วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


แลธรรมทั้ง ๕ คือ
อวิชชา
แลสังขาร
ตัณหา
แลอุปาทาน
แลภวะ
ซึ่งบังเกิดในปัจจุบันภพนี้ ก็ได้นามบัญญัติชื่อว่ากัมมวัฏฏ์
....................

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 15 ก.พ. 2009, 17:19, แก้ไขแล้ว 6 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบายว่า

โมหะที่ปิดบังปัญญา (ไม่ให้?) เห็นพระไตรลักษณะเป็นอาทินั้น ได้ชื่อว่า อวิชชา
......................

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 17:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 20:09
โพสต์: 112


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กุศลแลอกุศลที่ตกแต่งปฎิสนธิวิญญาณเป็นอาทินั้น ได้ชื่อว่า สังขาร

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 17:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กิริยาที่ยินดีในภพ ปรารถนาสมบัติในภพนั้น ได้ชื่อว่า ตัณหา

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ความที่ปรารถนาบังเกิดกล้า ให้ถือมั่นว่าเป็นของๆตนนั้น ได้ชื่อว่า อุปาทาน

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 17:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กุศลเจตนาแลอกุศลเจตนา ที่ให้สำเร็จกิจอันเป็นบุญแลบาปนั้นได้ชื่อว่า ภวะ

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กมฺมสฺส การโก นตฺถิ วิปากสฺส จ เวทโก
สุธธมฺมา ปวตฺตนฺติ เอวเมตํ สมทสฺสนํ ฯ
เอวํ กมฺเม วิปาเก จ วตฺตมาเน สเหตุเก
พีชรุกฺขาทีกานํว ปุพฺพาโกฏิ น ขายติ ฯ เปฯ
สุญฺญธมฺมา ปวตฺตนฺติ เหตุสมฺภารปจฺจยาติ


อธิบายในพระบาทคาถาว่า สิ่งอื่นนอกออกไปจากอวิชชาเป็นอาทิแล้ว จะได้เป็นผู้ตกแต่งซึ่งนามรูปนี้หามิได้ สิ่งอื่นนอกออกไปจากวิบากจิตแล้ว จะได้เป็นผู้เสวยหามิได้ สัตว์โลกซึ่งท่องเที่ยวไปในไตรภพนี้ คือรูปธรรมเท่านี้เอง จะเป็นสิ่งอื่นพ้นจากอรูปธรรมนามธรรมนี้หามิได้

กิริยาที่พระโยคาพจรพิจารณาเห็นฉะนี้ ได้ชื่อว่าเห็นชอบเห็นโดยดีเห็นไม่วิปริต

แท้จริง สรรพสัตว์ซึ่งจะท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏที่มีสุดเบื้องต้นบ่มิได้ปรากฏนั้น อาศัยแก่กรรมแลวิบาก ในเมื่อกรรมแลวิบากกอปรด้วยเหตุดังกล่าวแล้วนั้น ประพฤติเป็นไปเนื่อง ๆ กันอยู่แล้ว กิริยาแล้วที่จะหยั่งรู้ซึ่งที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารนั้น ก็เป็นอันพ้นวิสัยที่จะหยั่งรู้หยั่งเห็นเปรียบเหมือนพืชคามแลพฤกษาชาติต่าง ๆ ซึ่งบังเกิดเนื่อง ๆ สืบ ๆ กัน มาตามประเพณีโลกวิสัยนั้น สุดที่จะค้นคว้าหาข้อมูลให้ตลอดไปถึงที่สุดเบื้องต้นนั้นได้ แลมีอุปมาฉันใด กิริยาที่จะหยั่งรู้ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารนั้น ก็พ้นวิสัยที่จะหยั่งรู้หยั่งเห็นมีอุปไมยดังนั้น

อาการที่กรรมวิบาก กอปรด้วยเหตุดังกล่าวแล้ว ประพฤติเป็นไปในสงสารในอนาคตกาลภายหน้านั้น ปรากฏเป็นอันมากยิ่งนัก จะได้ปรากฏนิดหน่อยนั้นหามิได้

ดิรัตถีย์นิครนถ์ ภายนอกจากพระพุทธศาสนานั้นไม่พิจารณาเห็นเหตุอันสำแดงมานี้ ก็ถือมั่นสำคัญผิดประพฤติตามลัทธิวิปริตแห่งตน ๆ ถือว่าสัตว์ว่าบุคคล เห็นผิดเป็นสัสสตทิฏฐิ แลอุจเฉททิฏฐิถือตามมิจฉาลัทธิ ทิฏฐิทั้ง ๖๒ ประการ กล่าวถ้อยคำนั้นเก่งแย่งผิด ๆ กันจะได้เข้ากันหามิได้ ดิรัตถีย์ทั้งหลายนั้นครั้นติดอยู่ในบ่วงทิฏฐิเปลื้องทิฏฐิเสียมิได้ เที่ยวท่องล่องลอยอยู่ตามกระแสแห่งตัณหา ๆ พัดพาให้เวียนตายเวียนเกิดเอากำเนิดมิรู้สุดสิ้นเสวยทุกขเวทนาหาที่สุดมิได้ ไปไม่พ้นจากสงสารทุกข์เลย เพราะเหตุถือผิดเห็นว่าเป็นตัวเป็นสัตว์เป็นบุคคลนั้น

ฝ่ายพระสาวกในพระพุทธศาสนานี้ เห็นชอบเห็นจริงรู้แท้ว่าไม่ใช่สัตว์ใช่บุคคล ปัญญานั้นลึกละเอียด เห็นว่าเป็นกองแห่งรูปธรรมนามธรรมแล้ว เห็นตลอดลงไปถึงเหตุถึงปัจจัย เห็นชัดว่าสิ่งนั้น ๆ เป็นเหตุให้เกิดรูปธรรม สิ่งนั้น ๆ เป็นเหตุให้เกิดนามธรรม

ประการหนึ่งเห็นละเอียดลงไปว่า กรรมกับวิบากนี้แยกกันอยู่เป็นแผนก ๆ กัน จะได้ปะปนระคนกันหามิได้ กรรมนั้นมิได้มีในวิบาก มิได้ระคนอยู่ด้วยวิบาก ฝ่ายวิบากนั้นก็มิได้มีในกรรม มิได้ระคนอยู่ด้วยกรรม แลกรรมวิบากนี้ถึงมาตรแม้ว่าจะอยู่ต่างกัน ไม่ปะปนระคนกันก็จริงแลแต่ทว่าเป็นปัจจัยแก่กัน ถ้อยทีถ้อยอาศัยแก่กันจะได้ละเว้นกันหามิได้

กรรมไม่ละวิบาก วิบากไม่ละกรรม จะมีครุวนาฉันใด มีครุวนาดุจดังว่าแว่นส่องไฟกับแสงอาทิตย์ อันเป็นปัจจัยให้เพลิงติด เพลิงนั้นจะได้มีอยู่ในแสงอาทิตย์นั้นก็หามิได้ จะได้มีอยู่ในแว่นส่องไฟแลโคมัยอันแห้งนั้นก็หาไม่ อนึ่งจะว่าเพลิงนั้นอยู่ภายนอกพ้นออกจากแสงอาทิตย์ แลพ้นออกไปจากแสงแว่นแลโคมัยนั้นก็ว่าไม่ได้ แต่ทว่าอาศัยแสงอาทิตย์ แลแว่นส่องไฟ แลโคมัยอันแห้งนั้นประชุมกันตกแต่ง เป็นเหตุเป็นปัจจัยแล้วผลคือเพลิงนั้นก็ติดขึ้น อันนี้แลมีฉันใด เมื่อกรรมมีเหตุเป็นปัจจัยแล้ววิบากคือผลแห่งกรรมนั้น ก็บังเกิดมีขึ้นแลมีฉันนั้น

ถ้าจะว่าที่แท้นั้น วิบากจะได้มีอยู่ภายในแห่งกรรมก็หามิได้ จะได้มีอยู่ภายนอกแห่งกรรมก็หามิได้ แต่ทว่าอาศัยมีกรรมเป็นเหตุเป็นปัจจัยแล้ว วิบากก็บังเกิดโดยสมควรแก่กรรมที่เป็นกุศลแลอกุศลนั้น

นักปราชญ์พึงสันนิษฐานว่านามรูปนี้ มิใช่อื่นใช่ไกลคือวิบากแห่งกรรม แลข้อซึ่งว่านามรูปได้นามบัญญัติ ชื่อว่ามนุษย์ ชื่อว่าเทพยดา ชื่อว่าอินทร์พรหมยักษ์อสูรคนธรรมพ์นาคสุบรรณต่าง ๆ นั้นเป็นสมมุติสัจกำหนดเรียกตามวิสัยโลกยังเอาเที่ยงจริงบ่มิได้ เมื่อพิจารณาโดยละเอียดตรองเอาที่เที่ยงที่จริงแล้ว ก็คงเป็นแต่รูปธรรมนามธรรมเท่านั้นเอง นามแลรูปนี้เป็นธรรมอันเปล่าสูญปราศจากแก่นสาร บังเกิดแต่สัมภาระคือเหตุแลปัจจัยประชุมแต่งอิศวรนารายณ์อินทร์พรหมผู้หนึ่งผู้ใดจะได้ตกแต่ง รูปธรรมนามธรรมนี้หามิได้ สิ้นคำโบราณาจารย์แต่เท่านี้

เมื่อพระโยคาพจรพิจารณาเห็นปัจจัยแห่งรูปนามแลรูป โดยนัยแห่งกัมมวัฏฏ์ แลวิปากวัฏฏ์สละละเสียได้ซึ่งโสฬวิจิกิจฉา ๑๖ ประการให้ปราศจากสันดานแล้ว รูปธรรมนามธรรมอันเป็นอดีตแลอนาคตแลปัจจุบันนั้น ก็จะปรากฏด้วยสามารถแห่งจุติแลปฏิสนธิปัญญา อันชื่อว่าญาตปริญญานั้น ก็บังเกิดมีในสันดานแห่งพระโยคาพจร ๆ นั้น ก็จะรู้แจ้งชัดว่าขันธปัญจกซึ่งบังเกิดแต่ปัจจัย คือกรรมอันบังเกิดในอดีตภพนั้น ก็ดับ
----------------
http://www.larnbuddhism.com/visut/3.9.html

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นใจความว่าธรรมทั้ง ๕ คือ อวิชชา แลสังขาร แลตัณหาแลอุปาทาน แลภวะ ซึ่งบังเกิดในปุริมภพแต่ก่อน ๆ นั้น ได้ชื่อว่ากัมมวัฏฏ์ ๆ นั้นด้วยอรรถว่า เป็นปัจจัยให้บังเกิดวิญญาณ แลนามรูปแลสฬายตนะ แลผัสสะ แลเวทนา ในปัจจุบันภพนี้

แลธรรม ๕ ประการมีวิญญาณเป็นอาทิ ซึ่งบังเกิดในปัจจุบันภพนี้ ได้ชื่อว่าวิปากวัฏฏ์ ๆ นั้น ด้วยอรรถว่าเป็นผลแห่งกัมมวัฏฏ์บังเกิดแต่กิริยาอันกัมมวัฏฏ์ตกแต่งให้บังเกิด

แลธรรมทั้ง ๕ คือ อวิชชา แลสังขาร ตัณหา แลอุปาทาน แลภวะ ซึ่งบังเกิดในปัจจุบันภพนี้ ก็ได้นามบัญญัติชื่อว่ากัมมวัฏฏ์เหมือนกัน ด้วยอรรถว่าเป็นปัจจัยให้บังเกิดวิญญาณ แลนามรูป แลสฬายตนะ แลผัสสะ แลเวทนา ในอนาคตภพเบื้องหน้า

แลธรรม ๕ ประการมีวิญญาณเป็นอาทิ ซึ่งจักบังเกิดมีในอนาคตภพเบื้องหน้านั้น ก็ได้ชื่อว่าวิปากวัฏฏ์เหมือนกัน ด้วยอรรถว่าเป็นผลแห่งกัมมวัฎฎ์ในปัจจุบันภพ บังเกิดแต่กิริยาอันกัมมวัฏฏ์ในปัจจุบันภพแต่งให้บังเกิด

แลกรรมทั้ง ๑๒ ประการมีทิฏฐธรรมเวทนียกรรมเป็นอาทิ มีอุปฆาตกรรมนั้นเป็นปริโยสานนั้น ก็สงเคราะห์เข้าในกัมมวัฏฏ์นี้จะได้เป็นอื่นหามิได้

แลกิริยาที่กรรมทั้งปวงให้ผลในสุคติแลทุคตินั้น ก็สงเคราะห์เข้าในวิปากวัฏฏ์นี้เอง จะได้พ้นไปจากวิปากวัฏฏ์นี้หามิได้

เมื่อพระโยคาพจรพิจารณาซึ่งปัจจัยแห่งนามรูป โดยนัยแห่งกัมมวัฏฏ์แลวิปากวัฏฏ์ ด้วยประการฉะนี้ก็อาจสละละเสียซึ่งโสฬสวิจิกิจฉา ๑๖ ประการ ให้ปราศจากสันดานแห่งอาตมาได้โดยนัยดังพรรณนามาแล้วแต่หลังนั้น

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 06:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อพระโยคาพจรพิจารณาเห็นปัจจัยแห่งนาม แลรูปปรากฏด้วยอาการทั้งปวง จำเดิมแต่จุติแลปฏิสนธินั้นหาด้วยประการฉะนี้ ปัญญานั้นจะแกล้วกล้ามีกำลัง วิจิกิจฉา ๑๖ ประการก็จะปราศจากสันดานเป็นอันดีโดยพิเศษ

ใช่จะปราศจากได้แต่เพียงโสฬสวิจิกิจฉาเท่านี้หาบ่มิได้
กิริยาที่สงสัย ๘ ประการ มีสงสัยในพระศาสดาจารย์เป็นอาทินั้นก็ปราศจากสันดารจะสละละได้เป็นอันดี
แล้วจะข่มขี่สละละทิฏฐิ ๑๖ เสียได้
ด้วยอำนาจปัญญาอันชื่อว่า

กังขาวิตรณวิสุทธิ

อันมีลักษณะข้ามสนเท่ห์สงสัยได้ในกาลทั้ง ๓ ด้วยกิริยาอันพิจารณาซึ่งปัจจัยแห่งนามแลรูป ด้วยนัยต่าง ๆ อย่างพรรณนัยมาฉะนี้

ปัญญาอันชื่อว่ากังขาวิตรณวิสุทธินี้ บางทีพระพุทธองค์ตรัสเทศนาเรียกว่าธัมมัฏฐิติญาณ
บางทีตรัสเทศนาเรียกว่า ยถาภูตญาณ
บางทีตรัสเทศนาเรียกว่า สัมมาทัสสนญาณ

ต่างกันแต่พยัญชนะ อรรถจะได้ต่างกันหาบ่มิได้ อรรถอันเดียวกันพระโยคาพจรผู้ประกอบไปด้วยปัญญากังขาวิตรณวิสุทธิพิจารณาเห็นอย่างพิจารณามาฉะนี้

จะมีคติอันเที่ยง

จะได้นามบัญญัติชื่อว่าจุลโสดาในพระพุทธศาสนาแล้ว
จะได้ซึ่งที่พึ่งคือพระอริยมรรคจะได้ซึ่งความชื่นชมคือพระอริยผล เหตุดังนั้น ภิกษุผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารมีประโยชน์ด้วยกังขาวิตรณวิสุทธิญาณพึงมีสติบำเพ็ญเพียรพิจารณา

ซึ่งปัจจัยแห่งนามและรูปสิ้นกาลทุกเมื่อ

อย่าได้ประมาทลืมเสียซึ่งพิธีอันพิจารณาซึ่งปัจจัยแห่งรูปธรรมนามธรรม โดยนัยที่วิสัชนามาฉะนี้ วิปัสสนาซึ่งปัญญาอันชื่อว่ากังขาวิตรณวิสุทธิ

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 06:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อตั้ง
ศีลวิสุทธิ
จิตวิสุทธิ ๒ ประการไว้เป็นรากแล้ว

ลำดับนั้นให้พระโยคาพจรจำเริญวิสุทธิทั้ง ๕ สืบขึ้นไปโดยลำดับ ๆ เอา

ทิฏฐิวิสุทธิ
แล
กังขาวิตรณวิสุทธิเป็นเท้าซ้ายเท้าขวา

เอา
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ แลปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
เป็นมือซ้ายมือขวาแล้วเอา
ญาณทัสสนวิสุทธิเป็นศีรษะเถิด

จึงจะอาจสามารถที่จะยกตนออกจากวัฏฏสงสารได้

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 06:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่นี้จะวิสัชนาในกังขาวิตรณวิสุทธิสืบไป

กังขาวิตรณวิสุทธินั้นมิใช่อื่นไกล

ได้แก่ปัญญานั้นเอง

ปัญญาที่พิจารณาเห็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งนามธรรมและรูปธรรม เข้าใจชัดว่า

นามธรรมบังเกิดแต่ปัจจัยสิ่งนี้ ๆ
รูปธรรมบังเกิดแต่ปัจจัยสิ่งนี้ ๆ

เข้าใจรู้สันทัดปราศจากสงสัยในกาลทั้ง ๓ คือ
อดีต และอนาคต และปัจจุบันแล้วในกาลใด ปัญญานั้นก็ได้ชื่อว่ากังขาวิตรณวิสุทธิในกาลนั้น



“ตํ สมฺปาเทตุกาโม ” พระโยคาพจรภิกษุผู้มีความปรารถนาเพื่อจะยังปัญญาชื่อว่ากังขาวิตรณวิสุทธินั้นให้สมบูรณ์ ก็พึงประพฤติจิตสันดานให้เหมือนแพทย์


เอาเยี่ยงอย่างแพทย์ผู้ฉลาดในการรักษาโรค ธรรมดาว่าแพทย์ผู้ฉลาดนั้น เมื่อจะรักษาซึ่งโรคพิจารณาดูโรคนิทานให้เห็นแจ้งว่าโรคสิ่งนี้บังเกิดแต่เหตุปฐวีธาตุกำเริบ โรคสิ่งนี้บังเกิดแต่อาโปธาตุกำเริบ โรคสิ่งนี้บังเกิดแต่เหตุแห่งเตโชธาตุ และวาโยธาตุกำเริบ เมื่อรู้ชัดสันทัดแท้ในโรคสมุฏฐานแล้ว

แพทย์นั้นจึงประกอบยาตามที่ “ยถา ” อันนี้มีครุวนาฉันใด พระโยคาจรภิกษุ ก็พึงพิจารณาหาเหตุหาปัจจัยอันเป็นที่เกิดแห่งนามธรรม และรูปธรรม

ให้เห็นแจ้งว่านามธรรมบังเกิดแต่เหตุปัจจัยสิ่งนี้ ๆ รูปธรรมบังเกิดแต่ปัจจัยสิ่งนี้ ๆ พึงประพฤติเอาเยี่ยงแพทย์ผู้ฉลาดที่พิจารณาดูซึ่งโรคนิทานฉันนั้น


ถ้ามิฉะนั้น ให้พระโยคาพจรภิกษุเอาเยี่ยงบุคคลอันมีสันดานมากไปด้วยความกรุณา ได้เห็นทารกอันนอนหงายอยู่ในกลางตรอก และแสวงหาบิดามารดาแห่งทารกนั้น

ธรรมดาว่าบุคคลผู้มีสันดานมากไปด้วยความกรุณานั้น ถ้าเห็นทารกน้อย ๆ นอนหงายอยู่ในกลางตรอกกลางถนน ก็ย่อมมีจิตสันดานกัมปนาทหวาดหวั่นไหว ตะลึงใจว่า “ อยํ ปุตฺตโก” ทารกผู้นี้ลูกของใคร ๆ เอามานอนหงายไว้ที่ท่ามกลางหนทางอย่างนี้ ใครเป็นบิดามารดาแห่งทารกผู้นี้หนอ บุคคลผู้มากไปด้วยความกรุณาแสวงหาบิดามารดาแห่งทารกผู้นั้น และมีอุปมาฉันใด พระโยคาพจรภิกษุก็แสวงหาซึ่งเหตุปัจจัยแห่งนามรูป และมีอุปไมยดังนั้น

แท้จริง พระโยคาพจรผู้แสวงหาซึ่งเหตุปัจจัยแห่งนามและรูปนั้นเดิมทีให้พิจารณาว่า “อิทํ นามรูปํ ” นามและรูปแห่งสรรพสัตว์ทั้งปวง แต่บรรดามีในไตรโลกสันนิวาสนี้ ย่อมมีเหตุมีปัจจัยประชุมแต่สิ้นทั้งปวง :b42: :b42: :b42: ***อันจะปราศจากเหตุปราศจากปัจจัยนั้นหาบ่มิได้*** :b42: :b42: :b42:


ถ้านามและรูปไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยบังเกิดแต่ธรรมดาแห่งตนแล้ว
ก็หน้าที่นามและรูปแห่งสัตว์ทั้งปวง แต่บรรดาที่มีในภพทั้งปวงนี้ จะเหมือน ๆ กันเป็นอันหนึ่งอันเดียวจะมิได้แปลกประหลาดกัน
สัตว์ที่บังเกิดเป็นยมเป็นยักษ์เป็นอสุรกายกุมกัณฑ์ เป็นนิกรเทพคนธรรพ์นั้นก็จะเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียว รูปพรรณสัณฐานนั้นจะไม่ห่างไกลกัน อนึ่งสัตว์ที่บังเกิดในมุนษย์สุคติ กับสัตว์บังเกิดในทุคตินั้นก็จะเหมือน ๆ กันสิ้นทั้งปวง จะหาที่ดีกว่ากันชั่วกว่ากันนั้นจะหาไม่ได้

เพราะเหตุว่านามและรูปนั้นบังเกิดโดยธรรมดาแห่งตนเองหาเหตุหาปัจจัยบ่มิได้ นี้สิไม่เป็นดังนั้น นามและรูปนี้แปลกประหลาดกันทุก ๆ ภพจะได้เหมือนกันหาบ่มิได้

นามและรูปในสุคติภพนั้นอย่างหนึ่ง ในทุคติภพนั้นอย่างหนึ่ง ในฉกามาพจรสวรรค์อย่างหนึ่ง ในรูปภพนั้นอย่างหนึ่งจะได้เหมือนกันนั้นหาบ่มิได้ ถึงบังเกิดในหมู่เดียวกันในพวกเดียวกันก็ดีที่จะเหมือนกันนั้นไม่เหมือนกันเลยเป็นอันขาด โดยกำหนดเป็นที่สุด จนแต่พี่น้องซึ่งเป็นลูกแฝดก็ยังมีแปลกประหลาดกันอยู่ จะได้เหมือนกันแท้ทีเดียวก็หามิได้

อาศัยเหตุฉะนี้จึงเห็นแจ้งว่านามและรูปนี้ มีเหตุมีปัจจัยประชุมแต่งสิ้นด้วยกัน

ถ้าไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยประชุมแต่ง นามและรูปบังเกิดโดยธรรมดาแห่งตน แล้วนามและรูปก็จะเหมือนกันสิ้นทั่วทั้งไตรภพมณฑลสกลไตรโลกธาตุ ดังฤๅจะเปลี่ยนจะแปลกกันเล่า นามและรูปที่บังเกิดขึ้นเก่า ๆ กับนามรูปที่บังเกิดขึ้นใหม่ ๆ นั้น ก็เหมือนกันทุก ๆ ชาติ จะไม่ต่างกัน นี้สิไม่เป็นดังนั้น นามและรูปนี้เปลี่ยนแปลงไปทุก ๆ ชาตินี้อย่างหนึ่ง ชาติหน้าอย่างหนึ่ง ชาติโน้นอย่างหนึ่ง จะได้เหมือนกันอยู่เป็นนิจจะได้เหมือนกันอยู่สิ้นกาลทุกเมื่อนั้นหามิได้ อาศัยเหตุฉะนี้เห็นว่า นามและรูปนี้มีเหตุมีปัจจัยประชุมแต่งอยู่เป็นแท้

.......... :b41:

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 07:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเห็นว่านามรูปมีเหตุมีปัจจัยแท้แล้ว


ลำดับนั้นพระโยคาพจรจึงพิจารณาหาซึ่งธรรมอันเหตุตัวปัจจัยนั้นว่า
“ เก นุ โข เต” ธรรมสิ่งดังฤๅ เป็นเหตุเป็นปัจจัยตกแต่งซึ่งรูปธรรมนามธรรม

เมื่อพิจารณาซึ่งธรรมอันเป็นตัวปัจจัยดังนี้ ก็มีมนสิการกำหนดจิตพิจารณาซึ่งรูปกายนั้นก่อน เห็นว่า “อยํ กาโย ” รูปกายนี้ “นิพฺพตฺตมาโน ” เมื่อจะบังเกิดนั้น จะได้บังเกิดภายในห้องแห่งอุบลและบัวหลวงและบัวขาวและจงกลนีเป็นอาทินั้นหาบ่มิได้ จะได้บังเกิดภายในแห่งแก้วมณีและแก้วมุกดาหารเป็นอาทินั้นหาบ่มิได้ รูปกายนี้บังเกิดภายในอุทรประเทศแห่งมารดาเบื้องบนนั้นกำหนดด้วยกระเพราะอาหารใหม่ เบื้องต่ำนั้นกำหนดด้วยกระเพราะอาหารเก่า เบื้องหน้านั้นกำหนดด้วยกระดูกหนามสันหลังแห่งมารดา

“อนฺตอนฺตคุณปริวาริโต ” ไส้ใหญ่และไส้น้อยนั้นแวดล้อมอยู่โดยรอบ มีกลิ่นอันเหม็นเป็นปฏิกูลพึงเกลียดพึงชัง ที่อันนั้นเป็นที่คับคับแคบยิ่งนัก อาหารที่รูปกายแห่งสัตว์บังเกิดในที่นั้นเปรียบประดุจกิจมิชาติหมู่หนอน อันบังเกิดในปลาเน่าแลขนมบูดแลที่น้ำคลำไหลรูปกายแห่งสัตว์ทั้งปวงนี้บังเกิดด้วย

ธรรม ๔ ประการ คือ
อวิชชาประการ ๑ ตัณหาประการ ๑ อุปาทานประการ ๑ กรรมประการ ๑


ธรรม ๔ ประการนี้เป็นเหตุให้บังเกิดรูปกายสิ้นทั้งปวง

อาหารนั้นเป็นปัจจัยในกิจอุปถัมภกอุดหนุน

ตกว่า
อวิชชาและตัณหา แลอุปาทานทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นที่อาศัยแห่งรูปกาย เปรียบประดุจ
มารดาอันเป็นที่อาศัยแห่งทารก
กรรมนั้นเป็นเหตุบังเกิดรูปกาย เปรียบประดุจบิดาอันยังทารกให้บังเกิด อาหารนั้นอุปถัมภ์อุดหนุนซึ่งรูปกาย เปรียบประดุจแม่นมอันอุ้มชูทารก

เมื่อพิจารณาเห็นซึ่งเหตุ แลปัจจัยแห่งรูปกายด้วยประการดังนี้ แล้วลำดับนั้นพระโยคาพจรจึงพิจารณาเห็นซึ่งเหตุแห่งนามกายว่า “ จกฺขญฺจ ปฏิจฺจ รูเป จ อุปฺปชฺชติ จกขุวิญฺญาณํ” ว่าจักขุประสาทแลรูปารมณ์แล้ว จึงบังเกิดขึ้นในสันดาน ฝ่ายว่าโสตวิญญาณอันอาศัยโสตประสาทแลสัททารมณ์แล้ว จึงบังเกิดฆานวิญญาณนั้นอาศัยฆานประสาท แลคันธารมณ์แล้วจึงบังเกิด ชิวหาวิญญาณนั้นอาศัยชิวหาประสาทแลรสารมณ์ แล้วจึงบังเกิดกายวิญญาณนั้นอาศัยกายประสาทแลโผฏฐัพพารมณ์ แล้วจึงบังเกิดมโนวิญญาณนั้นอาศัยหทัยวัตถุแลธัมมารมณ์แล้วจึงบังเกิด

เมื่อพระโยคาพจรภิกษุพิจาณาเห็นชัดรู้สันทัด ว่านามรูปบังเกิดแต่เหตุปัจจัยโดยนัยดังพรรณามานี้แล้ว ลำดับนั้นก็จะเข้าใจประจักษ์ตลอดไปในอดีตแลอนาคตแลปัจจุบัน จะรู้ชัดสันทัดแท้ว่านามรูปในปัจจุบันนี้บังเกิดแต่เหตุปัจจัยแลมีฉันใด นามรูปในอดีตที่บังเกิดแล้วแต่หลัง ๆ นั้น ก็บังเกิดแต่เหตุแต่ปัจจัยฉันนั้น ถึงนามรูปที่จะบังเกิดต่อไปในอนาคตเบื้องหน้านั้น ๆ ก็จะบังเกิดแต่เหตุปัจจัยสิ้นด้วยกัน เมื่อเข้าใจแจ้งประจักษ์ตลอดไปในอดีตแลอนาคต ว่าเหมือนกันกับปัจจุบันนี้แล้ว ลำดับนั้นพระโยคาพจรภิกษุ ก็จะสละ
วิจิกิจฉาเสียได้สิ้นทั้ง ๑๖ ประการ

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 07:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


แลวิจิกิจฉาทั้ง ๑๖ ประการ :b41:

จัดเป็น

วิจิกิจฉาในอดีต ๕
ในอนาคต ๕
ปัจจุบัน ๖

สิริเข้าด้วยกันเป็นวิจิกิจฉา ๑๖ ประการ ... :b38:

วิจิกิจฉาในอดีต ๕ ประการนั้น คือสงสัยในอดีตชาติเบื้องหลัง ๆ ว่า “ อโห กึ นุ โข อหํ อตีตมทธานํ” ดังเรารำพึงในอดีตกาลเบื้องหลัง ๆ นั้น อาตมะได้บังเกิดหรือเป็นประการใด สงสัยฉะนี้เป็นอดีตวิจิกิจฉาเป็นปฐม


แลอดีตวิจิกิจฉาเป็นคำรบ ๒ นั้น คือสงสัยว่าในอดีตกาลนั้น อาตมะไม่ได้บังเกิดหรือเป็นประการใ

แลอดีตวิจิกิจฉาเป็นคำรบ ๓ นั้น คือ สงสัยว่าในอดีตกาลนั้นอาตมะได้เป็นขัตติยชาติ หรือพราหมณชาติ หรือเป็นชาวนา พ่อค้าพ่อครัวเป็นประการใด

แลอดีตวิจิกิจฉาเป็นคำรบ ๔ นั้น คือสงสัยว่าในอดีตกาลนั้น อาตมะมีรูปพรรณสัณฐานใหญ่น้อยสูงต่ำดำขาวเป็นประการใด

แลอดีตวิจิกิจฉาเป็นคำรบ ๕ นั้น คือ สงสัยว่าในอดีตกาลนั้น แต่แรกเริ่มเดิมทีอาตมะบังเกิดเป็นสิ่งดังฤๅ แล้วอาตมะมาบังเกิดเป็นสิ่งดังฤๅเล่า

กำหนดสงสัยในอดีต ๕ ประการฉะนี้
............. :b49:

แลสงสัยในอนาคต ๕ ประการนั้น.... :b38: ?

คือสงสัยว่า “ ภวิสฺสามิ นุ โข อหํ อนาคตมทฺธานํ” ในอนาคตเบื้องหน้านั้น อาตมาจะได้บังเกิดอีกหรือเป็นประการใด สงสัยฉะนี้เป็นอนาคตวิจิกิจฉาเป็นปฐม

แลอนาคตวิจิกิจฉาเป็นคำรบ ๒ นั้น คือสงสัยว่าสืบต่อไปในอนาคตกาลเบื้องหน้านั้น อาตมะจักบ่มิได้บังเกิดอีกหรือเป็นประการใด

แลอนาคตวิจิกิจฉาเป็นคำรบ ๓ นั้น คือสงสัยว่าสืบต่อไปในอนาคตกาลนั้น อาตมะจะได้บังเกิดเป็นขัตติยชาติ หรือจักได้บังเกิดเป็นพราหมณชาติหรือจักได้บังเกิดเป็นชาวนาพ่อค้าพ่อครัวเป็นประการใด

แลอนาคตวิจิกิจฉาเป็นคำรบ ๔ นั้น คือสงสัยว่าสืบไปในอนาคตกาลเบื้องหน้านั้น อาตมะจักได้บังเกิดมีรูปพรรณสัณฐานใหญ่น้อยสูงต่ำดำขาวเป็นประการใด

แลอนาคตวิจิกิจฉาเป็นคำรบ ๕ นั้น คือสงสัยว่าสืบไปในอนาคตกาลนั้น อาตมะจักได้บังเกิดในสิ่งดังฤๅก่อนแล้ว อาตมะจักบังเกิดเป็นสิ่งดังฤๅอีกเล่า กำหนดสงสัยในอนาคต ๕ ประการฉะนี้
..... :b49:


แลสงสัยในปัจจุบัน ๖ ประการนั้น.... :b38:


คือสงสัยในสันดานอันเป็นภายในว่า “อหํ นุ โขสฺมิ ” ดังเรารำพึง ทุกวันนี้ได้ชื่อว่าอาตมะบังเกิดอยู่หรือไม่เป็นประการใด สงสัยฉะนี้ เป็นปัจจุบันวิจิกิจฉาเป็นปฐม

แลปัจจุบันวิจิกิจฉาเป็นคำรบ ๒ นั้น คือสงสัยว่า “โน นุ โขสฺมิ ” ดังเรารำพึง ทุกวันนี้ได้ชื่อว่าอาตมะไม่ได้บังเกิดหรือเป็นประการใด

แแลปัจจุบันวิจิกิจฉาเป็นคำรบ ๓ นั้น คือสงสัยว่าทุกวันนี้ได้ชื่อว่าอาตมะบังเกิดเป็นขัตติยชาติ หรือพราหมณชาติ หรือเป็นชาวนาพ่อค้าพ่อครัวเป็นประการใด

แลปัจจุบันวิจิกิจฉาเป็นคำรบ ๔ นั้น คือสงสัยว่าทุกวันนี้ได้ชื่อว่าอาตมะบังเกิด มีรูปพรรณสัณฐานใหญ่น้อยสูงต่ำดำขาวเป็นประการใด

แลปัจจุบันวิจิกิจฉาเป็นคำรบ ๕ นั้น คือสงสัยว่า “อยํ นุ โข สตฺโต กุโต อาคโต” ดังเรารำพึง สัตว์ผู้นี้มาแต่ไหน มาบังเกิดในที่นี้

แลปัจจุบันวิจิกิจฉาเป็นคำรบ ๖ นั้น คือสงสัยว่าสัตว์ผู้นี้มาบังเกิดในที่นี้แล้ว จักไปบังเกิดในที่ไหนอีกเล่า กำหนดสงสัยในปัจจุบัน ๖ ประการฉะนี้


..........
เมื่อพระโยคาพจรภิกษุ พิจารณาเห็นชัดรู้ว่าสันทัดว่านามแลรูปบังเกิดแต่เหตุแต่ปัจจัย เหมือนกันทั้งอดีตแลอนาคตปัจจุบันเห็นชัดฉะนี้แล้วก็จะสละละสงสัย ๑๖ ประการนั้นเสียได้ ด้วยอนุภาพปัญญาที่พิจารณาเห็นนามรูปกับทั้งเหตุแลปัจจัยนั้น

ตกว่าปัญญาที่พิจารณาเห็นนามธรรมรูปธรรมกับทั้งเหตุแลปัจจัยนี้แลได้นามบัญญัติชื่อว่า
กังขาวิตรณวิสุทธิ
เป็นที่ชำระสันดานให้บริสุทธิ์ข้ามพ้นจากสงสัย ๑๖ ประการ

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร