วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 00:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2023, 05:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

วิสุทธิ ๗
อุบาสิกาแนบ มหานีรานนท์
บรรยาย ณ สำนักงานของสมาคมศูนย์ค้นคว้าทางพระพุทธศาสนา
เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๙


กังขาวิตรณวิสุทธิ

ตอนที่ ๑
ขอให้เข้าใจด้วยว่าวิสุทธิแต่ละอย่างๆ ต้อง
เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ไม่ใช่จะมีขึ้นแต่ลำพังอย่างเดียว
ความเข้าใจดังนี้มีบระโยชน์เพื่อจะได้รู้ว่า
ธรรมทั้งหลายย่อมมีเหตุเป็นแตนเกิด ธรรมอย่างนั้นมาจากเหตุ
อะไรแม้ว่าจะได้ผลเหมือนกันก็จริง
แต่ถ้าเหตุไม่เหมือนกันก็ไม่จัดเป็นวิสุทธิ เช่น ผู้ที่ทำความสงบ
ทำสมาธิ หรือทำฌาน กิเลสก็ไม่มีในขณะนั้น บริสุทธิ์เหมือนกัน
แต่ถ้าหากเขาเข้าใจผิด ว่าเขาทำวิปัสสนา
และผลที่เขาได้นี้เกิดจากวิปัสสนา ไม่มีกิเลสเลย
เป็นธรรมที่หมดจดจากกิเลล เป็นวิสุทธิแล้ว เราก็จะรู้ใด้ว่า
ที่เขาเข้าใจว่าเป็นวิสุทธินั้น เป็นวิสุทธิยังไม่ได้ ยังไม่เข้าถึงปัญญา
เพราะถ้าหากว่าเป็นทิฏฐิวิสุทธิแล้ว จะต้องได้
มาจากนาม-รูปปริจเฉทญาณ ถ้าปัญญานี้ไม่เกิดขึ้น
ก็เป็นอันว่าทิฏฐิวิสุทธิจะมีไม่ได้ วิสุทธินี้เป็นเหตุเป็นผลซึ่งและกัน
และเราก็จะได้รู้เหตุและผลอันถูกต้องด้วย

ทิฏฐิวิสุทธิ์ที่กล่าวมาแล้ว หมายถึงว่ามีความเห็นบริสุทธิ์
กิเลสความเห็นผิดเข้าอาศัยไม่ได้ ความรู้ความเข้าใจอย่างนั้น
เป็นความรู้ที่ทำลายกิเลสให้หมดใป

การทำลายกิเลสมี ๓ ขั้น

๑. ตทังคปหาน - การละได้ชั่วขณะ ด้วยศีลก็ได้ หรือด้วยปัญญาขั้นโลกีย์ก็ได้
๒. วิกขัมภนปหาน - การละด้วยการข่มไว้ได้ ด้วยสมาธิ
๓. สมุจเฉทปหาน - การละได้อย่างเด็ดขาด
การทำลายขั้นนี้เป็นตทังคะ เพราะปัญญานี้ยังเป็นโลกีย์ ปัญญาในที่ยังเป็นโลกีย์อยู่
ปัญญานั้นทำลายกิเลสได้เพียงตทังคะ ไม่ใช่สมุจเฉท

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2023, 12:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


จะเป็นสมุจเฉทได้ต้องถึงโลกุตตระ ถ้าพูดตาม
วิสุทธิแล้ว ต้องถึงญาณหัสสนวิสุทธิ (วิสุทธิที่ ๗) ถ้ายัง
ไม่ถึงก็ยังเป็นโลกีย์อยู่

วิสุทธิที่ ๑ ตลอดมาจนถึงวิสุทธิที่ ๖ เป็นโลกีย-
บัญญา ธรรมทั้งหมดเป็นโลกีย์ทั้งนั้น

ปัญญาที่เป็นโลกีย์ หมายถึงปัญญาที่ยังมีนาม-รูป
หรือมีสังขาร หรือมีขันธ์ ๕ ที่เรียกว่า โลกียธรรม เป็น
อารมณ์ ปัญญานั้นเป็นโลกีย์ และจิตนั้นก็เรียกว่า โลกียจิต

ปัญญาที่ เป็นโลกุตตร ะ หมายถึงปัญญาที่มีนิพพาน
ซึ่งเป็นโลกุตตรธรรม เป็นอารมณ์ บัญญาใดที่เกิดขึ้นมี
นิพพานเป็นอารมณ์ ปัญญานั้นเป็นโลกุตตระ และจิตนั้นก็
เรียกว่า โลกุตตรจิต

ถ้าหากว่าจิตก็ตาม บัญญาก็ตาม ยังมีโลกีย-
ธรรมคือนามกับรูปเป็นอารมณ์อยู่ จิตนั้น บัญญานั้นทั้งหมด
ก็ต้องเป็นโลกีย์ จะเป็นโลกุตตระไม่ได้ แม้แต่จะ เกิดกับ
พระอรหันต์ก็ตาม เว้นแต่ขณะที่ท่านมีนิพพาน เป็นอารมณ์
ขณะนั้นโลกุตตรจิตของท่านจึงจะเกิดขึ้นได้นอกจาก
แล้ว พระอรหันต์เองท่านก็จะต้องมีโลกีย์เป็นอารมณ์อยู่
เสมอเหมือนกัน แม้จะหมดกิเลสแล้วก็ตาม เพราะท่า
ยังมีรูป เสี่ยง กลิ่น รส เป็นอารมณ์อยู่
ทำไม พระอรหันต์จะมีนิพพานเป็นอารมณ์เสมอ ไม่ได้หรือ

ไม่ได้ เพราะธรรมดาของจิตจะต้องรับอารมณ์
ทั้ง ๖ อยู่เสมอ จิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ จะต้องมีเฉพาะ
มโนทวารอย่างเดียว จะรับอารมณ์ทางตา ทางหู ทาง
จมูก ทางสิ้น ทางกาย ไม่ได้
ถ้าพระอรหันต์จะมีนิพพาน เป็นอารมณ์อยู่เสมอก็
แปลว่าตาก็ไม่เห็น หูก็ไม่ได้ยินเสี่ยง จมูกไม่ได้กลิ่น
ไม่รู้รส กายไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นไบไม่ได้ พระอรหันต์ท่าน
มีอารมณ์ทุกอย่าง ตาของท่านก็ยังเห็นรูป หูได้ยินเสียง
จมูกได้กลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องได้ ไปบิณทบาต
แสดงธรรม แก้ปัญหา ตอบปัญหาทุกสิ่งทุกอย่าง ท่านก็ทำ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2023, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ได้หมดทั้ง ๖ ทวาร ดังนั้น จะมีนิพพานเป็นอารมณ์อยู่
เสมอได้อย่างไร

ถ้าพระอรหันต์มีนิพพานเป็นอารมณ์แล้ว จะเทศ-
นา ไม่ได้ สั่งสอนใครโปรดใคร ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น
จึงขอให้เข้าใจ ที่เป็นไปไม่ได้เพราะเหตุนี้

ถ้าเราไม่รู้เหตุผลอย่างนี้ ก็อาจจะเข้าใจว่า
เป็นพระอรหันต์แล้ว จะต้องมีนิพพานเป็นอารมณ์อยู่เรื่อย
ถ้าเข้าใจอย่างนี้ก็ผิด
พระอรหันต์ถึงนิพพานอยู่เรื่อย
แต่จะเป็นอารมณ์อยู่เรื่อยไม่ได้
เพราะฉะนั้น คำว่า
"ถึงนิพพาน" กับ "มีนิพพาน" เป็นอารมณ์จึงต่างกัน

ทำไมท่านจึงถึงนิพพานอยู่เรื่อย แต่ไม่มีนิพพาน
เป็นอารมณ์อยู่เรื่อย
เพราะพระอรหันต์เป็นผู้ถึงนิพพาน
แล้ว ถึงอะไรนิพพาน ถึงกิเลสนิพพาน พระอรหันต์เป็น
ผู้ที่กิเลสของท่านถึงนิพพานแล้ว ถึงอยู่เรื่อย ถึงอยู่เสมอ
ตลอดกับกัลป์พุทธันดร กิเลสที่ถึงนิพพานแล้ว ดับไปแล้ว
จะกลับมาเกิดกับท่านอีกไม่ได้ เพราะฉะนั้น กิเลสของ
ท่านดับอยู่เสมอ เบ็นสมุจเฉท เป็นผู้ถึงนิพพานแล้ว เป็น
ผู้ดับกิเลสอยู่เสมอตลอดกาลแต่จะมีนิพพานเป็น
อารมณ์หรือไม่แล้วแต่ขณะ

เหมือนอย่างเรามีความโลภ ความโกรธ มีอยู่
เรื่อย มีอยู่เสมอ แต่เราก็ไม่ใด้จะเอาความโลภเป็น
อารมณ์อยู่เสมอ ทาน ศีล ภาวนาเราก็มี แต่เราไม่ได้
เอามาเบ็นอารมณ์อยู่เ สมอ ขณะใดมีสีลานุสสติ พิจารณา
ศีลตร วจศีลอยางนี้ ก็มีศีลเป็นอารมณ์อยู่ ขณะใดที่พิจารณา
องค์ฌาน ก็มีฌานเป็นอารมณ์อยู่ ดังนี้ พระอรหันต์ก็เ ช่น
กัน มิใช่ว่าท่านจะมีนิพพานเป็นอารมณ์อยู่เสมอ แต่เป็นผู้
ถึงนิพพานแล้ว กิเลสนิพพานแล้วตลอดไป

พระอรหันต์ จะมีนิพพานเป็นอารมณ์ในเวลาที่
เข้าผลสมาบัติ ท่านที่เข้าผลสมาบัติ ก็จะมีนิพพานเป็น
อารมณ์อยู่ในขณะนั้น เข้า ๗ วันก็มีนิพพานเป็นอารมณ์
ตลอด ๗ วัน จิตของท่านผู้เข้าผลสมาบัติเป็นโลกุตตรจิต
อีกนัยหนึ่ง พระอรหันต์ผู้ที่มีอภิญญาท่านพิจารณา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2023, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


มรรค ผล นิพพาน ของคนอื่นว่าคนนี้เป็นผู้ถึงนิพพานหรือยัง
กิเลสอะไรถึงนิพพานไปแล้ว หรือนิพพานดับกิเสส
ในขณะนี้ ก็มีนิพพานเป็นอารมณ์แต่เป็น
ขอย้ำถึงทิฏฐิวิสุทธิ ว่าหมายถึงการเห็นนามกับรูป
ด้วยความเข้าใจที่รู้ว่ามีแต่นามและรูปเท่านั้น
ความเข้าใจนั้น ไม่ใช่เห็นตามด้วยการฟัง ด้วยการคิด
ต้องเห็นด้วยการปฏิบัติวิปัสสนาเห็นด้วยภาวนาปัญญา
เพราะเป็นเรื่องของการปฏิบัติกำหนดนามและรูปจน
กระทั่งได้เห็นนาม-รูปนั้นชัดเจนแล้ว แจ่มแจ้งแล้ว การกำหนดนาม-รูปนี้
ก็ต้องมีความเข้าใจด้วยว่ากำหนอย่างไร
ซึ่งท่านก็คงทราบตามที่อธิบายมาแล้ว
กำหนดนาม-รูปตามภูมิของวิปัสสนานั่นเอง กำหนดนาม-รูป
โดยความเป็นนามเป็นรูป กำหนดนาม-รูปโดยความ
เป็นขันธ์ เป็นอายตนะ เป็นธาตุ เป็นอินทรีย์ เป็นปฏิจจสมุปบาท
เป็นอริยสัจบ้าง ตามภูมิของวิปัสสนาทั้ง ๖ ภูมิ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2023, 08:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


การที่ผู้ปฏิบัติรู้นาม-รูปตามภูมิอย่างนี้ เรียกว่า
นาม-รูปปริจเฉทญาณ เพราะในวิปัสสนาภูมินั้นย่อลงแล้ว
เป็นาม-รูบเท่านั้น รู้แต่นามและรูบอย่างเดียว ก็ชื่อว่า
รู้ทั้ง ๖ ภูมิ ขี่อว่ารู้ขันธ์ด้วย รู้อายตนะด้วย รู้ธาตุด้วย
รู้อินทรีย์ด้วย รู้ปฏิจจสมุปบาทด้วย ในปฏิจจสมุปบาทก็มี
นาม-รูปเท่านั้น ไม่มีอย่างอื่น เพราะฉะนั้น รู้แต่นามกับรูป
สองอย่างนี้ ก็ชื่อว่ารู้ในภูมิทั้ง ๖ เหมือนกัน

ฉะนั้น ผู้มีปัญาน้อยทำวิปัสสนารู้แต่เพียงนาม-รูปก็พอแล้ว
ส่วนการกำหนดตามวิปัสสนาภูมินั้น ก็แล้ว
แต่อัชณาศัย บารมีของใคร ศึกษามามากหรือน้อย
ความเข้าใจมากหรือน้อย ถ้าท่านมีความเข้าใจน้อย
กำหนดโดยย่อว่าอะไร เป็นนาม อะไร เป็นรูปเท่านั้นก็พอ

นาม ก็คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ตามทวารทั้ง ๖
ธรรมชาติใดน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้นแหละคือนาม
นามในที่นี้หมายถึง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาน
สำหรับจะมากำหนดทำวิปัสสนา ไม่ใช่ชื่อ
เช่น เป็นร่างคน เป็นรูป แต่ชื่อของคน เป็นนาม อย่างนี้ไม่ใช่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2023, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนรูป ก็คือธรรมชาติที่ เกิดจากมหาภูตรูป มี ๔
คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม) มีความเสื่อมสลายด้วยเย็นแล ร้อน

เช่น ต้นไม้เราเข้าใจกันอยู่แล้วว่าเป็นรูป
เกิดจากมหาภูตรูปคือ ดิน น้ำ ไพ ลม ต้นไม้ไม่มีนาม
เพราะต้นไม้เห็นไม่ได้ ต้นไม้ได้ยินเสียงไม่ได้ ต้นไม้รู้
กลิ่นไม่ได้ ต้นไม้รู้รสไม่ได้ เพราะต้นไม้ไม่มีลิ้น จึงไม่มี
ชิวหาวิญญาณ รู้รสไม่ได้ ต้นไม้รู้ถูกต้อง รู้เย็น รู้ร้อน
รู้อ่อน รู้แข็ง ไม่ได้ อาการที่เย็น ที่ร้อนก็มี แต่ต้นไม้
ไม่รู้ว่าเย็นหรือร้อน ต้นไม้รู้ไม่ได้
เพราะ เหตุนี้เอง ต้นไม้จึงมีแต่รูปไม่มีนาม

ส่วนนามนั้น เกิดจากเหตุเกิดจากปัจจัย แม้แต่
จะไม่มีมหาภูตรูปเลย นามก็เกิดได้ เพราะนามที่ต้อง
อาศัยมหาภูตรูบก็มี นามที่ไม่ต้องอาศัยรูปก็มี และนามนี้
จะ เสื่อมสลายใบด้วยเหตุปัจจัย
ไม่ใช่เพราะเย็นหรือ
ร้อน เมื่อเหตุปัจจัยหมดไป นามก็หมดไปด้วย
ความเย็นและความร้อน ก็ชื่อว่าธรรมชาตินิยม เป็นรูปเป็นร่าง

ผู้ปฏิบัติอาจจะกำหนดรูบ
โดยธาตุแบ่งออกไป
เป็น ๔ อย่าง คือมหาภูหรูม ๔ ก็ได้
ธาตุที่แข็งก็เป็นปฐวี คือ ธาตุดิน
ธาตุใดที่ร้อนก็เป็นเตโซ คือ ธาตุไฟ
ธาตุใดที่เกาะกุมหรือทำให้ไหล ก็เป็นธาตุน้ำ
ธาตุใดที่ทำให้ไหว ก็เป็นธาตุลม
ธาตุทั้ง ๔ นี้ ท่านที่เรียนวิชาทางโลกคงเคย
หราบมาแล้วว่า ธาตุในทางวิทยาศาสตร์ มีมาก เช่นแร่
ต่าง ๆ มีมากมาย ไม่ใช่มีเพียง แต่พระพุทธศาสนา
แสดงว่ามี ๔ เท่านั้น ปัจจุบันนี้วิทยาศาสตร์รู้ธาตุมาก
ผู้ที่เรียนเคมี สสารต่าง ๆ ก็คงทราบกันอยู่แล้ว
เรามาลองคิดดู ว่าจะลงกันได้หรือไม่กับธาตุ ๔

พระพุทธเจ้าแสดงธาตุดิน ด้วยลักษณะแข็งเท่านั้น
ในธาตุ สสารต่าง ๆ ที่จะพ้นไปจากลักษณะแข็ง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2023, 04:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20230825_034307-removebg-preview (1).png
20230825_034307-removebg-preview (1).png [ 58.62 KiB | เปิดดู 2620 ครั้ง ]
........
มีหรือไม่ แร่ธาตุต่าง ๆ ดีบุก ทองแดง หรืออะไรสัก
กี่สิบอย่างก็ตาม ธาตุเหล่านั้นก็ต้องมีลักษนะแข็งนั้นเอง
สิ่งใดที่มีลักษณะแข็งก็สงเคราะห์ลงในธาตุดินหมด
แม้จะมีก็สิบอย่างก็ตาม

ไฟก็เหมือนกัน ไฟฟ้า ไฟตะเกียง ไฟเทียน
ไฟไต้ ไฟจะมีก็สิบอย่างก็ตาม จะไม่พ้นไปจากสักษณะร้อน
เพราะฉะนั้นใครจะบัญญัติอะไร รู้อย่างไร ก็ไม่
เกินเลยนอกไปจากที่พระพุทธศาสนาทรงแสดงไว้ จะรู้
เกินอำนาจของพระสัพัญญุญาณไป ไม่มีเลย

ธาตุน้ำก็มีลักษณะไหล ถ้าน้ำน้อยก็ทำให้เกาะกุม
ธาตุลมก็เหมือนกัน ลมอะไรก็ตาม ทั้งหมดจะ
ต้องมีลักษณะทำให้ไหว หรือทำให้พอง ทำให้ตึง มีอยู่
เพียงเท่านี้

เพราะฉะนั้น อะไรเล่าที่จะเกินความรู้ของ
พระสัญญุตญาณไป ขอให้เรารู้ว่า ที่ท่านแสดงนี้แสดง
แต่จะแยกออกไปบัญญัติเป็น
ตามความจริงของสภาวะ แต่จะแยกออกไปบัญญัติเป็น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2023, 02:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อะไร ๆ จะเป็นทองแดง เป็นตะกั่ว เป็นทองคำ เป็น
เหล็ก ก็แยกออกไปตามบัญญัติ แต่ลักษณ ะความจริงแล้ว
ก็ต้องมารวมอยู่ที่ลักษณะแข็งทั้งหมด

หรือความร้อน ใครจะเรียกเป็นอะไรก็ได้ แต่
ความร้อนจะ เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ไพที่ไหนที่ไม่ร้อน
ไฟชาติไหนที่ไม่ร้อน ไฟไม่เป็นชาติ ถ้าเป็นชาติแล้ว ไฟ
ชาติแขกจะร้อนไม่เหมือนกับไพชาติไทย หรือไพชาติไทย
ก็จะร้อนไม่เหมือนไฟชาติฝรั่ง แต่โดยสภาวะความจริง
แล้วไฟไม่มีชาติ และจะร้อนเหมือนกันหมด

ถ้าเป็นชาตินั้น ชาตินี้ ก็ต้องแสดงว่าไม่เหมือน
กัน แต่นี่ร้อนเหมือนกันหมด ไม่มีชาติอะไร ศาสนาอะไร
เราจะบอกไม่ได้ว่า ดิน น้ำ ลม ไฟ นี่เป็นศาสนาอะไร
เป็นชาติอะไร ผู้หญิง หรือผู้ชาย เป็นสุนัข หรือเป็นคน
บอกไม่ได้ทั้งนั้น เพราะดิน น้ำ ลม ไฟ นี่เป็นสากล
ธรรมชาติ เป็นสภาวะ เป็นสากลศาสตร์
ดังนั้นคำสอนของพระพุทธองค์จึงสอนตามสากล-

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2023, 17:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมชาตินี้ สอนตามความจริงในสากลธรรมชาติ เมื่อ
เป็นอย่างนี้แล้วพระพุทธศาสนาสอนอะ ไร ถ้าเราเข้าใจ
พระพุทธศาสนาดีแล้วเราจะรู้ว่าพระพุทธศาสนานี้
โดยไม่ต้องมีใครมาบัญญัติให้เป็นสากล
เป็นเอง คำสอนของท่านเป็นสากลเอง อย่างน้อย
เรานับถือพระพุทธศาสนานี้ขอให้รู้เถิดว่า พระพุทธศาสนา
เป็นอะไรกันแน่ จะฏิบัติได้หรือไม่ ก็ยังไม่สำคัญ แต่
เมื่อนับถือพระพุทธศาสนาแล้วก็ขอให้เข้าใจเหตุผลใน
ศาสนาให้แน่นอน คำสอนของท่านเป็นสากล ท่านไม่ได้
ปันดาลขึ้นมาสอน

ธรรมชาตินี้มีเฉพาะพระพุทธศาสนาหรือที่อื่น
ก็มีไม่มีอะไรในโลกนี้ หรือในศาสนาใด ๆ ที่จะนอก
ไปจากคำสอน นอกไปจากธรรมชาติ แต่ในธรรมชาติ
เดียวกัน อาจจะมีความเห็นกันไปคนละอย่าง ๆ นั่นเป็น
อีกเรื่องหนึ่งแต่โดยลักษณะที่แท้จริ งแล้วต้องเหมือนกัน
ทีเดียว เพราะฉะนั้น พระพุทธศาสนานี้จึงเป็นคำสอน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2023, 04:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่จริง ทำไมจึงจริง เพราะเอามาจากความจริง ถ้า
ความจริงยังคงเบ็นไปอยู่ตราบใด ก็แบลว่าคำสอนของ
พระพุทธเจ้า ยังคงดำร งอยู่ตราบนั้น

แม้โลกนี้จะวิบัติไป สูญสิ้นหมดแล้คำสอน
ของพระพุทธเจ้าก็ยังคงอยู่
เพราะพระพุทธเจ้าสอน
ความวิบัติของโลกด้วย โลกจะสลายด้วยเหตุอย่างนั้น
เพราะฉะนั้นเมื่อถึงคราวโลกสูญสิ้นสลายไปหมดแล้ว
แสดงว่าคำสอนของพร ะพุทธ เจ้ายังมีอยู่ในขณะนั้นไม่มี
สูญเลย นี่เป็นคำสอนที่แท้จริง ที่ไม่มีการ เปลี่ยนแปลง

ดังนี้แล้ว พวกเ ราที่นับถือพร ะพุทธศาสนาจึง
น่าปลื้มใจ และน่ารู้ เมื่อมีความปลื้มใจ ก็จะต้องรู้ก่อน
ถ้าไม่รู้ว่าดีอย่างไรแล้ว ก็ไม่น่าจะปลื้มใจ และถ้าไม่รู้ก็
จะหาว่าคนที่นับถือพระพุทธศาสนานี้ เป็นคนคลั่งศาสนา
ต่าง ๆ นานา ตามที่จะว่าไป และถ้าศาสนาล้าสมัยก็คง
จะ เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
เช่นที่พระพุทธเจ้าทร งสอนว่า ไฟมีลักษณะร้อน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2023, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คำสอนนี้ล้าสมัยหรือ แต่ก่อนนั้นไฟมีลักษณะร้อน เดี๋ยวนี้
ไฟไม่ร้อนแล้วหรือ ความจริงแต่ก่อนไพก็ร้อนอยู่เหมือน
เดี๋ยวนี้ แล้วจะล้าสมัยอย่างไร

เพราะฉะนั้นเราก็น่าจะปลื้มใจ น่าบูชา ถ้า
มิฉะนั้นเราจะไม่รู้จักพระพุทธศาสนาที่เขาว่าจริง คือ
จริงอย่างไร เขาว่าดี ดีอย่างไร เราก็อาจจะไม่รู้
ว่าศาสนาพุทธกับศาสนาอื่น ต่างกันที่ตรงไหน เขาพูดกัน
ว่าศาสนาทุกศาสนาสอนเหมือนกันหมด เราผู้นับถืออยู่
เราควรจะรู้ว่าดีอย่างไร
ไม่ต้องไปว่าของเราดีกว่า
แต่ขอให้รู้ให้ถูกเถิดสิ่งที่ดีไม่ต้องว่าดี ก็ดีอยู่นั่นเอง
สำคัญแต่ว่าเราต้องรู้ว่าดีอย่างไรเท่านั้น อย่างนี้จึงจะ
เป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้รู้

การกำหนดธาตุทั้ง ๔ จะกำหนดอย่างไหนท่าน
ก็รวมไว้ทั้งสมถะและวิปัสสนา การกำหนดธาตุ ๔ ธาตุ
ดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ทำกสิณเบ็นสมถะก็ได้ เป็น
วิปัสสนาก็ได้ โดยกำหนดเป็นรูปธรรมนามธรรม
สัตว์ ไม่ใช่บุคคล แต่วิธีกำหนดนั้นต้องเป็นคนละอย่าง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2023, 05:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ใช่อย่างเดียวกัน ขอให้เข้าใจด้วย
การกำหนดนาม-รูป เป็นสมถะก็ได้ วิปัสสนา
ก็ได้

สมถะกำหนดนาม เช่น อากาสานัญจายตนจิต
อากิญจัญญายตนจิต เป็นอารมณ์ของอรูปฌาน
สมถะกำหนดรูป เช่น เพ่งกสิณทั้ง ๑๐ มีปฐวี
ซี่งเป็นรูป เป็นอารมณ์ของรูปฌาน
ในโลกนี้ไม่มีอะไรพ้นไปจากนาม-รูป ใครจะ
เอาอะไรไบกำหนดอย่างไร ก็คือกำหนดนาม-รูปนั่นเอง
แต่วิธีทำนั้นต่างกัน การทำขนมก็ใช้แป้ง ไข่ น้ำตาลเท่านั้น
แต่ที่เป็นขนมแตกต่างกันไป ก็ต่างกันด้วยวิธีทำ

ส่วนท่านที่เจริญวิปัสสนาล้วน เรียกว่าวิปัสส-
นายานิก หมายถึงไม่ต้องทำสมถะก่อน หรือไม่ต้องได้
ฌานมาก่อนท่านเหล่านี้กำหนดรูป-นาม จะกำหนด
อิริยาบถก็ได้ ส้มปชัญญะก็ได้ แล้วแต่ในบรรพใดบรรพหนึ่ง
ตามที่วางไว้ในมหาสติปัฏฐากำหนดกายหรือเวทนา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2023, 06:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


จิตหรือธรรมก็ได้ แล้วแต่
ตามกำหนดที่ควรจะเป็น
กัมมัฏฐานของวิปัสสนานั้น กำหนดได้ทั้งนั้น

ส่วนผู้ที่เจริญฌานอยู่ จะกำหนดอิริยาบถไม่ได้
สัมปชัญญะก็ไม่ได้ ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่าผู้เข้าฌานจะ
ต้องนั่งนิ่ง ๆ ฉะนั้นการกำหนดอิริยาบถ หรือการเคลื่อน
ไหวของอิริยาบถย่อยนี้ ผู้ที่เจริญฌานอยู่ ทำไม่ได้
ทิฏฐิวิสุทธิ หมายถึงความเห็น ก็ต้อง
กำหนดนามคือ องค์ฌาน โดยยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนา
ก็ชื่อว่า กำหนดนามเหมือนกัน ดังนี้เราก็จะรู้ได้ว่าการ
เป็นพระอรหันต์ ไม่จำเป็นจะต้องทำฌานให้ได้เสียก่อน
เช่น กำหนดอิรียาบถ ๔ หรือสัมปชัญญะนี้ ไม่ต้องได้ฌาน
ก็ได้

ทิฐิวิสุทธิ หมายถึงความเห็นว่าสิ่งทั้งหลาย ใน
โลกนี้ ไมมีสัตว์ บุคคล ตัวตน เทาดา พระอินทร์ พระ
ว่าสิ่งทั้งหลายใน
พรหม พระเจ้า พระพุทธเจ้า ไม่มีทั้งหมด ความเป็น
จริงใน ๓๑ ภูมินี้ ก็มีรูปกับนามเพียงสองอย่างเท่านั้น
นาม-รูปปริจเฉทญาณจะต้องรู้อย่างนี้ ความเข้าใจอย่าง
นี้เป็นความเข้าใจที่ถูก ไม่เจือด้วยความเห็นผิด ดิน น้ำ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2023, 16:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ไฟ ลม จะบัญญัติเป็นอะไร ไม่ได้ เพราะฉะนั้นนาม-รูป
ซึ่งมาจากดิน น้ำ ไฟ ลม จึงไม่ใช่อะไรทั้งหมด ที่เห็น
ว่า ไม่ใช่ผู้หญิง ไม่ใช่ผู้ชาย ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์
บุคคล จึงเป็นความ เห็นที่ถูกตร งกับความเป็นจริง

ในขณะที่จิตเข้าไปตั้งอยู่ในทิฏฐิวิสุทธิ รู้สึกว่า
เป็นนามเป็นรูปทุก ๆ อย่างแล้ว ความรู้สึกที่ว่าเป็นตัว
เป็นตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล ก็จะเข้าอาศัยเกิดขึ้นไม่ได้
เลย เพราะความรู้สึกนั้น ปฏิเสธบุคคล ฉะนั้นความรู้สึก
อย่างนี้หรือความเห็นอย่างนี้ จึงชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เป็น
เรื่องของปัญญาขั้นต้นที่จะต้องรู้อย่างนี้ เพราะฉะนั้น
ผู้ทำวิปัสสนาไม่ต้องไปดิ้นรนว่า วิปัสสนาจะเกิดหรือยัง
อุทยัพพยญาณจะ เกิดหรือยัง อย่าไปคิดอย่างนั้น อย่าไปทำ
จิตใจให้เบ็นอย่างนั้น เพราะจะเข้าถึงวิสุทธิได้ยากที่สุด
เป็นแต่เพียงว่าทำความเพียรให้ปัญญาที่รู้ว่า เป็นนามเป็น
รูปเกิดขึ้นเท่านั้น ก็พอแล้ว และต่อไปก็ไม่ต้องกังวล
เพราะว่าเมื่อเดินทางถูกแล้ว ต่อไปก็จะบฏิบัติถูกเอง
การรู้นาม-รูปนี้ก็มี ๓ ขั้น ซึ่งท่านก็หราบแล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2023, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คือรู้โดยการศึกษาตามขั้นปริยัติ รู้โดยขั้นปฏิบัติ คือกำหนด
รู้ในขณะบฏิบัติ เมื่อกำหนดแล้วจึงรู้นาม-รูปนั้นด้วยวิปัสส
นา ความรู้ใน ๓ ขั้นนั้น สองขั้นแรกยังเข้าถึงทิฏฐิวิสุทธิ
ไม่ได้ ต้องเข้าถึงภาวนาญาณจึงจะเข้าถึงทิฏฐิวิสุทธิได้
ที่ย้ำตรงนี้ก็เพราะว่า ทิฏฐิวิสุทธิ กับ กังขาวิตรณวิสุทธิที่
จะพูดต่อไปนี้เป็นของเนื่องกัน อารมณ์ของกังขาวิตรณ
วิสุทธิมาจากทิฏฐิวิสุทธิ เมื่อเข้าใจทิฏฐิวิสุทธิชัดเจนแล้ว
ก็จะได้รู้ว่ากังขาวิตรณวิสุทธินี้มาจากทิฏฐิวิสุทธิอย่างไร

เพราะฉะนั้น ขอให้ย้อนกลับมาเพื่อจะได้ทำ
ความ เข้าใจในเรื่องกังขาวิตรณวิสุทธิต่อไปว่า ทิฏฐิวิสุทธิ
นั้นคือ รู้นาม-รูปด้วยวิปัสสนาปัญญา ไม่ใช่รู้ด้วยปริยัติ
หรือคิดนึกเอาในขณะที่บฏิบัติ ต้องรู้นาม-รูปโดยซัดเจน
บริสุทธิ์ จนกระทั่งมิจฉาทิฏฐิคือความสำคัญผิดว่าเป็นตัว
เป็นตน ครอบงำไม่ได้แล้ว ความรู้อย่างนี้จึงเรียกว่า
ทิฏวิสุทธิ ส่วนกังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นวิสุทธิที่ต่อขึ้นไป
จากทิฏฐิวิสุทธิผู้ที่จะได้กังขาวิตรณวิสุทธิจะต้องได้
ทิฎฐิวิสุทธิเสียก่อน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 40 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร