วันเวลาปัจจุบัน 04 ธ.ค. 2024, 23:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2024, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8291


 ข้อมูลส่วนตัว




Screenshot_20241012_173844_TikTok.jpg
Screenshot_20241012_173844_TikTok.jpg [ 176.98 KiB | เปิดดู 871 ครั้ง ]
อธิบาย มหาวิปัสสนา ๑๘

[๗๒๒] คำว่า โดยอาการทั้งปวง คือ ที่พึงถึงได้โดยอาการทั้งปวง คือ โดยไม่มี
ส่วนเหลือลง ทั้งโดยสรูปและโดยกิจ มิใช่กล่าวโดยส่วนเดียวเหมือนในที่นี้. บทว่า อิเธว
โยค ตีรณปริญญายเมว แปลว่า ในตีรณปริญญานี้แหละ. ในที่นี้เป็นการได้เฉพาะซึ่ง
อนุปัสสนาบางอย่างเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า เมื่อแทงตลอดส่วนหนึ่ง
ดังนี้ ก็อนุปัสสนาเหล่านั้น ท่านอาจารย์ย่อมแสดงโดยสรูปเองทีเดียว ฉะนี้แล คำว่า
ธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อธรมปัสสนานั้น ควาหมายว่า ย่อมละ คือ คือ ข่มธรรมอันเป็นปฏิกษ์
ต่ออนุปัสสนาที่มีอยู่ในที่นี้ ได้แก่ ธรรมมีนิจจสัญญาเป็นต้น คำว่า ขยานุปัสสนา ได้แก่
การพิจารณาเห็นความดับไปทุกขณะแห่งสังขาร. บทว่า ภเวนฺโต แปลว่า เจริญ
(๒๖๑) คำว่า ฆนสัญญา ได้แก่ การยึดถือว่าเป็นสิ่งเดียวกัน ด้วยอำนาจสันตติ
สมูหะ กิจ และอารมณ์. อาจารย์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่า คำว่า ขยานุปัสสนา ได้แก่
การพิจารณาเห็นความมีแล้วไม่มี ปัญญาอันเป็นเหตุทำการแยกความเป็นก้อน แล้วเห็นว่า
ไม่เที่ยง โดยความหมายว่า สิ้นไป ชื่อว่า ขยานุปัสสนา. ตั้งแต่ภังคานุปัสสนาไปจึงไม่มี
การละฆนสัญญาได้ เพราะเป็นการท่าภังคานุปัสสนานั้นให้บริบูรณ์ก่อนแต่นั้น การละ
ฆนสัญญานั้นยังไม่มี เพราะภังคานุปัสสนานั้นยังไม่บริบูรณ์ แม้ในอนุปัสสนาอื่นก็อย่างนี้
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพิงเห็นความที่วิปัสสนาปัญญา เป็นธรรมชาติบริบูรณ์และไม่บริบูรณ์
ในเพราะปหานปริญญา และติรณปริญญา

ความที่ได้เห็นความดับแห่งสังขารทั้งหลายโดยประจักษ์และโดยคล้อยตามไป แล้ว
น้อมไปในนิโรธ กล่าวคือความดับในสังขารนั่นเอง ชื่อว่า วยานุปัสสนา, โยคี ย่อมละ
อายูหนะ (ความพยายาม) ด้วยวยานุปัสสนานั้น โยคีย่อมพยายามเพื่อประโยชน์อันใด
และด้วยอนุปัสสนาใด, ก็เมื่อประโยชน์และอนุปัสสนานั้นเป็นไปแล้ว จิตของโยคีนั้นย่อมไม่
น้อมไปในตัณหาแล ด้วยเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า เมื่อเจริญวยานุปัสสนา ย่อมละ
อายูหนะได้. การเห็นความแปรปรวน ๒ ประการ คือโดยขราและมรณะของสัตว์ที่เกิตแล้ว
หรือการเห็นความเป็นอย่างอื่นต่อจากกำหนดนั้นๆ ของโยคีผู้กำหนดจับได้ได้โดยเป็น
รูป ๗ ประการเป็นต้น ชื่อว่า วิปริณามานุปัสสนา (ปัญญาคำนึงเห็นความปรวนแปร),
โยคีย่อมละธุวสัญญา คือ ความยึดถือว่าเป็นความมั่นคงด้วยวิปริณามานุปัสสนานั้น

อนุปัสสนาทั้งหลายมี อนิมิตตานุปัสสนา เป็นต้น ก็คืออนิจจานุปัสสนาเป็นต้นนั้นเอง.
คำว่า นิมิต ได้แก่ อาการเป็นเพียงความปรากฏ เหมือนอย่างมีร่างกายเพราะความ
ที่สังขารทั้งหลายมีความกำหนดด้วยกิจของตน โดยภาวะที่เป็นความตั้งลงในระหว่างแห่ง
กาล และโดยภาวะที่เป็นของเที่ยง ที่ยึดถือเอาความสำคัญว่า เป็นอันเดียวกัน ในเพราะ
ความสืบต่อและในความประชุม. คำว่า ปณิธิ ได้แก่ ความปรารถนาความสุข หรือความ
ที่ปณีธิคือราคะเป็นต้น โดยความหมาย ได้แก่ ความที่น้อมไปในสังขารด้วยอำนาจตัณหา.
คำว่า อภินิเวส ได้แก่ ความยึดมั่นอัตตา. ก็อนิจจานุปัสสนาเป็นต้น ท่านถือเอาโดยความ
เป็นนิมิตเป็นต้นนั่นเอง พึงเห็นว่าเป็นปฏิปักษ์กัน เหมือนอย่างนิจจสัญญาเป็นต้น
อันอนิจจานุปัสสนาเป็นต้นพึงละ ฉะนั้น วิปัสสนาทีเป็นไปโดยรู้อารมณ์มีรูปเป็นต้น เห็นความดับ
ของจิตที่มีรูปเป็นต้นนั้นเป็นอารมณ์ แล้วยึดถืองเอาความว่างเปล่า ด้วยอำนาจความดับว่า
สังขารเท่านั้นแตกไป การตายของสังขารหามีอะไรอื่นไม่ ดังนี้. วิปัสสนา คือความเห็นแจ้ง
ในกรรมทั้งหลายนั้นด้วย เป็นอธิปัญญาด้วย เหตุนั้น จึงที่เข้าว่า อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2024, 16:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8291


 ข้อมูลส่วนตัว


โยคีย่อมละความยึดมั่น อันเป็นไปด้วยความยึดถีอเอาว่า มีสาระอยู่เป็นนิจเป็นต้น คือ ทิฐิ
พร้อมทั้งตัณหา ด้วยอธิปัญญาธรรมวิปัสสนานั้น ที่ชื่อว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ ได้แก่ การ
เห็นนามและรูปพร้อมทั้งปัจจัย ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะเนั้น โยคีย่มละสัมโมหาภินิเวส
(ความยึดมั่นด้วยความงมงาย) เป็นต้นอย่างนี้ว่า ในอดีตกาล เราได้มีแล้วรือหนอ" หรือ
เป็นต้นอย่างนี้ว่า "โลก พระอิศวรสร้างขึ้นจึงมี" ดังนี้.

ญาณที่เห็นโทษในพทั้งปวงเป็นต้น ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความปรากฎโดยความเป็น
ของน่ากลัว ชื่อว่า อาทีนวานุปัสสนา (ปัญญาคำนึงเห็นโทษ), โยคีย่อมละอาลยาภินิเวส)
(ความยึดมั่นด้วยความอาลัย) คือตัณหาที่เป็นไปอย่างนั้น เพราะไม่เห็นที่อาศัยของความ
อาลัยแม้ของใคร ๆ ด้วยอาทินวานุปัสสนานั้น. ญาณพิจารณาอันเป็นอุบายหาทางพ้นสังขาร
ชื่อว่า ปฏิสังขานุปัสสนา, โยคี ย่อมละ อวิชขาอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการพิจารณาหาทางพ้น
เพราะมิได้พิจารณาในความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ด้วยปฏิสังขานุปัสสนานั้น

สังขารุเบกขาและอนุโลมญาณ ชื่อว่า วิวัฏฏานุปัสสนา (ปัญญาคำนึงเห็นวิวัฏฎะ
คือทางพ้นจากวัฏฏะ), ก็ด้วยอำนาจแห่งวิวัฏฏานุปัสสนานั้น จิตของโยคีนั้นย่อมหลีกออก
ถอยออก จากสังขารทั้งปวง เหมือนหยาดน้ำบนใบบัว ฉะนั้น, เพราะเหตุนั้น โยคีย่อมละ
สังโยคาภินิเวส (ความยึดมันด้วยอำนาจสังโยคะ) คือความเป็นไปแห่งกิเลสมีกามสังโยคะ
เป็นต้น ด้วยวิวัฏฏานุปัสสนานั้น. อนุปัสสนาทั้ง ๗ มือนิจจานุปัสสนาเป็นต้น ข้าพเจ้าได้
จำแนกแล้วโดยอรรถในหนหลัง และจะสังวรรณนาต่อไป ฉะนั้นจึงไม่กล่าวไว้ในที่นี้

บทว่า ตาสุ โยค อฏฐารสสุ มหาวิปสฺสนาสุ แปลว่า ในมหาวิปัสสนา ๑๘ นั้น
บทว่า อิมินา โยค โยคินา แปลว่า โยคีนี้ บทว่า ตสฺมา โยค อนิจฺจาทิลกฺขณตฺตยวเสน
สงฺขารานํ ทิฏฺฐตฺตา แปลว่า เพราะเหตุที่สังขารทั้งหลายเธอเห็นแล้ว ด้วยอำนาจลักษณะ
ทั้ง ๓ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น จริงอยู่ การเห็นนั้นเป็นอนุปัสสนามีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น
แล. บทว่า ปฏิวิทฺธา ความว่า ได้เฉพาะแล้ว จริงอยู่ ธรรมพร้อมทั้งวิสัยอันโยคีแทง
ตลอดแล้วด้วยญาณโดยส่วนใด ก็ชื่อว่าเป็นอันได้เฉพาะญาณนั้นโดยส่วนนั้น. ต่างกันแต่
พยัญชนะเท่านั้น เหมือนคำว่า รุกโข ปาทโป ตรุ ก็แปลว่า ตันไม้เหมือนกัน ตาปิ โยค
อนิมิตฺตาปณิหิตสุญฺญตานุปสฺสนา แปลว่า แม้อนิมิตตานุปัสสนา อัแปณิหิตานุปัสสนา และ
สุญฺญตานุปัสสนาเหล่านั้น วิปัสสนาทั้งหมด อธิบายว่า เพราะเหตุนั้น ก็เป็นป็นอันโยคีแทง
ตลอดแล้วโดยส่วนหนึ่ง ที่เช่นว่า สงเคราะห์ด้วยกังขาวิตรณวิสุทธินั่นเอง มีอรรถว่า เพราะ
เหตุนั้น ยถาภูตญาณทัสสนะนั้นสำเร็จแล้วก่อนที่เดียว.ด้วยเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าว
ว่า แม้อธิปัญญาธรรมวิปัสสนาและยถาภูตญาณทัสสนะทั้ง ๒ นี้ ก็เป็นอันโยคีแทงตลอด
แล้วเหมือนกัน

ในวิปัสสนาญาณทั้งหลายที่เหลือ คือในวิปัสสนาญาณ ๑๐ มีนิพพิทานุปัสสนา
เป็นต้น ด้วยคำว่า บางส่วนก็เป็นอันแทงตลอด บางส่วนยังแทงตลอดไม่ได้ นี้ ท่านอาจารย์
กล่าวการแทงตลอดเอกเทศแห่งวิปัสสนาญาณเหล่านั้น.เพราะว่าเมื่ออนิจจานุปัสสนา
สำเร็จแล้ว นิโรธานุปัสสนา ขยานุปัสสนา วยานุปัสสนา และวิปริณามานุปิสสนา ก็ชื่อว่า
เป็นอันสำเร็จโดยเอกเทศ, เมื่อทุกขานุปัสสนาสำเร็จแล้ว นิพพิทานุบัสสนา และอาทีนวา
นุปัสสนา ก็เป็นอันสำเร็จโดยเอกเทศ, เมื่ออนัตตานุปัตสนาสำเร็จแล้ว อนุปัสสนานอกนี้
ก้เป็นอันสำเร็จโดยเอกเทศแล.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร