วันเวลาปัจจุบัน 30 มี.ค. 2024, 14:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 129 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2022, 03:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในปุญญสูตรว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าได้กลัวต่อบุญเลยคำว่าบุญนี้ เป็นชื่อแห่งความสุข อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่ารัก น่าพอใจดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เรารู้ด้วยญาณอันวิเศษยิ่ง ซึ่งวิบากอันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่ารัก น่าพอใจ ที่่ตนเสวยแล้วสิ้นกาลนาน แห่งบุญทั้งหลาย ที่ตนได้ทำไว้สิ้นกาลนาน เราเจริญเมตตาจิตตลอด 7 ปี ไม่กลับมาสู่โลกนี้ 7 สังวัฏฏวิวัฏฏกัป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อกัปพินาศอยู่ เราเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อกัปเจริญอยู่ เราเข้าถึงวิมานแห่งพรหมที่ว่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เราเป็นพรหม เป็นมหาพรหมเป็นผู้ยิ่งใหญ่ใครครอบครองไม่ได้ เป็นผู้สามารถเห็นอดีต อนาคต และปัจจุบันโดยแท้ เป็นผู้ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ อยู่ในวิมานพรหมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้เป็นท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมเทพ 36 ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ผู้ประกอบด้วยธรรม เป็นพระธรรมราชามีสมุทรสาครสี่เป็นขอบเขต เป็นผู้ชนะวิเศษแล้ว ถึงความเป็นผู้มั่นคงในชนบทประกอบด้วยรัตนะ 7 ประการหลายร้อยครั้ง จะกล่าวใยถึงความเป็นพระเจ้าประเทศราชเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นดำริอย่างนี้ว่า บัดนี้เราเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะผลวิบากแห่งกรรม 3 ประการของเรา คือ ทาน 1 ทมะ 1 สัญญมะ 1" ในพระสูตรนั้น คำว่า ทาน ทมะ และสัญญมะ เป็นกรรม คำว่า วิบากใดเกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัย นี้เป็นวิบาก ฯ
อนึ่ง ในจูฬกัมมวิภังคสูตรพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรื่องกรรมและวิบากโดยพิสดาร (มัชฌิมนิกายอุปริปัณณาสก์ ข้อ 579) ในที่นี้พึงทราบโดยย่อว่าพระสูตรใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแก่สุภมานพ บุตรโตเทยยพราหมณ์ ในพระสูตรนั้น ธรรมเหล่าใด มีปาณาติบาตเป็นต้น (คือฆ่าสัตว์และงดเว้น) ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความมีอายุสั้นและอายุยืนธรรมเหล่าใด มีการเบียดเบียนเป็นต้น ย่อมเป็นไปพร้อม เพื่อความอาพาธมากและอาพาธน้อย ธรรมเหล่าใด มีการริษยาไม่อยากให้เขาได้ดีเป็นต้น ย่อมเป็นไปพร้อม เพื่อความมีศักดิ์น้อยและมีศักดิ์ใหญ่ ธรรมเหล่าใด มีความโกรธเป็นต้น ย่อมเป็นไปพร้อม เพื่อความเป็นผู้มีผิวพรรณทรามและผิวพรรณดี ธรรมเหล่าใด มีความไม่เคารพเป็นต้น ย่อมเป็นไปพร้อม เพื่่อความเป็นผู้เกิดในตระกูลต่ำและสูง ธรรมเหล่าใด มีความตระหนี่เป็นต้น ย่อมเป็นไปพร้อม เพื่อความเป็นผู้มีโภคะน้อยและมีโภคะมาก ธรรมเหล่าใด มีความไม่พิจารณาเป็นต้น ย่อมเป็นไปพร้อม เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาทรามและมีปัญญามาก พระสูตรนี้ชื่อว่ากรรม ในสุภสูตรนั้น คำว่า ธรรมเหล่าใดมีปาณาติบาตเป็นต้น ฯลฯ ย่อมเป็นไปพร้อม เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาทรามและปัญญามาก นี้เป็นวิบาก ฯ พระสูตรนี้ เป็นกรรมและวิบาก ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2022, 03:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


[122] ในสาสนปัฏฐาน 28 นั้น "กุศลเป็นไฉน"
ในคาถาธรรมบท มัคควรรค ตรัสว่า"บุคคล พึงตามรักษาวาจา พึงสังวรดีแล้วด้วยใจ และไม่พึงกระทำอกุศลด้วยกาย พึงชำระกรรมบถ 3 เหล่านี้ ให้หมดจด พึงยินดีมรรคที่พระฤÂษีประกาศแล้ว" ดังนี้ ข้อนี้ เป็นกุศล ฯ
ในคาถาธรรมบท พราหมณวรรคตรัสว่า"เรากล่าว บุคคลผู้ไม่มีกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจ และผู้สำรวมแล้วจากฐานะทั้ง 3 นั้นว่า เป็นพราหมณ์" ดังนี้ ข้อนี้ เป็นกุศล ฯ
ในมูลสูตรตรัสว่า"ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลมูล 3 อย่างนี้ กุศลมูล 3 เป็นไฉน คืออโลภกุศลมูล 1 อโทสกุศลมูล 1 อโมหกุศลมูล 1 ดูกรภิกษุทั้งหลายกุศลมูล 3 อย่างนี้แล นี้เป็นกุศล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนวิชชาเป็นหัวหน้าในการยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับหิริและโอตตัปปะ" ดังนี้ ข้อนี้เป็นกุศล ฯ
ในสาสนปัฏฐาน 28 นั้น "อกุศลเป็นไฉน"ในคาถาธรรมบท อัตตวรรค ตรัสว่า"ความเป็นผู้ทุศีลล่วงส่วน ย่อมทำอัตภาพของบุคคลใดให้โอนไป(ในอบาย) เหมือนเถาย่านทราย รวบรัดต้นสาละให้โอนไปที่พื้นดิน ฉันใดบุคคลผู้ทุศีลนั้น ย่อมปรารถนาความพินาศแก่ตนเช่นนั้น ฉันนั้น" ดังนี้ข้อนี้ เป็นอกุศล ฯ คำว่า "ความชั่ว อันตนทำไว้เอง เกิดแต่ตน มีตนเป็นแดนเกิด ย่อมย่ำยีคนมีปัญญาทราม ดุจเพชรย่ำยี (ทำลาย) แก้วมณีที่่เกิดแต่หิน ฉะนั้น" ดังนี้ ข้อนี้ เป็นอกุศล ฯ
พระสูตรว่า
"ดูกรเทวดา บุคคลผู้โง่เขลา ทำอกุศลกรรมบถ 10 เว้นจากกุศลทั้งหลาย เป็นผู้ต่ำทราม (อันบุคคลพึงติเตียน) ย่อมไหม้ในนรกทั้งหลาย"ดังนี้ ข้อนี้ เป็นอกุศล ฯ
ในมูลสูตรตรัสว่า"ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูล 3 อย่างนี้ อกุศลมูล 3 เป็นไฉน คือโลภอกุศลมูล 1 โทสอกุศลมูล 1 โมหอกุศลมูล 1 ดูกรภิกษุทั้งหลายอกุศลมูล 3 อย่าง เหล่านี้แล" ดังนี้ ข้อนี้ เป็นอกุศล ฯ
ในสาสนปัฏฐาน 28 นั้น "กุศลและอกุศลเป็นไฉน"ในสมุททกสูตรตรัสว่า"บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น คนทำดี ย่อมได้ดี คนทำชั่ว ย่อมได้ชั่ว" ดังนี้ ในพระสูตรนั้น คำใดที่กล่าวว่า "คนทำดี ย่อมได้ดี"ดังนี้ คำนี้ เป็นกุศล ฯ คำใดที่กล่าวว่า "คนทำชั่ว ย่อมได้ชั่ว" ดังนี้ คำนี้เป็นอกุศล ฯ พระสูตรนี้ เป็นกุศลและอกุศล ฯ
พระสูตรว่า
"สัตบุรุษย่อมไปสู่สุคติด้วยกรรมอันงาม บุรุษชั่วย่อมไปสู่อบายภูมิด้วยกรรมอันไม่งาม อนึ่ง เพราะความสิ้นไปแห่งกรรม สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมดับไป เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว ดุจประทีปโคมไฟย่อมดับไปเพราะสิ้นเชื้อ ฉะนั้น" ในพระสูตรนั้น คำใด ที่กล่าวว่า "ย่อมไปสู่สุคติด้วยกรรมอันงาม" ดังนี้ ข้อนี้ เป็นกุศล ฯ คำใด ที่กล่าวว่า "ย่อมไปสู่อบายด้วยกรรมอันไม่งาม" ดังนี้ คำนี้ เป็นอกุศล ฯ พระสูตรนี้ เป็นกุศลและอกุศลฉะนี้แล ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2022, 03:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


[123] ในสาสนปัฏฐานนั้น 28 นั้น "อนุญาตเป็นไฉน"
ในคาถาธรรมบท บุปผวรรคตรัสว่า"ภมรไม่ยังดอกไม้อันมีสีและกลิ่นให้ชอกช้ำ ถือเอาแต่รสแล้วย่อมบินไปแม้ฉันใด มุนีพึงเที่ยวไปในบ้าน ฉันนั้น" ดังนี้ นี้ชื่อว่า อนุญาต(อนุญญาตะ) ฯ
พระสูตรว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจที่ควรทำของภิกษุทั้งหลาย 3 อย่างเหล่านี้ 3อย่างเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สำรวมในปาติโมกขสังวร 1 เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร 1 เป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย 1 คือ ย่อมสมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรมและวจีกรรม เป็นผู้มีอาชีวะอันบริสุทธิ์ด้วยกุศล ก็แล ภิกษุนั้นเป็นผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว เป็นผู้มีกำลังบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระ เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ก็แล ภิกษุมีปัญญาประกอบด้วยปัญญาอันให้ถึงความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย เพื่อการแทงตลอดอันประเสริฐ เพื่อถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจที่ควรทำของภิกษุทั้งหลาย 3 อย่างนี้แล" ดังนี้พระสูตรนี้ ชื่่อว่า อนุญาต (อนุญญาตะ) ฯ
ในอภิณหปัจจเวกขณสูตรตรัสว่า"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม 10 เหล่านี้ อันบรรพชิตพึงพิจารณาเนือง ๆ ธรรม 10 เป็นไฉน คือ บรรพชิตพึงพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์ 1 บรรพชิตพึงพิจารณาเนือง ๆ ว่า การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น 1 ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม 10 นี้แล อันบรรพชิตพึงพิจารณาเนือง ๆ" ดังนี้ พระสูตรนี้ ชื่อว่า อนุญาต ฯ
พระสูตรว่า
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจที่ควรทำ 3 อย่างเหล่านี้ 3 อย่างเป็นไฉน คือ กายสุจริต 1 วจีสุจริต 1 มโนสุจริต 1 ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจที่ควรทำ 3 อย่างเหล่านี้แล" ดังนี้ ชื่อว่า อนุญาต ฯ
ในสาสนปัฏฐาน 28 นั้น "ปฏิกขิตตะเป็นไฉน"ในนัตถิปุตตสมสูตร เทวดากล่าวว่า"ความรักเสมอด้วยความรักบุตรไม่มี ทรัพย์เสมอด้วยโคไม่มีแสงสว่างเสมอด้วยดวงอาทิตย์ไม่มี สระทั้งหลายมีทะเลเป็นอย่างยิ่ง" ดังนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ความรักเสมอด้วยความรักตนไม่มี ทรัพย์เสมอด้วยข้าวเปลือกไม่มีแสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี ฝนต่างหากเป็นสระยอดเยี่ยม" ดังนี้ ในพระสูตร ข้อแรกเทวดากล่าว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธ พระสูตรนี้จึงชื่่อว่า ปฏิกขิตตะ ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2022, 03:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


พระสูตรว่า
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจที่่ไม่ควรทำ 3 อย่างเหล่านี้ 3 อย่างเป็นไฉน คือ กายทุจริต 1 วจีทุจริต 1 มโนทุจริต 1 ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจที่ไม่ควรทำ 3 อย่างเหล่านี้แล" ดังนี้ ข้อนี้ ปฏิกขิตตะ (เพราะเป็นคำที่ทรงห้าม) ฯ
[124] ในสาสนปัฏฐาน 28 นั้น "อนุญญาตะและปฏิกขิตตะเป็นไฉน"ในภีตสูตร เทวดาทูลถามว่า "ประชุมชนเป็นอันมากในโลกนี้ กลัวอะไรหนอ ก็มรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยเหตุมิใช่น้อย ข้าแต่พระโคดมผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน ข้าพระองค์ ขอถามถึงเหตุนั้นว่า บุคคลตั้งอยู่ในธรรมอะไรแล้วไม่พึงกลัวปรโลก" ดังนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า"บุคคลตั้งวาจาและใจชอบแล้ว ไม่พึงทำบาปด้วยกาย บุคคลผู้อยู่ครอบครองเรือนที่มีข้าวและน้ำมาก เป็นผู้มีศรัทธา มีจิตอ่อน (ไม่กระด้าง)เป็นผู้รู้ถ้อยคำของยาจกแล้วพึงจำแนกแจกทาน บุคคลตั้งอยู่ในธรรม 4อย่างเหล่านี้ ชื่อว่า ผู้ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวปรโลก" ดังนี้ ในพระสูตรนั้น คำที่กล่าวว่า"บุคคลตั้งวาจาและใจชอบ" ข้อนี้ เป็นอนุญญาตะ (ทรงอนุญาต)และคำว่า "ไม่พึงทำบาปด้วยกาย" ข้อนี้ ชื่อว่า ปฏิกขิตตะ (ทรงห้าม) ฯ
ข้อว่า "อยู่ครอบครองเรือนที่มีข้าวและน้ำมาก มีศรัทธา มีจิตอ่อนรู้ถ้อยคำของยาจกแล้วจำแนกแจกทาน บุคคลตั้งอยู่ในธรรม 4 เหล่านี้แล้ว ไม่พึงกลัวปรโลก" ข้อนี้ ชื่อว่า อนุญญาตะและปฏิกขิตตะ ฯ
ในธรรมบท พุทธวรรคตรัสว่า"การไม่ทำบาปทั้งปวง การยังกุศลให้ถึงพร้อม การยังจิตให้ผ่องแผ้วนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย" ในพระคาถานั้น คำว่า "การไม่ทำบาปทั้งปวง" นี้เป็นปฏิกขิตตะ ฯ คำว่า "การยังกุศลให้ถึงพร้อม"นี้เป็นอนุญญาตะ ฯ คาถานี้ เป็นอนุญญาตะและปฏิกขิตตะ ฯ
ในสักกปัญหสูตรตรัสว่า"ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวกายสมาจาร โดยแยกเป็น 2 คือที่่ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี วจีสมาทานก็แยกเป็น 2 คือ ที่ควรเสพก็มีไม่ควรเสพก็มี มโนสมาทานก็แยกเป็น 2 คือ ที่่ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี ฯลฯ การแสวงหาก็แยกเป็น 2 คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มีดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวกายสมาจารโดยแยกเป็น 2 คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ก็การกล่าวถึงสมาจารข้อนี้ เพราะอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ในกายสมาจาร 2 นั้น เมื่อบุคคลเสพอยู่ซึ่งกายสมาจารอย่างไร อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมย่อมเสื่อม กายสมาจารเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ ใน 2 อย่างนั้น บุคคลรู้กายสมาจารใดว่า เมื่อเราเสพกายสมาจารนี้ อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อม กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญขึ้นกายสมาจารเห็นปานนี้ควรเสพ ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวกายสมาจารโดยแยกเป็น 2 คือ ที่ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี อาศัยข้อนี้แลกล่าวแล้วดูกรจอมเทพ วจีสมาทาน ฯลฯ ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวว่า การแสวงหา โดยแยกเป็น 2 คือ ที่ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี ข้อนั้นอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ใน 2 อย่างนั้น เมื่อบุคคลเสพการแสวงหาใด อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญ กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อม การแสวงหาเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ ในการแสวงหานั้น เมื่อบุคคลรู้ถึงการแสวงหาอันใดว่าเมื่อเราเสพการแสวงหานี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญดังนี้ การแสวงหาเห็นปานนี้ควรเสพ ดูกรจอมเทพ อาตมภาพอาศัยข้อนี้แลกล่าวแล้ว"
ในกายสมาจารเป็นต้นนั้น คำที่กล่าวว่า "ควรเสพก็มี" ข้อนี้เป็นอนุญญาตะ ฯ คำว่า "ไม่ควรเสพก็มี" ข้อนี้เป็นปฏิกขิตตะ ฯ พระสูตรนี้เป็นอนุญญาตะและปฏิกขิตตะ ฉะนี้แล ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2022, 03:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


[125] ในสาสนปัฏฐาน 28 นั้น "ถวะเป็นไฉน"
ในคาถาธรรมบท มรรควรรคตรัสว่า "ทาง (มรรค) มีองค์ 8ประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย บท 4 (คืออริยสัจ 4) ประเสริฐกว่าสัจจะทั้งหลาย (คือสมมติสัจจะมีวจีสัจจะและขัตติยสัจจะเป็นต้น) บรรดาธรรมทั้งหลายวิราคะประเสริฐที่สุด และพระตถาคตผู้มีพระจักษุประเสริฐกว่าสัตว์ 2 เท้า"ดังนี้ คาถานี้ ชื่อว่า ถวะ (การสรรเสริญ) ฯ
ในอัคคปสาทสูตรตรัสว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เลิศมี 3 ประการเหล่านี้ 3 ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีประมาณเพียงใด ไม่มีเท้าก็ตาม มี 2 เท้าก็ตาม มี 4 เท้าก็ตาม มีเท้ามากก็ตามมีรูปหรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญาหรือไม่มีสัญญาก็ตาม มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ตาม พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่า เลิศ ประเสริฐ ประเสริฐที่สุดกว่าสัตว์เหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรมทั้งหลายที่มีปัจจัยปรุงแต่ง หรือไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง มีประมาณเท่าใด วิราคะ บัณฑิตกล่าวว่า เลิศ ประเสริฐ ประเสริฐที่สุดกว่าธรรมเหล่านั้น วิราคะนี้ใด เป็นธรรมย่ำยีความเมา กำจัดความกระหาย ถอนขึ้นซึ่งความอาลัย เข้าไปตัดวัฏฏะ เป็นธรรมที่สิ้นตัณหา คลายความกำหนัดเป็นความดับ เป็นนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัญญัติแห่งหมู่ทั้งหลายบัญญัติแห่งคณะทั้งหลาย หรือบัญญัติแห่งมหาชนที่ประชุมกันทั้งหลายหมู่แห่งสาวกของพระตถาคต บัณฑิตกล่าวว่า เลิศ ประเสริฐ ประเสริฐที่สุดกว่าหมู่เหล่านั้น หมู่นี้ใด คือ คู่แห่งบุรุษ 4 ได้แก่ บุรุษบุคคล 8 ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก" ดังนี้คาถา ถวะรัตนตรัยพระศาสดาเป็นผู้ประเสริฐยิ่งกว่าสิ่งทั้งปวงในโลก พระธรรมอันพระองค์ทรงแสดง โดยความเป็นกุศล ปราศจากมลทินทั้งหลาย หมู่แห่งพระอริยสงฆ์องอาจดังนรสีหะ รัตนะ 3 นั้นแล ย่อมประเสริฐกว่ารัตนะทั้งปวงคณะคือการประชุมแห่งพระสมณะ งามอยู่ดุจดอกปทุม พระธรรมอันประเสริฐอันวิญญูชนทั้งหลายทำสักการะแล้ว พระตถาคตผู้มีพระจักษุทรงฝึกนระผู้ประเสริฐ (มีพรหมเป็นต้น) รัตนะ 3 นั้นแล เป็นรัตนะสูงยิ่งของโลกพระศาสดาไม่มีผู้เปรียบ พระธรรมดับความเร่าร้อนทั้งปวง พระอริยสงฆ์เป็นหมู่อันประเสริฐ รัตนะ 3 นั้นแล ย่อมประเสริฐโดยส่วนเดียวพระชินะผู้สงบมีพระนามตามเป็นจริง ทรงครอบงำสรรพสิ่งแห่งโลกดำรงอยู่ พระธรรมเป็นสัจจะของพระชินะนั้น หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ หมู่แห่งพระอริยะอันบัณฑิตบูชาแล้วเป็นนิตย์ รัตนะ 3 นั้นแล เป็นรัตนะอันสูงสุด
แห่งชาวโลก
สหัมบดีพรหมประพันธ์คาถาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเห็นความสิ้นชาติและที่สุดแห่งชาติ ทรงอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ทราบทางเป็นที่ไปอันเอก ในกาลก่อนชนทั้งหลายข้ามโอฆะด้วยทางนี้ ในอนาคตก็จักข้ามด้วยทางนี้ และในบัดนี้ก็ข้ามอยู่ด้วยทางนี้ ดังนี้เหล่าสัตว์หวังอยู่ซึ่งความหมดจด ย่อมนมัสการพระสัมมาสัมพุทธะผู้คงที่ผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์พระองค์นั้น ดังนี้ คาถานี้ ชื่อว่า ถวะ ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2022, 03:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในพระสูตร 16 นั้น พระสูตรที่เป็นโลกียะ พึงแสดงด้วยพระสูตรทั้ง 2คือ ด้วยสังกิเลสภาคิยสูตรและวาสนาภาคิยสูตร พระสูตรที่่เป็นโลกุตตระพึงแสดงด้วยพระสูตร 3 คือ ทัสสนภาคิยสูตร ภาวนาภาคิยสูตร และอเสกขภาคิยสูตร พระสูตรที่เป็นทั้งโลกียะทั้งโลกุตตระ บท(ส่วน) ใด ๆ คือ ส่วนแห่งสังกิเลส หรือส่วนแห่งวาสนาย่อมปรากฏในพระสูตรส่วนใด ก็พึงแสดงโลกียะโดยส่วนนั้น ๆ บทใด ๆ อันเป็นส่วนทัสสนะ หรือเป็นภาวนา หรือเป็นอเสกขะก็พึงแสดงโลกุตตระ โดยส่วนนั้น ๆ ฯ
พระสูตรอันเป็นส่วนแห่งวาสนา ย่อมเป็นไปเพื่อละพระสูตรอันเป็นส่วนแห่งสังกิเลส พระสูตรอันเป็นส่วนแห่งทัสสนะ ย่อมเป็นไปเพื่อละพระสูตรอันเป็นส่วนแห่งวาสนา พระสูตรอันเป็นส่วนแห่งภาวนา ย่อมเป็นไปเพื่อละพระสูตรอันเป็นส่วนแห่งทัสสนะ พระสูตรอันเป็นส่วนแห่งพระอเสกขะ ย่อมเป็นไปเพื่อการสละออกจากพระสูตรอันเป็นส่วนแห่งภาวนา ฯ
พระอริยบุคคล 26
พระสูตรโลกุตตระ ที่เป็นสัตตาธิฏฐาน พึงแสดงด้วยบุคคล 26 พวกบุคคล 26 เหล่านั้น บัณฑิตพึงแสวงหาด้วยพระสูตร 3 อย่าง คือพระสูตรอันเป็นส่วนแห่งทัสสนะ พระสูตรอันเป็นส่วนแห่งภาวนา พระสูตรอันเป็นส่วนแห่งพระอเสกขะ (ที่เป็นสัตตาธิฏฐาน) ฯ
ในพระสูตร 3 เหล่านั้น พระสูตรอันเป็นส่วนแห่งทัสสนะ พึงแสดงด้วยบุคคล 5 คือ เอกพีชี 1 โกลังโกละ 1 สัตตักขัตตุปรมะ 1 สัทธานุสารี 1 และธัมมานุสารี 1 พระสูตรอันเป็นส่วนแห่งทัสสนะพึงแสดงด้วยบุคคล 5 เหล่านี้ ฯ
พระสูตรอันเป็นส่วนแห่งภาวนา พึงแสดงด้วยบุคคล 12 คือ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อการกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล 1 พระสกทาคามี 1 บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่่อกระทำให้แจ้งซึ่่งอนามิผล 1 พระอนาคามี 1 ผู้เป็นอันตราปรินิพพายี 1 ผู้เป็นอุปหัจจปรินิพพายี 1 ผู้เป็นอสังขารปรินิพพายี 1 ผู้เป็นสสังขารปรินิพพายี 1 ผู้เป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี 1 บุคคลผู้สัทธาวิมุตติ 1 บุคคลผู้ทิฏฐิปัตตะ 1และบุคคลผู้กายสักขี 1 พระสูตรอันเป็นส่วนแห่งภาวนา พึงแสดงด้วยบุคคล 12 เหล่านี้ ฯ
พระสูตรอันเป็นส่วนแห่งพระอเสกขะ พึงแสดงด้วยบุคคล 9 คือสัทธาวิมุตตบุคคล 1 ปัญญาวิมุตตบุคคล 1 สุญญตวิมุตตบุคคล 1อนิมิตตวิมุตตบุคคล 1 อัปปณิหิตวิมุตตบุคคล 1 อุภโตภาควิมุตตบุคคล 1สมสีสีบุคคล 1 ปัจเจกพุทธะ 1 และสัมมาสัมพุทธะ 1 พระสูตรอันเป็นส่วนแห่งพระอเสกขะ พึงแสดงด้วยบุคคล 9 เหล่านี้ โลกุตตรสูตรเป็นสัตตาธิฏฐานพึงแสดงด้วยบุคคล 26 เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้ ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2022, 03:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปุถุชน 19 พวก
โลกียสูตรที่่เป็นสัตตาธิฏฐาน พึงแสดงด้วยบุคคล 19 พวก บุคคล 19เหล่านั้น พึงยกขึ้นแสดงด้วยจริตทั้งหลาย คือ คนราคจริตพวก 1 คนโทสจริตพวก 1 คนโมหจริตพวก 1 บางพวกเป็นราคจริตและโทสจริต 1 บางพวกเป็นราคจริตและโมหจริต 1 บางพวกเป็นโทสจริตและโมหจริต 1 บางพวกเป็นราคจริต โทสจริตและโมหจริต 1 บางพวกตั้งอยู่ในทาง (ปริยุฏฐาน) แห่งราคะเป็นราคจริต 1 บางคนตั้งอยู่ในทางแห่งราคะเป็นโทสจริต 1 บางคนตั้งอยู่ในทางแห่งราคะเป็นโมหจริต 1 บางคนตั้งอยู่ในทางแห่งราคะเป็นราคจริตโทสจริต โมหจริต 1 บางคนตั้งอยู่ในทางแห่งโทสะเป็นโทสจริต 1 บางคนตั้งอยู่ในทางแห่งโทสะ เป็นราคจริต โทสจริต โมหจริต 1 บางคนตั้งอยู่ในทางแห่งโมหะเป็นโมหจริต 1 บางคนตั้งอยู่ในทางแห่งโมหะเป็นราคจริต 1บางคนตั้งอยู่ในทางแห่งโมหะ เป็นโทสจริต 1 บางคนตั้งอยู่ในทางแห่งโมหะเป็นราคจริต โทสจริต โมหจริต 1 โลกียสูตรเป็นสัตตาธิฏฐาน พึงแสดงด้วยบุคคล 19 เหล่านี้ ฯ
บุคคลมีศีล 5 พวกพระสูตรอันเป็นส่วนแห่งวาสนา พึงแสดงด้วยบุคคลมีศีล บุคคลผู้มีศีลเหล่านั้นมี 5 พวก คือมีปกติศีล 1 สมาทานศีล 1 มีความผ่องใสแห่งจิต 1มีสมถะ 1 มีวิปัสสนา 1 พระสูตรอันเป็นส่วนแห่งวาสนา พึงแสดงด้วยบุคคล 5 พวกเหล่านี้ ฯ
พระสูตรโลกุตตระ เป็นธัมมาธิฏฐาน พึงแสดงด้วยพระสูตร 3 คือ พระสูตรอันเป็นส่วนแห่งทัสสนะ 1 พระสูตรอันเป็นส่วนแห่งภาวนา 1 พระสูตรอันเป็นส่วนแห่งพระอเสกขะ 1 ฯ
พระสูตรที่เป็นโลกียะและโลกุตตระ พระสูตรที่เป็นทั้งสัตตาธิฏฐานทั้งธัมมาธิฏฐาน พึงแสดงโดยส่วนทั้ง 2 ญาณอันมาแล้วในพระสูตรนั้น ๆบัณฑิตพึงแสดงด้วยปัญญา อันเป็นปริยายแห่งญาณ คือ ด้วยปัญญินทรีย์ด้วยปัญญาพละ ด้วยอธิปัญญาสิกขา ด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ด้วยสัมมาทิฏฐิด้วยการพิจารณา ด้วยการสอบสวน ด้วยธัมมญาณ ด้วยอนุโลมญาณ ด้วยขยญาณ ด้วยอนุปาทญาณ ด้วยอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ด้วยอัญญินทรีย์ด้วยอัญญาตาวินทรีย์ ด้วยปัญญาจักษุ ด้วยวิชชา ด้วยความรู้ ด้วยภูริปัญญาด้วยปัญญาเป็นเครื่่องฆ่ากิเลส หรือญาณมาแล้วในที่ใด ๆ ย่อมได้ในที่ใด ๆก็พึงแสดงด้วยชื่อของปัญญานั้น ๆ ฯ
เญยยะ (ไญยธรรม) พึงแสดงด้วยธรรมที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันด้วยอายตนะภายในและภายนอก ด้วยธรรมอันเลวและประณีต ด้วยธรรมใกล้และไกล ด้วยสังขตะและอสังขตะ ด้วยกุศลอกุศลและอัพยากตะ หรือโดยสังเขป แสดงด้วยอารมณ์ 6 ฯ
ญาณและเญยยะทั้ง 2 มาในพระสูตรใด ก็พึงแสดงในพระสูตรนั้น แม้ปัญญาก็ชื่อว่า เญยยะ (คือสิ่งที่ควรรู้) เพราะเป็นอารมณ์ อายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอารมณ์ ก็พึงแสดงอายตนะทั้งปวงนั้นตามความเป็นจริง ด้วยสังขตะและอสังขตะ ฯ
ในพระสูตรทั้งปวง คือ ทัสสนสูตร ภาวนาสูตร สกวจนสูตร ปรวจนสูตรวิสัชชนียสูตร อวิสัชชนียสูตร กรรมสูตร วิปากสูตร บัณฑิตพึงแสดงพระสูตรทั้ง 2 (รวมกัน) ตามที่่ได้ในพระสูตรนั้น หรือตรัสไว้อย่างไร ใคร่ครวญแล้วแสดงตามพระดำรัสนั้น ฯ
เหตุมี 2 คือ กรรม 1 กิเลส 1 ในที่นี้ ได้แก่ สมุทัยและกิเลส ในสมุทัยและกิเลสนั้น กิเลสพึงแสดงด้วยพระสูตรอันเป็นส่วนแห่งสังกิเลส สมุทัยพึงแสดงด้วยพระสูตร 2 คือ สังกิเลสภาคิยะและวาสนาภาคิยะ ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2022, 03:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในสาสนปัฏฐาน 28 นั้น กุศลพึงแสดงด้วยพระสูตร 4 คือ วาสนาภาคิยสูตร 1 ทัสสนภาคิยสูตร 1 ภาวนาภาคิยสูตร 1 และอเสกขภาคิยสูตร 1 ฯ
อกุศลพึงแสดงด้วยสังกิเลสภาคิยสูตร ฯ กุศลและอกุศลพึงแสดงด้วยพระสูตร 2 อย่าง ฯ อนุญญาตะ (ธรรมที่ทรงอนุญาต) พึงแสดงด้วยพระสูตรที่ทรงอนุญาต ก็อนุญญาตะนั้น มี 5 อย่าง สังวร 1 ปหานะ 1 ภาวนา 1 สัจฉิกิริยา 1 กัปปิยานุโลม 1 ก็ข้ออนุญาตใด ที่ทรงแสดงไว้ในภูมินั้น ๆ มีปุถุชนภูมิเป็นต้นข้อที่อนุญาตนั้น พึงแสดงโดยกัปปิยะ (สิ่งที่ควร) และสิ่งที่อนุโลมเข้ากับกัปปิยะในมหาปเทส ฯ ปฏิกขิตตะ (ข้อที่ห้าม) พึงแสดงด้วยพระสูตรที่ห้ามมิให้เป็นไปแห่งราคะเป็นต้นฯ อนุญญาตะและปฏิกขิตตะทั้ง 2 ก็พึงแสดงด้วยพระสูตร 2อย่าง ฯ
ถวะ (การสรรเสริญ หรือการยกย่อง) บัณฑิตพึงแสดงด้วยพระสูตรที่แสดงการยกย่อง ถวะ คือ สิ่งที่ควรยกย่อง มี 5 อย่าง คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า 1 อสังขตธรรม 1 หมู่แห่งพระอริยะ 1 อริยธรรมสิกขาคือมรรคและผล 1และการถึงพร้อมด้วยโลกียคุณ 1 การสรรเสริญพึงแสดงด้วยการยกย่อง 5 อย่างนี้ ฯ
มูลบท 18 อย่าง
อินทริยภูมิ มีสัทธินทรีย์เป็นต้น พึงแสดงด้วยบททั้งหลาย 9 บท มีสมถะเป็นต้น กิเลสภูมิ พึงแสดงด้วยบท 9 มีตัณหาเป็นต้น บท 18 คือกุศลมี 9 อกุศลมี 9 ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ คำใดที่บัณฑิตกล่าวไว้ว่า"มูลบท 18 ประการ บุคคลพึงทราบ ณ ที่ไหน คำนั้น บัณฑิต ย่อมกล่าวว่าในสาสนปัฏฐาน" ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านพระมหากัจจายนะ จึงกล่าวว่า"กุศลประกอบด้วยบท 9 ฝ่ายอกุศลประกอบด้วยบท 9 เป็นมูลเหล่านี้แล มูลเหล่านั้นมี 18 อย่าง" ดังนี้
จบ สาสนปัฏฐาน
เนตติปกรณ์ใด อันท่านพระมหากัจจายนะได้ภาษิตไว้ด้วยอรรถะมีประมาณเท่านี้ (โดยย่อ) เนตติปกรณ์นั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาแล้วอันพระธัมมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายร้อยกรองไว้ ในสังคีติครั้งแรก ฉะนี้แล ฯ
จบ เนตติปกรณ์


(ไม่สงวนลิขสิทธิ์)



https://ballwarapol.github.io/netti/title/index.html

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2024, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 129 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร