วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 00:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

~ สาเหตุของปัญหาการฟังสวดพระอภิธรรมหน้าศพ~

สาเหตุของปัญหามีหลายประการ
สาเหตุที่สำคัญที่สุด คือ

การไม่เข้าใจในคำสวดมนต์พระอภิธรรมหน้าศพ
และขาดความเข้าใจพระธรรม
ว่าด้วยการวางใจอย่างแยบคายในการฟังธรรม
หรือในการฟังสวดมนต์พระอภิธรรมหน้าศพ
ไม่รู้จักนำคำสวดมนต์มาทำสมาธิจิต
เพื่อให้จิตสงบ เบาใจ ผ่อนคลายความตึงเครียด


~ แนวทางการแก้ไขปัญหาการฟังสวดพระอภิธรรม ~

แนวทางการแก้ไขปัญหาการฟังสวดมนต์พระอภิธรรมที่จะกล่าวต่อไปนี้
คือ ให้มีการสวดมนต์พร้อมคำแปล
และให้มีการพูดธรรมะประกอบการสวดมนต์พระอภิธรรม

แต่การแก้ไขเช่นนี้ มีข้อพึงระวังคือ
อย่างทำให้เป็นการแก้ไขปัญหาที่สร้างปัญหาใหม่ให้เกิดขึ้น
ซึ่งบางทีร้ายแรงกว่าปัญหาเก่า
และไม่ควรทำลายประเพณีส่วมที่ดีงามให้หมดไป

อย่างไรก็ตาม จะเสนอแนวทางการไขปัญหานี้ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

๑) แนวทางการแก้ไขปัญหาโดยทั่วไปและข้อพึงระวัง

ปัจจุบันนี้ มีบางคนเสนอแนวทางการแก้ไขปํญหา
การฟังสวดมนต์พระอภิธรรมหลายแนวทาง

บางท่านบอกว่า เวลาสวดมนต์ให้มีคำแปลด้วย
เพราะคำสวดเป็นภาษาบาลี ฟังไม่รู้เรื่อง
แต่ถ้ามีการสวดมนต์พร้อมด้วยคำแปล
คำแปลหลายตอนก็ไม่รู้เรื่องเหมือนกัน

ถึงกระนั้นบางคนบอกว่า
ก็ยังดีกว่าฟังไม่รู้เองทั้งหมด

ประเด็นนี้น่าคิดว่า เมื่อมีคำแปลแล้ว
ก็ใช่ว่าจะรู้เรื่องอย่างดี
บางทีฟังคำแปลรู้เรื่องบางตอน
แต่ไม่รู้เรื่องทั้งหมด อาจทำให้เกิดปัญหาใหม่ขึ้นมา
คือ ชวนให้เกิดความเข้าใจผิดในหลักสัจธรรม
และทำให้เกิดความเห็นผิดขึ้นมาได้

เพราะคำสวดมนต์พระอภิธรรมบางตอน
เป็นการนำบางส่วนและข้อความบางส่วน
ถ้าไม่ได้ศึกษาให้เกิดความเข้าใจพอดี
แม้จะแปลเป็นภาษาไทยหมดก็อาจไม่เข้าใจในบางข้อความ
จะต้องศึกษาจึงเข้าใจ

ดังนั้น ทางแก้ไขจึงมิใช่จะต้องมีคำแปล หรือไม่มีคำแปล
แต่ก็อยู่ที่ว่า จุดหมายของการฟังสวดมนต์ที่สำคัญคืออะไร
คนฟังสวดมนต์โดยไม่เข้าใจในคำสวดมนต์นั้น
จะสามารถบรรลุจุดหมายของการฟังสวดมนต์ได้หรือไม่
ประเด็นนี้น่าจะสำคัญมากกว่า


เมื่อพิจารณา จุดหมายของการฟังสวดมนต์ แล้ว
ในหลักคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้ทรงแนะพุทธบริษัทให้เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ให้มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ไม่ต้องมีอย่างอื่นเป็นที่พึ่ง
เพราะพระรัตนตรัยเป็นสิ่งสูงสุดที่แท้จริงของการเป็นที่พึ่งของชีวิตแล้ว
จึงไม่จำเป็นต้องหาสิ่งอื่นให้เป็นที่พึ่ง

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 22:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ทั้งนี้การเข้าถึงพระธรรมมีหลายวิธีด้วยกันคือ

วิธีที่หนึ่ง : ศึกษาทำความเข้าใจพระธรรมให้ดี

เพื่อจะได้รู้จักนำพระธรรมมาใช้ในการดำรงชีวิตอย่างถูกต้องและปลอดภัย

วิธีที่สอง : นำพระธรรมมาปฏิบัติให้เหมาะสมกับอัตภาพของแต่ละบุคคล

วิธีที่สาม : บำเพ็ญกุศลอื่นๆ ตามหลักบุญกิริยาวัตถุ ๑๐

ไม่ว่าจะใช้วิธีใดในสามวิธีนี้
ควรใช้วิธีที่สี่ควบคู่ไปด้วยในทุกกรณี
คือ ให้ระลึกถึงคุณของพระธรรมไม่วาจะศึกษาธรรม
ปฏิบัติธรรมบำเพ็ญกุศลอื่นๆ ให้ระลึกว่า


“พระธรรมมีคุณประโยชน์แก่ชีวิตอย่างแท้จริง”

รูปภาพ

ผู้ใดรู้แจ้งธรรมแล้ว ก็จะเข้าถึงพระพุทธ และเข้าถึงพระสงฆ์
สมดั่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า

“ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต”

พระธรรมที่ทรงสอนด้วยพระโอษฐ์ของพระพุทธองค์
จึงเป็นของสูงที่ควรบูชา

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

เมื่อเราได้ฟังพระอภิธรรมที่เป็นพระพุทธพจน์โดยตรง
แม้ว่ายังไม่รู้เรื่องก็ใช่ว่าจะเสียประโยชน์
ควรวางใจอย่างแยบคาย
ด้วยการระลึกถึงเสียงสวดมนต์
แล้วโน้มในใจระลึกว่าพระธรรมมีพระคุณ

เพียงแค่ระลึกถึงเสียงสวดพระอภิธรรม
ซึ่งเป็นพระธรรมอันสูงสุดในบวรพระพุทธศาสนา
แล้วโน้มใจระลึกว่า พระธรรมมีคุณๆ ภาวนาในใจเช่นนี้บ่อยๆ
ไม่ต้องไปตีความหมาย หรือแปลความหมายของคำสวดมนต์ใดใดเลย

ถ้าไปตีความ จิตจะไม่มีโอกาสทำสมาธิภาวนา
การวางใจระลึกในคุณของพระธรรมบ่อยๆ นี้
ก็จะช่วยให้มาศึกษาพระธรรม
และปฏิบัติธรรมในส่วนที่ตนไม่เข้าใจให้เจริญยิ่งๆขึ้นได้

ด้วยเหตุผลดังกล่าว
พระโบราณจารย์จึงให้เราฟังเสียงสวดมนต์โดยไม่มีคำแปลนี้

เพราะจุดหมายสำคัญที่ซุกซ่อนอยู่
ก็คือให้ชาวพุทธรู้จักฟังคำสวดมนต์
พร้อมทำสมาธิแบบธรรมานุสติ คือระลึกถึงพระธรรมมีคุณ
ย่อมสร้างประโยชน์ยิ่งกว่าการฟังสวดมนต์
แปลเฉยๆ อีกหลายร้อยหลายพันเท่า


ดังนั้นการแนะให้มีคำสวดมนต์แปลนั้น
จึงเป็นการทำให้จิตใจของเราจับความหลายอารมณ์ขณะฟัง
และอาจฟังคำแปลไม่รู้เรื่อง ถ้ามิศึกษามาก่อน

ยิ่งคำแปลบางตอนตัดตอนมาฟังไม่ดี
เกิดเห็นผิดในพระธรรมขึ้นมา
แม้จะทราบถึงความหวังดีของท่าน
ที่ให้มีการสวดมนต์แปล
แต่ก็ไม่ควรละเลยคุณค่าของการฟังสวดมนต์ที่ไม่ต้องแปล
ซึ่งสามารถเจริญสมาธิภาวนาด้วยธรรมานุสติในขณะฟังสวดมนต์ได้


การที่พระโบราณจารย์ให้เราฟังสวดมนต์แปล ก็มีประโยชน์มาก
ถ้ารู้จักวางใจอย่าแยบคายดังกล่าว


มีบางท่านเสนอวิธีแก้ไขการฟังคำสวดพระอภิธรรมหน้าศพ
โดยให้มีการพูดธรรมประกอบ
เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจธรรมดียิ่งขึ้น

นี่ก็เป็นวิธีแก้ไขวิธีหนึ่งได้เช่นกัน
แต่ต้องระวังเพราะอาจเป็นการแก้ไขปัญหา
ที่จะสร้างปัญหาใหม่ให้เกิดขึ้น
และเป็นการทำลายการสืบทอดพระพุทธพจน์โดยตรง
ในรูปประเพณีสวดมนต์พระอภิธรรมหน้าศพ
ที่บรรพบุรุษของเราอุตส่าห์สร้างขึ้นมาด้วย

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 22:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

จากประสบการณ์ของผู้เขียนพบว่า
มีข้อที่ควรระวังอย่างยิ่งก็คือ

คำสวดมนต์เป็นคำพุทธพจน์โดยตรงสมบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะ
เมื่อมีคำสวดมนต์อย่างนิ้ก็ย่อมพระพุทธพจน์อยู่ในใจของท่านผู้สวดมนต์
ผู้ฟังก็พลอยได้อานิสงส์จากการฟังพุทธพจน์โดยตรง
โดยผ่านทางการฟังสวดมนต์
แม้จะรู้เรื่องหรือไม่รู้เรื่องก็ตามอย่างน้อยก็ให้สังคมยอมรับว่า
พุทธพจน์ที่อยู่ในคำสวดมนต์มีความสำคัญ


แต่เมื่อมีการนำรายการธรรมมาแทรก
ก็พบว่ามีการพูดแข่งกับพุทธพจน์ มิใช่แข่งดี
แต่แข่งในเชิงขัดแย้งกับพุทธพจน์
ทำให้ผู้ฟังที่ไม่เข้าใจในธรรมดีพอ เชื่อคำสอนผิดๆ
ไปนึกว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้เช่นนั้น จึงมีความเห็นผิดไป

ผลที่ตามมา คือ ฟังสวดมนต์ไม่รู้เรื่อง
แต่ฟังการพูดธรรมที่มีการเห็นผิดรู้เรื่อง
ย่อมได้ผลเสียมากกว่าผลดี


ปัญหานี้เป็นปัญหาใหม่ที่เกิดตามมากลายเป็นว่า
การแก้ไขปัญหาการฟังสวดพระอภิธรรม
ด้วยการมีรายการพูดธรรม กลับสร้างปัญหาใหม่ให้เกิดขึ้นมา
คือความเข้าใจผิดในธรรม
ซึ่งเป็นปัญหาร้ายแรงกว่าปัญหาที่จะแก้ไขอีก

ประเด็นนี้ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง

การแก้ไขปัญหานี้ ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ผู้พูดธรรม
ควรศึกษาให้มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อนที่จะพูดธรรม
การศึกษาพระอภิธรรมจะเป็นเครื่องช่วยให้พูดธรรมได้อย่างถูกต้อง


สมดั่งที่พระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า

ผู้พูดธรรม ถ้าไม่ศึกษาพระอภิธรรมจะพูดธรรมสับสนผิดพลาดได้ง่าย

พระพุทธองค์ทรงสาธุการว่า

ถูกต้องแล้วโมคคัลลานะๆ
ถ้าผู้พูดธรรมยังไม่แน่ใจในธรรมข้อใด
ควรหลีกเลี่ยงการพูดข้อธรรมนั้นๆ
หรือต้องซักถามผู้รู้จริงให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน


ตามที่ผู้เขียนเคยประสบมา
มีการพูดธรรมในงานสวดศพอยู่สองงานที่พูดธรรมขัดแย้งกัน
และไม่ตรงตามเนื้อความในพระไตรปิฎกด้วย

ยิ่งในปัจจุบันมีหลายสำนักศึกษาปฏิบัติธรรม
แบบใช้ความเห็นของอาจารย์ผู้สอนเป็นใหญ่
ไม่ใส่ใจใยดีกับคำสอนของพระพุทธองค์โดยตรงตามพระไตรปิฎก
จึงทำให้เกิดการพูดธรรมหลายแนวขึ้นมา
พูดถูกต้องตามพุทธพจน์ก็มี พูดผิดเพี้ยนไปก็มี

ฉะนั้น หากเน้นให้มีการพูดธรรมในงานศพเป็นใหญ่
จะต้องระวังผลที่ตามมา
เนื่องจากการแบ่งแยกสำนักพูดธรรมในงานศพ
เหมือนกับสำนักศึกษาปฏิบัติธรรมก็ได้

ดังนั้น หากจะพูดธรรมในงานศพ
ขอให้พูดตรงตามพุทธพจน์
ยิ่งพูดเชิญชวนให้ผู้ฟังพระอภิธรรมหน้าศพ
รู้จักการวางใจอย่างแยบคายในการฟังก็ยิ่งดี

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 22:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

๒) การแก้ไขปัญหาระยะสั้นและระยะยาว

หลักหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาหารฟังสวดพระอภิธรรมหน้าศพ
คือให้แก้ไขด้วยการขจัดสาเหตุของปัญหานั้น
ได้แก่ การแก้ไขปัญหาระยะสั้น และการแก้ไขปัญหาระยะยาว

การแก้ไขปัญหาระยะสั้น

คือ ให้รู้จักการวางใจอย่างแยบคายในการฟังสวดมนต์ในเวลาอันสั้น
เช่น จัดทำหนังสือที่ช่วยให้เข้าใจคำสวด


หนังสือนี้จะต้องมีคำอธิบายด้วยภาษาง่ายๆ และมีตัวอย่างประกอบด้วย

นอกจากนี้ ควรจัดให้มีการประยุกต์คำสวดมนต์พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันด้วย


หนังสือที่ท่านมีอยู่นี้ ถือว่าเป็นเล่มหนึ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหาระยะสั้น
ของการไปฟังสวดมนต์พระอภิธรรม

นอกจากนี้ก่อนฟังคำสวดมนต์พระอภิธรรม
หรือแนะนำวิธีวางใจแยบคายในการฟังคำสวดมนต์พระอภิธรรม
หรือแนะนำทำสมาธิด้วยการนำเสียงสวดมนต์มาทำให้จิตตั้งมั่น
โดยอาศัยสื่อมวลชน สถาบันการศึกษา องค์กรที่เกี่ยวข้อง
มาช่วยกันนำวิธีวางใจดังกล่าวแก่ประชาชนทั่วไป

การแก้ไขปัญหาระยะยาว

คือ ให้มีการศึกษาพระอภิธรรม พระสูตร พระวินัยทั้งระบบ
ไม่ว่าระบบการศึกษาของทางโลก หรือทางธรรม
เป็นการปฏิรูปการศึกษาพระพุทธศาสนาให้ชาวพุทธมีพุทธธรรมอยู่ในใจ
ไม่ใช่แค่อยู่ในตู้พระไตรปิฎกเท่านั้น


เมื่อชาวพุทธมีความเข้าใจในพระไตรปิฎก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนของพระอภิธรรมแล้ว
เวลาฟังสวดมนต์พระอภิธรรมย่อมมีความซาบซึ้งดื่มด่ำในเสียงสวดมนต์

ปัจจุบันนี้ มีชาวพุทธเพียงส่วนน้อยที่มีโอกาสศึกษาพระอภิธรรม
และได้สวดมนต์พระอภิธรรมที่บ้านอยู่เป็นประจำ
เวลาไปฟังสวดมนต์พระอภิธรรมที่วัด
ก็จะเกิดจิตโสมนัสปิติ และมีความเข้าใจในคำสวดมนต์พระอภิธรรม

แต่ถ้ามีการแก้ไขทั้งระบบ
ชาวพุทธส่วนใหญ่ก็จะได้รับประโยชน์จากการฟังสวดมนต์พระอภิธรรม
ด้วยปัญญาอันส่องทางประเสริฐของชีวิตได้


:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : “มาสร้างปัญญาในคำสวดมนต์” โดย อ.วินัย อัศว์ศิวะกุล
ใน ธรรมะเพื่อชีวิต : เล่มที่ ๕๔ ฉบับวันขึ้นปีใหม่ ๕๕๑ :
จัดทำโดย มูลนิธิพุทธศาสนศึกษา วัดบูรณศิริมาตยาราม, หน้า ๑๗-๓๖.)


รูปภาพ
[ภาพจิตรกรรมพุทธศิลป์ “พระพุทธเจ้าในทิพยสถาน”
: สร้างสรรค์โดย อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์]



~สำนักศึกษาพระอภิธรรมในประเทศไทย~

จากข้อมูลที่ทราบมา และจากหนังสือ “สาระน่ารู้เกี่ยวกับพระอภิธรรม”
เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ มีรายชื่อวัดที่มีการสอนพระอภิธรรม
จึงขอนำมาลงเท่าที่เนื้อที่จะอำนวยดังนี้

:b42: ก รุ ง เ ท พ ม ห า น ค ร :b42:

๑. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ (อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย)

๒. วัดระฆังโฆษิตาราม

๓. วัดบวรนิเวศวิหาร

๔. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

๕. วัดบุรณศิริมาตยาราม

๖. วัดสังเวช (บางลำพู)

๗. วัดสามพระยา (บางขุนพรหม)

๘. วัดธาตุทอง

๙. วัดสุวรรณประสิทธิ์

๑๐. วัดเพลงวิปัสสนา


:b42: ภ า ค ก ล า ง :b42:

๑. วัดสร้อยทอง (นนทบุรี)

๒. วัดจากแดง (สมุทรปราการ)

๓. วัดมเหยงคณ์ (อยุธยา)

๔. วัดเขาสมโภชน์ (ลพบุรี)


:b42: ภ า ค เ ห นื อ :b42:

๑. วัดพรหมจรรยาวาส

๒. วัดสระโบสถ์ (นครสวรรค์)

๓. วัดใหม่เจริญผล (สุโขทัย)

๔. วัดเมืองทาง (เชียงใหม่)


:b42: ภ า ค ต ะ วั น อ อ ก เ ฉี ย ง เ ห นื อ :b42:

๑. วัดพรมศิลาแตล (สุรินทร์)

๒. วัดมหาวนาราม (อุบลราชธานี)


:b42: ภ า ค ต ะ วั น อ อ ก :b42:

๑. วัดเขาพุทธโคดม (ชลบุรี)

๒. วัดพนมพนาวาส (ฉะเชิงเทรา)


:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : “สำนักศึกษาพระอภิธรรมในประเทศไทย” ใน ธรรมะเพื่อชีวิต
เล่มที่ ๕๔ ฉบับวันขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๑ : จัดทำโดย มูลนิธิพุทธศาสนศึกษา
วัดบูรณศิริมาตยาราม, หน้า ๔๐.)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 18 ม.ค. 2010, 22:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2010, 13:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กุหลาบสีชา เขียน:
.............................................................................
สมดั่งที่พระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า

ผู้พูดธรรม ถ้าไม่ศึกษาพระอภิธรรมจะพูดธรรมสับสนผิดพลาดได้ง่าย
.............................................................................


สาธุ สาธุ สาธุ

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ...คุณกุหลาบสีชา

มีข้อน่าสังเกตุ(สงสัย) อยู่อย่างหนึ่ง (ซึ่งผมไม่เคยถามใคร)

พระพุทธองค์แสดงอภิธรรมแก่เทวดาและพรหม ที่ดาวดึงส์เทวโลก
โดย วิตถารนัย คือ แบบพิศดาร

แสดงแก่พระสารีบุตร แบบ สังเขปนัย คือ โดยย่อ

แต่พอพระสารีบุตรแสดงแก่ ศิษยานุศิษย์ของท่าน
ทำไมแสดงแบบ นาติวิตถารนาติสังเขปนัย คือ ไม่พิศดารและไม่ย่อ

ข้อสังเกตุ คือ พระสารีบุตร นำพระอภิธรรมส่วนที่เกินจากแบบย่อ
ที่พระองค์สอน มาจากไหน ....??

----------------------------------------------------------
ปัจจุบันท่านอาจารย์ทวี สุขสมโภชน์ บวชเป็นพระแล้ว
เดิมท่านเคยเป็น ผอ. มูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม

ปัจจุบัน อาจารย์ แม่ชีทองสุข ทองกระจ่าง มาเป็น ผอ.แทน

มูลนิธิฯ เปิดสอนพระอภิธรรมทางไปรษณีย์
แก่พระสงฆ์ และ บุคคลทั่วไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

-------------------------------------------------------

ณ โอกาสนี้จึงขอพึงพาใบบุญของ คุณกุหลาบสีชา

ชักชวนกัลยาณมิตรเรียนพระอภิธรรมทางไปรษณียย์

สิ่งที่น่าสนใจ คือ เมื่อเรียนทางไปรษณีย์มีความรู้ระดับหนึ่งแล้ว
มูลนิธิจะนำนศ. ที่สนใจ ไปเข้าหลักสูตรปฏิบัติ ที่ วัดมหเยงคณ์

23-31 มค. (คือขณะนี้)
มี นศ. มูลนิธิบางส่วน และจาก วัดมหาธาตุบางส่วน
และบุคคลภายนอกบางส่วน
กำลังเข้าหลักสูตรปฏิบัติ 9 วัน ที่วัดมเหยงคณ์อยู่

----------------------------------------------------

ผู้สนใจเรียนทำใบสมัครระบุ

-ชื่อ-นามสกุล
-ที่อยู่
-อายุ
-อาชีพ
-เบอร์โทรศัพท์

ทางไปรษณีย์ ส่งไปที่

มูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม
5/108 ซ.พระบรมราชชนนี 13 อรุณอัมรินทร์ บางกอกน้อย กทม.

หรือสมัครทางโทรศัพท์

โทรฯ 02-8845091-2



***เส้นทาง***->> อยู่ที่ถนนพระบรมราชชนนี ซอย 13 (ขาออก)
->> ลงจากสะพานปิ่นเกล้า >> มุ่งหน้าไปตลิ่งชัน
->> เลย....โลตัสปิ่นเกล้า (ซอย 9-11)
->> ปากซอย 13 อยู่ระหว่าง ***ปั๊มน้ำมัน ปีโตนัส & โรงรับจำนำ ***

http://larndham.org/index.php?showtopic=36492&st=0

http://www.buddhism-online.org/web/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2010, 00:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


Eikewsang เขียน:
สวัสดีครับ...คุณกุหลาบสีชา

มีข้อน่าสังเกตุ(สงสัย) อยู่อย่างหนึ่ง (ซึ่งผมไม่เคยถามใคร)

พระพุทธองค์แสดงอภิธรรมแก่เทวดาและพรหม ที่ดาวดึงส์เทวโลก
โดย วิตถารนัย คือ แบบพิศดาร

แสดงแก่พระสารีบุตร แบบ สังเขปนัย คือ โดยย่อ

แต่พอพระสารีบุตรแสดงแก่ ศิษยานุศิษย์ของท่าน
ทำไมแสดงแบบ นาติวิตถารนาติสังเขปนัย คือ ไม่พิศดารและไม่ย่อ

ข้อสังเกตุ คือ พระสารีบุตร นำพระอภิธรรมส่วนที่เกินจากแบบย่อ
ที่พระองค์สอน มาจากไหน ....??


:b8: :b8: :b8:

ไปพบคำตอบที่ท่านผู้รู้ได้แสดงไว้ใน
พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ : ที่มาของพระอภิธรรม เนื้อหาโดยสังเขป
รวบรวมและเรียบเรียงโดยคุณสลิล นิ่มสมบูรณ์
สำนักพระอภิธรรม วัดเบญจมบพิตร และวัดสามพระยา
มาดังนี้ค่ะ

อ้างคำพูด:
พระพุทธองค์ทรงแสดงพระอภิธรรมที่ทรงแสดงแล้วในเทวโลก
โดยประทานเพียงนัย (แสดงโดยย่อมา) แก่พระสารีบุตร

พระสารีบุตรก็เข้าใจแตกฉานถึงร้อยนัย พันนัย แสนนัย
ด้วยเพราะพระสารีบุตรท่านเป็นอัครสาวกผู้เลิศด้านปัญญา
และถึงพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา
จึงสามารถเข้าใจได้ลึกซึ้งในพระธรรมนั้น


จากนั้นพระสารีบุตรก็ได้นำพระอภิธรรมมาแสดงแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูปผู้เป็นศิษย์
(ภิกษุเหล่านี้เคยได้ยินได้ฟังพระอภิธรรมมาก่อน
ในสมัยที่เคยเป็นค้างคาวในถ้ำที่มีพระภิกษุ ๒ รูปอธิบายพระอภิธรรมกันอยู่)
:b8:


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 02 ก.พ. 2010, 01:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 01:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




lotus-M0.jpg
lotus-M0.jpg [ 56.4 KiB | เปิดดู 12337 ครั้ง ]
กุหลาบสีชา เขียน:
ไปพบคำตอบที่ท่านผู้รู้ได้แสดงไว้ใน
พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ : ที่มาของพระอภิธรรม เนื้อหาโดยสังเขป
รวบรวมและเรียบเรียงโดยคุณสลิล นิ่มสมบูรณ์
สำนักพระอภิธรรม วัดเบญจมบพิตร และวัดสามพระยา
มาดังนี้ค่ะ




ขอบคุณมากๆ ครับ

ที่อุตส่าห์หาคำตอบมาให้

อันที่จริงแล้ว ก็คิดแบบนี้ละครับ แต่ไม่กล้าพูดกับใครๆ

ไม่เช่นนั้นท่านคงไม่ได้รับตำแหน่ง "ธรรมเสนาบดี"

ขออนุโมทนาครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 08:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2011, 09:53
โพสต์: 12


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาบุญกับผู้ทำเวปนี้ค่ะ อยากๆได้รายละเอียด
ธัมมสังคณีสรูปัตถนิสสยะให้มากกว่านี้ค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2022, 11:54 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 23 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร