วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 00:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2009, 14:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปปรมัตถ์

รูป คำนี้โดยทั่วๆ ไปแล้ว ก็เข้าใจกันว่า ภาพที่ปรากฏแก่สายตา
ไม่ว่าจะเป็นสัตว์หรือวัตถุสิ่งของที่มองเห็นได้ จัดเป็นรูปทั้งนั้น
แต่ใน ทางพระพุทธศาสนา “รูป” หมายถึง
สภาวะที่เป็นอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ

เช่น สีที่เห็นเป็นอารมณ์ทางตา เสียงที่ได้ยินเป็นอารมณ์ทางหู กลิ่นเป็นอารมณ์ทางจมูก
รสเป็นอารมณ์ทางลิ้น สัมผัสถูกต้องเป็นอารมณ์ทางกาย
และรูปเช่นสุขุมที่นึกคิดเป็นอารมณ์ทางใจ ทั้งหมดนี่จัดเป็นรูปทั้งสิ้น
เป็นปรากฏการณ์ที่ยืนให้รู้หรือน้อมจิตให้เข้าไปรู้ ไม่ได้หมายเฉพาะรูป หรือภาพ
ที่ปรากฏเป็นอารมณ์แก่จักขุปสาทแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

รูปสมุทเทสนัย
รูปมีสภาวะเป็นลักษณะสำคัญ คือ แตกทำลายตั้งคงทนอยู่ไม่ได้
ชื่อว่ารูปแล้วต้องมีการแตกสลายไปทั้งสิ้น
ในพระพุทธศาสนาจำแนกไว้มีทั้งหมด ๒๘ รูป คือ
มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูป ๒๔ ซึ่งอาศัยมหาภูตรูปเกิด
๑. มหาภูตรูป คือ รูปที่เป็นใหญ่และปรากฏชัดเจน
ได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช วาโย ซึ่งมีสภาวะลักษณะดังนี้


(๑) ปฐวี มีลักษณะอ่อนหรือแข็งเป็นปรมัตถสภาวะไม่ใช่ดินอย่างที่เข้าใจกันทั่วๆ ไป
ดินที่เข้าใจกันทั่วๆ ไปนั้นเรียกว่า สมมติปฐวี
คราวใดที่กระทบถูกรู้สึกแข็งหรืออ่อนเรียกว่า กระทบปฐวี

(๒) อาโป มีลักษณะไหลและเกาะกุม ไม่ใช่น้ำตามธรรมดาซึ่งเรียกว่า สมมติอาโป
อาโปในมหาภูตรูปนั้นหมายถึงลักษณะการไหลและเกาะกุมเป็นสภาวะ
เช่น อาโปมากก็ทำให้มีลักษณะไหลเกิดขึ้น ดังน้ำไหลในแม่น้ำลำคลอง
ถ้าส่วนอาโปน้อยก็เกิดลักษณะยึดเกาะกุม
เช่นดินร่วน เอาน้ำพรมเพียงเล็กน้อยก็เกาะกุมกันเข้าเป็นก้อน

(๓) เตโช มีลักษณะร้อนหรือเย็น คือ ไม่ใช่ไฟธรรมดาที่เรียกว่า สมมติเตโช
เตโชในมหาภูติรูปหมายถึงลักษณะร้อนหรือเย็นเป็นสภาวะ เช่น
เตโชมากก็ทำให้มีลักษณะร้อนเกิดขึ้น ถ้าน้อยก็ทำให้
เกิดลักษณะเย็น

(๔) วาโย มีลักษณะไหวและเคร่งตึง คือ ไม่ใช่ลมตามธรรมดาที่เรียกว่า
สมมติวาโย วาโยในมหาภูตรูปหมายถึงลักษณะไหวหรือเคร่งตึงเป็นสภาวะ
เช่น การคลื่นไหวหยุดนิ่งของอิริยาบถเป็นไปด้วยอำนาจของวาโยธาตุเป็นต้น

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2009, 14:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. อุปาทายรูป ๒๔ เป็นรูปที่อาศัยมหาภูตรูป จะเกิดขึ้นโดยลำพังหาได้ไม่ ได้แก่

(๑) ปสาทรูป ๕ คือ
ก. จักขุปสาท ความใสที่สามารถรับเฉพาะรูปารมณ์ (รูป) ได้
ข. โสตปสาท ความใสที่สามารถรับเฉพาะสัททารมณ์ (เสียง) ได้
ค. ฆานปสาท ความใสที่สามารถรับเฉพาะคันธารมณ์ (กลิ่น) ได้
ง. ชิวหาปสาท ความใสที่สามารถรับเฉพาะ รสารมณ์ (รส) ได้
จ. กายปสาท ความใสที่สามารถรับเฉพาะ โผฏฐัพพารมณ์ (ความรู้สึกสัมผัส) ได้

(๒) โคจรรูป ๔ คือ
ก. รูปารมณ์ รูปคือ สี (วรรณะ) ที่เป็นอารมณ์
ข. สัททารมณ์ เสียงที่เป็นอารมณ์
ค. คันธารมณ์ กลิ่นที่เป็นอารมณ์
ง. รสารมณ์ รสที่เป็นอารมณ์

โคจรรูปนี้โดยมากกล่าวว่ามี ๗ รูป คือนับเอา ปฐวีโผฏฐัพพารมณ์ การสัมผัสถูกต้องอ่อนแข็งที่เป็นอารมณ์ และ เตโชโผฏฐัพพารมณ์ การสัมผัสถูกต้องร้อนเย็นที่เป็นอารมณ์ วาโยโผฏฐัพพารมณ์ การสัมผัสถูกต้องไหวและเคร่งตึงที่เป็นอารมณ์ รวมเข้าด้วย แต่ธาตุทั้ง ๓ คือ ปฐวี เตโช วาโย มีอยู่ในมหาภูตรูปแล้ว

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2009, 14:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๓) ภาวรูป ๒ คือ
ก. อิตถีภาวะ สภาพแห่งความเป็นหญิง
ข. ปุริสภาวะ สภาพแห่งความเป็นชาย

(๔) หทยรูป ๑ คือ หทยวัตถุ (ภายในหัวใจ) อันเป็นที่อาศัยของจิตและเจตสิก

(๕) ชีวิตรูป ๑ คือ ชีวิตินทรีย์ ที่รักษากรรมชรูป

(๖) อาหารรูป ๑ คือ โอชาที่มีในอาหารที่บริโภค

(๗) ปริจเฉทรูป ๑ คือ อากาศธาตุที่คั่นระหว่างรูปต่อรูป

(๘) วิญญัติรูป ๒ คือ
ก. กายวิญญัติ รูปที่แสดงออกมาให้รู้ความหมายโดยทางกาย
ข. วจีวิญญัติ รูปที่แสดงออกมาให้รู้ความหมายโดยทางวาจา

(๙) วิการรูป ๓ คือ
ก. ลหุตา ความเบาของรูป
ข. มุทุตา ความอ่อนสลวยของรูป
ค. กัมมัญญตา ความเหมาะควรแก่การงานของรูป

(๑๐) ลักษณะรูป ๔ คือ
ก. อุปจยะ การเกิดขึ้นของรูป
ข. สันตติ การเกิดขึ้นสืบต่อของรูป
ค. ชรตา ความเสื่อมความแก่ของรูปง. อนิจจตา ความแตกดับของรูป

ตั้งแต่มหาภูตรูปจนถึงอาหารรูป รวม ๑๘ รูป ชื่อว่า นิปผันนรูป เป็นรูปปรมัตถ์โดยแท้ และตั้งแต่ปริจเฉทรูปจนถึงลักษณะรูป รวม ๑๐ รูป ชื่อว่า อนิปผันนรูป เป็นรูปพิเศษที่เกิดขึ้นโดยอาศัย รูปปรมัตถ์แท้ รูป ๒๘ นี้เกิดในร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย เช่น มหาภูตรูป ๔ เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไป จักขุปสาท เกิดอยู่ในลูกตา อิตถีภาวะ หรือปุริสภาวะ เกิดอยู่ทั่วร่างกายของหญิงหรือชาย วจีวิญญัติเกิดได้ที่ปาก เป็นต้น

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2009, 14:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปปรมัตถ์ ๑๘ โดยแท้นั้น มีความหมายและชื่อเรียกดังต่อไปนี้

๑.สภาวะรูป เป็นรูปที่มีสภาวะหรือสำเร็จด้วยสภาวะของตนเอง

๒.สลักขณรูป เป็นรูปที่มีลักษณะ อนิจจํ ทุกขํ อนตฺตา

๓.นิปผันนรูป เป็นรูปที่เกิดขึ้นจากกรรม จิต อุตุ อาหาร เป็นสมุฏฐาน

๔.รูปรูป เป็นรูปที่มีการเสื่อมสิ้นสลายไป

๕.สัมมสนรูป เป็นรูปที่เอามาพิจารณโดยความเป็น อนิจจํ ทุกขํ อนตฺตา ได้

ตัวอย่าง จักขุปสาท เป็นรูป ๑ ในรูปปรมัตถ์ ๑๘
มีความใสเป็นพิเศษเป็นสภาวะเฉพาะ(สภาวรูป) ในการรับรู้
รูปารมณ์ (รูป) มีลักษณะของอนิจจํ ทุกขํ อนตฺตา
คือเกิดขึ้นแล้วดับ ตั้งคงทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน (สลักขณรูป)
เป็นรูปที่เกิดขึ้นจากกรรม (นิปผันนรูป) ย่อมมีการเสื่อมสิ้นแตกสลายไป(รูปรูป)
และสามารถนำมาใช้พิจารณาให้เห็น อนิจจํ ทุกขํ อนตฺตา ได้ (สัมมสนรูป)

ส่วนอีก ๑๐ รูป ซึ่งไม่ใช่รูปปรมัตถ์โดยแท้นั้น มีความหมายตรงกันข้ามและมีชื่อดังนี้
๑. อสภาวรูป ๒. อสลักขณรูป ๓. อนิปผันนรูป ๔. อรูปรูป และ๕. อสัมมสนรูป
กล่าวคือรูปทั้ง ๑๐ นี้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยรูปปรมัตถ์โดยแท้ ๑๘ นั้นเกิดขึ้นก่อน
รูปทั้ง ๑๐ นี้จึงเกิดขึ้นตาม เช่น ปริจเฉทรูป คือช่องว่างหรืออากาศธาตุที่คั่นอยู่ระหว่างทุกรูป
หรือระหว่างปรมาณู ถ้ารูปหรือปรมาณูไม่มี ปริจเฉทรูปก็มี ไม่ได้
เพราะมีสภาวะต้องอาศัยรูปอื่นเป็นสาระให้เกิดขึ้น


ที่มา : พระอภิธรรมสังเขป; พระนิติเกษตรสุนทร; ๒๕๐๕; ๗๒-๗๘

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร