วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 19:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 11:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำปรารภ
(เมื่อพิมพ์ ๑ มกราคม ๒๕๐๔)
ข้าพเจ้าได้เข้ามาอยู่
ในภาคกลางพระนครนี้ รู้สึกว่ามีความสังเวชใจ เมื่อ
ได้คบค้าสมาคมแก่คนหลายจำพวก
ก็รู้สึกว่ามีแต่คนยากจนด้วยกันเป็นส่วนมาก
แล้วมาพินิจพิจารณาดูว่า เขาจนเพราะอะไร ได้
ความขึ้นว่าจนเพราะไม่มีอริยทรัพย์ คือเป็นผู้
ไม่มีศีลประจำตัวแล้วก็เคยสอบถามดูอีกว่า มีราย
ได้เดือนหนึ่งเท่าไร บางท่านมีรายได้ตั้งหมื่น แต่ก็
ยังแสดงความยากจนของตนอยู่เสมอ
บางคราวหรือบางสมัย ได้ตั้งข้อสังเกต
ในคราวที่เข้าไปคบค้าสมาคม เช่น
บางคราวขึ้นบันไดบ้าน มองไปใต้บันไดมีรองเท้าซับซ้อน
กันอยู่เป็นสิบๆ คู่ ถ้ารวมทั้งสองผัวเมียก็คงจะมาก
แต่มองดูก็ใหม่เอี่ยม บางคราวก็ไปพรมน้ำมนต์
มองไปโต๊ะเครื่องแป้งก็หนาแน่นไปด้วยเครื่องฉาบทา
มองดูผ้านุ่ง เสื้อใส่ก็ล้นหลาม ถ้าเข้าไปในห้องน้ำ
ก็พบสบู่บ้าง แปรงสีฟันบ้าง ยาสีฟันบ้าง
หลายก้อนหลายอัน วางไว้บ้าง แช่น้ำอยู่บ้าง ใช้
กันอย่างล้นหลาม นอกจากนั้นเครื่องสัมภาระต่าง ๆ ซึ่ง
ไม่จำเป็นในครอบครัวก็เยอะแยะ ถ้ามาคำนวณแล้ว สิ่ง
ซึ่งมีประโยชน์แก่ตัวจริง ๆ มันไม่เท่าไรก็พอ
แต่โลภเจตนา ไม่พิจารณาถึงความเป็นอยู่อันจำเป็น
จึงเกิดความอยากความต้องการ ได้มาแล้วก็ใช้สอย
ไม่กี่วันก็ทิ้ง ฉะนั้น ความจนมันก็เกิดขึ้น
จากเรื่องเหล่านี้แหละ ก็มานั่งพิจารณาปลงสังเวชของคน
อยู่
ก็เลื่อมใสธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้าขึ้นอย่างยิ่งที่เรียกว่าศีล
เป็นอริยทรัพย์ สมบัติที่ได้มา จะมากก็ตาม น้อยก็ตาม
เป็นของประเสริฐ ถ้ามีระเบียบและความพอดี
นอกจากนี้ก็คงยังมีอยู่มาก
บางคราวก็นึกขึ้นในใจว่า เราต้องการอยากจะอยู่กับคนมี
เราอยากจะหนีจากคนจน มันจะปล้นความดีของเรา (ทำ
ให้เราเสียเวลาแสวงหาความดี คืออริยทรัพย์)
การกล่าวมานี้ได้พบเห็นเป็นส่วนมาก
ว่าคนเรามันมีแต่คนยากจนทั้งสิ้น คนมั่งมีย่อมหายาก
ศีลธรรมชอบอยู่กับคนที่มั่งมี ไม่ชอบอยู่กับคนยากจน
มันเดือดร้อน ธรรมดาคนจนเมื่อจนตรอกเข้า
แล้วมันก็ปล้น หรือเบียดเบียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ฉะนั้น ผู้
ไม่ต้องการพบความยากจน ก็ควรตั้งอยู่ในศีลและธรรม
ศีลธรรมนี้ จะทำให้เราเป็นคนมั่งมีได้เพียง
ใดเธอให้ทดลองดู จะรู้ขึ้นในตน โดยมากคนเราไปคิด
กันเสียว่า ศีลและธรรมนำความเสื่อมมาให้ครอบครัว
และประเทศซาติบ้านเมือง ความจริงมันไม่ใช่อย่างนั้น
ตัวอย่างเช่น สัมมากัมมันโต การงานชอบ เมื่อ
ได้ทรัพย์มาจากการงานนั้น ๆ ให้ประหยัดจ่ายแต่สิ่งจำ
เป็นและสุจริต เรียกว่า สัมมาอาชีวะ เท่านี้ก็ขื่อว่า เป็น
ผู้ตั้งอยู่ในศีลธรรมแล้ว ใจของบุคคลผู้นั้นจะสบาย
ไม่มีเวรภัยแก่บุคคลใดๆ ทั้งหมด ฉะนั้น ผู้ปรารภก็
ได้แต่บ่นรำพึงอยู่ในใจว่า ทำอย่างไรหนอ ๆ เพียงเท่านั้น
จะพยายามให้อริยทรัพย์แก่เขา เขาก็ไม่พึงปรารถนา จะ
ไม่ให้ก็จะจนตายกันอยู่แต่นั้น และบางคนมิหนำ
ซ้ำกลับย่ำยีศีลธรรมเสียอีกด้วย
เหตุนี้ ปวงชนพุทธบริษัทก็ควรสำเหนียก
ประพฤติปฏิบัติตนของตน ให้สมกับภาวะ สม
กับคำที่ว่ามนุษย์ ควรอบรมจิตใจนิสัยตน ให้สูงขึ้น
ด้วยศีลธรรม เรียกว่า มนุสโส เท่านี้ ก็จะมีความร่มเย็น
เป็นสุขทั่วกัน
พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ลี)
วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 11:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เครื่องเศร้าหมองของจิต คณะปลิโพธ วุ่น
กับหมู่ วุ่นกับบุคคล วุ่นกับเรื่องราวนั่นเขาเรียกว่า
คณะปลิโพธ จิตไม่สงบ ถ้าจิตไม่สงบก็ไม่ได้รับความสุข
ไม่ได้รับความสะดวกในการนั่งสมาธิ คือสิ่งขัดข้อง
ในการนั่งสมาธิมีอยู่ ๒ อย่าง
๑. เรารู้อยู่ว่ามันเป็นข้าศึก แต่มันต้านทาน
ไม่ไหว ด้วยกระแสกิเลสมันมาก อย่างนี้ก็เป็นเหตุให้เกิด
ความไม่สงบ
๒. มันเกิดจากความไม่รู้ ความไม่รู้สึกตัว
ปฏิบัติไม่รอบคอบ เป็นเหตุให้เกิดความเศร้าหมองขึ้น
ความเศร้าหมองเป็นสิ่งที่กั้นมรรคกั้นผล
เป็นสิ่งห้ามมรรคผล เป็นมัคคาวรณ์ คือเป็นเหตุห้ามไม่
ให้บุคคลผู้นั้นเดินทางไปถูกตามแนวทาง เรียกว่า
มัคคาวรณ์
สัคคาวรณ์-มัคคาวรณ์ อันนี้เกิดจากความ
ไม่รู้ สองอย่างนี้เป็นโทษ จึงจำเป็นอยู่ที่เราจะต้องศึกษา
เล่าเรียน ปฏิบัติให้มันรอบคอบ ฉะนั้น
จึงมีการแสดงธรรมสู่กันฟังเสมอ ก็เพื่อจะแก้ปัญหาการ
ไม่รู้นี้ ให้เกิดความรู้ขึ้น แล้วก็ปฏิบัติให้ถูกต้อง
จิตของบุคคลผู้นั้นก็จะเป็นไปเพื่อความสงบ นี่มันมีอยู่ ๒
แนว
แนวที่ ๑ ก็อย่างที่แสดงเมื่อกี้ เรารู้ว่ามัน
เป็นศัตรู แต่มันทนไม่ไหว รู้บ้าง เผลอบ้าง ลืมบ้าง
ด้วยอำนาจผลักดันของกิเลส นี่ก็เป็นเหตุกั้นมรรคกั้นผล
แนวที่ ๒ ไม่รู้เรื่องอะไรเลย ไม่รู้ว่ามันเป็น
ผู้คนเมื่อการกระทำมันผิด ไม่รู้ นี่เป็นเหตุ
ให้เกิดการเศร้าหมองขึ้น
ทีนี้ส่วนเป็นไปด้วยความไม่รู้นั้น
โดยมากมันเป็นเรื่องของศีล ที่เรารู้อยู่ว่า มันเป็น
ความผิด หรือเป็นความฟุ้งซ่านในดวงจิต เราก็ไม่อยาก
เป็น รู้อยู่ แต่มันก็ไม่ไหว อันนั้นมันเป็นเรื่องของสมาธิ
ศีลก็เศร้าหมอง สมาธิก็เศร้าหมอง ก็กลาย
เป็นสัคคาวรณ์ ห้ามผล มัคคาวรณ์ ห้ามหนทางเดิน
คนชนิดนั้นไม่มีทางไป เรียกว่าตนอยู่
ในลักษณะที่เรียกว่าเดินไม่มีท่า มีแต่เขากับเท้าเท่านั้น
มันก็เดินทางไปตามเรื่องของมัน แต่ว่าบุกไป ขึ้นสูง
ลงต่ำ เตียนบ้าง รกบ้าง
บางคราวก็เหยียบหนามเหยียบตอ
บางคราวก็เหยียบเลนเหยียบตม
มอมแมมไปตามเรื่องของผู้เดินไม่มีท่าทาง แต่มันก็
ไม่ตาย มันก็ไปได้ มันก็ไม่ตาย แต่มันเป็นเรื่องรำคาญแก่
ผู้รู้จักหนทาง เดินทางกับผู้ไม่รู้หนทางมันลำบากนัก
เดินทางกับคนตาบอดมันก็ลำบากนัก คนตาบอดจะ
ให้มานี่ ๆ มันก็ลำบาก ถึงเราจะ
ใช้มรรยาทชี้มือชี้ไม้ก็ตามเถอะ มันก็ไม่รู้เรื่อง
คนตาบอดถ้าหูหนวกซ้ำไปอีกมันก็เสร็จ ลำบากนัก
เดินทางร่วมกับคนหูหนวกตาบอดมันก็ยาก ฉะนั้น ทำ
ยังไงทีนี้ ไม่ต้องเดินหรอก ต้องหายาหยอดตาเสียก่อน
ให้มันพอลืมสักนิด มันก็มีอยู่เท่านั้น แล้วก็ต้องรักษาหู
ให้มันดีเสียก่อน เมื่อหูมันดีขึ้น ตาก็ดีขึ้น จึงค่อยเดินไป
มันก็มีวิธีการอย่างนี้ ฉะนั้น การที่รักษาหู ก็
ได้แก่การที่สนใจการฟังคำตักเตือนว่ากล่าว
แนะนำพร่ำสอน เพื่อชี้แนวทางของเศร้าหมอง ว่าทางนั้น
เป็นทางไม่ควรเดิน
ถ้าเป็นผู้สนใจ เช่นหูตึง ก็
จะค่อยหายไปทีละนิดทีละหน่อย ถ้าหากว่าเป็นผู้
ไม่สนใจ มันก็จะตึงเรื่อยไป ตาก็เหมือนกัน ต้องหยอด
การหยอดน่ะจะให้คนอื่นหยอดให้ไม่ไหวเหมือนกัน มัน
ต้องมีวิธีการช่วยตัวเอง ช่วยตัวเองยังไง เรา
ต้องตั้งข้อสังเกต เขาจะพูดให้ฟังก็ตาม ไม่พูด
ให้ฟังก็ตาม แม้เราไปเห็นแต่นิดเดียวก็ให้ตั้งข้อสังเกต ว่า
เขาทำอย่างนั้นน่ะ เขามีความประสงค์อย่างไร
เขาแสดงมารยาทอย่างนั้น เขาประสงค์อะไร
เท่านี้เราก็รู้เรื่อง ถ้าเรารู้เรื่องอย่างนี้ ก็เท่า
กับหยอดตาตัวเองได้ บางคนละก็เอาไม้แหย่ตา ยัง
ไม่ค่อยจะลืม นั้นเรียกว่าเหลือวิสัยอยู่เหมือนกัน ถ้า
เป็นคนที่ตาไม่มืดมาก ไม่ค่อยไปดูอะไรมากมาย
เห็นครั้งเดียวเท่านั้นละก็เป็นแบบปฏิบัติตนไปเรื่อยๆ ไม่
ต้องให้มีหลายตัวอย่าง ถ้ามิฉะนั้นละก็หาเลี้ยงตัวไม่คุ้ม
ถ้าใครไม่ฉลาดก็หาเลี้ยงตัวไม่คุ้ม เหมือน
กับพวกตัดรองเท้าก็ดี ตัดเสื้อกางเกงก็ดี
เขามีตัวอย่างตัวเดียวเท่านั้น เขาสามารถจะตัด
ได้ตั้งร้อยตั้งพัน เป็นอาชีพหาเลี้ยงตัวเขาได้
ผู้มีปัญญาก็เหมือนกัน แม้
จะไปดูตัวอย่างเสมอคราวเดียวเท่านั้นก็สามารถ
จะนำไปตักเตือนว่ากล่าวปฏิบัติตนได้เรื่อยไป
อันนี้ค่อยเบาหน่อย เรื่องการที่พวกเราจะให้ตาดีขึ้น และ
ให้หูดีขึ้น การชำระหูก็เหมือนกัน มัวแต่ให้คน
อื่นหยอดมันก็ลำบาก ตัวของตัวเองก็จะต้องรักษาตัวเอง
เป็นแต่เขาให้ยาไปก็เอาไปหยอด คือหมายความว่า เมื่อ
ได้รับคำตักเตือนว่ากล่าวแล้วก็อย่าไปทอดทิ้ง
นำไปพิจารณาเหตุผลเรื่องราว อย่าทอดธุระ
เราไปอยู่ที่ไหนก็ดี
แม้ครูบาอาจารย์พูดเสมอคราวเดียวเราสามารถใช้งาน
ได้ตลอดชีวิต นั่นน่ะคนหูดี คนตาดีก็เหมือนกัน
เห็นตัวอย่างครั้งเดียวก็สามารถนำตัวอย่างไปปฏิบัติตน
ได้เรื่อยไป ลักษณะนี้ค่อยยังชั่วหน่อย
บางคนละก็ทำแบบให้ร้อยแบบพันแบบ มันก็ไม่
ได้เรื่องสักอย่าง รักษาตัวเองก็ไม่เป็น พึ่งตนก็ไม่ได้
ความบริสุทธิ์มันก็เกิดยาก
สรุปเรื่องทั้ง ๒ ประการนี้ เมื่อเรา
ไม่รอบคอบในเรื่องทั้งสองประการนี้ ศีลก็เศร้าหมอง
เรียกว่าศีลไม่บริสุทธิ์ ศีลไม่บริสุทธิ์ก็เรียกว่ามัคคาวรณ์
ผลที่จะเกิดขึ้นจากความบริสุทธิ์แห่งศีลไม่มี
ก็เรียกว่าสัคคาวรณ์ คือจิตไม่สงบ จิตไม่เป็นสมาธิ ที่ไม่
เป็นไปนั้นก็คือศีลไม่บริสุทธิ์ เมื่อศีล
ไม่บริสุทธิ์บำเพ็ญสมาธิก็ยาก
ฉะนั้น กาลต่อไปนี้จึง
จะนำเรื่องศีลมากล่าวแสดง เพื่อเป็นการปรับปรุงให้มี
ความรู้ความเข้าใจ แล้วก็จะได้ปฏิบัติชำระศีลของตน
ให้บริสุทธิ์ อย่างท่านแสดงในข้อกรรมฐาน 40
เรียกว่าข้อสีลานุสสติ สีลานุสสตินี้แปลว่าให้ระลึก
ถึงศีลของตน การระลึกถึงศีลระลึกได้หลายทาง
๑. ระลึกถึงความบริสุทธิ์
๒. ตรวจความไม่บริสุทธิ์ของตน
ให้สำเหนียกดูทางฝ่ายชั่ว เรียกว่าทุศีล
ให้ตรวจดูทางฝ่ายดี เรียกว่าบริสุทธิศีล ให้ตรวจดูทั้ง ๒
ข้างนี้ ถ้าเราตรวจดู เรายังมีความระแวงใจอยู่ว่าศีล
ไม่บริสุทธิ์ ก็จงพอกพูนทำศีลไม่บริสุทธิ์นั้นให้ดีขึ้น อย่า
ให้มีความวิตกวิจารในเรื่องมรรยาทหรือศีล ศีลนั้นจึงจะ
เป็นไปเพื่อความสงบ เพราะท่านจัดไว้
เป็นแบบของสมถกรรมฐาน
เมื่อระลึกถึงศีล จิตสงบ
จึงเรียกว่าสีลานุสสติ นับเนื่องในสีลานุสสติข้อหนึ่ง
ในอนุสสติ ๑๐ มันเป็นตัวสมาธิ การตรวจศีลนั้น มันจะ
เป็นได้อย่างไร ถ้าเราระลึกถึงความไม่บริสุทธิ์
และระลึกถึงความบริสุทธิ์ รู้เรื่องราวชัดเจน จิตก็ปล่อย
คล้าย ๆ กับว่า เราตรวจดูข้าวของในบ้านเรา อันนั้นก็
ไม่หาย อันนี้ก็ไม่หาย มันก็นอนหลับ ถ้าเราตรวจดูของ
ในบ้านเรามันหายไป นอนไม่หลับ บุคคล
ผู้ตรวจดูศีลของตน ว่าบริสุทธิ์หมดจดทุกอย่าง จิตก็สงบ
ได้ทันที นี่มันเป็นอย่างนี้ ความบริสุทธิ์มันเป็นไปเพื่อ
ความสงบใจ ฉะนั้นอย่าได้พากันประมาท การทำจิต มัน
เนื่องด้วยมรรยาท มันเนื่องด้วยศีล จึงไม่ควรประมาท
อย่าไปเห็นว่าศีลนี้เป็นของเล็กน้อยของต่ำ อันนี้ก็ไม่หาย
เป็นของธรรมดาสามัญ เราต่อสู้ทำจิตให้เป็นธรรม
เมื่อศีลไม่มีก็เป็นธรรมได้ยาก
จิตไม่เที่ยงตราบใด จิตไม่เป็นธรรม จึงไม่
เป็นธรรมคือจิตเศร้าหมอง คือศีลไม่บริสุทธิ์ ฉะนั้น
ในที่นี้จะกล่าวถึงศีลให้ฟัง
ศีลนี้ แยกโดยสิกขาบท เขาเรียกว่ากัน
ด้วยพยัญชนะ ว่าด้วยตัวหนังสือ ก็ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐
ศีล ๒๒๗ เรียกว่านับกันด้วยตัวหนังสือ นับกัน
ด้วยพยัญชนะ ถ้าจะพูดกันโดยอรรถ อรรถคือหมาย
ความว่าไม่เพียงถึงลักษณะของตัวหนังสือเป็นเกณฑ์ เพ่ง
ถึงคุณภาพ เพ่งถึงคุณวุฒิ เพ่งถึงขั้นภูมิ
นั่นเรียกว่าอรรถ อย่างกล่าวว่า สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ
เกวลฺปริปุณฺณํ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 11:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาตฺถํ หมายถึง อรรถ พยญฺชนํ
คือตัวหนังสือ เกวลฺปริปุณฺณํ ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์
อันนี้คือหมายความว่า อย่าไปนึกว่าศีลมีแท้ๆ
เท่าสิกขาบท นอกจากนั้นยังมีอยู่อีกอัน เป็นของที่ยาก
เหตุนี้จึงแยกออกโดยคุณภาพ มีวิธีต่างๆ กัน
ปกติศีล รักษากัน
โดยธรรมดาสามัญนี้อย่างหนึ่ง
อริยศีล รักษาประกอบ
ด้วยธรรมะนั่นอย่างหนึ่ง
นี่กล่าวถึงคุณภาพ
กล่าวถึงหน้าที่มีอยู่ ๒ ประเภท
ปหานกิจ สิ่งใดซึ่งเนื่องด้วยสิกขาบท
พระองค์บัญญัติว่าไม่ควร อย่า, หยุด, สิ่งนั้น, ต้องตัด
ให้หมด ไม่ต้องไปกังวลเกี่ยวข้อง
ภาวนากิจ สิ่งใดซึ่งเป็นของที่ควรทำขึ้น
เพราะเป็นคุณงามความดี สิ่งนั้นต้องสับสร้าง อย่าปล่อย
อย่าทอดธุระ พากันประพฤติปฏิบัติบำเพ็ญให้รอบคอบ
นี่กล่าวถึงหน้าที่ ใคร
จะถือศีลแบบไหนก็ตาม ก็มีอยู่ ๒ ลักษณะเท่านี้
ปหานกิจ กล่าวกันสั้น ๆ ก็คือ
ส่วนอกุศลหยาบ ๆ ที่เราจะต้องละต้องเลิก เช่น
อย่าไปฆ่าสัตว์ อย่าไปลักทรัพย์
อย่าล่วงกาเมสุมิจฉาจาร อย่ากล่าวเท็จ อย่าดื่มสุราเมรัย
สิ่งหยาบๆ นี้เป็นปหานกิจ ต้องละทิ้งอย่างเด็ดขาด
เรียกว่าอาทิพรหมจรรย์ ๆ นี้ จะต้องละเป็นครั้งแรก
ทีนี้อภิสมาจาร เป็นภาวนากิจ เราต่อสู้ทำให้เกิดมีขึ้น
อย่าทอดธุระ แต่ละคนๆ มี ๒ หน้าที่เท่านั้น ถ้าจะกล่าว
ถึงพยัญชนะ ท่านเรียกอาทิพรหมจรรย์ ถ้าจะกล่าวถึง
ส่วนมรรยาทเกี่ยวกับเรื่องของบุคคลผู้ทรงศีล คือ
ได้แก่จริยาวัตรที่มีเครื่องหมาย ท่านเรียกอภิสมาจาร
เครื่องหมายดีของผู้มีศีลนั้นมีอะไรบ้าง
เครื่องหมายดีของผู้มีศีลที่เรียกอภิสมาจารนั้นมีอยู่ ๓
ลักษณะ
๑. เป็นผู้สะอาด ความสะอาด
เป็นนิมิตของผู้มีศีลอันบริสุทธิ์ นี่ให้จำไว้ให้ดี
๒. ความสวยงาม ความสวยงามนี้
เป็นนิมิตเครื่องหมายของผู้มีศีลอันบริสุทธิ์.
๓. ความหมดจด ดวงจิตไม่ข้องอยู่
ในมรรยาทของตน เรียกว่าศีลวิสุทธิ์
สามชนิดนี้ ท่านเรียกว่า
เป็นนิมิตเครื่องหมายของผู้มีศีลอันบริสุทธิ์ นี่
เป็นภาวนากิจในเรื่องนี้จะอธิบายเพิ่มเติมซ้ำไปอีก
แต่พวกเราย่อมผ่านกันมาทุกคน เพราะไม่ใช่เด็ก
ผ่านทุกคน ปฏิบัติทุกคน แต่เราไม่รู้จักแบบบัญญัติ
ก็ผิดบ้างถูกบ้าง ตั้งใจบ้าง ทอดธุระบ้าง คือไม่นึกว่า มัน
จะเป็นความเสียหาย ฉะนั้น จึงย้ำไปอีกครั้งหนึ่งในส่วนนี้
พูดถึงความสะอาด ๆ อันนี้ ความสะอาด
ในอภิสมาจารนี้ไม่เหมือนความสะอาดในอาทิพรหมจรรย์
อาทิพรหมจรรย์ไม่ฆ่าสัตว์ กายสะอาด นั่นส่วนหนึ่ง
แต่อภิสมาจารนี้ไม่ใช่อย่างนั้น เราไม่
ต้องไปฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แต่เราเป็นผู้ไม่สะอาด
เช่นนั่งที่ไหนก็ไม่รู้จักกวาด ไม่รู้จักปัด นี่
เขาเรียกว่าคนสกปรก นี่มันเสียศีลแล้ว อันนี้
นอนที่ไหนก็รกรุงรัง ไม่รู้จักเก็บ อันใดควรเก็บอัน
ใดควรมาใช้สอย ทิ้งเกลื่อนกล่น นี่เขาเรียกว่าไม่สะอาด
อย่าไปนึกว่าศีลเราไม่เสีย จะยืนก็ตาม
อย่างพระสารีบุตร ท่านจะออกไปเดินบิณฑบาต
แต่ว่ามือมันไม่พอใช้ มือหนึ่งจับจีวร มือหนึ่งนั้นม้วนจีวร
ท่านยังเอาเท้าข้างหนึ่งเก็บใบตอง ทางที่จะ
ต้องเดินไปบิณฑบาต กวาดใบตองออกจากสถานที่ ๆ
ท่านยืน เอาเท้ากวาดออก มือมันใช้ไม่พอ ท่านรักษา
ถึงอย่างนั้น สถานที่ยืนของท่าน ที่นั่งก็เหมือนกัน
เมื่อไปนั่งที่ไหน ท่านให้แหวกตาโตๆ ขึ้นเสียก่อน
มันมีอะไรบ้าง สถานที่นั่งของเรา และสถานที่ควรนั่งหรือ
ไม่ควรนั่ง มันอยู่ในหัตถบาศของผู้เฒ่า
ผู้แก่พ่อแม่ครูบาอาจารย์หรือเปล่า พิจารณาดูเสียก่อน
เราควรไปเหยียบหรือเปล่า เราควรไปนั่งหรือเปล่า
สถานที่ของบุคคลชนิดนั้น นอกนั้นอีก สถานที่
จะนั่งเองเรา ว่าเราจะนั่งตรงไหน มันมีอะไรตั้งอยู่ มันรก
หรือไม่รก มันควรแก่ฐานะเองเราหรือไม่ เมื่อเวลานั่งไปๆ
ทีนี้เราก็จะไปทำความรกในสถานที่นั้น เมื่อเราทำ
ความรกรุงรังในสถานที่นั้น เมื่อเราจะลุกไป เรา
ต้องล้างตัวเราให้มันดี มิฉะนั้นคนอื่นเขาล้าง เราก็
จะเสียใจ อย่างคนเก่า ๆ โบราณมา คนใดที่
เขาเกลียดขึ้นไปนั่งบ้านของเขา เวลาลงจากบ้านได้
สาดน้ำล้างที่นั่งทันที คือเขาเห็นว่าสกปรก อย่างเราไม่
ได้เอากันถึงขนาดนั้น เอาแต่เก็บขี้เท้าของตัวหนีให้พ้นก็
แล้วกัน ขี้มือขี้ผงขี้ไผ่ ติดผ้าติดผ่อน ติดอะไรมาจากพื้น
มานั่งแล้วก็เก็บไปด้วย อย่าให้คนอื่นไปเก็บ มันบาป ศีล
จะไม่บริสุทธิ์
ที่นั่งสะอาด เป็นเครื่องหมายของ
ผู้มีศีลอันบริสุทธิ์ ที่ยืนสะอาด เป็นเครื่องหมายของผู้มี
ความบริสุทธิ์ ที่เดินสะอาด ถนนหนทางที่เราใช้สัญจร
ส่วนตัวก็ดี ส่วนรวมก็ดี เบิกหูเบิกตาให้มันลูกโต ๆ มัน
เป็นอย่างไร มันเหตุเหลือวิสัยหรือเปล่า หรือพอจะ
ช่วยเหลือกันได้ มันจะเสียหรือจะทรงอยู่หรือมันจะดีขึ้น
มันให้ประโยชน์แก่พวกเรา หรือมัน
ให้ประโยชน์แก่คนไหนไตร่ตรองพิจารณาแก้ไข ทำ
ความดีในสถานที่อันนั้นขึ้น เมื่อตนไม่ใช้คนอื่นเขาใช้
เป็นเรื่องส่วนตัวก็ดี เช่นทางจงกรมอย่างนี้เป็นต้น
เรื่องสาธารณประโยชน์
เช่นถนนเดินสัญจรไปมาของมนุษย์ เห็นว่ามัน
ไม่สะอาดตา มันพอแก้ไขได้
ก็ตั้งใจปฏิบัติบำเพ็ญตามหน้าที่ ถ้ามัน
เป็นเหตุเหลือวิสัยก็ตามเรื่องมัน อย่างนี้เป็นต้น
นอกจากนั้นอีก เรื่องสกปรกโสมม
เช่นบ้วนน้ำลายใส่ถนน อย่างนี้เป็นต้น ถ้าทางพระ
ท่านปรับอาบัติทุกกฎ ผิดอภิสมาจาร เช่นทิ้งขี้หมาก
ขี้บุหรี่ เศษอาหารการกินไว้ตามหนทางสัญจรไปมา
เป็นอาบัติทั้งนั้น พระเป็นอาบัติทุกกฎ ถ้าเป็นโยมก็
เป็นอภิสมาจาร เป็นเครื่องหมายของผู้ไม่มีศีลธรรม
ในวินัยท่านห้าม ในภัตตกวัตรท่านแสดงไว้
พูดเมื่อกี้ไม่ได้แสดงอย่างพิสดาร
ท่านกล่าวว่า เมื่อภิกษุจะบริโภคปัจจัยสี่ จีวร บิณฑบาต
คิลานเภสัช เสนาสนะ ท่านบอกว่า อาหารที่ท่านได้มาน่ะ
ถ้าท่านมากิน ถ้าไม่หมดให้ท่านเก็บรักษาไว้ให้ดี
อย่าไปทิ้งเกลื่อนกลาดให้ชาวบ้านเขาเห็น เขา
จะเสียศรัทธา แสดงว่าเราทอดธุระ
ถ้าเราจะกินวันพรุ่งนี้ อย่างเกลือก็เอาไป
ใส่กระบอกให้ดี น้ำอ้อย น้ำตาลก็ใส่กลักให้ดี
แล้วเก็บปืนให้มิดชิด มีโรงที่เก็บ เขาเรียกว่ากัปปิยกุฏิ
ถ้ามันเหลือกินละก็ท่านให้เก็บให้ดีนะ เอาออก
จากบาตรเสีย ถ้ามันเหลือกิน ถ้ามีกระโถนก็เท
ใส่กระโถนด้วยความเคารพ แล้วเอาออกจากบาตร
ให้หมด อย่าไปเทจุ้นจ้านนะ ถ้ามีอนุปสัมบันหรือเด็ก ก็
ให้ขุดหลุมลึก ๆ ลงไป เทลงไปในหลุม อย่า
ให้มันสกปรกอย่าให้มีกลิ่น ที่มันกินไม่ได้ก็ฝังเสีย
ไม่ฝังก็กลบ อันใดที่จะกินได้ก็เก็บให้ดี นี่
ในภัตตกวัตรท่านก็แสดงไว้อย่างนี้ ท่านแสดง
ไว้หลายอย่างหลายประการ ให้ทำความสะอาด
ในสถานที่ นี่เป็นนิมิตเป็นเครื่องหมายของผู้มีศีลบริสุทธิ์
นี่เป็นตัวอย่าง
ทีนี้ถ้าจะพูดถึงเรื่องสาธารณะทั่วไป กล่าว
ถึงเรื่องเดินก็เช่นเดียวกัน ที่ยืน ที่นั่ง ที่เดิน ที่นอน
ก็เหมือนกัน เรานอนที่ไหน เราอย่าไปทำสกปรกในที่นั้น
รักษาความสะอาดในที่นอนของคน คือเราเอง
จะไปนั่งไปนอนอยู่ตลอดคืนไม่ได้ ต้องทำงานด้วยกาย
ด้วยวาจา ต้องเดินต้องเหินเปื้อนเปรอะทั้งเท้าทั้งมือ
ทั้งเหงื่อทั้งไคลมันก็จะไหลย้อยไปเปื้อนเปราะ
ในที่นอนของตัว ให้รักษาความสะอาด อันใดจะเกิดโทษ
โดยประการต่าง ๆ บางอย่างมันเกิดเชื้อโรค
ก็คือที่นอนของเรา ไม่รู้จักปัดกวาด บางอย่างมันก็
เป็นตัวสัตว์ เป็นตัวเรือดเป็นหมัด เป็นตัวอะไรต่าง ๆ
นำเชื้อโรคมาติดตัว ฉะนั้น ต้องทำความสะอาดทางโลก
เขาเรียก อนามัย หรือสุขาภิบาล นี่ที่นั่งก็ดี ที่นอนก็ดี
ที่ยืนก็ดี ที่เดินก็ดี เมื่อเรามองไปเห็นถนนยังงี้
ตามันก็วาวขึ้น ใจมันสบาย ถ้าไปมองถนนเห็นขี้หมูขี้หมา
รกรุงรัง เหล่านี้แหละหัวใจมันก็หดลงไปแทบ
จะกระโดดหนี คือศีลมันไม่บริสุทธิ์
มรรยาทเหล่านี้อย่าไปเห็น
เป็นของต่ำมันทำลายศีลของเราให้เสียหายไปได้
นี่กล่าวถึงสถานที่
กล่าวถึงเรื่องพัสดุเป็นชั้นที่สอง พัสดุ
เป็นนิมิตเครื่องหมายของผู้มีศีลธรรมอีก พัสดุคืออะไร
คือปัจจัยธาตุทั้งสี่ ปัจจัยทั้ง ๔ นี้ ต้องเป็นของสะอาด
ปัจจัย ๔ คืออะไรบ้าง คืออาหารการกินทุกชิ้น ทุกอัน
ที่เราจะกลืนเข้าไปในตัวทั้งหมด นี่ปัจจัยข้อหนึ่ง
จีวระ ปัจจัยข้อที่สอง คือเครื่องนุ่มห่ม
เรียกว่า จีวร จีวรไม่ได้หมายเพียงผ้าเหลือง ผ้าแดง
ผ้าดำ ผ้าชิ้นหนึ่ง จะเป็นสีๆ ไหนก็ตาม เสื้อก็ตาม ผ้านุ่ง
ผู้หญิงก็ตาม กางเกงผู้ชายก็ตาม ท่านเรียกว่าจีวรทั้งนั้น
แต่ไม่นิยมกันเท่านั้นเอง จีวรก็แปลว่าผ้าเท่านั้น ไม่
ได้แปลว่าผ้าเหลือง ผ้าดำ ผ้าแดง เมื่อ
เป็นอย่างนี้ก็ครอบไปถึงฆราวาสญาติโยมด้วย เรียกว่า
จีวระ ผ้าชิ้นหนึ่ง ที่ทอด้วยปอก็ดี ไหมก็ดี ฝ้ายก็ดี สำเร็จ
เป็นชิ้นขึ้นมาเรียกว่าจีวระ นี่เป็นปัจจัยข้อที่สอง
ปัจจัยข้อที่สาม เสนาสนะ แปลว่าสถานที่
อยู่อาศัยของมนุษย์ ไม่ได้หมายแค่กุฏิ วิหาร
เป็นบ้านกระต๊อบจากของญาติโยมก็เรียกว่าเสนาสนะ
แต่ไม่นิยมเรียกกันเท่านั้น เพราะได้โอนศัพท์นี้ไป
ใช้ทางศาสนาเป็นส่วนมาก จึงไม่เกิดนิยมเรียกกันเท่า
นั้นเอง แต่ความหมายอันเดียวกัน อันนี้ก็
เป็นปัจจัยข้อที่สาม
ปัจจัยข้อที่สี่ คิลานเภสัช คือยาแก้โรค
ยาแก้โรคนั้นน่ะในวินัยท่านจัดมีถึงหลายอย่าง
สี่ห้าอย่าง แต่พูดแค่ยาแก้โรคนี้ก็ได้ความกัน จะ
เป็นยาชนิดไหนก็ตาม แต่ทางพระวินัยมีกฎเกณฑ์หน่อย
ไม่เหมือนฆราวาสๆ ก็มี แต่ว่าไม่สู้จะมาก ยา
ในทางพระวินัยนี้ มันมีอยู่ ๔ ชนิด อันนี้เป็นส่วนสำคัญ
จึงจะขยายเสียหน่อย ยาวกาลิก ชนิดที่หนึ่ง ยามกาลิก
ชนิดที่สองสัตตาหกาลิก ชนิดที่สาม ยาวชีวิก ชนิดที่สี่
เครื่องที่เราจะต้องกลืนกินเข้าไปนั้น
เรียกว่าของควรแก่การบริโภค มีถึงสี่ห้าอย่าง
ยาวกาลิก นับแต่ผู้ถือศีล ๘ มา
จะกินอาหารเวลาตอนบ่ายนั้นไม่ได้เด็ดขาด คือกิน
ได้แต่เวลาตอนเช้าไปถึงเที่ยง นี่เป็นอายุของอาหารจะ
ต้องบริโภคของผู้มีศีล ท่านเรียกว่ายาวกาลิก กล่าว
กันง่าย ๆ คือ อาหารที่จะต้องกินกัน
ข้อที่สอง เรียกว่า ยามกาลิก กิน
ได้ชั่วเวลาครู่ของวัน ได้แก่น้ำอัฐบาน เมื่อทำเวลาตอน
เช้า ถ้าแสงอรุณขึ้นวันใหม่กินไม่ได้ กินได้ตั้งแต่ตอน
เช้าไปถึงกลางคืน พอสว่างกลืนไม่ได้เลย จะ
เป็นโยมก็ตาม จะเป็นพระก็ตาม เมื่อรับประเคนไว้ ฉัน
ได้เสมอชั่วยามหนึ่งเท่านั้น กลางวัน๑๒ ชั่วโมง กลางคืน
๑๒ ชั่วโมง เลยนั้นไปฉันไม่ได้ เรียกว่า ปานะ คือน้ำดื่ม
นี่พูดถึงว่าเมื่อเราทำสำเร็จ เสร็จแล้วก็รับประเคน ถ้า
ไม่ประเคนก็กินไม่ได้เหมือนกัน มันเสีย มันบูดมันเสีย
มันก็จะทำให้เกิดโรคเกิดภัย กินไม่ได้
เมื่อกาลเวลาที่ควรแก่วินัยก็ฉันได้
ท่านเรียกว่ายามกาลิกคือน้ำอัฐบาน
นี่ของที่ควรแก่การบริโภคของสมณะ
สัตตาหกาลิก สปิ นวนิตํ เตลํ มธุ ผานิตํ
กล่าวกันง่ายๆ คือน้ำอ้อย น้ำตาล น้ำผึ้ง แต่
ในบาลีท่านบอก สปิ เนย นวนิตํ เนยข้น เตลํ น้ำมัน มธุ
น้ำผึ้ง ผานิตํ น้ำอ้อย ทั้งหลายเหล่านี้ ท่านเรียกว่า
ยาคิลานเภสัช ถ้าเป็นพระภิกษุรับประเคนแล้วก็เสมอได้
๗ วัน เกิน ๗ วันนั้นไปต้องทิ้ง ไม่ทิ้งก็ต้องเสียสละ
ให้ญาติโยม แต่สมัยนี้พระเราเรียนบาลีแปลไม่ออก
แปลคำว่าเนยกับนมไม่ออก เลยฉันเนยกับแป้ง ทีนี้
ไม่รู้จักนมกระป๋องมันไม่ใช่เนย เห็นนมใสๆ ก็ไม่ใช่เนย
เนยนั้นคือเอานมที่สด ๆ บริสุทธิ์มาเคี่ยว เมื่อเขามาเกี่ยว
ไม่ต้องเจือปนอะไรมีแต่เกลือหรืออะไรก็ตาม ส่วนที่
ไม่มีโทษ เคี่ยวนมลงจนกลายเป็นน้ำมัน เป็นตัวน้ำมัน
น้ำมันมีถึง ๓ ชนิด น้ำมันอันหนึ่งน่ะ มันก็ยังไม่สามารถ
เป็นเนยได้ ท่านเรียกว่าเนยใส มันเป็นน้ำมันใสๆ
น้ำมันชั้นที่สอง มันเลยใสเข้าไป มันเหลว ๆ แต่ไม่
ได้เจืออะไรเลย เป็นนมล้วน ๆ เอาความเหลวไปเคี่ยว
เข้าไปจนแข็งเป็นเนยก้อนโดยไม่ต้องไปเจืออะไรเลย
เป็นเนยล้วนๆ อันนี้พระฉันได้ ๗ วัน ไม่ให้เจืออะไร นอก
จากเจือน้ำตาลได้ เจือน้ำมันอย่างอื่นได้ เช่นน้ำมันงา
อย่างนั้นฉันได้จริงๆ แต่เนยวิทยาศาสตร์ทุกวันนี้
มันเปลืองมาก ทำด้วยเนยจริง ๆ มันเปลืองมาก
ขายราคาสูง ไม่มีใครซื้อ เขาจึงเอาแป้งไปปนเข้า
เมื่อไปปนเข้า ก็ทำเป็นกระป๋อง ที่เขาเรียกว่า นมๆ พระ
ไม่รู้จักก็นึกว่ากินเนยละทีนี้ ขนาบข้าวเย็นเข้าไปยัง
ไม่รู้ตัว นี่ผู้ถือเคร่งเขาจึงไม่กิน ส่วนเนยบริสุทธิ์จริง ๆ
ก็มี แต่มันไม่อร่อย ก็กินเป็นยาจะอร่อยยังไง
พระพุทธเจ้าอนุญาตให้เป็นยาแก้ไข้ แล้วจะมาเอา
ความอร่อย ถ้าจะเอาความอร่อยก็กินข้าวเย็นกันเท่า
นั้นเอง โอวัลตินใส่ เอาแป้งใส่ กวนเข้าไปกับเนยกระป๋อง
ก็อร่อยซี เพราะได้มีแป้งก็ข้าวเย็นกันเท่านั้น
นี่เรื่องเองสัตตาหกาลิก
ยาวชีวิก คือเมื่อรับประเคนแล้ว เก็บไว้
ด้วยดีแล้วฉันจนหมด กี่วันกี่คืนก็ตามเถอะ
ถ้าหมดก็หมดอายุ ถ้ายังไม่หมดก็กินมันเรื่อยไป
เช่นยาควินิน แอสไพริน หรือยารากไม้ ซึ่งไม่
ได้เจือปนอะไรเลย เป็นของบริสุทธิ์ อย่างนี้กินจนหมด
เมื่อหมดเมื่อไรก็หมดอายุของยา อันนั้นเรียกยาวชีวิก นี่
ในเรื่องบิณฑบาต จำแนกออกเป็นสี่ห้ากระทงอย่างนี้
ในเรื่องคิลานเภสัชไปรวมกับเรื่องบิณฑบาต เพราะมัน
เป็นเรื่องของบริโภค
ทีนี้ เมื่อชีวิตของเราก็ดี ซึ่งเป็นหน้าที่จะ
ต้องประพฤติปฏิบัติตนเองก็ตาม หรือเป็นหน้าที่
จะสับสร้างความดีเนื่องด้วยบุคคลผู้อื่นก็ดี
เช่นทำถวายพระ อย่างนี้เป็นต้น พวกนี้ต้องเป็นผู้สะอาด
ไม่สะอาดเป็นโทษ คนทำเป็นโทษ คนกินก็เป็นโทษ
เป็นบาปเป็นอกุศลทั้งนั้นเหตุนี้แหละจึงเรียกอภิสมาจาร
สรุปย่อๆ ก็คือ หนึ่งให้หาด้วยความบริสุทธิ์
เจตนาที่เป็นศีลและธรรม ไม่
ให้กระทบกระเทือนแก่บุคคลผู้ใช้ผู้หนึ่ง
วิธีการที่เราแสวงหาว่าเราควรแก่การหาโดยวิธีไหน ซึ่ง
ไม่ได้มีกระทบกระเทือนน้ำใจของท่าน ก็หาได้ตามฐานะ
ส่วนพระก็หาอย่างหนึ่ง
ส่วนคนอุปัฏฐากพระก็หาอย่างหนึ่ง แต่รวมลงก็หาด้วย
ความบริสุทธิ์ หาด้วยความบริสุทธิ์นั้น
เรื่องของญาติโยมก็พรรณนาเรื่องบุญกุศลให้เขาฟัง แต่
เขาจะทำหรือไม่ทำ เราไม่ต้องมีวิธีการโอบอ้อม
อย่างพระหาด้วยความบริสุทธิ์ ตื่นขึ้นแล้วก็ลงจากกุฏิ
อุ้มบาตร อุ้มจีวร ช้อนสังฆาฯ สังวรในมรรยาทของตน
ไปอย่างเจ้า ไปอย่างเจ้าอย่างไร เขาจะให้มาก กูก็ดีใจ
เขาจะให้น้อยกูก็ดีใจ เขาจะไม่ให้อะไร
ก็หัวเราะแก้มตุ่ยกลับมา ไม่ต้องแสดงความอยาก ไม่
ต้องแสดงความโลภ ไปตามหน้าที่ของคน
เป็นบุญกุศลจริงๆ มันจะได้หรือไม่ ไม่ใช่เรื่องของเรา
เราไม่มีอำนาจอะไรที่จะเอาได้หรือไม่ได้
แต่หน้าที่สมณกิจมี ก็ไปตามหน้าที่
นี่เรียกว่าหามาตามชอบ ไม่มีตัวโลภแอบอิงไปด้วย
ถ้ามีตัวโลภมันแอบไปด้วยละก็ บิณฑบาตขี้มักไม่มีคนใส่
ถ้ามีคนใส่ เอามาฉันก็ไม่ค่อยอร่อย
เหตุนั้นวิธีการแสวงหา ก็ต้องทำ
ให้ดีทุกอย่าง พร้อมทุกสิ่งทุกอย่าง
นับตั้งแต่การนุ่งการห่ม การเดิน สำรวม มรรยาท
การไปการมา เมื่อมาถึงก็สำรวมไปจนเสร็จภัตตกิจ
ให้บริสุทธิ์หมดจด สะอาดทุกสิ่งทุกประการ
นี่วิธีการแสวงหา เมื่อแสวงหามาได้ ทีนี้ให้รู้จักบริโภค
วิธีการบริโภค มันมีอยู่หลายชนิด
ตามอายุกาลของยาคิลานเภสัช
การบริโภคบางอย่างเราบริโภคต้องนั่งก็มี
บางอย่างบริโภคเราไม่ต้องนั่งก็มี บางอย่างนอนกินก็ได้
บางอย่างนั่งกินก็ได้ แต่ยืนกินไม่ได้ บางอย่างยืนกินได้
นั่งกินก็ได้ นอนกินก็ได้ บางอย่างเปลือยกายกินก็ได้
บางอย่างอยู่ที่เปิดเผยกินได้ บางอย่างอยู่ในที่กำบังกิน
ไม่ได้ ตัวอย่าง เช่นเราจะฉันข้าวในห้องของเราเอง
ไม่ห่มจีวรก็ได้ ถ้าไม่ห่มจีวร มาฉันกลางแจ้งเป็นทุกกฏ
อย่างนี้เป็นต้น บางอย่างเดินกินก็ได้ เช่น กินหมาก
นี่เดินกินได้ แต่จะไปเดินกินข้าวไม่ได้นะ อัน
ใดควรเดินกิน อันใดควรนั่งกิน อันใดควรที่จะนอนกิน
เดินกิน ยืนกิน นั่งกิน นอนกิน มันมากเสีย
ด้วยเรื่องเหล่านี้
แต่สรุปแล้ว
ธรรมชาติมนุษย์ที่มีมรรยาทดีก็ย่อมต้องรู้อยู่เอง เหตุ
นั้นท่านจึงให้สังวร ระมัดระวังรักษา เมื่อเรามา
ถึงสถานที่กินที่นี้ บางคนรู้จักแต่กิน แต่ไม่รู้จักเก็บ
บางคนรู้จักกิน แต่ไม่รู้จักกัน ไม่รู้จักกันยังไง
ได้มาก็กินงุบๆ เข้าไป เพื่อนนั่งเต็มหมด ไม่ได้กินสักนิด
ไม่รู้จัก นี่ก็ผิดอีก นี่ต้องเป็นผู้รอบคอบระมัดระวังรักษา
รู้จักที่นั่งกิน ควรนั่งตามฐานะของเราบางคนไม่รู้จักกิน
ทีนี้พอจะกินก็กินงุบๆ บางทีน้ำไม่ตักมาสักถ้วยเดียว
กินอิ่ม มาทำปากแหงแก๋อย่างนี้เคยมี พระก็ยังเป็น นี่
เขาเรียกไม่รู้จักกิน ไม่รู้จักกินก็ไม่น่าจะกิน ต้องรู้จักกิน
หนึ่งที่นั่งเราอยู่ที่ไหน สอง กาน้ำเรามีหรือเปล่า
แก้วน้ำเรามีหรือเปล่า กระโถนมีหรือเปล่า เขากิน
กันแบบไหนนี่ นี่ต้องอ่านให้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง
อ่านแต่ที่นั่ง อ่านบาตร อ่านจีวร อ่านกระโถน
อ่านแก้วน้ำ อ่านกาน้ำ อ่านน้ำที่จะกินเข้าไปในตัว อ่าน
ให้มันออกให้หมด
ที่นั่งเราก็ได้แล้ว สมควรแก่ภาวะ
ผ้าเราก็ห่มให้เป็นปริมณฑลแล้ว นั่งให้สวย
ทีนี้อย่าเงยกินมาก มันจะกลายเป็นเดียรัจฉานบริโภค
อย่าก้มกินมาก มันจะกลายเป็นกาจิกศพ ให้ตั้งพอดีๆ
อย่าเงยมาก อย่าก้มมาก ให้พอดีพอเหมาะ
ให้รู้จักแต่งตัวกิน บางคนหรือบางท่านบางวัด
กินข้าวอีฉุยอีกแฉก บางทีจีวรหลุดไปจากตัว
นั่งจ้ำเสียอย่างนี้ก็มี บางทีไม่ห่ม ถลกบาตรก็ไม่แก้ จ้ำ
เข้าไป บางทีกินอิ่ม น้ำจะดื่มก็ไม่มี นี่เรียกว่าไม่รู้จักกิน
ที่เรียกว่าภัตตกวัตร บางสังคมตีพิณพาทย์ทำเพลงกินก็มี
เช่นเอาช้อนเคาะจานหรือถ้วยเสียงดังลั่น คุยกันอื้อฉาว
ซึ่งไม่ควรแก่สมณเพศผู้มีศีล
ทีนั้นเมื่อจัดทุกสิ่งทุกอย่างเรียบร้อย ก็
ให้รู้จักเก็บ ทีนี้อันใดควรจะกินได้ในเวลาบ่ายซึ่งมี
ในอาสนะนี้ เราก็เก็บให้ดี เช่น บิณฑบาต เขาถวายยามา
ด้วย อย่างน้ำอ้อย น้ำตาล เขาถวายมาเพื่อฉันเวลาบ่าย
เราก็เก็บไว้ ถ้ามากินกับอาหารก็เก็บไม่ได้ ยาอย่าง
อื่นก็เหมือนกันส่วนใดควรเก็บกินอีก ส่วนใดควรให้ทาน
ส่วนใดควรทิ้ง มันมีอยู่ ๓ ลักษณะ
ส่วนใดควรเก็บ ไม่เก็บ เป็นอาบัติ ถ้า
เป็นญาติโยมก็เศร้าหมอง ส่วนใดควรทิ้ง ไม่ทิ้ง เป็นโทษ
ส่วนใดควรเก็บ ต้องเก็บ ส่วนใดควรทิ้ง ต้องทิ้ง ทีนี้ส่วน
ใดควรเก็บ ของที่เก็บกินได้อย่างหนึ่ง ของใดกินไม่ได้
เก็บให้ดี มันกินไม่ได้ต้องเก็บให้ดี ส่วนใดกินได้ไม่
ต้องเก็บดี คนเราโดยมาก สิ่งใดกินได้เก็บดี ๆ กลัวเพื่อน
จะเห็น กลัวเขาจะแย่งกิน อย่างนี้ก็ทำ บางท่าน
ส่วนควรเก็บดีๆ กลับเปิดเผย อาหารที่เศษติดไม่มีใครกิน
ได้ อย่างเศษกระโถนอย่างนี้เป็นต้น ทิ้งเกลื่อนกลาด
อาหารดีๆ ควรจะให้คนอื่นเขากินบ้าง
เก็บดีลักษณะเช่นนี้ เสียศีลเสียธรรม อย่างนี้ไม่รู้จัก มัน
เป็นเครื่องเศร้าหมองของศีล
การเก็บอย่างไร เรื่องของเรา ต้องอ่าน
ให้หมด อย่าให้เดือดร้อนแก่คนอื่น เราต้องปฏิบัติตัวเรา
ให้ดีให้รอบคอบ มือว่างก็ช่วยเพื่อน ช่วยคนอื่น ช่วยเก็บ
ช่วยกวาด ช่วยเช็ด ช่วยถู ส่วนอัน
ใดที่เราเก็บเรียบร้อยดีก็ชำระ ทีนี้ชำระอย่างไร รู้จักล้าง
บาตรก็ล้างให้มันสะอาดหมดจด ภาชนะทุกชิ้นต้องล้าง
ให้ดี น้ำของเราที่เอามาใช้สอย น้ำที่เอามากินกับอาหาร
เมื่อฉันเสร็จเททิ้งให้หมด เหลือหยดเดียวก็ไม่ได้ ค้าง
ในกาหยดเดียวก็ไม่เอา เทแล้วต้องเช็ดให้บริสุทธิ์ ถ้า
ไม่เท ไปดื่มตอนบ่ายเป็นวิกาลโภชน์ ถ้าเป็นญาติโยม
ก็ศีลเศร้าหมอง ไม่บริสุทธิ์ เช่นขันน้ำ ไปจ้วงในตุ่ม
กินข้าวอิ่มก็ดื่ม ไปจ้วงอีก อาหารมันอยู่กับปาก
มันติดขันไป ตุ่มน้ำก็เป็นวิกาลโภชน์กันเรื่อยไป นี่ถ้า
จะกล่าวถึงญาติโยมก็เป็นอย่างนี้ ศีลไม่บริสุทธิ์ ฉะนั้น
ท่านจึงไม่ให้จ้วงน้ำ ให้ใช้กระบอกกรองเพื่อกันสัตว์
และขี้ผงลง
อันนี้พูดถึงเรื่องเก็บของกินได้อีก เก็บ
ให้มันดี ของเศษกินไม่ได้ควรเก็บให้ดี ควรทิ้งให้มันไกล
จากที่สัญจรไปมาของมนุษย์ ควรฝังดินก็ต้องฝัง
ไม่มีที่ฝังก็ทิ้งให้ห่างไกล เป็นที่เป็นทาง
ให้มันมีระเบียบเรียบร้อยอย่างนี้ นี่ท่านเรียกว่าเป็นผู้ตั้ง
อยู่ในมรรยาทอันดี อภิสมาจาร นี่
ในเรื่องอาหารการบริโภค ถ้าจะนำมากล่าวกัน ๓ วันก็
ไม่จบ
ฉะนั้น กล่าวกันเสมอเพียงหยาบๆ แล้ว
ให้เทียบเอา ในเสนาสนะก็เหมือนกัน ในคิลานะ
จีวระก็เหมือนกัน มีลักษณะเหมือนกัน คือ
๑. รู้จักหา
๒. รู้จักรักษา
๓. รู้จักเก็บชำระ
๔. รู้จักสิ่งมัน
จะเสื่อมเสียหายไป
๕. รู้จักสิ่งที่จะให้
ความสุขแก่หมู่แก่คณะ และปฏิบัติตัว
ให้สมควรแก่เรื่องราว
ในเสนาสนะก็เหมือนกัน ในจีวรก็เช่นเดียว
กัน จีวรก็สำคัญเหมือนกัน บิณฑบาตก็สำคัญ
จีวรก็สำคัญ ข้อหนึ่งให้รู้จักหา ข้อสองให้รู้จักเก็บ
ให้รู้จักย้อม ให้รู้จักซัก ให้รู้จักสุ ให้รู้จักฟอก
ให้รู้จักย้อมสี
บางคนผ้าควรชักไปฟอก มันผิด
ผ้าควรฟอกไปซัก มันก็ผิด ผ้าควรสุไปย้อม มันก็ผิด
ผ้าควรย้อมไปสุ มันก็ผิด มันมีอยู่อย่างนี้
เขาเรียกว่ารักษา บางทีไปบิณฑบาตในบ้าน
บางทีก็ถูกเม็ดฝน ถูกเหงื่อบ้างนิดๆ หน่อยๆ ไม่จำเป็น
ต้องซัก ผึ่งแดดให้มันแห้งเสีย บางทีไปตากเสียมันก็ผิด
ผึ่งนั้นคือชั่วคราวเท่านั้น บางคนผึ่งแต่เช้าจนค่ำ
เขาเรียกว่าย่าง โยมก็เหมือนกัน ผ้าควรผึ่ง ไปตากก็ผิด
ตากคือความหมายว่ามันนาน ผึ่งคือเดี๋ยวเดียว ครู่เดียว
เท่านั้น ผ้าที่ควรตาก ไปผึ่งมันก็ผิด มันเปียก ต้องตาก
ให้มันแห้ง ไปผึ่งนิด เก็บเสีย ตื่นเช้าเหม็นบูด มันผิดทั้ง
นั้น ผ้าควรซักก็เราจะไปแค่ตากไม่ได้ มันสาบมันเหม็น
มันสกปรก มันเปื้อน นี่ควรชักไปตากมันใช้ไม่ได้
นี่เรื่องจีวร ในเรื่องพระเราก็ยิ่งมาก ผึ่งผ้า ตากผ้า ย่างผ้า
มีถึง ๓ ลักษณะ
ผึ่งคือในติดเหงื่อ มันไม่ถึงสกปรก
ผึ่งลมผึ่งแดดนิดหน่อยเก็บ อย่าไปตาก มันผิด
ผ้าควรตากอย่าผึ่ง ผ้าควรย่างอย่าตาก ผ้าควรย่างคือผ้า
ยังไง ผ้ากฐิน ต้องย่าง ไม่ย่างไม่ทันเวลา
ขืนตากมันก็เสร็จ กฐินขาด นี่เรียกว่าผ้ารีบด่วน
นอกจากนี้ยังมีสุผ้า ซักผ้า ย้อมผ้า ฟอกผ้า
สุผ้า โดยมากเขาไม่ใช้น้ำเย็น คือผ้ามันสาบหรือเปื้อน
โดยมากเขาใช้น้ำเดือดๆ เมื่อต้มให้เดือด
แล้วก็เทราดลงไป ก็ขยำๆ พอสมควรจนสิ่งนั้นออกไป
แล้วก็บิดตาก เรียกว่าสุผ้า บางคนผ้าควรสุ
เอาไปฟอกสบู่ ขนาบลงไปเกือบขาด
ขาวแล่นแจ้นไปเลย มันผิด ผ้าสุไปซักก็ผิด ผ้าสุต้อง
ใช้น้ำร้อน ผ้าชักให้น้ำเย็น ผ้าฟอกต้องใช้สบู่ ผ้าย้อม
ต้องใช้สี มันมีอยู่หลายลักษณะ
ถ้าผ้าเราควรฟอกเอาไปซักก็ไม่สะอาด ผ้าเราควรซัก
เอาไปฟอก มันขาวเกินไปอีก
เมื่อเรามาเรียนวิชาอย่างนี้ รู้จักเหตุการณ์
รู้จักสุ รู้จักซัก รู้จักฟอก รู้จักย้อม สำเร็จลงไปก็รู้จักเย็บ
รู้จักตัดให้มันเรียบร้อย ในมรรยาทเหล่านี้
เมื่อมันเรียบร้อย ทีนี้รู้จักบริโภคเราจะนุ่งยังไง อยู่
ในบ้านจะนุ่งยังไง อยู่ในวัดจะนุ่งห่มอย่างไร ทำงานจะนุ่ง
ยังไง อยู่คนเดียวจะนุ่งยังไง นั่งกับแขกจะนุ่งอย่างไร
เมื่อรู้จักลักษณะเหล่านี้ให้เป็นไปด้วย
ความเรียบร้อยดีงาม ก็เรียกว่ารู้จักบริโภค
บางคนรู้จักแต่จะนุ่งจะห่ม แต่เก็บไม่เป็น จีวร ๒ ผืน
ก็หว่านเสียยังกับหว่านแห ผ้า ๒ - ๓ ผืน ตากเสียทั่วบ้าน
ทั่วเมือง เอาไปเก็บมันไม่มากมายอะไรหนักหนา
บางทีกุฏิหลังเดียวคับหมด ผ้าไม่ถึงร้อยผืน
บางทีบ้านหลังเดียวเล็ก ๆ ผ้าเต็มหมด ถ้าเก็บจริง ๆ มัน
ไม่เท่าไร มันจุ้นจ้าน มรรยาทไม่ดี อันนี้ก็สำคัญ รู้จักเก็บ
ผ้าเรามีกี่ชนิด ผ้าเช็ดเท้าจนตลอดผ้าโพกหัว รู้จักซัก
รู้จักเก็บ รู้จักใช้สอยบริโภคให้มันเรียบร้อยดีงาม
ทุกสิ่งทุกอย่าง นี้ในเรื่องจีวรคล้ายๆ อาหารแหละ
ผ้าขี้ริ้วขาด เก็บให้มันดีๆ คนจะมาเห็นมันสกปรก เก็บ
ให้มันเป็นที่เป็นทาง ควรซักควรตากก็ตาก ต้องการใช้
หยิบได้ทันที ผ้าผืนดี ๆ น่ะอย่าไปเก็บดีมากนัก
วินัยท่านห้าม ได้มาต้องบอกหมู่นะ ไม่บอกเป็นอาบัติ
ในบาลีเรียกว่า วิกัป เรียกว่า ทำถ้าของตนให้
เป็นสองเจ้าของขึ้น คือไม่ให้ตระหนี่ วินัยท่านบัญญัติ
ไว้อย่างนี้ ถ้าจะบรรยาย ๒ วันก็ไม่จบเหมือนกัน
กล่าวสั้นๆ เพียงเท่านี้ในเรื่องจีวร
ในเรื่องเสนาสนะก็เหมือนกัน
บ้านช่องกุฏิวิหาร ที่พักอาศัย สาธารณประโยชน์
เช่นส้วมหรือฐาน ศาลาหรือวิหาร ให้รู้จักรักษา
ความสะอาด อันใดมันจะเสีย อันใดมันจะคงที่ อันใดมัน
จะงอกงามขึ้น เปิดหูเปิดตาให้มันกว้างขวาง ดูแลทั่วถึง
ต่างคนต่างก็มีตาลูกโต ๆ อยู่วัด ตาต้องเท่าวัด หูก็
ต้องโตเท่าวัด อันใดไม่ดีไม่งามเกิดขึ้นต้องสนใจ อัน
ใดมันจะดีขึ้น อันใดจะเสียหาย อันใดจะคงที่ให้
ความสะดวกแก่ตนและคนอื่น ต้องดูแสรักษา อันนี้
เป็นเรื่องเสนาสนะ มีลักษณะ หนื่งให้แสวงหาโดย
ความบริสุทธิ์ไม่ต้องไปเที่ยวบังคับ-ข่มเหงน้ำใจบุคคลผู้
ใดทั้งหมด มีอยู่ก็อยู่ ไม่มีอยู่ก็นอนดิน ไม่ต้องอัศจรรย์
ไม่ต้องยอมเป็นทาสใครทั้งหมด ต้องเป็นนายคน
เรียกว่าพระ นายคือหมายความว่านั่งเฉย ๆ ให้กูก็อยู่ ไม่
ให้กูก็ไม่อยู่ เอาฟ้าเป็นหลังคาเอาดาวเป็นแสงตะเกียงไต้
เอาต้นไม้เป็นฝากระดาน พื้นปฐพีเป็นแผ่นศิลาอาสน์
เมื่อทำใจกว้างใหญ่เท่าโลกอย่างนี้ อยู่ที่ไหนก็เป็นสุข
เมื่อเป็นเช่นนี้ละก็ ไม่ต้องแสวงหาด้วยความทุจริต หามา
ได้ด้วยความดีความชอบแล้วก็รู้จักรักษา รู้จักบริหาร อัน
ใดจะเสีย อันใดจะดีคงที่ เป็นผู้รักษาดูแลช่วยเหลือ
ให้มันทั่วถึงกัน ในเรื่องเสนาสนะก็เหมือนกัน เมื่อต่าง
ผู้ต่างคนพากันประพฤติปฏิบัติรักษาความดี
ความชอบตามหน้าที่ของตัวได้อย่างนี้ก็งาม อันนี้
เขาเรียกว่ารวมลงก็สะอาด ทีนี้ที่นั่งก็สะอาด
ที่นอนก็สะอาด ที่ยืนก็สะอาด ที่เดินก็สะอาด
ก้อนข้าวก็สะอาด ผ้านุ่งก็สะอาด ที่อยู่อาศัยก็สะอาด
คิลานเภสัชสะอาดหมด นี่เป็นเครื่องหมายของ
ผู้มีศีลธรรม แต่มันยังไม่งาม-ทีนี้ นี่อธิบายข้อแรก
ข้อที่สอง สะอาดสวยงาม สวยงาม
กับสะอาดมันคนละอย่าง เก็บให้มันเป็นระเบียบ
ถ้วยแก้วถ้วยชาม ทุกสิ่งทุกอย่างเก็บให้มันเป็นที่เป็นทาง
หม้อแกงก็จะต้องอยู่ในโรงครัวของมันอย่างนี้ เป็นต้น
ถ้วยชาม เครื่องใช้ของสอย ให้ไว้เป็นที่เป็นทาง
ให้มันงามตา อันใดควรอยู่ที่ไหน จับให้มันอยู่ อย่า
ให้เปื้อนเปรอะ สมมุติคนกับสุนัขไปนอนด้วยกัน มัน
จะสวยที่ไหน สุนัขก็ต้องจัดให้มันนอนในใต้ถุน แมวก็
ต้องให้นอนอยู่บนบ้าน คนก็จะต้องไปนอน
อยู่บนเสื่อบนหมอนเป็นเรื่องเป็นราว อย่างนี้มันสวยงาม
เครื่องใช้ชนิดไหนมันควรอยู่ที่ไหน ต้องให้มันในที่นั้น
และมันเคยอยู่ตรงไหน อย่าให้มันย้ายที่บ่อย ๆ มัน
ไม่มีหลักฐาน เดี๋ยวไปอยู่บ้านโน้น เดี๋ยวไปอยู่บ้านนี้
อีกหน่อยไม่มีหลักแหล่งทำกิน เครื่องใช้ของสอยเหมือน
กัน มันเคยอยู่ตรงนี้แหละ ก็ให้มันอยู่เรื่อยไป ไม่จำ
เป็นอย่าให้มันหนี โดยมากคนไม่มีมารยาทไม่มี
ความสวยงาม วันนี้ไปตั้งไว้ห้องหนึ่ง พรุ่งนี้ผ่าไป
ไว้อีกแห่งหนึ่ง วันนี้ไว้บนบ้าน พรุ่งนี้ไปไว้ใต้ถุน หา
กันไปเถิด แทบตาแตกมันก็ไม่เห็น นี่เขาเรียกว่า
มันเสียมรรยาท คือไม่สวยงาม
มีตัวอย่างเขาเล่ามา
มีสองผัวเมียสมัยหลวงพิบูลนี่แหละ เขาให้
ผู้หญิงนุ่งผ้าถุง แต่ก่อนนุ่งผ้าโจงกระเบนก็พอสังเกตกัน
ได้ง่ายสมัยนี้เขาให้นุ่งถุง ทีนี้ไอ้ผ้าโสร่งผัว
กับผ้านุ่งเมียเอาไปไว้แห่งเดียวกัน มันลืม ก็ไม่
ได้ตั้งใจหรอกผ้าเมียเขาไว้ให้ที่นอน ข้างใต้เตียงคือ
ให้เท้า ผ้าผัวเอาไว้ข้าง ทีนี้มันจะด่วนหรือไม่ด่วนก็
ไม่ทราบมันมืดหน่อย แกก็มาถึงบ้านก็ถ่ายผ้า
เอาผ้าโสร่งไปพาดไว้กับผ้าถุงของเมีย ทีนี้พอสว่าง
เขาก็รีบไปกินกาแฟที่ตลาดลุกขึ้นมาพอแหกขี้ตาก็รีบนุ่งผ้าโสร่ง
จะไปกินกาแฟ มันก็เชื่อจริง ๆ นา มันน่าจะดูออก
ไม่ดูเวลานุ่ง ก็ควรจะดูเวลาเดินออกไป ไม่ยักดู
ไปนุ่งผ้าชิ่นหมี่ของเมีย (ผ้าภาคอีสานลายๆ
เขาเรียกว่าชิ่นหมี่) นั่งกินกาแฟเฉยโน่น อยู่ร้านเจ๊ก แน่ะ
ไม่อายเขาเสียบ้าง ไอ้เจ้าเมียก็มาหาผ้านุ่งทีนี้
“เอ๊ะ ผ้ากูมันหายไปไหน”
หากันให้ยุ่งกันไปหมด บอกลูก “ไปตามชิ
พ่อมึงไปไหนวะ พ่อมึงเอาผ้ากูนุ่งไปเสียแล้ว เห็น
อยู่แต่ผ้าโสร่ง”
ลูกสาวก็วิ่งไปตลาด ไปตามพ่อ พ่อนั่งเฉย
กินกาแฟสบาย หันไปหันมาก็ไม่รู้จะพูดยังไง “พ่อ ๆ
เอาผ้าแม่มานุ่ง”
“เอ๊ะ กูก็ไม่รู้นะ กูก็สงสัยเหมือน
กันว่ามันแข็งๆ สากๆ มันเป็นไหมว่ะ”
ต้องรีบกลับ หอบผ้าขึ้นกลัวเพื่อนเห็น
ทีนี้หอบขึ้นมาบนเอว เดินมากลัวเขาจะเห็นว่านุ่งผ้าเมีย
หอบไม่ให้เขาเห็นลายผ้า หอบผ้าล่อนจ้อนเดินเข้ามา
ในบ้าน แบบนี้มันเสียมารยาทเท่าไร เลยหมดอาย
มันอายนุ่งผ้าเมีย มันไม่อายหนังตัวเอง
เลิกผ้าขึ้นมาบนเอว หนังเคยอายไม่ยักอาย ไปอายผ้า
กลัวเขาเย้ยว่า “อีตาคนนี้นุ่งผ้าเมีย” กลัวเขาว่า
เลิกผ้ามาม้วนอยู่บนเอว ไอ้ลูกก็อายแทนพ่อ วิ่งเข้าบ้านนี่
ไอ้คนไม่ห้ามเป็นยังงี้ เก็บของไม่งาม มันจะนุ่งก็ไม่งาม
มันเสียหายถึงอย่างนี้
มันเสียมารยาทอันนี้มาเทียบอย่าไปนึกว่าเป็นของ
เล็กน้อย
เมื่อเรารู้จักเก็บให้
เป็นระเบียบเรียบร้อยดีงาม เรียกว่า สะอาด สวยงาม
เก็บนั้นเก็บอะไร ทีนี้เก็บทุกอย่างนั่นแหละไม่ว่าอะไร
ทั้งหมด เก็บบางอย่าง นานๆ มาใช้ที่นั่นอย่างหนึ่ง
ของบางอย่างบางที ๗ วันเอามาใช้ที บางอย่างใช้แต่เช้า
บ่ายไม่ต้องใช้ ของบางอย่างใช้ตลอดวัน ของ
ทั้งหลายเหล่านี้ เราต้องหาที่อยู่ให้มัน สงสารมัน
บางทีมันกระโดดใส่กันน่ะ ถ้วยแก้วมันก็กระโดดใส่กันได้
เคยได้ยินเหมือนกัน แก้วสามลูก ควบปั๊บ กระโดดเป้ง
เตะกันแตก ฉิบหายนั่นมันเสียศีลแล้วยังไม่รู้ตัว
มันกระโดดใส่กัน คนเราลงกระโดดใส่กันก็หัวแตก มัน
ไม่มีวิญญาณยังกระโดดใส่กันได้ถึงขนาดนี้ ไม่ไหวแล้ว
เหตุนั้น ต้องระมัดระวังรักษา
ควรจัดควรหิ้ว ควรแบก ควรหาบ ควรใช้มือเดียว ควร
ใช้สองมือ ต้องรู้จักอ่านให้มันออก ให้มันดี
ให้มันเรียบร้อย นั่นมันเป็นกัลยาณธรรม เป็นกัลยาณชน
ของมันงาม คนมันก็งาม ถ้าของมันไม่งาม คนมันก็ไม่งาม
มองดูในนี้แหละ อย่างพวกเรานั่งอยู่ทุกวันนี้ นั่ง
อยู่อย่างนี้แหละมันงาม ถ้าต่างคนต่างทำ ลองดูชิ
บางคนยืน บางคนเดิน บางคนนั่ง บางคนคุย
มันงามเมื่อไร ลองดูชิ เสียหมดในสมาคมอันนั้น
ข้าวของสิ่งต่างๆ ทั้งหมด เช่นเดียวกัน เมื่อไม่มีระเบียบ
มันหนาตา มันหนาหู หาไม่พบ เถียงกันทะเลาะกัน
มันหนาหู มันหนาไปหมดทุกสิ่งทุกระยะนั้นแหละ
เหตุนั้นให้รู้จักรักษา ให้รู้จักระเบียบ
รู้จักจัดระเบียบให้เป็นระเบียบ ๆ ตามหน้าที่
เหมือนกรรมกรที่เขาจัดกัน นายทำยังไง นายจ้างทำ
ยังไง หัวหน้านายจ้างเป็นยังไง เขาจัดเป็นเรื่อง ๆ
เป็นแถวเป็นแนวไป อย่างพิณพาทย์ก็เหมือนกัน เขาจับ
ให้เป็นระเบียบ ตีหงองแหงงๆ เป็นเงินเป็นทอง ถ้าจัด
ไม่มีระเบียบ ตีไม่เป็นภาษาแล้วใครมันจะไปฟัง เหตุ
นั้นการระเบียบทั้งหมด
ให้มันเรียบร้อยดีงามละก็มันสบายใจ มองเห็น
เท่านี้ละก็มันยิ้มอยู่คนเดียว ทีนี้พอเรา
ต้องการละก็ฉวยปั๊บได้ทันที เดี๋ยวนี้มัน
จะไปเหมือนแบบอีตาคนนั้น ฉวยปั๊บ นุ่งผ้าเมียไปทันที
มันไม่ไหวอย่างนั้นน่ะ นี่ให้พากันจำไว้ เมื่อจับ
เป็นระเบียบเรียบร้อยดีงามในส่วนเสีย ก็ให้มัน
เป็นระเบียบอย่างหยาบๆ ไอ้เศษอาหารอย่างนี้เป็นต้น
เคยทิ้งที่ไหนทิ้งที่นั่นแหละ อย่าทิ้งเกลื่อนกลาด ให้มัน
เป็นที่เป็นทาง เคยเก็บที่ไหนไว้ที่นั้นจัดให้มัน
เป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามมีผลหลายประการ
ประการที่หนึ่ง สบายตาที่ได้แลเห็น
ประการที่สอง ต้องการได้ง่าย ประการที่สามของนั้น
ไม่ค่อยจะเสียหาย ดีทุกสิ่งทุกอย่าง
นี่ท่านเรียกว่าสวยงาม
ทีนี้ เมื่อวัตถุทั้งสองอย่างนี้มันบริบูรณ์
อย่างนี้มันสบายใจ ความสบายใจมันหมดกังวลความ
ไม่กังวลนั่นแหละ จิตมันก็เบิกบาน ลืมตาขึ้นก็สบายใจ
ฟังเขาใช้การงานก็สบายหู เมื่อเรานึกถึงข้าวของที่ได้
ใช้สอย เก็บแล้วเรียบร้อย ไม่ข้องจิต สบายใจ
นั่นท่านเรียกว่าศีลวิสุทธิ ศีลบริสุทธิ์
เมื่อศีลบริสุทธิ์ทำสมาธิง่าย ทำสมาธิง่ายยังไง
บางคนไปยืนใส่บาตร ได้สำเร็จโสดา
บางคนก็กำลังปรุงอาหารที่โรงครัว สำเร็จโสดา
บางคนกำลังเก็บดอกไม้ในสวน สำเร็จโสดา
อันนี้คืออะไร คือศีลบริสุทธิ์ ไม่ยากอะไร การทำสมาธิ
คือใจสบาย
๑. เมื่อเราตื่นขึ้นก็ปรุงอาหารเราดี
ไม่มีการกระทบกระเทือนในระหว่างกัน
๒. เราจัดแจงภาชนะใส่อาหารที่เราได้มา
ด้วยความบริสุทธิ์
๓. เราไปเห็นพระมาบิณฑบาต
พระบริสุทธิ์ จิตก็เบิกบานใจบานขึ้นทันทีเวลาใส่บาตร
ไอ้ความบานนี่ใจสบาย เกิดเป็นศีลวิสุทธิ จิตบริสุทธิ์
ศีลบริสุทธิ์ๆ ได้ชื่อว่าโสตังคะ นี่มันเป็นอย่างนี้ มัน
ไม่ยากหรอก ใส่บาตรมันก็ได้มรรคผล ถ้าศีลบริสุทธิ์
ถ้าศีลเหล่านี้ไม่บริสุทธิ์ นั่งหลับตาเท่าไรๆ
มันก็ลงแต่เปลือกตา แต่ใจมันกระโดดออกไป
จากหนังคาโน่นแน่ นี่คืออำนาจกิเลสหรือความเศร้าหมอง
ไม่ผ่องใส มันผลักดันทำจิตนั้นไม่ให้ได้รับความสงบ
เมื่อเรามาสำรวจตรวจตรา
พิจารณาเรื่องราวที่กล่าวนี้ นับตั้งแต่ความสะอาด
ข้อหนึ่ง ความสวยงาม ข้อที่สอง ความสบายใจ
ข้อที่สาม ความบริสุทธิ์ใจ เมื่อคุณงามดวามดีสามอย่างนี้
ได้บังเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ใดคณะใด คนนั้นก็
จะบำเพ็ญสมาธิง่าย ไม่เป็นสัคคาวรณ์ มัคคาวรณ์
สามารถที่จะเอื้อมเอามรรคผลได้ทุกอิริยาบถกาล ยืน
เดิน นั่ง นอน
ฉะนั้น บรรยายมาในอภิสมาจาร
เป็นเครื่องประกอบอบรมสีลานุสสติกรรมฐานให้เกิดขึ้น
จงพากันตรวจพิจารณา ส่วนใดที่ขาดตกบกพร่อง ไม่ถูก
ต้องตามแนวคำสอน ก็จงพากันเยียวยาแก้ไข ให้เป็นไป
โดยความสงบเรียบร้อยดีงาม ส่วนใดที่ดีแล้ว
ก็จงตั้งใจปฏิบัติบำเพ็ญ เมื่อพวกเขาเหล่าพุทธบริษัท
ได้พากันตั้งใจปฏิบัติให้เป็นไปดังกล่าวนี้ ก็คงจะได้พา
กันสำเร็จตามความต้องการปรารถนา มีดังได้แสดงมา
ในศีลกถา กล่าวถึงอภิสมาจารและข้อปฏิบัติ
ด้วยคุณภาพ ให้เข้าอยู่ในข้อศีล
เมื่อพวกเราตั้งใจปฏิบัติตัวให้เป็นไปอย่างนี้
ก็จะได้รับความร่มเย็นเป็นสุขตลอดกาลนาน มีดัง
ได้แสดงมา ก็ยุติลงเพียงเท่านี้.


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร