วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 09:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 60 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ถึงคุณ Eikewsang ครับ

ความเห็นที่คุณเขียนถึงผมล่าสุดนั้นมีอยู่ ๓ ข้อ ซึ่งผมพอจะตอบหรือชี้แจงได้ ดังนั้นจึงขออนุญาติตอบหรือชี้แจงดังนี้ครับ

ข้อ ๑ คุณกล่าวว่า "ผมขอให้จำว่า จิต เป็น วิญญาณขันธ์ เท่านั้น" (ผมถามว่า ผมบอกไว้ตรงไหน , คุณตอบหรือยัง)

คำชี้แจง/ข้อเสนอแนะ :

ประเด็นข้อแรกนี้ จริงๆ แล้วผมไม่ได้จะโต้แย้งอะไรคุณตั้งแต่แรกหรอกครับ เพราะผมไม่ชอบการโต้แย้ง ที่ผมลงความเห็นไปก็ไม่ได้มีเจตนาเป็นการว่ากล่าวคุณแต่อย่างไร ผมเพียงแต่เขียนคำที่ให้ควรตระหนักเอาไว้เท่านั้น ว่าอย่าเห็นจิตเป็นวิญญาณขันธ์เท่านั้น เหมือนกับคำเตือนเอาไว้มากกว่า หรือเสริมข้อความของคุณเข้าไปอีกทีก็ได้ เพราะข้อความในต้นกระทู้ของคุณที่นำมาลงเมื่ออ่านแล้วอาจจะทำให้มีคนอ่านแล้วเข้าใจว่าจิตเป็นวิญญาณขันธ์เท่านั้นได้ครับ เช่น ถ้อยคำหนึ่งที่คุณกล่าวว่า "จิต คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ (อารมฺมณวิชานนลกฺขณํ) คือ ได้รับอารมณ์อยู่เสมอ ทำหน้าที่ เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สึกต่อการสัมผัสถูกต้องทางกาย และรู้สึกนึกคิดทางใจ" และ "ดังนั้น จิต หรือ วิญญาณ จึงหมายถึงสิ่งเดียวกัน" เป็นต้น ตรงนี้สังเกตได้จากเพื่อนสมาชิกอีกท่านหนึ่ง คือ คุณ "กบนอกกะลา" ที่ลงความเห็นแรกผมอ่านแล้วก็คิดว่าคงจะเข้าใจเหมือนผม คือ คิดว่าคุณได้กำลังสื่อว่าจิตเป็นวิญญาณขันธ์เพียงเท่านั้น...

ซึ่งหากเป็นการเข้าใจผิดต้องขอโทษด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 19:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อ ๒ คุณกล่าวว่า "จิต คือ จักขุวิญญาณจิต โสตฯ ฆาสฯ ชิวหา ... กายวิญญาณจิต" (ผมขอให้แสดงคำสอนดังที่คุณกล่าว , คุณแสดงหรือยัง)

คำชี้แจง/ข้อเสนอแนะ :

ประเด็นข้อที่ ๒ นี้ เรื่อง จิต คืออะไรประการต่างๆ ที่ผมแสดงไปว่า...

จิต คือ "จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ จักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน, โสตวิญญาณธาตุที่สมกัน, ฆานวิญญาณธาตุที่สมกัน, ชิวหาวิญญาณธาตุที่สมกัน, กายวิญญาณธาตุที่สมกัน, มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน"


ข้อความนี้ ผมสรุปมาจากหลากหลายพระสูตรที่ศึกษามา เอาให้ง่าย และกระชับ ซึ่งหากจะให้แสดงพระสูตรตรงๆ ก็ต้องนำกันมาหลายพระสูตรเลย ซึ่งผมคิดเองว่าน่าจะไม่จำเป็นอะไร เพราะหากอ่านบางพระสูตรที่ผมได้ยกมาแล้ว ก็จะพอขยายความต่อได้เอง ไม่ใช่เรื่องยากอะไรครับ แต่หากคุณต้องการให้ยก ก็ขอยกเพียงบางส่วนตามความเข้าใจของผมมาดังนี้ครับ

[๓๔๓] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนาตยนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
จักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิต มีในสมัยนั้น.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... A=3045&w=_จิต_


จากพระสูตรจะเห็นว่ามีแต่คำว่า "จักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน" แต่ความจริงพระสูตรนี้ ผมเห็นว่าสามารถขยายไปได้ครบทั้ง ๖ วิญญาณได้ครับ พระสูตรนี้จะคล้ายกับพระสูตรต่อไปนี้ครับ

[๒๑] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร ๑- มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตมีในสมัยนั้น.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... &A=629&w=_จิต_


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อ ๓ คุณบอกว่าที่คุณกล่าวนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ (ผมถาม 3 ข้อ , คุณตอบได้มั๊ย) โดยเฉพาะข้อที่ 3. นี้ ถ้าเป็นสภาวะที่เกิดจากการปฏิบัติ
คุณยิ่งสมควรต้องรีบตอบได้โดยเร็ว เพราะ...เป็นประสบการณ์ตรงของคุณเอง (ปัจจัตตัง)


คำชี้แจง/ข้อเสนอแนะ :

ประเด็นข้อที่ ๓ นี้ จะต้องย้อนไปดูว่าผมกล่าวไว้อย่างไร ซึ่งได้บอกเอาไว้ว่า "เรื่องที่บอกว่าทำไมจิตจึงไม่ใช่วิญญาณขันธ์เท่านั้น ตรงนี้ผมบอกในแง่ของการปฏิบัติเลยทีเดียว" คิดว่าน่าจะเป็นประโยคนี้ที่เป็นประเด็น...

ประโยคนี้ ผมหมายถึงว่า จิตนี้ไม่ได้มีหน้าที่เพียงแต่ รู้แจ้งอารมณ์ทางอาตนะภายในที่กระทบกับอายตนะภายนอกเท่านั้น คือ ไม่ได้มีหน้าที่แต่เพียง เห็น, ได้ยิน, ดมกลิ่น, ลิ้มรส, รู้สิ่งต้องกาย, รู้เรื่องในใจ เท่านั้น เพราะหากเราศึกษาไปแล้ว จะเห็นว่าจิตนี้มีหน้าที่อื่นๆ อีก เช่น สามารถฝึกได้ (จิตตสิกขา) เป็นต้น และมีความหมายกว้าง เช่น บางที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ว่า จิตบ้าง, มโนบ้าง, วิญญาณบ้าง (อัสสุตวตาสูตรที่ ๑), และบางที่จะมีแปลกไปกว่านี้อีก ได้บอกว่า "สมาบัติ ๘ จัดเป็นจิต" ก็มีเพราะกล่าวในมุมที่พัฒนาได้ ขอยกอรรถกถามาให้อ่านดังนี้

พึงทราบวินิจฉัยในอธิสีลสิกขาเป็นต้นต่อไป.

ศีลอันยิ่งนั้นด้วย ชื่อว่าสิกขา เพราะจะต้องศึกษาด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอธิสีลสิกขา. แม้ในสิกขาทั้ง ๒ นอกนั้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ในอธิสีลสิกขาเป็นต้นนั้น ศีลคือศีลอันยิ่ง จิตคือจิตอันยิ่ง ปัญญาก็คือปัญญาอันยิ่ง เพราะเหตุนั้น พึงทราบความต่างกันเพียงเท่านี้.

ศีล ๕ และศีล ๑๐ ชื่อว่าศีล. ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ชื่อว่าศีลอันยิ่ง. สมาบัติ ๘ จัดเป็นจิต (สมาธิ). ฌานอันเป็นบาทของวิปัสสนาจัดเป็นจิตอันยิ่ง. กัมมัสสกตาญาณจัดเป็นปัญญา. วิปัสสนาจัดเป็นปัญญาอันยิ่ง. เพราะว่า ศีล ๕ และศีล ๑๐ ย่อมมีในพุทธุปบาทกาลแม้ยังไม่เกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น ศีล ๕ ศีล ๑๐ จึงคงเป็นศีลนั้นแหละ. ปาติโมกขสังวรศีลย่อมมีเฉพาะในพุทธุปบาทกาลเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ปาติโมกขสังวรจึงจัดเป็นศีลอันยิ่ง. แม้ในจิตและปัญญาก็นัยนี้เหมือนกัน.

อีกอย่างหนึ่ง ศีล ๕ ก็ดี ศีล ๑๐ ก็ดี ที่บุคคลปรารถนาพระนิพพานสมาทานแล้ว จัดเป็นศีลอันยิ่งเหมือนกัน แม้สมาบัติ ๘ ที่บุคคลเข้าแล้ว ก็จัดเป็นจิตอันยิ่งเหมือนกัน. หรือว่าโลกิยศีลทั้งหมดเป็นศีลเท่านั้น. (ส่วน) โลกุตตรศีลเป็นศีลอันยิ่ง. แม้ในจิตและปัญญาก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

พึงทราบวินิจฉัยในภาวนาต่อไป.

กายอันเป็นไปในทวาร ๕ ของพระขีณาสพ ชื่อว่ากายภาวนา. สมาบัติ ๘ ชื่อว่าจิตตภาวนา. ปัญญาในอรหัตตผล ชื่อว่าปัญญาภาวนา. ก็พระขีณาสพย่อมเป็นผู้อบรมกายอันเป็นไปในทวาร ๕ มาดีแล้วโดยส่วนเดียว. สมาบัติ ๘ ของท่านก็ไม่ทุรพลเหมือนของคนอื่น และปัญญาของท่านเท่านั้น ชื่อว่าอบรมแล้ว เพราะถึงความไพบูลย์ด้วยปัญญา. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวอย่างนี้.


http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... &i=221&p=3


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 19:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ลองคิดในแง่นี้นะ จิต ใช้ในความหมายว่า สิ่งที่อยู่ภายใน... เมื่อพูดในระดับใหญ่ ก็มีแค่กายกับจิต อารมณ์ความรู้สึกทุกอย่างก็คือจิต
เมื่อพูดถึงขันธุ์ 5 วิญญาณขันธุ์ก็คือ จิต แต่เมื่อพูดในระดับปรมัตถ์ ก็แยกออกไปอีกว่ามีทั้ง จิต เจตสิก และรูปปรมัตถ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


Eikewsang เขียน:

ผมเป็นเพียงเริ่มผู้ฝึกตน และเพิ่งศึกษาธรรม
จากพระอภิธรรมปิฎก (ตามคัมภีร์..อภิธัมมัตถสังคหะ) เท่านั้น

ดังนั้น หาก นำพระสูตร มาถกกับผม ผมขอวางเฉยละครับ

เพราะถ้าตอบไปก็เท่ากับ "เป็นการ...มั่ว"

แต่ก็ยินดีที่จะรับฟัง รับอ่านพระสูตรที่มีประโยชน์





พระสูตร กับ พระอภิธรรมปิฎก ในเรื่อง จิต นี้ ...ตรงกันครับ

พระสูตร จัดเป็นหลักฐานชั้นหนึ่ง ... ถ้า จะเปรียบเทียบกับ กฏหมายทางโลก ก็เสมือนรัฐธรรมนูญ ซึ่ง กฏหมายอื่นๆจะต้องไม่ค้านกับรัฐธรรมนูญ.

ผมให้ความสำคัญกับ พระสูตร เป็นอันดับหนึ่ง เพราะเหตุนี้.



แต่ เมื่อคุณ กล่าวว่า คุณยังไม่ได้ศึกษาพระสูตร แต่ ศึกษา พระอภิธรรมปิฎกโดยอาศัยคัมภีร์อภิธัมมัตถะสังคหะ... ผมจึง เสนอ บางประเด็น ที่แสดงให้เห็นว่า

ผู้ที่ศึกษาตามแนวทางอภิธัมมัตถะสังคหะ เข้าใจความหมายของคำว่า"สมถะ" ไม่ตรงกับ ความหมายของคำว่า"สมถะ"ในพระอภิธรรมปิฎก

เอาไว้ ดังนี้

viewtopic.php?f=66&t=29292

(คห.ที่ 7 นับจาก เนื่อความต้นกระทู้)

ประเด็นนี้สำคัญมากด้วย เพราะ คือเงื่อนไข ที่ทำให้เกิดความแตกแยกทางความคิดในเรื่อง สมถะ-วิปัสสนา


แต่ ถ้าคุณขอจำกัดวงการสนทนา โดยไม่ขอสนทนาในเรื่องนั้น ...จะ ด้วยเหตุผลที่แท้จริงอย่างไรก็ตาม.... ก็ แล้วแต่คุณจะเห็นสมควร



ยินดีที่ได้สนทนาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 07:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวสัดีครับ คุณสิรัสพล

ขอคุณครับที่ตอบข้อถาม....ที่ผมสงสัยแล้ว

ข้อ 1. เมื่อเป็นการเข้าใจผิด ผมก็ขออโหสิกรรม

ข้อ2. ความจริงแล้วถ้าคุณอ่าน เนื้อหาในกระทู้นี้ ให้ดี
คุณจะพบว่า ผมเองก็ได้ตอบไว้แล้ว ในหัวข้อ สถานที่ที่จิตเกิด

เพียงแต่การที่คุณนำความเห็นใดๆ มาลงในลักษณะโต้แย้งนั้น
หากเป็นเรื่องที่ลงในรายละเอียดคุณก็ควรจะอธิบายประกอบ


ตัวอย่างเช่น ...."จักขุวิญญาณจิต" เป็นต้น "ได้ชื่อว่าจิต"
เพราะเป็น "สภาวะของจิต" ขณะหนึ่งที่ขึ้นรับอารมณ์ ไม่ใช่จิต/วิญญาณ ในความหมายทั่วไป
คือ จักขุวิญญาณจิต เกิดขึ้นรับ รูปอารมณ์(อารมณ์ที่เป็นรูป)
ต่อการ จักขุปสาทรูป กระทบ "รูปารมณ์(สีต่าง)" เป็นต้น
(ตัวอักษรสีนำเงิน ไม่ได้พิมพ์ผิดนะครับ โดยทางบัญญัติเขียนตามนี้จริงๆ)

ก็มีทั้งหมดอย่างน้อย 89/121 ดวงละครับ
ถ้าจะกล่าวถึงชื่อของจิต....ในรายละเอียด

เช่น สันตีรณะ สมปฏิจฉนะ หสิตุปาทะ ปัญจทวาราชวัชชนะ มโนทวาราวัชชนะ
มหคคตจติ ฌาณจิต ...ฯลฯ....
เหล่านี้ล้วนเป็น "ชื่อของจิต" ในส่วนทีเป็นรายละเอียดทั้งนั้น

ข้อ 3. ปัจจัตตัง...ครับ

ขอขอบคุณ สำหรับการแสดงท่าทีที่เป็นกัลยาณมิตรต่อผม

ผมขอยืนยันว่า "ไม่เคยรู้สึกโกรธเคือง" คุณเลย

ไว้มีโอกาสคุญธรรมกันครับ

onion onion onion
ขออนุโมทนาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 08:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ...คุณตรงประเด็น

ขอคุยเป็นเรื่องๆ นะครับ


ตรงประเด็น เขียน:
พระสูตร กับ พระอภิธรรมปิฎก ในเรื่อง จิต นี้ ...ตรงกันครับ

พระสูตร จัดเป็นหลักฐานชั้นหนึ่ง ... ถ้า จะเปรียบเทียบกับ กฏหมายทางโลก ก็เสมือนรัฐธรรมนูญ ซึ่ง กฏหมายอื่นๆจะต้องไม่ค้านกับรัฐธรรมนูญ.

ผมให้ความสำคัญกับ พระสูตร เป็นอันดับหนึ่ง เพราะเหตุนี้.



ในเรื่องนี้ ผมไม่ใช่ความเห็นของผมครับ
ผู้สอนว่า "คำว่าจิต" ในพระสูตร(2 สูตร) กับ พระอธิธรรม ความหมายต่างกัน
คือ "สมเด็จพระสังฆราชฯ ... ครับ _(ตาม v v v นี้ครับ)

viewtopic.php?f=66&t=29292

ส่วนผม....ได้หาพระสูตรที่ อธิบายถึง จิต - วิญญาณ ในความหมายเดียวกัน
มาให้ศึกษาประกอบครับ (ไม่บังอาจโต้แย้งพระสังฆราชฯ แน่นอนครับ)


viewtopic.php?f=66&t=29349
(คุณตรงประเด็นก็ได้เข้าอ่านแล้ว)

000++++++++++000000++++++++++000

ตรงประเด็น เขียน:
แต่ เมื่อคุณ กล่าวว่า คุณยังไม่ได้ศึกษาพระสูตร แต่ ศึกษาพระอภิธรรมปิฎกโดยอาศัยคัมภีร์อภิธัมมัตถะสังคหะ... ผมจึง เสนอ บางประเด็น ที่แสดงให้เห็นว่า

ผู้ที่ศึกษาตามแนวทางอภิธัมมัตถะสังคหะ เข้าใจความหมายของคำว่า"สมถะ" ไม่ตรงกับ ความหมายของคำว่า"สมถะ"ในพระอภิธรรมปิฎก

ประเด็นนี้สำคัญมากด้วย เพราะ คือเงื่อนไข ที่ทำให้เกิดความแตกแยกทางความคิดในเรื่อง สมถะ-วิปัสสนา.........ฯลฯ.........


"สมถะกรรมฐาน หรือ สมถภาวนา" ไม่ได้มีเฉพาะที่พระพุทธองค์สอนไว้ในพระไตรปิฎก

ในพระสูตร พระองค์ทรงสอน แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับบุคคลที่ทรงโปรดขณะนั้น
ซึ่งผู้ได้รับมหากรุณานั้น ก็บรรลุธรรมโดยเร็ว แทบทุกคน

พระอภิธรรม ทรงเทศนาโปรด สันตุสิตตเทวบุตร พร้อมเทวดา และพรหม ที่มากจากหมื่นจักรวาฬ
จำนวนผู้ฟังจึงมีเป็น "ล้านล้านตน" จึงทรงสอน ธรรมกลางๆ
คือ ใช้ได้กับทุกคน แต่ต้องไปหาจริตกันเอง

ชาวอินเดีย นับถือศาสนาแตกต่างกันมากมาย แต่ละศาสนามีวิธีปฏิบัติสมถะ หลายวิธี
ฉะนั้น วิธีปฏิบัติ "สมถะ" จึงมีนับไม่ถ้วน (แต่จะเป็นสัมมาสมาธิหรือไม่...เป็นอีกเรื่องหนึ่งนะครับ)

จึงเป็นธรรมดาละครับ ที่ชาวพุทธจะมีความรู้เกี่ยวกับ สมถะต่างกันไป

ส่วนวิปัสสนา มีวิธีปฏิบัติ 4 วิธี (มี กายานุปัสสนา เป็นต้น)
และในแต่ละวิธี ครูบาอาจารย์ แต่ละสำนักก็สอนต่างกันไป
ในพระสูตรเอง ก็ทรงสอนแต่ละสูตรไม่เหมือนกัน

จึงเป็นธรรมดาที่ผู้ปฏิบัติ จะได้รับรู้สภาวะธรรมจากการปฏิบัติ แตกต่างกัน

ความรู้ที่ไม่เหมือนกันนี้ เมื่อเกิดกับผู้มีสัมมาปฏิบัติ ก็นับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อศาสนา

เพราะหากนำมาแลกเปลี่ยนต่อกันและกัน โดยปราศจากอคติ
ความหลากหลายทางด้านความรู้ การปฏิบัติ ก็จะยังคงอยู่คู่ศาสนาพุทธต่อไป

การนำมาถกเถียงกัน เพื่อยืนยันว่า "ความรู้ของเราถูกต้อง" ก็นับเป็นสิ่งดี
เพราะเท่ากับ "เป็นการกล่าวชักชวนผู้ไม่รู้ และยังไม่ได้ลอง ... ให้มาลองปฏิบัติดู"


แต่ถ้านำมาถกเถียง โดยเห็นว่าความรู้ของผู้อื่นผิด ของเราถูก อันนี้
เป็นอัธยาศัยของ ผู้มีมิจฉาปฏิบัติมากกว่าครับ

000++++++++++000000++++++++++000

ตรงประเด็น เขียน:
แต่ ถ้าคุณขอจำกัดวงการสนทนา โดยไม่ขอสนทนาในเรื่องนั้น ...จะ ด้วยเหตุผลที่แท้จริงอย่างไรก็ตาม.... ก็ แล้วแต่คุณจะเห็นสมควร

ยินดีที่ได้สนทนาครับ


หากมีความรู้จริงๆ เกี่ยวกับเรื่องที่สนทนา และ อยู่ในวงสนทนาของผู้มีสัมมาปฏิบัติ

ผมยินดีอย่างยิ่งที่จะรวมสนทนา.....ด้วยครับ
(ต้องไม่ลืมนะครับว่าการสนทนาธรรม เป็น ธรรมสวน/ธรรมเทศนากุศล)

และที่จำกัดการคุยเกี่ยวกับพระสูตรนั้น ไม่ได้เกิดจากดำริของผมครับ
แต่เกิดจากความรู้ที่ผมมีอยู่


onion onion onion
ขออนุโมทนาครับ


แก้ไขล่าสุดโดย Eikewsang เมื่อ 05 ก.พ. 2010, 08:26, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 10:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2010, 16:01
โพสต์: 19

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแสดงความคิดเห็นตามที่พอรู้มา นะครับ ผิดถูก ต้องนำไปปฏิบัติดู
จิต, จิตต์ คือ..ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ;
ตามหลักฝ่ายอภิธรรม จำแนกจิตเป็น ๘๙ (หรือพิสดารเป็น ๑๒๑)
แบ่ง โดยชาติ เป็น
อกุศลจิต ๑๒
กุศลจิต ๒๑ (พิสดารเป็น ๓๗)
วิปากจิต ๓๖ (๕๒) และ
กิริยาจิต ๒๐;
แบ่ง โดยภูมิ เป็น
กามาวจรจิต ๕๔
รูปาวจรจิต ๑๕
อรูปาวจรจิต ๑๒ และ
โลกุตตรจิต ๘ (พิสดารเป็น ๔๐)
ขยายความ. ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ จะเกิดต่อเมื่อสัมผัสที่เกิดทางทวารทั้ง 6 เช่น
1 หูได้ฟังเสียง
2. ตาได้มองเห็น
3.จมูกได้กลิ่น
4. ลิ้นได้สัมผัสรส
5. กายได้สัมผัส นุ่ม แข็ง เหว้า นูน แบนเรียบ เป็นต้น
6. ใจ ที่เป็น กุศล อกุศล
อันเป็นเหตุให้เกิดสภาวะที่จิตต์ รับรู้อารมณ์ เช่น ยินดี ยินร้าย เฉยๆ อิ่มเอิบ แร้นแค้น เป็นสุข เป็นทุกข์ อยากได้ ไม่อยากได้ ชอบใจ เบื่อหน่าย ฮึกเหิม หดหู่ ท้อแท้ เป็นต้น สภาวะเหล่านี้ จิตต์จะจดจำได้ง่าย และเกิด ดับ ให้เห็นในชีวิตประจำวันเสมอ หากผู้ถาม ต้องการรู้ความหมายของจิตต์ เพื่อศึกษาแนวทางการดูจิตต์ รู้เพียงนี้ก็เริ่มต้นได้แล้ว ครับ หากจะรู้เรื่องจิตต์ทั้ง 89 อย่างแล้ว ยาวครับ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 13:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดี...rojaninth10

ขอเสริม...รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ


rojaninth10 เขียน:
ขอแสดงความคิดเห็นตามที่พอรู้มา นะครับ ผิดถูก ต้องนำไปปฏิบัติดู
จิต, จิตต์ คือ..ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ;


ธรรมชาติของจิต คือ รู้อารมณ์ ถูกต้องครับ

แต่ "การคิด" เป็นการปรุงแต่งของจิตแล้วครับ

นั่นหมายความว่า หากจิตยกอารมณ์ขึ้นสู่วิถี "คิด" โดยมี ตัณหา (ความอยาก) เป็นเหตุ
แต่ไม่รู้ , คิดว่าเป็นธรรมชาติของจิต ก็ไม่ดีแน่ครับ .... เพราะตัณหาเป็นเหตุแห่งทุกข์

เมื่อจิตคิดมีเจตสิกอย่างน้อย 1 ดวง คือ
"วิตกเจตสิก" จะเข้าประกอบในจิต


เจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบในจิต, เกิดในจิต (คือ ปรุงแต่งจิต)
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

rojaninth10 เขียน:
ขยายความ. ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ จะเกิดต่อเมื่อสัมผัสที่เกิดทางทวารทั้ง 6 เช่น
1.หูได้ฟังเสียง 2.ตาได้มองเห็น 3.จมูกได้กลิ่น 4.ลิ้นได้สัมผัสรส
5.กายได้สัมผัส นุ่ม แข็ง เหว้า นูน แบนเรียบ เป็นต้น 6.ใจ ที่เป็น กุศล อกุศล


ในข้อนี้ กายได้รับสัมผัสนั้น จะรับเพียง 3 กลุ่ม คือ แข็ง-อ่อน เย็น-ร้อน ตึง-หย่อน
แต่ "เว้า นูน แบน เรียบ" นั้น ไม่ใช่กายสัมผัสแล้วครับ ...เป็นเรื่องจิตปรุงแต่งแล้ว

ใจที่เป็น กุศล อกุศล นั่นก็ "เกินรู้" แล้วครับ เพราะมีการคิดแล้วจึงเกิดอุศล อกุศล

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

rojaninth10 เขียน:

อันเป็นเหตุให้เกิดสภาวะที่จิตต์ รับรู้อารมณ์ เช่น ยินดี ยินร้าย เฉยๆ อิ่มเอิบ แร้นแค้น เป็นสุข เป็นทุกข์ อยากได้ ไม่อยากได้ ชอบใจ เบื่อหน่าย ฮึกเหิม หดหู่ ท้อแท้ เป็นต้น


การจะปฏิบัติวิปัสสนา --- 1 ใน 3 (ไตรสิกขา) เรื่องที่ต้องเรียนคือ "อธิจิตตสิกขา"
เพื่อให้รู้ว่า จิตชนิดไหน รับอารมณ์ปรมัตถ ชนิดรับอารมณ์เป็นบัญญัติ เป็นต้น
เพื่อจะได้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติวิปัสสนา หรือ สมถะ

จิตที่รู้อารมณ์ นั้น มีเพียงไม่กี่อย่างครับ คือ จาก 6 ทวารตามที่คุณเข้าใจ

แต่ตามที่ คุณrojaninth10 ยกตัวอย่างว่า
เช่น ยินดี ยินร้าย เฉยๆ แร้นแค้น เป็นทุกข์ อยากได้ ไม่อยากได้ ชอบใจ เบื่อหน่าย ฮึกเหิม หดหู่ ท้อแท้ เป็นต้น

ตามตัวอย่าง "เกินรู้" แล้วครับเป็นการที่ "จิตปรุงแต่ง" แล้วทั้งนั้น

กล่าวคือ
ยินดี อิ่มเอิบ เป็นสุข เป็นจิตในกลุ่ม โลภมูลจิต
ยินร้าย แรงแค้น เป็นทุกข์ เบื่อหน่าย หดหู่ ท้อแท้ อยูในกล่มโทสมูลจิต

คือ เป็นจิตที่มีการตัดสินอารมณ์แล้วว่า ชอบ ไม่ชอบ เป็นต้น

แต่ไม่ว่า จะเป็นโลภะ หรือโทสะ รากเหง้าของจิตทั้งสองกลุ่มนี้
มีเหตุเบื้องต้นมาจาก "โมหมูลจิต" ทั้งนั้นเลยครับ

โมหะ คือ ธรรมชาติที่หลง ไม่รู้ ธรรมชาติปิดบังไม่ให้รู้สภาวะธรรมที่แท้จริง

rojaninth10 เขียน:
สภาวะเหล่านี้ จิตต์จะจดจำได้ง่าย และเกิด ดับ ให้เห็นในชีวิตประจำวันเสมอ
หากผู้ถาม ต้องการรู้ความหมายของจิตต์ เพื่อศึกษาแนวทางการดูจิตต์ รู้เพียงนี้ก็เริ่มต้นได้แล้ว ครับ หากจะรู้เรื่องจิตต์ทั้ง 89 อย่างแล้ว ยาวครับ


1. ผมไม่เห็นด้วยกับคำว่า "สภาวะเหล่านี้จิตจะจดจำได้ง่าย" (ต้องขอวิจารณ์กันตรงไปตรงมา)
ถ้าจิตจดจำสภาวะได้ง่ายจริง ปัจจุบันคงมี พระอรหันต์ เต็มบ้านเต็มเมือง
การที่จิตจดจำสภาวะได้นั้น จะเกิดสติระลึกได้อยู่เนืองๆ
ซึ่งต้องเกิดจากการการหมั่นฝึกฝน พากเพียรปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน

2. จิตเกิด ดับ เป็นสามัญลักษณะ ของจิตอีกอย่างหนึ่ง
แต่จะเห็นได้สภาวะดังกล่าวจริงหรือไม่นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย

แต่ที่เห็นด้วยอย่างยิ่งเลย คือคำว่า "เริ่มต้นได้แล้ว"

ดังนั้น ที่กล่าวมา แสดงว่ามีพื้นฐานพอสมควร
แต่คงต้องทำความเข้าใจเพิ่มอีกครับ

onion onion onion
ขออนุโมทนาครับ


แก้ไขล่าสุดโดย Eikewsang เมื่อ 05 ก.พ. 2010, 13:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เรียน ท่าน จขกท.


สรุปสั้นๆ ในประเด็นที่ ผมได้สนทนากันมา กับท่าน สืบเนื่องจาก บทเรียนของทางอภิธัมมัตถะสังคหะ เกี่ยวกับเรื่อง จิต

ผมมีความเห็นว่า

ธรรมชาติของจิต มีการรับอารมณ์...ไม่ผิด
แต่
ธรรมชาติของจิต มีการรับอารมณ์เสมอ...ไม่ถูก



>>>>>>>>>>>>>


ประเด็นเรื่อง สมถะ-วิปัสสนา เปรียบเทียบ ระหว่าง
1.พระสูตร
2.พระอภิธรรมปิฎก(ผมเห็นว่าแสดงตรงกันกับพระสูตร)
3.พระอภิธัมมัตถะสังคหะ

ก็คงเลี่ยงไม่ได้ ที่จะต้องนำพระสูตรมาวาง

แต่ ท่าน จขกท. ก็คงไม่satisfy ในเรื่อง พระสูตร...ด้วยว่า ท่าน จขกท. เน้นการเรียนพระอภิธรรมปิฎกผ่านคัมภีร์อภิธัมมัตถะสังคหะ

อย่างไรก็ตาม....ผมเอง ก็หวังว่า ชาวพุทธรุ่นใหม่ น่าจะศึกษา เน้นพระพุทธวจนะโดยตรง เป็นหลัก เช่น ดังที่ ท่านอ.คึกฤทธิ์ วัดนาป่าพงท่านพยายามสรุปประมวลให้...

และ ในโอกาสต่อไป เรา-ท่าน ก็น่าจะมีโอกาสได้ศึกษาการเปรียบเทียบ สมถะ-วิปัสสนา ระหว่าง3คัมภีร์นั้น (สมถะ-วิปัสสนา เปรียบเทียบ 3คัมภีร์) ในส่วนแยกอภิธรรมนี้



ยินดีที่ได้สนทนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 18:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ปริยัติมาก ก็อัตตามาก... ลงมือปฏิบัติเสียบ้าง อัตตาจะได้น้อยลง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 23:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


จะเป็นอาจารย์สอนคน..ก็ต้องเรียนให้มาก..เรียนให้สูง..ทำมาหลายอย่าง..มีประสบการณ์หลาย ๆ ด้าน..จึงจะสอนผู้อื่นได้..เรียกว่า..ต้องจบโท..จบเอก..คือต้องใช้เวลามากหน่อยกว่าจะเป็นได้อย่างใจต้องการ..คือการไปสอนคนอื่น ๆ ให้รู้ให้เห็นตามได้..อาจจะต้องสะสมกันไปหลายชาติหน่อย

ส่วน..คนที่ต้องการแค่ให้ตัวไปรอด..มีกิน..มีใช้..ก็ต้องรีบ ๆ ทำงาน..จะได้มีสตางค์ใช้เร็ว ๆ ..เรียกว่า..ชาตินี้เอาเลย..ไม่รอใคร

จะเห็นได้ว่า..ไม่มีใครผิด..
ทั้งพวกที่อยากเรียนนาน..กับ..คนที่อยากทำงานเร็วๆ

มันจึงว่าใครไม่ค่อยได้เลยนิ..ว่ามั้ย..คุณ Murano


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 05 ก.พ. 2010, 23:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 23:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มี อีกกระทู้ ที่อาจมีประโยชน์ ต่อ ท่านผู้สนใจเรื่อง จิต ทุกท่าน



"บ้าง"...พระสูตร..สอนว่า ".จิต วิญญาณ มโน." ความหมายเดีย

viewtopic.php?f=66&t=29349





ตรงประเด็น เขียน:
ประเด็น เรื่อง จิต มโน วิญญาณ นั้น



ผมขอเสนอลักษณะที่ว่า

จิต เป็นคำเรียกรวมๆ ที่ครอบคลุมได้ทั้ง ในส่วน มโน(จิตดั้งเดิม;กามภูสูตร) และ วิญญาณ(จิตที่รับรู้อารมณ์ทางทวารต่างๆ;มหาหัตถิโปทมสูตร)



แต่ ที่มีทั้ง จิต มโน วิญญาณ นั้น เป็นลักษณะ mode หรือ function ต่างๆของจิต ...ที่มีการ switch ไปๆ มาๆ ระหว่าง mode หรือ function ต่างๆ นั้น

การ switch ไปๆ มาๆ ระหว่าง mode หรือ function ต่างๆ ของ จิต นั้น ก็คือ การเกิด-ดับ ของ จิต มโน วิญญาณ นั้นเอง

เมื่อ จิตนั้นswitch จาก modeมโน ไปสู่ modeมโนวิญญาณ(เช่น ในมหาหัตถิโปทมสูตร) จิตในขณะ(ดวง?)ที่เป็นmodeมโนก็ดับไป จิตในขณะที่เป็นmodeมโนวิญญาณก็ปรากฏเกิดขึ้น
(ลิง ไม่ยอมอยู่เฉยๆ แต่ ไปคว้าเอากิ่งต้นใจมาโหน)

และ จิตนั้นก็สามารถ switchกลับจากจิตในmodeมโนวิญญาณ กลับไปสู่ จิตในmodeมโน ได้...

หรือ อาจจะไม่ switchกลับจากจิตในmodeมโนวิญญาณ กลับไปสู่ จิตในmodeมโน ... แต่ switchไปสู่ จิตในmodeวิญญาณช่องทางอื่นๆ ก็ได้


วันหนึ่ง คืนหนึ่ง จิต มโน วิญญาณ จึงเกิดดับ มากมาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2010, 20:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศึกษาพระอภิธรรมจากพระไตรปิฎกย่อมเข้าใจเรื่อง " จิต "และพระอภิธรรมได้ถูกต้องครับ


ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนีผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่
สงบระงับแล้วมีสติในกาลทุกเมื่อ




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2010, 19:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 20:29
โพสต์: 7


 ข้อมูลส่วนตัว


จิต คือ วิญญาณธาตุ หรืออทิสมานกาย หรือกายทิพย์ หรือเจตภูต หรือโอปาติกะ

พูดง่ายๆ จิต คือ เปรต สัตว์นรก นางฟ้า เทวดา พรหม ฯลฯ ที่อยู่ในปรโลก และวิญญาณตัวในที่
เรียกว่า วิญญาณธาตุ หรือ ผี ส่วนวิญญาณขันธ์นั้นไม่ใช่จิต


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 60 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 56 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร