วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 33 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2015, 15:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ภราดา ! พระอริยเจ้าท่านกล่าวว่าน้ำขุ่นเพราะมีฝุ่นละออง
หรือเปือกตมฉันใด ใจของคนก็ย่อมขุ่นมัวเพราะเปือกตมคือกาม
หนามธรรมดาย่อมเสียบแทงผู้เหยียบมันให้เจ็บช้ำฉันใด
หนาม คือ กาม (กามกัณฏกะ)
ย่อมเสียบแทงใจของผู้หลงในกามคุณให้ชอกช้ำฉันนั้น


ภราดา ! พระธรรมเสนาบดีท่านระอิดระอาอยู่ เหนื่อยหน่ายอยู่ ซึ่งอัตตภาพนี้
...อัตตภาพอันเปรียบเสมือนซากงู หรือซากสุนัข
ไม่มีความกำหนัด ไม่มีความพอใจ อัตตภาพอันเป็นเสมือนถาดน้ำมันที่มีรูทะลุ

ภราดา ! คราวหนึ่งมีผู้มาถามพระพุทธองค์ว่า
อะไรเป็นเหตุแห่งราคะ โทสะ โมหะ ความยินดี ความไม่ยินดี
และความกลัวมีอะไรเป็นเหตุ ความตรึกในใจเกิดแต่อะไรแล้วดักจิตไว้

พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า

“อัตตภาพ*นี้แหละเป็นเหตุแห่งราคะ โทสะ โมหะ
ความยินดียินร้ายและความกลัว เกิดแต่อัตตภาพนี้
ความตรึกในใจก็เกิดแต่อัตตภาพนี้แล้วดักจิตไว้
อันว่าย่านไทรเกิดจากต้นไทร แล้วแผ่ปกคลุมไปในป่าฉันใด
ความคิดชั่วต่างๆ เกิดขึ้นในใจเพราะมีตัณหาเป็นแดนเกิด
แล้วแผ่ซ่านไปในวัตถุกามทั้งหลาย อัตตภาพนี้เกิดจากตัณหา
ผู้ฉลาดรู้ว่าอัตตภาพนี้เกิดจากสิ่งใดแล้วบรรเทาสิ่งนั้นเสีย
จงฟังเถิด บุคคลเช่นนี้แหละย่อมสามารถข้ามห้วงกิเลส
ที่ข้ามได้ยากนี้เสีย เป็นผู้ไม่มีภพอีกต่อไป”


(* สุจิโลมสูตร พระไตรปิฎกเล่ม ๑๕ ข้อ ๘๐๗)

:b45:

ภราดาเอย ! สมัยเมื่อมหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ
และวัสสการพราหมณ์เตรียมการสร้างเมืองใหม่ในเขตปาฏลิคาม
ให้ทูลอาราธนาพระศาสดา และพระภิกษุสงฆ์สาวกบริวาร
ไปเสวยในนิเวศน์ของตนในเขตปาฏลิคามนั้น เมื่อเสวยเสร็จแล้ว
ทรงอนุโมทนาแล้วเสด็จออกจากนิเวศน์ของมหาอำมาตย์,

สุนิธะและวัสสการพราหมณ์ตามส่งเสด็จไปเบื้องหลัง
พร้อมกับตั้งใจว่า วันนี้พระสมณโคดมบรมศาสดาเสด็จออกทางประตูใด
จะตั้งชื่อประตูเมืองตรงนั้นว่า ‘ประตูโคดม’
เสด็จข้ามแม่น้ำคงคาตรงท่าใด จะตั้งชื่อท่านั้นว่า ‘ท่าโคดม’
พระมหาสมณโคดมบรมศาสดาเสด็จยังแม่น้ำคงคา
อันมีน้ำเปี่ยมฝั่งพอกาดื่มได้ (กากเปยฺยา) ขณะนั้นบุคคลผู้ต้องการข้ามฝั่ง
บางพวกแสวงหาเรือ บางพวกผูกแพ


แต่พระศาสดาพร้อมด้วยพระสาวกทรงหายจากฝั่งนี้ไปปรากฏ ณ ฝั่งโน้น
ด้วยอำนาจฤทธิ์เร็วเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกแล้วคู้แขนเข้าฉะนั้น

ทรงเห็นพวกมนุษย์วุ่นวายอยู่ด้วยการหาเรือหาแพ
จึงทรงเปล่งอุทานด้วยความเบิกบานพระทัยว่า

“ผู้ใด**ข้ามห้วงน้ำใหญ่คือสังสาระ และสระ คือ ตัณหา
ด้วยสะพาน คือ อริยมรรค ได้แล้ว ไม่เปื้อนเปือกตมคือกาม
เมื่อคนทั้งหลายจะข้ามน้ำแม้น้อยๆ ยังต้องอาศัยเรือแพ
แต่พระพุทธเจ้าและพระพุทธสาวกไม่ต้องอาศัยเรือแพก็ข้ามได้
ดูก่อนผู้แสวงหาธรรม ! พระตถาคตเจ้าและพระสาวกของพระตถาคตเจ้า
มีพระสารีบุตรเป็นต้นเป็นอย่างนี้ คือ มีปกติอดทนสิ่งที่คนทั้งหลายทนได้ยาก
เอาชนะสิ่งที่คนทั้งหลายเอาชนะได้ยากและทำสิ่งที่คนทั้งหลายทำได้ยาก
จึงได้รับสิ่งที่คนทั้งหลายรับได้ยาก”


(** พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ ข้อ ๑๗๔)

:b45:

ภราดาเอย! สมัยเมื่อมหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธและวัสสการพราหมณ์
เตรียมการสร้างเมืองใหม่ในเขตปาฏลิคาม ให้ทูลอาราธนาพระศาสดา
และพระภิกษุสงฆ์สาวกบริวาร ไปเสวยในนิเวศน์ของตนในเขตปาฏลิคามนั้น

เมื่อเสวยเสร็จแล้ว ทรงอนุโมทนาแล้วเสด็จออกจากนิเวศน์ของมหาอำมาตย์,
สุนิธะและวัสสการพราหมณ์ตามส่งเสด็จไปเบื้องหลัง พร้อมกับตั้งใจว่า
วันนี้พระสมณโคดมบรมศาสดาเสด็จออกทางประตูใด
จะตั้งชื่อประตูเมืองตรงนั้นว่า ‘ประตูโคดม’
เสด็จข้ามแม่น้ำคงคาตรงท่าใด จะตั้งชื่อท่านั้นว่า ‘ท่าโคดม’
พระมหาสมณโคดมบรมศาสดาเสด็จยังแม่น้ำคงคา
อันมีน้ำเปี่ยมฝั่งพอกาดื่มได้ (กากเปยฺยา) ขณะนั้นบุคคลผู้ต้องการข้ามฝั่ง
บางพวกแสวงหาเรือ บางพวกผูกแพ แต่พระศาสดาพร้อมด้วย
พระสาวกทรงหายจากฝั่งนี้ไปปรากฏ ณ ฝั่งโน้น ด้วยอำนาจฤทธิ์
เร็วเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกแล้วคู้แขนเข้าฉะนั้น
ทรงเห็นพวกมนุษย์วุ่นวายอยู่ด้วยการหาเรือหาแพ
จึงทรงเปล่งอุทานด้วยความเบิกบานพระทัยว่า

“ผู้ใด***ข้ามห้วงน้ำใหญ่คือสังสาระ และสระคือตัณหา
ด้วยสะพานคืออริยมรรคได้แล้ว ไม่เปื้อนเปือกตมคือกาม
เมื่อคนทั้งหลายจะข้ามน้ำแม้น้อยๆ ยังต้องอาศัยเรือแพ
แต่พระพุทธเจ้าและพระพุทธสาวกไม่ต้องอาศัยเรือแพก็ข้ามได้

ดูก่อนผู้แสวงหาธรรม ! พระตถาคตเจ้าและพระสาวกของพระตถาคตเจ้า
มีพระสารีบุตรเป็นต้นเป็นอย่างนี้ คือมีปกติอดทนสิ่งที่คนทั้งหลายทนได้ยาก
เอาชนะสิ่งที่คนทั้งหลายเอาชนะได้ยาก
และทำสิ่งที่คนทั้งหลายทำได้ยาก จึงได้รับสิ่งที่คนทั้งหลายรับได้ยาก


(*** พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ ข้อ ๑๗๔)

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2015, 02:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

๑๐.) ทุกข์ในรูปแห่งสุข

พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรนั้น เป็นผู้มีคุณธรรมสูงยิ่งดังกล่าวมา
จึงเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต

คฤหัสถ์บางท่านเพียงพระสารีบุตรทักทายปราศรัยกับบุตรของตนเท่านั้น
ก็มีจิตชื่นบานปราโมชประมาณมิได้ ดัง “พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดา”

มีเรื่องย่อดังนี้

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปากุณฑธานวัน
ใกล้นครกุณทิยาของพวกเจ้าโกลิยวงศ์–พระญาติฝ่ายพระมารดา
พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดา ทรงครรภ์อยู่ ๗ ปี เจ็บครรภ์อยู่ ๗ วัน
ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส แต่ทรงอดกลั้นทุกขเวทนานั้น
ด้วย สัมมาวิตก ๓ ประการคือ ระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย

มีอาทิว่า “โอ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เองโดยชอบแท้
ทรงแสดงธรรมเพื่อละความทุกข์อย่างนี้ ทรงย้ำอยู่เสมอว่า ความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว...ปฏิบัติเพื่อละทุกข์อย่างนี้
พระนิพพานซึ่งเป็นธรรมที่ไม่มีทุกข์อย่างนี้เป็นสุขจริงหนอ”

ภราดา ! พระนางสุปปวาสาทรงเป็นอริยสาวิกาได้บรรลุธรรมแล้ว
ได้เห็นธรรมแล้วในระดับต้น พระนางได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า
เป็นผู้เลิศ (เอตทัคคะ) กว่าสาวิกาทั้งหลายผู้ถวายของอันประณีต
ถวายของด้วยความเคารพเลื่อมใส แต่เพราะกรรมเก่า
ของพระนางและพระโอรสผู้อยู่ในครรภ์ จึงทำให้เกิดทุกขเวทนาสาหัสเช่นนั้นขึ้น

พระนางทรงดำริว่า ชีวิตคงสิ้นสุดคราวนี้เป็นแน่แท้ จึงขอร้อง
ให้พระสวามีไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเพื่อกราบทูลให้ทรงทราบ
เรื่องทุกขเวทนาของพระนาง พระองค์ทรงทราบเรื่องนั้น
ตามคำบอกเล่าของพระสวามีของพระนางสุปปวาสาแล้วตรัสว่า

“ขอสุปปวาสา โกลิยธิดา จงมีสุข หาโรคมิได้
และจงคลอดบุตรผู้หาโรคมิได้เถิด”


ภราดา ! เพียงเท่านี้พระนางสุปปวาสาก็ประสูติพระโอรสหาโรคมิได้
พระโอรสของพระนางก็คือ “พระสีวลี” นั่นเอง
เรื่องนี้เป็นไปโดยพุทธานุภาพ อันพุทธานุภาพนั้นเป็นอจินไตยอย่างหนึ่ง
คิดเอาอย่างคนสามัญมิได้ พระสวามีของพระนางทรงทราบเรื่องนี้แล้ว
ทรงดีพระทัยเป็นหนักหนา ทรงดำริว่า ‘โอ น่าอัศจรรย์จริง ! เรื่องไม่เคยมีได้มีขึ้นแล้ว
เรื่องไม่เคยเป็นได้เป็นขึ้นแล้ว พระตถาคตเจ้าทรงมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก น่าปลื้มใจจริง’


พระนางสุปปวาสาทรงขอร้องพระสวามีให้ไปทูลเชิญพระศาสดา
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เพื่อเสวยภัตตาหารที่พระราชนิเวศน์เป็นเวลา ๗ วัน


:b44:

สมัยนั้นอุบาสกผู้หนึ่ง ผู้เป็นอุปัฏฐากของพระมหาโมคคัลลานะ
ได้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขไว้แล้ว
เพื่อเสวยและฉันในเรือนของตนในวันรุ่งขึ้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขอให้พระมหาโมคคัลลานะไปหาอุบาสกนั้น
และขอร้องว่า ถ้าจะเลื่อนการถวายไทยธรรมของตนไปภายหลังกิจนิมนต์
ของพระนางสุปปวาสาแล้ว จะขัดข้องหรือไม่


เมื่อพระมหาโมคคัลลานะไปขอร้องอุบาสกดังนั้น อุบาสกจึงกล่าวว่า

“ถ้าพระคุณเจ้าเป็นผู้ประกันเรื่องสามอย่างได้
ก็จะยินยอมตามที่ขอร้อง ถ้าประกันไม่ได้ก็ไม่ยินยอม
คือ ภายในเจ็ดวันนี้โภคทรัพย์ของข้าพเจ้าจะไม่เป็นอันตรายใดๆ
ชีวิตของข้าพเจ้าจะไม่สิ้น
และศรัทธาของข้าพเจ้าจะไม่ถอย”


พระเถระ อัครสาวกผู้เลิศด้วยฤทธิ์ เพ่งพินิจอยู่ครู่หนึ่ง

“ดูก่อนอุบาสก อาตมารับประกันให้ได้ ๒ ประการคือ
โภคะของท่านจะไม่เป็นอันตรายใดๆ และชีวิตของท่านจะไม่สิ้น
ส่วนศรัทธานั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับใจ อาตมาประกันให้ไม่ได้
ขอท่านจงประกันตัวท่านเองเถิด”


อุบาสกนั้นจึงรับว่า จะประกันศรัทธาของตนเอง เพราะเป็นผู้ได้เห็นสัจธรรมแล้ว
ศรัทธาจึงไม่คลอนแคลน เขาอนุญาตให้พระศาสดาและพระภิกษุสงฆ์
ไปเสวยที่พระราชนิเวศน์ของพระนางสุปปวาสาก่อน
ด้วยความเคารพในพระมหาโมคคัลลานะ ด้วยปรารถนาความสุข
และความเจริญด้วยบุญของพระนางสุปปวาสานั้น


:b44:

ดูก่อนผู้แสวงธรรม ! เรื่องนี้บางคนอาจนึกตำหนิว่า
พระศาสดาทำไมจึงทรงทำเช่นนั้นเล่า
ในเมื่อทรงรับนิมนต์ของอุบาสกไว้ก่อนแล้ว
ที่ทรงทำเช่นนั้นน่าจะเป็นด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ

- ประการหนึ่ง ทรงบำเพ็ญญาตัตถจริยา คือ ประโยชน์ของพระญาติ
ซึ่งเป็นหนึ่งในประโยชน์สามที่ทรงบำเพ็ญอยู่เป็นประจำ
- อีกประการหนึ่ง พระนางสุปปวาสาผ่านอันตรายแห่งชีวิตมาใหม่ๆ
หากได้ทำบุญตามใจปรารถนา ย่อมจะทรงปีติโสมนัสมากเป็นพิเศษ

พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดา ทรงอังคาส คือเลี้ยงภิกษุสงฆ์
ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต
ด้วยพระหัตถ์ของพระนางเองสิ้นเวลา ๗ วัน

ให้ทารกถวายบังคมพระบรมศาสดาและภิกษุสงฆ์
พระสารีบุตรได้ทักทายทารกนั้นว่า พ่อหนูสบายดีหรือ?
เพียงเท่านี้เอง พระนางสุปปวาสาทรงชื่นชมโสมนัสยิ่งนัก
ที่พระธรรมเสนาบดีทักทายพระโอรสของตน

ดูเถิดภราดา ! คนดีมีศีลธรรมเข้าไปเกี่ยวข้องกับใคร
ก็ก่อความชุ่มเย็นเป็นสุขแก่ผู้นั้น ศีลธรรมจึงเป็นแก่นสารของชีวิต หาใช่สิ่งอื่นไม่
พระบรมศาสดาทรงทราบวาระจิตของพระนางสุปปวาสาว่าชื่นชมเบิกบานเช่นนั้น
จึงตรัสถามว่า “ถ้ามีบุตรอย่างนี้อีกจะพอพระทัยไหม?”
พระนางกราบทูลว่า “หม่อมฉันปรารถนาอีกแม้สักเจ็ดคนก็ได้”

พระสุคตเจ้าทรงเปล่งอุทานเป็นเชิงเตือนในเวลานั้นว่า

“สิ่งที่ไม่น่ายินดี มักปลอมมาในรูปที่น่ายินดีสิ่งไม่น่ารักมักมาในรูปที่น่ารัก
ทุกข์มักมาในรูปแห่งสุข เพราะเหตุนี้ คนจึงประมาทกันนัก”

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2015, 05:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ท่านผู้แสวงสัจจะ ! คนส่วนมากหลงใหลในมายาธรรม
คือ สิ่งกลับกลอก หลอกลวง ยึดถือเอาว่าเป็นสัจธรรมคือของจริง
จึงถูกมายาธรรมนั้นห้ำหั่นย่ำยีบีบคั้นหัวใจให้ต้องเศร้าโศก
คร่ำครวญรำพัน ที่ว่า สุขก็หาใช่สุขจริงไม่
มันเป็นเพียงทุกข์ที่ปลอมเข้ามาในรูปแห่งสุข

หรือมีสุขเป็นเหยื่อล่อเล็กน้อย เหมือนศัตรูปลอมมาในรูปแห่งมิตร

อนึ่ง ความสุขที่เกิดจากโลกียารมณ์ รัชนียารมณ์นั้น
ล้วนมีทุกข์เป็นพื้นฐานเสียก่อน แล้วจึงได้สุข
ความจริงก็คือ ความทุกข์ที่ลดลงเพราะบำบัดถูกวิธีเท่านั้นเอง
และมีความทุกข์ติดตามมาอีกอย่างกระชั้นชิด

บำบัดได้คราวหนึ่งก็สมมติเรียกว่า สุขคราวหนึ่ง
ลาภผลซึ่งคนแสวงหากันนักหนาด้วยความยากลำบากนานาประการ
ต้องเอาชีวิตเข้าเสี่ยงก็มีนั้น เมื่อได้มาแล้วก็หาใช่จะอำนวยสุขให้ฝ่ายเดียวไม่
มันมีความทุกข์ความกังวลใจแอบแฝงมาด้วย
ต้องเฝ้าต้องระวัง
จนไม่เป็นอันนอนให้เป็นสุขก็มี ต้องเสียชีวิตในการป้องกันทรัพย์สินก็มี
มียศแล้วต้องมีความเป็นอยู่เติบกว่าคนสามัญ ต้องหาทรัพย์มากขึ้น
มักหาได้ไม่พอใช้ ต้องมีภาระมาก เวลาไม่เป็นของตน
เป็นที่เกาะอาศัยของผู้อื่นจนนุงนัง ต้องพลอยทุกข์กับคนนั้นคนนี้
บางคนพอมียศเข้าก็ลืมตัวไม่เป็นอยู่อย่างเคย เป็นเหตุให้เสียมิตรเสียเพื่อน
เสียญาติพี่น้องก็มี เพราะไปหลงติดยศอันเป็นเปลือกของคน
จนแสงสว่างแห่งธรรมไม่อาจส่องถึงใจได้


ท่านผู้แสวงสัจจะ! เรื่องนี้อย่าพูดเพียงคฤหัสถ์เลย
แม้บรรพชิตบางรูปก็เมายศเหมือนกันยิ่งยศสูงขึ้นอาสวะก็พลอยหนาขึ้นตาม
มันย้อมจิตให้มัวเมาและเมาหนักขึ้นเพราะเปลือกหนาขึ้น
อยู่ในแวดวงของลาภ ยศ สรรเสริญเสียจนเคยตัว
ทำผิดไม่มีใครกล้าติเตียน ทำถูกเล็กน้อยคนก็คอยชมแล้วชมอีกจนใจเหลิง
เพราะสรรเสริญเหมือนเหล้าหวานชวนให้เพลิน ดื่มเท่าไรไม่พอ
เผลอตัวได้ง่าย ดื่มเหล้าเสียอีก ยั้งได้ง่ายกว่าและมีผู้คอยช่วยยั้ง
ส่วนสรรเสริญมาจากผู้อื่นยั่วยวนใจอยู่เสมอ อยากได้รับให้ยิ่งขึ้นกว่าที่เคยได้
เมื่อไม่ได้รับดังปรารถนาก็ร้อนใจ หรือเมื่อถูกนินทาก็เร่าร้อนยิ่งขึ้น
นี่คือโทษของลาภ ยศ สรรเสริญ เท่าที่พอมองเห็นได้
มันเป็นสุขที่เนื่องอยู่กับทุกข์ จึงเป็นสุขปลอมหาใช่สุขแท้ไม่

สุขแท้ต้องเกิดจากคุณธรรม จากการทำความดี ทำความเพียร
ลดอาสวะสิ่งหมักดองสันดานให้มืดมน กิเลสลดลงเท่าใด
ทุกข์ก็ลดลงมากเท่านั้น เมื่อทุกข์ลดลงถึงที่สุด
ก็เรียกว่า ‘ที่สุดแห่งทุกข์ คือ นิพพาน’
เหมือนเมื่อความร้อนลดลงก็เป็นสภาพที่เย็นที่สุด
นี่แหละคือความสุขแท้ ไม่มีความทุกข์แอบแฝงมาด้วย
มีความเย็นใจเป็นรางวัล พร้อมกันนั้น ความรู้แจ้งตามเป็นจริงในสิ่งทั้งปวง
ก็สว่างไสวขึ้นในดวงจิต เหมือนประทีปที่ถูกจุดขึ้น
ย่อมทำหน้าที่หลายอย่างพร้อมกัน คือ กำจัดความมืด ยังแสงสว่างให้เกิดขึ้น
เผาเชื้อ คือ น้ำมันให้สิ้นไป เป็นต้น


อีกอย่างหนึ่งความที่บุคคลได้อบรมจิตและปัญญามาน้อย
แสงสว่างในดวงจิตจึงมีน้อย ไม่อาจมองเห็นสิ่งต่างๆ ตามเป็นจริงได้
จึงถูกหลอกอยู่เรื่อยไป ถูกโลกียธรรมคือลาภบ้าง ยศบ้าง
เสียงสรรเสริญบ้าง หลอกเอา มอมให้เมาอยู่เนืองนิตย์
จนปัญญามืดมนลง ไม่สามารถรู้เห็นตามเป็นจริงของชีวิตได้


ภราดา ! อันว่าบุคคลผู้เดินอยู่ในที่มืด ใครมีแสงสว่างในมือเท่าใด
ก็เห็นความจริงที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้าได้เท่านั้น
คนมีแสงสว่างน้อยก็เห็นได้น้อยและเห็นได้เฉพาะวัตถุหยาบ
ผู้มีแสงสว่างมากก็เห็นได้กว้างไกล และแม้วัตถุละเอียดก็พอมองเห็นได้
ฉันใด ในโลกสันนิวาสอันมืดมิดด้วยโมหะนี้ก็ฉันนั้น
ผู้ใดมีแสงสว่างคือปัญญา น้อย ก็ได้เห็นความจริงของชีวิตน้อย
ผู้มีปัญญามากลึกซึ้งกว้างขวางก็ได้เห็นความจริงของชีวิตมาก

เป็นเหตุให้ฉลาดในวิถีชีวิต รู้ว่าอะไรเป็นเหตุแห่งสุข อะไรเป็นเหตุแห่งทุกข์
แล้วเว้นเหตุแห่งทุกข์เสีย ประกอบพอกพูนเหตุแห่งสุข
พร้อมทั้งมีอุบายอันฉลาดในการหลีกเหตุแห่งทุกข์
ประกอบเหตุแห่งสุข เหมือนคนมีจักษุดี เว้นทางอันขรุขระเต็มไปด้วยอันตราย

ดำเนินไปในทางที่ปลอดภัยฉะนั้น แต่น่าเสียดายที่กว่าจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร
คนก็มักย่างเข้าสู่วัยชราจนทำอะไรไม่ค่อยทันเสียแล้ว
ได้แต่นั่งนอนทอดถอนใจว่า “รู้อย่างนี้คงจะทำอะไรๆ ได้ดีกว่านี้”

ท่านผู้แสวงสัจจะ ! ความเข้าใจในชีวิตเป็นเรื่องประเสริฐสุดของมนุษย์
ศิลปะแห่งการดำรงชีวิต เป็นศิลปะชั้นสูงของมนุษย์
ความสามารถในการดำเนินชีวิตให้ดี เป็นความสามารถอันเลิศของมนุษย์
น่าเสียดายที่คนส่วนมากใช้เวลาของชีวิตไปเรียนรู้เรื่องอื่นเสียหมด
ไม่ได้เรียนรู้และไม่เข้าใจเรื่องวิถีชีวิต...

ชีวิตจึงหมกอยู่ในความเร่าร้อนทุรนทุรายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 33 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร