วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2009, 14:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปวิภาคนัย

รูปวิภาคนัย คือการจำแนกรูปโดยพิสดารมีการจำแนกโดยแบ่งออกเป็น ๑๑ คู่
หรือโดยชื่อตามสภาวะ ๘ ชื่อ ดังต่อไปนี้

รูปทั้ง ๒๘ แยกออกได้เป็น ๑๑ คู่ คือ
๑ อัชฌัตติกรูป รูปภายในมี ๕ คือ ปสาท ๕
กับ พาหิรรูป รูปภายนอก คือ รูปที่เหลือ ๒๓
ที่ว่ารูปภายในนั้น มิได้หมายว่าเป็นรูปที่เกิดภายในร่างกาย
แต่หมายถึงคุณประโยชน์สำคัญ เพราะปสาทรูป ๕ เป็นส่วนใกล้ชิด
สามารถช่วยเหลือให้จิตเกิดขึ้น ให้สัตว์รู้อารมณ์ทำอะไร ๆ ได้
ถ้าไม่มีปสาทรูป ๕ แล้ว ก็ไม่ผิดกับตุ๊กตา
ส่วน พาหิรรูป ก็มิได้หมายว่าเป็นรูปภายนอกร่างกาย
คงเป็นรูปในร่างกายเช่นกัน แต่มีความสำคัญในร่างกายไม่เท่ากับปสาทรูป
คือ ไม่มีหน้าที่ร่วมกิจการงานกับจิตในการรู้อารมณ์
อัชฌัตติกรูป คล้ายคนสนิทรับใช้อยู่ในบ้าน
ส่วนพาหิรรูปคล้ายคนนอกบ้านมาช่วยเหลือการงาน ซึ่งย่อมไม่ได้รับความสนิทสนมเหมือนคนในบ้าน

๒. วัตถุรูป รูปอันเป็นที่อาศัยของจิตและเจตสิกมี ๖ คือปสาทรูป ๕ หทัยรูป ๑
กับอวัตถุรูป รูปอันไม่ใช่ที่อาศัยของจิตและเจตสิกคือ รูปที่เหลือ ๒๒

๓. ทวารรูป รูปที่เป็นเหตุให้เกิดวิถีจิตและกรรม มี ๗ คือ ปสาทรูป ๕ วิญญัติรูป ๒
กับอทวารรูป รูปที่ไม่เป็นเหตุ
วิถีจิตที่เกิดขึ้นก็ดี กายกรรม วจีกรรมที่เกิดขึ้นก็ดี ต้องอาศัยทวารรูป ๗ เป็นเหตุ

๔. อินทรียรูป รูปที่เป็นผู้ปกครองโดยเฉพาะตามหน้าที่มี ๘ คือ ปสาทรูป ๕ ภาวรูป ๒ ชีวิตรูป ๑
กับอนินทรียรูป รูปที่ไม่เป็นใหญ่ ไม่เป็นผู้ปกครองโดยเฉพาะ คือ รูปที่เหลือ ๒๐
อินทริยรูปนั้นมีลักษณะเป็นตัวของตัวเอง
ปกครองดูแลควบคุมกิจการงานของตนด้วยตน ผู้อื่นเข้าทำแทนไม่ได้
เช่น การเห็นก็เป็นหน้าที่ของจักขุปสาท โสตปสาทจะเข้าทำหน้าที่เห็นแทนจักขุปสาทไม่ได้
ภาวรูปที่เป็นหญิง ภาวรูปที่เกิดอยู่ก็เป็นอิตถีภาวะ จะเป็นปุริสภาวะไปไม่ได้
และชีวิตรูป ก็เป็นแต่รูปเดียวที่รักษากรรมชรูปให้ตั้งคงทนอยู่ตามการกำหนด

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2009, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๕. โอฬารริกรูป รูปหยาบ ปรากฏได้ชัดมี ๑๒ คือ ปสาทรูป ๕ วิสัยรูป ๗
กับสุขุมรูป รูปละเอียด ไม่ปรากฏได้ชัด คือ รูปที่เหลือ ๑๖

๖. สันติเกรูป รูปใกล้ หมายถึงรูปที่รู้ได้ง่ายมี ๑๒ คือ ปสาทรูป ๕ วิสัยรูป ๗
กับทูเรรูป รูปไกล หมายถึงรูปที่รู้ได้ยาก คือ รูปที่เหลือ ๑๖

๗. สัปปฏิฆรูป รูปที่กรทบกันได้มี ๑๒ คือ ปสาทรูป ๕ วิสัยรูป ๕
กับอัปปฏิฆรูป รูปที่กรทบกันไม่ได้ คือ รูปที่เหลือ ๑๖

๘. อุปาทินนกรูป รูปที่มีตัณหาทิฏฐิเป็นที่ยึด เกิดจากอกุศลและกุศลกรรมเรียกว่า กรรมชรูป มี ๑๘ คือ ปสาทรูป ๕ ภาวรูป ๒ หทยรูป ๑ ชีวิตรูป ๑ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑
กับอนุปาทินนกรูป รูปที่มิได้เกิดจากอกุศลและกุศลกรรมได้แก่รูปที่เหลือ ๑๐ คือ สัททรูป ๑ วิการรูป ๕ ลักษณะรูป ๔ กล่าวได้อีกอย่างหนึ่งได้แก่ จิตตรูป ๑๕ อุตุชรูป ๑๓ อาหารรูป ๑๒

๙. สนิทัสสนรูป รูปที่เป็นด้วยตาได้ มี ๑ คือรูปารมณ์ (สี)
กับอนิทัสสนรูป รูปที่เห็นด้วยตาไม่ได้ คือ รูปที่เหลือ ๒๗

๑๐. โคจรัคคาหกรูป รูปที่รับอารมณ์ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย มี ๕ คือ ปสาทรูป ๕
กับอโคจรัคคาหกรูป รูปที่รับอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กายไม่ได้ คือ รูปที่เหลือ ๒๓

๑๑. อวินิพโภครูป รูปที่แยกออกจากกันไม่ได้ มี ๘ คือ มหาภูตรูป ๔ กับวรรณะ คันธะ รสะ และโอชะอีก ๔
กับวินิพโภครูป รูปที่แยกออกจากกันได้ คือ รูปที่เหลือ ๒๐


การจำแนกรูปออกโดยชื่อตามสภาวะ ๘ มีดังนี้ คือ รูป ๒๘ ทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว ย่อมมีสภาวะลักษณะ

(๑) ไม่ประกอบด้วยเหตุ คือไม่มีโลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแก่รูป รูปจึงเป็นอเหตุกะ คือไร้เหตุ
(๒) รูปเกิดขึ้นได้ต้องประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง
มีกรรม จิต อุตุ อาหารเป็นสมุฏฐาน รูปจึงเป็นสปัจจยะ ประกอบด้วยปัจจัย
(๓) รูปเห็นอารมณ์ของอาสวะ มีกามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ และอวิชชาสวะ รูปจึงเป็น สาสวะ
(๔) รูปมีการปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔ คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร รูปจึงเป็น สังขตะ ถูกปรุงแต่งขึ้น
(๕) รูปเป็นโลกียธรรมเนื่องอยู่ในสังขารโลก รูปจึงเป็น โลกียะ
(๖) รูปเป็นอารมณ์ของกามตัณหาอย่างเดียว รูปจึงเป็น อนารัมมณะ และ
(๗)...........
(๘) รูปไม่ใช่ธรรมที่จะละขจัด หรือประหาณ
เช่น อกุศลธรรม รูปจึงเป็น อัปปหาตัพพะ ไม่ใช่ธรรมที่ควรประหาณ



ที่มา : พระอภิธรรมสังเขปและธรรมบางประการที่น่าสนใจ;
พระนิติเกษตรสุนทร; ๒๕๐๕; หน้า ๗๘-๘๒

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2009, 06:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสัชนามานี้แล้ว จึงสำแดงปัจจัยแห่งรูปธรรม ๔ ประการสืบต่อไป
ปัจจัยแห่งรูปธรรม ๔ ประการนั้น คือ
กรรมประการ ๑
จิตประการ ๑
เตโชธาตุประการ ๑
อาหารประการ ๑

เป็น ๔ ประการด้วยกัน

...............................
กรรมนั้นได้แก่กุศลแลอกุศล อันเป็นเจ้าพนักงานตกแต่งซึ่งรูปกุศลนั้นตกแต่งรูปที่งามที่ดีประณีตบรรจง อกุศลนั้นตกแต่งรูปอันชั่วที่พิกลพิการต่าง ๆ แลบรรดาสรรพสัตว์ทั่วไปในไตรโลกธาตุนี้ ซึ่งจะมีรูปงดงามดี เป็นที่เจิมใจแห่งเทพามนุษย์นั้น อาศัยแก่กุศลตกแต่ง จะมีรูปชั่วพิกลพิการพึงเกลียดพึงชังนั้น อาศัยแก่อกุศลตกแต่ง เหตุฉะนี้ กุศลแลอกุศลที่เป็นเจ้าพนักงานตกแต่งรูปนั้น ท่านจึงจัดเป็นปัจจัยแห่งรูปธรรรมประการ ๑


แลจิตทั้งปวงที่เป็นที่เป็นเจ้าพนักงานให้บังเกิดในรูปนั้นได้ ท่านก็เป็นปัจจัยแห่งรูปธรรมประการ ๑

..อธิบายว่าจิตที่จัดเป็นหมวดโดยนัยสังเขป ๘๙ จิตนั้น ยกอรูปวิบาก ๔ จิตกับทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ จิตออกเสียแล้ว ยังคงอยู่แต่ง ๗๕ จิตนั้น เป็นเจ้าพนักงานให้บังเกิดได้สิ้นทั้ง ๗๕ จิต เหตุฉะนี้ ๗๕ คือ กามาพจรจิต ๔๔ รูปาพจรจิต ๑๕ อรูปาพจรจิต ๘ โลกุตตรจิต ๘ นั้น ท่านจึงจัดเป็นปัจจัยแห่งรูปธรรมประการ ๑


เพลิงธาตุที่เป็นเจ้าพนักงาน ให้บังเกิดอุตุสมุฏฐานรูปในฐิติขณะนั้นก็จัดเป็นปัจจัยแห่งรูปธรรมประการ ๑

อาหารที่เป็นเจ้าพนักงานให้บังเกิดอาหารสมฏฐานรูป ในฐิติขณะนั้น ก็จัดเป็นปัจจัยแห่งรูปธรรมประการ ๑ สิริเป็นปัจจัยแห่งรูปธรรม ๔ ประการฉะนี้


http://www.larnbuddhism.com/visut/3.9.html

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2009, 06:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


แท้จริงธรรมดาว่า บุคคลมีต้อแลฝ้าเข้าปิดจักษุอยู่แล้ว
ก็มิได้เห็นรูปทั้งปวง

แม้จะเห็นบ้างราง ๆ เล่า ก็เห็นวิปริตพร่างพรายไปไม่เห็นแจ้งฉันใดก็ดี

บุคคลที่มีอวิชชาครอบงำแล้วก็มิได้บัญญัติเป็นสัมมาปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติเล่าก็ปฏิบัติแต่ผิด มิใช่ทุกขอริยสัจเป็นต้น ถ้าเห็นเล่าก็เห็นแต่ที่ผิดมีอุปไมยฉันนั้น


ประการหนึ่งคนพาล ครั้นมีอวิชชาครอบงำแล้วก็ก่อสร้างแต่สังขารธรรม ๆ เกี่ยวพันตัวไว้ด้วยสังขาร อันจะน้อมนำตนไปเกิดใหม่เกิดอีกใยภพหาที่สุดมิได้ ดุจหนึ่งตัวด้วงแมลงหุ้มพันตนไว้ด้วยฝังรังเหตุสังขารกระทำแต่จะให้วนเวียนอยู่ภายในแห่งวัฏฏะทั้ง ๓ คือ กัมมวัฏฏ์ กิเลสวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์นั้น

..................
http://www.larnbuddhism.com/visut/3.8.html

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2009, 13:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

เ่ช่นนั้น...ค่ะคุณนัน555

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2009, 14:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ป่านนี้ผมยังงงอยูเลยครับ
เรื่องนี้ พิศดารจริงๆ

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร