วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2021, 19:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รำลึกวันวาน

เกร็ดประวัติ
ปกิณกธรรมและพระธรรมเทศนา
ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร


:b44: :b47: :b44:

จากบันทึกความทรงจำของ
หลวงตาทองคำ จารุวณฺโณ (ญาโณภาโส)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2021, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สารบัญ

ตอนที่ ๑ เกร็ดประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร


ความเป็นมาของมุตโตทัย
หนังสือในสำนักท่านพระอาจารย์มั่น


ลักษณะนิสัย ปฏิปทาท่านพระอาจารย์มั่น

เทศน์ซ้ำเฒ่า
เมตตาชาวภูไท

ความอัศจรรย์ของท่านพระอาจารย์



ตอนที่ ๒ ปกิณกธรรม
เทวดาป้องกันอากาศหนาวให้

เหตุการณ์ครั้งสงครามโลกครั้งที่ ๒

การต้อนรับแขกเทวา

จอมไทย

ผีเฝ้าหวงกระดูก
พระแก้วมรกต

อานุภาพการสวดมนต์และเสียงสาธุการ


ตอนที่ ๓ รำลึกพระธรรมเทศนา


ความสมบูรณ์พร้อมของประเทศไทย

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2021, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ความเป็นมาของมุตโตทัย

รูปภาพ
ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต......................................หลวงตาทองคำ จารุวณฺโณ
รูปภาพ

สมัยที่อยู่วัดป่าบ้านหนองผือนั้น เวลาได้ฟังท่านพระอาจารย์ (ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต) พูดคำใดซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นที่พอใจ ผู้เล่า (หลวงตาทองคำ จารุวณฺโณ) ก็จะนำมาเขียนซ้ำ แม้แต่ท่านอาจารย์วิริยังค์ ท่านอาจารย์วัน ก็มีความคิดแนวเดียวกัน ทั้ง ๒ องค์เขียนแล้วก็เอามาวางไว้ให้ข้างที่นอนของผู้เล่า เป็นลักษณะคล้ายๆ กับบันทึกความเข้าใจ หรือบันทึกความจำเพื่อกันลืม

เหตุที่มาเป็นหนังสือมุตโตทัยนั้น เนื่องจากท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) ขณะนั้นท่านเป็นรองเจ้าคณะภาค ท่านมาตรวจราชการ และได้ไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ท่านพักอยู่ ๓ คืนที่กุฏิของผู้เล่า ตอนพักกลางวันท่านไปเห็นบันทึกนี้ก็เลยเอามาอ่าน พออ่านเสร็จ เราก็ขึ้นไปปฏิบัติท่านเจ้าคุณฯ เพราะเคยเป็นลูกศิษย์ท่าน ท่านสอนบาลีให้ ท่านเจ้าคุณฯ ถามว่า “อันนี้ใครเขียนล่ะ” “เขียนหลายคนขอรับกระผม” “มีใครบ้าง” “มีกระผม ท่านอาจารย์วิริยังค์ และท่านอาจารย์วัน ขอรับกระผม” “เออ....ดีมาก เราจะเอาไปพิมพ์” “แล้วแต่ท่านเจ้าคุณฯ ขอรับกระผม” ด้วยความเคารพเพราะท่านมีบุญคุณ

ท่านจากไปประมาณสักสามเดือน ก็มีห่อหนังสือส่งมา ในนามของท่านพระอาจารย์มั่น ผู้เล่านำไปถวายท่าน “อะไรนั่น” ท่านพระอาจารย์ถาม “กระผมก็ยังไม่ทราบเพราะยังไม่ได้เปิดดู แต่ว่าคล้ายๆ กับหนังสือ” “เปิดดูซิ” คือ ลักษณะนิสัยของท่านพระอาจารย์มั่นนั้น ท่านไม่ให้พูดตรงๆ ถ้ายังไม่ได้ดูเสียก่อน ไม่ให้พูดว่าอะไรอยู่ข้างใน เราจะไปบอกว่าหนังสือ ท่านไม่เอา

แม้แต่เครื่องใช้ไม้สอยบริขารที่ผู้เล่า เป็นพระภัณฑาคาริก (ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ ให้เป็นผู้มีหน้าที่รักษาคลังเก็บพัสดุของสงฆ์) เวลาพระสงฆ์ไปขอสบง จีวร เพื่อผลัดเปลี่ยนน่ะ ท่านจะถามว่า “ว่ายังไงทองคำมีไหม” ก็ต้องบอกว่า “กระผมยังไม่ได้ดู จะลองไปดูเสียก่อนอาจจะมีก็ได้” ต้องพูดอย่างนั้น ถ้าเราจะไปรับโดยตรงอ๋อมี มีถมไป มีเยอะแยะน่ะแหละ เดี๋ยวท่านตะเพิดเอา ท่านไม่ให้พูดตรงๆ ท่านให้พูดด้วยสติปัญญา ลักษณะคล้ายๆ กับพูดเลียบๆ เคียงๆ ไป ถ้าพูดเลียบเคียงท่านก็ทราบเองว่า ของนั้นมีอยู่ แล้วเราก็เชื่อมั่นว่ามันมี แต่ถ้าเรายังสงสัยว่ามีอยู่ก็ต้องบอกว่า “ขอโอกาสครูบาอาจารย์ กระผมยังสงสัยอยู่ขอไปดูเสียก่อน” ต้องบอกว่ายังสงสัยอยู่ ถ้ามีก็บอก “กระผมยังไม่ได้ดู อาจจะมีก็ได้”

ที่ท่านให้พูดอย่างนั้นน่ะเป็นคำสอน เพื่อฝึกสติปัญญาของสานุศิษย์ ให้มีสติด้วยให้มีปัญญาด้วย ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้น คำที่เราพูดออกไป ถ้าจะเป็นโทษแก่เราถึงขึ้นโรงขึ้นศาล เราก็สามารถที่จะเอาตัวรอดได้ เพราะฉะนั้นท่านถึงไม่ให้พูดตรง เหมือนอย่างเราพูดว่า “ท่านครูบาอาจารย์ วันนี้ได้ปลานำมาใส่บาตรนะ นิมนต์ท่านฉันลาบ ฉันก้อยนะ” พระฉันไม่ได้ ผิดพระวินัยเพราะออกชื่อโภชนะทั้งห้า ท่านคงจะถือหลักนี้แหละ

หลังจากท่านรับหนังสือมาแล้วจึงเปิดดู “เอ เราเคยได้ยินเจ้าคุณอุบาลีฯ พูดว่า คุณมั่นเธอเทศนาด้วยภาษามุตโตทัย เป็นมุตโตทัย ภาษามุตโตทัยเป็นคำพูดของเจ้าคุณอุบาลีฯ แล้วทำไมจึงมาเป็นชื่อหนังสืออันนี้ล่ะ ได้มาจากไหน”

ผู้เล่า “ท่านเจ้าคุณอริยคุณาธาร ได้ค้นพบจากที่นอนของกระผม”

ท่าน “ใครเขียนล่ะ”

ผู้เล่า “เขียนหลายรูป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ท่านอาจารย์วิริยังค์ เพราะท่านเป็นผู้นำในการเขียน พวกกระผมก็ได้เขียน ท่านวันก็ได้เขียน ผิดถูกขอโอกาสครูบาอาจารย์ กระผมยอมรับผิดทุกอย่าง”

หลังจากท่านฉันจังหันเสร็จ ท่านก็เข้าห้อง ผู้เล่าก็ขึ้นไปปฏิบัติท่าน นำห่อหนังสือขึ้นไปถวาย เป็นเวลาที่ท่านจะต้องพัก แต่ท่านไม่พัก อ่านต่อจนกระทั่งถึงเวลาที่ท่านฉันน้ำชา ผู้เล่าขึ้นไปทำข้อวัตร ท่านก็บอกว่า “เออ ดีเหมือนกันนะ เป็นเทศนาคำย่อ ผู้มีปัญญาพิจารณาได้” ท่านว่าอย่างนั้น

หนังสือมุตโตทัย ที่พิมพ์แจกในงานถวายเพลิงศพของท่านพระอาจารย์มั่นนั้น ก็มีของท่านอาจารย์วิริยังค์เป็นบทนำ ต่อจากนั้นก็เป็นของหลวงตาทองคำเป็นอันดับ ๒ อันดับ ๓ คือ ท่านอาจารย์วัน ท่านทั้งหลายที่ได้อ่านหนังสือมุตโตทัยก็คือ หนังสือที่ท่านพระอาจารย์มั่นได้ตรวจทานแล้ว เป็นของที่ท่านยอมรับแล้วว่า ดีอยู่ เพราะว่าเทศนาเป็นคำย่อ แต่ผู้มีปัญญาก็พิจารณาได้

ท่านมักจะพูดเสมอเรื่องค่าของศูนย์ ท่านเปรียบถึงพระนิพพาน นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ พระนิพพานเป็นสูญอย่างยิ่ง “ศูนย์ทำไมจึงมีอยู่ ทองคำ ลองเขียนดูซิ” ๑-๒-๓-๔-๕-๖-๗-๘-๙-๐ ธรรมดาเลขนั้นมีอยู่ ๙ ตัวใช่ไหมที่มันนับได้ บวกลบคูณหารกันได้ ส่วนเลขศูนย์มันอ่านได้ มันมีอยู่แต่ไม่มีค่า ฉะนั้นเอาไปบวกลบคูณหารกับเลข ๑ ถึง ๙ ก็ไม่ทำให้เลขจำนวนนั้นมีค่าสูงขึ้น แต่ศูนย์ก็ยังมีอยู่ เมื่อนำไปต่อกับเลขอื่น เช่น ๑ ก็จะกลายเป็น ๑๐ แต่ศูนย์อยู่ตามลำพังก็จะไม่มีค่า

เปรียบเหมือนฐิติภูตัง คือ จิตดวงเดิมที่มีอยู่ เป็นอยู่ แต่ถูกห่อหุ้มด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน เมื่อชำระด้วย ศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว เป็นฐิติญาณัง จิตคือผู้รู้ว่าสูญจากอาสวะ และรู้ว่าสูญจากอาสวะก็เป็นบรมสุข พ้นจากทุกข์ทั้งปวง ดังคำว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง เป็นคู่กันกับ นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ

พระพุทธเจ้ารวมทั้งพระสาวก หลายหมื่นหลายแสนองค์ เข้าสู่พระนิพพานเพราะพระนิพพานไม่มีที่เต็ม ว่างอยู่ตลอด อย่ากลัวพระนิพพานเต็ม พวกเราจงเร่งไปสู่พระนิพพานเหมือนกับพระพุทธเจ้าเถิด พระนิพพานไม่เต็มหรอก ท่านว่าอย่างงั้น

มีแต่พวกขี้เกียจ กุสิโต หีน วิริโย ท่านพูดเป็นภาษาบาลี ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย ไม่มีที่สิ้นสุด แก้ให้ตกเน้อ แก้บ่ตกคาพกเจ้าไว้ แต่บ่ได้แขวนคอนำต่องแต่ง แม้บ่พ้นคาก้นย่างยาย คาย่างยาย เวียนตายเวียนเกิด เวียนเอากำเนิดในภพทั้งสาม ภพทั้งสามเป็นเฮือนเจ้าอยู่ ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย บ่มีที่สิ้นสุด เหมือนกับศัพท์บาลีว่า สงฺสาเร อนมตฺตคฺเค ในสงสารมีเบื้องต้นและที่สุด อันใครๆ ก็ตามไปรู้ไม่ได้แล้ว นอกจากพระสัพพัญญูเจ้าเท่านั้นจะรู้ได้ เพราะอาศัยอะไร เพราะอาศัยอวิชชา ตัวนี้แหละหุ้มห่อ จึงไม่รู้

เวลาท่านมีอารมณ์สนุกๆ ก็จะพูดกับพวกเรา พูดภาษาพื้นๆ ธรรมดา ไม่ใช่ว่าท่านจะพูดพร่ำเพรื่อ บางทีท่านอาจจะพิจารณาว่า บุคคล สถานที่ วัตถุ นั่นล่ะ เรายังไม่ได้พูดให้ใครฟัง ท่านก็จะถือโอกาสจังหวะเวลานั้นพูด เกี่ยวกับพระแก้วมรกตเอย เกี่ยวกับพระนครปฐมเอย อะไรทำนองนี้


รูปภาพ
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

รูปภาพ
พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส)

รูปภาพ
พระอาจารย์วัน อุตฺตโม

รูปภาพ
พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร

รูปภาพ

รูปภาพ
กุฏิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต (ในปัจจุบัน)
ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส)


กุฏิหลวงปู่มั่นหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๙
โดยการร่วมแรงร่วมใจของศรัทธาญาติโยมชาวบ้านหนองผือ
เพื่อน้อมถวายบูชาแด่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ใหญ่หลวงปู่มั่น
ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็น
“โบราณสถาน” เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒


รูปภาพ
กุฏิหลวงปู่วัน อุตฺตโม (ในปัจจุบัน)
ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส)


รูปภาพ
กุฏิหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร (ในปัจจุบัน)
ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส)


รูปภาพ
บรรดาคณะศิษยานุศิษย์พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ที่มาในงาน
ประชุมเพลิงสรีระสังขาร “ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ”
เมื่อวันอังคารที่ ๓๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๓
ณ วัดป่าสุทธาวาส บ้านคำสะอาด ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร

:b49: มุตโตทัย พระธรรมเทศนาของหลวงปู่มั่น (ฉบับสมบูรณ์)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=80&t=58492

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2021, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


หนังสือในสำนักท่านพระอาจารย์มั่น

รูปภาพ
ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล.................................ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
รูปภาพ

ท่านพระอาจารย์ (ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต) คงจะมีเหตุผลกลใดสักอย่าง จึงยอมรับนับถือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นกรณีพิเศษ แบบแผนขนบธรรมเนียม บทสวดพระปริตรและปาฐะต่างๆ รวมทั้งพระราชนิพนธ์ พระนิพนธ์ของทั้งสองพระองค์นี้ ไม่ว่าจะเป็นปาฐะและคาถาต่างๆ ท่านจำได้หมด ทั้งบาลีทั้งแปล อธิบายสลับกับพระธรรมเทศนาได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง จะเป็นโมกขปายคาถา และจตุรารักขกัมมัฏฐานก็ดี นับเป็นธรรมเทศนาประจำทีเดียว รวมทั้งขนบธรรมเนียมต่างๆ ท่านมักอ้างเสมอว่า “แบบพระจอมฯ แบบพระจอมฯ” ทำนองนี้แล

ด้วยเหตุนี้ท่านจึงมีกฎบังคับไว้ว่า ผู้จะอยู่ศึกษากับ
ท่านพระอาจารย์ทั้งสอง (ท่านพระอาจารย์เสาร์-ท่านพระอาจารย์มั่น - dhammajak.net) ต้องท่องนวโกวาท ๗ ตำนาน ๑๒ ตำนาน และปาฏิโมกข์ให้ได้ อย่างช้าให้เวลา ๓ ปี ถ้าไม่ได้ ไม่ให้อยู่ร่วมสำนัก ส่วนหนังสืออ่านประกอบนั้น วินัยมุขเล่ม ๑, ๒, ๓ และพุทธประวัติเล่ม ๑, ๒, ๓ นอกจากนี้ห้ามอ่าน ถึงขนาดนั้น ท่านว่าหากได้อย่างว่า จะอยู่ในศาสนาก็พอจะรักษาตัวได้ ถึงจะไม่ได้ศึกษามาก ก็รักษาตนคุ้มแล้ว

ตัวอย่างเช่น พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ เป็นพระมหานิกาย มาขอศึกษาข้อปฏิบัติและขอญัตติกรรมเป็นพระธรรมยุต ท่านว่า ให้ท่องปาฏิโมกข์ให้ได้จึงจะญัตติให้

ท่านอาจารย์กงมาอ่านหนังสือไม่ออก เพราะไม่ได้เข้าโรงเรียน จึงเรียนปาฏิโมกข์ปากต่อปาก คำต่อคำ และหัดอ่านพร้อมกันไปด้วย ใช้เวลาถึง ๓ ปีจึงสวดได้ และอ่านหนังสือออก จึงได้มาญัตติที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี โดยท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๗๑

รูปที่สองคือ พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม ท่านท่องปาฏิโมกข์ ๘ ปีจึงสวดได้ และอีกรูปหนึ่งคือ พระอาจารย์คำพอง ติสฺโส ก็อ่านหนังสือไม่ออก เพราะไม่ได้เข้าโรงเรียน แต่ธรรมเทศนาของท่านไพเราะขนาดไหน ผู้เล่า (หลวงตาทองคำ จารุวณฺโณ) เคยอยู่ด้วยกันกับท่านที่วัดป่าบ้านหนองผือ

ท่านทั้ง ๓ รูปนี้เป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่นซึ่งผู้เล่าขอถวายนามว่า “วีรบุรุษ” เหมือนครั้งพุทธกาล พระจักขุบาลเป็นวีรบุรุษในยุคนั้น


แม้ในเรื่องมังสวิรัติ ๑๐ อย่าง ท่านพระอาจารย์กล่าวว่า ทำไมพระพุทธเจ้าจึงทรงห้าม ท่านอธิบายให้ฟังว่า เนื้อมนุษย์ไม่เป็นค่านิยม ผู้รู้ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ทรงติเตียนเพราะความเป็นมนุษย์มีค่ามาก เกิดกินกันขึ้น มหันตภัยก็เกิดขึ้นแก่โลกไม่สิ้นสุด

สัตว์นอกจากนี้เป็นสัตว์อันตราย สมัยก่อนมีมาก พระออกธุดงค์บริโภคเนื้อสัตว์อันตรายเหล่านี้ กลิ่นของสัตว์จะออกจากร่างกายผู้บริโภค เช่น ฉันเนื้องู กลิ่นงูก็ออก งูได้กลิ่นก็จะเลื้อยมาหา นึกว่าพวกเดียวกัน พอมาถึงไม่ใช่พวกเดียวกัน ก็ฉกกัดเอาเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ตั้งใจเจริญสมณธรรมเลยไม่ได้อะไรตายเสียก่อน พระพุทธเจ้าจึงทรงห้าม


รูปภาพ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


รูปภาพ
พระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ)

รูปภาพ
พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม

รูปภาพ
พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ

รูปภาพ
พระอาจารย์คำพอง ติสฺโส

รูปภาพ
หลวงตาทองคำ จารุวณฺโณ

รูปภาพ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ทรงฉลองพระองค์ด้วยพระภูษาขาว ทรงสมาทานอุโบสถศีล

ทรงประทานพระธรรมเทศนาแก่ข้าราชบริพารฝ่ายในเนื่องในวันธรรมสวนะ
ในวงวิชาการเชื่อกันว่าภาพถ่ายภาพนี้
เป็นภาพเดี่ยวที่ทรงฉายเป็นภาพสุดท้ายในพระชนมชีพ
ทรงฉายเมื่อปีเถาะ พุทธศักราช ๒๔๑๐
สันนิษฐานว่าถ่ายโดย พระยากษาปณ์กิจโกศล (โหมด อมาตยกุล)
เจ้ากรมกษาปณ์สิทธิการ ชาวไทยคนแรกที่ถ่ายรูปเป็น
(คำอธิบายประกอบภาพโดย : อาจารย์ชลทัต สุขสำราญ)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2021, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เทศน์ซ้ำเฒ่า

รูปภาพ
พระอาจารย์เทสก์ เทสฺรํสี วัดหินหมากเป้ง
รูปภาพ

ลักษณะเสียงของท่าน (ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต) ขณะเทศน์อบรมพระเณรนั้น จะทุ้มก็ไม่ใช่ จะแหลมก็ไม่เชิง อยู่ในระหว่างกลางทุ้มกับแหลม เสียงดังฟังชัด เสียงกังวาน เสียงชัดเจน ไม่มีแหบ ไม่มีเครือ ชั่วโมงแรกนะไม่เท่าไรธรรมดาๆ ๑ ชั่วโมงผ่านไปเสียงจะดังขึ้น ๒ ชั่วโมงผ่านไปเสียงจะดังขึ้นอีก ถ้าติดต่อกัน ๓-๔ ชั่วโมงแล้วเหมือนกับติดไมค์ อันนี้เป็นเรื่องจริง จากวัดป่าบ้านหนองผือจรดบ้านหนองผือโน่น เรียกว่าบ้านโยมพุฒนั่นนะ ลุกมานั่งฟังธรรมดา เหมือนท่านมาพูดใกล้ๆ ชาวบ้านหนองผือที่นอนแล้ว ก็ลุกขึ้นมานั่งฟังหมด ไม่จำเป็นต้องมาที่วัด อันนี้คือชั่วโมงที่ ๒ ขึ้นไป

ปกติท่านจะเทศน์ ๒ ชั่วโมง ในชั่วโมงที่ ๒ นั่นล่ะ ชาวบ้านได้ยินแล้ว ลุกมานั่งฟังแล้ว เทศน์กรณีพิเศษ เช่น เดือน ๓ เพ็ญ เดือน ๖ เพ็ญ วันเข้าพรรษา ออกพรรษา อย่างน้อยก็ประมาณ ๔ ชั่วโมงถึง ๖ ชั่วโมง จะดังขึ้นเรื่อยๆ ถึง ๖ ชั่วโมงยิ่งดัง

พระอาจารย์เทสก์ (พระอาจารย์เทสก์ เทสฺรํสี) ได้เคยเล่าให้ฟังว่า สมัยท่านพระอาจารย์มั่นอยู่ที่เชียงใหม่ เทศน์ที่วัดเจดีย์หลวง เทศน์ตั้งแต่ ๑ ทุ่ม ถึง ๑๑ นาฬิกาวันใหม่ ลงจากธรรมาสน์ท่านจึงจะมาฉันจังหัน นั่นเป็นกี่ชั่วโมง ตื่นเช้าขึ้นมาท่านยังเทศน์อยู่ เสียงมันดัง


ทีนี้พวกข้าราชการ แม่บ้านหิ้วตะกร้าไปตลาดตอนเช้า พอได้ยินเสียงท่านเทศน์คิดว่าพระทะเลาะกัน พากันเข้าไปก็เห็นท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์ เลยอยู่ฟังเทศน์ลืมว่าจะไปตลาดและต้องกลับไปทำกับข้าวให้ลูกผัวกิน ลูกผัวตามมาเห็นอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงฟังเทศน์อยู่ ก็เลยบอกว่าจะไปจ่ายตลาดเอง แล้วก็จะเลยไปทำงาน

ผู้ที่จะไปขายของก็เหมือนกัน ผ่านมาพอได้ยินเสียง คิดว่าพระทะเลาะกัน ก็พากันเข้าไป ไม่ต้องขายของวางตะกร้าแล้วก็ฟังเทศน์ต่อ จนกระทั่งท่านเทศน์จบจึงไป พระอาจารย์เทสก์พูดให้ฟังอย่างนี้

ท่านเทศน์นานที่สุดคือ เทศน์ปีสุดท้าย เป็นวันมาฆบูชา หลังจากเวียนเทียนเสร็จแล้ว ท่านก็เริ่มเทศน์ มีชาวบ้านหนองผือมานั่งฟังอยู่ข้างล่าง มีทั้งผู้หญิงผู้ชาย ลูกเล็กเด็กแดงอุ้มนอนอยู่ที่ตัก เด็กก็ไม่ร้อง ปรากฏว่ามีคนอุ้มเด็กกลับไปแค่ ๓ คน นอกนั้นอยู่จนรุ่งถึงจะกลับบ้าน ท่านเทศน์อยู่ตั้งแต่ ๑ ทุ่มจนถึงเช้า อันนี้เป็นความจำของผู้เล่า (หลวงตาทองคำ จารุวณฺโณ)

ท่านพูดว่า เราจะเทศน์แล้วแหละเทศน์ซ้ำเฒ่านะ ต่อจากนี้ไปจะไม่ได้เทศน์นานอย่างนี้อีกแล้ว รู้สึกว่าจะเป็นวันเพ็ญเดือน ๓ พอตกเดือน ๕ ท่านก็เริ่มป่วย มีอาการไอและป่วยมาเรื่อยๆ จนกระทั่งเดือนอ้าย เป็นเวลา ๙ เดือน
(ท่านพระอาจารย์มั่นมรณภาพเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ เวลา ๐๒.๒๓ น. ณ วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร สิริชนมายุรวมได้ ๗๙ ปี ๙ เดือน ๒๑ วัน พรรษา ๕๖ - dhammajak.net)


ปกตินั้นท่านจะเทศน์ตามเหตุการณ์ในพุทธประวัติ ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงรจนา ถ้าเพ็ญเดือน ๖ จะปรารภถึงเรื่องประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ถ้าเพ็ญเดือน ๓ จะปรารภเรื่องการแสดงโอวาทปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป ที่พระเวฬุวัน ตลอดคืนจนสว่าง

ทำไมจะมากมายก่ายกองขนาดนั้น ก็เพราะท่านไม่ได้เล่าเป็นวิชาการ ท่านเล่าให้ละเอียดไปกว่านั้นอีก เรื่องก็เลยยืดยาวไป


เวลาเทศน์ท่านจะลืมตา หมากไม่เคี้ยว บุหรี่ไม่สูบ น้ำไม่ดื่ม ท่านจะเทศน์อย่างเดียว พระเณรก็ลุกหนีไม่ได้ ไม่มีใครลุกหนีเลย ไปปัสสาวะก็ไม่ไป จะไอจะจามก็ไม่มี จะบ้วนน้ำลายก็ไม่มี จะนิ่งเงียบจนเทศน์จบ

:b49: โอวาทปาฏิโมกข์ (อาจารย์วศิน อินทสระ)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=6&t=20317

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2021, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เมตตาชาวภูไท

รูปภาพ
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

รูปภาพ
ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล

รูปภาพ
ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
รูปภาพ

ผู้เล่า (หลวงตาทองคำ จารุวณฺโณ) เคยสังเกตดู ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต จะไม่คลุกคลีด้วยกับบุคคลผู้มักเอาเปรียบ ข่มเหง รังแกสัตว์ โดยเฉพาะพวกฉ้อราษฎร์บังหลวง ถึงไม่มีใครบอกท่านๆ ก็รู้ เข้าไปหา ท่านจะเฉยๆ ไม่ค่อยพูดด้วย ไม่ยินดีต้อนรับ

ส่วนชนต่างชาติต่างภาษา ก็มีพม่าที่ท่านจะยอมรับและเคยไปจำพรรษา ส่วนชาวยุโรปท่านดูจะเมตตาชาวรัสเซียเป็นพิเศษ เพราะเหตุใดก็สุดวิสัยที่จะเดาได้

ส่วนภูมิประเทศที่ไม่สัปปายะแก่ท่าน หากไม่มีความจำเป็นแล้วท่านก็จะไม่ไป เช่น อุบลราชธานี ผู้เล่าได้กล่าวไว้ว่า หลังจากท่านกลับจากลพบุรีสู่กรุงเทพฯ แล้ว ท่านพระอาจารย์ได้สนทนากับท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ (จันทร์ สิริจนฺโท) ว่า มีวาสนาจะสอนหมู่ได้ไหม แล้วท่านก็กลับอุบลฯ ไปยังวัดพระอาจารย์เสาร์ พร้อมด้วยพระอาจารย์สิงห์ และพระมหาปิ่น

ระหว่างเดินธุดงค์รุกขมูลอยู่ถิ่นอุบลฯ ถูกต่อต้านจากชาวบ้านอย่างแรงด้วยวิธีการต่างๆ สารพัด ท่านว่า จึงได้ชวนพระอาจารย์เสาร์มุ่งหน้าสู่มุกดาหาร คำชะอี หนองสูง ถิ่นนี้เป็นที่อยู่ของชนเผ่าภูไท สถานที่สัปปายะเหมาะแก่การแสวงหาวิเวก และชาวบ้านก็ให้ความอุปถัมภ์บำรุงด้วยศรัทธาและเลื่อมใส ตั้งแต่เบื้องต้นแห่งชีวิตจนกระทั่งเบื้องปลายแห่งชีวิต ก็ได้อาศัยชนเผ่าภูไทนี้แหละ

บางคนสงสัยได้กราบเรียนถามท่านว่า เหตุใดท่านพระอาจารย์มักอยู่กับพวกภูไท ท่านตอบว่า “เพราะชาวภูไทว่าง่ายสอนง่าย” ศิษย์ของท่านเป็นเผ่าภูไทมีชื่อเสียงหลายรูป เช่น พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์สิม พุทฺธาจาโร เป็นต้น

ท่านได้กลับไปอุบลฯ สองครั้ง ครั้งแรกกลับไปส่งมารดา ก่อนขึ้นไปเชียงใหม่ ครั้งที่สองไปทำฌาปนกิจศพท่านพระอาจารย์เสาร์ หลังจากนั้นก็ไม่เคยไปอีกเลย


:b44: หมายเหตุโดย dhammajak.net : จากหนังสือธรรมประวัติหลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ ผู้มากมีบุญ บันทึกเกี่ยวกับต้นตระกูลภูไท มีความตอนหนึ่งว่า...ท่านพระอาจารย์มั่นเคยบอกว่า ชนเผ่าภูไทสืบเชื้อสายมาจากพระเวสสันดร


รูปภาพ
พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม

รูปภาพ
พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล

รูปภาพ
พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นชาวภูไท ลูกหลานพระเวสสันดร

รูปภาพ
พระอาจารย์สิม พุทฺธาจาโร เป็นชาวภูไท ลูกหลานพระเวสสันดร

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2021, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


onion

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2021, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ความอัศจรรย์ของท่านพระอาจารย์

รูปภาพ
ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
รูปภาพ

เมื่อครั้งพุทธกาล ขณะพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่พุทธบริษัททั้งสี่นั้น ทุกคนจะเงียบ ตั้งใจฟัง โดยแต่ละคนสำคัญในใจว่า พระพุทธเจ้าเทศน์ให้เราฟังจำเพาะใช้ภาษาของเรา อันนี้เป็นความรู้สึกของพุทธบริษัทเหล่านั้น ซึ่งมีหลายชาติหลายภาษา ท่านพระอาจารย์มั่นก็เช่นเดียวกัน ดังจะเล่าต่อไปนี้

เมื่อท่านพระอาจารย์ (ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต) จำพรรษาอยู่วัดป่าบ้านหนองผือนั้น มีคนไทยเชื้อสายเวียดนามคนหนึ่ง ชื่อว่า อัมพร พงษ์เจริญ เป็นบุรุษพยาบาล ประจำโรงพยาบาลแขวงคำม่วน (ท่าแขก) ประเทศลาว เป็นชาวญวนอพยพมาอยู่พังโคน ได้เปิดคลีนิครักษาคนไข้ เคยมารักษาท่านพระอาจารย์ เกิดความเลื่อมใส ฟังเทศน์ภาษาลาว และภาษาไทยได้ชัดเจน

วันหนึ่งเธอพาลูกน้องมา ๔-๕ คน เพิ่งอพยพมาใหม่ พูดภาษาลาวไทยไม่เป็น มานั่งฟังเทศน์ด้วย

หลังฟังเทศน์จบก็กราบลากลับ ท่านพระอาจารย์พัก เธอและคณะนั่งพักอยู่ ผู้เล่า (หลวงตาทองคำ จารุวณฺโณ) เดินไปหา เธอยกมือไหว้พร้อมคณะตามธรรมเนียมไทย

เธอถามว่า “ท่านพระอาจารย์เป็นเวียดนามหรือเป็นไทย”

ผู้เล่า “ไทยแท้ร้อยเปอร์เซ็นต์”

ถาม “เอ๊ะ ทำไมท่านพูดภาษาเวียดนามได้”

ผู้เล่า “ไม่ทราบ ได้ยินแต่ท่านพูดไทย”

“ก็ท่านเทศน์เมื่อกี้นี้ เทศน์ภาษาเวียดนามทั้งนั้น พวกผมกำลังพูดกันเรื่องนี้อยู่ว่า รูปร่างหน้าตาผิวพรรณก็เหมือนเวียดนาม กำลังสนทนากันอยู่ว่า ท่านเป็นไทยหรือเวียดนาม”

ผู้เล่า “เราก็ฟังอยู่ด้วยกัน ท่านไม่ได้เทศน์ภาษาเวียดนาม เทศน์ภาษาไทย”

“เอ แปลกนะ ผู้รู้ธรรมมีอัศจรรย์หลายอย่าง” เธอพูด


อีกเรื่องหนึ่ง ที่วัดป่าบ้านหนองผือเหมือนกัน โยมเง็กหงษ์ เป็นชาวจีนมาอยู่เมืองไทย พูดไทยได้สะเปะสะปะ มาฟังเทศน์พร้อมคณะชาวจีนเหมือนกัน ภาษาใช้อยู่กินธรรมดาก็สะเปะสะปะ ภาษาธรรมะยิ่งแล้วใหญ่ แต่ชอบทำบุญตามประเพณีไทย ฤดูแล้งมาปฏิบัติธรรมถือศีลพร้อมคณะ กับท่านพระอาจารย์ทุกปี

วันหนึ่งหลังจากฟังเทศน์แล้ว ไปนั่งสนทนากับพวกที่มาด้วยกัน เขาพูดภาษาจีนสนทนาเรื่องธรรมะ ที่ท่านพระอาจารย์เทศน์ ผู้เล่าก็เดินไปพบ นั่ง ณ ที่ควรแล้ว

โยมก็กราบ ถามว่า “พูดกันเรื่องเทศน์พระอาจารย์ เพราะท่านพูดจีน เทศน์ภาษาจีน ฟังเข้าใจดี ฟังพระในกรุงเทพฯ เทศน์ภาษาไทยไม่ค่อยเข้าใจ เพิ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่า ท่านพระอาจารย์มั่นเป็นคนจีน รูปร่างผิวพรรณหน้าตาก็จีนทั้งนั้น”


ผู้เล่าจะตอบปฏิเสธก็เกรงว่าเขาจะหมดศรัทธา “แต่ท่านเทศน์พวกอาตมา พระเณรโยมชาวบ้านเทศน์ไทย”

“นั่นนา ภาษาไทยก็เก่ง ภาษาจีนก็เก่ง นี้คือ ผู้ปฏิบัติรู้แท้ เป็นเซียนองค์หนึ่งได้” คือ คำพูดของโยมเง็กหงษ์

อยากรู้ประวัติของโยมคนนี้ ถามได้ที่วัดอโศการาม ได้ยินว่าท่านไปเป็นชี หมดอายุที่นั้น

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2021, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


การต้อนรับแขกเทวา

รูปภาพ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

รูปภาพ

เรื่องนี้เกิดขึ้นประมาณกลางฤดูหนาวของปี พ.ศ. ๒๔๙๐

ในคืนหนึ่ง เวลาประมาณหนึ่งถึงสองทุ่ม เป็นเวลาที่ท่านพระอาจารย์ (ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต) กำลังให้โอวาทแก่สานุศิษย์ มีทั้งเก่าและใหม่ ขณะให้โอวาทอยู่ ท่านหยุดไปครู่หนึ่ง กลั้นใจอึดหนึ่ง ก้มหน้านิดๆ พอเงยหน้าขึ้นมาก็โบกมือ บอกว่า “เลิกกัน” ปกติแบบนี้มีไม่บ่อยนัก ศิษย์ก็งง นั่งเฉยอยู่ ท่านย้ำอีก “บอกเลิกกันไม่รู้ภาษาหรือ” ไม่มีใครคิดอะไร บอกเลิกก็เลิก ท่านสั่งผู้เล่า (หลวงตาทองคำ จารุวณฺโณ) เชิงบังคับให้รีบเก็บของเข้าห้อง เสร็จแล้วให้กลับกุฏิ มีภิกษุบางรูปเฉลียวใจไม่ยอมนอนพัก รอที่กุฏิของตนพอสมควรแล้ว ย้อนกลับมามองที่กุฏิของท่านพระอาจารย์ เห็นกุฏิของท่านสว่างไสวไปหมด คิดว่าไฟไหม้กุฏิ แต่ดูไปแล้วไม่ใช่แสงไฟ เป็นแสงใสนวลๆ คล้ายปุยสำลี แต่ใส ดูตั้งนานไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็เลยกลับกุฏิ

รุ่งเช้าขึ้นมา ท่านลุกขึ้นกระทำสรีรกิจตามปกติ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ตกค่ำถึงเวลาให้โอวาท วันนั้นท่านแสดงเรื่อง ทุกกะ คือ หมวด ๒ ว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ให้ชื่อว่า โลกปาลธรรม ธรรมอันคุ้มครองโลก ในนวโกวาท คำว่า นวโกวาท ท่านแปลให้ฟังว่า คือ โอวาทสอนพระใหม่ พระเก่าก็สอนได้ ไม่ใช่ว่าสอนแต่พระใหม่

วันนั้นดูท่านอธิบายเรื่องนี้เต็มที่ถึง ๒ ชั่วโมงเต็ม มีเหตุผลอุปมาอุปไมย โดยยกเอาท่านพระมหากัสสปะเป็นอุทาหรณ์ ที่พระพุทธเจ้าประทานอุปสมทแก่พระมหากัปปะเป็นพิเศษที่ว่า ดูก่อนกัสสปะ เธอจงเข้าไปตั้งความละอายและความเกรงกลัว (เคารพ) ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งเก่าและใหม่ เป็นตัวอย่าง ยกมาเป็นนิทัสสนะอุทาหรณ์ ตอนสุดท้ายท่านแสดงอานิสงส์ว่า ผู้ตั้งอยู่ในหิริและโอตตัปปะ เป็นที่รักของมนุษย์ เทพ พรหม ทั้งหลาย และทำให้มีอายุยืนด้วย เหมือนท่านพระมหากัสสปะ พอได้เวลาท่านก็หยุดพัก

คืนนั้นผู้เข้าเวร มีผู้เล่า ท่านวัน (พระอาจารย์วัน อุตฺตโม) ท่านหล้า (พระอาจารย์หล้า เขมปตฺโต) ท่านเลยเมตตาเล่าเพิ่มเติมให้แก่พวกเราฟังอีกว่า เมื่อคืนวานนี้พอเทศน์ให้หมู่ฟังไปหน่อยหนึ่ง มีเทพตนหนึ่ง ชื่อปัญจสิกขะ มาบอกว่า “วันนี้จะมีเทพจากชั้นดาวดึงส์มาฟังธรรมจากท่าน ขอนิมนต์ท่านเตรียมตัวรับแขกเทวา” พอกำหนดได้ก็ไล่หมู่หนีทันที เพราะพวกนี้เขาจะมาตามกำหนด ถ้าเลยกำหนดเขาจะไม่รอ ท่านว่า


เทวาพวกนี้มีประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ตน เพิ่งจากมนุษย์โลกจากเมืองไทยไป เริ่มแต่ท่านพระอาจารย์มาพักที่บ้านหนองผือนี้ ผู้เล่าสงสัยว่า วัดป่าบ้านหนองผือก็แค่นี้ มีแต่ป่า เทวดา ๕๐๐,๐๐๐ ตนจะอยู่อย่างไร คนแค่ร้อยสองร้อยก็ไม่มีที่จะอยู่แล้ว ท่านพูดว่า เทวดาพวกนี้มีกายเป็นทิพย์ ท่านยังพูดเป็นภาษาบาลีในธรรมบทว่า “อนฺตลิกฺเข” แปลด้วยว่า ในห้วงแห่งจักรวาลมีอากาศมีช่องว่างเป็นที่ซึ่งจะเห็นรูปทั้งหลาย ปรากฏว่ารูปแผ่นดิน ต้นไม้ ภูเขาไม่มีทั้งสิ้น มีเทวดาเท่าไรบรรจุได้หมด ไม่มีคำว่าเต็ม ท่านว่า

ท่านพระอาจารย์กำหนดถามว่า “พวกท่านต้องการฟังธรรมอะไรและมีวัตถุประสงค์อะไร” เขาตอบว่า “อยากฟังสุกฺกธมฺมสูตร มีวัตถุประสงค์คือ เทพบางพวกทำบุญน้อย ได้ฟังสุกฺกธมฺมสูตรจะได้เสวยทิพยสมบัตินานๆ” ท่านเฉลียวใจว่า อะไรคือสุกฺกธมฺมสูตร “พระสูตรนี้มีน้อยองค์นักที่จะได้แสดงให้เทพฟัง เว้นพระสัพพัญญูและพระอัครสาวกเท่านั้น” พวกเทพว่า ท่านกำหนดพิจารณาก็ได้ความปรากฏขึ้นว่า

หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา สุกฺกธมฺมสมาหิตา สนฺโต สปฺปุริสา โลเก เทวธมฺมาติ วุจฺจเร ท่านอุทานในใจว่า อ๋อ เทวธรรมนี้เอง คือ สุกฺกธมฺมสูตรของเทวา

พอเริ่มจะอธิบาย ก็ได้ยินเสียงแว่วมาว่า “เดี๋ยวก่อน ข้าพเจ้าจะเตือนพวกเทพพวกนี้ก่อน เพราะเขาไม่เคยมาฟัง ยังไม่รู้ธรรมเนียม” ท่านกำหนดเห็น
พระนางสุชาดานั่งเป็นประธาน ส่วนเสียงที่ปรากฏนั้นเป็นเสียงของท้าวสักกะที่ดูแลอยู่เบื้องหลัง พอได้เวลา ก็ได้ยินเสียงแว่วมาอีกว่า “พร้อมแล้ว”

ท่านก็เริ่มเทศน์อธิบาย ด้วยการกำหนดจิตพิจารณาเนื้อหาสาระแห่งธรรมเพียงพอแล้ว หากพวกเทพเข้าใจเขาจะให้เสียงสาธุการ ถ้าไม่เข้าใจที่เราอธิบาย เขาจะไม่ยอม ต้องว่ากันใหม่ สอนเทพสบาย ไม่ยากเหมือนสอนมนุษย์ มนุษย์ต้องใช้เสียงโวๆ เวๆ ลั่นไปหมด พูดมากก็เหนื่อย และสอนบ่อยปานนั้นยังเข้าใจยาก สอนเทพสบายกว่า ท่านว่าอย่างนั้น


รูปภาพ
พระอาจารย์วัน อุตฺตโม

รูปภาพ
พระอาจารย์หล้า เขมปตฺโต

:b49: นางสุชาดา เสนิยธิดา ผู้ถึงสรณะเป็นคนแรก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=71&t=50297

:b49: ประวัติและเรื่องราว “ท้าวสักกเทวราช (พระอินทร์)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=45527

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2021, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เทวดาป้องกันอากาศหนาวให้

รูปภาพ
พระครูอุดมธรรมคุณ (หลวงปู่มหาทองสุก สุจิตฺโต)
รูปภาพ

ท่าน (ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต) เล่าว่า ปีนั้นท่านพักอยู่บนดอยมูเซอ พร้อมด้วยพระมหาทองสุก (หลวงปู่มหาทองสุก สุจิตฺโต) อากาศหนาวมากเป็นพิเศษกว่าทุกปี หากมีเครื่องวัดก็คงจะติดลบหลายองศา ขนาดชาวบ้านไม่ยอมหนีจากกองไฟตลอดวันตลอดคืน

ทั้ง ๒ ท่านก็รู้สึกหนาวมาก ติดไฟก็ไม่ค่อยจะติด น้ำค้างแข็งเป็นน้ำแข็งหมด เอาละตัดสินใจจะหนาวตายวันนี้ก็ยอม กลับขึ้นไปกุฏิ ท่านไหว้พระสวดมนต์เสร็จเข้าสมาธิทันที พอจิตสงบ ท่านเห็นบุคคลหนึ่งพร้อมบริวาร ๔ คน ผู้เป็นหัวหน้าแต่งตัวแบบกษัตริย์ ทรงผ้าสีแดง มาชี้บอกให้บริวารกางผ้าม่านให้ท่านทั้ง ๔ ทิศ ทั้งข้างบนข้างล่าง

จึงกำหนดพิจารณาว่าเป็นใครนั่น แต่ไม่ได้ถามพระยาองค์นั้น เพราะเห็นกำลังสาละวนอยู่กับการกางผ้าม่าน รู้ในใจขึ้นมาว่า เป็นท้าวเวสสุวรรณ มาป้องกันอากาศหนาวให้ โดยใช้ผ้าม่านสีแดงกางกั้นไว้ มีความอบอุ่นพอดีๆ เทวดาเหล่านั้นก็ไปกางถวายพระมหาทองสุกด้วย พอกางเสร็จก็ไป แปลกไม่บอกไม่ลาไม่ไหว้ ทำธุระเสร็จแล้วก็หายไป ไม่เหมือนเทพองค์อื่นๆ เวลามาหามีการกล่าวขานกัน แต่เทพนี้มาแปลก ท่านว่า


อาการของม่านเวลาจะไปบิณฑบาตหรือยืน เดิน นั่ง นอน ปรากฏว่าจะกางกั้นไว้ไม่กว้างไม่แคบพอดีๆ ตื่นเช้าถามพระมหาทองสุกว่า “หนาวไหม” “ไม่หนาว” แต่ท่านจะรู้ว่ามีม่านกั้นหรือเปล่าไม่ได้ถาม แต่ตัวท่านพระอาจารย์เห็นม่านกั้นพระมหาทองสุกอยู่ พอไปบิณฑบาต ชาวเขาร้องทักว่า “ตุ๊เจ้าบ่หนาวก๊าๆ” ตลอดทาง

ท่านว่า ม่านนั้นค่อยๆ จางไป พร้อมกับอากาศค่อยอุ่นขึ้น

จนบัดนี้ก็ไม่เคยเห็นท้าวเวสสุวรรณอีก

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2021, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เหตุการณ์ครั้งสงครามโลกครั้งที่ ๒

รูปภาพ
รูปภาพ

ท่านพระอาจารย์ (ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต) เล่าว่า คราวนั้นท่านพักอยู่ดอยอะไรจำชื่อไม่ได้ แต่เป็นชาวลีซอ ท่านมิได้สนใจเรื่องภายนอก มีแต่พิจารณาธรรมภายใน

เช้าวันหนึ่งไปบิณฑบาต สังเกตเห็นชาวบ้านจับกลุ่มสนทนากัน มีท่าทางตื่นเต้น ฟังไม่ค่อยรู้ภาษา จำได้แต่ว่า ยาปาน ยาปาน พอกลับถึงวัด ท่านเลยถามเป็นภาษาคำเมืองว่า “เขาพูดอะไรกัน” ได้ความว่า ทหารยาปาน (ญี่ปุ่น) บุกขึ้นประเทศไทย ที่เมืองสงขลา การรบได้เป็นไปอย่างหนักหน่วง มีแม่ค้าที่ขายของเป็นประจำในตอนเช้าเข้าร่วมรบด้วย มีหัวหน้าชื่อนางสาวกอบกุล พร้อมนักรบแม่ลูกอ่อน มีทั้งแม่ลูกหนึ่งลูกสอง ท่านได้ฟังแล้วก็ยิ้มกับชาวบ้าน ถามว่า “นักรบแม่ลูกอ่อนก็มีด้วยหรือ”


ต่อมาได้มีคำสั่งจากรัฐบาลถึงกองทัพ ให้ทหารไทยหยุดยิง โดยอ้างว่าญี่ปุ่นไม่ต้องการรบกับไทย ขอผ่านเฉยๆ แต่ทหารไทยประจำแนวหน้าพร้อมนักรบแม่ลูกอ่อนก็ไม่หยุดยิง ไม่ถอย ทหารญี่ปุ่นขึ้นบกไม่ได้ ตายเขียวไปทั้งทะเล ว่าอย่างนั้น จนรัฐบาลต้องส่งกองทหารอื่นเข้าไป สั่งให้ทหารญี่ปุ่นหยุดยิง ขอสับเปลี่ยนกองทหาร ทัพแนวหน้าและนักรบแม่ลูกอ่อน จึงได้หยุดยิงถอยเข้ากรมกอง ฝ่ายกองทัพญี่ปุ่นจึงขึ้นบกได้

ท่านก็ไม่ได้ถือเอาเป็นอารมณ์ คิดว่าเป็นกรรมของสัตว์ เจริญสมณธรรมตามปกติ วันรุ่งขึ้นพอจวนจะสว่าง ท่านวิตกขึ้นว่า “ชะตากรรมประเทศไทยจะเป็นอย่างไรกันหนอ”

ปรากฏนิมิตว่า

“ประเทศไทยคล้ายภูเขาสูง บนยอดมีธงไทย ๓ สีปลิวสะบัดอยู่ และมีพระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่เหนือธงไทย มองดูตีนเขาลูกนั้น มีธงชาติต่างๆ ปักล้อมรอบเป็นแถวๆ”

ท่านพิจารณาได้ความว่า “ประเทศไทยไม่เป็นอะไรมาก นอกจากผู้มีกรรมเท่านั้น และต่อไปนานาประเทศจะยอมรับนับถือ เพราะประเทศไทยพระพุทธเจ้าสอนไม่ให้เบียดเบียน รังแกข่มเหงเพื่อนมนุษย์และสัตว์
และประเทศไทยก็ไม่เคยข่มเหงประเทศใด นอกจากป้องกันตัวเท่านั้น ชาติต่างๆ จึงยอมรับนับถือเป็นกัลยาณมิตร”


อีกคราวหนึ่งท่านพักที่ดอยมูเซอ วันหนึ่งพระสยามเทวาธิราช พร้อมคณะเทพบริวารได้พากันมากราบนมัสการท่านพระอาจารย์ ท่านกำลังเดินจงกรมอยู่ พอรายงานตัวเสร็จ ท่านถามวัตถุประสงค์

พระสยามเทวาธิราชตอบว่า “เวลานี้ฝ่ายสัมพันธมิตรได้มาทิ้งระเบิดที่กรุงเทพฯ อย่างหนักหน่วง พวกข้าพเจ้าป้องกันเต็มที่”

ท่านถามว่า “มีคนบาดเจ็บ ล้มตายไหม”

ตอบ “มี”

ท่านพระอาจารย์ “ทำไมไม่ช่วย”

ตอบ “ช่วยไม่ได้ เพราะเขามีกรรมเวรกับฝ่ายข้าศึก จะช่วยได้แต่ผู้ไม่มีกรรม สถานที่สำคัญและพระพุทธศาสนาเท่านั้น”

ท่านพระอาจารย์ “มานี้ประสงค์อะไร”

เขาบอกว่า “ขอให้ท่านบอกคาถาปัดเป่าลูกระเบิดไม่ให้ตกถูกที่สำคัญด้วย”

ท่านได้ฟังจึงกำหนดพิจารณาหน่อยหนึ่งได้ความว่า

“นโมวิมุตฺตานํ นโมวิมุตฺติยา”

เท่านั้นเอง เทพคณะนั้นก็สาธุการ แล้วลากลับไป ไม่เห็นกลับมาอีกเลย


รูปภาพ

:b44: หมายเหตุโดย dhammajak.net : ๑ ในคณะผู้จัดทำหนังสือ “รำลึกวันวาน” ได้ให้ข้อสังเกตว่า บันทึกของหลวงตาทองคำ จารุวัณโณ ตรงส่วนนี้ น่าจะมีจุดที่ผิดพลาดอยู่บางประการ ไม่ที่ใดก็ที่หนึ่ง เพราะหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านเที่ยวธุดงค์อยู่ในป่าทางเชียงใหม่ ในระยะระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๒-๒๔๘๒ ขณะที่สงครามโลกครั้งที่ ๒ เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๒-๒๔๘๘ แต่ช่วงที่ฝ่ายสัมพันธมิตรได้มาทิ้งระเบิดในกรุงเทพฯ นั้นเป็นช่วงปลายสงคราม ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๔๘๘ ซึ่งเป็นระยะที่หลวงปู่มั่นท่านกลับมาจำพรรษาอยู่ทางสกลนครแล้ว

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2021, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


จอมไทย

รูปภาพ
พระแก้วมรกต ขณะทรงเครื่องฤดูฝน

รูปภาพ
พระแก้วมรกต ขณะทรงเครื่องฤดูหนาว

รูปภาพ
พระแก้วมรกต ขณะทรงเครื่องฤดูร้อน

รูปภาพ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง
รูปภาพ

หลังเทศน์จบ พระไปกันหมดแล้วก่อนจะจำวัด ท่านพระอาจารย์ (ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต) มักมีคำพูดขำขันบ้าง เป็นปริศนาบ้าง เป็นคำของบุคคลสำคัญพูดบ้าง อย่างที่ผู้เล่า (หลวงตาทองคำ จารุวณฺโณ) กำลังจะเล่าเรื่องภาคกลาง ต่อไปนี้

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เคยพูดว่า ภาคกลางคือ “จอมไทย” (ผู้ปฏิบัติใกล้ชิด คิดอยากรู้อยากฟัง ไม่ต้องถามท่านพระอาจารย์ดอก ถวายการนวดไปท่านก็เล่าไป พอจบเรื่องท่านก็หลับ โปรดเข้าใจการสนทนาธรรมด้วยอิริยาบถนอน เป็นการไม่เคารพธรรม แต่ท่านพระอาจารย์กล่าวว่า เวลานอนมิเป็นการสนทนาธรรม เป็นการพูดกันธรรมดาๆ แบบกันเอง ท่านจึงไม่เป็นอาบัติ)


คำว่า “จอม” หมายถึง วัตถุแหลมๆ อยู่บนที่สูง เช่น ยอดพระเจดีย์เป็นต้น “จอมไทย” ก็คือ กรุงเทพมหานครเรานี้เอง ท่านที่เป็นปราชญ์ก็เรียกว่า จอมปราชญ์ มงกุฎฉลองพระมหากษัตริย์ก็เรียก จอมมงกุฎ พระมหากษัตริย์ก็เรียก จอมกษัตริย์ วัดพระแก้วมรกตอีกแห่งหนึ่งเรียกว่า จอมวัด ก็ไม่ผิด

วัดพระแก้วนี้เป็นวัดพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ พระสงฆ์อยู่ไม่ได้ เพราะพระสงฆ์มาจากตระกูลต่างๆ ทั้งหยาบทั้งละเอียด ไม่รู้พุทธอัธยาศัย พุทธธรรมเนียม เพราะพระพุทธเจ้าเป็นทั้งกษัตริย์ และพระพุทธเจ้าผู้สุขุมาลชาติ เมื่อไม่รู้พุทธธรรมเนียม พระสงฆ์ไปอยู่ก็มีแต่บาปกินหัว ท่านว่า

ผู้รู้ทั้งพุทธอัธยาศัยและพุทธธรรมเนียมแล้ว มีพระมหากษัตริย์องค์เดียวเท่านั้น ครั้งพุทธกาลก็มีพระเจ้าพิมพิสารเท่านั้นทรงรู้ แต่จอมไทย คือ พระมหากษัตริย์ทรงรู้มาแล้ว ได้ทรงสร้างวัดถวายจำเพาะพระแก้วเท่านั้น

พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์เป็นหน่อเนื้อพุทธางกูร คือ จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในกาลข้างหน้า ต่างแต่วาสนาบารมีมากน้อยเท่านั้น ท่านจึงทรงรู้พุทธอัธยาศัย เป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า (พระพุทธศาสนา ก็เป็นจอมพุทธศาสนาที่กรุงเทพฯ นี้)

ไทยนั้นเป็นเจ้าขององค์พระแก้วมรกต ผู้ใดย่างกรายเข้าสู่วัดพระแก้วเป็นบุญทุกขณะที่อยู่ในบริเวณวัด แม้แต่ชาวต่างชาติ จะเป็นฝรั่ง อังกฤษ อเมริกา มีโอกาสได้เข้าไปในบริเวณวัดพระแก้ว จะด้วยศรัทธาหรือไม่ก็ตาม ก็ได้เข้ามาสู่วงศ์พระพุทธศาสนาโดยปริยาย หรือจะบังเอิญก็แล้วแต่ สามารถเป็นนิสัยให้เข้ามาได้ พลัดชาติมาเกิดเป็นคนไทย สืบต่อบุญบารมีสำเร็จมรรคผลได้

นี้คือบทสนทนาแบบกันเองของครูและศิษย์


รูปภาพ
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)

:b44: หมายเหตุ : ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ให้สมญานามภาคเหนือว่า “ถิ่นไทยงาม” ต่อมาสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ได้ให้สมญานามภาคอีสานว่า “ถิ่นไทยดี” และสมญานามภาคใต้ว่า “ถิ่นไทยอุดม” ส่วนภาคกลางได้สมญานามว่า “ถิ่นจอมไทย” (จากหนังสือ “ประวัติสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์” หน้า ๔๓-๔๕)

:b49: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19306

:b49: พระเทพฯ ทรงอุปัฏฐากพระแก้วมรกตมาหลายชาติแล้ว
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=25&t=45102

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2021, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ผีเฝ้าหวงกระดูก

รูปภาพ
กุฏิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต (ในปัจจุบัน)
วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส)
ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
กุฏิหลวงปู่มั่นหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๙
โดยการร่วมแรงร่วมใจของศรัทธาญาติโยมชาวบ้านหนองผือ
เพื่อน้อมถวายบูชาแด่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ใหญ่หลวงปู่มั่น
ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็น
“โบราณสถาน” เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒

รูปภาพ

เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ขณะที่ผู้เล่า (หลวงตาทองคำ จารุวณฺโณ) อยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าบ้านหนองผือ

วันหนึ่งนายฟอง ชินบุตร โยมผู้นี้มาวัดประจำ เธอได้แบกไหกระเทียมชนิดปากบาน มีฝาครอบ ขนาดใหญ่เกือบเท่าขวดโหล ข้างในบรรจุกระดูกนำมาถวายท่านพระอาจารย์

โยมฟองเล่าว่า เจ้าของไหเขาให้นำมาถวาย เป็นไหใส่กระดูกคน ดูเหมือนจะเป็นกระดูกเด็ก แต่กระดูกนั้นนำไปฝังดินแล้ว ปากไหบิ่นเพราะถูกผลาญไถขูดเอา โยมฟองได้เล่าถึงเหตุที่ได้ไหนี้มาว่า

นายกู่ พิมพบุตร ผู้เป็นเจ้าของนา ตั้งใจจะไปไถนาตอนเช้าตรู่ ตื่นขึ้นมาเห็นยังมืดอยู่ จึงนอนต่อ พอเคลิ้มหลับไปก็ฝันเห็นว่า มีชายคนหนึ่งเดินเข้ามาหา บอกว่า

“ให้ไปเอาไหกระดูก ๒ ใบ ไปถวายท่านพระอาจารย์มั่นให้ด้วย”

นายกู่ถามว่า “ไหอยู่ที่ไหน”

ชายคนนั้นตอบว่า “ไถนาไปสัก ๓ รอบก็จะเห็น”

ถามว่า “ชื่ออะไร”

ตอบว่า “ชื่อตาเชียงจวง มาเฝ้ากระดูกลูกอยู่ที่นี่ได้ ๕๐๐ ปีแล้ว” วันหนึ่งได้ยินเสียงท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์แว่วๆ มาในเวลากลางคืนว่า เป็นหมามานั่งเฝ้าหวงกระดูก แล้วก็กัดกัน ส่วนเนื้อล่ำๆ อร่อยๆ มนุษย์เอาไปกินหมดแล้ว มัวแต่มานั่งเฝ้าห่วงเฝ้าหวงกระดูกตนเอง กระดูกลูกเมีย ตายแล้วไปเป็นผีเปรต ต้องมานั่งเฝ้ากระดูกถึง ๕๐๐ ปีแล้ว

จึงได้สติระลึกได้ ทั้งๆ ที่อดๆ อยากๆ ผอมโซ ก็ยังพอใจเฝ้าหวง เฝ้าห่วงกระดูกลูกเมียอยู่ กว่าจะรู้ตัวก็เสียเวลาไป ๕๐๐ ปีแล้ว

นี่แหละ เพราะความรัก ความห่วงหาอาลัย เป็นเหตุพาให้ไปเกิดเป็นผีเป็นเปรต เฝ้าสิ่งที่รักและอาลัย จนลืมวันลืมเวลา

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2021, 19:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


พระแก้วมรกต

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2021, 19:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อานุภาพการสวดมนต์และเสียงสาธุการ

รูปภาพ
พระพุทธรูปปางมารวิชัย (ปางชนะมาร, ปางสะดุ้งมาร)
ที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต กราบไหว้บูชาอยู่เป็นประจำ
เมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) จ.สกลนคร
ฐานของพระพุทธรูปเป็นแท่นไม้
ซึ่งท่านพระอาจารย์มั่นเป็นผู้ประกอบขึ้นด้วยองค์ท่านเอง
ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ “อาคารพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ”
วัดป่าสุทธาวาส บ้านคำสะอาด ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร

รูปภาพ

สมัยที่ท่านพระอาจารย์มั่นพักอยู่บนดอยปะหร่องกับพระอาจารย์มนู ตอนเช้าเที่ยวบิณฑบาตให้พรชาวบ้าน พอให้พรเสร็จสุขังพะลังจบ ท่านได้สอนให้ชาวบ้านกล่าวสาธุพร้อมกันด้วยเสียงสูง ท่านเล่าเป็นเชิงตลกว่า มือทั้งสองข้างของเขาชูขึ้นข้างบนเหมือนบั้งไฟจะขึ้นสู่ท้องฟ้าว่างั้น

วันหนึ่ง ท่านนั่งพักในส่วนที่ทำเป็นที่พักกลางวัน มีเทพพวกหนึ่งมาจากเขาจิตรกูฏ อยู่ไหนไม่รู้เราก็ไม่รู้จัก มาถามท่านว่า “เสียง สาธุ สาธุ สาธุอะไร สะเทือนสะท้านทุกวัน พวกเทพทั้งหลายได้ฟัง มีความสุขไปตามๆ กัน” ท่านมาพิจารณาว่าเสียงอะไร ที่ไหน จึงระลึกได้ว่า เสียงสาธุการของชาวบ้านตอนถวายทานนั่นเอง พอรับทราบแล้วพวกเทพก็กล่าวว่า “เขาก็สาธุการด้วย” แล้วทำประทักษิณเวียนขวาลากลับไป ส่วนมากพวกเทพเขาจะทำอย่างนั้น

ท่านเลยมาพิจารณาต่อว่า

พุทธมนต์นั้นใครสวดก็ตาม จะเป็นกิจวัตรของพระสงฆ์เช้าเย็น
หรือชาวพุทธทุกคนสวดพุทธคุณ

หรือระลึกในใจ มีอานุภาพแผ่ไปได้หมื่นจักรวาล

พูดสวดออกเสียงพอฟังได้ มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนจักรวาล

สวดมนต์เช้าเย็นธรรมดา มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนโกฏิจักรวาล

สวดเต็มเสียง สุดกู่ มีอานุภาพแผ่ไปได้อนันตจักรวาล


แม้สัตว์ที่อาศัยอยู่ในสามภพ และที่สุดอเวจีมหานรก ยังได้รับความสุข เมื่อแว่วเสียงพุทธมนต์ผ่านลงไปถึง ชั่วขณะหนึ่งชั่วครู่หนึ่ง (ชั่วช้างพับหูงูแลบลิ้น) ดีกว่าหาความสุขไม่ได้เลยตลอดกาล

นี้คืออานิสงส์ของพระพุทธมนต์ ท่านพระอาจารย์ว่าอย่างนี้

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร