การฝึกรู้ลมหายใจเข้าออกในขณะกล่าววาจาก็จักเกิดนิสสัมมะกรณังเสยโย ในวาจาที่กล่าวนั้นได้ตามลำดับ จักทำให้เกิดมีแต่วาจาที่ชอบด้วยปัญญา มีเนื้อหาสาระอย่างแท้จริง ใหม่ ๆ อาจจักฝืน กำหนดรู้ไม่ใคร่ได้ทันในวาจาที่กล่าวนั้น ๆ ต่อเมื่อทำนาน ๆ ไป สติ-สัมปชัญญะก็จักเกิดขึ้นตามลำดับ การกลั่นกรองวาจาก็เกิด มีปัญญาตามรู้เท่าทันในคำพูดของตนนั้น ๆ จนในที่สุดเป็นอัตโนมัติ รู้ด้วยสติ-สัมปชัญญะที่สมบูรณ์ว่า วาจาที่กำลังกล่าวออกไปนั้น ๆ คือ ยังไม่ทันได้กล่าว เป็นเพียงมโนกรรมเกิด จิตก็จักกลั่นกรองได้ในทันทีทันใดว่า วาจาเยี่ยงนี้เมื่อกล่าวออกไป มีผลดี มีผลเสียกับผู้ฟังเพียงใด หรือละเอียดลงไปยิ่งกว่านั้น คือ มโนกรรมที่คิดนี้ดีหรือไม่ดีแก่ตนเองหรือผู้อื่นอย่างไร นี่การรู้ลมสำคัญเยี่ยงนี้นะ จึงไม่ผิดหรอกที่ท่านฤๅษีสอนว่าทำอานาปานัสสติกองเดียว ก็ถึงพระอรหันต์"

๗. "และเป็นตามที่ท่านว่าถ้าหากจิตเรามีหน้าที่ทำงาน คือกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกแล้ว เรื่องที่จักไปมีอารมณ์ว่างไปสนใจกับจริยาของคนอื่นนั้นก็ไม่มี หรือจักไปมีอารมณ์รัก-โลภ-โกรธ-หลงก็ไม่มี จิตจักทรงฌานในอานาปานัสสติจนชิน แต่จักต้องไม่ลืมควบวิปัสสนาภาวนาในอริยสัจ ตามสังหารกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหาน ตามที่ท่านสอนไว้ด้วย จึงจักมีผล"

๘. "ท่านฤๅษีมาเตือนพวกเจ้าว่าพวกเจ้ามักลืมตัว เวลาไปคุยกับคนอื่น มักอ้างว่าหลวงพ่อสอนอย่างโน้น อย่างนี้ ให้บอกว่าหลวงพ่อท่านสอนตามพระพุทธเจ้าว่าอย่างนี้ เพราะขณะสอนท่านมีพระพุทธเจ้าคุมอยู่ การไปคุยกับบุคคลนอกกลุ่มศิษย์หลวงพ่อจะมีปัญหา เขาอาจอ้างว่าอาจารย์ของเขาสอนว่าอย่างนี้ การขัดแย้งกันก็จะเกิดขึ้น แต่หากอ้างว่าเป็นคำสอน หรือสอนตามพระพุทธเจ้าแล้ว ปัญหาเหล่านี้ก็จักไม่เกิด การปรามาสพระรัตนตรัยก็ไม่มี จุดนี้ก็เกี่ยวกับการใช้ปัญญาในคำพูดเช่นกัน


รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2011, 18:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 18:31
โพสต์: 292


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกข์ทั้งหลายเกิด เพราะขาดการสำรวมอายตนะ





เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๑ ส.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอน เรื่องนี้ไว้ดังนี้

๑. "ทุกข์ของจิตพ้นได้ หากเจ้าจักกำหนดรู้อาการของการเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์นั้นๆ ด้วยความเพียรในการเจริญพระกรรมฐานแก้จริตอย่างจริงจัง"

๒. "จงกำหนดรู้ว่าทุกข์ทั้งหลายนั้นเกิดขึ้น เพราะเจ้าขาดการสำรวมอายตนะ"

๓. "หากระวังอารมณ์จิตให้ดีแล้ว ก็จักเกิดอารมณ์ไปตำหนิดีเลวของบุคคลอื่นได้ยาก จักเห็นทุกอย่างล้วนเป็นกฎของกรรมทั้งสิ้น เป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่น่าจักเก็บเอามาให้เกิดอารมณ์สุข-ทุกข์ตามโลกียวิสัยนั้น ๆ"

๔. "อย่าท้อใจ แพ้ได้แพ้ไป สอบตกก็ให้รู้เอาไว้ก็แล้วกันว่าตกเพราะอะไร อย่างกรณีเช้ามืดวันนี้ เจ้าสอบตกเพราะยึด สักกายทิฏฐิ ว่ามีอำนาจอะไร จักมาใช้ให้เจ้าดันประตูแค่ไขกุญแจให้ก็เพียงพอแล้ว อารมณ์ที่ไม่พอใจเกิด จากทิฏฐิ ตัวนี้ จัดว่าเป็นการถือตัวถือตนใช่หรือไม่" (ก็ยอมรับว่าใช่)

๕. "แต่เมื่อเหตุการณ์นี้ผ่านไป จิตมันยังมีอุปาทานว่าพวกนี้ดูถูกดูแคลนเจ้า จิตมันจึงไม่ยอมลบเหตุการณ์นี้ให้หลุดออกจากอารมณ์ กว่าจักระงับได้ นี่มิใช่ตัดแค่ระงับด้วยกำลังของสมาธิและปัญญาเล็กน้อยเท่านั้นยังใช้ไม่ได้ ใช้เวลานานเกินไป อย่าลืมแค่ชั่วขณะจิตเดียว หากเจ้าตายไปในขณะนั้น จิตเศร้าหมองไปด้วยอารมณ์ปฏิฆะ ก็มีสิทธิ์ที่จักตกนรกได้"

๖. "อย่าประมาทคิดว่าตัดสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว ไม่ต้องตกนรกแน่ แต่อย่าลืมการทำจิตให้ร้อนด้วยไฟ โมหะ โทสะ ราคะก็ดี ก็ไม่ต่างกับจิตที่เสวยความร้อนของเปลวไฟแห่งนรก มีแต่ความรุ่มร้อนทุรนทุรายอยู่อย่างนั้น มันจักดีกว่ากันที่ตรงไหน จิตหาความเป็นพระไม่ได้ เพราะขาดความสงบอันเป็นปกติวิสัยของผู้ใฝ่ดี เพื่อจะละซึ่งอารมณ์อันเป็นกิเลส ตัณหาอุปาทาน อกุศลกรรมเข้าครอบงำ จำบทเรียนวันนี้ไว้ให้ดีๆ พยายามใช้เวลาระงับ หรือตัดราคะและปฏิฆะให้สั้นเข้า จักได้ประมาทน้อยลง"

นิสสัคคีย์ ปาจิตตีย์

เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๒ ส.ค. ๒๕๓๖ ตอน ๑๖.๐๐ น. ฟังเสียงตามสาย หลวงพ่อท่าน สอนพระวินัยพระ เรื่อง นิสสัคคีย์ ปาจิตตีย์ มีความสำคัญว่า

๑. สัคคีย์ ปาจิตตีย์ แปลว่า ของเลว ของที่ไม่คู่ควรกับสมณะวิสัย หรือของเลวได้มาก็ต้องทุบทิ้ง ทำลายไป เช่น ท่านปิณโฑ ได้บาตรปุ่มแก่นจันทร์มา พระพุทธเจ้าก็สั่งให้ทำลายจนสิ้นซาก เป็นต้น

๒. คำว่ารูปิยะ(เงิน ทอง หรือสิ่งสมมุติที่ใช้แทนเงิน ทอง) หลวงพ่อท่านอธิบายว่า ในปัจจุบัน พระมีความจำเป็นต้องจับเงิน เพราะพระต้องเสียค่ารถ ค่าหมอ ค่ายา ค่าอาหาร ค่าสิ่งจำเป็นต่าง ๆ ในการดำรงชีพอยู่ ไม่มีใครยกโทษให้พระในเรื่องนี้ ดังนั้นอาบัติข้อนี้ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ เพราะอาบัติอยู่ที่จิตมิใช่อยู่ที่กาย จะให้คนอื่นรับก็ดี จะรับเองก็ดี ล้วนเป็นอาบัติทั้งสิ้น เมื่อเลี่ยงไม่ได้ ก็รับเสียเลยก็สิ้นเรื่อง

๓. แต่รับแล้วให้นำมาทำเป็นสาธารณะประโยชน์เช่น ซ่อมโบสถ์ วิหาร ผู้ให้เขาก็ได้บุญทางวิหารทานอีกต่อหนึ่ง หรือ เอามาเป็นสังฆทานก็ได้

๔. อย่าสะสมเป็นสมบัติส่วนตัวเรื่องเอาของที่เขาถวายไปขายเป็นเงินก็ดี หรือเอาของมาแลกกันก็ดี ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่ควรทั้งสิ้น


เมื่อฟังหลวงพ่อสอนแล้วก็อดเอามาใคร่ครวญพิจารณาไม่ได้ เพราะความเป็นพระมีค่าเพียงบาทเดียว หรือ ๕ รูปิยะ เท่ากับ ๑ บาท ท่านสอนว่าพระเดินไป เห็นของมีค่าเกินกว่า ๑ บาทตกอยู่ เมื่อตาเห็นรูป จิตนึกอยากได้ ก็อาบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ เกิดแล้ว พอเอามือจับของนั้น ยังมิได้ยกขึ้นหรือขยับของนั้น อาบัติปาจิตตีย์ก็เกิดแล้ว เพราะจิตเป็นบาปแล้ว หากยกของนั้นขึ้นมาก็อาบัติปาราชิกแล้วเป็น อัตโนมัติ เพราะไปเอาของ ๆ ผู้อื่นที่มีค่าเกินกว่า ๕ รูปิยะ หรือ ๑ บาท มาเป็นของส่วนตัว ทำไมถึงละเอียดอย่างนี้ การเป็นพระนี่ช่างแสนยาก ก็คิดต่อไปว่าที่เราต้องกราบไหว้บูชาพระก็เพราะเหตุนี้แหละ จิตท่านต้องบริสุทธิ์จริง ๆ

จิตยังฟุ้งต่อไปว่า พระที่ท่านขึ้นรถเมล์ เขาก็เก็บเงินค่ารถ หากกระเป๋ารถเดินมาแล้วพระแกล้งหลับโดยเจตนาเพื่อจะหลบเลี่ยงการเสียค่ารถ หากค่ารถเกินกว่า ๑ บาท แล้วกระเป๋าเห็นพระหลับก็ผ่านไปไม่เก็บ ผลก็คืออาบัติปาราชิกเกิดขึ้นเป็นอัตโนมัติเช่นกัน เพราะอาบัติเกิดที่จิต เจตนาของจิตเป็นตัวบุญและบาป การเป็นพระที่สมบูรณ์จึงยากด้วยเหตุเหล่านี้

จิตยังฟุ้งต่อไปว่า มีพระระดับสมเด็จท่านตาย มรณะภาพ ท่านเป็นพระใหญ่ที่ไม่จับเงิน จับทอง แต่พอตายท่านมีสมบัติเป็นเงินสดหลายสิบล้าน ไม่มีหลักฐานบอกว่าเป็นของสงฆ์แต่อย่างใด พวกญาติโยมของท่านก็ได้รับมรดกจากเงินส่วนนี้กันคนละหลายล้าน เพื่อนผมท่านหนึ่งเล่าให้ผมฟังว่า เพื่อนของท่านก็ได้รับเงินมรดกนี้ด้วย ได้แล้วก็ซื้อรถอเมริกันคันใหญ่นั่ง (เมื่อประมาณ ๓๐ กว่าปีที่แล้ว) เพื่อนผมได้นั่งรถคันใหญ่นั้น แต่พอรู้ว่าเขาซื้อมันด้วยเงินอันไม่บริสุทธิ์ของพระใหญ่องค์นั้น เพื่อนผมก็บอกให้รถหยุด เธอมีธุระจะต้องลง เพราะเธอกลัวว่าหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในระหว่างนั่งรถคันนั้น เธออาจจะต้องไปสู่ทุคติ นับว่าเพื่อนของผมมีหิริโอตตัปปะและฉลาดมาก

หลวงพ่อฤๅษีท่านเล่าให้ผมฟังว่า มีพระระดับสมเด็จท่านตาย (มรณภาพ) จำได้ว่าเป็นวัดสระเกศ ท่านเป็นสมเด็จพระสังฆราช วัดนี้ท่านจับเงินจับทอง เมื่อคณะสงฆ์มาตรวจพบว่ามีหีบ ๑ ใบ ใส่กุญแจอยู่ พอเปิดหีบมีเงินอยู่เต็ม นับได้ถ้าจำไม่ผิด ก็กว่า ๒๕ ล้านบาท (ในสมัยที่เงินมีคุณค่าสูง) แต่มีหนังสือเขียนด้วยลายมือของท่านเองว่า เงินทั้งหมดนี้เป็นเงินของสงฆ์ มิใช่เงินส่วนตัวท่าน ผมก็ฟุ้งมาพอสมควรแล้ว เห็นจะต้องขอจบอารมณ์ฟุ้งไว้เพียงเท่านี้

อาการเสื่อมไปของอิริยาบถก็เป็นทุกข์

เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๓ ส.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาสอนไว้ดังนี้

๑. "กาลเวลาที่ล่วงไป อย่าลืมความตายยิ่งใกล้เข้ามา เวลานี้พวกเจ้าโจทย์จิตเรื่องอารมณ์เข้าไว้ให้เต็มที่ กำหนดรู้สภาวะธรรม ที่เข้ามากระทบจิตให้ชัดเจนแจ่มใส จักได้ไม่หลงใหลไปในสภาวะของธรรมนั้น ๆ หาความจริงของต้นเหตุแห่งทุกข์ในธรรมนั้น ๆ ให้พบ แล้วพิจารณาละสังโยชน์อันเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ในธรรมนั้น ๆ" (ขณะนั้นก็เกิดอาการปวดท้องขึ้นมา)

๒. "ทรงตรัสว่า เจ้าจักเห็นได้ว่าทุกข์อันเกิดจากโรคะของร่างกาย ที่เข้ามาเบียดเบียนอารมณ์จิตนี้นั้นมีอยู่ตราบใดที่ยังมีร่างกาย อันเต็มไปด้วยรังของโรคนี้ เวทนาอันเกิดจากความเบียดเบียนก็ไม่เที่ยง บัดเดี๋ยวเกิด บัดเดี๋ยวดับ ร่างกายนี้ไม่ได้สร้างความสุขที่แท้จริงให้กับจิตเลย"

๓. "ในเมื่อร่างกายเบียดเบียนอารมณ์ของจิตอยู่เยี่ยงนี้ พวกเจ้าก็จงทำความเบื่อหน่ายในการอยากมีร่างกายเยี่ยงนี้ลงเสีย ด้วยการพิจารณาทุกข์อันเกิดขึ้นตลอดเวลาไม่ว่าทุกข์อันเป็น นิพัทธทุกข์ ทุกข์เนืองนิตย์ เช่น อาการหิวกระหาย ร้อน หนาว ปวดปัสสาวะและอุจจาระ เป็นต้น และทุกข์อันเกิดจากการเสวยอารมณ์แห่งอายตนะ ๑๒ นอกกับใน กระทบกันให้รู้อยู่ตลอดเวลา"

๔. "อาการเสื่อมไปของอิริยาบถก็เป็นทุกข์ที่พึงกำหนดรู้ ให้เห็นว่า นี่ก็เป็นโรคะนิธัง อย่างหนึ่งของร่างกายเช่นกัน ตลอดอาการ ๓๒ ของร่างกายเป็นโรคทั้งสิ้น พิจารณาไป อย่าให้จิตออกนอกทาง ดูอารมณ์เอาไว้ให้ดี ๆ"

๕. "จงยอมรับกฎธรรมดาทำความเบื่อหน่ายร่างกายที่เต็มไปด้วยโรคนี้เสีย และเห็นความไม่เที่ยง ซึ่งมีแต่การเกิด-เสื่อม-ดับของธรรมแห่งการมีร่างกายนี้ เห็นธรรมใด ๆ ในโลกที่เข้ามากระทบอารมณ์ตามสภาพความเป็นจริง ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยง ตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ทั้งสิ้น ยึดถือเข้ามาในอารมณ์เมื่อไหร่ ก็ทุกข์บังเกิดเมื่อนั้น"

๖. "จงหมั่นกำหนดรู้ และวางอารมณ์ให้หลุดพ้นจากการเกาะติดในธรรมแห่งโลกนั้นๆ ตั้งจิตไว้มั่นคง จับจุดหมายปลายทางแห่งความต้องการที่จักพ้นทุกข์เข้าไว้ ทำกำลังใจให้เต็ม ใช้ความเพียรรักษาอารมณ์ของจิต ที่จักทำเพื่อพระนิพพานเข้าไว้"

๗. "การละสังโยชน์เป็นของไม่ยาก หากทำกำลังใจในบารมี ๑๐ ให้เต็มอยู่เสมอ พร้อมที่จักทำจริงอยู่เสมอ ก้าวเข้าไปใกล้พระนิพพานแล้ว รักษาอารมณ์อย่าให้บังเกิดความท้อแท้เป็นอันขาด อย่าหมดกำลังใจ การหมดกำลังใจคืออารมณ์หลง จัดเป็นนิวรณ์ คือ ถีนมิทธะ จำเอาไว้ให้ดี อารมณ์ใดเป็นนิวรณ์ ให้พยายามระงับตัดทิ้งไปเสียจากจิต"

๘. "พวกเจ้าจักต้องรู้อารมณ์เข้าไว้ทุกๆ ขณะจิต ต้องหมั่นใช้สติตามกำหนดรู้เข้าไว้ อย่าให้คลาดสายตาของจิต การทรงอานาปานัสสติกรรมฐาน แม้เพียงปฐมฌานก็จักทำให้มีสติมั่นคงได้ ทุกอย่างต้องมีขั้นตอน ต้องทำตามขั้นตอนนั้น จิตจึงจักทรงตัวอยู่ได้ในการกำหนดรู้อารมณ์นั้น ๆ"

๙. "การมีศีล-สมาธิ-ปัญญา จึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักปฏิบัติ เพื่อละอารมณ์แห่งทุกข์นั้นๆ พวกเจ้าจงหมั่นตรวจตรา อย่าให้ข้อวัตรปฏิบัติเล่านี้ ขาดตกบกพร่องไปจากจิตของตนเป็นอันขาด จึงจักสามารถเป็นกำลังตัดสังโยชน์ให้หมดจดลงได้"

สมเด็จฯ โต โปรด ร.๔


เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๙ ส.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จท่าน เมตตาสอนเพื่อนของผมไว้ มีความสำคัญดังนี้

๑. "เพื่อนของผม ท่านยกเอาเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาว่า ขณะนั้น ร.๔ กำลังมีความกังวลเรื่องพระชายากำลังจะคลอดบุตร ก็ให้มหาดเล็กไปนิมนต์สมเด็จฯ โต ท่านมาเทศน์โปรด การเทศน์ของท่านในวันนั้น ท่านเทศน์ไม่ยอมจบ ร.๔ กระสับกระส่าย จนกระทั่งมหาดเล็กเข้ามารายงานว่าพระองค์ได้บุตรชาย ทั้งแม่และลูกสบายดี จิตของ ร.๔ ก็สงบ การเทศน์ก็จบลงเช่นกัน จำได้ว่าหลวงพ่อฤๅษีท่านนำมาเล่าให้ฟัง ในขณะนั้นก็หัวเราะชอบใจอย่างเดียว แต่ไม่ทราบเหตุผลของการเทศน์"

๒. "สมเด็จฯ โต ท่านก็เมตตามาโปรดสอนเพื่อนผม มีความสำคัญว่า การเทศน์นั้นมุ่งทำให้คนฟังเป็นสุขและสงบ เพราะพระธรรมเป็นยารักษาจิตให้สงบเป็นสุขได้"

๓. "ท่านสอนว่า เอ็งคิดว่า พระอรหันต์ท่านทำอะไร ไม่มีเหตุผลหรอกหรือ การเพ้อเจ้อ เหลวไหล มีในจิตของพระอรหันต์หรือ" (ก็ตอบว่า ย่อมไม่มี)

๔. "นั่นแหละคือบารมีของคนที่ยังไม่ถึงธรรมนั้น ๆ จึงคิดไม่ตรงเป้าหมาย แถมตีความหมายของธรรมไปในอุบายของอารมณ์จิตต่างๆ ไปอีก เอาอารมณ์จิตของตนเอง ตีความหมายของธรรมผิดไปจากความจริง"

๕. "เอ็งจะเห็นได้ว่า ธรรมนั้น กว่าจิตจะเข้าถึงได้ในแต่ละระดับไม่ใช่ของง่าย จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะใช้อารมณ์จิตของตนเองคิดไปในธรรมที่ยังเข้าไม่ถึงนั้น ๆ ดังนั้น จึงควรเดินมรรคผลตามบารมีของจิตของตนเข้าไว้เป็นสำคัญ ค่อย ๆ ทำความเข้าใจในธรรมนั้นไปเรื่อย ๆ อย่าออกนอกทางพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็แล้วกัน จิตมันก็จะมีอารมณ์ละเอียดขึ้นตามลำดับ ในที่สุดก็สามารถเข้าใจในธรรมนั้น ๆ ได้ละเอียดขึ้นตามลำดับเช่นกัน"

๖. "เมื่อมาเจอของจริงเข้าอย่างนี้ เอ็งคงจะเข้าใจแล้วซินะ ถ้าระดับจิตยังไม่ถึงอย่างหนึ่ง หรือถ้าพระท่านไม่สงเคราะห์อย่างหนึ่ง เอ็งก็ไม่สามารถจะรู้ได้มาถึงเพียงนี้ เพราะฉะนั้นจงอย่าประมาทในธรรม คิดว่าเรารู้ดีแล้ว"

๗. "จำไว้ เสมอว่า ถ้ายังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด คำว่ารู้ดีในธรรมจงอย่าได้ปรากฏแก่จิตของเอ็ง มันจะโง่ตื้นเขินในธรรมอย่างแท้จริง"

๘. "จำไว้ พระอริยะเบื้องสูง ท่านทำกิริยาอะไร ย่อมมีเหตุผลทั้งสิ้น คำว่าทำเพื่อเล่น ๆ ไม่มี"


รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2011, 18:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 18:31
โพสต์: 292


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๖คำนำ


คำนำในการจัดพิมพ์
ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น (เล่ม ๖)




ในกลุ่มปฏิบัติธรรมของเรา ได้ร่วมวงสนทนาธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เพื่อมุ่งไปสู่พระนิพพานจุดเดียวเท่านั้น จนมาถึงเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๑ นี้ก็ครบ ๑๖ ปีเต็มแล้ว สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสชมกลุ่มปฏิบัติธรรมของพวกเราว่าหาได้ยากยิ่งนักในโลกนี้ เพราะการรู้ธรรมพ้นโลกดีกว่ารู้ธรรมในโลก และยังสนทนาธรรมให้รู้ด้วยปัญญาอีกว่า สิ่งใดควรรู้ สิ่งใดไม่ควรรู้ สิ่งใดควรละ สิ่งใดควรยึด

ในปัจจุบันกลุ่มของเราได้บริจาคทรัพย์ทางโลก อันเป็นโลกียะทรัพย์ ซึ่งตายแล้วไม่มีใครเอาไปได้ มาจัดพิมพ์พระธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น ซึ่งเป็นของสมเด็จองค์ปฐม สมเด็จองค์ปัจจุบัน ของหลวงพ่อฤๅษี และหลวงปู่ทั้งหลายซึ่งท่านจบกิจ และทิ้งเปลือกของท่าน (ทิ้งขันธ์ ๕ หรือตาย) ไปสู่พระนิพพานแล้ว ทุก ๆ องค์เน้นว่า คำสอนทั้งหมดที่ท่านสอน ท่านนำมาจากพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น จงอย่ามาติดเปลือกของท่าน ให้ติดพระธรรม แม้แต่พระพุทธเจ้ายังทรงตรัสว่า ร่างกายของตถาคตมิใช่พระพุทธเจ้า ความเป็นพระพุทธเจ้าคือ จิตผู้ทรงธรรม ขอให้ทุกคนยึดหรือเกาะให้เป็น คนฉลาดเขาเกาะพระธรรมกันทั้งนั้น เพราะเกาะแล้วสามารถนำจิตเข้าสู่พระนิพพานได้ ถ้าใครเกาะขันธ์ ๕ หรือร่างกายของพระองค์ บุญไปได้แค่สวรรค์เท่านั้น พวกเราเข้าใจธรรมในจุดนี้ จึงไม่เกาะร่างกายของท่าน แต่เกาะพระธรรมซึ่งเที่ยงแล้ว ไม่เกิด ไม่ดับอีกต่อไป และทำให้เกิดปัญญา สละทรัพย์ทางโลก (โลกียะทรัพย์) ซึ่งไม่มีใครเอาไปได้ มาเป็นทรัพย์ที่สามารถเอาไปได้ (โลกุตรทรัพย์) ใครทำใครได้ด้วยศรัทธาเต็ม คือสละด้วยกำลังใจเต็ม (บารมีเต็มในทานบารมี)

เรื่องบารมี ๑๐ นี้ หากเราทำให้เต็มได้ บารมีใดบารมีหนึ่ง จะส่งผลทำให้บารมีอีก ๙ ข้อ เต็มไปด้วย

ขณะนี้พวกเราได้รวบรวมพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนพวกเรามาตามลำดับนั้น จัดรวมเป็นเล่มแจกเป็นธรรมทานไป ๕ เล่มแล้ว สำหรับเล่มนี้เป็นเล่มที่ ๖

เป้าหมายของผมผู้เป็นหัวหน้าจัดพิมพ์พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์แจกมาตามลำดับนั้น เดิมตั้งความหวังไว้เกินตัว เกินบารมีหรือกำลังใจที่ตนเองมีอยู่ในปัจจุบันนี้ โดยหวังจะพิมพ์ให้มากที่สุด เพื่อแจกไปให้ทั่วประเทศอันเป็น มิจฉาทิฎฐิ แต่ปัจจุบันรู้ตนเองแล้ว จึงต้องขอขมาพระรัตนตรัย ขอจัดพิมพ์แต่พอดี ๆ ในทางสายกลาง แจกให้แต่เฉพาะกลุ่มของเราเท่านั้น ส่วนเกินเล็กน้อยจึงจะแจกให้ผู้มีศรัทธาต่อไป

ที่รู้ตัวเองชัดก็เมื่อวันจันทร์ที่ ๓ พ.ย. ๒๕๕๑ นี้เอง มีบุคคลท่านหนึ่งมาขอหนังสือซึ่งเหลือแจก กำลังจะรอขนขึ้นรถกลับบ้าน เพื่อนำมาแจกต่อในเดือนต่อ ๆ ไป เธออ้างว่าเธอจะไปทอดกฐินที่จังหวัดอุบลราชธานี จะขอหนังสือที่ท่านอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์มาก ไปแจกในงานกฐินนั้นด้วย ซึ่งมีอยู่หลายร้อยเล่ม ก็ตัดสินใจยกให้เขาไป แต่เมื่อกลับไปถึงบ้านมาคิดดูใหม่ เห็นว่าไม่เหมาะสม เพราะเธอได้ไปฟรี ๆ และไปแจกใคร เราก็ไม่สามารถจะรู้ได้ว่า เขาศรัทธาหรือไม่ศรัทธาก็ไม่ทราบ เหมือนกับตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ขนาดพระพุทธเจ้า พระองค์ยังไม่เคยโปรดสอนผู้ที่ไม่ศรัทธาในพระองค์ แต่พยายามไม่คิดตำหนิผู้ขอ เพราะเขาอาจนำไปแจกแก่ผู้มีศรัทธาก็เป็นได้ บุญนั้นเขาได้จริงจากการแจกหนังสือ พวกเราก็ได้ด้วย แต่การที่เราไปคิดตำหนิเขา เรากลับได้บาป จึงตั้งจิตอธิษฐาน ขอบารมีของพระพุทธเจ้าเป็นที่ตั้ง พุทโธอัปปมาโณ ขอให้ท่านผู้ได้รับแจกไป อ่านแล้วเกิดศรัทธา แล้วปฏิบัติตามนั้น จงมีดวงตาเห็นธรรมได้ตามลำดับ จนจบกิจเป็นพระอรหันต์ ใครเพียรน้อยพักมากก็จบช้า และหากผู้ใดรับแจกเป็นเศรษฐี มีโลกียะทรัพย์มาก แต่ไม่รู้ว่าตายแล้วเอาเงินไปไม่ได้สัก ๑ บาท อ่านแล้วเกิดปัญญา จัดพิมพ์หนังสือที่แจกไปนี้ด้วย โลกียะทรัพย์ แจกผู้อื่นต่อ ๆ ไป กลายเป็น โลกุตรทรัพย์ ใครทำใครได้ เป็นตัวปัญญาแท้ ๆ ในพุทธศาสนา แต่อาจมีบางคนมีมารยาท กลัวเป็นบาปที่ไม่ได้บอก หรือขออนุญาตผู้รวบรวมก่อน ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่มีอะไรเป็นบาปเลย เพราะพระธรรมเป็นของกลาง เปิดกว้างเสมอ เขาคิดมากไปเอง

เพื่อความสบายใจแก่ท่านผู้ศรัทธาทั้งหลายเหล่านั้น ผมจึงเขียนเป็นคำอนุญาตให้เป็นหลักฐานในคำนำนี้ว่า ผมอนุญาตให้ท่านผู้อ่านทุกท่านที่อ่านพระธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น ซึ่งแจกให้เป็นธรรมทานนี้ ทุกเล่มตั้งแต่เล่มแรก จนถึงเล่มปัจจุบัน และเล่มที่จะมีต่อไปในอนาคต ถ้าท่านจะจัดพิมพ์แจกเป็นธรรมทานแล้ว ทำไปได้เลย ผมไม่อนุญาตให้แต่เฉพาะบุคคลที่พิมพ์แล้วนำไปขายหารายได้เข้าตัวเองเท่านั้น เพราะเป็นบาปอกุศลที่ไม่ควรทำ แต่ผมอนุญาตเฉพาะท่านที่พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน และผมขอร่วมอนุโมทนาผลบุญของท่านเหล่านั้นด้วย

สำหรับพวกเราที่นำหนังสือพระธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น ไปแจกให้กับผู้อื่นที่มีศรัทธา ลองอธิษฐานจิตก่อนจะแจกให้เขา โดยเฉพาะพวกเศรษฐีมีเงินมาก แต่ขาดปัญญาในเรื่องทานบารมี โดยอาศัย พุทโธอัปปมาโณ คุณของพระพุทธเจ้าหาประมาณมิได้ ขอให้มั่นใจแต่จงอย่าใช้กำลังใจของตนเองก็แล้วกัน สิ่งเหล่านี้หากไม่เกิดกับตนเอง ก็จะไม่เข้าใจว่า พุทโธ อัปปมาโณ นั้นเป็นอย่างไร

ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายแล้วสำหรับพวกเรา จงเตือนตนไว้เสมอว่า
๑. ขันธ์๕ หรือร่างกายนี้ มันหาใช่เรา หาใช่ของเราไม่ เราคือจิตที่มาอาศัยร่างกายนี้อยู่ชั่วคราวเท่านั้น มันพังเมื่อไหร่ จิตหรือเราก็มุ่งไปพระนิพพานจุดเดียว
๒. คอยจับผิดตนเอง และแก้ไขตนเองตลอดเวลา ด้วยการมีสติกำหนดรู้อารมณ์จิตของตนไว้เสมอ เมื่อถูกอายตนะสัมผัสกระทบ
๓. ซ้อมตาย และพร้อมตายไว้เสมอ ให้จิตมันชินจนเป็นฌาน ด้วยความไม่ประมาทในความตาย เพราะผู้ใดประมาทในความตาย ผู้นั้นเท่ากับประมาทในพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
๔. อานาปานัสสติ หรือการมีสติรู้ลมหายใจเข้าออก เป็นฐานใหญ่ที่ทำให้จิตสงบ สามารถระงับความชั่ว คือ นิวรณ์ทั้ง ๕ ได้อย่างดี แม้จะได้ชั่วคราว จิตก็บริสุทธิ์ชั่วคราว เป็น ปทังคะวิมุติ จิตหลุดพ้นเข้าสู่นิพพานได้ชั่วคราว ดังนั้น ใครคิดจะไปนิพพานในชาตินี้ ก็ต้องไม่ทิ้งนิพพานสมบัติจุดนี้ด้วย
๕. รู้ลม-รู้ตาย-รู้นิพพาน รู้แค่นี้ก็เข้านิพพานได้แล้วแบบง่าย ๆ หรือรู้อานาปา - มรณา - อุปสมานุสสติ ก็เข้านิพพานได้แล้วแบบง่าย ๆ

ผมขออาราธนาบารมีของคุณพระศรีรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง ขอทุกท่านที่ได้อ่านพระธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้นแล้วนำไปปฏิบัติตามอย่างจริงจัง จงเกิด มรรค ผล นิพพาน ตามลำดับในชาติปัจจุบันนี้ด้วยกันทุกท่านเทอญ

พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ผู้รวบรวม
๒๘ ก.ย. ๒๕๕๑


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2011, 18:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 18:31
โพสต์: 292


 ข้อมูลส่วนตัว


พรหมทัณฑ์ กับธัมมวิจัยเรื่องพระฉันนะ





ในวันอังคารที่ ๑๐ ส.ค. ๒๕๓๖ เมื่อเอาคำสอนของพระองค์เรื่อง พระฉันนะถูกลงพรหมทัณฑ์แล้ว ท่านบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้อย่างไร มาใคร่ครวญ มีผลสรุปได้ดังนี้

๑. การถูกลงพรหมทัณฑ์ มีผลทำให้พระฉันนะต้องวางอดีต วางอนาคต และมาอยู่กับปัจจุบันธรรมอย่างเดียว

๒. ท่านจะยึดขันธ์ ๕ หรือร่างกายของพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งก็ไม่ได้ เพราะพระองค์ทรงปรินิพพานไปแล้ว จึงเท่ากับเป็นอดีตธรรม

๓. ท่านจะยึดพระสาวกทั้งหลายเป็นที่พึ่งก็ไม่ได้ เพราะพระพุทธองค์สั่งให้ลงพรหมทัณฑ์ไว้ เมื่อพระองค์ทรงเข้าสู่ปรินิพพานไปแล้ว หมายความว่าห้ามพูดด้วย ห้ามคบค้าสมาคมด้วย ให้วางเฉยด้วยในทุก ๆ กรณี จึงเท่ากับเป็นอนาคตธรรม

๔. เมื่อพระฉันนะ ท่านยึดอดีตธรรม ยึดอนาคตธรรมก็ไม่ได้ จึงจำเป็นต้องพึ่งตนเอง หรือใช้ตนเองเป็นที่พึ่งเท่านั้น เป็นการบังคับให้ท่านอยู่กับธรรมปัจจุบัน

๕. เมื่อพระฉันนะต้องอยู่คนเดียว คนปกติมักจะฟุ้งซ่านหรือฟุ้งเลวเสมอ แต่สำหรับท่านเป็นนักสู้ ไม่ยอมท้อถอย การอยู่คนเดียวในธรรมปัจจุบัน คือ การพึ่งตนเองด้วยปัญญา ท่านเห็นทุกข์จากการเกิดมามีร่างกาย หรือ ทุกขสัจ ทุกข์ของกายนี้ หากไม่กำหนดก็ไม่รู้ว่าเป็นทุกข์ จึงเท่ากับเห็นอริยสัจ เห็นทุกข์จากความไม่เที่ยงของร่างกาย ที่ทั้งแสนจะสกปรก จิตของท่านตกเป็นทาสของร่างกายตั้งแต่ตื่นยันหลับ มีสภาพเหมือนตนเองต้องติดคุกตลอดชีวิต หรือต้องเลี้ยงลูกอ่อนตลอดชีวิต หากเราวางร่างกายหรือขันธ์ ๕ นี้ลงเสียได้ว่า มันหาใช่เรา หาใช่ของเราไม่ เราเพียงแค่อาศัยมันอยู่เพียงชั่วคราวเท่านั้น จิตเราก็จะเป็นอิสระหลุดพ้นจากร่างกายหรือการเกิดตลอดกาล

๖. เมื่อจิตของท่านบริสุทธิ์ขนาดนี้ คือ ตัดอุปาทานขันธ์ ๕ ได้ หรือตัดสักกายทิฎฐิ ได้ พระพุทธองค์ก็ส่งฉัพพรรณรังสีปรากฏกายให้พระฉันนะเห็น รับรองความคิดของพระฉันนะว่า ถูกต้องแล้ว จิตของฉันนะก็เข้าถึงความเป็นพระอรหัตผล ซึ่งความจริงแล้วถึงพระองค์จะมารับรองหรือไม่มาก็ตาม จิตของพระฉันนะก็ต้องจบกิจ เพราะหมดอุปาทานขันธ์ ๕ แล้ว

ส่วนเรื่องพรหมทัณฑ์นั้น หมายความว่า การปล่อยให้อยู่คนเดียวอย่างพรหม เพราะพรหมนั้นท่านมีวิมานหลังใหญ่โต แต่อยู่แค่องค์เดียว อย่างผู้มีจิตสงบ เป็นฌานสมาบัติ (สงบจากนิวรณ์ทั้ง ๕) ขออนุญาตเขียนไว้สั้น ๆ แค่นี้

เมื่อพิจารณาธรรมมาถึงจุดนี้สมเด็จองค์ปฐม ก็ทรงพระเมตตาตรัสสอนว่า

๑. "เป็นอันว่า เจ้าเริ่มเข้าใจอารมณ์พรหมทัณฑ์แล้ว จงหมั่นระวังรักษาอารมณ์นี้ไว้ให้ดีๆ ใหม่ ๆ ก็จักมีเผลอบ้าง พลาดบ้าง จิตตกเป็นทาสของอารมณ์พอใจ-ไม่พอใจอยู่บ้างเป็นธรรมดา"

๒. "ขอจงตามดูและรู้การเสวยอารมณ์ รู้หนทางแก้ไขของอารมณ์ รู้หลักการระมัดระวังอารมณ์พรหมทัณฑ์ นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โจทย์จิตของตนเองเอาไว้ให้ดี ๆ ถ้าหากทำได้ถึงที่สุด พวกเจ้าจักไม่อยู่แค่อนาคามีผลหรอก พวกเจ้าจักบรรลุพระอรหัตผลได้อย่างพระองค์ที่ ๖๑ ในพุทธันดรนี้เช่นกัน" (กรุณาอ่านรำลึกถึงความดีของหลวงพ่อในอดีต หลวงพ่อฤๅษีวัดท่าซุง เรื่องนางมาติกมาตา หน้า ๑๔๘ บรรทัดสุดท้ายว่า พระองค์ที่ ๖๑)

๓. "อย่าลืมพระพุทธศาสนาสอนให้พ้นทุกข์กันที่จิต แต่ขณะเดียวกัน ต้องไม่เบียดเบียนร่างกายด้วย สอนให้วางเฉย คือ ยอมรับกฎของธรรมดาของร่างกาย จิตก็จักมีความสุขสงบ ไม่ดิ้นรนในกฎของกรรมนั้น ๆ เพราะไม่ว่าจักดิ้นรนอย่างไร ก็หนีกฎของธรรมดานั้นไปไม่พ้น"

๔. "การพ้นทุกข์ของจิต คือ การกำหนดรู้อารมณ์ของจิต และหมั่นชำระล้างปล่อยวางซึ่งอารมณ์ที่เป็นกิเลสนั้น ๆ จนกระทั่งหมดซึ่งตัณหา-อุปาทาน-อกุศลกรรมที่เข้ามาครอบงำจิต อารมณ์สงบอยู่ในอุเบกขารมณ์ ได้ กล่าวคือ ถึง ซึ่งสังขารุเบกขาญาณ หมดอารมณ์โมหะ-โทสะ-ราคะที่จักเบียดเบียนจิตและกายของตนลงได้ และสิ้นการเบียดเบียนกายและจิตของบุคคลอื่นลงได้เช่นกัน สุดท้ายหมดความเบียดเบียนซึ่งจิตและกายของตนเอง และผู้อื่นอย่างหมดจด จึงได้ชื่อว่าสิ้นทุกข์ในพระพุทธศาสนา คือถึงซึ่งพระนิพพานอย่างถาวร

๕. "อย่าลืม ทุกอย่างจักสำเร็จลงได้ด้วยความเพียร และจาก นิสสัมมะกรณังเสยโย ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงคิด-จึงพูด-จึงทำ เห็นคุณ-เห็นโทษในกรรมอันจักมาแต่เหตุนั่นแหละเป็นประการสำคัญ เมื่อเข้าใจตามนี้ จงพยายามทำความเข้าใจ ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป โดยการใคร่ครวญในธรรม"

- เรื่องสันตติภายใน คือ การกำหนดรู้อารมณ์จิตตนเอง ซึ่งเกิดดับ ๆ ตลอดเวลา จะช่วยดึงเหตุ จากอายตนะสัมผัสที่เข้ามากระทบจิตให้ช้าลง จนสามารถรู้ว่า ขณะจิตหนึ่งนั้น ๆ จึงจะเห็น

- พึงกำหนดรู้อารมณ์ของจิตในขณะหนึ่ง ๆ ซึ่งเป็นธรรมปัจจุบัน ที่พึงจักจำแนกกิเลสให้หลุดพ้นไปจากจิตได้ จุดนี้เป็นการปฏิบัติที่ละเอียดอย่างยิ่ง แยกสันตติทางอารมณ์ให้ออก เพื่อใช้กรรมฐานแก้จริต ๖ ได้ถูกต้อง
อายตนะภายในกับอายตนะภายนอก

และธรรมสมมุติไปสู่ธรรมวิมุติ


เมื่อวันที่ ๑๔ ส.ค. ๒๕๓๖ เพื่อนของผมท่านเล่าให้ผมฟังว่า ในวันนี้พระอานนท์ ท่านเมตตามาสอนเรื่องนี้ให้ มีความสำคัญดังนี้

๑. "ตาเห็นรูป ตาเป็นอายตนะภายใน ไม่เที่ยงก็เป็นของร้อน นอกจากนั้นตาก็จะเสื่อมไปตามสภาพของขันธ์ ๕ และสายตาที่สัมผัสรูปต่าง ๆ ก็ไม่สามารถมองรูปหนึ่งรูปใดได้นาน ๆ สายตาก็ต้องเคลื่อนไป จึงไม่เที่ยง ในที่สุดสายตาของขันธ์ ๕ ก็ดับไปเป็นอนัตตาซินะ" (ก็รับว่าใช่ ตามที่ท่านสอน)

๒. "รูปเป็นอายตนะภายนอก ก็ไม่เที่ยง จึงเป็นของร้อนเช่นกัน"

๓. "รูปอาศัย ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ ประกอบขึ้นมาเป็นรูป มีวิญญาณธาตุ อากาศธาตุ เข้ามาผสม ณ ที่นี้หมายถึงรูปคนและสัตว์เป็นสำคัญ รูปเหล่านี้อาศัยอยู่ได้ในความไม่เที่ยง ดูแต่ลมหายใจเข้าแล้ว ไม่หายใจออก รูปก็ดับ หากลมหายใจออก แล้วไม่หายใจเข้า รูปก็ดับ เมื่อในที่สุดธาตุลมดับแล้ว ธาตุไฟดับตาม ธาตุน้ำก็ละลายธาตุดิน จนตกอยู่ในสภาพอนิจจังและอนัตตาไปในที่สุด จึงจัดว่าเป็นของร้อน ตามที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วตรัสสอนไว้ดังนี้" (ในขณะที่ท่านสอน ท่านก็เมตตาให้เราได้เห็นภาพตนเองนอนตาย โดยธาตุลมดับ ธาตุไฟดับ ธาตุน้ำละลายธาตุดิน กายเน่าเปื่อยไปจนถึงอนัตตา)

๔. "จงพิจารณากำหนดรู้อายตนะภายในและภายนอกอยู่อย่างนี้ให้เนืองๆ จึงจักได้รู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในอายตนะนั้นเป็นของร้อน เพราะมีความไม่เที่ยงอยู่เยี่ยงนี้เป็นปกติ พิจารณาอายตนะ ๑๒ ให้ครบวงจร แล้วจงทำความเบื่อหน่ายในอายตนะภายในและภายนอกนั้น จนในที่สุดจิตจะคลายจากความกำหนัดลงได้ ในเมื่อเห็นสภาพตามความเป็นจริงว่า อายตนะภายใน คือ ร่างกายของเราเอง อายตนะภายนอก คือ ร่างกายของคนอื่น ล้วนเป็นของร้อน เพราะไม่เที่ยง ยึดเอามาเป็นสาระแก่นสารไม่ได้"

๕. "เมื่อไม่เที่ยงก็เป็นสมมุติ จิตยึดติดในสิ่งที่ไม่เที่ยง จึงเป็นจิตที่ติดสมมุติ ต่อเมื่อจิตพิจารณาจนหลุดพ้นธรรมสมมุติเหล่านี้ไปแล้ว จิตนั้นก็จะอยู่ในความเที่ยง ไม่รุ่มร้อนไปกับอายตนะ ๑๒ อีกต่อไป จิตดวงนี้จึงจะเรียกว่า เข้าถึงธรรมวิมุติอย่างแท้จริง"

สังรุเบกขาญาณตัวจริงนั้นเป็นอย่างไร


เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๕ ส.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ได้ทรงพระเมตตาตรัสสอนไว้ดังนี้

๑. "ร่างกายไม่ดี ฝืนไม่ได้ก็จงอย่าฝืน การกำหนดรู้เวทนาเป็นของดี การวางเฉยไม่บ่นในเวทนานั้นก็เป็นของดี แต่จักให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ก็จงดูอารมณ์ว่า มีความวิตกกังวลกับร่างกายมากน้อยเพียงใด ดูผิวเผินเสมือนหนึ่งไม่มีจิตเกาะเวทนานั้น แต่ควรจักมองให้ลึก ๆ เข้าไปถึงอารมณ์ที่ไม่โปร่งของจิต ก็จักเห็นอาการของจิตที่ยังเกาะเวทนานั้นอยู่ไม่มากก็น้อย คือ ลักษณะของอารมณ์จิตยังอึดอัดมีการเหมือนอดทนต่อเวทนานั้น จิตยังมีอาการหนักอึดอัดก็คือ จิตไม่วางอาการเวทนาของร่างกาย"

๒. "หากเป็นสังขารุเบกขาญาณตัวจริง เวทนาจักสูงสักเพียงใด อารมณ์ของจิตจักไม่หนักใจในอาการนั้น จิตโปร่งไม่ยึดเกาะอาการเวทนาใด ๆ ทั้งสิ้น เหมือนดั่งในวาระที่ท่านฤๅษีจักละขันธ์ ๕ มาครั้งนั้น เจ้าก็รู้สึกถึงอารมณ์จิตของท่านฤๅษีได้ว่าโปร่งเบา มิได้ขัดเคืองกับทุกขเวทนาของขันธ์ ๕ เลย นั่นแหละเป็นของจริงแห่งอารมณ์สังขารุเบกขาญาณ คือ จิตยอมรับและปล่อยวางร่างกายไปตามสภาพของความเป็นจริง ยอมรับกฎของกรรม หรือธรรมดาของร่างกาย อย่างจริงใจ"

๓. "แต่ก็ยังเป็นการดีที่เจ้าลดอารมณ์จิตบ่นไปได้บ้างแล้ว หมั่นคุมตัวนี้ให้ดี ๆ และหมั่นลดความหนักของจิตให้น้อยลงไปด้วย"

๔. "อาการหนักของจิต จักต้องดูและรู้ด้วยตาปัญญา คือ อย่าให้กิเลสมันมาบังความจริง ว่าจิตหามีความหนักไม่ ทั้ง ๆที่ยังมีอารมณ์หนักอยู่ เหมือนคนเดินตัวเปล่าก็โปร่งเบา ซึ่งต่างกับคนเดินแบกสัมภาระย่อมหนัก ฉันใดก็ฉันนั้น หากจิตไม่เกาะเวทนาจริง ๆ ก็จักมีสภาพตามนี้ สอบจิตดูอารมณ์เอาไว้ให้ดี ๆ"

๕. "การจักปลดความหนักของจิตลงได้ ต้องอาศัยพิจารณากฎไตรลักษณญาณ เห็นเกิด-เสื่อม-ดับของขันธ์ ๕ ซึ่งยึดถือเป็นแก่นสารสาระไม่ได้ และยึดสมถะภาวนา ๓ กองมาเป็นกำลัง คือ มรณานัสสติและอสุภะ และ กายคตานัสสติ ทำลายความยึดมั่นถือมั่นลงไปในความเกาะติดว่า ขันธ์ ๕ นี้เป็นของเรา เราไม่มีขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีในเรา และควบอุปสมานัสสติเอาไว้ ขออยู่กับสภาพไม่เที่ยงของขันธ์ ๕ อันมีความเที่ยงของมันอยู่อย่างนั้น เป็นครั้งสุดท้าย ขันธ์ ๕ นี้ตายลงเมื่อไหร่ ตั้งใจไปพระนิพพานเมื่อนั้น"

๖. "กรรมฐานเหล่านี้ พวกเจ้าต้องทำควบคู่กันไปตลอดเวลา จักทำให้บารมี คือ กำลังใจตัดกิเลสทรงตัวยิ่ง ๆ ขึ้นไป รักษากำลังใจจุดนี้ไว้ให้ดี ๆ จงจำปฏิปทาของท่านฤๅษีเอาไว้ ท่านทำเพื่อความไม่ประมาทโดยตรง รักษากำลังใจให้ดี คือ ไม่คิดให้จิตต้องเศร้าหมอง ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ท่านทำมาโดยตลอด จนกระทั่งจิตทรงตัวอยู่ในความดี มีจิตผ่องใสหมดจดจากความประมาทได้ในที่สุด"

ทางสายกลางนั้นเป็นอย่างไร


เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๖ ส.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้

๑. "พักผ่อนร่างกายเสียบ้าง หากตรากตรำเกินไป ร่างกายเพลีย จิตก็จักทรงสติให้สมบูรณ์ได้ยาก อย่าลืมพวกเจ้ายังไม่ใช่พระอรหันต์ จึงจักทรงอารมณ์สังขารุเบกขาญาณได้อย่างทรงตัว"

๒. "พระอรหันต์ แม้แต่ตถาคตเอง ยังต้องหาเวลาให้ร่างกายได้พักผ่อน ด้วยอยู่สุขวิหาร หรือนิโรธสมาบัติ พวกเจ้าต้องศึกษาตัวนี้เอาไว้ด้วย การเบียดเบียนร่างกายมากเกินไป ก็เป็นอัตตกิลมถานุโยค ไม่พึงทำ" (เพื่อนของผมขณะนั้นรู้สึกเวียนหัว ต้องกินยาลม)

๓. "สาเหตุมาจากเจ้าพักผ่อนไม่เพียงพอ การทำงานจักเป็นทางธรรม หรือทางโลกก็ตาม ต้องดูกำลังของร่างกายไว้ด้วย เพราะพวกเจ้ายังมีร่างกาย ร่างกายเป็นของโลก โลกมีเวลา เจ้าก็ควรมีเวลาให้ร่างกายด้วย หาตัวพอดีเหมาะสมของร่างกายในแต่ละสถานการณ์ให้พบ คือหาธรรมปัจจุบัน อันเป็นมัชฌิมาของร่างกาย และของจิตในขณะนั้นให้พบ และทำให้ได้ตามนั้น ก็จัดได้ว่าเดินสายกลางได้อย่างถูกต้องแท้จริง"

๔. "ธรรมของพระพุทธเจ้าที่พระอานนท์ นำมาสอนแก่เจ้านั้น คุณหมอคิดนั้นถูกต้องแล้ว แต่ยังไม่ละเอียดพอ ขอให้คิดในจุดนี้ให้บ่อย ๆ เจ้าเองก็สมควรที่จักทบทวนตามด้วย คิดให้เป็นจิตจักได้สงบ พ้นทุกข์ของความไม่เที่ยงได้เสียที"


รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2011, 18:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 18:31
โพสต์: 292


 ข้อมูลส่วนตัว


พระใบลานเปล่า กับสันตติภายนอกและสันตติภายใน





เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ ต.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐมทรงพระเมตตาตรัสสอนไว้ดังนี้

๑."เรื่องท่านพระใบลานเปล่า ท่านละมานะกิเลสได้ก่อน จึงจะบรรลุมรรคผล เพราะมานะกิเลสคือตัวยึดมั่นถือมั่น คิดหลงผิดว่าตนเองดีแล้ว รอบรู้ในพระไตรปิฎก อารมณ์นี้คือ สักกายทิฎฐิ คิดทะนงตนว่ารู้มาก จึงเสมือนหนึ่งจิตที่ลืมตัว ลืมตน คิดว่าตนเองดีแล้ว จุดนี้แหละที่บดบังความดีให้สูญหาย เป็นเหตุให้บรรลุมรรคผลมิได้"

๒. "บุคคลผู้ติดในสัญญา คือ ความจำอันเป็นปัญญาทางโลก มีความประมาท หลงคิดว่ามีปัญญาเลิศ สัญญาจึงบดบังปัญญาแต่เมื่อสมเด็จองค์ปัจจุบันทรงสะกิดให้ท่านทราบว่าความดีของท่านนั้นเป็นเพียงแค่สัญญา ความจำในพระไตรปิฎก หาใช่ความดีอันเป็นปัญญาในธรรมวิสัยไม่ อาศัยท่านมี สัมมาทิฎฐิ อยู่บ้าง กล่าวคือ ไม่ดัดแปลงพระไตรปิฎก จึงฉุกคิดถึงข้อเสียแห่งตนได้ เมื่อจิตมุ่งดี ตั้งใจหาผู้ช่วยชี้แนะให้ทำลายกิเลส คือ ความยึดมั่นถือมั่นว่าตนเองดีแล้วนั้น จน สักกายทิฎฐิ ผ่อนคลายลงแล้ว คือตัวถือดีหายไป จิตมีกำลังแล้ว เณรผู้เป็นพระมหาเถระจึงเทศน์โดยอรรถอุปมาอุปไมย (สอนวิธีจับเหี้ยให้ว่า เหี้ยมันเข้ารูอยู่ ๖ รู ถ้าจะจับมันให้อุดรูเสีย ๕ รู เหลือไว้แค่รูเดียวก็จะจับเหี้ยได้ ท่านเคยเก่งปริยัติ ก็เข้าใจความหมาย เจริญกรรมฐานที่ทวารใจอย่างเดียว พระพุทธเจ้าก็ทรงสงเคราะห์ โดยส่งฉัพพรรณรังสีมาปรากฏตรงหน้า สอนว่า ปิดอายตนะ ๕ เสีย เหลือแต่ทวารใจ แล้วพิจารณากายคตานุสติ ท่านก็ปฏิบัติตาม จึงบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ในที่สุด) พระใบลานเปล่าท่านเก่งปริยัติอยู่แล้ว ก็เข้าใจในอรรถนั้น จึงพิจารณาเป็นปัญญาเข้าถึงธรรมวิมุติได้"

๓. "จุดนี้แหละเจ้า จงอย่าลืมตน หากผู้ปฏิบัติธรรมยังไม่ถึงที่สุดของความดี คือพระนิพพาน จงอย่าคิดว่าตนเองมีความดี จักเป็นมานะกิเลส คือ จิตเต็มไปด้วยการยึดใน สักกายทิฎฐิ นั่นเอง"

๔. "สำหรับปัญหาของคุณหมอนั้น คำว่าสันตติมี ๒ อย่างใช่ไหม ตถาคตจักตอบว่า ใช่ คือ สันตติภายนอก กับสันตติภายใน ขันธ์ ๕ ไม่ว่าของตน, ของบุคคล, ของสัตว์ วัตถุธาตุใด ๆ นี่จัดว่าเป็นสันตติภายนอก ซึ่งทำงานสืบเนื่องกันอยู่มิได้ขาดสาย เป็นปกติของธรรมสันตติภายนอกนี้ สำหรับสันตติภายใน คืออารมณ์ของจิต ซึ่งเกิดดับอยู่ตลอดเวลา เนื่องด้วยปุถุชนคนหนาแน่นไปด้วยกิเลส ไม่รู้การเกิดดับของอารมณ์ เนื่องด้วยประมาทในอารมณ์ ขาดสติ-สัมปชัญญะ กำหนดรู้อารมณ์ที่เกิด ๆ ดับ ๆ นั้น โดยมีความหลงเป็นปัจจัยเกี่ยวเนื่องมาจากความประมาทในชีวิต คิดว่าตนเองจักไม่ตาย คำว่าตายในที่นี้หมายถึงความยึดมั่นถือมั่นว่า ร่างกายนี้มีในตน ตนมีในร่างกาย จึงแยกจิตกับร่างกายให้ออกจากกันมิได้ มีความหลงใฝ่ฝันว่าร่างกายนั้นไม่ตาย และไม่เชื่อในกฎของกรรม จึงถูกกิเลส-ตัณหา-อุปาทาน-อกุศลกรรมเข้าบงการอยู่ในอารมณ์ของจิต ยังอารมณ์ของจิตให้เกิด ๆ ดับ ๆ อยู่ในอาการของโมหะ-โทสะ-ราคะนั้น ประดุจหนึ่งบุคคลผู้มีร่างกายพลัดตกอยู่ในกระแสน้ำวนนั้น"

๕. "สันตติภายนอกนั้นแก้ไขไม่ได้ เป็นธรรมปกติของโลก แต่สันตติภายในนั้น แก้ไขได้ด้วยการกำหนดรู้ตามหลักพระธรรมคำสั่งสอนของตถาคต หรือพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ ที่สืบพระพุทธศาสนาต่อ ๆ กันมา โดยการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ให้จิตมีสติ-สัมปชัญญะระลึกได้อยู่ถึงมรณะสัญญาอยู่เสมอ รู้ถึงทุกข์อันเกิดเนื่องมาจากสันตติภายนอก รู้ทุกข์อันจิตเสวยอารมณ์ อันเป็นสันตติภายใน เห็นอารมณ์ในขณะจิตนั้น ๆ ด้วยฐานอันมีสติ-สัมปชัญญะ ที่เกิดจากอานาปานั้น และรู้ด้วยมีสติ-สัมปชัญญะ ที่เกิดจากพิจารณาสันตติภายนอกนั้น ปัญญาเกิดจากจุดนี้"

๖. "ที่ว่า ปัญญาเกิดจากจุดนี้ กล่าวคือ รู้แยกร่างกายที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลาว่าไม่ใช่มีในตน ตนไม่มีในร่างกาย ความทุกข์จากสันตติภายในนอกไม่มีผู้ใดบังคับได้ สันตตินั้นเที่ยงอยู่เยี่ยงนั้นเป็นปกติ เมื่อรู้ว่าร่างกายไม่ใช่ตน ไม่มีในตน ตนไม่มีในร่างกาย ก็สามารถแยกจิตออกมาโดยปัญญานั้น"

๗. "จิตนี่แหละที่เป็นตน มีในตนจึงสามารถแยกเวทนาที่เกิดกับจิต หรือสันตติภายในได้โดยแยบยล เป็นทางลัดตัดตรงชำระอารมณ์ของจิตให้ผ่องใส นำให้หลุดจากอาสวะกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน เข้าถึงมรรคผลนิพพานได้ในที่สุด"

๘. "สันตติภายนอกก็ดี สันตติภายในก็ดี จักต้องอาศัยจิตมีสติ-สัมปชัญญะ กำหนดรู้ว่าเหตุใดเป็นปัจจัยให้เกิด เหตุใดเป็นปัจจัยให้ดับ มิฉะนั้นก็จักตัดสันตติเหล่านั้นมิได้ อย่างเช่น การเคลื่อนไหวในอิริยาบถ ๔ เจ้าก็พึงกำหนดรู้ว่า การเคลื่อนไหวนั้น ๆ จักต้องมีเป็นปกติของอิริยาบถทั้ง ๔ จักยืน-เดิน-นั่ง-นอนด้วยอิริยาบถเดียวมิได้ ร่างกายหรือสันตติภายนอก จักต้องทำงานตามสันตติของโลก หรือเมื่อขันธ์ ๕ คน-สัตว์-วัตถุธาตุเกิดขึ้นมาแล้ว จักห้ามไม่ให้เสื่อม-ดับตามสันตติก็ห้ามไม่ได้ ฉันนี้ฉันใด สันตติภายในก็เช่นกัน"

๙. "หากจิตยังมีการเสวยอารมณ์อยู่ จักต้องรู้เหตุที่ทำให้เสวยอารมณ์นั้นโมหะ-โทสะ-ราคะจรเข้ามาในจิต จักต้องกำหนดรู้ และอารมณ์เหล่านั้นย่อมเกิด ๆ ดับ ๆหากไม่กำหนดรู้จิตก็จักทำงานต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสาย ความคิดที่จักหยุดยั้งอารมณ์ที่เบียดเบียนจิตอยู่นั้นก็ไม่มี เพราะไม่รู้เท่าทันกิเลส คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดอารมณ์ จิตจึงทำร้ายตนเองไปในสันตติภายในนั้นอย่างไม่รู้เท่าทัน"

๑๐. "การเจริญอานาปานัสสติ ทำให้จิตมีกำลัง การกำหนดรู้สภาวะของร่างกายให้อยู่ในมรณะสัญญา - กายคตา - ธาตุ ๔ หรือ อสุภสัญญา จึงยังให้สติ-สัมปชัญญะสมบูรณ์ เท่ากับสร้างความไม่ประมาทให้เกิดแก่จิต เพราะทราบชัดว่าร่างกายนี้ตายแน่ จึงเท่ากับเห็นสันตติภายนอก และจากการศึกษาโทษของการละเมิดศีล กรรมบถ ๑๐ ประการ เห็นโทษของกฎของกรรม อันเมื่อร่างกายตายแล้ว กฎของกรรมเหล่านั้นจักส่งผลให้จิตที่เสวยอารมณ์โมหะ-โทสะ-ราคะนั้นไปไหน จุดนี้ตถาคตจักไม่แยกกรรมดีหรือกรรมชั่ว เพราะอารมณ์ติดดีหรือติดเลว ก็ล้วนแต่ส่งผลให้จิตต้องโคจรไปตามภพภูมิที่ต้องจุติอยู่เสมอ กล่าวคือไตรภูมินั้นไม่เที่ยง ยังตกอยู่ในสันตติ คือ เคลื่อนไปมิได้ขาดสาย จึงจักขอกล่าวรวมเป็นอาการของความไม่รู้เท่าทันในสันตติภายใน คือ จิตไม่รู้เท่าทันในอารมณ์โมหะ-โทสะ-ราคะ ที่เกิดดับอยู่ในจิตนี้"

๑๑. "เมื่อบุคคลใดรู้สันตติภายในแล้ว ก็ย่อมจักกำหนดรู้เหตุที่เกิดและที่ดับแห่งอารมณ์นั้น ความประมาทย่อมไม่มี หรือมีก็น้อยเต็มที บุคคลผู้นั้นก็จักทำการระงับ หรือตัดข้อต่อแห่งรากเหง้าโมหะ-โทสะ-ราคะทิ้งไป จึงจักทำจิตให้บริสุทธิ์หมดจดปราศจากกิเลสได้"

๑๒. "การเพียรละอารมณ์โมหะ-โทสะ-ราคะ ให้ออกไปจากอารมณ์ของจิตโดยกำหนดรู้อารมณ์ของจิตในขณะหนึ่ง ๆ นั้น จัดได้ว่าเป็นการทำสันตติทางธรรมให้เกิดขึ้น สืบเนื่องให้จิตมีกำลังศีล-สมาธิ-ปัญญา ก็ร้อยรัดเป็นลูกโซ่ที่ปะติดปะต่อกันเข้ามาในอารมณ์ของจิตแทนจิตนั้นจึงจัดได้ว่าเข้าถึงปัญญา วิมุติทางพุทธศาสนาอย่างแท้จริง กล่าวคือ บุคคลนั้นถึงพร้อมด้วยศีล-สมาธิ-ปัญญา เป็นพระอริยบุคคลขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือ เป็นพระอรหันต์ขีณาสพนั่นเอง"

๑๓. "เพราะฉะนั้น การที่ยังมีร่างกายอยู่ก็จักต้องมีสติกำหนดรู้กายว่า ปกติของร่างกายนั้นเป็นอย่างไร เห็นคน สัตว์ วัตถุธาตุก็ต้องมีสติกำหนดรู้ แม้แต่จิตจักสัมผัสหรือเห็นพรหม เทวดา นางฟ้า ก็ต้องมีสติกำหนดรู้ความปกติของสิ่งนั้น ๆ ยอมรับนับถือในสันตติภายนอก อันมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไปเป็นปกติตามสภาวธรรมนั้น ๆ แต่จิตไม่ปรุงแต่ง กล่าวคือ ไม่ให้อกุศลหรือกุศลเกิดขึ้นในอารมณ์ในขณะสัมผัสธรรมนั้น ๆ กล่าวคือ รู้สักเพียงแต่ว่ารู้ เห็นเพียงสักแต่ว่าเห็น ไม่เกาะติดในสภาวธรรมนั้น ๆ เห็นเป็นปกติ จึงตัดโมหะ โทสะ ราคะไม่ให้เกิดขึ้นในจิต นี่คือจิตในจิต จุดแรกคือ รู้ธรรมในธรรม การรู้เท่าทันสภาวะของจิตก็คือ รู้เวทนาในเวทนา การรู้เท่าทันในสภาวะของโลกก็คือ รู้เวทนาภายนอก หรือสันตติภายนอก การรู้เท่าทันสภาวะของจิต คือรู้เวทนาภายในหรือสันตติภายใน"

๑๔. "ที่สุดของธรรมก็คือ รู้แยกจิต แยกกาย แยกเวทนา แยกธรรม สรุปรวมเป็นหลักใหญ่ได้ ๒ ประการ คือ รู้เท่าทันกองสังขารของกายและจิต ถ้าทำได้เท่านี้ พวกเจ้าก็จบกิจพระพุทธศาสนา ตัดสันตติทางโลก (ภายนอก) ทิ้งเสียได้ สันตติทางธรรมก็เกิดขึ้นเอง เป็น อกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ เป็นวิญญูชน ผู้เจริญเต็มที่แล้วในพระพุทธศาสนานั่นเอง รู้แล้วต้องจำและนำไปปฏิบัติให้ได้ด้วย"

ให้รู้ความสำคัญของอานาปานัสสติ


เมื่อเอาเรื่องจริต ๖ มาใคร่ครวญ ก็พบว่ากรรมฐานทุกกองต้องอาศัยกำลังจากอานาปากองเดียวที่เป็นรากฐานสำคัญสุด หากรู้ลมเฉย ๆ ก็เป็นแค่สมถะ (เป็นฌานสมาธิ) แต่ถ้ารู้ละเอียดลงไปว่า แม้ลมหายใจนี้ก็ไม่เที่ยง และเป็นเหตุเกี่ยวเนื่องกับความตายก็เป็นวิปัสสนา โยงไปสู่ความไม่ประมาทในธรรม ไม่ประมาทในชีวิต หากร่างกายตายแล้ว (หมดลม) จิตควรจักมีเป้าหมายไปไหน สิ่งที่จิตของนักปฏิบัติต้องการก็คือพระนิพพาน จึงขอสรุปสั้น ๆ ว่า รู้ลม รู้ตาย รู้นิพพาน หรือรู้อานาปา รู้ มรณา รู้อุปสมานั่นเอง ผู้ที่จะรู้ได้ระดับนี้จะต้องมีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันสภาวะของกายและจิตที่ทำงานเป็นสันตติภายนอกและภายในอยู่เป็นปกติ พิจารณามาถึงจุดนี้ สมเด็จองค์ปฐม ก็ทรงพระเมตตาตรัสสอนว่า

๑. "ให้รู้ความสำคัญของอานาปานัสสติ แต่มิใช่เกาะติดอยู่ในลมหายใจนั้น คือ รู้ความไม่เที่ยงของลมหมายใจ แต่ไม่ให้เกาะติดความไม่เที่ยงนั้น เท่ากับมีจิตทรงอยู่ในฌานอันเกิดขึ้นได้กับการกำหนดรู้ลมหายใจ แต่มิใช่หลงใหลใฝ่ฝันในฌาน อันเกิดขึ้นได้กับการกำหนดรู้ลมหายในนั้น ๆ เมื่อร่างกายยังอยู่ ก็จำเป็นต้องพึ่งลมหายใจ เป็นบันใดให้ก้าวเข้าไปสู่พระนิพพาน ร่างกายพังเมื่อไหร่ ลมหายใจก็หมดความจำเป็นต่อจิตเมื่อนั้น"

๒. "อรูปฌานหรือรูปฌานก็เช่นกัน เพื่อเป็นกำลังให้จิตตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานแล้ว ร่างกายพัง จิตก็โคจรเข้าสู่ดินแดนพระนิพพานตั้งมั่นแล้ว อรูปฌานหรือรูปฌานก็หมดไป เหลือแต่อาทิสมานกายที่บริสุทธิ์ล้วน ๆ คือ พระวิสุทธิเทพนั่นเอง"

๓. "เพราะฉะนั้น เมื่อยังมีชีวิตอยู่ อย่าทิ้งอานาปานัสสติ อย่าทิ้งรูปฌานและอรูปฌาน ใช้ตามปกติที่ร่างกายยังมีลมหายใจ แต่ไม่หลงใหลติดอยู่ตามนั้น อาศัยเพียงแค่ให้ร่างกายได้ระงับทุกขเวทนาด้วยกำลังของฌาน อาศัยฌานเป็นกำลังก้าวไปเพื่อห้ำหั่นกิเลส เป็นบันไดก้าวเข้าไปสู่พระนิพพาน"

ยังมีชีวิตอยู่ อย่าหนีปัญหา

เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๔ต.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนไว้ดังนี้

๑. "ในเมื่อพวกเจ้ายังมีร่างกายอยู่ในโลก เรื่องที่จักหนีปัญหาต่าง ๆ ย่อมเป็นไปไม่ได้ ยกเว้นหมดอารมณ์ ๒ ที่ครองใจเมื่อใดนั่นแหละ มิใช่ว่าปัญหาของโลกจักหมดไป หากแต่จิตของพวกเจ้าจักยอมรับนับถือว่า ปัญหาของโลกเหล่านี้มันเป็นเรื่องธรรมดาของโลก อารมณ์จิตจักไม่ยึดถือปัญหาเหล่านั้นมาเป็นอารมณ์ที่ขุ่นข้องหมองใจ เห็นแต่ความเป็นธรรมดาของปัญหานั้น ๆ ดูเป็นปกติธรรมดาของโลกไปในขณะนี้"

๒. "จิตของพวกเจ้ายังตัดสังโยชน์ ๒ ยังไม่ได้ ก็พึงคิดว่าเหตุการณ์ในอดีตที่เป็นปัญหานั้นผ่านไปแล้ว ไม่ควรจักยึดจักถือนำมาคิดให้ติดข้องอยู่ในอารมณ์ และอนาคตที่ครุ่นคิดว่าจักมีปัญหาที่เกิดขึ้นมา ก็ยังมาไม่ถึง จึงไม่ควรจักนำมาครุ่นคิดให้ติดข้องอยู่ในอารมณ์เช่นกัน เพราะการคิดถึงอดีตที่ผ่านไปแล้ว หรืออนาคตที่ยังมาไม่ถึง โดยยกเหตุแห่งปัญหาขึ้นมาเป็นหลักเกาะยึด นั่นเป็นความทุกข์ของจิต"

๓. "ทางที่ดีควรจักอยู่ในธรรมปัจจุบันขณะนี้ปัญหาในธรรมปัจจุบันนั้นยังไม่มี ก็จงรักษาอารมณ์จิตให้เป็นสุข สุขอยู่ในธรรมปฏิบัติที่เห็นการสมควรแก่วาระที่จิตต้องการในขณะนั้น ๆ ให้อาหารธรรมแก่จิตที่ต้องการความสงบหรือต้องการอารมณ์คิด"

๔. "การย้อนพิจารณาถึงปัญหาทางโลกไม่ควรคิด เพราะจักทำให้จิตเป็นทุกข์ แต่การย้อนพิจารณาถึงหลักธรรมปฏิบัติที่ผ่านมาแล้วนั้นควรทำ เป็นหลักอนุโลม ปฏิโลม (พักหรือเพียร, สมถะหรือวิปัสสนา) ถอยหน้าถอยหลังทบทวนมรรคผล จุดนี้เพื่อความมั่นคงของจิต จักเห็นได้ง่าย"

๕. "อย่างในทางโลก หากมีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นเป็นที่กระทบกระเทือนใจมาก จิตก็จักครุ่นคิด แต่เรื่องนั้นระลอกแล้วระลอกเล่า ไม่ยอมปล่อยวาง จนอารมณ์ของจิตนั้นจดจำเหตุการณ์หรือปัญหานั้นจนขึ้นใจ จนในบางครั้งร่างกายตายไปแล้ว จิตมันยังมีสภาพจำเหตุการณ์เหล่านั้น จนนำจิตไปสู่ภพสู่ชาติตามอารมณ์นั้น ก็มีมากในบุคคลชาวโลกทั่ว ๆ ไป"

๖. "จากกำลังจิตจุดนี้ พวกเจ้านำมาใช้ในทางธรรมปฏิบัติ ย้อนต้นย้อนปลายเหตุการณ์ ทบทวนคำสอน ครุ่นคิดไม่วาง ระลอกแล้วระลอกเล่า จิตมันก็จักมีสภาพจำในธรรมคำสอนนั้น ๆ จิตไม่วางพระธรรม ก็สามารถทำปัญญาให้เกิดจากสัญญาความจำที่มั่นคงนั้น ๆ (แบบวิปัสสนาข้อ ๙ สัจจานุโลมิกญาณ) ในที่สุดเมื่อจิตเกิดปัญญามากขึ้นๆ ตามลำดับ จนกระทั่งถึงปัญญาวิมุติเกิดขึ้นกับจิต จิตก็จักมีกำลังตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานได้"

๗. "จิตติดปัญหาทางโลก คิดมากเท่าไหร่ ยิ่งโง่มากขึ้นเท่านั้น เพราะไม่มีใครที่จักเอาปัญญาส่วนตนไปแก้ปัญหาของโลกให้ได้หมด ตถาคตหรือพระพุทธเจ้าพระองค์ใดก็แก้ปัญหาของโลกให้หมดไปไม่ได้ (พระองค์ยกเว้นไม่โปรดสอน พวกปทปรมะ คือ ไม่ศรัทธาในพระองค์) โลกทั้งโลกตกอยู่ใน ไตรลักษณญาณเป็นปัญหา เพราะโลกมีความพร่องอยู่เป็นนิจด้วย กิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม ความพอดีของโลกไม่มี โมหะ-โทสะ-ราคะ ครองโลกอยู่ ทำให้ความพอดีไม่เกิดแก่โลก ทุกอย่างมีปัญหาด้วย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นปกติ"

๘. "บุคคลผู้ฉลาดเป็นบัณฑิตจักยกจิตตนให้พ้นจากปัญหาทางโลก คิดแต่จักหาธรรมวิมุติ เพื่อยกจิตตนให้พ้นจากโลก เพิ่มพูนปัญญาให้เกิดในโลกุตรธรรม แก้ปัญหาส่วนตนเป็นหลัก ไม่ผูกมัดจิตให้ตกเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม โมหะ โทสะ ราคะ มีอำนาจก็ทำร้ายจิตได้น้อยเต็มที"

๙. "บุคคลผู้เป็นบัณฑิตย่อมชำระอารมณ์ไม่ให้ตกเป็นทาสแห่งกิเลสตัณหานั้น ทำความพอดีให้เกิดแก่จิตของตนเป็นหลักใหญ่ เมื่อจิตเกิดความพอดีแล้ว คำว่าโยกคลอนไปในปัญหาของโลกย่อมไม่มี มิใช่เพียงสักแต่ว่าปัญหาโลกภายนอกจักโยกคลอนจิตของบุคคลผู้นั้นมิได้ แม้แต่ปัญหาโลกภายในหรือ ขันธโลก ก็มิอาจจักเป็นปัญหาแก่บุคคลผู้นั้นได้ เพราะเนื่องจากความพอดีที่ถึงแล้วในจิต และขนตกแล้ว (หมดความหวั่นไหว) จากเหตุแห่งปัญหาที่เกิดเป็นปกติในโลก ทั้งภายในและภายนอกนั้น"

๑๐. "เพราะฉะนั้นพวกเจ้าจงหมั่นรักษาอารมณ์จิตให้อยู่ในธรรมปัจจุบันเป็นดีที่สุด เห็นธรรมทั้งหลายในโลกที่เข้ามากระทบจิตเป็นเรื่องธรรมดา เป็นไตรลักษณ์เกิดดับอยู่ปกติ ไม่มีใครหลีกพ้นไปได้ จึงไม่ควรจักยึดธรรมที่มีความไม่เที่ยง ปรวนแปรอยู่เป็นปกติ หมั่นพิจารณาธรรมนั้นให้ถึงจุดอนัตตา จิตจักคลายจากอารมณ์ที่เกาะยึดอยู่ในธรรมของชาวโลกนั้น ๆ ทำความเบื่อหน่ายและปล่อยวางลงได้ในที่สุด"

๑๑. "ตายแล้วไปไหน จุดนี้ควรจักโจทย์ถามจิตเอาไว้ให้มาก ๆเพื่อป้องกันความประมาทในอารมณ์ เมื่อเกิดความฟุ้งซ่านติดในปัญหาของโลก คิดสรุปเอาตรงที่ไม่ช้าไม่นาน เมื่อร่างกายนี้ตายแล้ว ก็จักต้องทิ้งปัญหานี้จากไป แต่ถ้าหากตัดไม่ได้ จิตก็จักนำปัญหานี้เกาะติดไปสู่ภพสู่ชาติ มันดีนะหรืออย่างนี้

๑๒. อย่าลืมความตายเกิดขึ้นได้ทุกขณะจิต หายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกก็ตาย หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้าก็ตาย การปล่อยอารมณ์จิตให้ติดปัญหาของโลก ล่วงเวลามากไปเท่าไหร่ เท่ากับประมาทต่อความตายมากขึ้นเท่านั้น การไม่รับรู้ปัญหาเลยนั้นก็เป็นไปไม่ได้ อยู่ในโลกก็จำเป็นต้องรับรู้ แต่รู้ก็ให้เพียงสักแต่ว่ารู้ อย่าผูกจิตให้เกาะติดปัญหานั้นให้มากจนเกินไป ต้องพยายามทำการระงับ ตัดปล่อยวางปัญหานั้นให้เร็วที่สุดเท่าที่จักมีกำลังทำได้

๑๓. จุดนี้แหละพึงถามจิตตนเข้าไว้ ตายแล้วจักไปไหน เกาะอยู่ในโลกตามนั้นไปพระนิพพานได้ไหม ถามให้บ่อย ๆ จิตจักคลาย ปล่อยวางปัญหาของโลกไปได้ตามลำดับ แก้ไขได้ก็แก้ไขไป แก้ไขไม่ได้ก็ช่างมัน อีกมิช้ามินานร่างกายนี้มันก็จักตายไปเสียจากโลกนี้แล้ว พวกเจ้าก็จักต้องรักษาอารมณ์ของจิตให้ตายไปจากโลกนี้ด้วย อย่าให้จิตเกาะติดโลกอีก ไม่ว่าโลกใด ๆ พรหมโลก เทวโลก มนุษยโลก อบายภูมิ ๔ ตัดเด็ดขาดมุ่งจิตตัดตรงพระนิพพานจุดเดียวเท่านั้น คิดไว้ตามนี้ จักได้ไม่หลงลืมปล่อยอารมณ์ให้ฟุ้งซ่านกับปัญหาของโลกจนเกินไป"

๑๔. "สุขทุกข์อันเกิดแก่อารมณ์ บัณฑิตย่อมฉลาดป้อนอาหารธรรมทำให้จิตเป็นสุขได้ แต่ในบุคคลผู้โง่เขลา ย่อมป้อนยาพิษทำร้ายจิตให้รับทุกข์อยู่เป็นประจำ ไม่มีใครทำร้ายเราได้มากเท่ากับจิตของเราทำร้ายตัวเราเอง ขอให้พวกเจ้าคิดดูให้ดี ไม่ต้องโทษใคร กฎของกรรมมันเป็นอย่างนั้น ปัญหาเป็นเรื่องปกติของโลก โลกธรรมเป็นเช่นนั้น จักไปยึดถือมาเป็นอารมณ์ทำร้ายจิตเพื่อประโยชน์อันใด"

๑๕. "ปัญหาของโลกรวมอยู่ในโลกธรรม ๘ ทั้งสิ้น ไม่ว่าโลกภายนอกหรือโลกภายใน มีลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็เพราะร่างกาย มีเสื่อมลาภ-ยศ มีนินทา-ทุกข์ ก็เพราะร่างกาย นี่เป็นปกติของชาวโลก ที่กอปรกรรมเหล่านี้ร่วมกันมาแต่อดีต ปัจจุบัน อนาคตชาติ อย่างนับอสงไขยไม่ถ้วน จึงต้องมีการเสวยผลของกรรมเหล่านี้อย่างหนีไม่พ้น นี่เป็นความปกติที่ไม่มีใครหนีโลกธรรม ๘ ไปได้พ้น ตราบใดที่ยังมีร่างกายทรงอยู่ แม้จิตจักวิมุติแล้ว แต่ร่างกายยังอยู่ในโลก ก็หนีโลกธรรม ๘ ไปไม่พ้น ดั่งในพระสูตร พวกเจ้าจักศึกษาได้ว่า องค์สมเด็จปัจจุบันก็ยังหนีโลกธรรม ๘ ไปไม่พ้น ทรงถูกด่า นินทา สรรเสริญ อยู่เป็นประจำ"

๑๖. "การมีลาภ เสื่อมลาภ เห็นได้จากบางครั้งกฎของกรรมชักนำให้ตกอยู่ในท้องถิ่นทุรกันดาร เกิด ทุกขภิกขภัย จนได้อาหารน้อยบ้าง ก็มีอยู่หลายครา นี้เป็นธรรมดา เพราะยังมีร่างกายอยู่ในโลก หนีกฎธรรมดาของโลกไม่พ้น แต่สภาวะจิตที่มีอารมณ์สังขารุเบกขาญาณ ย่อมเห็นธรรมในธรรมนั้น อารมณ์จิตเป็นสุข อุเบกขาจิตมีกำลังแรงกล้า เหนือเวทนาของร่างกาย จึงไม่เกิดทุกข์เกิดสุขไปตามสภาวะของร่างกายที่ถูกธรรมมากระทบนั้น เขาด่า นินทา สรรเสริญได้ เพราะมีร่างกาย มียศ เสื่อมยศได้ เพราะร่างกาย มีลาภ เสื่อมลาภได้เพราะร่างกาย มีสุขมีทุกข์ได้เพราะร่างกาย"

๑๗. "เมื่อมีสติระลึกได้เสมอว่า ร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่มีในเราเราไม่มีในร่างกาย เราไม่ใช่ร่างกาย ร่างกายมีสภาพเหมือนบ้านเช่าที่เราอาศัยอยู่ชั่วคราว ซึ่งตามปกติบ้านในโลกทั่ว ๆ ไป ต่อให้สร้างแข็งแรงสักปานใด มันก็ต้องเสื่อม เรือนร้าว หลังคารั่วอยู่ตามปกติ ซึ่งเป็นปัญหาให้ผู้อยู่ต้องซ่อมแซมอยู่ตลอดเวลา ซ่อมไหวก็แค่ระงับความเสื่อมได้ชั่วคราว คนยังอาศัยอยู่ก็ต้องซ่อมแซมเพื่อแก้ปัญหานั้นให้ลุล่วงไปชั่วคราว แต่ในที่สุดบ้านเช่านั้นก็พัง ปราสาทหินศิลาแลงที่แข็งแรงในโลก ก็มีความพังไปในที่สุดเช่นกัน"

๑๘. "การมีครอบครัว มีร่างกายต่อเนื่องกับบุคคลที่เป็นญาติเกี่ยวดอง ก็เหมือนมีบ้านอาศัยอยู่อิงฝาชายคาติดต่อกันไปหลายๆ หลัง บ้านใดบ้านหนึ่งมีปัญหาเรือนร้าว หลังคารั่วก็รู้กันหมดทั่ว ๆ ไป อยู่ร่วมกันก็ต้องซ่อมแซมแก้ไขปัญหานั้นตามกำลังที่จักช่วยได้ เพราะถ้าปล่อยให้ร้าวอยู่อย่างนั้น ก็กระเทือนถึงเรือนที่เราอาศัยอยู่ จักทำให้เรือนนั้นพังเร็วขึ้น เมื่อคนยังอาศัยอยู่ก็ต้องซ่อมแซมแก้ปัญหาร่วมกันไป แต่ก็กำหนดรู้หลักไตรลักษณ์เข้าไว้ แก้ไขปัญหาได้ชั่วคราว ไม่ติดใจอยู่ในปัญหานั้น เพราะเห็นตัวธรรมดา กฎของกรรมเป็นเช่นนั้น เมื่อถึงที่สุดบ้านเช่ามันก็พังไปตามกาลสมัย เรือนใดเรือนหนึ่งก็อาจจักพังไปก่อนตามวาระกรรม แต่ผู้อยู่ในเรือนนั้น หากรู้สภาวะไตรลักษณ์ย่อมตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่า บ้านเช่านั้นพังแน่ ก็จักเตรียมการอพยพออกจากบ้านเช่าอยู่เนือง ๆ" (ทางธรรมปฏิบัติ คือ เป็นผู้ไม่ประมาท ซ้อมตายและพร้อมตายอยู่เสมอ จนจิตชินเป็นฌานแบบง่าย ๆ คือ รู้ลม รู้ตาย รู้นิพพาน)

๑๙. "บุคคลผู้ฉลาดเป็นบัณฑิตในพุทธศาสนา ย่อมจักหาบ้านอยู่อย่างถาวรไม่ร่อนเร่ เช่าบ้านหลังแล้วหลังเล่าอีกต่อไป เป็นจิตที่แสวงหาความสุขอย่างแท้จริง พร้อมที่จักทิ้งร่างกายของตน และทิ้งความผูกพันในร่างกายของบุคคลอื่น เพื่อเข้าสู่ความเป็นพระวิสุทธิเทพ ที่ไม่ต้องเคลื่อนไปจุติอีก ในดินแดนอมตะพระนิพพานจุดเดียว"

๒๐. "ตั้งใจคิดอย่างนี้นะ ถ้าหากไม่กระจ่างเรื่องโลกธรรม ๘ ให้พวกเจ้าย้อน ดูคำสอนของ ท่านสิม พุทธจาโร ในอดีต แล้วพวกเจ้าจักเข้าใจในโลกธรรม ๘ ยิ่งขึ้น เพราะคำสอนนั้นเป็นอริยสัจ ทุกขสัจ อันเกิดขึ้นกับผู้ที่มีร่างกายอยู่ในโลกทุกคน"


รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2011, 18:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 18:31
โพสต์: 292


 ข้อมูลส่วนตัว


มนุษย์หัวแถว ยังไม่ดีเท่าเทวดา นางฟ้าท้ายแถว





เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑ ส.ค. ๒๕๓๖ หลวงพ่อฤๅษี ท่านมีเมตตามาสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้

๑. "เรื่องท้าวจตุมหาราชทั้ง ๔ นั้น ใครจะไหว้หรือไม่ไหว้ พวกเอ็งก็ไปไหว้ท่านก็แล้วกัน วัดท่าซุงนี้อยู่ได้ด้วยพระ พรหม เทวดา นางฟ้า ท่านช่วยสงเคราะห์อยู่เบื้องหลัง พระคุณของท่านทั้งหลายตอบแทนเท่าไหร่ก็ไม่หมด เป็นคนจงอย่าลืมตัว มนุษย์หัวแถวไม่ดีเท่าเทวดา นางฟ้า ท้ายแถว ท่านเป็นผู้ไม่มีขันธ์ ๕ ไม่สกปรก ไม่ร้อน ไม่หนาว ไม่หิวกระหาย และขี้ก็ไม่เหม็นอย่างเรา ๆ"

๒. "มีสมมุติสงฆ์บางคนไม่ยอมกราบท้าวมหาราชทั้ง ๔ เพราะคิดด้วยความหลงผิด (จิตเป็น มิจฉาทิฎฐิ ) ว่า ท่านมีศีลไม่ครบ ๒๒๗ ฉันแน่กว่า เพราะฉันมีศีล ๒๒๗ จิตผู้ใดก็ตามที่เริ่มต้นด้วย มิจฉาทิฎฐิ อะไร ๆ ที่ตามมาก็เป็น มิจฉาทิฎฐิ หมด (ท่านหมายถึง มิจฉาทิฎฐิ อีก ๗ ตัว ก็จะเกิดตามมาเป็นขบวนรถไฟ หัวขบวนนำไปทิศทางใด ก็จะลากอีก ๗ ตู้ขบวนตามไปด้วย)"

๓. ข้อเท็จจริง หลวงพ่อท่านให้รายละเอียดไว้ดังนี้
๓.๑ แม้เทวดาชั้นยามาและชั้นดุสิตท่านก็มีศีลพระครบ ๒๒๗
๓.๒ เทวดาและพรหมที่เป็นพระอริยเจ้า ตั้งแต่พระโสดาบันถึงอนาคามี ท่านจะอยู่ชั้นใดท่านก็มีศีล ๒๒๗ ครบ
๓.๓ ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ล้วนแต่เป็นพระอนาคามีทุกองค์ รวมทั้งพระยายมราช และพระอินทร์ด้วย
๓.๔ เทวดา นางฟ้า ที่วัดท่าซุงมีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ท่านเป็นพระอริยเจ้าเบื้องสูง คือ พระอนาคามีกันทั้งนั้น


วิจารณ์ หรือ ธัมมวิจัย บันทึกไว้เมื่อ ๔ ส.ค. ๒๕๓๖ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อ่านและพิจารณาแล้วเห็นว่ามีประโยชน์กับพุทธบริษัทที่ต้องการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ในชาติปัจจุบันนี้ มีความสำคัญดังนี้

๑. "เป็นธรรมดาของผู้ที่ยังไม่รู้จริง เพราะศีลของเขายังไม่เต็ม เมื่อไม่มีอธิศีล จึงยังไม่รู้เรื่องของพระพุทธศาสนาได้ตามความเป็นจริง เพราะพระพุทธเจ้าจะอนุญาตให้ผู้ออกประกาศพระศาสนาของพระองค์ได้ ก็ต่อเมื่อตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ข้อแรกได้แล้ว คือ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปเท่านั้น จึงจะประกาศพระศาสนาของพระองค์ได้โดยไม่ผิดพลาด ท่านปิดนรกหรืออบายภูมิ ๔ ได้เหมือนกับท่าน สิ่งใดที่ท่านยังปฏิบัติไม่ถึง ท่านก็เว้นเสียไม่สอน ไม่เดาส่ง ท่านมีหิริโอตตัปปะ"

๒. "เกี่ยวกับบารมีธรรม ซึ่งมีไม่เสมอกัน เพราะเขาไม่รู้ว่าท้าวมหาราชทั้ง ๔, พระอินทร์, พระยายมราช ล้วนเป็นพระอนาคามีแล้วทุกองค์ ศีลท่านเต็ม ๒๒๗ ไม่ใช่แค่ ๕-๘-๑๐ เท่านั้น ความจริงเทวดาชั้นยามากับชั้นดุสิตท่านก็มีศีลเต็ม ๒๒๗ แต่พวกนี้เขาไม่ทราบ ในหมู่คนที่ยังไม่ทราบเรื่องนี้ ส่วนใหญ่คนที่ไม่เข้าใจเรื่องศีล เพราะยังไม่มีอธิศีล จึงต้องให้อภัยกันตรงนี้แหละ"

๓. "เกี่ยวกับกฎของกรรมของวัดท่าซุง ซึ่งยังไม่เห็นความดี เห็นบุญคุณของเทวดา นางฟ้า พรหม ขนาดท้าวมหาราชทั้ง ๔ พระอินทร์ พระยายม ก็ยังไม่เห็น เอาเป็นว่ากรรมบังตาท่านก็แล้วกัน เรื่องนี้กรรมใครกรรมมัน"

๔. "ข้อเท็จจริง บุคคลผู้รับศีล ๒๒๗ (สวดญัตติในพิธีบวชพระ) ยังไม่ใช่พระ พระองค์เรียกพวกนี้ว่า สมมุติสงฆ์เท่านั้น พระองค์จะเรียกพวกนี้ว่าเป็นพระได้ ต่อเมื่อมีคุณธรรมของจิต สามารถตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ข้อแรกได้แล้วเท่านั้น จึงจะเป็นพระที่แท้จริงในพุทธศาสนา การเป็นพระในพุทธศาสนา พระองค์ไม่จำกัดเพศและวัย ซึ่งต้องตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไปก็เป็นพระได้ เช่น นางวิสาขา ท่านก็เป็นพระโสดาบันตั้งแต่อายุ ๗ ปี เป็นต้น"

๕. "ศีลมี ๒ ระดับ คือ
ก) โลกียศีล ซึ่งยังไม่มั่นคง เสื่อมได้ ขาดได้ หายไปได้
ข) โลกุตรศีล เป็นศีลที่มั่นคง ไม่เสื่อม ไม่ขาด ไม่มีวันถอยหลังอีกต่อไป พ้นสภาพจากความไม่เที่ยงในศีล เที่ยงและมั่นคงในศีล ซึ่งจะไม่เสื่อม ไม่ขาดอีกต่อไป เพราะเหตุนี้แหละ ท่านจึงพ้นนรก พ้นอบายภูมิ ๔ ได้อย่างถาวร "

๖. "ดังนั้น พระธรรมในพุทธศาสนาจะนึก ๆ เอาเอง ด้วยปัญญาของชาวโลก ซึ่งไม่มีศีลเป็นตัวคุมจิต หรือมีเพียง โลกียะศีลย่อมไม่ได้ จะต้องมีคุณธรรมของจิตเป็นพระโสดาบันก่อน จึงจะเข้าใจพระธรรมในพุทธศาสนาได้โดยไม่ผิดพลาด" (ยิ่งเรื่องพระนิพพาน พวกที่จิตยังไม่เข้าถึงความเป็นพระโสดาบันแล้ว จะไม่มีทางเข้าใจ หรือหมดสงสัยในเรื่องพระนิพพานไปได้ เพราะพระโสดาบันแปลว่า ผู้มีกระแสจิตสัมผัสเข้าถึงพระนิพพานได้แล้ว หมายความว่าอย่างหยาบอีก ๗ ชาติถึงพระนิพพาน, อย่างกลางอีก ๓ ชาติ และอย่างละเอียดอีก ๑ ชาติ เป็นต้น)

๗. "หลวงพ่อท่านมีเทปและหนังสือ เปิดแล้วเปิดอีกที่วัด ตอนที่ท่านป่วยมาก จุดประสงค์ก็เพื่อให้ทุกคนที่ฟังได้รู้ความจริงเกี่ยวกับเทวดา และพรหม เทวดาท่านบวชใจกัน ท่านมีหิริโอตตัปปะเป็นคุณธรรมประจำใจของท่านอยู่ เพียงท่านตั้งสัจจะที่จะงดเว้นหรือวิรัชเท่านั้น ศีล ๒๒๗ ท่านก็เต็มทันที หลวงพ่อท่านว่า ไม่หุบเข้าหุบออกเหมือนมนุษย์ขี้เหม็นทั้งหลาย มีขี้ทั้งตัวแล้วแถมยังโง่อีกด้วย"

๘. "หลวงพ่อท่านชี้ให้เห็นว่า เทวดา นางฟ้า พรหมที่เป็นพระอริย นั้นมีมากมายนัก และท่านเองก็ปฏิบัติเป็นตัวอย่างที่ขอบคุณเทวดา นางฟ้า พรหม ที่ช่วยสงเคราะห์ท่าน และวัดท่าซุงตลอดมา ท่านแสดงความกตัญญูรู้คุณท่านเหล่านั้นไว้ชัดเจน แต่คนฟัง ฟังแล้วไม่เข้าใจ เอาเป็นว่ากรรมบังตาพวกนั้นไว้ก็แล้วกัน สุดท้ายหลวงพ่อท่านก็เน้นอีกว่า เทวดาท้ายแถวก็ยังดีกว่ามนุษย์หัวแถว"

วจีกรรมกับการสนทนาธรรม


เมื่อวันพุธที่ ๔ ส.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนเพื่อน ของผมในเรื่องนี้ว่า

๑. "หากเจ้าจักเล่าพฤติกรรมของบุคคลผู้ใด เป็นการประกอบธรรมการสนทนา จงหลีกเลี่ยงเอ่ยอ้างชื่อของบุคคลผู้นั้น จุดนี้พึงระวังให้มาก เพราะจักทำให้ราคะและปฏิฆะเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ฟังได้ หากเขาไม่รู้ว่าเป็นใคร จิตเขาก็จักไม่ผูกพันกับบุคคลผู้นั้นยังจักดีกว่า เรียกว่า เจ้าไม่ได้สร้างอารมณ์เบียดเบียนให้แก่ผู้ฟัง" (เมื่อฟังพระองค์ทรงตรัสแล้ว ก็รู้สึกตนเองว่า การพูดถึงบุคคลที่ ๓ ก็คือ การ นินทาปสังสา นั่นเอง)

๒. "เมื่อเป็นเช่นนี้ วาจาของเจ้าสร้างความเบียดเบียนให้เกิดแก่อารมณ์ของบุคคลผู้ฟัง แล้วอารมณ์ผู้ฟังก็ย้อนกลับมาเบียดเบียนอารมณ์ของเจ้าอีกที เมื่อเป็นประการนี้ ควรหรือไม่ควรที่จักประพฤติ หรือกล่าววาจาเยี่ยงนี้อีกต่อไป" (ก็รับว่าไม่ควร)

๓. "การเอ่ยนามพาดพิงในการสนทนาธรรม จึงไม่ควรมี ทางโลกเขาถือว่าเป็นการปรามาส มีการฟ้องร้องเอาความกัน เพราะการเอ่ยอ้างนามกันมามากมาย บางรายต้องขึ้นโรง ขึ้นศาล เป็นความกันด้วยคดีหมิ่นประมาท"

๔. "อุปมาเป็นทางธรรมก็ไม่ต่างกันหากผู้พูดเอ่ยนามอ้างอิงประกอบธรรม เจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ก็เท่ากับแฉพฤติกรรมโดยธรรมของบุคคลผู้นั้นออกมาเป็นวจีกรรม คนฟังไม่ใช่ว่าจักมีภูมิจิตภูมิธรรมเสมอกับผู้พูด ยิ่งฟังหลายคนยิ่งมีอันตราย เพราะระดับจิตต่างกันอย่างสิ้นเชิง ความคิดเห็นในการฟังก็แตกต่างกันไป หากมีบุคคลใดคนหนึ่งนำเรื่องนี้ไปเล่ากับเจ้าของนาม ผิดเพี้ยนเพียงนิดเดียว เรื่องใหญ่ก็จักเกิดตามมา อารมณ์ชอบใจ ไม่ชอบใจ ก็เกิดแก่คนฟัง คือ เจ้าของนามได้ กรณีนี้สร้างได้ทั้งมิตรและศัตรู ทำความผิดพ้องหมองใจกันได้โดยง่าย"

๕. "ตั้งแต่นี้ไป ขอให้เจ้าเลิกเอ่ยชื่อเจ้าของนาม ในเวลาสนทนาธรรมตลอดไป ยกเอาแต่พฤติกรรมไม่ต้องบอกว่าเป็นใครก็ใช้ได้แล้ว จำไว้นี่เป็นคำสั่งที่เจ้าจักต้องทำให้ได้ด้วย"

๖. "การสนทนาธรรม โดยการศึกษาจากการกระทำของบุคคลทั่วไป ย่อมหลีกเลี่ยงการอ้างอิงพฤติกรรมไม่ได้ จำเป็นต้องพูดต้องคิดก็พิจารณาไปให้เป็นธรรม แต่จงอย่าเอ่ยนามของเจ้าของธรรมนั้น ๆ เห็นธรรมเป็นภายนอกย้อนกลับมาสอนใจตนเองเป็นประการสำคัญ เพื่อให้เห็นธรรมภายในและภายนอกนั้นเป็นปกติ"

๗. "ไม่ใช่ควรทำแต่เจ้านะ คุณหมอก็ควรทำได้ด้วย หน้าที่ไวยาวัจกรที่ท่านฤๅษีมอบให้จำเป็นต้องพูด ก็ขอให้พูดโดยธรรม จักไม่สร้างความเบียดเบียนให้แก่ผู้ฟังทางวจีกรรม ขอให้จำบทเรียนครั้งนี้ให้ดี ๆ"

การต่อสู้กับอารมณ์นิวรณ์ที่เข้ามาสิงใจ


เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๕ ส.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้

๑. "ฟังเรื่องราวของใครมากระทบหู ก็จงหมั่นดูอารมณ์จิตของตนเองไว้ จับตาดูว่าฟังแล้วอารมณ์อันใดเกิดขึ้นในขณะนั้น ๆ ที่เอาดีกันไม่ได้ก็คือ ไม่ค่อยจักรู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้นเป็นปกติ โกรธจนชิน รักจนชิน ห่วงจนชิน กลัวจนชิน เลยไม่รู้ว่าอารมณ์อะไรเป็นอะไร อย่างนี้ทำกรรมฐานไปจนร่างกายตายแล้วตายอีกหลายตลบก็ไม่รู้เรื่อง"

๒. "หรือบางขณะก็รู้อยู่ว่าอารมณ์ใดเกิด แต่จิตไม่คิดแก้ไข ปล่อยอารมณ์ให้ตกอยู่ในห่วงของนิวรณ์อยู่อย่างนั้น ก็ไม่มีประโยชน์เช่นกัน"

๓. "การต่อสู้กับอารมณ์นิวรณ์ที่เข้ามาสิงใจ จักต้องมีความเพียรแก้ไขอารมณ์นั้น ๆ อย่างขันติอดทน มีความตั้งใจจริง เหมือนจอมทัพที่เห็นข้าศึก ก็ตั้งใจเคลื่อนทัพเข้าประจัญรบราฆ่าฟัน เพื่อมุ่งหวังในชัยชนะทุกครา มิใช่ทำจิตเป็นผู้ไม่แกล้วกล้า เห็นข้าศึกมาก็ง่วงเหงาซึมเซาอยู่แต่ในกระดอง ไม่กล้าคิดที่จักออกมาโรมรันศัตรู แล้วอย่างนี้เมื่อไหร่จิตเจ้าจักรู้จักชนะนิวรณ์ได้เล่า"

๔. "ตั้งอารมณ์ของจิตเสียใหม่นะ พยายามแข็งใจเอากรรมฐานแก้จริตเข้าสู้ทุกครั้ง ที่อารมณ์ตกเป็นทาสของนิวรณ์ "

๕. "จงหมั่นกำหนดรู้อารมณ์ที่เป็นกิเลสอันเกิดขึ้นแก่จิต แม้สักนิดหนึ่งก็ต้องรีบแก้ไข อย่าปล่อยให้อารมณ์นั้นให้ลุกลามไปใหญ่โต ต้องอดทน ข่มใจ อดกลั้นต่อความชั่วของอารมณ์ของจิตตน"

๖. "จงตั้งใจทำความเพียรละอารมณ์ที่เป็นกิเลสตั้งแต่เวลานี้ไปหากเจ้ามีความท้อถอยคราวใด จงคิดอยู่เสมอว่า ร่างกายนี้กำลังจักตายอยู่ในวินาทีข้างหน้านี้ จักได้คลายความประมาทในธรรมลงได้ (เวลาและความตายไม่คอยใคร)"

การหลับอย่างผู้ไม่ประมาท


เมื่อวันศุกร์ที่ ๖ ส.ค.๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงเมตตาตรัสสอนเพื่อนของผมในเรื่องนี้ความว่า

๑. "หากร่างกายมันจักตายเจ้าเสียดายหรือไม่" (ตอบว่าไม่เสียดาย) "แต่การไปกรรมฐานเที่ยง เจ้านั่งหลับเพราะร่างกายมันเพลียมา ๒ วันแล้ว จิตเจ้าช่างไม่มีสติเอาเสียเลย"

๒. "เจ้าฝืนเวทนาของกายเอาไว้ไม่อยู่หรือ (ตอบว่า ฝืนไว้ไม่อยู่) ทรงตรัสว่า "หากร่างกายเจ้าตายลงในขณะนั้น จิตเจ้าจักไปไหน(ตอบว่า ไม่ทราบ) ทรงตรัสว่า "หากร่างกายต้องการพักผ่อน ประสาททุกส่วนเสื่อมหมด จิตไม่มีกำลังที่จักแข็งขืนปฏิกิริยาของร่างกายได้ มันเป็นธรรมดาที่จิตพลอยอยากพักผ่อน หรืออยากหลับไปด้วย"

๓. "เมื่อฝืนไม่ได้เยี่ยงนี้ก็จงอย่าฝืน หากแต่ก่อนที่จักหลับ จงปลง มรณา ควบอุป สมานัสสติ ให้ตั้งมั่น พยายามระเบิดกายหยาบทิ้งไป ให้เห็นกายในนั่งหลับอยู่บนพระนิพพาน หรือไม่ก็ปลงอสุภ จนกายหยาบละลายไป กลายเป็นกายนิพพานขึ้นแทน กำหนดนั่งหลับอยู่บนพระนิพพานต่อหน้าพระก็ได้" (ก็คิดว่า ส่วนใหญ่จะหลับตอนฟังคำสอนของหลวงพ่อยังไม่ทันจบ)

๔. "จงคิดเอาไว้ก่อน ฟังคำสอนของท่านฤๅษีก็ได้ หรือไม่ก็คิดเอาขณะนั่งลงไปยังวิหาร ๑๐๐ เมตรก็ได้ โดยเห็นจิตหรืออาทิสมานกาย นั่งอยู่บนวิมานที่พระนิพพานแทน"

๕. "จงรู้เอาไว้ว่า ขณะใดนิวรณ์ ๕ เข้าแทรกแซงอารมณ์ของจิต ก็ถือว่าจิตนั้นถูกเบียดเบียนให้ตกอยู่ภายใต้ความประมาท และขณะใดร่างกายตกอยู่ภายใต้อาการของความเสื่อม ทุกข์อันเป็นปกติของร่างกายก็สร้างความเบียดเบียนให้เกิดแก่อารมณ์ของจิต ก็ถือว่าจิตนั้นถูกเบียดเบียนให้ตกอยู่ภายใต้ความประมาทเช่นกัน"

๖. "ดังนั้นผู้ที่ยังเข้าไม่ถึงอรหัตผล จึงยังไม่หมดสิ้นความเบียดเบียน จึงเท่ากับมีความประมาทในธรรม อารมณ์ย่อมตกเป็นทาสของขันธมาร และกิเลสมารอยู่เป็นธรรมดาไม่มากก็น้อย เจ้าจงหมั่นละความประมาทลงด้วยประการฉะนี้เถิด"


รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2011, 18:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 18:31
โพสต์: 292


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง เวทนา




เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๑ มิ.ย. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาสอนให้ มีความสำคัญดังนี้


๑. "จงทำจิตให้ยอมรับเวทนาที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ว่าเป็นของธรรมดา (โดยปกติเวทนาของร่างกายต้องกำหนดจึงจะรู้ หากเราไม่กำหนดก็ไม่รู้ หากเป็นเวทนาที่ไม่มาก) แล้วพยายามลดการยึดเกาะในเวทนานั้นด้วยการระงับอาการของสังขาร คือ ไม่ปรุงแต่งธรรมนั้น ๆ นี้คือสัจธรรมของการมีร่างกาย เมื่อเกิดมาแล้ว ย่อมมีเจ็บ มีแก่ มีตาย เป็นธรรมดา"

๒. "จงวางอารมณ์ให้สงบ ยอมรับธรรมที่ไม่ปรุงแต่งนี้ เพราะเป็นสิ่งที่หลีกหนีกันไม่พ้น เมื่อมีการเกิดของร่างกายแล้ว"

๓. "จงกำหนดรู้เอาไว้ว่า เห็นทุกข์ของการมีร่างกายอยู่เนื่อง ๆ พยายามทำจิตให้ยอมรับนับถือกฎของธรรมดา แยกจิตออกมาอย่าให้ทุกข์ตามไปด้วย พยายามทรงอารมณ์จิตไว้ให้ เป็นสังรุเบกขาญาณ แม้จักเป็นอ่อน ๆ ก็ควรจักพยายามซักซ้อมกันเอาไว้ อย่าให้จิตมีอารมณ์บ่น แม้แต่ในใจก็ใช้ไม่ได้ เพราะนั่นคือการเกิดอารมณ์ปฏิฆะ และเป็นการคัดค้านสัจธรรมที่ฝืนความเป็นจริงของร่างกาย"

๔. "ตั้งแต่นี้ต่อไปอาการสุขหรือทุกขเวทนา อันสืบเนื่องมาจากร่างกาย จักเป็นครูเข้ามาทดสอบจิตของเจ้าอยู่เนื่อง ๆ ขอให้เตรียมใจสอบกันให้ดี ๆ ถ้าลงธรรมดาไม่ได้ พอใจหรือไม่พอใจก็ใช้ไม่ได้ ต้องลงอุเบกขาญาณเข้าไว้ อาการสุขหรือทุกขเวทนานี้ ต้องนับเนื่องไปหมดทางอายตนะ ๖ ขอให้ดูอารมณ์ของจิตเข้าไว้ให้ดี ๆ

๕. "อนึ่ง การทบทวนธรรม (ธัมมวิจยะ) ก็จงทำต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง และให้สังเกตอารมณ์ของจิต ในขณะทบทวนธรรมะนั้นไปด้วย จักได้รู้จุดที่ทำให้อารมณ์ของจิตนั้นเคลื่อนไหวไปได้อย่างไรบ้าง"


เรื่องกายทำงานทางโลก แต่จิตทำงานทางธรรม


เสาร์ที่ ๑๒ มิ.ย. ๒๕๓๖ ทรงพระเมตตามาสอนเรื่อง กายทำงานทางโลก แต่จิตทำงานทางธรรม มีความสำคัญดังนี้

๑. "ขอให้มั่นใจในธรรมที่ปฏิบัติอยู่ เดินมรรคด้วยจิตอย่างไม่หยุดยั้ง ร่างกายจักทำอะไรอยู่ก็ตาม จงกำหนดจิตให้อยู่ในอารมณ์พระกรรมฐานตลอดเวลา จักเป็นสมถะหรือวิปัสสนาก็ได้"

๒. " จงกำหนดรู้อยู่ให้เกิดความเคยชินอยู่เสมอ เผลอบ้าง ฟุ้งซ่านบ้าง มันก็ต้องมีอยู่บ้างเป็นธรรมดา อย่าเพิ่งตำหนิตนว่าเลว จักทำให้จิตเสียกำลังใจ เผลอบ้าง ฟุ้งบ้าง ง่วงนอนบ้างก็ลงตัวธรรมดา ตั้งใจใหม่เมื่อระลึกได้ ทำบ่อย ๆ ก็เหมือนตักน้ำใส่ตุ่ม เก็บเล็กเก็บน้อยทำให้น้ำเต็มตุ่มได้ฉันใด การปฏิบัติธรรมก็สามารถเป็นสันตติเต็มจิตได้ฉันนั้น"

๓. "แต่ควรจักระมัดระวังอารมณ์โมหะ-โทสะ-ราคะ ระงับเข้าไว้ไม่ให้มันมีกำลังแรงกล้า ความร้อนจากแสงอาทิตย์ทำให้น้ำในตุ่มเหือดแห้งได้ฉันใด ไฟอารมณ์ก็สามารถทำจิตให้แห้งจากความดีได้ฉันนั้น ขึ้นชื่อว่าความร้อนใจ พยายามระงับให้มันดับไปให้เร็วที่สุดเท่าที่จักเร็วได้"

๔. "ให้กระทำตามขั้นตอนที่ให้ไว้ แยกแยะอารมณ์ให้ถูกต้องก็แล้วกัน"

เรื่อง มรณานุสสติ กับอย่ากลัวกิเลสมารและขันธมาร


วันเสาร์ที่ ๑๓ มิ.ย. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตามาสอนเรื่อง มรณานุสสติกับอย่ากลัวกิเลสมารและขันธมาร มีความสำคัญดังนี้

๑. "เจ้าจงหมั่นจำอารมณ์ตัดตายนั้นไว้ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติครั้งต่อๆ ไป ทางที่ดีอย่าเลือกตั้งอารมณ์นี้เฉพาะเวลา ควรตั้งไว้ให้จิตพร้อมอยู่เสมอตลอดเวลา เพราะเป็นอารมณ์สละร่างกาย คลายความเกาะเวทนาลงไปได้เด็ดขาด"

๒. "จิตกำหนดรู้ลมหายใจอยู่ตลอดเวลา อย่าพึงคิดว่าทำไม่ได้ จักต้องคิดว่าทำได้ ทุกอย่าสำเร็จลงได้ด้วยความเพียร"

๓. "อย่ากลัวการประจันหน้ากับขันธมาร และกิเลสมาร เพราะนั่นคือครูที่จัก ทดสอบอารมณ์จิตของพวกเจ้า ว่าจักผ่านอุปสรรคเหล่านี้ไปได้หรือไม่ ขันธมาร และกิเลสมารเป็นของจริงที่นักปฏิบัติพระกรรมฐานจักต้องลุยผ่านทุกคน ได้ก็ถึงพระนิพพาน แต่ถ้าแพ้ก็ต้องกลับมาเกิดอีกต่อไป อย่าหนีความจริง ขันกับกิเลสมารเป็นของคู่มากับร่างกาย ซึ่งมันได้ผูกจิตจองจำ กักขังเรามานานนับอสงไขยกัปไม่ถ้วน อดทนต่อสู้เข้าไว้"

๔. "ถ้าชาตินี้ยอมพ่ายแพ้แก่มัน ชาติต่อ ๆ ไป ก็ไม่มีทางชนะมันได้ ทำกำลังใจให้เต็ม เมื่อรู้แล้วว่าร่างกายนี้มีแต่ทุกข์หาสุขไม่ได้ เป็นเหยื่อของกิเลส-ตัณหา-อุปาทาน และอกุศลกรรม เราโง่หลงผูกติดกับร่างกายนี้มานาน หลงอารมณ์ที่เพลินไปกับกิเลสมาร ชาติแล้วชาติเล่า อย่างไม่รู้เท่าทันความทุกข์อันเกิดจาก ขันธมาร และกิเลสมารนั้น"

๕. "มาบัดนี้พวกเจ้ารู้ทุกข์ อันเกิดจากกิเลสมาร และขันธมารพอสมควรแล้ว จงรักษาอารมณ์ตัดตาย สละร่างกายนี้ทิ้งไป เพื่อเป็นฐานกำลังของจิต ควบคู่กับอานา ปานัสติให้ทรงอยู่เสมอ ๆ จุดนี้เป็นจุดสำคัญที่จักทำให้การเจริญสมถะธรรมของพวกเจ้า มีผลเจริญขึ้นตามลำดับ จงจำเอาไว้ให้ดี "

๖. "ถ้าคราวใดขึ้นต้นตั้งอารมณ์นี้ไม่ถูก ก็ให้พิจารณาร่างกาย ไม่ว่าภายในหรือภายนอก วัตถุธาตุใด ทรัพย์สินต่าง ๆ พังสลายไปหมด กล่าวคือพิจารณาไตรลักษณ์ เห็นทุกสิ่งทุกอย่างพังหมด ไม่มีอะไรเหลือ (อารมณ์อากิญจัญญาตยนะฌาน) จนในที่สุด หาสิ่งยึดถือมาเป็นสาระแก่นสารไม่ได้ โลกและ ขันธโลก มีความเสื่อมสลายไปในที่สุด ค่อย ๆ คิดพิจารณาจนจิตยอมรับ แล้วจึงจับลมหายใจเข้าออก จนจิตเข้าถึงฌาน (หมายความว่าเริ่มต้นให้พิจารณาก่อนจนจิตสงบ แล้วจึงจับลมหายใจเข้าออก) ให้จิตทรงตัวอยู่ระยะหนึ่ง จึงหวนกลับมาจับวิปัสสนาญาณตามความต้องการต่อไป"

๗. "อย่าลืมทำกรรมฐานทุกครั้ง ให้แผ่เมตตาไปทั่วจักรวาลก่อน เป็นการทำอารมณ์จิตให้เยือกเย็นอยู่ในพรหมวิหาร ๔ จนเกิดวิสัยเคยชิน ฝึกได้เมื่อไหร่ แผ่เมตตาไปเมื่อนั้น มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาให้แก่จิตและกายของตนเอง และพร้อมกันนั้นมีให้แก่จิตและกายของบุคคลอื่นด้วย"

๘. "อารมณ์พรหมวิหาร ๔ นี้ จะลดไฟโมหะ-โทสะ-ราคะให้เจือจางไปจากจิตได้ และในบางขณะที่ระลึกได้ ก็ควรจักนำพรหมวิหาร ๔ ขึ้นมาพิจารณาเพื่อให้เป็นคุณแก่อารมณ์ของจิตอย่างอเนกอนันต์ด้วย"


รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2011, 18:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 18:31
โพสต์: 292


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องกสิณไฟไม่ใช่ของร้อน





เมื่อวันพุธที่ ๑ ก.ย. ๒๕๓๖ เพื่อนของผมท่านสงสัยว่าในเมื่อกรรมฐานทุกกองเป็นของเย็น แล้วเตโชกสิณหรือกสิณไฟจะเป็นของร้อนหรือไม่ สมเด็จองค์ปฐม เรื่องนี้ไว้ดังนี้ ก็ทรงพระเมตตามาตรัสสอนให้หายสงสัย มีความสำคัญดังนี้

๑. "คำว่าไฟย่อมเป็นของร้อน แต่กสิณไม่ร้อนด้วย ทรงตรัสแค่นี้ก็ยังไม่เข้าใจ"

๒. "ทรงตรัสต่อไปว่า ผู้บวชเข้ามาเป็นพระในพระพุทธศาสนา มีศีลเป็นบันไดรองรับขั้นต้น จิตจึงมีความเย็นด้วยศีล เมื่อปฏิบัติพระกรรมฐาน การทำสมาธิจิตเพ่งกสิณได้ก็เป็นอารมณ์จิตเย็น"

๓. "บุคคลผู้มี โทสะจริต ใจร้อนสมาธิย่อมเกิดขึ้นได้ยาก การเจริญกสิณกองใด ๆ ก็ไม่เป็นผล"

๔. "เจ้าจักเห็นได้ว่า บุคคลผู้เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้า ก็จักมีความเยือกเย็นของจิตเพิ่มขึ้น ด้วยการทำสมาธิ มีศีล ปัญญาก็เพิ่มพูนให้จิตสบายได้ตามลำดับ ต่างกับบุคคลผู้ทรงฌานโลกีย์ ศีลยังไม่มั่นคง ใช้กำลังสมาธิจิตไปในทางผิด ๆ เป็น มิจฉาทิฏฐิ ดูเยี่ยงท่านเทวทัตในพุทธกาลนี้ แม้ได้อภิญญาแสดงฤทธิ์ได้ก็ยังเสื่อม เพราะอภิญญาโลกีย์"

๕. "พระกรรมฐานจักอยู่กับผู้มีอารมณ์จิตเย็นเท่านั้น ตถาคตจึงยืนยันว่า พระกรรมฐานทุกบทเป็นของเย็น ในบุคคลที่มากด้วย โมหะ โทสะ ราคะ พระกรรมฐานก็จักอยู่ด้วยไม่ได้นาน"

จากนั้นพระพุทธองค์ ก็ทรงพระเมตตาตรัสสอนต่อดังนี้

๑. "อย่าทะนงตนว่าเป็นผู้รู้เป็นอันขาด เพราะธรรมทั้งหลายที่พวกเจ้ารู้ได้เวลานี้ เป็นการสงเคราะห์ของพระ ยังไม่ใช่ความรู้ธรรมที่แท้จริง อันซึ่งต้องเกิดจากจิตที่พิจารณาธรรมด้วยปัญญา ยอมรับนับถือในธรรมทั้งปวง และจักต้องละกามฉันทะและปฏิฆะได้แล้ว นั่นแหละจึงจักเป็นของจริง"

๒. "พวกเจ้าจักต้องปรามจิตเอาไว้เสมอ อย่าเผลอกล่าวธรรมเป็นเชิงอวดอ้าง อวดวิเศษทั้ง ๆ ที่ยังปฏิบัติมิได้ผล"

๓. "ต่อไปนี้ พวกเจ้าไม่ว่าจักคิด จักพูด จักทำอะไร จงให้ศีล สมาธิ ปัญญา ควบคุมอยู่ในเวลานั้น อย่าให้บกพร่องแม้แต่เรื่องเดียว"

๔. "ศีล สมาธิ ปัญญาจักละเอียดขึ้นได้ ก็อยู่ที่เอามาใคร่ครวญอยู่เสมอ การพิจารณาในขณะที่จักกระทำกรรมอยู่นั้น เป็นการทำให้ศีล สมาธิ ปัญญา เกิดขึ้นในจิตพร้อม ๆ กันทั้ง ๓ สิกขาบท พวกเจ้าจักมีความก้าวหน้าในอริยมรรค อริยผล ยิ่งขึ้น" (จิตก็สงสัยว่าศีลและปัญญานั้นใคร่ครวญได้ แต่สมาธินั้นใคร่ครวญอย่างไร)

๕. "ทรงตรัสว่า ดี ในเมื่อไม่เข้าใจในธรรม ก็พึงจักไต่ถามหาความกระจ่างในธรรมนั้นเป็นการถูกต้อง ดีกว่าจักไปสงสัยในธรรมแล้วเดา ตีความหมายเอาเองตามอารมณ์จิตของตนเอง อย่างนั้นไม่สมควร การปฏิบัติจักผิดพลาดได้ง่าย เพราะรู้ไม่จริง"

๖. "การใคร่ครวญสมาธิ คือ จิตมีโอกาสพักอยู่ในสมถะภาวนา แต่ในบางขณะบุคคลที่มีอารมณ์เผลอ มักจักปล่อยอารมณ์ของจิตให้เคว้งคว้างขาดสติ อย่างกับคนใจลอยเดินข้ามถนน จนถูกรถชนตาย เป็นต้น จักว่ามีอารมณ์คิดก็ไม่ใช่ จักว่ามีอารมณ์พักก็ไม่เชิง จิตมันเหม่อลอยจนเพลินไป เพราะฉะนั้น ในบุคคลที่เป็นนักปฏิบัติ จักต้องรู้ว่า เวลานี้จิตต้องการพัก ก็จักใคร่ครวญ คือตรวจสอบดูว่าอารมณ์ของจิต นั้นจับอยู่ในสมถะภาวนาหรือไม่ หรือว่าเผลอเรอ ปล่อยสมาธิที่กำหนดรู้สมถะภาวนานั้นไปจากจิต"

๗. "คนฉลาดเขาจักต้องรู้และทำการศึกษา ใคร่ครวญ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้อยู่ในจิตเสมอ ๆ เยี่ยงนี้แหละเจ้า เข้าใจไหม อย่าทิ้งความเพียรในการกำหนดรู้ศีล สมาธิ ปัญญาในจิตนี้ ทำบ่อย ๆ ใจเย็น ๆ ทำไปเรื่อย ๆ ในที่สุดจิตจักชิน ศีล สมาธิ ปัญญาก็จักอยู่ในจิตได้ตลอดเวลา"

๘. "ในเมื่อเข้าใจแล้ว ก็จงหมั่นนำไปปฏิบัติด้วย แต่อย่าสร้างอารมณ์หนักใจให้เกิด พยายามรักษาอารมณ์จิตให้เบาๆ แต่เต็มไปด้วยความพร้อมที่จักปฏิบัติเข้าไว้ให้ทุกเมื่อ ด้วยอารมณ์มัชฌิมาปฏิปทา มรรคผลก็จักเกิดขึ้นได้โดยง่าย"

๙. "หากความหนักใจในอารมณ์เกิดขึ้น ก็จงกำหนดรู้ว่าอารมณ์นี้ไม่ถูกต้องเสียแล้ว เพราะเป็นอารมณ์ของความทุกข์จักต้องหมั่นหาทางแก้ไขอารมณ์นั้นทิ้งไป"

๑๐. "การเจริญพระกรรมฐาน มุ่งหวังให้จิตเป็นสุข สงบเยือกเย็น ไม่ว่าจักเป็นทางด้านสมถะหรือวิปัสสนา ต้องหมั่นดูผลที่ได้เยี่ยงนี้อยู่ตลอดเวลาเป็นการตรวจสอบอารมณ์ของจิต อย่าให้เดินมรรคได้ผลผิด ๆ"

ธัมมวิจัย จากคำสั่งสอนของพระองค์ หลวงปู่ หลวงพ่อ มีความสำคัญดังนี้
๑. กรรมทั้ง ๓ คือ กายกรรม จีกรรม มโนกรรม ทำให้เกิดอารมณ์ ๓ คือ โมหะ โทสะ ราคะ ทุกองค์เน้นเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา ทั้งสิ้น

๒. ในการปฏิบัติให้พร้อมอยู่ที่จิตเสมอ เพราะจิตเป็นหัวหน้า จิตเป็นใหญ่ ทุกสิ่งสำเร็จได้ที่จิตทั้งสิ้น

๓. ให้ยอมรับกฎของกรรม (ด้วยปัญญา)ยอมรับกฎธรรมดาของโลก คือ สัจธรรม ๕ (เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย-พลัดพรากจากของรักของชอบ มีความปรารถนาไม่สมหวัง) หากไม่ยอมรับ จิตจะเกิดอารมณ์ ๒ ขึ้น คือ ไม่พอใจ (ปฏิฆะ) กับพอใจ (ราคะหรือ โลภะ) เป็นกิเลส เป็นตัณหา เป็นอุปาทาน แล้วสร้างอกุศลกรรมต่อไป คือ ต่อกรรม สร้างกรรมทั้ง ๓ ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง กรรมจึงไม่มีทางลดลงจากจิต มีผลทำให้จิตต้องมาเกิดเพื่อรับผลของกรรมที่ตนเองทำไว้ จึงมีการเกิดแล้วตาย ๆ ๆ อยู่อย่างนั้น เพราะไม่เข้าใจธรรมในข้อนี้

๔. การเกิดจะหยุดลงได้ ก็ต้องยอมรับกฎของกรรม ซึ่งเป็นอริยสัจขั้นสูงในพระพุทธศาสนา และมีแต่เฉพาะพุทธศาสนาเท่านั้น ศาสนาอื่นไม่มีคำสอนหรืออุบายที่ทำจิตให้พ้นจากกรรมทั้ง ๓ ได้อย่างถาวร คือ เอาจิตพ้นภัยไปอยู่แดนพระนิพพาน เพราะรู้จริงว่าร่างกายไม่มีทางพ้น พ้นได้ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา นี่แหละ

๕. พระโสดาบัน พระสกิทาคามี ยังมีอารมณ์ ๒ แต่อยู่ในขอบเขตของอธิศีลและกรรมบถ ๑๐ จึงไม่สามารถทรงอารมณ์ สังขารุเบกขาญาณให้อยู่กับจิตได้ตลอดเวลา เหมือนกับพระอนาคามีผล และพระอรหัตผล (จิตเจริญระดับไหน ก็รู้ธรรมได้ในระดับนั้น)

๖. หลวงพ่อฤๅษีท่านแสดงธรรมจุดนี้ ในขณะที่ขันธ์ ๕ ยังทรงอยู่ คือ ตอนท่านป่วยหนักครั้งใด อารมณ์จิตของท่านยิ่งสงบเย็นและเป็นสุขมากเท่านั้น หรือเป็นสุขมากกว่าธรรมดา เพราะท่านมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ จิตท่านแยกจากกายได้ตลอดเวลา เวทนาทางกายจึงทำอะไรจิตท่านไม่ได้ ท่านมี มรณา และอุปสมาอยู่กับจิตท่านทุกขณะจิต และจิตของพระอรหันต์ท่านไม่เคยพลาดจากพระนิพพาน ท่านเคารพในกฎของกรรม จึงไม่หนีกรรมที่ท่านทำไว้ในอดีต

๗. ท่านเป็นผู้ไม่ประมาทในความตาย จึงมี มรณา และอุปสมานุสสติอยู่ทุกขณะจิต มีอารมณ์สังขารุเบกขาญาณ หรืออารมณ์ช่างมันอยู่อารมณ์เดียวทรงตัว เพราะมีอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา สมบูรณ์ จึงวาง สักกายทิฎฐิ ได้ถาวร (สักกายทิฎฐิ พระท่านแปลว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับร่างกาย) ท่านจึงไม่มีอารมณ์เกาะกายหรือขันธ์ ๕ อันประกอบด้วยธาตุ ๔, มีอาการ ๓๒, สกปรก, ไม่เที่ยง, เต็มไปด้วยความทุกข์ เหมือนต้องติดคุกไปตลอดชีวิต เหมือนต้องเลี้ยงลูกอ่อนตลอดชีวิต จึงเอาจิตทิ้งกายไปแดนที่ไม่มีการเกิดการตายอีกต่อไปอย่างผู้ฉลาด

๘. พระอรหันต์ที่จบกิจแล้ว แต่ร่างกายยังทรงอยู่ จิตท่านเป็นสุขก็จริง แต่กายท่านยังต้องรับกรรม (ตามกฎของกรรมที่เที่ยงเสมอและให้ผลไม่ผิดตัวด้วย) ที่ท่านทำไว้ในอดีต ท่านเคารพในกฎของกรรม ท่านจึงไม่หนี ยอมรับความจริงหรือยอมรับกฎของกรรมด้วยความเคารพ แต่กฎของกรรมก็เล่นงานจิตของท่านไม่ได้ เล่นงานได้แค่ร่างกาย ที่จิตท่านมาอาศัยอยู่ชั่วคราวเท่านั้น ดังนั้น เมื่อกายป่วยหนักครั้งใด จิตท่านจึงเป็นสุขมากเท่านั้น เพราะกำลังจะพ้นจากคุกหรือขันธ์ ๕ อย่างถาวร

๙. หลวงพ่อฤๅษี ท่านเมตตาสงเคราะห์ให้ได้เห็นอารมณ์จิตของท่านในขณะนั้นว่า มันเป็นสุข โปร่งเบาสบายมากอย่างไร จิตไม่มีการวิตกกังวล หรือเกี่ยวข้องกับสมมุติต่าง ๆ ในโลก ซึ่งไม่เที่ยงแม้แต่น้อย ก็นึกว่า อ้อ อารมณ์สังขารุเบกขาญาณนั้นเป็นอย่างนี้เองหนอ

หลวงพ่อฤๅษี ท่านก็เมตตามาสงเคราะห์สอนว่า


๑. "สบายกว่าปกติเพราะเห็นหลักชัย พ้นจากเครื่องจองจำอยู่รอมร่อ อารมณ์มันจึงมีความเฉยในร่างกายที่มันกำลังจะพัง ยิ่งกว่ายามปกติที่เฉยอยู่อีกหลายเท่า"

๒. "เมื่อเข้าใจ ก็จงรู้เอาไว้ถึงความจำเป็นที่จะต้องศึกษากฎของกรรม เพื่อตัดกรรมให้เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าเบื้องสูง คือ ความเป็นพระอนาคามีและพระอรหันต์ นี่แหละที่พระพุทธเจ้าท่าน หลวงปู่ หลวงพ่ออีกหลาย ๆ องค์ เพียรมาสอนกฎของกรรมซ้ำ ๆ ซาก ๆ หลายรูปแบบ ไม่ว่ากฎของกรรมที่เกิดจากอารมณ์โกรธ อารมณ์รัก หรืออารมณ์หลง อันซึ่งทำให้มีการเสพกาม ในรูปแบบต่าง ๆ ก็ดี หรือทำให้มีการอาฆาตพยาบาทก็ดี ก็เพื่อให้พวกเอ็งเห็นโทษของกฎของกรรม ที่ส่งผลให้เกิดกรรมนั้น ๆ ต่อเนื่องกันมา"

๓. "ศึกษาจุดนี้เอาไว้ให้ดีๆ อย่างร่างกายของพ่อ หรือของหลวงปู่ชา ซึ่งโดนกระทำ ก็เนื่องมาจากกรรม ปาณาติบาต อันมีแรงโทสะ อาฆาตพยาบาท เป็นแรงจูงใจให้เขาทำกรรมขึ้นมา แต่ในลูกของพระพุทธเจ้า ศึกษาธรรมหรือกรรมมาดีแล้ว ก็ย่อมจะมีความเข้าใจในกฎของกรรมมาตามลำดับ และยอมรับนับถือกรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ กรรมใด ๆ ถ้าเราไม่เคยทำเอาไว้ก่อน กรรมนั้นจะส่งผลมาให้เราต้องรับนั้นไม่มี ลูกขององค์สมเด็จพระชินสีห์ หากเข้าถึงอริยมรรค อริยผลเบื้องสูง จะมีความเคารพในกฎของกรรมอย่างแรงกล้า จึงจะมีอภัยทานให้แก่ทุกท่านที่มาทวงหนี้กรรมของเขาคืน ไม่ว่าจะเป็นโรคภัยไข้เจ็บหรือถูกคน สัตว์ทำร้าย ลูกพระพุทธเจ้าเต็มใจใช้คืนเขาไป เพื่อให้หมดกรรมตามกล่าวมาแล้ว"

๔. "อุเบกขาในพรหมวิหาร ๔ เข้มข้นมาก เป็นสังขารุเบกขาญาณการยอมรับกฎของกรรม โดยความเข้าใจความเป็นจริงในกฎของกรรมนั้น ๆ เป็นสาเหตุให้ปล่อยวาง ละอารมณ์ โมหะ โทสะ ราคะได้ในที่สุด"

๕. "ขอให้พวกเอ็งตั้งใจปฏิบัติให้ถึงที่สุดของการหมดกรรมได้ คือ หมดไปเสียจากการมีร่างกาย หมดไปเสียจากการเกิด จะด้วยอารมณ์โลภ-โกรธ-หลงก็ตาม พ่อจะดีมาก และรอการมาพระนิพพานของพวกเอ็งทุกคน"

๖. "การปฏิบัติธรรมเป็นสมบัติของพวกเอ็งที่จะนำติดตัวมาพบพ่อได้ แต่ไม่ใช่เร่งตายให้ใกล้เข้ามา จำไว้ ร่างกายยังมีชีวิตอยู่ จงทำหน้าที่ตอบสนองคุณพระพุทธเจ้า ที่ทรงสั่งสอนพระธรรม จนพ่อนำมาสอนพวกเอ็งให้พ้นทุกข์ได้อย่างเต็มความสามารถ ทำด้วยกำลังใจที่เบิกบาน"

๗. "อนาคตอะไรที่รออยู่ข้างหน้านั้นไม่เที่ยง แต่ความตายของร่างกายของพวกเอ็งนั้นเที่ยงแน่ กฎของกรรมมันก็เที่ยงเพราะฉะนั้นพวกเอ็งอย่าประมาท รีบทำความเพียรให้จิตเที่ยง เพื่อมาพระนิพพานดีกว่า ทำความเพียรอย่างผู้มีสติ คือ ไม่ใช่ความเพียรด้วยอารมณ์โมหะ-โทสะ-ราคะ จำไว้ถ้าทำแล้วโมหะ-โทสะ-ราคะเพิ่ม อันนี้ไม่ใช่ความเพียรที่ถูกทาง ต้องให้ทำแล้วโมหะ-โทสะ-ราคะลดลง อันนั้นแหละเป็นความเพียรที่ถูกทาง"

๘. "พวกเอ็ง ๒ คน อย่าทิ้งการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในการปฏิบัติ ชี้แนะแก่กันและกัน ตรวจสอบความบกพร่องในการปฏิบัติธรรมกันอยู่เสมอ ๆ ไม่จำเป็นต้องคุยกันมาก เอาแต่เนื้อหาสาระมาแนะนำ ปรึกษากันในเวลาเล็กน้อยที่พบในขณะทำวัตรเช้าและเย็น และกรรมฐานเที่ยงก็พอ ไม่จำเป็นต้องคุยกันมากเหมือนสมัยก่อนแล้ว หลีกเลี่ยง โลกะวัชชะ ทำคนอื่นที่นินทาให้เดือดร้อนนั้นเราไม่ทำ เลิกเบียดเบียนตนเองด้วย เลิกเบียดเบียนคนอื่นด้วย ค่อย ๆ ทำไป อย่าใจร้อน แต่ก็ห้ามใจเย็นจนเกินไป ทำให้พอดี ๆ ก็แล้วกัน เท่านี้นะ พ่อไปละ"


รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2011, 18:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 18:31
โพสต์: 292


 ข้อมูลส่วนตัว


อายตนะ ๑๒ ทำจิตให้หมดราคะและปฏิฆะได้





วันอังคารที่ ๑๗ ส.ค. ๒๕๓๖ หลวงพ่อฤๅษี ท่านเมตตามาสอนธรรมเรื่องนี้ให้ ดังนี้

๑. "การเข้าถึงธรรมด้วยสัญญา มันจึงเป็นอันตรายแก่เพศสมณะอย่างนี้ จะโกนหัวหรือไม่โกนหัว การถือบวชก็ต้องจัดว่าเพื่อเป็นพระ หากเจ้าถึงธรรมด้วยปัญญาจริง ๆ แล้ว ไม่มีผู้หญิงหรือผู้ชายคนไหนที่จะมาสึกพระ ให้หลุดจากสมณะวิสัยได้"

(เรื่องเดิมมีความโดยย่อ ๆ ดังนี้ หลวงตาองค์หนึ่งอายุ ๗๐ กว่าปีแล้ว ท่านสวดมนต์เก่งมาก จัดเป็นอันดับหนึ่งของวัดท่าซุง พอท่านย้ายออกจากวัดไปเป็นเจ้าอาวาสอีกวันหนึ่งได้ไม่นาน ก็สึกออกไปมีเมียอายุ ๔๐ ปีเศษ อยู่ได้พักเดียวก็เลิกกัน เพราะกฎของกรรม จะบวชนานเท่าไหร่ หากราคะและปฏิฆะไม่หมด ผู้หญิงก็สึกเอาไปทำผัวได้)


๒. "พวกเอ็งดู ๆ เอาไว้ อย่าได้ประมาทในธรรมของการเสพกามนี้ อายุเป็นเพียงแค่ตัวเลขเท่านั้น ๗๐ กว่ายังมีสิทธิ์ถูกควายเขาอ่อนขวิด จนหลุดออกจากเพศพระ เพราะกฎของกรรมมันเข้ามาตัดความดี พวกเอ็งก็เหมือนกัน ต่างคนต่างก็ไม่รู้กฎของกรรมมันจะเข้ามาเล่นงานเอาวันไหน เวลาใด ต้องเร่งพิจารณากายคตา, มรณา, อสุภะ เข้าไว้ ตราบใดที่จิตยังไม่หมดอารมณ์ และร่างกายมันยังไม่หมดปฏิกิริยาของกายกำหนัด ประมาทธรรมนี้ไม่ได้เป็นอันขาด"

๓. "อายตนะ ๑๒ ที่ท่านพระอานนท์ให้พวกเอ็งทำนั้น หากทำได้ดีพอสมควร จิตก็จะตัดกามคุณ ๕ ได้อย่างเด็ดขาด เพราะธรรมภายใน คือ ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย-ใจ ธรรมภายนอก คือ รูป-เสียง-กลิ่น-รส-สัมผัส-ธรรมารมณ์ หมวดนี้แก้อารมณ์ราคะ และปฏิฆะได้โดยตรง จงพิจารณาให้ดี ๆ ให้ถึงที่สุดของความดับ เห็นสภาพที่แท้จริงของความดับในอายตนะ ๑๒ นี้ ถ้าหากทำได้ ก็จะเป็นพระอนาคามีได้ไม่ยาก ถ้าหากทำดีได้ถึงที่สุด ก็มีสิทธิ์เข้าถึงพระอรหัตผลได้แน่นอน"

๔. "ขอบอกย่อ ๆ ไว้เป็นตัวอย่าง อย่างตานี่ เป็นธรรมภายใน มีความเสื่อมอย่างที่ท่านพระอานนท์บอก มันเคลื่อนไปทุกขณะจิต และสภาพของตามันไม่คงที่ อายุสัก ๔๐ ปี ก็ต้องหาแว่นมาใส่ให้มัน เพราะเลนส์มันเสื่อม บางรายมีกรรมหนัก ตาบอดเสียตั้งแต่ยังไม่ตาย และในที่สุดอนัตตาใหญ่มาถึง คือ ร่างกายมันตาย ประสาทตามันก็ต้องดับ และตาก็เน่าเฟะ ตาเป็นอาหารของหมู่หนอนไปในที่สุด สำคัญรูปซึ่งเป็นธรรมภายนอกคู่กับตา มองไปก็รูปเคลื่อนไปทุกขณะจิต ไม่ว่าคน สัตว์ วัตถุและรูปทุกชนิด ทุกรูปมาจากธาตุ ๔ มีความเกิดเป็นเบื้องต้น มีความเสื่อมไปในท่ามกลาง และมีความตายไปในที่สุด ตายแล้วก็เน่าเปื่อยผุพัง เป็นอนัตตาเหมือนกัน นี่คิดให้เป็นต้องคิดให้ถึงที่สุด คิดทุกคู่เพราะเกี่ยวข้องกับกามคุณ
๕ เกี่ยวข้องกับอารมณ์ราคะ และปฏิฆะโดยตรง ถ้าหากคิดด้วยปัญญา ไม่ใช่จำด้วยสัญญา คิดบ่อยๆ จนจิตยอมรับสภาพของความเป็นจริงคือ อริยสัจของอายตนะ ๑๒ นี้ จิตมันก็หมดอารมณ์ราคะ-ปฏิฆะได้ อย่าว่าแต่หนุ่มสาวที่ไหนจะมาสึกพระด้วยตนเองเลย แถมเอาช้างมาลากฉุดดึงอีก ๑๐๐ เชือก จิตของพระมันก็ไม่ไป เตลิดไม่ได้แล้ว หมดอยากรัก-อยากโกรธ แต่ยังไม่หมดหลงหรอกนะ พระอนาคามีนี่ยังมีหลงอยู่อีก ก็ต้องหมดหลงเอา เมื่อเป็นพระอรหันต์โน่นแน่ะ"


ทุกคนในโลกไม่มีทุกข์นั้นไม่มี


เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ ส.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอน

๑. "จงมองคนทุกคนในโลก จักเห็นว่าไม่มีทุกข์นั้นไม่มี ทุกข์ของการมีร่างกาย ทุกข์ของการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน ทุกข์ด้วยอารมณ์ของจิตที่เบียดเบียนตนเอง การมีชีวิตทรงอยู่ในโลก จึงเต็มไปด้วยความทุกข์"

๒. "เมื่อเจ้าเห็นเป็นประการนี้ ก็จงดูชาวโลกุตรชน จักเห็นความเป็นผู้รู้-ผู้ตื่น-ผู้เบิกบาน อยู่ในจิตที่สงบของทุกท่านในที่นี้ อย่าว่าแต่เพียงตถาคตหรือพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์หรือพระอรหันต์สาวกเลย แม้พรหม-เทวดา-นางฟ้า ผู้ล่วงเข้าสู่ โลกุตรชน ก็ทำการตัดกิเลสให้จิตได้สุข สงบตามลำดับแห่งบารมีธรรมของตนเองนั้น ๆ"

๓. "เพราะฉะนั้นพวกเจ้าก็เช่นกัน วันทั้งวัน คืนทั้งคืน จงหมั่นตัดกิเลสตามกำลังของตน เพื่อทำให้จิตสุขสงบขึ้นมาตามลำดับเถิด หากกรรมใดทำแล้ว จิตเศร้าหมอง ปราศจากความสุขสงบ จงหมั่นหนีเลี่ยงการกระทำธรรมนั้น ทุกอย่างต้องใช้ปัญญาอันเป็น สัมมาทิฎฐิ เข้าพิจารณา และใคร่ครวญ อย่าคิดอย่าทำอะไรที่ขาดสติ และนำมาซึ่งการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นเป็นอันขาด"

๔. "อยากมานิพพาน จงทำกิจเพื่อพระนิพพานให้เข้มแข็งจริงจังด้วย ทำกันที่จิตนี่แหละเป็นประการสำคัญ เพราะการมาพระนิพพานเขาใช้จิตมา มิใช่ใช้ร่างกายมา ร่างกายเป็นสมบัติของโลก ในที่สุดก็ต้องคืนสู่โลกไป"

๕. "อย่าห่วงร่างกายให้มาก เพียงแต่ทำให้มันตามหน้าที่ ที่มีร่างกายตามความจำเป็นเท่านั้น เห็นทุกข์เห็นโทษของการมีร่างกายให้ชัดเจน เพื่อความเป็นประโยชน์อันจักนำมาซึ่งการตัดร่างกายทิ้งไปได้ในที่สุด เมื่อถึงวาระของการดับแห่งร่างกายนั้นได้เกิดขึ้น"

๖. "การทรงอารมณ์ สังขารุเบกขาญาณ ต้องใช้ปัญญารอบรู้ตามความเป็นจริง รู้ปกติธรรมของร่างกาย ทำทุกอย่างตามปกติธรรมนั้น ร่างกายมีโรคะ เบียดเบียนตัวมันเองอยู่ตลอดเวลา จิตของพวกเจ้าต้องไม่เบียดเบียนตนเองตามอาการของร่างกายนั้น ๆ หิวก็รู้ว่าหิว หาให้กินตามหน้าที่ ร้อนหรือหนาวก็รู้อยู่ ป่วยก็รู้อยู่ หาหยูกหายารักษา แต่รู้ด้วยความไม่กังวล เห็นปกติธรรมของร่างกายว่ามันเป็นอย่างนี้เอง รักษาอารมณ์ใจเข้าไว้ ให้ยอมรับกฎของธรรมดา จิตก็จักไม่ดิ้นรน ฝืนสภาวะของร่างกาย จิตก็จักสุขสงบได้ไม่ยากเย็น"


คนหลงขันธ์ ๕ อยากให้ขันธ์ ๕ อยู่นาน ๆ


ในวันเดียวกันนั้น หลวงปู่บุดดา ท่านก็เมตตามาสอนเรื่องนี้ไว้ว่า

๑. "คนหลงขันธ์ ๕ ก็อยากให้ขันธ์ ๕ ทรงอยู่นานๆ แต่คนใดหมดความหลงในขันธ์ ๕ แล้ว ก็หมดอยากที่จะให้ขันธ์ ๕ อยู่นานๆ ยอมรับสภาพตาม ความเป็นจริงของขันธ์ ๕ อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เห็นปกติธรรมที่เกิดดับของขันธ์ ๕ นั้นเป็นเรื่องธรรมดา ไม่มีใครจะฝืนกฎของกรรมได้"

๒. "เอ็งก็จงดูความทุกข์ของขันธ์ ๕ เข้าไว้ มันหาความปกติสุขไม่ได้เลย ไม่ว่าขันธ์ ๕ ของใครหรือขันธ์ ๕ ของเรา อย่าคิดแสวงหาความสุขของร่างกายเลย เพราะมันไม่จีรังยั่งยืน พยายามแสวงหาความสุขทางใจเข้าไว้ ขันธ์ ๕ มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน เอาพระธรรมเข้ามาทำให้จิตเป็นสุขสงบเยือกเย็นดีกว่า จิตจักพ้นทุกข์เพราะเข้าถึงธรรมนี้แหละ"

๓. "อย่าห่วงขันธ์ ๕ ของใคร และอย่าห่วงใจของใครให้มากไปกว่าห่วงใจของเรา ดูอารมณ์ใจเอาไว้ให้ดีๆ ว่ามันเบียดเบียนขันธ์ ๕ ตัวเองและผู้อื่นหรือเปล่า"

๔. "การเบียดเบียนนั้นต้องไม่มีทางกาย-วาจาและใจไม่เบียดเบียนทั้งธรรมภายในและภายนอก จึงจัดว่าเป็นสุขอย่างแท้จริง" (เพื่อนของผมฟังท่านสอนแล้ว ก็เข้าใจว่าธรรมภายนอก หมายถึงไม่ใช้กาย-วาจา-ใจไปเบียดเบียนผู้อื่น และธรรมภายใน หมายถึงไม่ใช้กาย-วาจา-ใจมาเบียดเบียนตนเอง)

๕. "หลวงปู่ท่านก็บอกว่า ใช่ แต่ยังคิดไม่ลึกซึ้งพอ มีเวลาก็คิดให้เป็น คิดให้ถูกอย่างนี้ก็แล้วกันนะ หลวงปู่ไปละ"


ปกิณกะธรรมที่ควรรู้


๑. จงอย่าละเมิดอาบัติ แม้เพียงเล็กๆ น้อยๆ และอย่าคิดว่าแสดงอาบัติแล้วก็จบไป เหมือนกับการทำชั่ว เหมือนมีบาดแผล แม้แผลจะหายแต่แผลเป็นยังอยู่กับจิต ดังนั้นจึงไม่ควรมีอาบัติเป็นดีที่สุด

๒. คำว่าอุกฤษฏ์หมายถึง การปฏิบัติศีล-สมาธิ-ปัญญา ไม่ให้หลุดไปจากจิต และคำว่า สุขอย่างอุกฤษฏ์ หมายถึงพระอรหันต์ท่านมีความสุขอย่างอุกฤษฏ์ คือ สุขทางใจ สุขอย่างยิ่งในศีล-สมาธิ-ปัญญา หรือท่านหมดอารมณ์เบียดเบียนตนเองแล้ว (ใจตนเอง) จึงเท่ากับท่านพ้นภัยตนเองแล้ว เพราะพระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "วันหนึ่ง ๆ ไม่มีใครมาทำร้ายเธอได้มากเท่ากับอารมณ์จิตของเธอเองทำร้ายจิตเธอเอง" หรือ "ภัยที่ร้ายแรงที่สุดในโลกนี้ก็คือ ภัยจากอารมณ์จิตของเราเองทำร้ายจิตตนเอง

๓. ให้ยกธรรมในบทส่งท้ายของมหาสติปัฏฐานมาพิจารณาใคร่ครวญบ่อยๆ ที่ทรงตรัสว่า ธรรมนี้มีอยู่เฉพาะหน้าสักเพียงแต่ว่ารู้ สักเพียงแต่ว่าอาศัย เราย่อมไม่สนใจในร่างกายของเราด้วย ไม่สนใจในร่างกายของผู้อื่นด้วย และไม่สนใจทุกสิ่งทุกอย่างในโลก หมายความว่า ไม่ติด-ไม่ยึด-ไม่เกาะ-ไม่เอาจิตเข้าไปผูกพันอะไรทั้งหมด

๔. อายตนะ๑๒ มีภายใน ๖ และภายนอก ๖ เป็นธรรมที่นำไปสู่ความหมดราคะและปฏิฆะได้โดยตรง ใครทำได้ทรงตัว พระอนาคามีผลย่อมเกิด หากทำได้ดีถึงที่สุด ก็เป็นพระอรหัตผล

๕. หลวงพ่อท่านให้ใช้ อารมณ์ช่างมัน คือ บอดเสียบ้าง ใบ้เสียบ้าง หนวกเสียบ้าง แล้วจิตจะเป็นสุข

๖. ท่านให้ใช้ธรรมะ ๒ ประโยค ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ สัพเพสังขารา อนิจจา กับ สัพเพธัมมา อนัตตาติ ธรรม ๒ ประโยคนี้จะเข้าใจได้ดี ต้องเข้าใจเรื่อง อายตนะ ๑๒ ดีก่อน โดยให้ศึกษาเรื่องอายตนะภายใน กับภายนอก และธรรมสมมุติไปสู่ธรรมวิมุติ ที่พระอานนท์ท่านสอนให้เข้าใจก่อน แล้วปฏิบัติให้ได้ตามนั้น


คนฉลาดไม่ฝืนอารมณ์แต่คอยแก้ไขอารมณ์


ในวันศุกร์ที่ ๒๐ ส.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐมทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ว่า

๑. "การที่จักไม่ติดใจในธรรมของโลกทั้ง ๓ นี้ (ทรงหมายถึง สัพเพสังขารา อนิจจา และสัพเพธัมมา อนัตตาติ) เจ้าก็จักต้องทำความเบื่อหน่ายในธรรมอันไม่เที่ยงเหล่านี้เสีย หมั่นชำระจิต เมื่อธรรมทั้งปวงเหล่านี้ผ่านเข้ามาสู่อายตนะสัมผัส โดยการกำหนดรู้ปล่อยวางอย่างรู้เท่าทันในความเป็นจริงแห่งธรรมนั้น ๆ"

๒. "เห็นทุกข์อันเกิดจากความสนใจในธรรมนั้นๆพิจารณาจนถึงที่สุดแห่งธรรมที่เข้ามากระทบอายตนะสัมผัสในแต่ละครั้ง"

๓. "คนฉลาดย่อมจักไม่ฝืนอารมณ์ เขาจักแก้ไขอารมณ์ที่เข้ามากระทบแต่ละครั้ง ตามจริต ๖ที่ตถาคตและพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ทรงกำหนดแนวทางเอาไว้ให้แก้ไข"

๔. "คนขลาดย่อมวิ่งหนีอารมณ์ คนเขลาตกเป็นทาสของอารมณ์ แต่คนฉลาดปักหลักสู้กับอารมณ์ตลอด ๒๔ ชั่วโมง รู้ศึกษาอารมณ์ตลอดเวลา สู้รบกับอารมณ์ตลอดเวลา สัประยุทธ์ชิงชัยอยู่ภายในเสร็จสรรพ ด้วยกองกำลังของตนเอง คือ โจทย์ตนเองเอาไว้ ให้คอยระวังข้าศึก คือ กิเลสที่เข้ามารบกวนอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ไม่โทษธรรมที่เข้ามากระทบทางอายตนะสัมผัส คนเหล่านี้โทษจิตของตนเองที่หวั่นไหวไปตามธรรมนั้น ๆ"

๕. "โทษจิตแล้วหมั่นแก้ไขอารมณ์ ที่ชอบปรุงแต่งให้เกิดอุปาทาน อกุศลกรรมนั้น ๆ ด้วยความเพียรไม่ย่อท้อ คนเหล่านี้เห็นทุกข์อันเกิดจากจิตเสวยอารมณ์ กิเลส-ตัณหาอย่างชัดเจน รักรู้-โลภรู้-โกรธรู้-หลงรู้ ก็คอยตามแก้อารมณ์นั้น ๆ อยู่ร่ำไป จักแพ้หรือจักชนะอารมณ์ในคราวใดก็รู้ มีจิตกำหนดรู้อยู่เสมอ คำว่าไม่รู้ จึงจัดว่าเป็นผู้ประมาท จักไม่มีในจิตของคนเหล่านี้ เขาเผลอกันน้อยเต็มที นี่เป็นหนทางของการนำไปสู่ความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน นำไปสู่ความไม่ประมาทในธรรมทั้งปวงอย่างแท้จริง ขอให้พวกเจ้าหมั่นปฏิบัติตามนี้เอาไว้ให้ดี ๆ"

๖. คำว่า ผู้รู้ คือ ผู้แจ้งโลก รู้วาระจิตของตน ไม่ติดอยู่ในธรรมอันไม่เที่ยงของโลกนั้นๆ จิตตื่นแล้วจากความข้องติด หลับใหลอยู่ในธรรมของโลกทั้งปวง โลกที่จองจำจิตเราได้มากที่สุด คือ ขันธโลก จักหลงเกิดในมนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก ก็เป็นผู้หลับใหลมองไม่เห็นสภาวธรรมนั้น ๆ ต่อเมื่อใช้ความเพียรโจทย์จิตตน จนเป็นผู้รู้ ผู้ตื่นในขันธโลก ไปตลอดจนพรหมโลก เทวโลก ตัดสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ประการ ที่รัดรึงจิตลงได้แล้ว ก็ย่อมเป็นผู้เบิกบานอย่างแท้จริง จิตบุคคลเหล่านี้ก็ถึงธรรมวิมุติ หลุดจากความเศร้าหมองด้วยประการทั้งปวง"

๗. "อย่าฟังคำตรัสของตถาคตแต่เพียงไพเราะรื่นหู ขอให้พวกเจ้านำไปคิดพิจารณาใคร่ครวญและปฏิบัติตามด้วย จักเป็นผลให้พ้นทุกข์ได้"


รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2011, 18:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 18:31
โพสต์: 292


 ข้อมูลส่วนตัว


อารมณ์ใจร้อนเป็นปฏิฆะกับการบรรลุของพระอานนท์





เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๗ พ.ย. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ ไว้ดังนี้

๑. "อย่าฝืนอารมณ์ของจิต ให้ตามรู้อารมณ์ไปตลอด คิดชั่วก็รู้ คิดดีก็รู้ ให้ตามแก้ไขอารมณ์ชั่วที่ถูกกิเลสครอบงำด้วยกรรมฐานแก้จริตหากคิดดีอยู่แล้วก็หาทางส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้น อย่างที่เจ้าทำเมื่อเย็นนี้นั้นถูกต้องแล้ว แม้ผลจักยังไม่ทรงตัวเท่าที่ควร ก็ให้ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ อย่าท้อถอย"

๒. "การเข้าสู่สัจธรรมอยู่เสมอ ๆ นั้นเป็นของดี เพราะจักทำให้จิตยอมรับความเป็นจริงของขันธ์ ๕ ค่อยๆ ทำไปอย่าใจร้อน ทำไปเรื่อย ๆ อย่างมีเป้าหมาย ดีกว่าใจร้อนทำไปด้วยอารมณ์ตัณหาทะยานอยาก หวังมรรคผลจนเกิดความเศร้าหมองแห่งจิต ทำเช่นนั้นไม่สมควร"

๓. "ให้ใจเย็นเข้าไว้ เป็นการฝึกสมาธิจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในความสงบเยือกเย็น เป็นการละได้จากอารมณ์ใจร้อน ซึ่งเป็นปฏิฆะตัวหนึ่งเช่นกัน ถ้าหากเจ้ารักษาอารมณ์ใจไปอย่างนี้เรื่อย ๆ อารมณ์ใจร้อนก็จักคลายลงไป ขอให้ดูท่านพระอานนท์เป็นตัวอย่าง ที่ท่านเคร่งเครียดรีบเร่ง จักให้มรรคผลบังเกิดขึ้นฉับพลัน ตลอดคืนยันรุ่งก็ไม่บรรลุ พออารมณ์เย็นลง ความเครียดผ่อนคลาย จิตเริ่มมีความสบาย ตั้งใจจักเอนกายลงพักผ่อน ก็บรรลุพระอรหันต์ที่ตรงนั้นเอง"

๔. "ที่กล่าวมานี้ เพื่อให้เจ้าได้เข้าใจถึงสภาพจิตในจิต ต้องอาศัยหลักมัชฌิมาปฏิปทา เป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ของจิต ไม่ตึงไป ไม่หย่อนไป ทำให้พอสบาย ๆ ใจเย็น ๆ เกี่ยวกับมรรคผลไปเรื่อย ๆ ก็จักถึงจุดหมายปลาทางได้เอง"

๕. "อย่าลืม เจ้าไม่ใช่บุคคลประเภท อุคคติตัญญู จักใจร้อนให้บรรลุมรรคผลเร็วมิได้ แม้อุคคติตัญญู การบรรลุมรรคผลก็มิใช่ได้เพราะความใจร้อน อาศัยบารมีธรรมที่บำเพ็ญมาเต็มแล้วแต่กาลก่อน จึงบรรลุได้เร็วตามนั้น"

๖. "พวกเจ้าเป็น วิปจิตัญญู ก็พึงจักต้องศึกษาและปฏิบัติไปตามคำสั่งสอนก่อน อีกทั้งมีการเวียนว่ายตายเกิดมานานนับอสงไขยกัปไม่ถ้วนเยี่ยงนี้ จู่ ๆ จักให้เคาะกิเลสหลุดไปได้อย่างฉับพลัน ย่อมเป็นการยาก เพราะฉะนั้น จักต้องใจเย็น ๆ แต่มิใช่เย็นแบบมีความประมาทในชีวิต จักต้องคิดถึงความตาย ควบกับความเพียรในความใจเย็นอยู่เสมอ อุปสมานุสสติ กายคตานุสสติ ควบอสุภกรรมฐานตั้งมั่น ควบคู่กับอานาปานัสสติ ไว้เสมอ กันความไม่ประมาทในชีวิต จิตสงบยอมรับความเป็นจริงในกฎของกรรมหรืออริยสัจ แล้วก็ปฏิบัติไปตามแนวคำสั่งสอนโดยไม่ย่อท้อ สักวันหนึ่งข้างหน้า ก็ย่อมจักถึงจุดหมายปลายทางได้"

๗. "อนึ่ง การคิดถึงหนทางระงับอารมณ์ปฏิฆะโดยเอาจิตตนเองเป็นเครื่องวัดว่า ถ้าใครด่าเรา นินทาเรา เราไม่ชอบใจแน่ เมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็ไม่ควรด่าใคร นินทาใคร เราไม่ชอบให้ใครมาแสดงอารมณ์โกรธ เราก็ไม่ควรที่จักแสดงอารมณ์โกรธเขา นั่นเป็นการคิดตามคำสั่งสอนของตถาคต ที่ท่านฤๅษีนำมากล่าวในพรหมวิหาร ๔ กรณีนี้เป็นการที่ถูกต้อง เจ้าควรจักคิดทบทวนอยู่เสมอ ๆ ซ้ำ ๆ จิตจักยอมรับตามความเป็นจริง เห็นโทษของอารมณ์โกรธ เพราะจักเป็นเหยื่อของอบายภูมิได้โดยง่าย"

๘. "จุดนี้ ขอให้คิดถึงท่านฤๅษีสอนในเทป โทษละเมิดพระธรรมวินัยที่กบิลภิกษุเมื่อขึ้นจากอเวจีมหานรก มาเกิดเป็นปลาเกล็ดสีทอง ต้องตายลงเพราะอารมณ์ปฏิฆะและโทสะ น้อยใจในกฎของกรรม มีความคับแค้นใจในกรรมที่ตนทำมาในอดีต จึงเอาศีรษะฟาดเรือตายไปอเวจีมหานรกก็ด้วยอารมณ์นี้ พวกเจ้าก็จักสามารถศึกษาโทษแห่งอารมณ์โทสะ-โมหะ-ราคะได้จากพระสูตรต่าง ๆ เพราะล้วนแล้วแต่มีตัวอย่างให้ดูมาแล้วทั้งสิ้น ถ้าหากเข้าใจถึงโทษแห่งอารมณ์นั้น ๆ จิตก็จักคลายจากการเกาะติดอารมณ์นั้น ๆ ลงได้ เสมือนหนึ่งบุคคลผู้หลงดื่มยาพิษมานาน พอรู้จริงว่านี่คือยาพิษ อันทำให้เราตายมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน เขาก็จักไม่ยอมหลงดื่มยาพิษนั้นอีกต่อไป ข้อนี้อุปมาฉันใด จิตของผู้รู้จริงก็จักเป็นฉันนั้น ขอให้ใช้ปัญญาศึกษากันให้ดีๆ จักปล่อยวางอารมณ์ที่เสมือนหนึ่งยาพิษที่ฆ่าตัวให้ตายได้"


ร่างกายนี้ไม่ใช่พระพุทธเจ้า


เมื่อวันอังคารที่ ๙ พ.ย. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปัจจุบันทรงพระเมตตาตรัสสอน เพื่อนผมไว้ดังนี้

๑. "ขันธ์ ๕ ย่อมไม่มีในใครทั้งหมด ร่างกายไม่ใช่ตถาคต ร่างกายไม่ใช่ท่าน สัมพเกสี ร่างกายนี้ไม่ใช่พระพุทธเจ้า ร่างกายนี้ไม่ใช่พระอรหันต์ ปกติของร่างกายเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไปตามสภาวธรรมของโลกนั้น ๆ"

๒. "พระพุทธเจ้าเป็นได้เพราะพระธรรม ตถาคตคือพระธรรม ท่านสัมพเกสีเป็นพระอรหันต์ได้ ก็เพราะพระธรรม พระธรรมนั้นไม่เกิด ไม่ตาย พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์จึงไม่เกิดไม่ตายตามสภาวะของธรรมนั้นๆ"

๓. "จำได้ไหมที่ตถาคตตรัส ผู้ใดเกาะสังฆาฏิของตถาคตอยู่ แต่ไม่ประพฤติในพระธรรมวินัย ก็เสมือนหนึ่งอยู่ไกลคนละฟากฟ้า ผู้ใดอยู่ไกลคนละฟากฟ้า แต่ประพฤติปฏิบัติอยู่ในพระธรรมวินัยอยู่ ก็เสมือนหนึ่งอยู่ใกล้เกาะชายสังฆาฏิของตถาคตอยู่

ประการแรก หมายถึง ผู้อยู่ใกล้ร่างกายของตถาคต แต่ไม่สนใจศึกษาปฏิบัติในพระธรรม ก็เสมือนหนึ่งอยู่ไกล เพราะตถาคตคือจิตที่เข้าถึงพระธรรม บุคคลผู้ไม่สนใจพระธรรม จึงไม่สามารถเข้าถึงพระพุทธเจ้าได้

ประการหลัง บุคคลใดแม้อยู่ห่างไกลจากร่างกายของตถาคต แต่ยังเคารพนบนอบปฏิบัติในพระธรรมอยู่เสมอ จึงได้ชื่อว่ายังจิตให้เข้าถึงพระธรรม พระธรรมก็ย่อมโยงจิตให้สัมผัสกับจิตของตถาคตได้ จึงเสมือนอยู่ใกล้พระพุทธเจ้าตลอดไปฉันนั้น

๔. "อนึ่งเจ้ายังจำได้ไหม ที่ตถาคตตรัสกับพระอานนท์เมื่อใกล้จักปรินิพพานว่า อานันทะดูก่อนอานนท์ หลังจากตถาคตได้ปรินิพพานแล้ว พระธรรมวินัยทั้งหลายนี่แหละจักเป็นพระศาสดาสอนเธอ ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นตถาคต"

๕. "ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมจนจิตเข้าถึงธรรมแล้ว เขาจักเห็นตถาคตคือจิต มิใช่ร่างกาย ความใกล้ตถาคตเห็นตถาคต จึงอาศัยพระธรรมโยงจิตให้เข้าถึงจิตโดยประการฉะนี้"

๖. "บุคคลผู้ใดเห็นธรรม จึงมีการเห็นพระพุทธเจ้า ยิ่งหลังจากตถาคตปรินิพพานไปแล้ว ก็ยิ่งทราบชัดว่าร่างกายนั้นมิใช่พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็คือจิตที่เข้าถึงพระธรรม ท่านต่างหากที่เป็นพระอรหันต์ เมื่อเป็นเช่นนี้เจ้าจักมาหลงอยู่ในร่างกายเพื่อประโยชน์อันใด เพราะมีร่างกายจึงมีการพลัดพรากจากของรักของชอบใจใช่หรือไม่ (ก็รับว่า ใช่) แล้วท่านสัมพเกสี ใช่ร่างกายหรือไม่ (ตอบว่าย่อมไม่ใช่) แล้วร่างกายนั้นใช่ท่าน สัมพเกสีหรือไม่(ตอบว่า ย่อมไม่ใช่) ท่าน สัมพเกสี คือ จิตไม่ใช่ร่างกาย ตถาคตก็เช่นกัน พระพุทธเจ้าคือจิตไม่ใช่ร่างกาย"

๗. "จิตนั้นย่อมไม่เกิดไม่ตาย ถ้าหากปฏิบัติพระธรรมโดยตั้งใจให้เข้าถึง โลกุตรวิมุติ จิตเจ้านั้นย่อมสัมผัสได้กับจิตของตถาคต หรือจิตของ ท่านสัมพเกสี และเมื่อร่างกายที่เจ้าอาศัยอยู่ถึง กาลัง ละกัตวา (ตาย) จิตของเจ้าที่เต็มไปด้วยพระธรรมวินัยนั้น ก็จักมาอยู่รวมกันที่พระนิพพาน ดินแดนอมตะแห่งนี้ ได้อยู่ร่วมกันกับพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระอรหันต์ทุก ๆ องค์ รวมทั้งท่านสัมพเกสีด้วย ความพลัดพรากจากกันจักไม่มีอีก ความโศกเศร้าเสียใจจักไม่มีอีก"

๘. "ที่ตถาคตตรัสมาทั้งหมด ขอให้เจ้าใคร่ครวญด้วยปัญญาเถิด มิใช่ตรัสให้เชื่อ แต่ตรัสเพื่อเจ้าจักได้เกิดความเห็นชอบด้วยปัญญา การหลงเกาะติดอยู่กับร่างกาย ไม่ว่าของตนเองก็ดี ของบุคคลอื่นก็ดี ของสัตว์ก็ดี ล้วนแล้วแต่นำมาซึ่งความทุกข์ อันมี ชาติปิทุกขา มรณังปิทุกขัง โสกะ ปริเทวะ ทุกขโทมนัส สุปายาส เป็นต้น อารมณ์เหล่านี้จักทำให้จิตของเจ้าเศร้าหมอง ทำปัญญาให้ถอยหลัง และมีอบายภูมิเป็นที่ไป หรือไม่ก็จักต้องกลับวนเวียนเกิดเป็นมนุษย์อีก ๓ ชาติ ๗ ชาติ จักมีประโยชน์อันใด แค่ชาตินี้ชาติเดียวยังรู้ทุกข์ไม่พออีกหรือ (รับว่าทุกข์พอแล้ว)"

๙. "เมื่อรู้ว่าทุกข์ ก็จงวางภาระขันธ์ ๕ หรือร่างกายนี้เสีย หันมาตั้งใจปฏิบัติในพระธรรม เพื่อยังจิตให้เข้าถึงพระนิพพานได้ในชาติปัจจุบัน จดจำไว้เสมอ พระพุทธเจ้าก็คือจิต ท่าน สัมพเกสีก็คือจิต เจ้าเองก็คือจิต ยังจะติดร่างกายเพื่อประโยชน์อันใด ให้เร่งรีบทำจิตตามพระธรรมคำสอน บริสุทธิ์ถึงที่สุดเมื่อไหร่ จิตที่เป็นวิมุติของเจ้านั้นจักได้พบพระพุทธเจ้า และท่าน สัมพเกสีอย่างถาวรเมื่อนั้น คำว่าพลัดพรากจากกันจักไม่มีอีก ถ้าหากมัวแต่หลงผิดติดร่างกาย ทำอารมณ์จิตให้เศร้าหมอง อีกนานนักหนากว่าจักได้พบกันอีก ขอให้คิดดูให้ดี ๆ"

รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2011, 18:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 18:31
โพสต์: 292


 ข้อมูลส่วนตัว


อารมณ์มัจฉริยะ(ความตระหนี่-ขี้เหนียว) กับเวลาและความตายไม่คอยใคร





เมื่อวันเสาร์ที่ ๗ ส.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ ให้กับเพื่อนของผมดังนี้

๑. "เจ้าอยู่กับโลก ก็จำเป็นจักต้องรู้ธรรมของโลกด้วย แต่รู้เพียงสักแต่ว่ารู้ จักได้รู้เท่าทันโลก แต่ไม่ติดอยู่ในธรรมของโลก มิใช่อะไร ๆ ก็ไม่รู้ ก็ต้องตกเป็นทาสของความโง่ คือ ไม่รู้อยู่ร่ำไป จงอย่าเสียดายเงิน เสียดายเวลา ซึ่งไม่เที่ยง หากจักนำมาเปรียบเทียบกับการที่ต้องเสียอารมณ์ไป เพราะเหตุเหล่านั้น เป็นการเบียดเบียนจิตตนเอง ขาดเมตตาจิตตนเอง ทำร้ายจิตตนเองโดยความโง่ ให้ใช้อริยสัจเป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหาทุกอย่างทั้งทางโลกและทางธรรม"

๒. "อารมณ์มัจฉริยะ ความตระหนี่ขี้เหนียว ก็คือ อารมณ์หวงเงิน-ทอง-ทรัพย์สินต่าง ๆ ให้ระมัดระวังอารมณ์นี้เอาไว้ให้ดี ๆ จงหมั่นกำหนดรู้เข้าไว้ มีลาภ-เสื่อมลาภ มีทรัพย์สินเงินทอง สักวันหนึ่งก็เสื่อมไป ใช้ไป เป็นธรรมดาของกฎของธรรมชาวโลก" (โลกธรรม ๘)

๓. "ทุกอย่างหนีสันตติไม่พ้น หนีกฎของไตรลักษณ์ไม่พ้น มีเกิด-มีเสื่อม-มีดับ เป็นธรรมดา เจ้าจงอย่าเกาะยึดอารมณ์นี้ รู้เท่าทันไตรลักษณ์เข้าไว้ จิตจักได้สบายใจ" (เมื่อได้ฟังคำสอนของพระองค์แล้ว ก็คิดได้ว่า จริงของพระองค์ กรรมของเรา เราจะไปให้คนอื่นแก้ได้อย่างไร)

๔. "ทรงตรัสว่า นี่แหละอารมณ์มัจฉริยะ ขี้เหนียว-ตระหนี่ แม้แต่เวลาก็เป็นทุกข์ เพราะเวลาซึ่งหาความเที่ยงไม่ได้ เมื่อเวลาไม่เที่ยง เจ้าไปยึดเวลาจึงสร้างทุกข์ให้กับจิตและกายของเจ้าเอง เหตุเพราะจิตเจ้าไม่อยู่ในธรรมปัจจุบัน ตั้งความปรารถนาจักกลับมาทำงานในเวลาแห่งอนาคต แต่กิจปัจจุบันของเจ้ายังทำไม่เสร็จ เวลามันไม่คอยท่า ก็เคลื่อนไปอยู่เรื่อย กิจปัจจุบันทำไม่ดี จิตก็ไม่ดี จดจ่ออยู่แต่กิจในอนาคต สุดท้ายจึงเหลวหมดด้วยประการทั้งปวง"

๕. "นี่เป็นธรรมภายนอก ซึ่งเจ้าสามารถจักนำมาเป็นบทเรียนสอนธรรมภายในให้แก่จิตของตนเองได้ เวลานี้ความฟุ้งซ่านเกิด จิตของเจ้าก็ย่อมอยู่ในธรรมปัจจุบันเช่นกัน มัวแต่ไปพะวงถึงธรรมในอนาคต ซึ่งยังมาไม่ถึง กิจปัจจุบันทำไม่ดี เจ้ารู้เวลาที่เคลื่อนไปหรือไม่ ความตายกำลังเข้ามาใกล้ทุกที จิตฟุ้งคือจิตมีอารมณ์ประมาท"

๖. "เสียดายเวลาแต่ไม่รู้จักใช้เวลาให้เป็น ปล่อยเวลาให้เคลื่อนไปในปัจจุบัน มัวแต่พะวงอยู่ในธรรมอนาคตที่ยังมาไม่ถึง สุดท้ายคว้าอะไรไม่ได้เลยสักอย่างเดียว อย่างนี้ดีนะหรือ" (ก็ยอมรับว่า ไม่ดี)

๗. "เมื่อรู้ว่าไม่ดี คิดไม่ถูก ก็จงหมั่นปรับปรุงแก้ไขอารมณ์ของใจเสียใหม่ เพื่อให้เข้าใจและรู้จักใช้เวลาในธรรมปัจจุบันให้เป็นประโยชน์สืบไป"


เมาอยู่ในสมาธิ ๒๓ปี เพราะอนาคามีมรรค


เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๘ ส.ค.๒๕๓๖ หลวงพ่อฤๅษี ท่านเมตตามาสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้

ต้นเหตุแห่งธรรมเรื่องนี้เกิดจาก เพื่อนของผมท่านยกเอาเรื่องของหลวงพ่อที่ท่านเล่าไว้ในอดีตว่า ท่านเมาอยู่ในสมาธิมา ๒๓ ปี เอาธรรมจุดนี้มาใคร่ครวญในปัจจุบันด้วยปัญญา ก็พบความจริงว่า ขนาดหลวงพ่อยังต้องใช้เวลาถึง ๒๓ ปี กว่าจะชนะกิเลสได้เด็ดขาด (ตัดสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ได้ขาด) แล้วเราเล่าจะต้องใช้เวลาขนาดไหน ยิ่งมีอารมณ์ใจร้อนอยากจะบรรลุเร็ว ๆ อยากมีฤทธิ์มีเดช อยากเด่น อยากดัง ล้วนเป็นอยากเลวทั้งสิ้น หรือล้วนเป็นตัณหา เป็นสมุทัย เป็นต้นเหตุให้จิตขยันหาทุกข์เพิ่มทุกข์ ยึดทุกข์ให้เพิ่มมากขึ้นทั้งสิ้น เมื่อเริ่มต้นผิดเป็นมิจฉามรรคแล้ว ผลมันจะเกิดได้อย่างไร เมื่อฟุ้งมาถึงจุนี้ หลวงพ่อท่านก็เมตตามาสอนให้ว่า

๑. "เออ รู้ตัวไว้บ้างก็ดี แต่ไม่ใช่รู้แล้วปล่อยกรรมฐานให้หลุดไปจากใจ ไอ้ที่จะค้างเติ่งอยู่นาน ก็ตรงอนาคามีมรรคนี่แหละ ไม่ค่อยจะมีใครได้เร็ว ตัดรัก ตัดโกรธ มันต้องใช้ความเพียรสูง ถ้าใจมันสู้เสียอย่างเดียว อารมณ์ไหนมาปะทะ ไม่ถอย ตั้งหน้าลุยมันไปข้างหน้าลูกเดียว"

๒. "จับหลักพรหมวิหาร ๔ ไว้ให้มั่น เอามาคิดพิจารณาให้ครบทั้ง ๔ ตัว วางอารมณ์ของใจไว้ให้ถูก ในขณะจิตถูกกระทบด้วยอารมณ์นั้น ๆ ค่อย ๆ กำราบมันไป เอ็งเกิดได้ข้าก็หักล้างเอ็งได้ ชนะบ้าง แพ้บ้าง ก็ให้รู้ว่าชนะหรือแพ้ แต่ขอให้ได้ชื่อว่าต่อสู้กับมันสุดกำลังใจก็แล้วกัน "

๓. "แพ้รู้ ชนะรู้ แต่คำว่าท้อถอยไม่มีอยู่ในใจ แพ้เวลานี้โอกาสหน้าเราสู้ใหม่ สู้มันเข้าไปทุก ๆ เวลา เขาต้องทำกันอย่างนี้ จึงจะเอาชนะอารมณ์รัก อารมณ์โกรธได้" (ก็คิดว่าที่ตนแพ้อยู่เสมอ ๆ คือ อารมณ์คิดถึงหลวงพ่อ)

๔. ก็อารมณ์รักนั่นแหละ เอ็งมันหลงเปลือกของพ่อ ก็ต้องตัดด้วยพรหมวิหาร ๔ กับ กายคตาและมรณา และอสุภะ นึกถึงสภาพร่างกายว่าไม่เที่ยงซิลูก" (ก็คิดว่า มันทำไม่ได้นาน เดี๋ยวมันก็กลายมาเกาะใหม่)

๕. "เกาะอย่างนั้น มันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ล่ะ (ตอบว่าเป็นทุกข์) เมื่อรู้ว่าทุกข์ก็ต้องเลิกเกาะ พยายามวางเฉยในเรื่องที่รู้ทั้งหมด ปล่อยให้กาลเวลาพิสูจน์ธรรม ถ้าปล่อยให้อารมณ์จมทุกข์อยู่อย่างนี้ จะมีประโยชน์อะไร"

๖. "อย่าลืมนะ มันเป็นความเศร้าหมองของจิตที่จะต้องหมั่นลบล้างออกไป จิตของพ่อตั้งมั่นอยู่ที่พระนิพพาน แต่ถ้าเอ็งตายในขณะที่จิตเศร้าหมองอยู่อย่างนี้ เอ็งก็จะไปสู่อบายภูมิแทน อย่างนี้แล้วจะพบกันได้อย่างไร"

๗. "อุตสาห์สอนเอ็งแทบตาย ก็ยังเอาดีไม่ได้ ต้องพยายามตัดอารมณ์เกาะร่างกายของพ่อลงเสียให้ได้ ใช้สัจธรรม ๕ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นของธรรมดา ทุกสิ่งในโลกล้วนไม่เที่ยง แล้วเอ็งจะมายึดอยู่เพื่อประโยชน์อะไร"

๘. "เอ็งไม่หวังมาเกิดอีก ก็ต้องคิดให้เป็น อย่าทำตัวเป็นคนโง่ ปล่อยให้อารมณ์ฝืนกฎธรรมดามันมาหลอกเอา จมทุกข์อยู่อย่างนี้ทั้งปีทั้งชาติ ก็เอาดีไม่ได้ "

๙. "อย่าลืม พ่อสอนมาตลอดว่า ห้ามยึดขันธ์ ๕ ห้ามเกาะเสียง ให้ยึดพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตามพระธรรมนั้น ถ้ายังยึดเกาะขันธ์ ๕ กับเสียงอยู่ ถือว่าเจ้าขัดคำสั่งของพ่อและของพระพุทธเจ้าด้วย อย่าลืมพระองค์สอนให้ละ ปล่อย วางขันธ์ ๕ เวลานี้เอ็งประพฤติปฏิบัติผิดแนวคำสอนของพระองค์"

๑๐. "อยากหมดทุกข์ก็ต้องทำตามคำสั่งสอนของท่าน ถ้าอยากจมทุกข์ก็จงเกาะขันธ์ ๕ ของพ่อต่อไป ทุกอย่างต้องใช้ปัญญาพิจารณาช่วยตนเองทั้งนั้น ถ้าช่วยตนเองไม่ได้คนอื่นก็ช่วยไม่ได้ "


การพึ่งตนเองด้วยปัญญา
กับการตัดกรรมของพระฉันนะ



ในวันเดียวกันนั้นเพื่อนของผมท่านมีปัญหาคาใจ แต่ไม่กล้าทูลถามพระพุทธองค์ สมเด็จองค์ปฐม ก็ทรงพระเมตตามาตรัสสอนว่า

๑. "แค่เจ้าคิดตถาคตก็รู้แล้ว จักต้องพูดเพื่อประโยชน์อันใด ไม่มีการตรัสพยากรณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับเรื่องของท่านฤๅษีต่อไปอีก ให้เจ้ารู้อยู่ในธรรมปัจจุบัน เจ้าพึงศึกษาและเรียนรู้เข้าไว้ เพื่อจักทำให้อารมณ์จิตเป็นสุข"

๒. "ธรรมนี้เพื่อช่วยอารมณ์จิตของเจ้าเอง เหมือนอย่างกับที่องค์สมเด็จปัจจุบัน ทรงตัดกรรมให้กับพระฉันนะให้ละจากธรรมในอดีต ที่เป็นสหชาติกับพระองค์ลงเสีย ให้ละจากธรรมอนาคตทั้งหมดที่มุ่งหวังจากพระทุกองค์ ในความเกื้อกูลเนื่องด้วยความเป็นสหชาตินั้น พระฉันนะยึดอดีตไม่ได้ เพราะขันธ์ ๕ ขององค์สมเด็จพระจอมไตรทรงปรินิพพานไปแล้ว จักยึดอนาคตเพื่อพึ่งใครก็ไม่ได้ เพราะถูกสั่งลงพรหมทัณฑ์ คือ อยู่แต่ผู้เดียว จึงอยู่กับธรรมปัจจุบันอันเดียวดายนั้น เป็นการบีบบังคับให้พระฉันนะต้องพึ่งตนเอง"

๓. "การคิดและพิจารณาธรรมอยู่ในปัจจุบันนั้น การพึ่งตนเองด้วยปัญญา โดยยึดอริยสัจ คือ ทุกขสัจเป็นที่ตั้ง ในที่สุดพระฉันนะก็จบกิจได้ด้วยธรรมปัจจุบันนั้น เห็นสภาพความเป็นจริงของขันธ์ ๕ ที่เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง ยึดถืออะไรไม่ได้ เห็นสภาพความเป็นจริงของกิเลสที่เป็นเจ้านาย ครอบงำอารมณ์ของจิตที่ทำให้ตกเป็นทาสของมัน ทำให้จิตเคลื่อนไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อพิจารณาถึงที่สุด พระฉันนะก็หมดทุกข์ เห็นองค์สมเด็จพระจอมไตรอยู่ที่พระนิพพานอย่างชัดเจน ดังนั้นเมื่อบรรลุถึงธรรมวิมุติแล้ว พระฉันนะก็คิดถึงคุณและโทษของการอยู่ว่า จักมีประโยชน์หรือไม่ เมื่อเห็นว่าเป็นโทษก็ยอมละทิ้งขันธ์ ๕ เพื่อนิพพานไปดังกล่าว ตถาคตจักถามเจ้าดูว่า พระฉันนะฆ่าตัวตาย เพราะอาลัยหรือไม่อาลัยในขันธ์ ๕" (ก็ตอบว่า ไม่อาลัย)

๔. "ใช่ เพราะท่านหมดอารมณ์ที่จักอาลัยแล้ว ต่างกับคนที่ฆ่าตัวตาย เพราะมีอารมณ์ไม่รักก็ชัง จึงไม่พ้นทุกข์ตถาคตยกเรื่องนี้ให้เจ้าได้คิดพิจารณา พระที่ท่านได้พระอรหัตผล เพราะตัดความรักอาลัยในขันธ์ ๕ หมดจากอารมณ์เบียดเบียนกายและจิตแล้วจึงพ้นทุกข์ ขอให้เจ้าศึกษาธรรมในปัจจุบันให้ดี ๆ ละจากธรรมที่เป็นอดีตและอนาคตเสีย"

- มีชีวิตอยู่อย่าหนีปัญหา เพราะหนีไม่พ้น หากกายยังอยู่ ปัญหาของโลกก็เป็นธรรมดาของโลก จะพ้นได้ เมื่อตัดอารมณ์ ๒ พอใจกับไม่พอใจได้เด็ดขาดแล้ว

- หากยังตัดอารมณ์ ๒ ไม่ได้ จงอย่าเอาอดีตที่ผ่านมาแล้วและอนาคตซึ่งยังไม่ถึงมาครุ่นคิด เพราะล้วนเป็นทุกข์ของจิต ต้องอยู่ในปัจจุบันธรรม

จงอยู่กับธรรมปัจจุบันให้มาก ๆ


เมื่อวันจันทร์ที่ ๙ ส.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐมทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้ แต่ก่อนที่พระองค์จะตรัสสอน หลวงพ่อท่านได้ถามเพื่อนของผมว่า เอ็งอยากได้พระอนาคามี หรืออยากได้หลวงพ่อกลับมา (ก็ตอบท่านว่าอยากได้ทั้ง ๒ อย่าง)

หลวงพ่อท่านไม่ตอบ ปล่อยให้ใช้ความคิดพิจารณาเพื่อให้เกิดปัญญา ในที่สุดก็คิดออกว่า พระอนาคามีนั้น จะต้องใช้ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนจึงจะได้ โดยใช้ความเพียรปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนที่พระท่านให้ไว้เท่านั้น แต่การอยากได้หลวงพ่อกลับมานั้น เป็นตัณหา เป็นความชั่วของจิต ที่ฝืนพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์โดยตรง ขัดหลักสัทธรรม ๕ การเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย-ต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจ และมีความปรารถนาไม่สมหวัง ล้วนเป็นของธรรมดาที่ไม่มีใครจะฝืนได้ ยิ่งฝืนก็ยิ่งทุก หรือมันเหมือนกับ อยากให้พระอรหันต์ท่านกลับลงมาเกิดอีก อันเป็นอารมณ์ของคนบ้าโง่ และหลงอย่างสุด ๆ เมื่อคิดมาถึงจุดนี้ พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสว่า

๑. "คำนึงถึงธรรมปัจจุบันให้มาก ละธรรมอดีตและอนาคตลงเสียก่อน พึ่งตนเองให้มาก ๆ เพื่อการเป็นพระอริยเจ้าเบื้องสูง อย่าพอใจแค่พระโสดาบัน จักไม่พ้นทุกข์"

๒. "หมั่นคิดถึงคำถามของท่านฤๅษีที่กล่าวทิ้งไว้ให้เจ้าคิด เมื่อเย็นนี้ด้วย ถ้าเจ้าไม่โง่มากเกินไป จงใช้จิตปฏิบัติธรรมเพื่ออริยมรรค อริยผล ดีกว่าที่จักใช้จิตมาครุ่นคิดคำนึงถึงเรื่องของท่านฤๅษี จนถูกความเศร้าหมองเข้ามาครอบงำจิต"

๓. "อย่าโง่นักซิเจ้า กาลเวลาล่วงไป ชีวิตมันใกล้ความตายทุกขณะจิต ไม่ทำความเพียรตั้งแต่วาระนี้ แล้วจักไปทำความเพียรเอาที่ตรงไหน ธรรมะของตถาคตมิใช่ของเนิ่นช้า อย่าท้อถอยกับการกระทบกระทั่งของอารมณ์ เพราะเป็นธรรมดา จักละธรรมอันเป็นอกุศลประการใด ธรรมที่เป็นอกุศลประการนั้น ก็จักเข้ามาทดสอบจิตอยู่เสมอ"

๔. "จงลงตัวธรรมดาเข้าไว้ ธรรมดาของตถาคตตรัสคือ เกิดแล้วดับไปตามสภาวธรรมของโลก ทุกอย่างเกิดขึ้นแล้วดับไป จงทำจิตให้ยอมรับธรรมนั้น"

๕. "อย่ายึด-เกาะติดธรรมที่ชอบใจ และไม่ชอบใจ เพราะอารมณ์เหล่านี้ไม่ได้ช่วยให้จิตของเจ้าพ้นทุกข์ได้เลย"

๖. "จงอยู่กับธรรมปัจจุบันให้มากๆ เคารพกฎของธรรม อันมีเกิดแล้วดับไปเป็นปกติ ในที่สุดสิ่งเหล่านั้นไม่เที่ยงเกาะยึดเมื่อไหร่ ทุกข์เมื่อนั้น"

๗. "ทุกอย่างเคลื่อนไป จงยอมรับความเคลื่อนไปอยู่อย่างนั้น อย่าปรุงแต่งธรรม สิ่งใดยังไม่เกิด ก็จงอย่าครุ่นคิดปรุงแต่งธรรมนั้น ทุกอย่างมีแต่ปัจจุบัน ถ้าจิตเจ้าไม่เข้าใจในธรรมปัจจุบัน ก็ต้องทุกข์อยู่กับอดีตและอนาคตธรรมอยู่ร่ำไป จักมีประโยชน์อันใด"

๘. "การเข้าถึงพระนิพพาน ก็ต้องอาศัยอารมณ์จิตให้อยู่ในธรรมปัจจุบันนี้ ความเป็นพระอรหันผลก็เป็นของไม่ไกล จงพิจารณาธรรมนี้ให้ดี ๆ"


รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2011, 18:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 18:31
โพสต์: 292


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อมูลทั้งหมดนำมาจากเวบด้านล่างนี้ครับ

http://www.tangnipparn.com/page_book_all.html

ปัจจุบันมีหนังสือชุดนี้อยู่ 14 เล่ม ผมต้องขออนุโมทนาทุกท่านที่มีส่วนในการจัดทำและเผยแพร่ผลงานชุดนี้เป็นอย่างยิ่งครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร