วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจตสิกปรมัตถ์

เจตสิก เป็นสภาวธรรมอย่างหนึ่ง บังเกิดในจิต
และประพฤติเนื่องด้วยจิต เป็นองค์ประกอบจิต (Mental Factors)
กล่าวแล้วว่า จิตมีหน้าที่รู้อารมณ์ที่กระทบเท่านั้น
เช่นเมื่อรูปกระทบจักขุปสาท เกิดจักขุวิญญาณ คือจิตรู้เห็น
หรือเสียงกระทบโสตปสาทเกิดโสตวิญญาณ คือจิตรู้ได้ยิน
แล้วจิตนั้นก็ดับ แต่จิตที่เกิดใหม่สืบเนื่องทำให้รู้ต่อไปว่า
สวยงาม ดีชั่ว ชอบไม่ชอบ ออกไปอีกเป็นประการต่างๆ นั้น
ก็โดยเจตสิกธรรมที่เกิดขึ้นประกอบจิตปรุงแต่งนำไป
มีบทบาทสำคัญน่ากล่าว เช่น เวทนาเจตสิกและสัญญาเจตสิก
ซึ่งเป็นนามขันธ์ ในขันธ์ ๕ ทุกครั้งที่จิตเกิดขึ้น
เวทนาความเสวยอารมณ์ชอบไม่ชอบ หรือเฉยๆ
และสัญญาความจำได้ก็เกิดขึ้นพร้อมด้วยเป็นองค์ประกอบจิต
เนื่องจากสัญญาความจำความรู้อันวิจิตรสืบมาแต่อดีต
เวทนาความเสวยอารมณ์ จึงก่อให้เกิดตัณหาความปรารถนาอยากได้แต่ที่ดีที่ชอบ
ไปตามสัญญาความจำนั้น เจตสิกอื่นที่เข้าประกอบร่วมด้วย
ก็ปรุงแต่งกระทำกรรมลงนำจิตไปตามปรารถนา เป็นบุญบาป ดีชั่ว
ชอบไม่ชอบ เกิดขึ้นเป็นไปต่างๆ
เจตสิกเป็นองค์ประกอบสำคัญดังกล่าวนี้
ท่านจึงจำแนกจิตออกเป็น ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง
ตามลักษณะดังกล่าวมาแล้วในเรื่องจิตข้างต้น
เจตสิกธรรมคือองค์ประกอบจิต จึงเป็นสาระสำคัญที่ควรศึกษา

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 19:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจตสิกมีลักษณะสำคัญ ๔ ประการ คือ
๑. เกิดพร้อมกับจิต
๒. ดับพร้อมกับจิต
๓. มีอารมณ์เดียวกันกับจิต และ
๔. มีวัตถุที่อาศัยเดียวกันกับจิต
ต้องมีลักษณะทั้ง ๔ นี้ พร้อมกัน ถ้าขาดลักษณะใด ลักษณะหนึ่งก็หาใช่เจตสิกไม่
ตัวอย่างเมื่อมีการกระทบอารมณ์เกิดขึ้น เจตสิกก็เกิดขึ้นพร้อมด้วย
เมื่อจิตนั้นดับลง เจตสิกก็ดับลงพร้อมกันด้วย
เหมือนแสงไฟปรากฎขึ้นพร้อมความร้อนก็ปรากฏขึ้นด้วย
เมื่อแสงไฟดับลงความร้อนก็ดับลงด้วย จิตมีอารมณ์ใดเจตสิกก็มีอารมณ์นั้น
เช่นจักขุวิญญาณ (จิต) มีรูปเป็นอารมณ์
เจตสิกก็มีรูปเป็นอารมณ์ด้วย คือ ชอบหรือไม่ชอบ หรือ เฉยๆ ในรูปนั้น
จักขุวิญญาณอาศัยจักขุปสาทเป็นที่เกิด
เจตสิกที่เป็นองค์ประกอบของจักขุวิญญาณ
ก็อาศัยจักขุปสาทเป็นที่เกิดเช่นเดียวกันกับจิต
ตามธรรมชาติแล้วจิตกับเจตสิกเป็นสหชาติธรรมแยกจากกันไม่ได้
กล่าวคือจิตจะเกิดโดยปราศจากเจตสิก
หรือเจตสิกจะเกิดโดยลำพังไม่อาศัยจิตนั้นไม่ได้
ต้องเกิดดับพร้อมกันเป็นสหชาติธรรม
แต่ในการศึกษาจำต้องแยกกันกล่าวเพื่อให้เห็นสภาวะแต่ละอย่าง

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจตสิกมีสภาวะเป็นลักษณะเฉพาะตัว
แตกต่างกันอยู่ ๕๒ ประการ จึงจัดเป็นเจตสิก ๕๒ ดวง แบ่งออกเป็น
อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ และโสภณ(กุศล)เจตสิก ๒๕

๑. อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โดยลำพังตนมีสภาวลักษณะกลาง ๆ
ไม่เป็นบุญบาปกุศลอกุศล แต่เข้าร่วมกับฝ่ายอกุศล หรือฝ่ายกุศลได้
แบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ และ ปกิณณกเจตสิก ๖

ก. สัพพจิตตสารณเจตสิก ๗ ได้แก่
(๑) ผัสสะ ธรรมชาติการกระทบอารมณ์
(๒) เวทนา ธรรมชาติการเสวยอารมณ์
(๓) สัญญา ธรรมชาติที่จำอารมณ์
(๔) เจตนา ธรรมชาติที่กระตุ้นเตือนชักชวนสัมปยุตตธรรมให้ทำหน้าที่
( คือชักชวนสัมปยุตตธรรมให้มุ่งตรงต่ออารมณ์ )
(๕) เอกัคคตา ธรรมชาติที่สงบตั้งอยู่ในอารมณ์เดียว
(๖) ชีวิตินทรีย์ ธรรมชาติที่รักษาสัมปยุตตธรรมให้ให้ตั้งอยู่ตามอายุ
(๗) มนสิการ ธรรมชาติที่มุ่งและนำสัมปยุตตธรรมสู่อารมณ์ คือการกระทำอารมณ์ให้แก่จิต

เจตสิกทั้ง ๗ นี้เกิดร่วมกับจิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ทุกดวง จึงได้ชื่อว่า สัพพจิตตสาธารณเจตสิก

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข. ปกิณณกเจตสิก ๖ ได้แก่
(๑) วิตก ธรรมชาติที่คิดและยกสัมปยุตตธรรมขึ้นสู่อารมณ์
(๒) วิจาร ธรรมชาติที่เคล้าคลึงประคองจิตให้อยู่ในอารมณ์
(๓) อธิโมกข์ ธรรมชาติที่ตัดสินอารมณ์
(๔) วิริยะ ธรรมชาติที่เพียรเพื่อให้ได้อารมณ์
(๕) ปีติ ธรรมชาติที่ปลาบปลื้มยินดีในอารมณ์
(๖) ฉันทะ ธรรมชาติที่พอใจในอารมณ์

ปกิณณกเจตสิกเกิดร่วมได้เฉพาะกับจิตบางดวงที่ประกอบด้วยเจตสิก
อันมีสภาวะที่ไม่เป็นปฏิปักษ์ขัดกัน กล่าวคือเจตสิกใดมีสภาวะเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน
ก็เข้าร่วมกันไม่ได้ ส่วนที่ไม่ขัดกันก็เข้าร่วมกันได้ เช่น
วิจิกิจฉาเจตสิกอันมีสภาวะสงสัยไม่แน่ใจประกอบอยู่ในจิตดวงใด
อธิโมกข์เจตสิกอันมีสภาวะตัดสินเด็ดขาด
ก็เข้าประกอบกับจิตนั้นด้วยร่วมด้วยวิจิกิจฉาเจตสิกไม่ได้
หรือเวทนาที่เสวยอารมณ์เป็นโทมนัสเสียใจ
ปีติเจตสิกเป็นสภาวะปลาบปลื้มยินดีย่อมเข้าประกอบจิต
ร่วมกับเวทนาโทมนัสไม่ได้แต่ถ้าเวทนานั้นเป็นโสมนัสยินดีร่าเริง
ปีติเจตสิกก็เข้าประกอบร่วมด้วยได้

หลักที่ควรจำเกี่ยวแก่อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ ก็คือ
(๑) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ นั้น
เกิดประกอบจิตทุกดวงทั้ง ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง ไม่มียกเว้น
(๒) ปกิณณกเจตสิก ๖ เกิดประกอบจิตได้ทุกประเภท
แต่มียกเว้นไม่เข้าประกอบกับจิตบางดวงที่มีสภาวะต่างกันหรือร่วมกันไม่ได้

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. อกุศลเจตสิก
เป็นธรรมชาติที่ทำให้จิตเสร้าหมองเสียศีลธรรมนำไปทางข้างอกุศลมีอยู่ ๑๔ ดวง
โดยแบ่งออกเป็น โลติกะ ๓ โทจตุกะ ๔ โมจตุกะ ๔ ถีทุกะ ๒ และวิจิกิจฉา ๑
เจตสิก ๑๔ ดวงนี้ เกิดกับจิตที่เป็นอกุศลฝ่ายเดียวเท่านั้น ไม่เกิดกับจิตอื่น
ก. โมจตุกะ ๔ คือ
(๑) โมหะ ธรรมชาติที่หลงไม่รู้ความจริงตามสภาวะของอารมณ์
(๒) อหิริกะ ธรรมชาติที่ไม่ละอายต่อบาปทุจริต
(๓) อโนตตัปปะ ธรรมชาติที่ไม่กลัวต่อบาปทุจริต
(๔) อุทธัจจะ ธรรมชาติที่ฟุ้งซ่านรับอารมณ์ไม่มั่น
อกุศลจิต ๑๒ ดวง ที่เกิดขึ้นครั้งใด โมจตุกะ ๔ ต้องเกิดประกอบด้วยเสมอ

ข. โลติกะ ๓ คือ
(๑) โลภะ ธรรมชาติที่ได้ รักติดพันในอารมณ์
(๒) ทิฏฐิ ธรรมชาติที่เห็นผิดจากความเป็นจริง
(๓) มานะ ธรรมชาติที่มีความถือตัว
โลติกะ ๓ เกิดประกอบเฉพาะ โลภมูลจิต ๘ ดวง

ค. โทจตุกะ ๔ คือ
(๑) โทสะ ธรรมชาติที่โกรธประทุษร้าย ไม่ชอบใจในอารมณ์
(๒) อิสสา ธรรมชาติที่ไม่อยากให้ผู้อื่นดีกว่าตน
(๓) มัจฉริยะ ธรรมชาติที่ตระหนี่หวงแหน
(๔) กุกกุจจะ ธรรมชาติที่เสียใจในอกุศลที่ได้ทำไปแล้วและในกุศลที่มิได้ทำ
โทจตุกะ ๔ เกิดประกอบเฉพาะโทสมูลจิต ๒ ดวง

ง. ถีทุกะ ๒ คือ
(๑) ถีนะ ธรรมชาติที่ทำให้จิตเชื่องซึม ท้อถอยจากความเพียร
(๒) มิทธะ ธรรมชาติที่ทำให้จิตหดหู่ง่วงเหงา หาวนอน
เจตสิก ๒ ดวง นี้มีสภาพคล้ายคลึงกันมาก แยกออกจากกันโดยชัดแจ้งไม่ได้ จึงใช้
ควบคู่กันเสมอ

จ. วิจิกิจฉา ๑ คือ
ธรรมชาติที่ลังเลสงสัยและไม่แน่ใจ เช่น สงสัยในพระรัตนตรัย ในกรรม ว่ามีจริงหรือ
เจตสิกดวงนี้เกิดประกอบโมหมูลจิต ๑ ดวง ที่สัมปยุตต์ด้วยวิจิกิจฉา

หลักที่ควรจำเกี่ยวแก่อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง คือ
(๑) โมจตุกะ ๔ ประกอบกับอกุศลจิตทุกดวง ทุกครั้งที่อกุศลจิตเกิดโมจตุกะ ๔ ต้องประกอบพร้อมด้วย
(๒) ถ้าอกุศลจิตนั้นเป็นโลภมูลจิต โลติกะ ๓ ก็เข้าประกอบร่วมตามควร
(๓) ถ้าอกุศลจิตนั้นเป็นโทสมูลจิต โทจตุกะ ก็เข้าประกอบร่วมด้วยตามควร
(๔) ถ้าอกุศลจิตนั้นเป็นสสังขาริก ต้องมีการชักจูงจึงเกิดได้ ถีทุกะ ๒ ก็เข้าประกอบ
(๕) ถ้าอกุศลจิตนั้นเป็นโมหมูลจิต ประกอบด้วยความสงสัยไม่แน่ใจ วิจิกิจฉาเจตสิกก็เข้าประกอบ

ที่ว่าเข้าประกอบตามควรนั้น ขอให้เข้าใจว่าเจตสิกในกลุ่มนั้น
บางดวงอาจเข้าประกอบหรืออาจไม่เข้าประกอบตามสภาวะที่เป็นอยู่ในขณะนั้น
เช่น ขณะโกรธทำโทษเด็กเพื่อสั่งสอนให้ประพฤติดี โทสเจตสิกเข้าประกอบ
แต่อิสสาเจตสิก( ความริษยา )หรือมัจฉริยะเจตสิก(ความตระหนี่เหนียวแน่น) มิได้เข้าประกอบ
โทสมูลจิตในขณะนั้น แม้จะเป็นเจตสิกในกลุ่มโทจตุกะ ด้วยกัน
แต่สภาวะของโทสะ อิสสา และมัจฉริยะนั้นต่างกัน จึงเข้าร่วมพร้อมกันไม่ได้

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. โสภณเจตสิก ๒๕
ธรรมชาติหรือสภาวะที่ทำจิตให้ผ่องใส ตั้งอยู่ในศีลธรรมมีการยกเว้นบาปทุจริตต่าง ๆ
เป็นไปในทางบุญกุศล แบ่งออกเป็น โสภณสาธารณะ ๑๙
วิรตี ๓ อัปปมัญญา ๒ และ ปัญญินทรีย์ ๑

โสภณเจตสิก ๒๕ เกิดประกอบได้กับจิตที่เป็นกุศลแต่อย่างเดียวเท่านั้น

ก. โสภณสาธารณะ ๑๙ คือ
(๑) สัทธา ธรรมชาติที่เชื่อเลื่อมใสในเหตุผลตามสภาวะความจริง
(๒) สติ ธรรมชาติที่ระลึกได้ในอารมณ์เกี่ยวแก่กุศล
(๓) หิริ ธรรมชาติที่ละอายต่อบาปอกุศล
(๔) โอตตัปปะ ธรรมชาติที่กลัวต่อบาปอกุศล
(๕) อโลภะ ธรรมชาติที่ไม่อยากได้และไม่ติดในอารมณ์

(๖) อโทสะ ธรรมชาติที่ไม่ปองร้ายหรือไม่โกรธ
(๗) ตัตตรมัชฌัตตตา ธรรมชาติที่วางเฉยอยู่ในความเป็นกลาง
(๘) กายปัสสัทธิ ธรรมชาติที่สงบของเจตสิกจากอกุศล
(๙) จิตปัสสัทธิ ธรรมชาติที่ทำให้จิตสงบจากอกุศล
(๑๐) กายลหุตา ธรรมชาติความเบาของเจตสิกจากอกุศล

(๑๑) จิตตลหุตา ธรรมชาติที่ทำให้จิตเบาจากอกุศล
(๑๒) กายมุทุตา ธรรมชาติที่อ่อนโยนของเจตสิกในอารมณ์ที่เป็นกุศล
(๑๓) จิตตมุทุตา ธรรมชาติที่ทำให้จิตอ่อนโยนในอารมณ์ที่เป็นกุศล
(๑๔) กายกัมมัญญตา ธรรมชาติที่ควรแก่การงานของเจตสิกในอารมณ์ที่เป็นกุศล
(๑๕) จิตตกัมมัญญตา ธรรมชาติที่ควรแก่การงานของจิตในอารมณ์ที่เป็นกุศล

(๑๖) กายปาคุญญตา ธรรมชาติที่คล่องแคล่วของเจตสิกในอารมณ์ที่เป็นกุศล
(๑๗) จิตตปาคุญญตา ธรรมชาติที่คล่องแคล่วของจิตในอารมณ์ที่เป็นกุศล
(๑๘) กายุชุกตา ธรรมชาติที่ทำจิตให้มุ่งตรงต่ออารมณ์ที่เป็นกุศล
โสภณสาธารณะ ๑๙ นี้ เข้าประกอบกับจิตที่เป็นกุศลทุกดวงไม่มียกเว้น

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข. วีรตี ๓ คือ

(๑) สัมมาวาจา พูดดีไม่เป็นอกุศล ได้แก่การยกเว้นวจีทุจริต
(๒) สัมมากัมมันตะ กระทำการงานดีโดยยกเว้นกายทุจริต
(๓) สัมมาอาชีวะ ประกอบอาชีพสุจริต โดยเว้นวจีทุจริต ๔ และกายทุจริต ๓

วีรตี ๓ นี้เข้าประกอบกับมหากุศลได้คราวละ ๑ ดวง แต่เข้าประกอบโลกุตรจิตได้ทั้ง ๓ ดวง
นอกจากนี้แล้ววีรตีเจตสิกไม่เข้าประกอบ

ค. อัปปมัญญา ๒ คือ

(๑) กรุณา ธรรมชาติที่สงสารต่อสัตว์ได้รับทุกข์
(๒) มุทิตา ธรรมชาติที่ยินดีต่อสัตว์ได้รับสุข
อัปปมัญญา ๒ นี้เข้าประกอบกับมหากุศลจิต มหากิริยาจิต และในรูปาวจรจิตได้

ง. ปัญญินทรีย์ ๑ คือ
ธรรมชาติที่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง และทำลายความเห็นผิด
เข้าประกอบกับโสภณจิตที่เป็นญาณสัมปยุตต์

หลักที่ควรจำเกี่ยวแก่โสภณเจตสิก คือ
(๑) โสภณสาธารณะ ๑๙ เข้าประกอบจิตที่เป็นบุญกุศลทุกดวง
(๒) วีรตี ๓ เข้าประกอบได้เฉพาะมหากุศลจิตคราวละ ๑ ดวง
แต่ถ้าเป็นโลกุตรจิตแล้ว ต้องเข้าประกอบพร้อมกันทั้ง ๓ ดวง
(๓) อัปปมัญญา เข้าประกอบในมหากุศลจิต มหากิริยาจิต
และในรูปาวจรจิตได้ คราวละ ๑ ดวง
(๔) ส่วนปัญญินทรีย์นั้น เข้าประกอบกับโสภณจิตที่เป็นญาณสัมปยุตต์ได้ทั้งหมด

เจตสิก ๕๒ ดวง ดังกล่าวแล้วจัดเข้าในเบญจขันธ์ได้ คือ เวทนาเจตสิกเป็นเวทนาขันธ์
สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลือ ๕๐ ดวง เป็นสังขารขันธ์
ดังนั้นจิตที่เกิดขึ้นรับอารมณ์ครั้งหนึ่ง ขันธ์ ๕ ก็เกิด กล่าวคือ
อารมณ์เป็นรูปขันธ์ เวทนาเจตสิก (การเสวยอารมณ์) เป็นเวทนาขันธ์
สัญญาเจตสิก (ความรู้จำได้ซึ่งอารมณ์) เป็นสัญญาขันธ์
เจตสิกที่เหลือ (อันเกี่ยวแก่เจตนาความนึกคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ในอารมณ์)
เป็นสังขารขันธ์ และจิตที่รู้อารมณ์เป็นวิญญาณขันธ์ ดังนี้

เจตสิกมีกิจทำจิตไปในลักษณะต่าง ๆ เป็นกุศล อกุศลและกลาง ๆ
จิตมีการรู้อารมณ์แต่อย่างเดียว คือสักว่ารู้เป็นเพียงกิริยา
แต่เหตุที่จิตมีรัก โลภ โกรธ หลง ไปได้นั้น ก็เพราะ เจตสิกเข้าประกอบนำจิตไป

โลภเจตสิกอันมีสภาวะปรารถนาอยากมีอยากได้ เรียกอีกอย่างว่า ตัณหา
เป็นตัวสมุทัยเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ การจะพ้นทุกข์ได้จึงต้อง
ประหาณโลภเจตสิกอย่างหยาบที่เกิดทางกาย วาจา ด้วยศีล
อย่างกลางที่เกิดในใจด้วยสมาธิ และ
อย่างละเอียดที่เป็นอนุสัยนอนเนื่องอยู่ในสันดานด้วยวิปัสสนาปัญญา
การปฏิบัติที่จะให้หมดทุกข์ได้ จำเป็นต้องอาศัยอริยมรรค ๘
ซึ่งเป็นหลักเจตสิก ๘ ดวง ตามชื่อนั้นเอง ประหาณตัณหา
คือ โลภเจตสิกให้หมดไป
แสดงให้เห็นว่าเจตสิกเป็นผู้ประกอบทำจิตให้เป็นไปในประการทั้งปวง

: พระอภิธรรมสังเขปและธรรมบางประการที่น่าสนใจ
: พระนิติเกษตรสุนทร : ๒๕๐๕ : ๕๒-๖๒

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร