วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 60 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 23:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
แล้วที่นี้..คุณอิกคิว..ยังจะยืนยันว่า..จิต=วิญญาณขันธ์..อยู่อีกหรือเปล่า?

ถ้า..ยังยืนยัน..อย่างที่ว่าอยู่..

โปรด..ไขข้อข้องใจ..ของกบฯน้อย..ด้วยคำถามที่ 3 หน่อยนะครับ :b12: :b12:

ว่า..

(ถ้า) จิต=วิญญาณขันธ์
(แล้ว)..
ในเมื่อ..กิเลสตันหาอวิชชา..อยู่ภายในจิต(วิญญาณขันธ์)..
ยามใดที่..วิญญาณขันธ์..ดับ..เจ้ากิเลสตันหาอวิชชา..มันดับไปพร้อมกับ..ขันธ์..ด้วยหรือเปล่า?


cool พอดีเลยครับ คุณกบฯ น้อย cool

คำตอบของผม อยู่ในความเห็นที่ผมคุยกับ....คุณศิรัสพล ... ข้างต้นแล้ว

นอกจาก จิต คือ วิญญาณขันธ์ แล้ว , จิต ยังคือ มนายตนะ , คือ ธาตุ (7 ธาตุ)

เจตสิก เองก็เป็น ธรรมายตนะ , ธรรมธาตุ

รูป เฉพาะบางรูป ก็เป็น ธรรมธาตุ ธรรมายตนะ

ขึ้นอยู่ที่ จะะว่ากล่าวกัน....โดยความสภาวธรรมใด เช่น อายตนะ ธาตุ เป็นต้น
หากประกอบด้วย องค์ธรรมปรมัตถใดได้ ก็ต้องถือว่า เป็นปรมัตถธรรมนั้นได้ด้วย

ขออภัย......ที่ต้องขออนุญาต ไม่ต้องเป็นการส่วนตัวนะครับ

หาได้ไม่ให้เกียรติแก่ท่าน.....แต่อย่างใดไม่...ขอรับ

onion ขออนุโมทนาครับ onion


แก้ไขล่าสุดโดย Eikewsang เมื่อ 01 ก.พ. 2010, 23:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 23:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


เกียรติ...ไม่ใช่สิ่งที่..กบฯน้อยต้องการ..ก็เลย.ไม่รู้สึกอะไร :b6: :b6:

แต่..สิ่งที่อยากได้..กลับต้องทำเอง..เท่านั้น..นี้ซี..ปัญหาใหญ่ :b31: :b31: :b31:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2010, 00:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ธรรมสวัสดียามดึกค่ะ...ท่านเจ้าของกระทู้ และทุกท่าน :b8:

คือ...เห็นว่าสงครามสงบแล้ว... :b12:

จึงขออนุญาตท่านเจ้าของกระทู้ ท่านกบ และทุกท่าน
เข้ามาร่วมแสดงความเห็นด้วยค่ะ
ผิดถูกอย่างไร รบกวนท่านผู้รู้ทั้งหลายช่วยวินิจฉัยด้วยนะคะ

ขออธิบายโดยสรุปความตามความเข้าใจอย่างนี้ได้หรือไม่คะ? :b10:

ขณะใดสภาพนั้นเกิดปรากฏขึ้น
สภาพนั้นก็มีลักษณะนั้น คือ “ปรมัตถธรรม”
ปรมัตถธรรมซึ่งเป็นนามธรรมที่รู้อารมณ์มี ๒ ปัจจัย ประกอบกัน
คือ จิต และเจิตสิก ที่เกิดขึ้นร่วมกัน
จิตเป็นนามธรรมเป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้อารมณ์
เจตสิกเป็นสภาพรู้ที่เกิดกับจิต ดับพร้อมจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต

ธรรมชาติของจิตคือธาตุรู้
จิตทุกประเภทเป็นสภาพรู้ ทุกขณะที่เกิดขึ้น
คือเห็นเกิดแล้ว ก็ดับไปในทันที
แล้วจิตอื่นก็เกิดสืบต่อไปในทันที


เช่น อกุศลจิตก็เป็นสภาพรู้ กุศลจิตก็เป็นสภาพรู้
โลกียจิตก็เป็นสภาพรู้ โลกุตตรจิตก็เป็นสภาพรู้
ลักษณะของจิตทุกประเภททุกขณะที่เกิดขึ้นเป็นสภาพรู้

ยกตัวอย่าง เมื่อเกิดโลภะอันเป็นสภาพธรรมที่เป็นอกุศลจิต
จิตดวงนั้นจึงไม่ใช่กุศลจิตที่มีปัญญาเจตสิกร่วมด้วย
อกุศลจิตจึงไม่สามารถรู้ว่าสภาพธรรมเป็นอนัตตา
แต่เมื่อใดเกิดกุศลจิตที่มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย
ก็สามารถจะอบรมเจริญปัญญาจนรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้


ส่วน วิญญาณขันธ์เป็นธาตุรู้ เป็นนามธรรม
ซึ่งเกิดขึ้นทำกิจเฉพาะของวิญญาณ
มีหน้าที่รับรู้อารมณ์ที่กระทบกันของอายตนะ


เช่น ขณะที่เห็นในขณะนี้
วิญญาณขันธ์คือจิตที่เห็นเกิดแล้วก็ดับไปทันที
เกิดที่ไหนดับที่นั่น

หากอุปมาตามความเข้าใจ

วิญญาณเป็นอาการของจิต? :b6:

อาจเปรียบได้ว่า "จิต" อุปมา เป็น "มนุษย์"

แต่ วิญญาณขันธ์ คือมนุษย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของตน
เช่นเป็น อาจารย์ แพทย์ พยาบาล ทหาร รัฐบาล ฝ่ายค้าน ฯลฯ

:b8: :b8: :b8:

ขอเชิญปุจฉา-วิสัชนากันต่อได้เลยค่ะ :b8: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2010, 00:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์
[๗๖๖] ธรรมมีอารมณ์ เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมี
อารมณ์.
ธรรมไม่มีอารมณ์ เป็นไฉน?
รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีอารมณ์.

[๗๖๗] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน?
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต

ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิต.

[๗๖๘] ธรรมเป็นเจตสิก เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเจตสิก.

ธรรมไม่เป็นเจตสิก เป็นไฉน?
จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเจตสิก

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 02 ก.พ. 2010, 00:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2010, 00:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๗๖๙] ธรรมสัมปยุตด้วยจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยจิต.

ธรรมวิปปยุตจากจิต เป็นไฉน?
รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปยุตจากจิต.

จิต จะกล่าวว่าสัมปยุตด้วยจิตก็ไม่ได้ ว่าวิปปยุตจากจิตก็ไม่ได้.


[๗๗๐] ธรรมเจือกับจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเจือกับจิต.
ธรรมไม่เจือกับจิต เป็นไฉน?
รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เจือกับจิต.
จิต จะกล่าวว่าเจือกับจิตก็ไม่ได้ ว่าไม่เจือกับจิตก็ไม่ได้.

[๗๗๑] ธรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, กายวิญญัติ วจีวิญญัติ หรือรูปแม้อื่นใดซึ่ง
เกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน มีอยู่ คือ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ
รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูป
อุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน.

ธรรมไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน?
จิต รูปที่เหลือ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2010, 00:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๗๗๒] ธรรมเกิดร่วมกับจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, กายวิญญัติ วจีวิญญัติ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อ
ว่า ธรรมเกิดร่วมกับจิต.

ธรรมไม่เกิดร่วมกับจิต เป็นไฉน?
จิต รูปที่เหลือ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เกิดร่วมกับจิต.

[๗๗๓] ธรรมเกิดคล้อยตามจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, กายวิญญัติ วจีวิญญัติ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อ
ว่า ธรรมเกิดคล้อยตามจิต.

ธรรมไม่เกิดคล้อยตามจิต เป็นไฉน?
จิต รูปที่เหลือ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เกิดคล้อยตามจิต.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2010, 00:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๗๗๔] ธรรมเจือกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเจือกับจิตและมี
จิตเป็นสมุฏฐาน.

ธรรมไม่เจือกับจิตและไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน?
จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เจือกับจิตและไม่มี
จิตเป็นสมุฏฐาน.

[๗๗๕] ธรรมเจือกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และเกิดร่วมกับจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเจือกับจิต มีจิต
เป็นสมุฏฐาน และเกิดร่วมกับจิต.

ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดร่วมกับจิต เป็นไฉน?
จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มี
จิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดร่วมกับจิต.

[๗๗๖] ธรรมเจือกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และเกิดคล้อยตามจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเจือกับจิต มีจิต
เป็นสมุฏฐาน และเกิดคล้อยตามจิต.

ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดคล้อยตามจิต เป็นไฉน?
จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มี
จิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดคล้อยตามจิต.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2010, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cool สวัสดีครับ...คุณกุหลาบสีชา และ cool สวด. คุณกบฯ .... ด้วยครับ

เข้าเรื่องเลย..........ครับ
ขอแยกตอบ โดยความเป็น ปรมัตถ ขันธ์ ธาตุ

===========================

***โดย.....ปรัมตถ***

ธรรมชาติของจิตโดย "ปรมัตถ" คือ.... "รู้อารมณ์"
ตามคำสอนทางอภิธรรมที่ว่า อารมมฺณวิชานนลกฺขณํ คือ รู้อารมณ์อยู่เสมอ

ตามที่คุณกุหลาสบสีชายกตัวอย่าง นั่นถูกแล้วครับ
-------------------

“สามัญลักษณะ” .......ของจิต เป็น ไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกข์ อนัตตา ) เหมือนสภาวธรรมอื่น
-------------------

“วิเสสลักษณะ” .....ของจิต (ลักษณะพิเศษ) มี 4 อย่าง

จิต.....มีการ “รู้อารมณ์”.................เป็น ลักษณะ
จิต.....เป็นประธานในธรรมทั้งปวง................เป็น กิจ
จิต.....มีหารเกิดดับติดต่อกันไม่ขาดสาย.........เป็น ผล
จิต.....มีอดีตกรรม ทวาร อารมณ์และเจตสิก.....เป็น เหตุ

สรุป .......จิต จึงมีลักษณะโดยธรรมชาติ คือ “รู้อารมณ์” (อารมณ์ที่จิตรู้ก็คือ เจตสิก)

===========================

***โดย.....ขันธ์***

พระพุทธองค์ ทรงสอนเรื่อง ขันธ์ 2 ระดับ (ตามที่ผมเรียนรู้มา) คือ

1.เบื้องต้น ทรงแสดงจำแนกความเป็นมนุษย์ออกเป็น กองๆ (ขันธ์แปลว่า กอง หมู่ ฯ)
เพื่อให้เห็นส่วนต่างที่รวมกันเป็นเรา ทรงแบ่งเป็น 5 ขันธ์/กอง ดังที่ทราบกันดีแล้ว

..... “จิต คือ กองวิญญาณ “ (รอดูเหตุผลในย่อหน้าต่อไป)
-------------------

2. ทรงแสดงต่อไปว่า เพราะมนุษย์ มี “อุปาทาน” = ความยึดมั่นถือมั่น
โดย มี “ขันธ์ เป็นอารมณ์ของ อุปาทาน” เรียกว่า “อุปาทานักขันธ์”
จะเห็นได้จากทรงสอนในเรื่องทุกข์ว่า “...ฯลฯ....ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์...”

ทรงสอนให้ใช้ “อุปาทานักขันธ์” เป็นอารมณ์ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

===========================

***โดย.....ธาตุ***

ธาตุ หมายถึง ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน ไม่วิปริตแปลงผัน
เช่น จักขุปสาท คงไว้ซึ่งความใสในการรับ รูปารมณ์ เป็นต้น

ธาตุมี 18 ,
หมายเหตุ......(อธ. แปลว่า องค์ธรรมปรมัตถ)

>>> ธาตุ ส่วนที่เป็น “รูป” ซึ่งจะจับคู่กระทบกัน คือ

คู่ที่ 1..... จักขุธาตุ (อธ. = จักขุปสาท)............คู่..........รูปธาตุ (อธ. = รูปารมณ์) ( = 2 ธาตุ)
คู่ที่ 2.....โสตธาตุ (อธ. = โสตปสาท) .............คู่..........สัททธาตุ (สัททารมณ์) ( = 2 ธาตุ)
คู่ที่ 3.....ฆานธาตุ (อธ. = ฆานปสาท)............คู่..........คันธธาตุ (คันธารมณ์) ( = 2 ธาตุ)
คู่ที่ 4.....ชิวหาธาตุ (อธ. = ชิวหาปสาท)..........คู่..........รสธาตุ (รสารมณ์) ( = 2 ธาตุ)
คู่ที่ 5.....กายธาตุ (อธ. = กายปสาท)............คู่..........โผฎฐัพพธาตุ (อธ. = ปัฐวี, เตโช, วาโย) ( = 2 ธาตุ)
........การจับคู่ดังกล่าว เป็นเพียง … “รูป.....กระทบ....รูป” = ไม่มีการรู้อารมณ์เกิดขึ้น
รูปที่รวมกันนี้ เรียกรวมว่า "โอฬาริกรูป 12"
ธาตุที่มีองค์ธรรม เป็นรูปปรมัตถข้างต้น มี 12 รูป

-------------------

ธาตุส่วนที่เป็น "จิต" *วิญญาณธาตุ 7*
แบ่งเป็นดังนี้ (ในข้อนี้สังเกต “จำนวนจิต” ให้ดีๆ)

>>> วิญญาณธาตุที่ 1 ถึง 5 คือ ( รวม ธาตุ =5 , จิต = 10 ดวง )
จักขุวิญญาธาตุ (อธ. = จักขุวิญญาณจิต 2) , ......ฯลฯ ถึง......กายวิญญาณธาตุ (อธ. = กายวิญญาณจิต 2)
(รวม อธ. = ทวิปัญจวิญญาณจิต 10 )

คือ วิญญาณธาตุ….. ที่เกิดขึ้น ..... “รับ...อารมณ์” จากการที่
“รูป กระทบกัน” .........ตามกรณี ของธาตุที่ 1 ถึง 5
เช่น จักขุธาตุ กระทบ รูปธาตุ .....เกิด จักขุวิญญาณธาตุ ขึ้น รู้อารมณ์ (คือเห็น) เป็นต้น
---------------------------------------------

>>>วิญญาณธาตุที่ 6 คือ (ธาตุ = 1 , จิต = 3 ดวง)

มโนธาตุ (อธ. = สัมปฏิจฉนจิต 2 , ปัญจทวาราวัชชนจิต 1)
(ชื่อโดยบัญญติว่า “มโนธาตุ” แต่ โดยสภาวะ เป็น “วิญญาณธาตุ” )
เมื่อรูปกระทบกัน จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ......เป็นต้น เกิดขึ้น “รับอารมณ์ แล้ว พิจารณา หรือไต่สวนอารมณ์ ”
แล้วจึงส่งอารมณ์ต่อไปที่ “มโนทวาราวัชชนจิต” ที่อยู่ในกลุ่มของ มโนวิญญาณธาตุ เพื่อ “ตัดสินอารมณ์”
---------------------------------------------------

>>>วิญญาณธาตุ ที่ 7 คือ
[มโนวิญญาณธาตุ (ธาตุ = 1) ( อธ. = จิตที่เหลือ 76/108 , นอกจาก ทวิปัญจวิญญาณจิต 10 และมโนธาตุ 3)
มโนธาตุรับอารมณ์ แล้ว จะส่งต่อไปที่ มโนทวาราชวัชชนจิต เพื่อพิจารณาอารมณ์ แล้วจะเกิดการทำกรรมขึ้นทางกาย วาจา ใจ เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง อัพยากตธรรมบ้าง

ดังนั้น จิต 89/121 เกิดจากการรวมกันของวิญญาณธาตุ 8 ธาตุ คือ ตั้งแต่จักขุวิญญาณธาตุ ถึง มโนวิญญาณธาตุ

กองวิญญาณดังกล่าวนี้รวมกัน = จิตปรมัตถ = วิญญาณขันธ์

นอกจากนี้ จิต จึงได้ชื่อว่า "ธาตุรู้"
ส่วนธรรมธาตุ เป็นธาตุถูกรู้


-------------------

ธาตุที่เหลืออีก 1 คือ
>>> ธรรมธาตุ (อธ. = รูปที่เหลือ คือ สุขุมรูป 16 , เจตสิก 52 , นิพพาน )

-------------------

มโนธาตุ และ มโนวิญญาณธาตุ จับคู่กระทบกับ ธรรมธาตุ

===========================

ฉะนั้น จะเห็นได้ว่า
ขันธ์ 5 ..........รวมกัน ได้ปรมัตถ 3 (นิพพานเป็นขันธ์วิมุตติ)
ธาตุ 18..........รวมกัน ได้ปรมัตถธรรมทั้ง 4

===========================

นอกจากนี้ ยังทรงแสดง จิต และ ปรมัตถธรรม 4 โดยความเป็น อินทรีย์ อายตนะ วัตถุ ทวาร
โดยแตกต่างกันไปแต่ละสภาวธรรม

===========================

ขณะนี้ผู้อธิบายเองก็เริ่มวิงเวียนศรีษะแล้ว จึงขอ "บ่น" เพียงเท่านี้

onion ขออนุโมทนาครับ onion


แก้ไขล่าสุดโดย Eikewsang เมื่อ 03 ก.พ. 2010, 05:14, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2010, 11:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2010, 12:33
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
เข้าใจอะไรผิด..หรือเปล่า


กบนอกกะลา เขียน:
จิต=วิญญาณขันธ์

แล้ว..

กิเลส..ตันหา..อวิชชา..มันล่องลอยไปมา..หรือมีที่ตั้งที่อาศัยหรือไม่?


นี้มัน..คำถาม..

ไม่ได้บอกว่า..ของผม..มันล่องลอยไปมา..นี้ครับ :b25: :b25:

เซ็งกบฯเลย :b24: :b24:

นี้มัน..คำถาม.. งั้นก็ขอตอบ..

มีที่ตั้งที่อาศัยแน่นอน มันไม่ล่องลอยไปมาหรอก

กิเลส..อยู่ที่..เท้า

ตันหา..อยู่ที่..กลางตัว

อวิชชา..อยู่ที่..หัว

เอ้..หรือว่า..หัว..ตัว..เท้า..เอาเป็นว่า

กิเลส..ตันหา..อวิชชา..มันอยู่ในตัวเราละกัน ง่ายดี


แก้ไขล่าสุดโดย lnwoสูsย์ เมื่อ 02 ก.พ. 2010, 11:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2010, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ขอนำหลักฐานทั้งที่เป็นพระสุตตันตปิฏกและพระอภิธรรมปิฏกมาให้อ่านบ้างบางส่วน
เพื่อให้เห็นว่า "จิต" นั้นเป็นไฉน ไม่ได้เป็นแต่ "วิญญาณขันธ์" เท่านั้น ดังนี้

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

[๘๐๗] คำว่า อันเห็นได้ยาก ในคำว่า อันเห็นได้ยาก อาศัยหทัย ความว่า เห็นได้ยาก
ดูได้ยาก พบได้ยาก รู้ได้ยาก ตามรู้ได้ยาก แทงตลอดได้ยาก จิต ได้แก่จิต ใจ มานัส หทัย
ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันเกิดแต่วิญญาณ-
ขันธ์นั้น
เรียกว่า หทัย ในคำว่า อันอาศัยหทัย. คำว่า อันอาศัยหทัย คือ อันอาศัยหทัย อาศัย
จิต ร่วมอาศัยจิต ไปร่วม เกิดร่วม เกี่ยวข้อง สัมปยุตด้วยจิต เกิดขึ้นพร้อมกัน ดับพร้อมกัน
มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกันกับจิต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันเห็นได้ยาก อาศัยหทัย.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
เพราะได้เห็นที่สิ้นสุด ที่สกัดกั้น เราจึงได้มีความไม่ยินดี อนึ่ง เราได้
เห็นลูกศรอันเห็นได้ยาก อาศัยหทัย ในสัตว์ทั้งหลายนั้น.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 639&Z=9093

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

คำว่าใจมีชื่อต่างๆ

[๙๔๕] คำว่า เมื่อใด ในคำว่า เมื่อใด ภิกษุพึงรู้ความขุ่นใจ ความว่า ในกาลใด.
คำว่า ใจ คือ จิต ใจ มานัส หทัย บัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุอันเกิดแต่ผัสสะเป็นต้นนั้น.
จิตเป็นธรรมชาติขุ่นมัว เศร้าหมอง ยุ่ง วุ่น
หวั่นไหว หมุนไป ไม่สงบ เพราะกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ
ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง
ความโอ้อวด ความหัวดื้อ ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท
กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อน
ทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง. คำว่า เมื่อใด ภิกษุพึงรู้ความขุ่นใด ความว่า ภิกษุพึงรู้ รู้ทั่ว
รู้วิเศษ รู้วิเศษเฉพาะ แทงตลอดความที่จิตขุ่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อใด ภิกษุพึงรู้ความ
ขุ่นใจ.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 29&A=10137

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

จิตนั้นเป็นไฉน วิญญาณจิต ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว จิต คือ
มนะ มานัส หทัย ปัณฑระ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่จิตนั้น วิญญาณจิต ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว
ฯลฯ ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจออก จิต คือ มนะ
มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่จิตนั้น นี้เป็นจิต ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... A=4925&w=_จิต_

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

จิต เป็นไฉน

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่าจิต
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 00:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิง 1
ศิรัสพล เขียน:
อย่าไปจำว่าจิตเป็น "วิญญาณขันธ์" เท่านั้น เดี๋ยวจะงง และจะสับสน มีคนสับสนกันเยอะในเรื่องนี้ เพราะหากจิตเป็นแต่เพียงวิญญาณขันธ์เท่านั้น จิตจะพัฒนาไม่ได้ มีแต่รู้แจ้งอารมณ์ได้เท่านั้น เกิดกิเลสก็ไม่ได้ แต่จิตนั้นเกิดกิเลสได้ พัฒนาก็ได้ ดังนั้นจิตจึงเป็นทั้งหมดนี้

จิต คือ "จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ จักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน, โสตวิญญาณธาตุที่สมกัน, ฆานวิญญาณธาตุที่สมกัน, ชิวหาวิญญาณธาตุที่สมกัน, กายวิญญาณธาตุที่สมกัน, มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน"


อ้างอิง 2
ศิรัสพล เขียน:
ขอนำหลักฐานทั้งที่เป็นพระสุตตันตปิฏกและพระอภิธรรมปิฏกมาให้อ่านบ้างบางส่วน
เพื่อให้เห็นว่า "จิต" นั้นเป็นไฉน ไม่ได้เป็นแต่ "วิญญาณขันธ์" เท่านั้น ดังนี้

.............................ฯลฯ.................................



สวัสดี...คุณศิรัสพล

ขอบคุณครับ....ที่นำธรรมดีมาให้ผมและเพื่อนๆ ได้อ่าน

อย่างน้อยก็เป็นการให้ความรู้ที่เพื่อนๆ บางคน
ยังสงสัยว่า "จิต กับ วิญญาณขันธ์" เป็นอย่างเดียวกันหรือไม่

สิ่งที่คุณนำมาลงนับว่า เป็นการยืนยันความเห็นของผมที่
กล่าวตั้งแต่ต้นกระทู้ว่า "จิต คือ วิญญาณขันธ์"

-------------------------------------------

แต่ก็มี "บางคำ" ที่ยังไม่ให้ความกระจ่าง

เพราะเดิม...คุณกล่าวว่า จิต คือ .......ฯลฯ.... จักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน, โสตวิญญาณธาตุที่สมกัน, ฆานวิญญาณธาตุที่สมกัน, ชิวหาวิญญาณธาตุที่สมกัน, กายวิญญาณธาตุที่สมกัน (อ้างอิง 2..สีแดง)

แต่ในที่ตอบมาไม่เห็นมีเลยครับว่า ชื่อดังกล่าว "เป็นจิต"

อย่างไรก็ดี เกี่ยวกับชื่อดังกล่าว 5 ชื่อนี้
ผมได้ตอบคุณกุหลาบสีชา ไว้ด้วยแล้ว อยู่ในหัวข้อ "ธาตุ"

ดังนั้น ผมจึงขอนำมาคุยกับคุณด้วยว่า
ในบรรดาชื่อทั้ง 5 นี้ แท้จริงเป็นชื่อของจิตกลุ่มหนึ่ง ชื่อ

"อเหตุกจิต ... ทั้ง 5 ชื่อนี้ แต่ละชื่อมี 2 ดวง ...
เช่น จักขุวิญญาณจติ มี 2 ดวง เป็นต้น...
รวมกันเรียกว่า ทวิปัญญจวิญญาณจิต 10"


ดังนั้น จะเรียกทั้ง 5 ชื่อนี้ว่า "จิต" จึงไม่ถูก
เพราะเป็นแค่ชื่อเฉพาะจิตแต่ละดวงเท่านั้น
ไม่ได้หมายถึง จิตโดยความหมายทั่วไป

ดังนั้น ที่คุณบอกว่า
"อย่าไปจำว่าจิตเป็น "วิญญาณขันธ์" เท่านั้น"
(อ้างอิง 1 สีเขียว)

แล้วนำชื่ออีกมากมายมาให้จำอย่างที่คุณบอก
ผมจึงขอยืนยันเลยครับว่า คุณกล่าวแบบผิดๆ

นอกจากนี้ การที่คุณกล่าวว่า ถ้าจำชื่อจิต ว่าเป็นวิญญาณขันธ์ แล้วจะพัฒนาจิตไมได้
ผมก็ไม่เห็นว่า จะเกี่ยวข้องกันเลย


และเห็นว่า เป็นคำที่ "มั่ว..มาก"
หรือว่าคุณมีหลักฐาน

ขออนุโมทนาในกุศลกรรมครั้งนี้ครับ


แก้ไขล่าสุดโดย Eikewsang เมื่อ 03 ก.พ. 2010, 01:04, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 02:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ธรรมสวัสดีค่ะ ท่านเจ้าของกระทู้ และทุกท่าน cool

เกี่ยวกับประเด็นการจัดหมวดของจิต วิญญาณ มโน
ในทั้งสองปิฏกนั้น (พระสูตร พระอภิธรรม)

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ พระองค์ปัจจุบัน
ท่านได้ทรงแสดงธรรมและพระวินิจฉัยไว้อย่างน่าสนใจ


โปรดติดตามได้จากกระทู้นี้...ค่ะ

:b8: :b8: :b8:

วิญญาณ มโน และจิต ใน ๒ ปิฎก :b8:
viewtopic.php?f=66&t=29292


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 03 ก.พ. 2010, 02:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณกุหลาบสีชามากครับ

ได้อ่านแล้ว ตามความเข้าใจหมายถึงว่า ต้องแยกกันอธิบาย จะเอามาปนกันไม่ได้ เพราะว่าปิฏกทั้งสองสรุปเรื่องจิตกันไว้คนละอย่าง

หากผมสรุปคำของสมเด็จพระสังฆราชผิดไปช่วยแนะนำด้วยนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 10:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


Eikewsang เขียน:
อ้างอิง 1
ศิรัสพล เขียน:
อย่าไปจำว่าจิตเป็น "วิญญาณขันธ์" เท่านั้น เดี๋ยวจะงง และจะสับสน มีคนสับสนกันเยอะในเรื่องนี้ เพราะหากจิตเป็นแต่เพียงวิญญาณขันธ์เท่านั้น จิตจะพัฒนาไม่ได้ มีแต่รู้แจ้งอารมณ์ได้เท่านั้น เกิดกิเลสก็ไม่ได้ แต่จิตนั้นเกิดกิเลสได้ พัฒนาก็ได้ ดังนั้นจิตจึงเป็นทั้งหมดนี้

จิต คือ "จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ จักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน, โสตวิญญาณธาตุที่สมกัน, ฆานวิญญาณธาตุที่สมกัน, ชิวหาวิญญาณธาตุที่สมกัน, กายวิญญาณธาตุที่สมกัน, มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน"


อ้างอิง 2
ศิรัสพล เขียน:
ขอนำหลักฐานทั้งที่เป็นพระสุตตันตปิฏกและพระอภิธรรมปิฏกมาให้อ่านบ้างบางส่วน
เพื่อให้เห็นว่า "จิต" นั้นเป็นไฉน ไม่ได้เป็นแต่ "วิญญาณขันธ์" เท่านั้น ดังนี้

.............................ฯลฯ.................................



สวัสดี...คุณศิรัสพล

ขอบคุณครับ....ที่นำธรรมดีมาให้ผมและเพื่อนๆ ได้อ่าน

อย่างน้อยก็เป็นการให้ความรู้ที่เพื่อนๆ บางคน
ยังสงสัยว่า "จิต กับ วิญญาณขันธ์" เป็นอย่างเดียวกันหรือไม่

สิ่งที่คุณนำมาลงนับว่า เป็นการยืนยันความเห็นของผมที่
กล่าวตั้งแต่ต้นกระทู้ว่า "จิต คือ วิญญาณขันธ์"

-------------------------------------------

แต่ก็มี "บางคำ" ที่ยังไม่ให้ความกระจ่าง

เพราะเดิม...คุณกล่าวว่า จิต คือ .......ฯลฯ.... จักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน, โสตวิญญาณธาตุที่สมกัน, ฆานวิญญาณธาตุที่สมกัน, ชิวหาวิญญาณธาตุที่สมกัน, กายวิญญาณธาตุที่สมกัน (อ้างอิง 2..สีแดง)

แต่ในที่ตอบมาไม่เห็นมีเลยครับว่า ชื่อดังกล่าว "เป็นจิต"

อย่างไรก็ดี เกี่ยวกับชื่อดังกล่าว 5 ชื่อนี้
ผมได้ตอบคุณกุหลาบสีชา ไว้ด้วยแล้ว อยู่ในหัวข้อ "ธาตุ"

ดังนั้น ผมจึงขอนำมาคุยกับคุณด้วยว่า
ในบรรดาชื่อทั้ง 5 นี้ แท้จริงเป็นชื่อของจิตกลุ่มหนึ่ง ชื่อ

"อเหตุกจิต ... ทั้ง 5 ชื่อนี้ แต่ละชื่อมี 2 ดวง ...
เช่น จักขุวิญญาณจติ มี 2 ดวง เป็นต้น...
รวมกันเรียกว่า ทวิปัญญจวิญญาณจิต 10"


ดังนั้น จะเรียกทั้ง 5 ชื่อนี้ว่า "จิต" จึงไม่ถูก
เพราะเป็นแค่ชื่อเฉพาะจิตแต่ละดวงเท่านั้น
ไม่ได้หมายถึง จิตโดยความหมายทั่วไป

ดังนั้น ที่คุณบอกว่า
"อย่าไปจำว่าจิตเป็น "วิญญาณขันธ์" เท่านั้น"
(อ้างอิง 1 สีเขียว)

แล้วนำชื่ออีกมากมายมาให้จำอย่างที่คุณบอก
ผมจึงขอยืนยันเลยครับว่า คุณกล่าวแบบผิดๆ

นอกจากนี้ การที่คุณกล่าวว่า ถ้าจำชื่อจิต ว่าเป็นวิญญาณขันธ์ แล้วจะพัฒนาจิตไมได้
ผมก็ไม่เห็นว่า จะเกี่ยวข้องกันเลย


และเห็นว่า เป็นคำที่ "มั่ว..มาก"
หรือว่าคุณมีหลักฐาน

ขออนุโมทนาในกุศลกรรมครั้งนี้ครับ


ที่คุณตำหนิผมมาต่างๆ อาจเนื่องมาจากเพราะไม่เข้าใจกันน่ะครับ เรื่องที่บอกว่าทำไมจิตจึงไม่ใช่วิญญาณขันธ์เท่านั้น ตรงนี้ผมบอกในแง่ของการปฏิบัติเลยทีเดียว ซึ่งมันอาจจะลึกซึ้งไป แต่มันเป็นจริงอย่างนั้น ดังท่อนต่อไปนี้ที่สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ก็ได้เห็นในลักษณะเดียวกัน ยกมาเทียบเคียงให้เห็นว่าพระองค์ประสงค์ชี้ว่าจิตไม่ใช่วิญญาณขันธ์บางช่วงบางตอนดังนี้

ในตอนท้ายของพระสูตรทั้งสองนี้
ก็แสดงว่าจิตพ้นจากอาสวกิเลส,
แต่ว่าไม่ได้แสดงว่าวิญญาณพ้นหรือมนะพ้น,
จะแสดงอย่างนั้น ก็ย่อมไม่ได้

เพราะเมื่อวิญญาณเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้พ้นกิเลส,
และมนะก็เป็นของร้อนเพราะไฟกิเลส
ก็ไม่อยู่ในฐานะที่เป็นผู้พ้น


จาก : viewtopic.php?f=66&t=29292


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 10:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2010, 12:33
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุปมา..จิต..(harddisk)

จิต=harddisk ที่ไม่มีข้อมูล
ตัณหา=Local Disk (C:)กามตัณหา... Local Disk (D:)ภวตัณาหา...Local Disk (E:)วิภาวะตัณหา
กิเลส=Folder(โลภ)..Folder(โกรธ)..Folder(หลง)
เจตสิก=File..ต่างๆ เช่น..มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ จักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน, โสตวิญญาณธาตุที่สมกัน, ฆานวิญญาณธาตุที่สมกัน, ชิวหาวิญญาณธาตุที่สมกัน, กายวิญญาณธาตุที่สมกัน, มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน"

อุปมา..จิต..(น้ำใสสะอาด)

จิต=น้ำใสสะอาด
กิเลส ตัณหา อุปทาน เจตสิก=สีตำ สีแดง สีขาว สีเหลือง สีเขียว ฯลฯ
ต่อเมื่อสีแดงปนรวมลงในน้ำใสสะอาด ก็จะเรียกว่า น้ำแดง(ถึงเรียกว่าน้ำแต่ไม่ใช่น้ำใสสะอาดแล้ว)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 60 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 28 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร