วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2009, 02:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

จิ ต เ ส ว ย อ า ร ม ณ์
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร) กรุงเทพมหานคร


ได้กล่าวมาแล้วว่าอภิธรรม ๗ คัมภีร์นั้น
ท่านพระอนุรทธาจารย์ ได้ประมวลเนื้อความมาแต่งเป็น
คัมภีร์ย่อขึ้นอีกคัมภีร์หนึ่งเรียกว่า “อภิธัมมัตถสังคหะ”
แปลว่าสงเคราะห์เนื้อความของพระอภิธรรม

ยกหัวข้อเป็น ๔ คือ จิต เจตสิก รูป และ นิพพาน
แบ่งออกเป็น ๙ ปริเฉท


คัมภีร์ย่อนี้เป็นที่นับถือและศึกษามาเป็นเวลาช้านานจนกระทั่งบัดนี้
จะได้เก็บบางตอนที่น่าจะพอเป็นที่เข้าใจง่าย
มาแสดงจากอภิธัมมัตถสังคหะนั้น

หัวข้อแรก คือ จิต

จิตนี้แสดงอาการแก่ทางทวารทั้ง ๖ ดั่งที่ได้เคยอธิบายมาแล้ว
คือออกมารับรู้รูปารมณ์ (อารมณ์คือรูป) ทางจักขุทวาร
รับสัททารมณ์ (อารมณ์คือเสียง) ทางโสตทวาร
รับคันธารมณ์ (อารมณ์คือกลิ่น) ทางฆานทวาร
รับรสารมณ์ (อารมณ์คือรส) ทางชิวหาทวาร
รับโผฏฐัพพารมณ์ (อารมณ์คือโผฏฐัพพะ (สิ่งที่กายถูกต้อง) ทางกายทวาร
รับธัมมารมณ์ (อารมณ์คือธัมมะ คือเรื่องของรูปเสียงเป็นต้น
ที่ไปประสบผ่านมาแล้วในอดีต (ทางมโนทวาร)

ในตอนนี้การแสดง “วิถีจิต”
คือทางเดินของจิตแยกเป็นสอง


คือทางปัญจทวาร (ทวารทั้ง ๕) ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ่น กาย ส่วนหนึ่ง
ทางมโนทวารอีกส่วนหนึ่ง
และจิตโดยปรกติเมื่อยังไม่ออกมารับอารมณ์ดั่งกล่าวแล้วเรียกว่า “ภวังคจิต”

ภวังคะ แปลว่า องค์แห่งภพ ภวังคจิต จิตที่เป็นองค์ภพ
แต่โดยความหมาย หมายถึงจิตที่เป็นปกติยังไม่ได้ออกมารับอารมณ์


คราวนี้เมื่อมีอารมณ์ ๕ มากระทบกับประสาททั้ง ๕ คือ
มีรูปมากระทบจักขุ เสียงมากระทบโสตะ
กลิ่นมากระทบฆานะ รสากระทบชิวหา
และโผฏฐัพพะมากระทบกาย ก็มากระทบถึงจิต

จิตที่ยังอยู่ในภวังค์นี้ตื่นจากภวังค์
ออกมารับ “อาวัชชนะ” คือคำนึงอารมณ์
เมื่อเป็นอาวัชชนะก็เป็น “วิญญา”

คือถ้ารูปมากระทบก็ได้เก็บ อารมณ์นั้นเป็นจักขุวิญญาณ
ถ้าเสียงมากระทบก็ได้ยิน อารมณ์นั้นก็เป็นโสตวิญญาณ
ถ้ากลิ่นมากระทบก็ได้กลิ่น อารมณ์เป็นฆานวิญญาณ
เมื่อรสมากระทบก็รู้รส อารมณ์นั้นเป็นชิวหาวิญญาณ
เมื่อสิ่งที่กายถูกต้องมากระทบก็รับกระทบ
อารมณ์นั้นเป็นกายวิญญาณ

เมื่อเป็นวิญญาณ ต่อไปก็เป็น “สัมปฏิจฉันนะ” คือ รับอารมณ์
ต่อไปก็เป็น “สันตีรณะ” คือ พิจารณาอามรณ์
ต่อไปก็เป็น “โวฏฐวนะ” กำหนดอารมณ์
ต่อไปก็เป็น “ชวนะ” คือ แล่นไปในอารมณ์
ต่อไปก็เป็น “ตทาลมพะ” คือ หน่วงอารมณ์นั้น

แล้วก็กลับตกภวังค์ใหม่

เปรียบเหมือนอย่างว่า “ภวังคจิต” เป็นพื้นทะเล
ส่วน “วิถีจิต” คือทางดำเนินของจิตดังกล่าวที่มานั้น
เป็นคลื่นทะเลที่เกิดขึ้น
คลื่นที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นคลื่นทะเล
ปรากฏขึ้นมาแล้วกลับตกไปยังพื้นทะเล


:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : จิตเสวยอารมณ์ ใน “ความรู้ทั่วไปเรื่องพระอภิธรรม” พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก, มหามงกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิมพ์, พิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๘, หน้า ๓๗-๓๙)


แก้ไขล่าสุดโดย เว็บมาสเตอร์ เมื่อ 19 ม.ค. 2010, 08:16, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2009, 02:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


วิ ถี จิ ต
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร) กรุงเทพมหานคร


ในเรื่องของ วิถีจิต นี้

ท่านแสดงอุปมาเหมือนคนนอนหลับอยู่ใต้โคนต้นมะม่วง
คือ เหมือนอย่างว่ามีบุรุษผู้หนึ่งนอนคลุมศีรษะ
อยู่ที่โคนต้นมะม่วงที่กำลังมีผล กำลังหลับ
แต่ก็ตื่นขึ้นด้วยเสียงของมะม่วงผลหนึ่งที่ตกลงมาในที่ใกล้

จึงได้เอาผ้าออกจากศีรษะลืมตาขึ้นมองดู
ก็เอาจับผลมะม่วงนั้น คลำดู สูดกลิ่นดูก็รู้ว่าเป็นมะม่วงสุก
จึงบริโภค และกลืนกินมะม่วงพร้อมทั้งเสมหะ แล้วก็หลับไปใหม่

ตัวอย่างนี้มาเทียบกับจิต

เวลาของ ภวังคจิต
ก็เหมือนอย่างที่บุรุษผู้นั้นนอนหลับ
เวลาที่อารมณ์มากระทบประสาท
ก็เหมือนอย่างที่เวลาที่ผลมะม่วงตกลงมา


เวลาแห่ง “อาวัชชนจิต” คือจิตคำนึง
ก็เหมือนอย่างเวลาที่บุรุษนั้นตื่นขึ้นด้วยเสียงของมะม่วงนั้น

เวลาของ “จักขุวิญญา” เป็นไป
ก็เหมือนอย่างเวลาที่บุรุษนั้นลืมตาขึ้นมองดู

เวลาแห่ง “สัมปฏิจฉันนจิต” คือจิตรับ
ก็เหมือนกับเวลาที่บุรุษนั้นเอามือหยิบผลมะม่วง

เวลาแห่ง “สันตีรณจิต” คือจิตพิจารณา
ก็เหมือนอย่างเวลาที่คลำดูด้วยมือ

เวลาแห่ง “โวฏฐวนจิต” คือจิตที่กำหนดอารมณ์
ก็เหมือนอย่างเวลาที่สูดดมดูจึงรู้ว่าเป็นมะม่วงสุก

เวลาแห่ง “ชวนจิต” คือจิตที่แล่นไป
ก็เหมือนกับเวลาที่บริโภคมะม่วง

เวลาที่จิตหน่วงอารมณ์นั้น
อันเรียกว่า “ตทาลัมพนจิต”
ก็เหมือนอย่างเวลาที่กลืนกินผลมะม่วงพร้อมกับเสมหะ
เวลาที่จิตตกวังค์ไปใหม่ก็เหมือนอย่างเวลาที่หลับไปอีก

ในขณะที่อารมณ์มากระทบประสาทจนจิตตื่นขึ้นจากภวังค์
ดำเนินไปสู่ไปวิถีคือทางที่กล่าวมานั้น
ถ้าอารมณ์ที่กระทบมานั้นเป็นอารมณ์ที่แจ่มชัด


ยกตัวอย่างเช่นว่า

รูปมากระทบจักขุประสาทเป็นรูปที่แจ่มชัด และจิตก็รับอย่างเต็มที่
ท่านแสดงว่าอารมณ์เช่นนี้จิตดำเนินไปอยู่ ๑๖ ขณะจิต

คือเมื่ออารมณ์เข้ามากระทบประสาท
และกระทบเข้าไปถึงจิตที่กำลังตกภวังค์
จิตก็จะเคลื่อนจากภวังค์เรียกว่า “ภวังคจลนะ”
และก็ตัดขาดจากภวังค์เรียกว่า “ภวังคอุปัจเฉทะ” นี้รวมสองขณะจิต
ต่อจากนั้น จิตก็คำนึงอารมณ์ เรียกว่า “อาวัชชนจิต” อีกหนึ่งขณะจิต

ต่อจากนั้นจิตก็เห็น หรือได้ยินอารมณ์
อันเรียกว่า จักขุวิญญาณ หรือโสตวิญญาณ เป็นต้น หนึ่งขณะจิต
ต่อจากนั้นจิตก็รับอารมณ์เรียกว่า สัมปฏิจฉันนะ อีกขณะจิต
ต่จากนั้นจิตก็พิจารณาอารมณ์เรียกว่า สันตีระณะ อีกหนึ่งขณะจิต
ต่อจากนั้นจิตก็กำหนดอารมณ์เรียกว่า โวฏฐวนะ อีกหนึ่งขณะจิต
ต่อจากนั้นจิตก็แล่นไปในอารมณ์เรียกว่า ชวนะ อีก ๗ ขณะจิต
ต่อากนั้นจิตก็หน่วงอยุ่กับอารมณ์นั้นเรียกว่า ตทาลัมพะ
อีก ๒ ขณะจิต รวมเป็น ๑๖ ขณะจิต

แต่ว่าถ้าเป็นอารมณ์ที่อ่อนมากมากระทบประสาท กระทบถึงจิต
ทำให้จิตเคลื่อนไหวจากภวังค์
แต่ว่ายังไม่ได้ตัดภวังค์
จิตก็จะต้องตกภวังค์ไปใหม่
ไม่ออกมารับรู้อารมณ์ตามวิถีจิตดั่งกล่าวนั้น

อารมณ์ที่แรงกว่านั้นจะมากระทบ
บางทีก็ดำเนินไปไม่ตลอดทั้ง ๑๖ ขณะจิตนั้น
สิ้นกำลังระหว่างทาง
ก็ตกภวังค์ในระหว่าง


เพราะฉะนั้น อารมณ์ที่ปรากฏในจิตจึงไม่เท่ากัน
แต่ว่าถ้าเต็มที่ก็ต้องดำเนินไป ๑๖ ขณะจิต ดั่งที่กล่าวมานั้น

ที่เรียกว่าขณะจิตหนึ่งนั้น ประกอบด้วยลักษณะ คือ

๑. อุปปาทะ - เกิดขึ้น
๒. ฐิติ - ตั้งอยู่
๓. ภังคะ - ทำลายหรือดับไป


จิตที่เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป เรียกว่าขณะจิตหนึ่งๆ

ขณะจิตทั้ง ๑๗ ขณะจิตดั่งกล่าวมานั้น
แต่ละขณะจิตก็ต้องมีเกิดมีตั้งมีดับ
และเมื่อขณะจิตก่อนผ่านไปแล้ว
ขณะจิตหลังก็เกิดขึ้นทะยอยกันไป

แต่หากว่าขณะจิตก่อนยังไม่ผ่าน
คือว่ายังไม่ถึงภังคะคือการแตกดับ
ขณะจิตหลังก็เกิดขึ้นไม่ได้
เพราะว่าจิตต้องดำเนินไปทีละหนึ่งขณะจิตเท่านั้น

และท่านแสดงว่า ๑๗ ขณะจิต เป็นอายุของรูปธรรมอันหนึ่งๆ
จะหมายถึงอายุของรูปธรรมที่ผ่านเข้ามาในจิต
ก็ยังไม่ได้ค้นให้แน่ชัด

แต่ว่าอาจจะหมายถึงอายุของรูปธรรมที่ผ่านเข้ามาในจิตก็ได้

คือว่าอย่างรูปที่กระทบจักขุประสาท
มาเริ่มเป็น “ภวังคจลนะ” คือจิตเคลื่อนจากภวังค์ เป็นต้น
จนถึง “ตทาลัมพนะ” คือหน่วงอยู่กับอารมณ์นั้น
รวมเป็น ๑๖ ขณะจิตดั่งกล่าวมาแล้ว

และท่านนับกับขณะจิตในอดีตที่เป็นหัวต่อเชื่อมกันอยู่อีกหนึ่ง
จึงเป็น ๑๗ ขณะจิต

ถ้าเป็น ๑๗ ขณะจิตดั่งนี้
ก็รวมเข้าเป็นอายุของรูปธรรมอันหนึ่งๆ


แปลว่าอารมณ์ที่ผ่านเข้ามาทางทวารทั้ง ๕ นั้น
ก็นับว่าเป็นรูปธรรมทั้งนั้น
ดำรงอยู่ในจิตได้อย่างช้าที่สุดก็เพียง ๑๗ ขณะจิต
หรือว่า ๑๖ ขณะจิตดั่งที่กล่าวมาข้างต้น
แต่ก็ต้องเป็นอารมณ์ที่แจ่มชัด
ถ้าไม่แจ่มชัดก็ดำเนินมาไม่ถึง


นี่เป็นอธิบายของวิถีจิต
ที่ดำเนินตั้งต้นมาจากปัญจทวาร คือทวารทั้ง ๕


:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : วิถีจิต ใน “ความรู้ทั่วไปเรื่องพระอภิธรรม” พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก, มหามงกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิมพ์, พิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๘, หน้า ๔๑-๔๔)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 10 ก.ย. 2009, 02:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2009, 02:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ห น้ า ที่ ข อ ง จิ ต
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร) กรุงเทพมหานคร


แต่สำหรับมโนทวาร นั้น ขณะจิตมีช่วงสั้นกว่า
เพราะว่าอารมณ์ในทวาร ๕ นั้น เป็นอารมณ์ที่ปรากฏในปัจจุบัน
แต่ว่าอารมณ์ที่มากระทบมโนทวารนั้นเป็นอารมณ์เก่า
เป็นมโนภาพที่เป็นตัวแทนของอารมณ์
ที่เคยประสบพบผ่านมาแล้วไม่ใช่เป็นตัวแรก

ตัวแรกนั้นประสบทางทวารทั้ง ๕
เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “ธัมมะ” หมายถึง เรื่อง

เมื่อธัมมะคือเรื่องที่ปรากฏเป็นมโนภาพ
เป็นตัวแทนของอารมณ์ที่ได้ประสบพบผ่านมาก่อนเก่าแล้วเหล่านั้น
มาผุดขึ้นกระทบมโนทวารก็กระทบถึงจิต
ทำจิตให้เคลื่อนจากภวังค์เป็น “ภวังคจลนะ”
และตัดจากภวังค์เป็น “ภวังคอุปัจเฉทะ” สองขณะจิต
แล้วก็เกิด “อาวัชชนจิต” คำนึงถึงอารมณ์ทางมโนทวาร

แต่ว่าอาวัชชจิตทางมโนทวารนี้
มีค่าเท่ากับโวฏฐวนจิตคือจิตที่กำหนดอารมณ์
เพราะฉะนั้น จึงได้เกิดชวนจิตคือจิตที่แล่นไปทีเดียว
แล้วก็เกิด “ตทาลัมพนจิต” คือจิตที่หน่วงอารมณ์นั้น แล้วก็ตกภวังค์

บรรดาจิตที่กล่าวมาเหล่านี้
ท่านแสดงว่าจิตที่ดำเนินในวิถีตั้งแต่ต้น
เมื่อยังไม่ถึงชวนจิตก็ยังเป็นจิตที่อ่อน

ยังไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
แต่ว่าเมื่อมาถึงชวนจิตคือจิตที่แล่นไป
ซึ่งมีเวลาอีก ๗ ขณะจิตโดยมาก


ซึ่งเป็นจิตที่มีกำลังเต็มที่
และนับว่าเป็นกุศลและอกุศลตั้งแต่ชวนจิตนี้
ลักษณะของจิตดั่งที่กล่าวมาแล้ว
เมื่อกล่าวถึงจิตที่ปฏิสนธิในเบื้องต้นเรียกว่า “ปฏิสนธิจิต”


จิตที่เคลื่อนในที่สุดก็เรียกว่า “จุติจิต”
เพราะฉะนั้น จึงเติมหน้าเติมหลังเจ้าอีกสอง
รวมเป็น “กิจ” คือ “หน้าที่” ของจิตทั้งหมดก็เป็น ๑๔ คือ


๑. ปฏิสนธิ

๒. ภวังคะ

๓. อาวัชชะ คำนึง

๔. ทัสสนะ เห็น

๕. สวนะ ได้ยิน

๖. ฆายนะ ได้กลิ่น

๗. สายนะ ได้รส

๘. ผุสนะ ถูกต้อง

๙. สัมปฏิจฉันนะ รับ

๑๐. สันตีรณะ พิจารณา

๑๑. โวฏฐวนะ หรือ โวฏฐัพพนะ กำหนด

๑๒. ชวนะ แล่นไป

๑๓. ตทาลัมพะ หน่วงอารมณ์นั้น

๑๔. จุติ เท่านี้


:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : หน้าที่ของจิต ใน “ความรู้ทั่วไปเรื่องพระอภิธรรม” พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก, มหามงกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิมพ์, พิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๘, หน้า ๔๖-๔๗)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 10 ก.ย. 2009, 02:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2009, 02:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ห ลั ก ก า ร จำ แ น ก จิ ต
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร) กรุงเทพมหานคร


จิตโดยปกติก็อยู่ในภวังค์
เมื่อตื่นขึ้นจากภวังค์แล้วไปในอารมณ์ตามวิถี
ก็แบ่งชื่อเรียกกันไปตามหน้าที่โดยลำดับ
จนถึงตกวังค์ใหม่ดั่งที่ได้แสดงมาแล้ว


แต่ว่าการแสดงจิตดังกล่าวนั้น ยังแสดงออกเป็นส่วนรรวมๆ
ยังไม่ได้แยกออกให้หมดว่า
เป็นกุศล เป็นอกุศล หรือเป็นอัพยากต


เพราะฉะนั้นเพื่อให้ทราบประเภทของจิตตามแม่บทนั้น
ท่านจึงแยกจิตไว้ตามแม่บทดังกล่าว

หลักของการจำแนกจิตว่าเป็นอย่างไรนั้น
หลักสำคัญอยู่ที่ เหตุ ๖ ประการ คือ อกุศลเหตุ
เหตุฝ่ายอกุศล ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ


อกุศลเหตุ เหตุฝ่ายกุศล ได้แก่
อโลภะ (ความไม่โลภ) อโทสะ (ความไม่โกรธ) อโมหะ ความไม่หลง

จิตที่ประกอบด้วยเหตุฝ่ายกุศล ก็เรียกว่า กุศลจิต
ส่วนจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุทั้ง ๒ นี้ เรียนกว่า อัพยากฤตจิต
(จิตที่ไม่พยากรณ์ว่ากุศล หรืออกุศล) เป็นจิตกลางๆ
นี้เป็นหลักใหญ่ในการจำแนกจิตว่าเป็นอย่างไร


แต่ว่าเพียงเท่านี้ก็ยังไม่ละเอียดพอ
จึงมีเกณฑ์จำแนกเป็นหลักย่อยๆ ต่อไปอีกได้แก่

๑. เวทนา

ความเสวยอารมณ์เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอุเบกขา
คือเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข

๒. ญาณ

คือความรู้ (ถูก) หรือว่าทิฏฐิ คือความเห็น (ผิด รู้ผิด)

๓. สังขาร

คือเป็นจิตที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง
หรือว่าเป็นจิตที่ไม่เกิดขึ้นด้วยตนเอง ต้องมีการเสริมกระตุ้นเตือน


เกณฑ์ย่อทั้ง ๓ ประเภทนี้ เป็นเกณฑ์จำแนกจิตให้พิสดารออกไป
ทั้งฝ่ายกุศล และฝ่ายอกุศล


ยกตัวอย่าง ในฝ่ายกุศลก่อน จิตเรียกว่า “อกุศล” นั้น
ต้องเป็นจิตที่มีโลภะเป็นมูล มีโทสะเป็นมูล มีโมหะเป็นมูล
นี้เป็นหลักใหญ่ทั่วไป

คราวนี้ในการประกอบอกุศลของคนผู้มีจิตเป็นอกุศลนั้น
บางคราวก็ทำได้ด้วย “โสมนัส”
คือ ยินดี เช่น การฆ่าสัตว์บูชายัญ มีความเชื่อว่าได้บุญ
หรือจะทำให้เทพโปรดปราน เมื่อทำไปก็มีโสมนัสคือยินดี

แต่ว่าในบางคราวก็มีโทมนัส คือ ยินร้าย
เช่น มีเหตุจำเป็นให้ต้องทำบาป แต่ก็จำต้องทำ
หรือว่าการทำบุญของบุคคลผู้มีจิตประกอบด้วยมูล คือ “โทสะ”
จิตที่มีโทสะนั้นคือจิตที่ไม่แช่มชื่น เป็นจิตที่เดือด เป็นจิตที่ขุ่น
ก็เรียกว่าโทมนัสคือว่าใจไม่ดี เป็นโทมนัสเวทนา

อนึ่ง การทำบาปของบุคคลบางคน
บางทีก็ประกอบไปด้วยทิฏฐิ ความเห็นผิด
ซึ่งเห็นว่าทำบาปได้บุญดั่งที่กล่าวมาในเรื่องการบูชายัญนั้น

แต่ว่าบางคราวก็ประกอบด้วย “ญาณ” คือ ความรู้ถูก
คือรู้ว่าเป็นบาปเหมือนกันแต่ว่าก็ทำ

เช่นว่า ทำเพราะลุอำนาจแห่งความโลภ ความโกรธ ความหลง
โลภขึ้นมาทั้งรู้ว่าบาปก็ทำ เพราะต้องการจะได้
แต่ว่าก็มีญาณคือความรู้เหมือนกันว่าเป็นบาป


:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : หลักการจำแนกจิต ใน “ความรู้ทั่วไปเรื่องพระอภิธรรม” พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก, มหามงกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิมพ์, พิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๘, หน้า ๕๓-๕๕)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2009, 02:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


จิ ต ๔ ป ร ะ เ ภ ท
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร) กรุงเทพมหานคร


อาศัยเกณฑ์ดังกล่าวนี้ จึงได้แบ่งจิตออกไปมากมาย ถึง ๘๙ ดวง
แต่ว่าเมื่อจะสรุปลงแล้วก็เป็น ๔ คือ

๑. กามาวจรจิต จิตที่หยั่งลงในกามหนึ่ง
๒. รูปาวจรจิต จิตที่หยังลงในฌาณ มีรูปเป็นอารมณ์หนึ่ง
๓. อรูปาวจรจิต จิตที่หยั่งลงในฌาณมีอรูปเป็นอารมณ์หนึ่ง
๔. โลกุตตรจิต จิตที่ป็นโลกกุตร คืออยู่เหนือโลกหนึ่ง


สรุปลงก็เป็น ๔ หมวด

• กามาวจรจิต

จิตที่หยั่งลงในกาม นั้น
เป็นจิตสามัญที่ยังมีความยินดียินร้ายอยู่ใน
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ
ในฝ่ายกุศล หรือว่า โสภณะ คืองามก็มี
ในฝ่ายอกุศลหรือว่าอโสภนะ คือไม่งามก็มี
ในฝ่ายอัพยากฤตก็มี อาศัยหลักดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น

• รูปาวจรจิต

จิตที่หยั่งลงในฌาณมีรูปเป็นอารมณ์นั้น ได้แก่ ฌาณจิตที่มีรูปเป็นอารมณ์

• อรูปาวจรจิต

จิตที่หยั่งลงในฌาณมีอรูปเป็นอารมณ์นั้น ได้แก่ ฌาณจิตที่มีอรูปเป็นอารมณ์

• โลกุตตรจิต

นั่นคือ มรรคจิตผลจิตของพระอริยบุคคลทั้งหลาย
ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปจนถึงพระอรหันต์

มาตอนนี้ควรทราบข้อเบ็ดเตล็ดคือ

พระอรหันต์นั้นก็อาจมาทำกิจหรือประกอบกิจในทางโลก
การกระทำของท่านนั้นถ้าดูอย่างคนสามัญ
ก็นับว่าจัดเขาในกุศลจิตที่เป็นกามาวจร
คือว่าเมื่อดูถึงกรรมที่ทำ การงานที่ท่านทำ ก็บ่งถึงจิตที่เป็นกุศล

แต่ว่าท่านแสดงว่าถ้าสำหรับพระอรหันต์
ก็จัดว่าเป็นเพียงกิริยา เรียกว่า “กิริยาจิต”
เพราะท่านสิ้นตัณหาที่จะก่อให้เกิดภพและชาติต่อไป

อนึ่งพระอรหันต์ท่านก็ยังเข้าฌานบางครั้ง
เข้ารปฌาณบ้างอรูปฌานบ้าง
อันนี้ก็เรียกว่าเป็นกิริยาจิตอีกเหมือนกัน ในชั้นรูปและอรูป

และตามหลักของท่านนั้น
ถือว่าบุคคลที่จะมาเกิดเป็นมนุษย์
ต้องมาเกิดด้วยกุศลกรรม
ความเป็นมนุษย์เป็นกุศลวิบากคือผลของกรรมดี

เพราะฉะนั้นเมื่อจัดเข้าในจำพวกจิตดังกล่าว

การมาเกิดเป็นมนุษย์ก็ต้องมาเกิดด้วยกุศลจิต
ที่มีอโลภะ อโทสะ อโมหะเป็นมูล
ถ้าประกอบด้วยจิตที่มีโลภะ โทสะ โมหะเป็นมูลแล้ว
ก็จักไม่มาเกิดเป็นมนุษย์ ไปเกิดต่ำกว่า

แต่ว่ากุศลจิตที่เป็นส่วนเหตุ
อันนำมาให้เกิดนี้ของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน
เพราะฉะนั้นจิตที่เป็นพื้นอัธยาศัยของแต่ละบุคคลจึงต่างกัน


ดั่งเช่น

บางคนมีอัธยาศัยใหญ่เอื้อฟื้อเผื่อแผ่
บางคนมีอัธยาศัยคับแคบตระหนี่ถี่เหนียว

คนที่มีอัธยาศัยใหญ่นั้น
ก็เนื่องมาจากกุศลจิต ในส่วนเกี่ยวแก่ทานได้ทำไว้มาก

คนที่มีอัธยาศัยคับแคบนั้น
เนื่องด้วยกุศลจิตอันเกี่ยวกับทานได้ทำมาไว้น้อย

อนึ่งบางคนมีนิสัยเมตตากรุณา
ก็เนื่องมาจากกุศลจิตที่ได้อบรมมาในศีล ในเมตตากรุณา
บางคนมีนิสัยโหดร้ายก็เนื่องมาจากกุศลจิต
ที่ได้อบรมมาในศีล ในเมตตากรุณาที่มีจำนวนน้อย

รวมความว่าที่มาเกิดเป็นมนุษย์
ต้องเนื่องมาจากกุศลจิตทั้งนั้น สุดแต่ว่ามากหรือน้อย


กุศลจิตอันเป็นส่วนเหตุที่ได้ทำไว้แล้ว
ก็จะส่งผลให้เป็นวิบากจิต คือ จิตที่เป็นวิบาก
ส่วนผลที่จะถือกำเนิดเกิดต่อไป หรือว่าในปัจจุบันนี้เอง
ที่ปรากฏเป็นพื้นอัธยาศัย


นิสัยของจิตนี่จัดเป็นจิตที่เป็นส่วนวิบาก
คือ ผล อันเนื่องมาจากจิตที่เป็นส่วนเหตุ


และจิตที่จะเป็นส่วนหตุ ทั้งฝ่ายดีทั้งฝ่ายชั่วที่กล่าวมานี้
ต้องมีจิตที่ลงจนถึง “ชวนจิต” (จิตที่แล่นไป)
คือที่ปรากฏกุศลมูลเต็มที่ ปรากฏอกุศลมูลเต็มที่
ปรากฏเจตนาที่จะประกอบกรรมเต็มที่
จึงจะเป็นจิตที่เป็นส่วนเหตุในทุกๆ ฝ่าย

แต่ถ้าเป็นจิตที่ยังไม่ถึงชวนะ
ก็ยังไม่จัดว่าเป็นกุศลหรืออกุศลอย่างใด
สักว่าเป็น กิริยา คือเป็นการดำเนินทำนอง
เป็นอัตโนมัติไปตามกลไกของจิตเท่านั้น
และลักษณะเช่นนี้ก็จัดว่า อัพยากตะ

จิตที่เป็นวิบากทั้งปวง
ถ้าเป็นวิบากของอกุศล ท่านจัดว่าเป็นอัพยากตะ
สำหรับคนที่เกิดมาเป็นมนุษย์
เพราะถือว่าเกิดมาเป็นมนุษย์ ด้วยอำนาจกุศลจิตต่างหาก
ไม่ใช่ด้วยอำนาจของอกุศลจิต คือวิบากของอกุศลจิต
ไม่มีกำลังแรงเหมือนกุศลจิต ที่เป็นส่วนเหตุนั้น


การแสดงเรื่องจิตในอภิธรรม ตามหลักที่กล่าวมานี้
เป็นการสรุปหลักเกณฑ์กว้างๆ แต่ว่าจะไม่จำแนก
เพราะเมื่อจำแนกแล้วก็ต้องก็ต้องจดต้องจำกันจริงๆ
ไม่ใช่เพียงพูดฟังแล้วก็จะกำหนดไว้ได้


:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : จิต ๔ ประเภท ใน “ความรู้ทั่วไปเรื่องพระอภิธรรม” พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก, มหามงกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิมพ์, พิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๘, หน้า ๕๗-๖๐)

:b44: พระประวัติ “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า (เจริญ สุวฑฺฒโน)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=19822

:b44: รวมพระนิพนธ์ “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า (เจริญ สุวฑฺฒโน)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=43452

:b44: สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ กับ วงศ์พระกรรมฐาน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=43558


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2009, 04:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาสาธุ คุณกุหลาบสีชา เป็นอย่างยิ่ง
เป็นเรื่องที่กำลังสนใจศึกษาอยู่พอดี สาธุค่ะ :b8:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 04:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ได้ประโยชน์ครับ ขอบคุณ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2010, 08:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ่านซ้ำเป็นครั้งที่2

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2011, 01:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2011, 02:37
โพสต์: 22


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 17:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2011, 02:08
โพสต์: 45

อายุ: 0
ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขอบคุณที่นำมาให้อ่านคราบ สาธุ :b8:

.....................................................
อย่าหลงเหยื่อ เชื่ออยาก จะยากจิต อย่าหลงติดรสเหยื่อ เชื่อตัณหา อย่าหลงนอน หลงกินสิ้นเวลา อย่าหลงว่า ชีวิตเราจะยาวนาน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร