วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 22:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2009, 18:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปาวจรจิต

รูปาวจรจิต จิตที่ประกอบด้วยตัณหา อยากมี อยากเป็น
ดิ้นรนประพฤติเป็นไปในรูปภูมิ หมายถึงจิตที่หน่วงเหนี่ยว ติดอยู่ในอารมณ์ของรูปฌาน
คือจิตที่ติดแนบแน่นเพ่งอยู่กับอารมณ์ของกรรมฐานมีปถวีกสิณ (ดิน) เป็นต้น
ทั้งนี้เมื่อบุคคลมาเบื่อหน่ายต่ออารมณ์อันป็นกามาวจรต่างๆ มีรูป เสียง กลิ่น รส ฯลฯ
ที่มากระทบสัมผัสเกิดดับสลับซับซ้อนอยู่เหลือล้นนั้น ต้องการให้จิตสงบนิ่ง
อยู่แต่ในอารมณ์เดียว ปราศจากนิวรณ์ หรือเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นความจริง
จึงได้เอาดินเป็นต้น มาทำกสิณใช้สำหรับให้จิตยึดเกาะ กำหนดเพ่งอยู่แค่ที่ดินนั้น
บริกรรมว่า ดิน ๆ อยู่ตลอดเรื่อยไป จิตของผู้นั้นก็จะค่อยๆ ผูกกระชับอยู่กับดินที่เป็นกสิณนั้น
ไม่ฟุ้งซ่านไปที่อื่น แนบแน่นเกิดเป็นฌานจิตในมโนทวาร ยึดเห็นแต่ดินเป็นรูปกสิณอยู่อารมณ์เดียว
ฌานจิตนี้แหละเรียกว่า รูปาวจรจิต
รูปาวจรจิต มี ๑๕ ดวง คือ รูปาวจรกุศลจิต ๕ รูปาวจรวิบากจิต ๕ และรูปาวจรกิริยาจิต ๕


๑.รูปาวจรกุศลจิต ๕ แบ่งออกเป็น
(๑) ปฐมฌานจิต ปรกอบด้วยองค์ฌาน๕ ได้แก่
ก.วิตกเจตสิก คือ การยกขึ้นสู่อารมณ์ เช่น ต้องการทำฌานโดยปถวีกสิณ
ครั้งแรกต้องเอาจิตเข้าไปตั้งจดจ่ออยู่ที่ปถวีกสิณนั้น เรียกว่า วิตก
ข.วิจารเจตสิก คือ การเคล้าคลึงประคับประคองอารมณ์กสิณนั้นไว้ไม่ให้ตกหลุดไปจากจิต
เช่นที่บริกรรมว่า ดิน ๆ อยู่เรื่อยไป เพื่อให้จิตนั้นเกาะอยู่ที่กสิณ เรียกว่า วิจาร
ค.ปีติเจตสิก คือ ความยินดีพอใจในอารมณ์กสิณนั้น
ง.สุข (เวทนาเจตสิก) คือ ความสุขใจเกิดขึ้นในอารมณ์กสิณนั้น


ปีติและสุข ๒ ประการนี้เกิดขึ้นโดยอาศัยกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เรียกว่า ปีติอาิส หรือสุขมีอามิส แต่้ถ้าเกิดขึ้นโดยอาศัยวิเวก หรือสมาธิในกรรมฐานแล้วย่อมไม่ประกอบด้วยกามคุณ ๕

จ.เอกัคคตาเจตสิก คือ ความสงบตั้งอยู่ในอารมณ์เดียว คืออารมณ์กสิณนั้น ไม่ซัดส่ายไปที่อื่น

เมื่อกำลังบำเพ็ญภาวนาอยู่ องค์ฌานทั้ง ๕ นี้เกิดขึ้นพร้อมกันในขณะจิตใด จิตนั้นขึ้นสู่อัปปนาวิถี ได้ชื่อว่ารูปาวจรกุศลจิต และนับเป็นปฐมฌาน

(๒) ทุติยฌานกุศลจิต มีองค์ฌาน ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา

(๓) ตติยฌานกุศลจิต มีองค์ฌาน ๓ คือ ปีติ สุข และเิกัคคตา โดยละ วิจารเสีย

(๔) จตุตถฌานกุศลจิต มีองค์ฌาน ๒ คือ สุข และเอกัคคตา โดยละ ปีติเสีย

(๕) ปัญจมฌานกุศลจิต มีองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา โดยละสุขเสีย
และอุเบกขาเกิดขึ้นแทน

เมื่อตั้งจิตไว้ได้ในปฐมฌานอันเป็นองค์ฌาน ๕ นั้นแล้ว อารมณ์อื่น
นอกจากอารมณ์แห่งกสิณที่เพ่งนั้น ก็ไม่เข้ามากระทบจิต จิตตั้งอยู่ในอารมณ์กสิณนั้น
อารมณ์เดียว ถ้าต้องการจะทำฌานกุศลในขั้นสูงขึ้น ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับการทำปฐมฌาน
แต่ต้องละองค์ฌานให้น้อยลงตามลำดับ
(วิธีการเกี่ยวแก่การกระทำรูปฌานและอรูปฌาน ขอได้โปรดศึกษาจากคัมภีร์สิสุทธิมรรค)

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2009, 18:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒.รูปาวจรวิบากจิต ๕ คือ ปฐมฌานวิบากจิต ทุติยฌานวิบากจิต
ตติยฌานวิบากจิต จตุตถฌานวิบากจิต และปัญจมฌานวิบากจิต จิต ๕ ดวง นี้เกิดขึ้น
เป็นผลของรูปาวจรกุศลจิต กล่าวคือเมื่อทำรูปาวจรกุศลจิตจนได้ปฐมฌาน ทุติยฌาน ฯลฯ
แล้ว วิบากก็คือผลที่เกิดขึ้นสนองตามลำดับแห่งฌานนั้น ฌานจิตเป็นมหัคคตกุศล
จิตของผู้ได้ฌาน สงบระงับอยู่ในอารมณ์ของฌาน พ้นไปจากกามาวจรจิต ปราศจากนิวรณ์
เมื่อตายจากปัจจุบันชาติ และจุติจิตหน่วงอยู่ในอารมณ์ของฌานก็ไปบังเกิดในชั้นรูปพรหม
ถ้าฌานเสื่อมเป็นอันตรายก็ไม่ได้รับผลและเป็นอโหสิกรรม ไม่มีโอกาสไปปฏิสนธิในรูปพรหม


๓.รูปาวจรกิริยาจิต ๕ เป็นจิตของพระอรหันต์ ในขณะที่ท่านเข้าอยู่ในฌาน
สมาบัติของรูปาวจร คืออยู่ในปฐมฌาน ทุติยฌาน ฯลฯ เป็นมหัคคตกิริยาจิต และไม่มีวิบากที่จะ
ให้ผลในต่อไป ท่านพ้นแล้วจากอาสวกิเลสไม่มีการเกิดอีก

รูปาวจรวิบากจิต ๕ และอรูปาวจรกิริยาจิต ๕ มีองค์ธรรมส่วนใหญ่ประกอบ
เหมือนกับรูปาวจรกุศลจิต ๕ ที่แสดงไว้แล้ว


ที่มา : พระอภิธรรมสังเขปและธรรมบางประการที่น่าสนใจ;
พระนิติเกษตรสุนทร; ๒๕๐๕; หน้า ๓๓-๓๖


โทษของราคะ โทสะ โมหะ
๑. ทำให้เป็นผู้บอด
๒. ทำให้ไม่เห็นของจริง
๓. ทำให้ไม่มีฌานรู้จักของจริง
๔. ทำให้ใจคับแคบ
๕. ดับปัญญาให้รู้จักของจริงเสีย
๖. ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร