วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2009, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายของปรมัตถธรรม

ก่อนที่จะทำความเข้าใจในสภาวะอันเป็นปรมัตถธรรม
ควรทราบว่า ปรมัตถธรรม (ปรโม อวิปริโต อตฺโถติ ปรมตฺถโต)
แปลว่า ธรรมอันประเสริฐ เป็นธรรมชาติ ความจริงที่ไม่มีการวิปริตแปรผัน
ทรงสภาพอย่างใดก็ทรงอยู่อย่างนั้นตลอดไปโดยสม่ำเสมอ
ไม่มีการเปลี่ยนแปลงผิดแผกไป อันได้แก่ธรรมชาติหรือธรรมดานั่นเอง
ตัวอย่าง ไฟย่อมทรงสภาพความร้อนอยู่เป็นธรรมชาติ
ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ไม่ว่าไฟจะอยู่ในที่ใด
แม้จะอยู่ที่ขั้วโลกเหนืออันมีความหนาวเย็นเป็นหิมะ
ไฟก็มีความร้อนอยู่ในที่นั้น ความร้อนที่รู้สึกนี้แหละเป็นปรมัตถสภาวะ
คือเป็นสภาวะความจริงที่ไม่วิปริตแปรผัน ไม่ว่าใครผู้ใดจะเป็นเด็กเล็ก
หรือผู้ใหญ่ ทุกชาติทุกภาษา ตลอดจนสัตว์เดรัจฉาน เมื่อถูกต้องกับไฟแล้ว
ก็ต้องรู้สึกในทันทีว่าร้อนเหมือนกันหมด ร้อนจึงเป็นปรมัตถ
เพราะไม่มีการเปลี่ยนแปรเป็นอย่างอื่น
ส่วนคำว่าไฟ ไม่ใช่ปรมัตถ เป็นแต่คำเรียกร้องสมมุติบัญญัติกันขึ้น
ตามความหมายเพื่อให้เข้าใจกันในระหว่างมนุษย์จำพวกหนึ่ง
แต่มนุษย์จำพวกอื่นหาได้บัญญัติเรียกร้องว่าไฟไม่
บางพวกเรียกว่า อัคคี Fire เป็นต้น
ตามภาษาเรียกว่าเรียกร้องที่มนุษย์จำพวกนั้นเข้าใจกัน
คำว่าไฟจึงแปรผันเปลี่ยนเรียกไปตามสมมุติบัญญติ
หาใช่ความจริงอันเป็นปรมัตถ์ไม่ คงเป็นแต่ความจริงตามสมมุติบัญญัติเท่านั้น
ต่างกับความร้อนซึ่งเป็นธรรมชาติความจริงที่ไม่วิปริตแปรผันดังกล่าว

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2009, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สรรพรูปธรรมนามธรรมเมื่อกล่าวโดยปรมัตถธรรม
แยกออกได้เป็น 4 ประการ คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน

มีลักษณะโดยย่อดังต่อไปนี้ คือ

สภาวะของจิต มีการรู้ซึ่งอารมณ์แต่อย่างเดียว เป็นสาระสำคัญเป็นลักษณะ
จิตเมื่อว่าโดยลักษณะไม่สามารถไปทำกิจการอื่นใดนอกจากการรู้ซึ่งอารมณ์เท่านั้น
และไม่ว่าเป็นจิตของมนุษย์ เทวดา พรหม หรือของสัตว์เดรัจฉาน
ย่อมมีลักษณะรู้ซึ่งอารมณ์อย่างเดียวเหมือนกันหมด ไม่ผิดแผกแตกต่างกันเลย
ถ้าอารมณ์ไม่มี จิตก็ไม่เกิด เพราะไม่มีที่ยึดหน่วง สภาวะรู้ซึ่งอารมณ์นั้น เรียกว่า จิต

สภาวะของเจตสิก คือ เป็นธรรมอันบังเกิดในจิต ประพฤติเนื่องด้วยจิต
อาศัยจิตเกิดขึ้นเป็นลักษณะ เจตสิกจะเกิดขึ้นโดยลำพังหรืออาศัยสิ่งอื่นเกิดหาได้ไม่

สภาวะของรูป คือ มีการแตกสลายแปรปรวนไปเป็นลักษณะ รูปจะยืนยงคงทนถาวรอยู่หาได้ไม่

สภาวะของนิพพาน คือ มีการสงบจากรูปนาม สังขาร ทั้งปวงเป็นลักษณะ
กล่าวคือ ไม่ยึดในรูปนามเป็นอารมณ์.



: พระอภิธรรมสังเขปและธรรมบางประการที่น่าสนใจ : พระนิติเกษตรสุนทร, ๒๕๐๕

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร