วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 06:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2011, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปราบพระทะเลาะกัน

มนุษย์เมื่ออยู่รวมกันอยู่กันเป็นสังคมย่อมมีปัญหาบ้างเป็นธรรมดาเพราะมากคนก็ทำให้มากความ
สังคมพระสงฆ์ แม้จะเป็นสังคมแห่งความดีงามมีศีลมีวินัยสูงกว่าชาวบ้านโดยทั่วไปก็จริง แต่ก็อดที่จะมี
ปัญหาให้กระทบกระทั่งกันมิได้
ครั้งหนึ่ง พระที่วัดระฆังคู่หนึ่งด่าทอกันดังขรมวัด ท้าทายจะชกต่อยกัน รูปที่ถูกท้าชกก็ร้องว่า
"พ่อไม่กลัว" อีกรูปก็หนึ่งก็ร้องตอบว่า "พ่อก็ไม่กลัวเหมือนกัน" ต่างก็เก่งด้วยกัน ท้ากันเหยงๆ ไม่มีใคร
กลัวใคร สมเด็จฯโต (ตอนนั้นเป็นพรเทพกวี) นั่งอยู่ในกุฏิของท่านได้ยินเสียงทะเลาะกัน เห็นพฤติกรรมอันผิดวิสัยของสมณะแล้ว ไม่สามารถจะทนนิ่งเฉยอยู่ได้ ต้องตัดไฟแต่ต้นลม ก่อนที่มันจะลุกลามไปใหญ่โต ท่านจัดดอกไม้ ธูป เทียน ใส่พานรีบเดินเข้าไประหว่างพระทั้งสอง นั่งคุกเข่าน้อมพานเข้าไปถวายพระคู่นั้น แล้วก็ประนมมือกล่าวอ้อนวอนขอฝากเนื้อฝากตัวว่า "พ่อเจ้าประคุณ! พ่อจงคุ้มฉันด้วย
ฉันฝากตัวกับพ่อด้วยฉันเห็นจริงแล้วว่าพ่อเก่งเหลือเกิน เก่งพอได้ เก่งแท้ๆ พ่อเจ้าประคุณ ลูกฝากตัวด้วย" พระคู่นั้นเกิดรู้สึกละอายใจ เลิกทะเลาะกันกลับเข้าไปในกุฏิพิจารณาเห็นโทษความผิด กิเลสของตัวเองแล้วจึงออกมากราบขอโทษท่าน มาคุกเข่ากราบสมเด็จฯโต สมเด็จฯโตท่านก็คุกเข่าตอบบ้าง
พระทั้งสองเห็นสมเด็จฯโตกราบตนเอง ก็ให้รู้สึกเกรงกลัว ท่านเป็นถึงเจ้าอาวาส มีอำนาจหน้าที่ปกครองดูแลเรา จะมากราบเราได้อย่างไร ลำบากใจนักจึงกราบสมเด็จฯโตตอบ
ปรากฏว่าในวันนั้น กราบกันไปกราบกันมาอยู่นานจนเหนื่อยแล้วจึงเลิกรากันไป จะเห็นว่าวิธีปราบพระทะเลาะกันของสมเด็จฯโตได้ผลดีโดยไม่ต้องปากเปียกปากแฉะ เพราะพระทั้งสองรูปเกิดความละอายและเสียใจที่ประพฤติอย่างนั้น เมื่อกราบท่านเสร็จแล้วก็ปฏิญาณตนว่าจะไม่ทะเลาะกันอีก :b41:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2011, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปริศนาธรรมดับกิเลส

เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เสด็จบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานในพระบวรศพ
ของพระปิ่นเกล้าเจ้าฯ พอเสด็จถึงพระทวารพระที่นั่ง พวกพระสวดอภิธรรม ๘ รูป ท่านตกใจด้วยเกรง
พระบรมเดชานุภาพต่างลุกวิ่งหนีเข้าแอบที่หลังม่านที่กั้นพระโกศ พระองค์ทรงทราบแล้วกริ้วใหญ่ ทรงดุเสียงดังว่า "ดูซิ ดูซิ ดูถูกข้า มาเห็นข้าเป็นเสือ เป็นยักษ์ เอาไว้ไม่ได้ต้องสึกให้หมด" รับสั่งแล้วก็ทรง
พระอักษร (เขียนหนังสือ) ถึงสมเด็จฯโต สั่งให้พระธรรมเสนา (เนียม) นำลายพระราชหัตถเลขามาถวายที่วัดระฆัง
สมเด็จฯโตอ่านแล้วท่านก็จุดธูป ๓ ดอก จี้ที่กระดาษที่ว่างๆ ลายพระหัตถ์นั้น ๓ รู สั่งให้พระธรรมเสนานำมาถวายคืนในวันนั้น ครั้นพระธรรมเสนาทูลเกล้าถวาย ทรงเห็นรูปกระดาษไหม้ไม่ลามถึงตัวหนังสือ ก็ทรงทราบปริศนาธรรมของสมเด็จฯโต จึงรับสั่งว่า "อ้อ ท่านให้เราดับราคะ โทสะ โมหะ
อันเป็นไฟ ๓ กอง งดทีๆ เอาเถอะๆ ถวายท่าน" เป็นอันว่าพระทั้ง ๘ รูปไม่ต้องถูกจับสึก แต่พระธรรมเสนาได้เอาตัวพระเหล่านั้นมานั่งประจำที่ให้หมด แล้วพระจอมเกล้าฯ ก็ทรงแนะนำสั่งสอนระเบียบที่พึง
ประพฤติในหน้าพระที่นั่งให้ถูกต้อง ตั้งแต่นั้นมา :b41:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2011, 16:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผ้าเช็ดมือถวายไม่ได้

เวลาที่เราจะให้ของอะไรๆ กับผู้อื่น เรามักจะเลือกหาของดีๆ ให้เขา เพราะเรารู้ว่าเป็นธรรมชาติของคนที่อยากจะได้แต่ของดีๆ ไม่มีใครอยากได้ของไร้ค่าหรือมีค่าน้อย บางคนเกร็งเกินไป ไม่เกล้าให้ของ
เล็กน้อยแก่ผู้อื่น เพราะเกรงจะไม่เป็นที่ถูกใจ จึงสรรหาของมีค่ามากไปให้จนผู้รับไม่กล้าใช้ เพราะมันดีเกินไปได้แต่เก็บใส่ตู้โชว์ไม่ยอมใช้จนตายไป ลูกหลานก็เอาไว้โชว์ต่อไปอีก มันน่าขำจริงเชียว! ญาติ
โยมโดยทั่วไปก็เหมือนกัน เวลาทำอาหารถวายพระ มักจะเน้นพวกแกง ต้ม ผัด เอาไว้ก่อนถึงจะทำ
ประณีตอย่างไรก็ตามพระท่านก็ฉันไม่ใคร่ได้หรอก เพราะท่านฉันจำเจอยู่ทุกวันๆ อยู่แล้วมันเบื่อได้เหมือนกัน ไม่ใคร่มีใครเอาน้ำพริก ผักไปถวาย ลองเอาไปถวายซิ ท่านจะฉันข้าวได้มากเลยแหละ
เพราะฉะนั้น อย่ามองข้ามน้ำพริกว่าเป็นอาหารเล็กน้อย ไม่สำคัญ เพราะน้ำพริกนี่แหละทำให้ชาวนาชาวไร่มีร่างกายสมบูรณ์
กรณีที่ผมเล่ามานี้ เคยมีกรณีข้างเคียงเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่๔ เรื่องมีว่า สมเด็จฯโต ได้รับนิมนต์
ให้ไปฉันในพระราชวัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประเคนไตรแพร สมเด็จฯโต ท่านก็เอา
ไตรแพรนั้นเช็ดปาก เช็ดมือยุ่งไปหมด พระจอมเกล้าฯทรงทักว่า "ไตรเขาดีๆ เอาไปเช็ดเปรอะหมด"
สมเด็จฯโต ตอบสวนมาทันทีว่า "อะไรๆ ก็ถวายได้ ผ้าเช็ดมือถวายไม่ได้ อาตมภาพก็ต้องเอาผ้าไตรของ
อาตมาเช็ดอาตมาเอง เป็นอันได้บริโภคของทายกแล้ว ไม่เป็นศรัทธาไทยวิบัติ" ผ้าเช็ดมือผืนเล็กๆ
ราคาผืนไม่กี่บาท แต่ไม่มีใครคิดซื้อหามาถวายพระไม่รู้ว่าเพราะอะไร อะไรๆ ก็ถวายได้ แต่ผ้าเช็ดมือถวายกันไม่ได้ การกระทำของสมเด็จฯโต เป็นการสอนให้รู้ว่า อย่าเห็นแต่สิ่งของสำคัญจนลืมของเล็กๆ
น้อยๆ เพราะบางทีของเล็กน้อยก็สำคัญไม่ใช่ย่อยเหมือนกัน :b41:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2011, 19:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ไหว้ย่อมได้รับการไหว้ตอบ

ตามปกติพระที่มีพรรษาน้อยหรืออ่อนพรรษา ต้องแสดงความเคารพนบนอบต่อพระที่มีพรรษามากกว่าหรือแก่พรรษาถ้าเป็นการไหว้ เมื่อพระอ่อนพรรษากว่าไหว้พระผู้แก่พรรษาก็ประนมมือรับไหว้
และถ้าเป็นการกราบเมื่อพระอ่อนพรรษากราบพระผู้แก่พรรษาก็เพียงแต่ประนมมือรับกราบถือว่าถูกต้องแล้ว แต่บางทีสมเด็จฯโต ท่านทำมากกว่านั้น คือครั้งหนึ่ง พระอุปัชฌาย์เดช จังหวัดสิงห์บุรีเข้าไปกราบท่าน ท่านก็กราบตอบ พระอุปัชฌาย์เดช นึกแปลกใจเพราะไม่เคยเห็นมาก่อนจึงเรียนถามท่านว่า
"ทำไมท่านทำอย่างนี้?" สมเด็จฯโต ตอบว่า "ทำตามพุทธฏีกาที่ว่า วันทะโก ปะฏิวันทะนัง ผู้ไหว้ย่อมได้รับการไหว้ตอบ" เอากับท่านซิ ความจริง ถ้าผู้ใหญ่จะเป็นพระหรือฆราวาสก็ตาม ทำอย่างท่านก็ดี
จะได้ช่วยลดทิฐิมานะลงอีกเยอะเลย :b41:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2011, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไม่จับเงิน

ในทางพุทธศาสนาถือว่า "เงิน" เป็นดัง "อสรพิษ" ซึ่งสามารถฉกกัดคนโง่ให้ฉิบหายตายโหงเอาได้
อย่างง่ายๆ ท่านจึงสอนไม่ให้ตกเป็นทาสของเงิน มีเงินก็ให้รู้จักใช้ให้เป็น เอาเงินเป็นทาสไม่ให้อยู่ได้
อำนาจของเงิน อย่าให้เงินเป็นนายเหนือหัวกดขี่เอาได้ เมื่อหาเงินมาได้ ให้รู้จักจัดสรรปันส่วนอย่างถ้วนถี่
โดยแบ่งเป็น ๔ ส่วนคือ
หนึ่งส่วน สำหรับเลี้ยงตนเอง เลี้ยงคนที่ควรเลี้ยง และทำประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม
สองส่วน สำหรับเป็นทุนประกอบกิจการงาน
ส่วนที่เหลือ สำหรับเก็บไว้ใช้ยามจำเป็น
จะกินจะใช้ต้องเป็นไปตามความเหมาะสม หากกินใช้ไม่เป็นหาได้เท่าไรๆ ก็ไม่พอ เคยเห็นคนยากจนเพราะกินใช้สุรุ่ยสุร่ายมามากต่อมากแล้ว คนฉลาดในทางพุทธศาสนา จะแบ่งการใช้จ่ายทรัพย์สินเงินทองเป็น ๕ ประการคือ
๑ เลี้ยงตัวเอง บิดามารดา บุตร ภริยา และคนที่อยู่ในบังคับในปกครองให้เป็นสุขมิให้อดอยาก
๒ เลี้ยงมิตรสหาย และเพื่อนร่วมธุรกิจการงานให้เป็นสุข
๓ จ่ายเพื่อป้องกันอันตรายอันจะเกิดขึ้นและเพื่อบำบัดปัดเป่าอันตรายที่เกิดขึ้นแล้วให้บรรเทาเบาบางลง
๔ ทำการสงเคราะห์ ๕ อย่างคือ
(๑) จ่ายเพื่อช่วยเหลือญาติพี่น้อง
(๒) จ่ายเพื่อต้อนรับแขกผู้มาเยือน
(๓) สละทรัพย์ทำบุญสักการะอุทิศให้ผู้ตาย
(๔) บำรุงบ้านเมือง ช่วยเหลือราชการ อุดหนุนองค์กรเอกชนผู้เสียสละ
(๕) ทำบุญอุทิศให้แก่สิ่งที่เคารพบูชา
๕ บำรุงเลี้ยงพระภิกษุสงฆ์ และนักปราชญ์ราชบัณฑิต ผู้ทรงธรรมไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนด้วยปัจจัยสี่
การกินใช้ที่เป็นไปตามหลัก ๕ ประการนี้ ทางพุทธศาสนาถือว่าเป็นการใช้จ่ายทรัพย์อย่างคุ้มค่า เกิด
ประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นอย่างเต็มที่ ข้อสำคัญในการปฏิบัติต่อเงินทองทรัพย์สินก็คือ อย่ายึดมั่นถือมั่นจนรู้สึกเป็นทุกข์ ได้มาก็ใช้เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ชีวิตไม่ใช่ใช้เงินเป็นเครื่องมือแสวงหาความสุข เพราะเงินให้ความสุขแก่คนเราไม่ได้หรอก ความสุขมันอยู่ที่ใจหาได้จากความสงบใจ ความสุขนอกล้วนจอมปลอมเป็นได้อย่างมากก็แค่ความสนุกสนานเท่านั้น
ฉะนั้น การจะมีเงินหรือไม่มีเงินจึงไม่ใช่สาระสำคัญของความสุขแห่งชีวิต คนมีเงินมาก ร่ำรวยเหลือล้นทนทุกข์ก็มากมาย คนยากจนข้นแค้น มีสุขแสนก็ไม่ใช่น้อย ขอเพียงรู้จักคำว่า "พอ " และไม่พยายามยึดมั่นถือมั่นอะไรๆ ในชีวิตให้มันวุ่นวายจนเกินไป ชีวิตย่อมไม่ร้อนรน บุคลิกของสมเด็จฯโต
ท่านเป็นพระสมถะ ไม่ชอบสะสม มีมาได้มาก็แจกจ่ายไปหมด
ครั้งหนึ่ง ท่านได้รับนิมนต์ร่วมกับพระอื่นๆ ให้ไปฉันในพระราชวัง พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ทรงถวาย
เงินรูปละ ๒๐ บาท สมเด็จฯโต เห็นแล้วทำดีใจรีบรวบเงินจับใส่ย่ามเสียงดังกราว เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงทักว่า "อ้าว! พระจับเงินได้หรือ" สมเด็จฯโต ทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร!เงิน พระจับไม่ได้แต่ขรัวโตชอบ"พระเจ้าอยู่หัว ทรงฟังแล้วก็ชอบพระทัย จึงพระราชทานรางวัลให้อีก พอหิ้วย่ามออกจากพระราชวัง คนนั้นล้วงที คนนี้ล้วงที จนหมดย่าม ท่านก็คุยพึมพำว่า "โอ! วันนี้รวยใหญ่ วันนี้รวยใหญ่" ทั้งๆ ที่ในย่ามไม่มีอะไรเหลือแล้ว นี่แสดงว่าท่านไม่ได้สนใจใยดีอะไรกับเงินทอง ใครอยากได้ก็เอาไป ไม่เหมือนบางรูปที่ทำทีว่าไม่จับสตางค์ แต่มีกองทุนอยู่ข้างหลัง ทั้งยังแสดงอาการแห่งโลภจริตออกมาอีกด้วย มันน่า
เกลียดไหมล่ะ หรือว่าไม่รู้สึกกันเลย :b41:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2011, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณา

คราวหนึ่งที่บ้านของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) มีการประชุมนักปราชญ์ บุคคลสำคัญหลายชาติ สมเด็จเจ้าพระยาฯ ให้บ่าวไปอาราธนาสมเด็จฯโต ไปแสดงทัศนะที่ถูกที่ชอบ เกี่ยวกับการโลกการธรรม ให้ต่างชาติได้รู้ว่าชาวสยามของเราก็มีนักปราชญ์อยู่เหมือนกัน สมเด็จฯโตกล่าวตอบ
บ่าวว่า "ฉันยินดีแสดงนักในข้อนี้" บ่าวกลับไปกราบเรียนสมเด็จเจ้าพระยาฯ ว่า "สมเด็จรับแสดงว่าใน
เรื่องให้รู้ความผิดถูกทั้งปวงได้" พอถึงกำหนด สมเด็จฯโตท่านก็ไปถึง บรรดานักปราชญ์ต่างชาติ ยินยอม
ให้นักปราชญ์สยามแสดงทัศนะก่อน สมเด็จเจ้าพระยาฯ จึงได้อาราธนาสมเด็จฯโตขึ้นนั่งบัลลังก์แล้ว
นิมนต์ให้กล่าววาทะ สมเด็จฯโต กล่าวเป็นปริศนาขึ้นว่า "พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา
พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา...." พึมพำๆ อย่างนั้นอยู่นาน สมเด็จเจ้าพระยาฯ จึงลุก
ขึ้นจี้ตะโพกสมเด็จฯโต แล้วกระซิบเตือนว่า "ขยายคำอื่นให้ได้ฟังบ้าง" สมเด็จฯโตเปล่งเสียงดังขึ้นอีก
แต่พึมพำๆ อยู่อย่างเดิมว่า "พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา...." ท่านว่าอยู่นานทีเดียว สมเด็จเจ้าพระยาฯ เห็นจะไม่ได้การจึงต้องลุกขึ้นมา
จี้ตะโพกของท่านอีกครั้ง พร้อมกับกล่าวว่า "ขยายคำอื่นให้เขารู้บ้างซิ" สมเด็จฯโตท่านตะโกนให้ดังยิ่งกว่าเดิมว่า "พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา
มหาพิจารณา...." แต่คราวนี้ท่านอธิบายขยายความออกไปอีกว่า
"การมองโลกก็ดี การของชาติก็ดี การของศาสนาก็ดี กิจที่จะพึงกระทำต่างๆ ในโลกก็ดี กิจควรกระทำสำหรับข้างหน้าก็ดี กิจที่ควรทำให้สิ้นธุระทั้งปัจจุบันและข้างหน้าก็ดี สำเร็จกิจเรียบร้อยดีงามได้ ด้วยกิจพิจารณาเป็นขั้นๆ พิจารณาเป็นเปราะๆ เข้าไป ตั้งแต่ หยาบๆ ปานกลาง และชั้นสูงชั้นละเอียด พิจารณาให้ประณีต ละเอียดเข้า จนถึงที่สุดแห่งเรื่อง ถึงที่สุดแห่งอาการ ให้ถึงที่สุดแก่กรณีให้ถึงที่สุดแห่งวิธี
ให้ถึงที่สุดแห่งประโยชน์ยืดยาว พิจารณาให้รอบครอบทั่วถึงแล้ว ทุกๆคนจะรู้จักคุณประโยชน์เกื้อกูลตน
ตลอดทั้งเมื่อนี้เมื่อหน้าจะรู้ประโยชน์อย่างยิ่งได้ ก็ต้องอาศัยการพิจารณา เลือกเฟ้นค้นหาของดีของจริง
เด่นเห็นชัดปรากฏแก่คนก็ด้วยการพิจารณาของคนนั้นเอง ถ้าคนใดสติน้อยด้อยปัญญา พิจารณาเหตุผลเรื่องราว กิจการงานของโลกของธรรม แต่พื้นๆ ก็รู้ได้พื้นๆ ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาเป็นอย่างกลางก็รู้
เพียงชั้นกลาง ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาอันละเอียดลึกซึ้งในข้อนั้นๆ อย่างสูงสุด ไม่หลับหูหลับตา ไม่งมงายแล้ว อาจจะแลเห็นผลแก่ตน ประจักษ์แท้แก่ตนเอง ดังบรรยายมาทุกประการ จบที"
ทัศนะของสมเด็จฯโต ว่าด้วย "การพิจารณา เป็นที่ยอมรับของปราชญ์ต่างประเทศ ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดแสดงทัศนะเข้าต่อกร แม้ต่างคนต่างก็เขียนเตรียมมาแสดงแล้วก็จริง ด้วยเกรงว่าจะสู้วาทะของ
สมเด็จฯโตไม่ได้นั่นเอง :b41:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2011, 15:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มันอยากได้ ก็ให้มันไป

ดึกคืนหนึ่ง ขณะสมเด็จฯโตกำลังจำวัด (หลับ) อยู่ได้มีโจรขึ้นกุฏิ มันล้วงมือไปทางกรงหน้าต่างหวังจะหยิบตะเกียงลาน โจรพยายามอยู่นาน แต่ไม่สำเร็จ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความพยายาม
ก็ยังอยู่ที่นั่นตามเดิม ไม่มีความสำเร็จ เพราะเอื้อมไม่ถึง
สมเด็จฯโต ท่านรู้สึกตัวตื่นขึ้นมา ก็รู้สึกว่าเสียงดังกุกกักๆ นั้นคงไม่ใช่แมวมันต้องเป็นโจรแน่ๆ
เมื่อเห็นว่ามันจะลักตะเกียง ท่านจึงเอาเท้าช่วยเขี่ยไปให้ใกล้มือโจร พอตะเกียงถึงมือ โจรก็รีบคว้าเอาไป แล้วรีบเผ่นทันที ไม่ยอมขอบคุณเจ้าของสักคำ ใจดำจริงๆ
เมื่อเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง ท่านบอกว่า "มันอยากได้ ก็ให้มันไป" :b41:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2011, 16:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ร่วมสังคายนาพระไตรปิฏก

พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริจะจัดสังคายนาพระไตรปิฏก เพื่อแก้ไขส่วนที่ผิดให้ถูกต้อง จึงโปรดให้สมเด็จฯโต เข้าร่วมสัมมนาด้วย เพราะท่านเป็นปราชญ์ ย่อมรู้อะไรผิดอะไรถูกเป็นอย่างดี
พระจอมเกล้าฯ นิมนต์ท่านถึง ๓ ครั้ง แต่ท่านก็ไม่ยอมร่วมด้วย (เพราะอะไรหรือ? อ่านต่อไปซิ)
วันหนึ่ง พระจอมเกล้าฯ จึงอาราธนาท่านเข้าไปในวัง แล้วตรัสถามว่า "เพราะเหตุใดขรัวโตจึงไม่ยอมเข้าร่วมสัมมนาในการปรับปรุงพระไตรปิฏก" สมเด็จฯโตทูลตอบว่า "เจริญพรมหาบพิตร ! ขรัวโตนี้เกิดในยุครัตนโกสินทร์ ขรัวโตนี้ยังไม่ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ถ้าในพระไตรปิฏกนั้น บางคำพูดเป็นขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าที่แท้จริง สันดานขรัวโตเกิดว่าไอ้นี่มันไม่ไพเราะ ไม่เพราะพริ้ง ตัดมันออกไป เติมคำหวานๆ สละสลวยลงไปฟังแล้วน้ำลายไหล อาตมาภาพหรือจะหนีพ้นการลงนรก การที่อาตมาภาพไม่มาก็เพราะกลัวตกนรกพระเจ้าค่ะ"
พระจอมเกล้าฯ ทรงเห็นด้วยกับสมเด็จฯโตจึงล้มเลิกการสัมมนาตั้งแต่นั้น :b41:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2011, 17:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยศศักดิ์น่าขบขัน

เมื่อตอนที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ขึ้นครองราชย์ สมเด็จฯโตตอนนั้นเป็นมหาโต ต้องมี
อันต้องจาริกไปตามป่าลำเนาไพรดงพญาไฟ ท่านก็เคยไปอยู่มานานหลายปี ยังได้ข้ามไปประเทศลาวและเขมรอีก รวมเวลาที่หนีเข้าป่าได้ ๒๕ ปี ตลอดเวลาที่รัชกาลที่ ๓ ขึ้นครองราชย์ ในช่วงนี้ท่านได้ฝึกฝนอบรมเป็นอย่างดีทำให้ท่านลึกซึ้งในพระธรรมมากขึ้น พอสิ้นรัชกาลที่ ๓ พระจอมเกล้าฯ ก็ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ต่อมา งานแรกที่พระองค์ทรงกระทำก็คือ ประกาศหาตัวมหาโต สั่งให้ค้นหากันจ้าละหวั่น พระที่มีรูปร่างผอมๆ หน้าตาคล้ายมหาโตจะถูกจับส่งเข้าเมืองหลวงเป็นจำนวนมาก
ข่าวการจับพระมหาโตดังไปทั่วบ้านทั่วเมือง ชาวบ้านต่างรู้ว่าพระเจ้าแผ่นดินสั่งให้จับมหาโต
สมเด็จฯโต ในฐานะมหาโตได้ฟังข่าวจากชาวบ้านแล้วก็อุทานออกมาว่า "กูหนีมา ๒๕ ปี ทำไมเพิ่งมาประกาศจับ" เพราะท่านไม่รู้ว่าบ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงพระเจ้าแผ่นดินแล้วรัชกาลที่ ๓ ประกาศจับท่าน
เมื่อไต่ถามได้ความว่าเปลี่ยนแผ่นดินแล้วท่านก็ไปปรากฏตัวที่บ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น บอกให้ตำรวจช่วยนำท่านเข้าบางกอก เมื่อเข้าเฝ้ารัชกาลที่ ๔ พระองค์ตรัสถามว่า "เป็นสมัยของฉันปกครองแผ่นดินแล้ว ท่านต้องช่วยฉันพยุงพระบวรพุทธศาสนาด้วยกัน" ต่อมารัชกาลที่ ๔ มีพระบรมราชโองการให้กรม
สังฆการีวางฏีกาตั้งพระราชาคณะตามธรรมเนียม พระมหาเข้าไปตามฏีกานิมนต์ จึงทรงถวายสัญญาบัตรตาลปัตรแฉกหักทองด้ามงา เป็นพระราชาคณะที่พระธรรมกิตติเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม
ออกจากพระราชวังแล้ว ท่านเดินแบกพัดไปถึงบางขุนพรหมบางลำพู เพื่ออำลาญาติโยมที่รู้จักกัน
แล้วกลับไปวัดมหาธาตุ ร่ำลาพระภิกษุสงฆ์ แล้วลงเรือข้ามไปวัดระฆัง ท่านเดินแบกตาลปัตรพัดแฉก
สะพายถุงย่ามสัญญาบัตรเครื่องอัฐบริขาร กาน้ำ และกล้วย เหล่านี้ เต็มไม้เต็มมือท่าน ดูพะรุงพะรังไปหมด ยิ่งท่านทำท่าทางเก้ๆกังๆ ยิ่งทำให้ผู้พบเห็น ทั้งพระเณร เด็กวัด และญาติโยม รู้สึกตลกขบขัน
แม้ใครจะไปช่วยถือท่านก็ไม่ยอม ท่านเดินรอบวัดระฆัง พร้อมกับประกาศว่า "เจ้าชีวิต ทรงตั้งฉันเป็นพระธรรมกิตติมาเฝ้าวัดระฆังฯ วันนี้จ้ะ เปิดประตูโบสถ์รับฉันเถอะจ้ะ ฉันจะต้องเข้าจำวัดเฝ้าโบสถ์ จะเฝ้าวัดตามพระราชโองการรับสั่งจ้ะ" พอท่านเข้าไปในโบสถ์ ผู้มุงดูทั้งหลาย โดยเฉพาะพระเณรก็พากันตามเข้าไปช่วยกันจัดโน่นทำนี่ตามความเหมาะสม วันนั้นจึงสนุกกันทั้งคืน เรื่องนี้ท่านคงต้องการจะให้มองเห็น
ยศถาบรรดาศักดิ์เป็นเรื่องตลกขบขัน เป็นเรื่องเล่นๆ นั่นเอง ไม่ควรจะไปจริงจังอะไรกับมันมากนัก เดี๋ยวมันจะขบกัดเอา :b41:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2011, 17:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รับจ้างเทศน์

ชาวบ้านคนหนึ่งนิมนต์สมเด็จๆโตไปเทศน์ที่บ้านโดยเอาเงินติดเทียนกัณฑ์เทศน์ ๑๐๐ บาท
(๑๐๐ บาทสมัยนั้นคงจะมากโขอยู่) สมเด็จฯโตไปถึงนั่งเรียบร้อยแล้ว เจ้าภาพได้กราบเรียนว่า
"วันนี้ขอให้พระเดชพระคุณเทศน์ให้เพราะๆสักหน่อยค่ะ วันนี้ดิฉันมีศรัทธาติดกัณฑ์เทศน์ ๑๐๐ บาท"
พอขึ้นธรรมาสน์ สมเด็จฯโต ท่านก็ให้ศีล บอกศักราช ตั้งนะโม แล้วว่า "พุทถัง ธัมมัง สังฆัง"
เสร็จแล้วท่านก็ลง เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้ ให้ยถา สัพพี เสร็จแล้วท่านก็ลงจากธรรมาสน์ทันที ท่านเจ้าภาพเห็นแล้วไม่ใคร่พอใจ แต่ไม่เกล้าพูด ได้แค่นึกว่า "เทศน์อะไรฟังไม่รู้เรื่องราว เสียแรงติดกัณฑ์เทศน์ไปตั้ง ๑๐๐ บาท
พอรุ่งขึ้นท่านก็ไปเทศน์ที่บ้านนั้นอีก แม้เขาจะไม่นิมนต์ก็ตาม ท่านได้บอกกับเจ้าของบ้านว่า
"เมื่อวานนี้ ฉันรับจ้างเทศน์วันนี้ฉันจะมาให้ธรรมเป็นทานนะจ้ะ" เนื้อหาและลีลาสำนวนการเทศน์ของท่านเป็นที่ชอบใจแก่เจ้าของบ้านและเพื่อนบ้านมาก ยังความยินดีมาสู่ทุกๆคน :b41:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2011, 17:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องของหมา คนอย่ายุ่ง

บนศาลาทำบุญที่วัดแห่งหนึ่ง ซึ่งเนืองแน่นไปด้วยสาธุชนผู้สนใจในการบุญทั้งหลาย พระสงฆ์จำนวนมากนั่งอยู่บนอาสน์สงฆ์เพื่อสวดมนต์ และฉันภัตตาหาร โดยมีสมเด็จฯโตนั่งเป็นประธานสงฆ์อยู่
ขณะที่ทายกทายิกากำลังนำอาหารมาถวายพระภิกษุสงฆ์อยู่นั้น สุนัขคู่หนึ่งขึ้นมาสมสู่กันบนศาลา มองแล้วน่าอุจาดตามาก ญาติโยมทั้งหลายจึงช่วยกันไล่ตีให้ลงไปจากศาลา จะมาทำอนาจารบนสถานที่ทำบุญย่อมไม่สมควร เสียงไล่สุนัขอึงคะนึงทั่วศาลา หาความสงบไม่ได้ สมเด็จฯโตเห็นเป็นการไม่สมควร
จึงร้องห้ามว่า "อย่า ! อย่าไปไล่เขา เรื่องของเขา เรื่องของสัตว์ก็เป็นเรื่องของสัตว์ เรื่องของคนก็เป็นเรื่องของคน ไม่เกียวข้องกัน อย่าไปวุ่นวายเลย" สัตว์เป็นภพภูมิที่ต่ำ เขาก็ต้องทำอย่างต่ำๆนั่นแหละ
จะให้รู้สึกละอายมีสำนึกดี ชั่ว เหมือนมนุษย์เห็นจะไม่ได้ ฉะนั้นเขาจะทำอะไรก็ปล่อยให้ทำไปเถิด
เพียงแต่มนุษย์สุดประเสริฐอย่าไปทำอย่างเขาก็แล้วกัน :b41:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2011, 21:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มิ.ย. 2011, 14:48
โพสต์: 196


 ข้อมูลส่วนตัว


s005 ชอบมากๆเลยคะ ขอบพระคุณที่นำมาเผยแผ่เป็นธรรมทานนะคะ สาธุๆๆ tongue tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 13:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue

ช่วงนี้ขออนุญาตพักการ Post เรื่องราวของสมเด็จฯโตไว้ชั่วคราวค่ะเนื่องจากน้ำท่วมบ้าน
ตอนนี้ออกมาพักอยู่ที่พักชั่วคราว ไม่ได้นำเอาหนังสือปริศนาธรรมสมเด็จฯโต ออกมาด้วย
คาดว่าประมาณ 1-2 เดือนจะนำมา Post ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันต่อนะคะ
ต้องขออภัยที่ขาดความต่อเนื่องค่ะ

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2012, 19:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue มาต่อกันเลยนะคะ

โลกพร่องอยู่เสมอ

คราวหนึ่งที่สมเด็จฯโตไปบิณฑบาตในพระราชวัง พระที่มารับบิณฑบาตนั้น นิมนต์เป็นเวรกันมารับ เรียกว่า "บิณฑบาตเวร" วันนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบาตด้วยแตงโม
สมเด็จฯโตท่านได้เอาย่ามใบใหญ่ ตัดก้นเป็นช่องโตถือไป เมื่อทรงหยิบแตงโมใส่ย่าม แตงโมก็ลอดช่องย่ามตกไปบนพื้นดิน พระจอมเกล้าฯรู้ได้ในทันทีถึงปริศนาธรรม จึงรับสั่งว่า "ฟ้ารู้ทันแล้ว"
สมเด็จฯโตถวายพระพรว่า "โลกม้นพร่องอยู่เสมอ ไม่รู้จักเต็มอย่างนี้"
ปริศนาธรรมนี้ท่านมุ่งสอนรัชกาลที่ ๔ ไม่ให้ทรงมัวเมาในกามคุณควรจะอิ่มเสียที
เพราะกามนั้นถึงจะถมตามต้องการอย่างไร มันก็ไม่เต็มได้หรอก ความอยากในกามมันไม่มีสิ้นสุด
มีแต่หยุดเท่านั้นจึงจะเต็มได้ :b41:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2012, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมเด็จฯ อยู่ในเรือ

ชาวสวนที่ราษฏร์บูรณะ ฝั่งธนบุรี นิมนต์สมเด็จฯโตไปฉันภัตตาหารที่บ้าน สมเด็จฯ ท่านพายเรือไปกับศิษย์ เมื่อใกล้ถึงบ้าน จะต้องผ่านคลองเล็ก ๆ เข้าไป แต่บังเอิญในช่วงนั้นน้ำตื้นเขินไปหน่อย ทำให้ไม่สามารถพายเรือเข้าไปได้ ท่านและลูกศิษย์จึงลงเรือช่วยกันเข็นเข้าไป ชาวบ้านร้านช่อง เห็นแล้วตะโกนเสียงดังว่า "สมเด็จฯ เข็นเรือโว้ย!" ท่านบอกเขาว่า "ฉันไม่ใช่สมเด็จฯ ดอกจ้ะ ฉันชื่อขรัวโตจ้ะ สมเด็จฯ ท่านอยู่ในเรือนั่นแหละจ้ะ" พร้อมกับชี้มือไปที่พัดยศ เรื่องนี้ให้แง่คิดอะไรบ้าง
ลองคิดดู :b41:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร