วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 14:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2021, 13:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_mq05n7ZOBY1rgpyeqo1_250.gif
tumblr_mq05n7ZOBY1rgpyeqo1_250.gif [ 88.64 KiB | เปิดดู 1304 ครั้ง ]
สมาธิและวิปัสสนาระดับต้น

สำหรับสมาธิและวิปัสสนาระดับต้น หรือสมาธิและวิปัสสนาระดับอ่อนๆนั้นเริ่มตั้งแต่ช่วงที่นามรูปปริเฉทญาณแก่กล้า วิปัสสนาชื่อว่าบริบูรณ์เช่นกัน ตั้งแต่นามรูปปริเฉทนั้น ขณิกสมาธิระดับอ่อนก็จะเกิดขึ้น ด้วยอำนาจของขณิกสมาธิ นิวรณ์ ความตรึกนึกคิดทั้งหลายก็ไม่สามารถแทรกเข้ามาในระหว่างแห่งจิตกำหนดได้ จิตที่ทำหน้าที่กำหนดพิจารณาย่อมบริสุทธิ์หมดจดจากนิวรณ์ทั้งหมาย ดังนั้น ญาณทั้งหลายมีนามรูปปริเฉทญาณเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นในลักษณะที่รู้สภาวลักษณะของรูปนามทั้งหลายนั่นเทียว ก็ขณิกสมาธิซึ่งมีลักษณะคล้ายกับอุปจารสมาธิในแง่ของความหมดจดจากนิวรณ์เหมือนกันนั้น ย่อมเกิดขึ้นแน่นอน โดยเริ่มตั้งแต่นามรูปปริเฉทญาณเป็นต้น เพราะถ้าขณิกสมาธิดังกล่าวไม่เกิดขึ้น โยคีย่อมไม่สามารถรู้ตามสภาวะที่เป็นจริงได้เลย แม้แต่บุคคลที่เจริญวิปัสสนาล้วนๆ ก็ได้เข้าถึงสมาธิดังกล่าว โดยเริ่มตั้งแต่นามรูปปริเฉทญาณนั้นเช่นกัน ก็ขณิกสมาธิที่มีลักษณะเช่นนั้นได้ชื่อว่าเป็นจิตตวิสุทธิและเป็นสมาธิที่มีอุปการะแก่ญาณทั้งหลายมีนามรูปปริเฉทญาณเป็นต้นเป็นอย่างมาก

อนึ่งการแสดงสมาธิระดับอ่อนนี้ มีความสอดคล้องกับคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรร ที่ว่า โย ตตฺถ อวิกฺเขปตฺโถ อยํ อธิจิตฺตสิกฺขา ในวิปัสสนาจิตตุปบาทที่เกิดขึ้นพร้อมกับนามรูปปริเฉทญาณและปัจจยปริคคหญาณนั้น สภาวธรรมที่ไม่ซัดส่าย ฟุ้งซ่าน ท่านเรียกว่า อธิจิตฺตสิกขา ซึ่งความหมายของพระบาลีข้างต้นนั้น พึงแปลให้เชื่อมโยงกับพระบาลีที่ว่า ญาเณน อวิชฺชาย ปหานํ สีลํ. เป็นต้นเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าใจได้

สาเหตุที่เรียกนามรูปปริเฉทญาณและปัจจยปริคคหญาณว่า วิปัสสนา นั้นพึงทราบตามหลักฐานที่มาในคัมภีร์อรรถกถาทั้งหลาย เช่น คัมภีร์อัฏฐสาลินี หน้า ๓๘๖ คัมภีร์ัสังยุตตอรรถกถา เล่ม ๒ หน้า ๒๓๓ ดังนี้เป็นต้น ซึ่งมีข้อความว่า
โค้ด:
ยํ นามรูปปริจฺเฉทาทีสุ วิปสฺสนาญาเณสุ ปฏิปกฺขภาวโต "ทีปาโลเกเนวตมสฺส" เตน เตน วิปสฺสนาญาเณน ตสฺส ตสฺส อนตฺถสฺส ปทานํ. เสยฺยถิทํ นามรูปววตฺถาเนน สกฺกายทิฏฺฐิยา ปจฺจยปริคฺคเทน อเหตุวิสมเหตุทิฏฺฐีนํ ฯเปฯ โคตฺรภุนา สงฺขารนิมิตฺตคฺคาทสฺ ปหานํ เอตํ ตทงฺคปฺปทานํ นาม.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2021, 15:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ภายหลังจากที่ขณิกสมาธินี้แก่กล้วแล้วอารมณ์ที่เป็นรูปนามที่โยคีนำมากำหนด แม้จะเปลี่ยนเป็นอารมณ์ใหม่ๆ แต่ความตั้งมั่นแห่งจิตที่กำหนดพิจารณาที่จะปรากฏออกมาเสมือนเป็นเนื้อผ้าเดียวกัน จิตที่กำหนดดวงที่ ๒ ดวงที่ ๓ก็จะมีลักษณะเพ่งพินิจและตั้งมั่น เหมือนกับจิตดวงแรกนั่นเทียว ซึ่งในเวลสเช่นนี้ จิตเหล่านั้นก็เปรียบเสมือนกับสมถฌานทีเดียว จะต่างกันก็ตรงที่ว่า อารมณ์ของสมถฌานนั้นไม่เปลี่ยนแปลง เป็นอารมณ์เดียวเท่านั้น และอารมณ์ของฌานนั้นก็จะไม่ปรากฏโดยความนามรูป จะ ไม่ปรากฏโดยอาการที่เกิดดับ ส่วนอารมณ์ของวิปัสสนาสมาธินั้นเป็นอารมณ์ใหม่ๆ เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง และเป็นอารมณ์ที่ปรากฏโดยความเป็นนามรูป ในเวลาที่วิปัสสนาญานแก่กล้าก็จะปรากฏโดอาการที่เกิดดับนี้ความแตกต่างระหว่างสมถฌานกับวิปัสสนาสมาธิ แต่ลักษณะของการเพ่งพินิจพิจารณาและความตั้งมั่นนั้นไม่ต่างกัน เพราะฉะนั้น ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคมหาฎีกา จึงไดเกล่าวไว้ดังนี้
โค้ด:
ขณิกจิตฺเตกคฺคตาติ ขณมตฺตฏฺฐิติโก สมาธิ, โสปิ หิ อารมฺมเณ นิรนฺตรํ เอกากาเรน ปวตฺตมาโน ปฏิปกฺเขน อนภิภูโต วิย จิตฺตํ อนิจฺจลํ ฐเปติ.

(๑/๓๔๒)

คำว่าขณิกจิตเตกัคคตา หมายถึง สมาธิที่มีความตั้งมั่นในช่วงของวิปัสสนาจิตจริงอย่างนั้น ชณิกสมาธินั้นเมื่อเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยอากาาที่ตั้งมั่นอย่างเดียวในอารมณ์ที่เป็นรูปนามที่ตนนำมากำหนด ย่อมไม่ถูกนิวรณ์ซึ่งเป็นปฏิปักขธรรมเข้ามาครอบงำ เป็นสมาธิที่สามารถทพวิปัสสนาจิตให้ตั้งมั่นเหมือนกับอัปปนาสมาธิหรือเหมือนกับฌานสมาธิที่เข้าไปแนบแน่นในอารมณ์ ฉันนั้น

คำกล่าวของฎีกานี้พึงทราบว่า เป็นคำพูดที่สนับสนุนคำของอรรถกถาในใน อานาปากถาที่ว่า สมาทหํ จิตฺตํ ซึ่งแปลว่า ตั้งวิปัสสนาจิตให้แน่วแน่ด้ววขณิกสมาธิไว้หมายความว่าไม่ใช่เฉพาะอุปจารสมาธืและอัปปนาสมาเท่านั่นที่สามารถตั้งจิตให้ดำรงคงมั่น แม้ขณิกสมาธิก็สามารถที่ตั้งจิตให้มั่นคงเช่นกัน ซึ่งหากจะถามว่า ตั้งจิตให้มั่นคงได้เพียงไรนั้น ก็มีคำตอบว่า อารมฺมเณ นิรนฺตรํ เอกากาเรน ปวตฺมาโน สามารถตั้งมั่นวิปัสสนาจิตโดยอาการตั้งมั่นอย่างรวดเดียว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2021, 05:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่ออุปจารสมาธิมีความสม่ำเสมอแล้ว นิวรณ์คือความตรึกนึกคิดทั้งหลาย ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นในระหว่างกำหนดวิปัสสนาได้ จะมีแต่การกำหนดเท่านั้นที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นี่แหละคือความตั้งมั่นอย่างต่อเนื่องในขณะนั้น นอกจากนี้ด้วยคำว่า ปฏิกฺเขน อนวิภูโต อปฺปิโต วิย นี้ พึงทราบว่าเป็นคำที่แสดงถึงขณิกสมาธิ ที้ประกอบไปด้วยอุทยัพพญาณ และภังคญาณ เป็นต้นย่อมมีความแก่กล้ามากกว่านั้น มีพลังดุจอัปปนาสมาธิเลยทีเดียว ก็สมาธิเช่นนั้นไม่มีปฏิปักขธรรมใดๆ สามารถครอบงำสมาธิดังกล่าวได้ เพราะฉะนั้น จึงสามารถตั้งจิตให้มั่นคงดุจอัปปนาสมาธิได้ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ คือวิธีการจำแนกวิปัสสนา สมาธิ ๓ ประการ

ในคำว่า โวสฺสคฺคาวรณโต นั้น คำว่า โวสฺสคฺค มีความหมายที่สามารุนำมาใช้สองความหมายคือปริจฺจาค "สละ" และ ปกฺขนฺทน"แล่นไป" เหมือนกับในบทว่า โวสฺสคฺคปริณามึ ซึ่งในบรรดาอรรถทั้งสองนั้น หากจะเอาอรรถปริจฺจาคก็จะต้องตั้งรูปวิเคราะห์ว่า อารมฺณานํ โวสฺสคฺโค ปริจฺจาโค "การสละอารมณ์ทั้งหลาย" อนึ่ง แม้แต่คำว่าองค์ธรรมในที่นี้ โดยอารมณ์ก็ได้แก่พหิทธารมณ์ คืออารมณ์ภายนอกอารมณ์ทุดอย่างที่เป็นไปในทางนึกคิด พิจารณา จินตนาการโดยไม่ได้มาจากการกำหนดนัยวิปัสสนา เรียกว่า พหิทธารมณ์ อารมณ์ภายนอก ดังในสติปัฏฐานสูตรจากสังยุตนิกายที่ว่า พหิทฺธา วา จิตฺตํ อวิกฺขิปติ ดังนี้เป็นต้น หมายถึงอารมณ์ภายนอกที่นอกเหนือจากอารมณ์ของวิปัสสนานั่นเองหากอธิบายด้วยความหมายที่ว่าปักขันทนะ คือแล่นเข้าไปนั้นก็จะตั้งรูปวิเคราะห์ว่า อารมฺมเณ โวสฺสคฺโค ปกฺขนฺทนํ "แล่นเข้าไปในอารมณ์"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2021, 07:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า อารมณ์ในรูปวิเคราะห์นี้ องค์ธรรมได้แก่ โคจรัชฌัตตารมณ์ อารมณ์ภายในที่เป็นนิสัยหรืออารมณ์ของวิปัสสนาท่านเรียกว่า อัชฌัตตารัมมณะเหมือนคำบาลีว่า อชฺฌตฺตํ สติมา สุขมสฺมิ"เรามีสติ เป็นสุขอยู่ภายใน" ซึ่งมาในสติปัฏฐานสังยุตนั่นเทียว หมายความว่า อัชฌัตตารมณ์นี้เป็นอารมณ์ที่อยู่ภายใย โดยความเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนา บางครั้งเรียกโคจรัชฌัตตะก็มี

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ความหมายทั้งสอง คือ ทั้งปริจฺจาคและปกฺขนฺทนแตกต่างกันเพียงความหมายของศัพท์ ส่วนความหมายโดยอธิบายหรือโดยองค์ธรรมนั้นเหมือนกัน ซึ่งลักษณะที่เหมือนกันก็คือว่า โยคีย่อมสละซึ่งอารมณ์อันเป็นภายนอกซึ่งก็เท่ากับว่า เป็นการไม่นึกคิด ไม่จิตนาการโดยปราศจากการกำหนดวิปัสสนา ซึ่งความหมายนี้ก็มีลักษณะคล้ายกับที่กล่าวว่าแล่นเข้าไปในอารมณ์ที่เป็นภายใยนั่นเอง คือหมายความว่า โยคีกำลังทำการกำหนดพิจารณาอารมณ์ที่ควรกำหนดรู้อยู่อย่างจ่อเนื่องโดยไม่ปล่อยนั่นเอง นอกจากนี้ คำว่า "แล่นเข้าไปในอัชฌัตตารมณ์เท่านั้น" หมายความว่ามีการกำหนดพิจารณาอารมณ์อย่างต่อเนื่องนั้นก็เท่ากับเป็นการกล่าวว่าสละอารมณ์ที่เป็นภายนอก นั่นคือโยคีไม่มีการนึกคิดหรือตรึกถึงอารมณ์ต่างไภายนอกนั่นเอง เพราะฉะนั้น ความหมายของอรรถทั้งสองคือทั้งปริจจาคและปักขันทนะจึงเหมือนกันโดยความ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2021, 05:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปประเด็นหลัก

สำหรับวิปัสสนายานิกบุคคลนั้นไม่ได้ทำให้อุปจารสมธิและวิปัสสนาสมาธิเกิดขึ้นก่อน แต่มุ่งวิปัสสนาทันทีทันใด ซึ่งบุคคลเช่นนี้ย่อมไม่มีอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ แต่จะได้วิปัสสนาญาณเป็นอันดับแรก ครั้นเมื่อวิปัสสนาบริบูรณเต็มที่แล้วสมาธิก็จะเกิดขึ้น ซึ่งประเด็นนี้เป็นประเด็นหลักสำคัญ เป็นประเด็นหลักที่ควรจำ ซึ่งได้นำมาจากคัมภีร์อรรถกถาที่ท่านได้แสดงวิธีการเจริญวิปัสสนาแบบวิปัสสนาปุพพังคมนัยไว้

สำหรับอรรถกถาที่ท่านได้แสดงวิธีการเจริญวิปัสสนาไว้ ๒ อย่างนี้ ความจริงก็เป็นคำพูดที่ท่านกล่าวตามพระบาลีนั่นเอง เพียงแต่พระอรรถกถาจารย์ท่านได้เพิ่มเติมบางอย่างเข้ามา เพื่อให้ความปรากฏชัดเท่านั้น แต่โดยส่วนมากแล้วก็จะมีความหมายเท่ากับพระบาลีเป็นหลัก ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า ท่านลอกมาจากพระบาลีก็ได้ เพราะฉะนั้นคำพูดของพระอรรถกถาจารย์จึงไม่ควรที่ใครๆ จะมีความสงสัยหรือลังเลว่าตรงกับพระบาลีพุทธพจน์หรือไม่ เกี่ยวกับประเด็นนี้ หากโยคีทั้งหลายต้องการศึกษารายละเอียดก็จงไปดูในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธกกถา และในคัมภีร์ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบต ปฏิปทาวรรค ส่วนในวิปัสสนาชุนีนี้จะขอยกบาลีบางข้อจากปฏิสัมภิทามรรคมาแสดงเป็นแนวทางแก่การปฏิบัติต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2021, 14:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


การเห็นด้วยปัญญาว่า รูป เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เรียกว่าวิปัสสนา การเห็นด้วยปัญญาว่ารูปเป็นทุกข์ ว่าเป็น อนัตตากล่าวคือไม่อยู่ในการบังคับบัญชาของใคร ไม่ตัวตนบุคคลเราเขา ก็ได้ชื่อว่าวิปัสสนาเช่นกัน มิใช่แต่วิปัสสนาเท่านั้นที่เกิดขึ้น แต่ในขณะวิปัสสนานั้นเกิดหรือในขณะที่เกิดวิปัสสนาจิตตุปบาทนั้น ความไมาฟุ้งซ่านกล่าวคืความมีอารมณ์หนึ่งเดียวแห่งวิปัสสนาจิต ซึ่งเรียกว่า ความสละพหิทธารมณ์และการมีโคจรัชฌัตตารมณ์แล่นเข้าไป แห่งจิต ซึ่งท่านเรียกว่าเจตสิกทั้งหลายที่เกิดอยู่นั้นซึ่งท่านเรียกว่า สมาธิ ก็เกิด ด้วยเหตุนี้ จึงได้ชื่อว่า"วิปัสสนาเกิดขึ้นก่อนส่วนสมถะเกิดขึ้นทีหลัง" ดังนั้น บุคคลผู้เจริญวิปัสสนาหรือที่เรียกว่า วิปัสสนายานิกบุคคล นั้น ท่านเรียกว่า"ผู้เจริญสมถะโดยมีวิปัสสนานำหน้า"

อนึ่งในพระบาลีทั้งหลาย มีหลักภาวนา ๔ ประเภท ซึ่งรวมทั้งยุคนัทธนัยและธัมมมุทธัจจทานนัยอีกอย่างเข้าด้วย ก็ได้ครบ ๔ ประเภท แต่จะอย่างไรก็ตามในคัมภีร์อรรถกถา ที่ยกมาข้างต้นนั้น เป็นการแสดงวิธีเจริญภาวนาเพียงสองอย่างเท่านั้น ส่วนอีกสองอย่างที่เหลือเห็นว่าสามารถสงเคราะห์เข้าในนัยทั้งสองได้ เพราะฉะนั้น จึงมิได้แสดงไว้โดยตรง ซึ่งลักษณะของการสงเคราะห์เข้าพึงทราบดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร