วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 13:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2008, 15:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิ หมายถึง ความบริสุทธิ์ หรือความหมดจดจากกิเลส ที่เป็นไปทางกาย ทางจิต และทางปัญญา คือ หมดจดจากกิเลส ทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียด

วิสุทธิมี ๗ ขั้น ได้แก่ ศีลวิสุทธิ, จิตตวิสุทธิ, ทิฏฐิวิสุทธิ, กังขาวิตรณวิสุทธิ, มัคคามัคคญาณทัสสนะวิสุทธิ, ปฏิปทาญาณทัสสนะวิสุทธิ, ญาณทัสสนะวิสุทธิ ในวิสุทธิทั้ง ๗ ที่จัดเป็นปัญญาวิสุทธิมี ๕ ระดับ คือ ตั้งแต่ทิฏฐิวิสุทธิ จนถึงญาณทัสสนวิสุทธิ

ในแต่ละวิสุทธิ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน จะเจริญเพียงอย่างเดียวหรือจะข้ามขั้นกันไม่ได้ ต้องเจริญอย่างต่อเนื่องกัน และไม่อาจเกิดขึ้นเองโดยลำพัง กล่าวคือ ศีลวิสุทธิ ต้องเป็นปัจจัยแก่ จิตตวิสุทธิ และจิตตวิสุทธิก็เป็นปัจจัยแก่ปัญญาวิสุทธิ การที่จะเป็นวิสุทธิหรือไม่เป็นวิสุทธินั้นขึ้นอยู่กับการโยนิโสมนสิการ

๑. ศีลวิสุทธิ

หมายถึง ศีลเพื่อละกิเลส มิใช่ศีลเพื่อกิเลส ศีลแต่ละข้อล้วนมาจากอำนาจจิตใจ ไม่ใช่มาจากร่างกาย
หรือจากอำนาจภายนอก ศีลมีทั้งที่บริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ ที่ไม่บริสุทธิ์ คือ ศีลที่รักษา เพราะต้องการได้บุญ อยากร่ำรวยทรัพย์สิน ปรารถนาไปเกิดอีกในที่ดี ๆ เป็นต้น ส่วนศีลที่เป็นวิสุทธินั้ต้องเป็นศีลที่ถือ เพื่อปรารถนาพระนิพพานเท่านั้น ศีลที่จัดเป็นศีลวิสุทธิมี 4 อย่าง คือ ปาติโมกข์สังวรศีล, อินทรียสังวรศีล, อาชีวะปาริสุทธิศีล และปัจจยสันนิสิตศีล

ปาติโมกข์สังวรศีล เป็นความบริสุทธิ์ในการประพฤติตามธรรมวินัยที่พระพุทธองค์บัญญัติไว้ พระภิกษุที่มาบวชในพระพุทธศาสนา มิใช่บวชเพื่อลาภ ยศ สรรเสริญ สุข แต่บวชเพื่อประพฤติพรหมจรรย์ ให้พ้นจากทุกข์ พ้นจากสังสารวัฏของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เท่านั้น ปาฏิโมกข์สังวรศีลนี้จะบริสุทธิ์ได้ ก็ด้วยกำลังของศรัทธาที่จะพ้นทุกข์จริง ๆ จึงจะรักษาได้ เป็นศีลของพระภิกษุโดยตรง ส่วนฆราวาสจะใช้เพียงศีล ๕ หรืออุโบสถศีลเท่านั้น

อินทรีย์สังวรศีล คือ ความบริสุทธิ์ในการสำรวมทวารทั้ง ๖ ในขณะตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรู้รส กายถูกต้อง ใจรู้ธรรมารมณ์ โดยการสำรวมไม่ให้อภิชฌาและโทมนัสเข้าอาศัยได้ กิเลส คือ ความรัก ความโกรธ ความหลง เข้าครอบงำไม่ได้ อินทรีย์สังวรนี้จะบริสุทธิ์ได้ก็ด้วยกำลังของสติ

อาชีวะปาริสุทธิศีล คือ ความบริสุทธิ์ในการเลี้ยงชีพ สิ่งใดที่ไม่ถูกต้องด้วยพระธรรมวินัย จะไม่ก้าวล่วงเด็ดขาด ถึงแม้ชีวิตต้องตกต่ำหรือตายไปก็ยอม แต่ไม่ยอมผิดศีล โดยส่วนมากแล้วคนเรามักจะผิดศีลเพราะเห็นแก่ลาภ เห็นแก่ยศ เห็นแก่ญาติ และเห็นแก่ชีวิต แต่อาชีวปาริสุทธิศีลนี้ไม่ยอมมีที่สุด แม้เพราะลาภ ยศ หรือญาติ หรือเพราะชีวิต เพราะชีวิตเป็นไปเพื่อทุกข์ จึงรักษาพระธรรมวินัยดีกว่า เพราะพระธรรมวินัยช่วยสงเคราะห์แก่สัตว์โลก ให้ถึงความพ้นทุกข์ อาชีวปาริสุทธิศีลนี้จะบริสุทธิ์ได้ก็ด้วยกำลังของวิริยะ

ปัจจยสันนิสิตศีล คือ ความบริสุทธิ์ในการรับปัจจัย ขณะที่พระภิกษุจะรับปัจจัย ๔ ต้องพิจารณาเสียก่อนว่า ควรแก่สมณะหรือไม่ ถ้าไม่ควรก็ไม่รับ การใช้เครื่องนุ่งห่มก็เช่นกันต้องพิจารณาก่อนว่า นุ่งห่มเพื่ออะไร มิใช่เพื่อความสวยงาม แต่เพื่อกันความหนาว ความร้อน แมลงต่าง ๆ เป็นต้น อันเป็นเหตุไม่สะดวก แก่การเจริญสมณะธรรม ปัจจยสันนิสิตศีลจะบริสุทธิ์ได้ก็ด้วยกำลังของปัญญา

๒. จิตตวิสุทธิ

หมายถึง จิตที่มีความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลส จิตตวิสุทธิว่าโดยอรรถ ได้แก่ สมาธิวิสุทธิ จิตตวิสุทธิหรือสมาธิวิสุทธิ ต้องเป็นไปเพื่ออานิสงส์ที่เป็นปัจจัยแก่การพ้นทุกข์เท่านั้น สมาธินี้จึงชื่อว่าบริสุทธิ์ ถ้าทำสมาธิเพื่อจะได้มีความสุข ต้องการให้จิตสงบ ความเข้าใจเช่นนี้ สมาธินั้นก็ไม่บริสุทธิ์ เพราะไม่ต้องการพ้นทุกข์
(ขุ. ปฏิ. ญาณกถา ๓/๗๒)

หน้าที่ของสมาธิในสติปัฏฐานนั้น คือ การทำลายอภิชฌาและโทมนัส หรือทำลายความยินดียินร้ายที่อยู่ในจิตใจ ซึ่งศีลไม่สามารถทำลายความรู้สึกนึกคิดได้ ศีลเพียงแต่กันไม่ให้แสดงออกทางกาย ทางวาจาเท่านั้น นิวรณ์ธรรมเกิดขึ้นในระดับจิตใจขณะที่คิดนึกถึงเรื่องราวที่เป็นอดีตหรืออนาคต ถ้าขณะใดจิตตั้งมั่นในอารมณ์ปัจจุบันแล้ว นิวรณ์จะเกิดไม่ได้เลย

สมาธิมีอยู่ ๓ ขั้น คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ขณิกสมาธิเป็นได้ทั่วไปในอารมณ์ทั้ง ๖ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ขณะย้ายอารมณ์ไปตามทวารทั้ง ๖ ด้วยเหตุใดก็ตาม ขณิกสมาธิจะติดตามไปด้วยเสมอ ขณิกสมาธิดังกล่าวนี้จึงเป็นปัจจัยหรือเป็นบาทฐานให้แก่วิปัสสนา เพราะการเปลี่ยนอารมณ์ที่เป็นไปตามเหตุผลนั้นเอง ที่เป็นเหตุให้เห็นถึงความเกิดขึ้นและดับไปของอารมณ์และของจิตได้ถ้าหากไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์แล้ว ยากที่จะเข้าใจถึงสภาวะของความเกิด ความดับ ของจิตได้

(วิสุทธิ. อ. ภาค ๒/๒๙)

ความเกิดของจิตในอารมณ์หนึ่ง ๆ นั้น รวดเร็วมากจนไม่ทันเห็นความดับของจิตได้ จึงคิดว่าอารมณ์มีอยู่ ดังนั้น สมาธิที่แน่วแน่จึงไม่เป็นบาทแก่วิปัสสนา และไม่เป็นเหตุให้เห็นความเกิดขึ้นและความดับไปของจิตและอารมณ์ ความสามารถในการรู้ทุกข์ในจิตหรือในอารมณ์นั้น ไม่อาจรู้ได้ด้วยสมาธิ แต่จะรู้ได้ด้วยปัญญา จิตที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของสติปัฏฐาน จึงเป็นบาทให้เห็นความเกิดขึ้นและดับไปของอารมณ์ได้ ผู้บำเพ็ญเพียรจะโดยสมถะก็ดี หรือวิปัสสนาก็ดี สิ่งสำคัญอยู่ที่อารมณ์ที่ใช้ในการพิจารณา จึงต้องศึกษาเรื่องอารมณ์ว่าอารมณ์อย่างไร จึงจะเป็นปัจจัยแก่วิปัสสนา และอารมณ์อย่างไรเป็นปัจจัยแก่สมถะ

สมาธิที่เป็นจิตตวิสุทธิ จะต้องเป็นไปในอารมณ์ของสติปัฏฐาน เพราะทำลายกิเลส คือ อภิชฌาและโทมนัส ถ้าสมาธิไม่มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์แล้ว จะทำให้เกิดความสงบ มีความสุข มีความพอใจในความสงบหรือความสุขนั้น ความพอใจเป็นกิเลสอย่างหนึ่งอาศัยสมาธิเกิดขึ้น สมาธิเช่นนี้จึงไม่สามารถทำลายอารมณ์วิปลาสได้

สำหรับการเจริญวิปัสสนาของผู้ที่ได้ฌานแล้ว มีวิธีทำอย่างไร (อัฏฐสาลินี อ. ๑/๓๕๕) ที่เรามักได้ยินกันว่า ยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนา นั้นหมายความว่า ในองค์ฌานทั้ง ๕ คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข และเอกัคคตา ผู้ที่ได้ฌานมักจะติดในสุข และเพลิดเพลินในสุข ความสุขนี้เกิดจากปิติเป็นเหตุ ฉะนั้น การยกองค์ฌานจึงอาศัยการเพ่งปิติซึ่งเป็นองค์ฌานและเป็นนามธรรมนั่นเอง ธรรมชาติของปิตินั้นจะเพ่งหรือไม่เพ่งก็มีการเกิดดับ แม้จิตที่เป็นสมาธิก็มีการเกิดดับ ปิติซึ่งอาศัยจิตที่ได้ฌานแล้ว ยิ่งเกิดดับรวดเร็วมาก ปิตินั่นแหละจะแสดงความเกิดดับให้ปรากฏแก่ผู้เพ่งพิจารณา เมื่อเห็นว่าปิติมีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาแล้ว จิตก็จะดำเนินไปในอารมณ์ของวิปัสสนาด้วยอำนาจของการเพ่งลักษณะของปิติ (ไม่ใช่เพ่งอารมณ์บัญญัติ) วิปลาสก็จับในอารมณ์นั้นไม่ได้

ดังนั้น ถ้าฌานใดที่เพ่งลักษณะ หรือสมาธิใดที่พิจารณาลักษณะที่กำลังเปลี่ยนแปลง
(ลักขณูปนิชฌาน) สมาธินั้นชื่อว่าเป็นบาทของวิปัสสนา และเรียกสมาธินั้นว่า จิตตวิสุทธิ ส่วนสมาธิใดที่เพ่งอารมณ์บัญญัติ (อารัมมณูปนิชฌาน) ไม่เพ่งลักษณะ ไม่จัดว่าเป็นจิตตวิสุทธิ

๓. ทิฏฐิวิสุทธ

หมายถึง ปัญญาที่มีความเห็นถูก หรือรู้ถูกตามความเป็นจริงโดยปราศจากกิเลส คือ เห็นนามและรูปว่าไม่ใช่สัตว์ บุคคล เป็นสิ่งที่ไม่มีเจ้าของ ไม่อยู่ในอำนาจใด ได้แก่ นาม-รูปปริจเฉทญาณ การเห็นเช่นนี้เป็นภาวนาปัญญา ถ้าเพียงแต่คาดคะแนคิดนึก (สุตามยปัญญ) หรือการวิพากษ์วิจารณ์ (จินตามยปัญญา) จะเข้าถึงวิสุทธิไม่ได้เลย ทิฏฐิวิสุทธิเป็นผลซึ่งเกิดจากการทำเหตุได้ถูกต้อง

จึงควรศึกษาถึงเงื่อนไขการกำหนดนาม-รูปอันเป็นตัวกรรมฐานว่าจะพิจารณาอย่างไร จะโยนิโสมนสิการอย่างไร จึงจะถูกต้อง ถ้าทำเหตุถูกต้องตามควรแก่ผลแล้ว ผลนั้นก็จะเกิดขึ้นได้ การพิจารณานามรูปจะถูกต้อง ก็เนื่องมาจากการศึกษาปริยัติมาอย่างถูกต้องตามปัญญาบารมีของผู้ปฏิบัติเป็นสำคัญ จึงจะผ่านอุปสรรค คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ที่เป็นศัตรูสำคัญที่กีดขวางมิให้พบเหตุหรือทำเหตุที่ถูกได้

๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ

เป็นปัญญาที่ต่อเนื่องมาจากทิฏฐิวิสุทธิ มีความเชื่ออย่างแน่นอนแล้วว่า ในอดีตมีการเวียนว่ายตายเกิด มาแล้ว และในอนาคตก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกถ้ายังทำเหตุของการเกิดอยู่ ผู้ปฏิบัติจะ หมดความสงสัยในเรื่องภพชาติ ทั้งชาติที่แล้วมา ชาตินี้ หรือชาติหน้า จากทิฏฐิวิสุทธิที่เกิดด้วย นาม-รูปริจเฉทญาณที่รู้เพียงความแตกต่างของนามและรูป แต่ไม่รู้ว่านามและรูปเหล่านั้นมาจากไหน

ในกังขาวิตรณวิสุทธิที่หมดความสงสัยได้ เพราะเมื่อกำหนดนาม-รูปจนเข้าใจ

(มีต่อ)

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2008, 15:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกุตตรจิต มาจากคำว่า โลก + อุตตร + จิต

โลก หมายถึงโลกทั้ง ๓ คือ กามโลก(กามภูมิ) รูปโลก(รูปภูมิ) และอรูป-โลก(อรูปภูมิ) ก็ได้ อีกนัยหนึ่งคำว่า โลก หมายถึงการเกิดดับก็ได้

อุตตร มีความหมายว่า เหนือ หรือ พ้น

ดังนั้นโลกุตตรจิตจึงเป็นจิตที่เหนือโลกทั้ง ๓ เป็นจิตที่พ้นจากโลกทั้ง ๓ ซึ่งมิได้หมายความว่า จิตนี้อยู่เหนือโลกหรือจิตนี้พ้นไปจากโลก แต่หมายความว่า จิตนี้มีอารมณ์ที่เหนือโลก มีอารมณ์ที่พ้นจากโลก คือโลกุตตร จิตนี้มีนิพพานเป็นอารมณ์ ซึ่งนิพพานเป็นธรรมที่พ้นจากโลก เป็นธรรมที่เหนือโลก

โลกุตตรจิตเป็นจิตที่พ้นจากการเกิดดับ ซึ่งไม่ได้หมายความว่า จิตนี้ไม่ได้เกิดดับ จิตนี้คงเกิดดับตามสภาพของจิต แต่เป็นจิตที่มีอารมณ์อันพ้นจากการเกิดดับ อารมณ์นั้นคือ นิพพาน ซึ่งนิพพานเป็นธรรมที่ไม่มีการเกิดดับ ธรรมทั้งหลายในโลกทั้ง ๓ ย่อมเกิดดับทั้งสิ้น แต่นิพพานเป็นธรรมที่ไม่เกิดดับเป็นธรรมที่พ้นจากการเกิดดับ นิพพานจึงเป็นธรรมที่พ้นจากโลก เป็นธรรมที่เหนือโลก

อีกนัยหนึ่ง โลกุตตรจิตมีความหมายว่า เป็นจิตที่กำลังประหารและประหารแล้วซึ่งกิเลส หมายความว่าโลกุตตรกุสลจิตหรือมัคคจิตนั้นกำลังทำการประหารกิเลสอยู่ โลกุตตรวิบากจิตหรือผลจิต เป็นจิตที่เสวยผลซึ่งมัคคจิตได้ประหารกิเลสนั้นแล้ว เป็นการประหารได้อย่างเด็ดขาด อันทำให้กิเลสนั้น ๆ หมดสิ้นสูญเชื้อไปโดยสิ้นเชิง จนไม่สามารถที่จะเกิดมาก่อความเศร้าหมองเร่าร้อนอีกต่อไปได้เลย การประหารเช่นนี้แหละที่เรียกว่า สมุจเฉทปหาน

โลกุตตรจิต มี ๘ ดวง คือ โลกุตตรกุสลจิต ซึ่งเป็นประเภท อริยมัคค ๔ และโลกุตตรวิบาก ซึ่งเป็นผลของโลกุตตรกุสลจิตอีก ๔

จำง่าย ๆ สั้น ๆ ว่า มัคคคือกุสล ผลคือวิบาก ซึ่งหมายความว่า มัคคจิตนั้นเป็นชาติกุสล ผลจิตนั้นเป็นชาติวิบาก

มีข้อสังเกตว่าโลกุตตรจิตมีแต่โลกุตตรกุสลและโลกุตตรวิบาก ไม่มีโลกุตตรกิริยาด้วยเลย ที่โลกุตตรจิตไม่มีโลกุตตรกิริยานั้นเพราะโลกุตตรกิริยาถ้ามีก็คือ มีโลกุตตรกุสลอันเกิดในสันดานพระอรหันต์

อันว่ามหากุสลหรือมหัคคตกุสลนั้น สามารถเกิดได้บ่อยๆ เกิดได้เนือง ๆ ดังนั้นจึงเกิดในสันดานพระอรหันต์ได้เสมอ เมื่อเกิดขึ้นก็เป็นมหากิริยา หรือมหัคคตกิริยาไป ไม่เหมือนกับ มัคคจิต ซึ่งเกิดได้เพียงมัคคละครั้งเดียวคือ โสดาปัตติมัคคก็เกิดได้ครั้งเดียว สกทาคามิมัคค อนาคามิมัคค ตลอดจนอรหัตตมัคค ก็เกิดได้มัคคละครั้งเดียวเท่านั้น เพราะมัคคจิตนั้นเกิดขึ้นมาเพื่อประหารกิเลสและประหารเป็นสมุจเฉทเสียด้วย เมื่อได้เป็นถึงพระอรหันต์ซึ่งได้ประหารกิเลสจนหมดจดโดยสิ้นเชิง ไม่มีกิเลสเหลือเลยแม้แต่น้อย ก็ไม่ต้องมีมัคคจิตเกิดขึ้นมาประหารอะไรอีก ดังนั้นจึงไม่มีโลกุตตรกิริยาจิต

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2008, 20:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ย. 2005, 15:24
โพสต์: 179


 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วโลกุตรธรรมเก้า คือยังไงหนอ ...

ตอบ
โลกุตตรธรรม ๙ ได้แก่
มรรค ๔
ผล ๔
นิพพาน ๑
รวมเป็น ๙ ครับ

.....................................................
คำพูดเพียงน้อยนิดอาจเปลี่ยนชีวิตของคนได้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร