วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 05:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




958489.gif
958489.gif [ 398.65 KiB | เปิดดู 5680 ครั้ง ]
ปฏิจจสมุปบาท แปลว่า สิ่งที่อาศัยกันๆ เกิด (ปฏิจจ+สํ+อุปปาท = ปฏิจจสมุปบาท)

(อภิธรรมเรียกว่า ปัจจยาการ แปลว่า อาการที่เป็นปัจจัย)

เมื่อศึกษาปฏิจจสมุปบาทเข้าใจแล้วก็จะเข้าใจหลักกรรมไปด้วย เพราะกรรมก็เป็นธรรมที่เนื่องอยู่ใน

ปฏิจจสมุปบาท (กิเลส กรรม วิบาก)

ดังเช่นพุทธพจน์ที่ตรัสว่า

"บัณฑิตผู้เห็นปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในกรรมและวิบาก ย่อมมองกรรมตามเป็นจริง ดังนี้ "

(ม.ม.13/707/648; ขุ.สุ.25/382/457)


ศึกษากฎแห่งกรรมลิงค์นี้


viewtopic.php?f=4&t=19058&p=86347#p86347


นำข้อความลิงค์ดังกล่าวมาให้ดูพอเห็นความเชื่อมโยงกันดังนี้


กรรม ในฐานะหลักธรรมที่เนื่องอยู่ในปฏิจจสมุปบาท

หลักธรรมต่างๆไม่ว่าจะมีชื่อใดๆ ล้วนสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งสิ้น เพราะแสดงถึงหรือสืบเนื่อง

มาจากหลักสัจธรรมเดียวกัน และเป็นไปเพื่อจุดหมายเดียวกัน

แต่นำมาแสดงในชื่อต่างๆกัน โดยชี้ความจริงเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งคนละส่วนละตอนกันบ้าง

เป็นความจริงอันเดียวกัน แต่แสดงคนละรูปละแนว เพื่อวัตถุประสงค์คนละอย่างบ้าง

ด้วยเหตุนี้ หลักธรรมบางข้อ จึงเป็นส่วนย่อยของหลักใหญ่ บางข้อเป็นหลักใหญ่ด้วยกัน ครอบคลุม

ความหมายของกันและกัน แต่มีแนวหรือรูปแบบการแสดงและความมุ่งหมายจำเพาะในการแสดงต่างกัน

ปฏิจจสมุปบาทถือว่า เป็นหลักใหญ่ที่ครอบคลุมธรรมได้ทั้งหมด ฯลฯ

กรรม เป็นเพียงส่วนหนึ่งในกระบวนการแห่งปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเห็นได้ชัดเมื่อแยกส่วนในกระบวน

การนั้นออกเป็น 3 วัฏฏะ คือ กิเลส กรรม วิบาก

หลักปฏิจจสมุปบาท แสดงถึงกระบวนการทำกรรมและการให้ผลของกรรมทั้งหมด

ตั้งแต่ กิเลสที่เป็นเหตุให้ทำกรรม จนถึงวิบากอันเป็นผลที่จะได้รับ

เมื่อเข้าใจปฏิจจสมุปบาทดีแล้ว ก็เป็นอันเข้าใจหลักกรรมชัดเจนไปด้วย

ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ม.ค. 2010, 22:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 19:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณาพุทธพจน์ที่ตรัสเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาทไว้ดังนี้



"บัณฑิตผู้เห็นปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในกรรมและวิบาก ย่อมมองกรรมตามเป็นจริง ดังนี้..."

(ม.ม.13/707/648; ขุ.สุ.25/382/457)


“ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น ย่อมเห็นปฏิจจสมุปบาท”

(ม.มู. 12/346/359)


“ภิกษุทั้งหลาย แท้จริง อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า

เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ฯลฯ

เมื่อใด อริยสาวกรู้ทั่วถึงความเกิดและความดับของโลกตามที่มันเป็นอย่างนี้ อริยสาวกนี้ เรียกว่า เป็นผู้มี

ทิฐิสมบูรณ์ก็ได้ ผู้มีทัศนะสมบูรณ์ก็ได้

ผู้ลุถึงสัทธรรมนี้ก็ได้ ว่าผู้ประกอบด้วยเสขญาณก็ได้ ผู้ประกอบเสขวิชชาก็ได้ ผู้บรรลุกระแสธรรมแล้วก็

ได้ พระอริยะผู้มีปัญญาชำแรกกิเลสก็ได้ ผู้อยู่ชิดประตูอมตะก็ได้”

(สํ.นิ.16/184-187/94-68 ฯลฯ)

“สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้จักธรรมเหล่านี้ รู้จักเหตุแห่งธรรมเหล่านี้ รู้จักความดับธรรมเหล่านี้

รู้จักทางดำเนินถึงความดับธรรมเหล่านี้ ฯลฯ สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นแล จึงควรแก่การยอมรับว่า เป็น

สมณะในหมู่สมณะ และยอมรับได้ว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และจึงได้ชื่อว่า ได้บรรลุประโยชน์ของความ

เป็นสมณะ และประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

(สํ.นิ.16/41,94-5,306-8/19,53,158)


อย่างไรก็ดี มีพุทธพจน์ตรัสเตือนไว้ ไม่ให้ประมาทหลักปฏิจจสมุปบาทนั้นว่า

เป็นหลักเหตุผลที่เข้าใจง่าย เพราะเคยมีเรื่องที่พระอานนท์เข้าไปกราบทูลพระองค์และได้ตรัสตอบ ดังนี้



“น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาเลย พระเจ้าข้า หลักปฏิจจสมุปบาทนี้ ถึงจะเป็นธรรมลึกซึ้ง และปรากฏเป็น

ของลึกซึ้ง ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนเป็นธรรมง่ายๆ”

“อย่ากล่าวอย่างนั้น อย่ากล่าวอย่างนั้นอานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นธรรมลึกซึ้งและปรากฏเป็นของลึกซึ้ง

เพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่แทงตลอดหลักธรรมข้อนี้แหละ หมู่สัตว์นี้จึงวุ่นวายเหมือนเส้นด้ายที่ขอดกันยุ่ง

จึงขมวดเหมือนกลุ่มเส้นด้ายที่เป็นปม จึงเป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่าย และหญ้าปล้อง จึงผ่านพ้น

อบาย ทุคติ วินิบาต สังสารวัฏ ไปไม่ได้”

(สํ.นิ. 16/224-5/110-1)


ผู้ศึกษาพุทธประวัติแล้ว คงจำพุทธดำริเมื่อครั้งหลังตรัสรู้ใหม่ๆ ก่อนเสด็จออกประกาศ

พระศาสนาได้ว่า ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าทรงน้อมพระทัยไปในทางที่จะไม่ทรงประกาศธรรม

ดังความในพระไตรปิฎกว่า



“ภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความดำริเกิดขึ้นว่า “ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นของลึกซึ้ง เห็นได้ยาก

รู้ตามได้ยาก สงบระงับ ประณีต ไม่เป็นวิสัยแห่งตรรกะ ละเอียด บัณฑิต จึงจะรู้ได้”


“ก็แหละ หมู่ประชานี้ เป็นผู้เริงรมย์อยู่ด้วยอาลัย * ยินดีอยู่ในอาลัย ละเริงอยู่ในอาลัย

สำหรับหมู่ประชาผู้เริงรมย์ รื่นระเริงอยู่ในอาลัย (เช่นนี้) ฐานะอันนี้ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ

หลักอิทัปปัจจยตา หลักปฏิจจสมุปบาท

ถึงแม้ฐานอันนี้ ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดอุปธิทั้งปวง

ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน

ก็ถ้าเราพึงแสดงธรรม และคนอื่นไม่เข้าใจซึ้งต่อเรา

ข้อนั้น ก็จะเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา”

(วินย.4/7/8 ม.มู.12/321/323)

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

* อาลัย ความผูกพัน ความยึดติด เครื่องอิงอาศัย ชีวิตที่ขึ้นต่อปัจจัยภายนอก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ม.ค. 2010, 19:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




chiang_saen_giant_buddha%20%282%29.jpg
chiang_saen_giant_buddha%20%282%29.jpg [ 127.49 KiB | เปิดดู 5675 ครั้ง ]
พุทธพจน์ (ดังกล่าว) ตอนนี้ กล่าวถึงหลักธรรม ๒ อย่าง คือ ปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน เป็นการย้ำ

ทั้งความยากของหลักธรรมข้อนี้ และความสำคัญของหลักธรรมนี้ ในฐานะเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้

และจะทรงนำมาสั่งสอนแก่หมู่ประชา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านบทความนี้แล้วก็พอมองเห็นธรรมะว่ามิได้อยู่ไกลตัวเลย


ชีวิตประกอบด้วยขันธ์ ๕ เท่านั้น ไม่มีสิ่งใดอื่นอีกนอกเหนือจากขันธ์ ๕ ไม่ว่าจะแฝงอยู่ในขันธ์ ๕

หรืออยู่ต่างหากจากขันธ์ ๕ ที่จะมาเป็นเจ้าของ หรือ ควบคุมขันธ์ ๕ ให้ชีวิตดำเนินไป

ในการพิจารณาเรื่องชีวิต เมื่อยกเอาขันธ์ ๕ ขึ้นเป็นตัวตั้งแล้ว ก็เป็นอันครบถ้วนเพียงพอ

ขันธ์ ๕ เป็นกระบวนการที่ดำเนินไปตามกฎแห่งปฏิจจสมุปบาท คือ มี

อยู่ในรูปกระแสแห่งเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยสืบต่อกัน ไม่มีส่วนใดในกระแสคงที่อยู่ได้

มีแต่การเกิดขึ้นแล้วสลายตัวไปพร้อมกับที่เป็นปัจจัยให้มีการเกิดขึ้นแล้วสลายตัวต่อๆไปอีก

ส่วนต่างๆ สัมพันธ์กัน เนื่องอาศัยกัน

เป็นปัจจัยแก่กัน จึงทำให้กระแส หรือกระบวนการนี้ดำเนินไปอย่างมีเหตุผลและคุมเป็นรูปร่างต่อเนื่องกัน

ด้วยภาวะเช่นนี้ ขันธ์ ๕ หรือ ชีวิต จึงเป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ

อยู่ในภาวะแห่งอนิจจตา ไม่เที่ยง ไม่คงที่

อนัตตา ไม่มีส่วนใดที่มีตัวตนแท้จริง และไม่อาจยึดถือเอาเป็นตัวตนได้

ทุกขตา ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้น และ สลายตัวอยู่ทุกขณะ และพร้อมที่จะก่อให้เกิดความทุกข์ได้

เสมอ ในกรณีที่มีการเข้าไปเกี่ยวข้อง ด้วยความไม่รู้ (ด้วยอวิชชา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ม.ค. 2010, 20:11, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 19:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


จะมองเห็น จริงๆ ก็ต้องมีสมาธิจิตสูงๆนะผมว่า :b10:
ช่วงนี้ สนใจอยู่ :b16:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 01 ม.ค. 2010, 19:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความกรุณาท่านหลับอยู่ ยกประเด็นนี้ไปคุยกันที่กระทู้อื่น

กรัชกายต้องการเสนอเป็นบทความต่อเนื่อง ให้ผุ้มีนัยน์ตาได้พิจารณาติดต่อกันไป โดยไม่มีข้อโต้แย้งกันกางกั้น

หวังว่าคงเข้าใจเจตนา :b8:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปบาท ตามคัมภีร์ศาสนาท่านแสดงไว้สองแนว คือ แนวพระสูตร กับ แนวอภิธรรม

(ลิงค์ ปฏิจจสมุปบาท (พระสูตร-ควรศึกษาให้ครบทั้งสองสูตร)

viewtopic.php?f=7&t=28122

แต่ละแนวแยกแยะรายละเอียดต่างกันอยู่บ้าง พึงพิจารณาคำอธิบายของท่านนี้ก่อนเข้าประเด็น แล้วจะเข้าใจ

โปร่งโล่งไป คือ



ใน พระอภิธรรมปิฎก ท่านจำแนกกระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาท ออกเป็นหลายแบบ ตามประเภทแห่งจิตที่เป็น

อกุศล กุศล อัพยากฤต (วิบากและกิริยา) และซอยละเอียดออกไปอีกตามระดับจิตที่เป็นกามาวจร

รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ-

(อภิ.วิ.35/255-430/181-257)

องค์ธรรมที่เป็นปัจจัย ในกระบวนธรรมเหล่านั้น บางอย่างเปลี่ยนแปลกออกไปตามประเภทของจิตด้วย

ไม่เป็นแบบเดียวเหมือนอย่างที่แสดงไว้ในพระสูตร เช่น

ในกุศลจิตบางอย่าง กระบวนธรรมอาจเริ่มต้นด้วยสังขารทีเดียว ไม่มีอวิชชา หรืออาจเริ่มด้วยกุศลมูลแทน

อวิชชา เป็นต้น

โดย เฉพาะที่น่าสังเกตยิ่ง คือ ตัณหามีเฉพาะในอกุศลจิตอย่างเดียวเท่านั้น ในจิตประเภทอื่นๆ ตัณหาถูกแทน

ด้วยปสาทะ หรือไม่ก็ข้ามไปเสียทีเดียว

ทั้งนี้ เพราะอภิธรรมศึกษาจิตซอยเป็นแต่ละขณะๆ จึงวิเคราะห์องค์ธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัย

ในกระบวนธรรมเฉพาะขณะนั้นๆ
อวิชชาและตัณหา เป็นต้น ที่ถูกข่มถูกเบียนในขณะนั้นๆ

จะไม่ถูกแสดงไว้ตามชื่อของมัน แต่แสดงในรูปองค์ธรรมอื่นที่ปรากฏเด่นชัดขึ้นมาแทนที่

หรือไม่ก็ข้ามไปทีเดียว

นอกจากนั้น คัมภีร์ในพระอภิธรรมปิฎก ยังได้แสดงองค์ธรรมทั้งหลายในลักษณะที่สัมปยุต

(ประกอบร่วม) และที่เป็นปัจจัยในทางกลับกัน (เช่น อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารก็เป็นปัจจัยให้

เกิดอวิชชา สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณก็เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร ฯลฯ ) ไว้ด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ม.ค. 2010, 05:15, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะนำเอาเฉพาะกระบวนธรรมแบบหลักใหญ่ที่แสดงแบบอภิธรรมมาแสดงไว้เพื่อประกอบ

การพิจารณาจากนี้ไป ส่วนคำแปลศึกษาทำความเข้าใจได้ที่พระสูตร



ก.อกุศลจิต ๑๒

อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร

สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ

วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิด นาม

นาม เป็นปัจจัยให้เกิด ฉัฏฐายตนะ (อายตนะที่ ๖ คือ มโน)

ฉัฏฐายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิด ผัสสะ

ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา

เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด ตัณหา

หรือ เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด ปฏิฆะ (ความขัดเคือง กระทบกระทั่งใจ)

หรือ เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด วิจิกิจฉา

หรือ เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด อุทธัจจะ

ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทาน

หรือ ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิด อธิโมกข์ (ความน้อมใจดิ่งไป ความปลงใจ)

หรือ ปฏิฆะ เป็นปัจจัยให้เกิด อธิโมกข์

หรือ อุทธัจจะ เป็นปัจจัยให้เกิด อธิโมกข์

อุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิด ภพ

หรือ วิจิกิจฉา เป็นปัจจัยให้เกิด ภพ

ภพ เป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ

ชาติ เป็นปัจจัยให้เกิด ชรามรณะ

........ = ความเกิดพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ม.ค. 2010, 17:40, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข.กุศลจิต (เฉพาะกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร)

อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร

หรือ กุศลมูล เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร

สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ

วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิด นาม

นาม เป็นปัจจัยให้เกิด ฉัฏฐายตนะ

ฉัฏฐายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิด ผัสสะ

ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา

เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด ปสาทะ (ความผ่องใสแช่มชื่น, ศรัทธา)

ปสาทะ เป็นปัจจัยให้เกิด อธิโมกข์

อธิโมกข์ เป็นปัจจัยให้เกิด ภพ

ภพ เป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ

ชาติ เป็นปัจจัยให้เกิด ชรามรณะ

....= ความเกิดพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ค.วิบากจิต และกิริยาจิต (เฉพาะกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร)

(กุศลมูล เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร)

สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ

วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิด นาม

นาม เป็นปัจจัยให้เกิด ฉัฏฐายตนะ

ฉัฏฐายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิด ผัสสะ

ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา

เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด ภพ

หรือ เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด อธิโมกข์

อธิโมกข์ เป็นปัจจัยให้เกิด ภพ

หรือ เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด ปสาทะ

ปสาทะ เป็นปัจจัยให้เกิด อธิโมกข์

อธิโมกข์ เป็นปัจจัยให้เกิด ภพ

ภพ เป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ

ชาติ เป็นปัจจัยให้เกิด ชรามรณะ

.... = ความเกิดพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

ข้อ ความในวงเล็บ หมายความว่า ข้อที่ ๑ นั้น อาจว่าง เริ่มที่ข้อที่ ๒ คือ สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ

ทีเดียวก็ได้ หรือ อาจเริ่มด้วย อกุศลมูลเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร ก็ได้

แต่อาจเริ่มต้นด้วยอกุศลมูล จะได้เฉพาะในอกุศลวิบากจิต ๗ เท่านั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ง. โลกุตรจิต (กุศล และวิบาก)

กุศล : อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร

หรือ กุศลมูล เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร

วิบาก: (กุศลมูล เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร)

สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ

วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิด นาม

นาม เป็นปัจจัยให้เกิด ฉัฏฐายตนะ

ฉัฏฐายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิด ผัสสะ

ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา

เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด ปสาทะ

ปสาทะ เป็นปัจจัยให้เกิด อธิโมกข์

อธิโมกข์ เป็นปัจจัยให้เกิด ภพ

ภพ เป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ

ชาติ เป็นปัจจัยให้เกิด ชรามรณะ

.... = ความเกิดพร้อมแห่งธรรมเหล่านี้


ข้อสังเกต โลกุตรกุศลจิต อาจเริ่มด้วยอวิชชา หรือกุศลมูล แต่โลกุตรวิบากจิต เริ่มด้วยกุศลมูล หรือไม่ก็เริ่มที่

สังขาร ทีเดียว

อนึ่ง คำสรุปท้าย เปลี่ยนจากความเกิดพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น เป็น ความเกิดพร้อมแห่งธรรมเหล่านี้


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

(หลักๆแนวอภิธรรมจบเท่านี้ต่อไป V นั่นเสริมความเข้าใจปฏิจจสมุปบาทหรือธรรมชาติโดยองค์รวม)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ม.ค. 2010, 17:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยภาพรวมดังกล่าว ก็พอมองเห็นว่า ธรรมะดังว่า อยู่ใกล้ตัว สรุปๆก็คือชีวิต

แต่ละชีวิตๆนี่เอง

เมื่อเป็นดังนี้ ก็มีคำถามว่า แล้วทำไมด้วยเหตุผลใด ทั้งเราและท่าน(ส่วนใหญ่) จึงยังเข้าไม่ถึงธรรม

น่าจะมีอะไรบกพร่อง โดยเฉพาะข้อปฏิบัติปลีกย่อย หรือไม่ก็เข้าใจธรรมะผิดไปเอียงเอนไป คือว่าไม่ตรงธรรม


ดังนั้น พึงพิจารณาบทความนี้ อาจมองเห็นข้อคิดและปฏิปทาที่บกพร่อง แล้วก็เห็นสัมมาปฏิปทาไปพร้อมๆกัน

อาจเป็นไปได้



มัชฌิมาปฏิปทา, มัชเฌนธรรมเทศนา


พระพุทธศาสนาสอนความเป็นกลางในทางปฏิบัติ ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา

ส่วนในแง่ของความจริง หรือทรรศนะเกี่ยวกับสัจธรรมก็เป็นกลางอีกเหมือนกัน

พระพุทธเจ้าแสดงธรรมเป็นกลางๆ เรียกว่า มัชเฌนธรรมเทศนา หรือ มัชเฌนเทศนา

ตกลงว่าในพระพุทธศาสนานี้ ไม่ว่าจะในแง่ของการปฏิบัติ หรือในแง่ของความคิด

เกี่ยวกับสัจธรรมก็ตาม เป็นสายกลางทั้งหมด คือ เป็น มัชฌิมาปฏิปทาอย่างหนึ่ง

และเป็นมัชเฌนธรรมเทศนาอย่างหนึ่ง

หลักการนี้ อาจเปรียบกับการยิงลูกศร ลูกศรที่ยิงไปไม่ถูกเป้าก็จะอยู่ข้างๆ ข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง

คือ มันไม่พอดี ไม่ตรงกลาง

ส่วนลูกศร ที่ยิงตรงกับจุดเป้าพอดีนั้นก็เป็นอันกลาง จึงเรียกว่าสายกลาง

สายกลางก็คือพอดี ตรงความจริงที่จะให้เข้าถึงจุดหมาย (คือความดับทุกข์) และเท่ากันพอดี

กับความจริงที่เป็นสัจธรรม


พระพุทธเจ้านั้น ก่อนตรัสรู้ได้ทรงไปศึกษาในสำนักความคิดเห็นเกี่ยวกับสัจธรรม และ ทดลองข้อปฏิบัติต่างๆ

เพื่อจะให้เข้าถึงจุดหมาย พระองค์ใช้เวลาไปในการทดลองนี้นานถึง ๖ ปี แล้วก็ได้เห็นว่าที่ปฏิบัติกันอยู่นั้น

มักจะไปเอียงสุดเสียทั้งสิ้น

ในที่สุด พระองค์จึงทรงค้นพบทางสายกลางขึ้นมา เป็นมัชฌิมาปฏิปทา และทรงแสดงหลักธรรมที่เป็นกลาง

คือ มัชเฌนธรรมเทศนา

มัชฌิมาปฏิปทา ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติกลางๆ ไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป

ไม่เอียงออกไปข้างโน้น ไม่เอียงออกไปข้างนี้

พอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความมีชีวิตที่ดีงาม

ส่วนมัชเฌนธรรมเทศนา ก็ได้แก่ หลักธรรมที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท

หรือ เรียกว่า อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นหลักธรรมที่แสดงความจริงเป็นกลางๆ ตามเหตุปัจจัย

หรือเป็นกลางอยู่ตามสภาวะของมัน ไม่เอาใจใคร ไม่ขึ้นกับใคร ไม่เป็นไปตามความปรารถนาของใครๆ

แต่พอดีกับความเป็นจริง ที่ว่าสิ่งทั้งหลายนั้นอิงอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นไปตามเหตุปัจจัย

เหตุปัจจัยทำให้ผลเกิดขึ้น ผลจะเป็นอย่างไรก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยนั้น

สิ่งทั้งหลาย มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มิใช่ดำรงอยู่โดยลำพังตัวมันเองอย่างนี้

เป็นอันเรียกว่า หลักสายกลาง


เป็นอันว่า หลักพระพุทธศาสนานั้นเป็นสายกลางทั้งในทางปฏิบัติและในทางความคิด

มีมัชฌิมาปฏิปทา และมัชเฌนธรรมเทศนา

อีกอย่างหนึ่ง สายกลางนั้นมีความหมายว่า พอดีนั่นเอง ตรงกับที่เรานิยมใช้กันในปัจจุบันว่า ดุลยภาพ

หรือสมดุล


ในพระพุทธศาสนานั้น ข้อปฏิบัติต่างๆ มักจะมีลักษณะอย่างนี้ คือ มีความพอดีหรือความสมดุล

ระบบที่กล่าวผ่านมา ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติทั้งหมดในพระพุทธศาสนาเราเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า

ข้อปฏิบัติที่พอดี ก็เป็นลักษณะที่มีดุลยภาพ หรือสมดุลอย่างหนึ่ง

แต่เป็นความพอดีของระบบทั้งหมด หรือ ความพอดีในองค์รวม


ทีนี้ในการปฏิบัติ แม้แต่ที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อยลงมา ก็มีความสมดุล หรือดุลยภาพนี้อยู่เรื่อยเหมือนกัน

เช่น ในการที่จะเข้าถึงจุดหมายของพระพุทธศาสนา เราจะต้องปฏิบัติหลักธรรมย่อยๆหลายอย่าง

หลักธรรม หรือ ข้อปฏิบัติต่างๆ เหล่านี้ จะต้องกลมกลืนพอดีกันจึงจะได้ผลสำเร็จ

ถ้าข้อปฏิบัติเล็กๆ น้อยๆ นั้นไม่สมดุลกัน ไม่พอดีกัน ก็จะเกิดความขัดแย้งหรือความบกพร่อง

ความขาดความเกิน ความเขวออกนอกทาง แล้วก็จะปฏิบัติไม่สำเร็จ


เรื่องที่ท่านเน้นบ่อยๆ ก็คือ อินทรีย์ ๕ ซึ่งสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมจะมีการเน้นว่าต้องมีสมตา

สมตา ก็คือสมดุล หรือ ความพอดีกันระหว่างองค์ประกอบที่เรียกว่าอินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ

สมาธิ ปัญญา

ธรรม ๕ อย่างนี้ต้องมีสมตา มีความสมดุลพอดีกัน ศรัทธาต้องพอดีกับปัญญา

ถ้าศรัทธาแรงไปก็เชื่อง่าย งมงาย

ปัญญา มากไป ไม่มีศรัทธามาช่วยดุลให้ก็อาจจะเป็นคนที่รู้จับจด หรือ ไม่ก็ขี้สงสัยคิดฟุ้งไปหมด

เห็นอะไรก็ชิงปฏิเสธก่อน ไม่รู้จักจับอะไรให้ลึกลงไป

ระหว่างวิริยะกับสมาธิ ถ้าวิริยะคือความเพียรมากไป สมาธิน้อย ก็จะกลายเป็นเครียด พลุ่งพล่าน

หรือฟุ้งซ่าน

ถ้าความเพียรน้อย สมาธิมาก เพลินสบาย ก็ติดในสมาธิ อาจจะทำให้เกียจคร้านไปก็ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ม.ค. 2010, 05:24, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร