วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 06:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 60 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 14:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเห็นว่า ที่เข้าใจไม่ตรงกัน ไม่ใช่ประเด็นที่ว่า

จิตเป็นวิญญาณขันธ์
หรือ
จิตไม่ได้เป็นวิญญาณขันธ์



แต่ น่าจะเป็นประเด็นที่ว่า

จิต เป็นวิญญาณขันธ์เท่านั้น หรือไม่?...ต่างหาก

(คำว่า"เท่านั้น" มีความหมายมากๆ;พึงสังเกตุ)



คำว่า จิตเป็นวิญญาณขันธ์ นี้ สื่อถึง จิตที่ทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ผ่านทางช่องทวารต่างๆ(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)แบบในมหาหัตถิโปทมสูตร



ในมหาหัตถิโปทมสูตร แสดงถึงการที่ มโนปรากฏแล้ว ธรรมารมณ์ก็ปรากฏแล้ว แต่ มโนวิญญาณยังไม่ปรากฏ ไว้ดังนี้

"....ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า มนะอันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลายแล้ว และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นภายนอก ย่อมไม่มาสู่คลอง ทั้งความกำหนดอันเกิดแต่มนะ และธรรมารมณ์นั้น ก็ไม่มี ความปรากฏแห่งส่วนแห่งวิญญาณอันเกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้น ก็ยังมีไม่ได้ก่อน.

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า มนะอันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลายแล้ว และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นภายนอก ย่อมมาสู่คลอง
แต่ความกำหนดอันเกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้นไม่มี ความปรากฏแห่งส่วนแห่งวิญญาณอันเกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้น ก็ยังมีไม่ได้ก่อน.

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แต่ว่าในกาลใดแล มนะอันเป็นไปในภายในเป็นของไม่แตกทำลายแล้ว และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นภาย
นอก ย่อมมาสู่คลอง ทั้งความกำหนดอันเกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้น ก็ย่อมมี ในกาลนั้น ความปรากฏแห่งส่วนแห่งส่วนแห่งวิญญาณอันเกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้...."




ซึ่งนี่สื่อถึงคำว่า มโน มีความหมายไม่เท่ากันทุกประการกับคำว่า มโนวิญญาณ





นอกจากนี้ ยังมีในระดับพระสูตร อีกหลายพระสูตรที่ แสดง

มนะ-วิญญาณอาศัยมนะ(พระพุทธพจน์ จาก อาทิตตปริยายสูตร)
จิตแท้-จิตดั้งเดิม(ภาษิตพระกามภู จาก กามภูสูตร)
จิตที่ดำรงอยู่(พระพุทธพจน์ จาก อนิจจสูตรที่๑)
จิตประภัสสร (พระพุทธพจน์ จาก พระไตรปิฎกเล่มที่20)


กล่าวคือ จิตนั้น มีทั้งที่ทำหน้าที่ในmodeจิตดั้งเดิม และ ในmodeวิญญาณทางช่องทางต่างๆ


ดังนั้น คำว่า จิต จึงไม่มีความหมายเท่ากันทุกประการ กับคำว่า วิญญาณขันธ์

แต่ คำว่า จิต นั้น มีความหมายที่ครอบคลุมกว้างขวางกว่าคำว่า วิญญาณขันธ์ ออกไปอีก
(และ ก็หาใช่ว่า จิต จะเป็น ขันธ์ที่หก ที่นอกเหนือไปจากวิญญาณขันธ์ แต่อย่างใด...เพียงแต่ จิตจะทำหน้าที่อยู่ในmodeใด ต่างหาก)

หรือ จะดูจาก ในพระอภิธรรมปิฎก ที่คุณศิรัสพลนำมาลงประกอบไว้ ก็ชัดเจนว่า จิตนั้น ครอบคลุมทั้ง มโน(ในความหมายจิตดั้งเดิม) และ วิญญาณขันธ์(ในความหมายจิตวิญญาณที่รับรู้อารมณ์ทางช่องทางต่างๆ)



จิต เป็นวิญญาณขันธ์ เท่านั้น ...จึงไม่ตรงกับในระดับพระสูตร และ พระอภิธรรมปิฎก

(ในกรณี จิต นี้ ...ผมเห็นว่า พระสูตร และ พระอภิธรรมปิฎก นั้น น่าจะตรงกันอยู่แล้ว)


ส่วน ที่เป็นความเห็นของนักอภิธรรม นั้น ...ผม พิจารณาเห็นว่า น่าจะมาจากแนวคิดใน คัมภีร์พระอภิธัมมัตถะสังคหะ(หลังพุทธกาลนับพันปี) มากกว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 14:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ประเด็น การเปรียบเทียบ ความเหมือน หรือ แตกต่าง ระหว่าง ใจ(มโน) กับ จิต ....ตามหัวข้อกระทู้



ขอเสนอเพ่งเล็ง ตรง ทวารที่หก คือ มโทวาร เลย จะเห็นชัดเจนกว่า เพราะจะเป็นลักษณะ HEAD TO HEAD

การไปเปรียบเทียบตรงทวารอื่นเช่น ตา กับ จักขุวิญญาณ อาจจะไม่ชัดเจนเท่าครับ



>>>>>>>>



จากพระสูตรนั้น

กำลังกล่าว ในการระบุถึงปัจจัยของ การเกิดขึ้น(ความปรากฏ)แห่งวิญญาณ

คือ จะต้องมีปัจจัยทั้งสามประการครบถ้วน



จะมีเพียงหนึ่งอย่าง คือ ในขณะนั้นมีอายตนะภายในปรากฏอยู่(น่าจะตรงกับความหมาย เป็นของไม่แตกทำลายแล้ว) เช่น มโน เพียงปัจจัยเดียว ... มโนวิญญาณก็ยังไม่ปรากฏ

จะมีเพียงสองอย่าง คือ ในขณะนั้นมีอายตนะภายในปรากฏอยู่(เป็นของไม่แตกทำลายแล้ว) เช่น มโน และ มีอายตนะภายนอกมากระทบ เช่น ธรรมารมณ์ ....มโนวิญญาณก็ยังไม่ปรากฏ

จะต้องมีครบทั้งสามอย่าง คือ ในขณะนั้นมีอายตนะภายในปรากฏอยู่(เป็นของไม่แตกทำลายแล้ว) เช่น มโน และ มีอายตนะภายนอกมากระทบ เช่น ธรรมารมณ์ และ ต้องมีการกำหนดอันเกิดแต่มโนและธรรมารมณ์(สมันนหาโร ;ท่านพุทธทาสเรียก สมันนหารจิต).... มโนวิญญาณจึงจะปรากฏ




ปล... จากพระสูตรนี้ จิต มีความหมายที่ครอบคลุมกว้างกว่า คำว่า วิญญาณ

หาใช่ว่า จิต มีความหมายเท่ากันทุกประการกับคำว่า วิญญาณ

เพราะจิต(หมายเอา ภวังคจิต ในพระอภิธรรมปิฎก) มีความหมายครอบคลุมไปถึง มโน ที่ปรากฏก่อนที่ มโนวิญญาณจะปรากฏด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีพระสูตรที่น่าสนใจ อีกพระสูตร ที่เกี่ยวกับ พระพุทธพจน์อธิบาย การเกิด-ดับ ของจิต


พระไตรปิฎกเล่มที่ 16



๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑

[๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายว่า ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง
คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตาย
ก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับ
จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น แต่ตถาคตเรียก
ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง
ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้
เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือ
ไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
ดังนี้ ตลอดกาลช้านานฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลาย
กำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ

[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอา
ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะ
เข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปี
บ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปี
บ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ ฯ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็น
ที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น
ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน


[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อย
กิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป
แม้ฉันใด ร่างกาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ
บ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉัน
นั้นแล ฯ



................................


คห.ส่วนตัวน่ะครับ

ผิด-ถูก ยกไว้ก่อน

การ เกิด-ดับ ของจิต(ในmodeวิญญาณ)ในระดับพระสูตร จะเป็นลักษณะ เกิด-ดับ รับอารมณ์ ผ่านช่องทางทวารต่างๆ(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

การรับรู้อารมณ์ทางช่องทางทวารต่างๆ คล้ายๆกับ วานรโหนจับกิ่งไม้จากกิ่งหนึ่ง(ทวารหนึ่ง) ไปสู่อีกกิ่งหนึ่ง(ทวารหนึ่ง)... ปล่อยมือจากกิ่งนี้ ก็คว้ากิ่งใหม่ ไปเรื่อยๆ... แต่ละ ขณะที่คว้าจับกิ่งไม้ ก็ เปรียบเป็นจิตขณะ(ดวง)หนึ่ง

เมื่อ เหตุปัจจัยของ วิญญาณทางช่องทางต่างๆในขณะ(ดวง)นั้นดับลง วิญญาณในช่องทางนั้นในขณะ(ดวง)นั้น ก็ดับลง...และ อาจเปลี่ยนไปรับรู้อารมณ์ทางช่องทวารอื่นๆ(วานรคว้ากิ่งใหม่) .......

หรือ อาจจะเปลี่ยนmode กลับไปเป็น ใจ(จิตดั้งเดิม) ที่ไม่รับรู้อารมณ์ ก็ได้...

และ ก็ เปลี่ยนแปลงไปมา ในลักษณะ จากใจ(จิตดั้งเดิม) มา เป็นจิต(ในmodeวิญญาณ)เกิด-ดับ รับอารมณ์ ได้อีก

เปลี่ยนแปลงไปมา ทั้งวัน ทั้งคืน



วานรน้อย ห้อยโหน โผนผ่านป่า
ฉวยจับปล่อย กิ่งพฤกษา เป็นการใหญ่
ป่าแห่งต้น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
โยกโยน โหนแกว่งไกว ไปมา ๆลๆ


ลิงเฉยๆ ที่ไม่เคลื่อนไปไหน ไม่คว้าจับกิ่งไหน ก็น่้าจะตรงกับ ใจ หรือ จิตเดิม

ลิงที่คว้าจับกิ่งต้นตา ก็น่าจะเป็น ลิงโหนต้นตา

ลิงที่คว้าจับกิ่งต้นหู ก็น่าจะเป็นลิงโหนต้นหู

ๆลๆ



จิตที่เป็นmodeจิตเดิม(ใจ) เมื่อswitchเป็น จิตในmodeจิตวิญญาณตามช่องทางต่างๆในปฏิจจสมุปบาท(ด้วยแรงผลักดันของสังขารในปฏิจจสมุปบาท) ก็ จะยังให้ขันธ์๕ของกลางโลกกลายเป็นอุปาทานขันธ์๕(ตัวกู ของกู)ดังเช่นใน มหาหัตถิโปทมสูตร... และ ทุกข์เกิด

ลักษณะที่จิตในmodeจิตเดิม(ใจ) ปรุงออกไป เป็น จิตในmodeจิตวิญญาณตามช่องทางต่างๆในปฏิจจสมุปบาท(ด้วยแรงผลักดันของสังขารในปฏิจจสมุปบาท) ...น่าจะ เป็นลักษณะ "ส่งออกนอก"...
คือ จาก จิตเดิม(ใจ) ออกไปเป็น วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท



ดังนั้น จิตที่ส่งออกนอกจึงเป็นสมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 14:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


จาก พระสูตร

http://budsir.mahido...item=92&Roman=0

(ถ้าจะเปลี่ยนเป็นภาษาบาลี เปลี่ยนเลขตรงmode จาก 0เป็น1)


ขันธสังยุตต์ - มูลปัณณาสก์ - อัตตทีปวรรค - ๓. อนิจจสูตรที่ ๑

[๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากรูปธาตุ หลุดพ้นแล้ว
จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากเวทนาธาตุ ... จากสัญญาธาตุ ... จากสังขารธาตุ ... จากวิญญาณธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

เพราะหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่
เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม
เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง
เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น

ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.




ในพระบาลี มีคำว่า ฐีตํ

ฐิติ หมายถึง การดำรงอยู่ (หรือ ไม่เคลื่อน)

ฐีติจิต จิตที่ดำรงอยู่ (จิตที่ไม่เคลื่อน)

ฐีติธรรม ธรรมที่ดำรงอยู่ (ธรรมที่ไม่เคลื่อน)

(เสนอ ศึกษา ที่ หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต ท่านแสดงเรื่อง ฐีติจิต ฐีติธรรม เอาไว้ ในมุตโตทัย)




ประเด็นเรื่อง

จิตที่ส่งออกนอก

น่าจะตรงกับ จิตที่เคลื่อนออกไป...จาก จิตเดิม(ใจ)ไปเป็น วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท
มีจุติ และ อุปบัติ (จุตูปปาตะ)...
คือ จิตที่ไม่ดำรงอยู่(ไม่ฐีตัง) ไม่ใช่ฐีติจิต

จิตนั้น จึงเศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา และ เป็นทุกข์

ตามความเข้าใจส่วนตัวของผม จิตที่เคลื่อน นี้ มิใช่ไปเคลื่อนเอาเฉพาะตอนทำกาละ(ตายจริงๆ) ... แต่ มันเคลื่อนกันอยู่แทบจะตลอดเวลา ทั้งกลางวันและกลางคืน

เมื่อ จิตนั้นไม่เคลื่อนอีกเลย เพราะ ปราศจากอุปกิเลสที่จรมาแล้ว..จิตนั้นจึงประภัสสรแบบที่ไม่กลับไปเศร้าหมองอีกเลย จึงพ้นทุกข์

ด้วยว่า วานรหยุดฉวยคว้ากิ่งไม้ต่างๆ(พ้นจากแรงผลักดันแห่งสังขาร).... ทุกข์จึงยุติ



เมื่อหยุดเคลื่อน จึงแจ้งใจ ในธรรมเดิม
ที่ไม่เคย ลดหรือเพิ่ม มาแต่ไหน
ที่ไม่เคย เกิดหรือดับ ไปกับใคร
ที่ไม่เคย มาหรือไป ให้ทุกข์ทน ๆลๆ



ปล...เป็นมุมมองส่วนตัวน่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 00:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดี....คุณศิรัสพล

ขออนุญาตไตร่ถามกัน ประโยค ... ต่อ ... ประโยค


อ้างอิง .....
ศิรัสพล เขียน:
"ที่คุณตำหนิผมมาต่างๆ อาจเนื่องมาจากเพราะไม่เข้าใจกันน่ะครับ ......


คำถาม ....คำว่า อาจเนื่องมาจากเพราะไม่เข้าใจกันน่ะครับ ....นั้น
ถ้าให้เดา...หมายความว่า .คุณไม่เข้าใจ ที่ผมอธิบายเรื่อง "จิต" ในกระทู้นี้ แต่รีบโต้แย้ง...ใช่มั๊ยครับ....?

ถ้าเป็นตามที่ผมเดาละก็ ....."ผมเห็นด้วย"

เพราะ....หลังจากผมอ่าน คห. นี้ของคุณแล้วผมจึงเข้าใจ

ข้อถกกัน....ระหว่าง.....คุณกับผม....ในกระทู้นี้เริ่มจาก
v v v คุณกล่าวตามนี้ v v v

ศิรัสพล เขียน:
อย่าไปจำว่าจิตเป็น "วิญญาณขันธ์" เท่านั้น เดี๋ยวจะงง และจะสับสน มีคนสับสนกันเยอะในเรื่องนี้ ...ฯลฯ... จิต คือ "...ฯลฯ...จักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน, โสตวิญญาณธาตุที่สมกัน, ฆานวิญญาณธาตุที่สมกัน, ชิวหาวิญญาณธาตุที่สมกัน, กายวิญญาณธาตุที่สมกัน, มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน"


คำถาม...คุณไปเอาข้อมูลจากที่ไหน...? ....ว่า........ผมบอกให้จำว่า
**จิต...เป็น...วิญญาณขันธ์ เท่านั้น**

คุณลองกลับไปอ่านย่อหน้าสุดท้ายในกระทู้นี้ซิครับว่า มีอะไรอีก
คุณด่วนโต้แย้งเกินไปหรือเปล่า
000000000000000000000000000000000000000

อ้างอิง
ศิรัสพล เขียน:

.....ตรงนี้ผมบอกในแง่ของการปฏิบัติเลยทีเดียว ซึ่งมันอาจจะลึกซึ้งไป แต่มันเป็นจริงอย่างนั้น.....


คุณมั่วอีกหรือเปล่า....?

คำถาม ...คำว่า "ผมบอกในแง่ปฏิบัติ" หมายความว่าอย่างไร ....กล่าวคือ
1.คุณปฏิบัติอะไร ...
2.ผลที่ได้จากการปฏิบัติ เป็นอย่างไร
3.แล้วเกิด "สภาวะ"อะไรจากการปฏิบัติ อันทำให้คุณเห็นข้อแยกแยะจากกันได้ หรือ ข้อแตกต่าง ระหว่าง "จิต กับ วิญญาณขันธ์"

เหตุที่ต้องถามเช่นนี้
เพราะ ผมก็เป็นผู้ปฏิบัติเช่นกันครับ แต่อาจยังไม่เคยพบสภาวะดังกล่าว
000000000000000000000000000000000000000

อ้างอิง
ศิรัสพล เขียน:

ดังท่อนต่อไปนี้ที่สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ก็ได้เห็นในลักษณะเดียวกัน ยกมาเทียบเคียงให้เห็นว่าพระองค์ประสงค์ชี้ว่าจิตไม่ใช่วิญญาณขันธ์บางช่วงบางตอนดังนี้"

ในตอนท้ายของพระสูตรทั้งสองนี้
ก็แสดงว่าจิตพ้นจากอาสวกิเลส,
แต่ว่าไม่ได้แสดงว่าวิญญาณพ้นหรือมนะพ้น,
จะแสดงอย่างนั้น ก็ย่อมไม่ได้

เพราะเมื่อวิญญาณเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้พ้นกิเลส,
และมนะก็เป็นของร้อนเพราะไฟกิเลส
ก็ไม่อยู่ในฐานะที่เป็นผู้พ้น


จาก : viewtopic.php?f=66&t=29292


คำถาม.....คุณยกคำสอนของสมเด็จพระสังฆราชฯ มาอ้างนั้น คุณจะชี้แจงหรือแก้ประเด็นไหน...ครับ...?

ในเมื่อข้อความ 2 ย่อหน้าทสุดท้ายนั้น พระองค์สอน
เรื่องความแตกต่างของความหมาย ของจิต ในพระอภิธรรม กับพระสูตร
000000000000000000000000000000000000000

หมายเหตุ.-
คุณต้องไม่ลืมนะครับว่า
ห้องนี่ ... "ชื่อ...ห้องอภิธรรม"
กระทู้นี้ ผมชวนคุยเรื่อง "อภิธรรม" ตามชื่อห้อง

v v v แล้วยังเรื่อง v v v
จิต คิอ จักขุวิญญาณจิต ...ฯลฯ....


คุณก็ยังไม่ตอบ

000000000000000000000000000000000000000

ผมไม่ได้ต้องการเอาชนะคะคานกับคุณนะครับ

แต่เมื่อมีการโต้แย้งสิ่งที่ผมนำเสนอ

เป็นหน้าที่ของผม...ที่ต้องไตร่ถาม
ให้....ผู้โต้แย้งพิสูจน์...ความถูกต้อง


แต่ดูเหมือนว่า ยิ่งตอบยิ่ง......??????...ไปกันใหญ่..

onion ขออนุโมทนาในกุศลกรรมครับ onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 00:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Eikewsang เขียน:
สรุป ธรรมชาติของจิต มี 3 ประการ

1. มีการรับอารมณ์เสมอ
2. เป็นเหตุให้เจตสิกทั้งหลายรู้อารมณ์ได้คล้ายๆ กับผู้นำ
3. ทำให้สิ่งมีชัวติและไม่มีชีวิตวิจิตพิสดาร

มีชื่อว่า มโนวิญญาณ (มโน = ใจ)

ดังนั้น จิต หรือ วิญญาณ จึงหมายถึงสิ่งเดียวกัน

นอกจากนี้ จิต ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น หทัย, ปัญฑระ,
มโน, มนัส, มนินทรีย์, มโนธาตุ, มโนวิญญาณธาตุ,
วิญญาณขันธ์, มนายตนะ เป็นต้น จึงขอให้เข้าใจว่า
แม้จะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม ชื่อเหล่านั้นก็คือ จิต นั่นเอง

-------------------------------------------------
(ที่มา
- แบบเรียนอภิธรรมทงไปรษณีย์
ชุด ที่ 2 เรียบเรียงโดย ดร.วิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ และ
-หนังสือหลักสูตรชั้นจูฬอาภาธรรมมิกะตรี อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย))


ข้อ1. มีการรับอารมณ์เสมอ
จริงหรือ?

ข้อ 2. เป็นเหตุให้เจตสิกทั้งหลายรู้อารมณ์ได้คล้ายๆ ผู้นำ
จิตเป็นเหตุแห่ง เจตสิกจริงหรือ?

ข้อ3. จิตทำให้สิ่งมีชีิวิตและไม่มีชีวิตวิจิพิสดาร
จริงหรือ?

จิต ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น หทัย, ปัญฑระ,
มโน, มนัส, มนินทรีย์, มโนธาตุ, มโนวิญญาณธาตุ,
วิญญาณขันธ์, มนายตนะ เป็นต้น ..............................สรุปจากพระอภิธรรมปิฏกดีที่สุด

จิตปรมัตถ์ ........ พระไตรปิฏกเล่มไหนรับรองคำสอนนี้

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 07:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
Eikewsang เขียน:

สรุป ธรรมชาติของจิต มี 3 ประการ

1. มีการรับอารมณ์เสมอ
2. เป็นเหตุให้เจตสิกทั้งหลายรู้อารมณ์ได้คล้ายๆ กับผู้นำ
3. ทำให้สิ่งมีชัวติและไม่มีชีวิตวิจิตพิสดาร

มีชื่อว่า มโนวิญญาณ (มโน = ใจ)

ดังนั้น จิต หรือ วิญญาณ จึงหมายถึงสิ่งเดียวกัน

นอกจากนี้ จิต ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น หทัย, ปัญฑระ,
มโน, มนัส, มนินทรีย์, มโนธาตุ, มโนวิญญาณธาตุ,
วิญญาณขันธ์, มนายตนะ เป็นต้น จึงขอให้เข้าใจว่า
แม้จะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม ชื่อเหล่านั้นก็คือ จิต นั่นเอง

-------------------------------------------------
(ที่มา
- แบบเรียนอภิธรรมทงไปรษณีย์
ชุด ที่ 2 เรียบเรียงโดย ดร.วิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ และ
-หนังสือหลักสูตรชั้นจูฬอาภาธรรมมิกะตรี อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย))




น่าสนใจ ในประเด็นที่ว่า ... ธรรมชาติของจิตนั้น มีการรับอารมณ์เสมอ ???

ที่ คุณเช่นนั้น คอมเมนท์ถามมา



ถ้า ธาตุรู้นั้นๆ ขณะนั้นไม่มีการรับอารมณ์ เช่น มโน...จะ นับว่าเป็น จิต ด้วยไหม???


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
น่าสนใจ ในประเด็นที่ว่า ... ธรรมชาติของจิตนั้น มีการรับอารมณ์เสมอ ???

ที่ คุณเช่นนั้น คอมเมนท์ถามมา

...ถ้า ธาตุรู้นั้นๆ ขณะนั้นไม่มีการรับอารมณ์ เช่น มโน...จะ นับว่าเป็น จิต ด้วยไหม???...



สวัสดีครับ คุณตรงประเด็น

ขออนุญาต.....ไม่ถกกันในประเด็นที่ท่านหรือเพื่อนท่านอื่น
เปรียบเทียบเนื้อหา ใน....พระสูตร... กับ...พระอภิธรรม


.....ต่อคำถามว่า.....
"ถ้า ธาตุรู้นั้นๆ ขณะนั้นไม่มีการรับอารมณ์ เช่น มโน...จะ นับว่าเป็น จิต ด้วยไหม???.."


ขอตอบโดยความเห็นส่วนตัว
v v v v v v v v v v v v v v


จิตในขณะที่ไม่มีการรับอารมณ์ , จิตก็ยังคงต้องรักษาภพ

จิตที่ทำหน้ารักษาภพมีชื่อว่า "ภวัคจิต"

"ภวัคจิต" คือ อุเบกขาสันตีรณจิต 2 , มหาวิปากจิต 8 , มหัคคตวิปากจิต 9

แต่จิตจำนวน 19 ดวงดังกล่าว ก็ยังทำหน้าที่อื่นด้วย คือ ปฏิสนธิจิต และจุติจิต

(ที่มา "กิจสังหคะ" หนังสือหลักสูตรจูฬอาภิธรรมมิกะโท อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย)

onion ขออนุโมทนาครับ onion


แก้ไขล่าสุดโดย Eikewsang เมื่อ 04 ก.พ. 2010, 08:57, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 10:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ถึงคุณ Eikewsang ครับ

คุณถามมานั้นมีมากหลายประโยค ก็ไม่รู้จะิอธิบาย หรือชี้แจงให้หมดได้หรือเปล่า และจะให้คุณเข้าใจผมได้อย่างไร เพราะเท่าที่สังเกตไม่รู้จริงเท็จประการใด หากเข้าใจผิดต้องขออภัย คุณตั้งท่าว่าจะไม่เข้าใจ จะไม่พอใจผม หรือท่านอื่นที่คิดเห็นไม่เหมือนกัน หรือตอบไม่ถูกใจคุณเอาไว้ก่อน ซึ่งหากเป็นดังนั้น คุณก็ย่อมจะอ่านแล้วเข้าใจได้โดยยาก เป็นเหมือนกับการปิดกันการรับรู้อย่างเป็นกันเอง อย่างกัลยาณมิตรเอาไว้ในระดับหนึ่งก่อนแล้ว...

ก็เอาไปพิืจารณาเอง คุณไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไร ผมก็ไม่ได้ว่าอะไร และไม่ได้เป็นเรื่องแปลกอะไร คุณจะว่า "มั่ว" กับผม หรือว่าคนอื่น "มั่ว" กับท่านอื่นก็ไม่เป็นไร เพราะเมื่อคุณเริ่มกล่าวออกมาด้วยคำว่า "มั่วๆ" หรือการใช้สำนวนในการโต้ตอบคนอื่นที่ไม่ตรงใจคุณประการต่างๆ นั่นแหละ คุณได้แสดงถึงสถาวธรรม หรือความก้าวหน้าทางธรรมที่คุณปฏิบัติมาอยู่แล้วว่าแค่ไหนอย่างไร?

ความรู้ที่เป็นสัีญญาแม้มีมากมายนั้นไม่ใช่ตัววัด...สภาวะธรรมที่ปรากฏขึ้นในใจ หรือกริยาที่แสดงออกมานั่นแหละเป็นตัววัดที่ดี

หากต้องการพัฒนาทางธรรมเพิ่มมากขึ้น และมีกัลยาณมิตร ต้องนำสิ่งที่ผมกล่าวไปใคร่ครวญพิจารณานะครับ

แนะนำแค่นี้ ด้วยจิตเมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 11:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ ท่าน จขกท.ครับ



ทางแนวทางที่ถือตามพระอภิธัมมัตถะสังคหะ กล่าวไว้ว่า

อ้างคำพูด:
Eikewsang เขียน:

สรุป ธรรมชาติของจิต มี 3 ประการ

1. มีการรับอารมณ์เสมอ
2. เป็นเหตุให้เจตสิกทั้งหลายรู้อารมณ์ได้คล้ายๆ กับผู้นำ
3. ทำให้สิ่งมีชัวติและไม่มีชีวิตวิจิตพิสดาร

มีชื่อว่า มโนวิญญาณ (มโน = ใจ)

ดังนั้น จิต หรือ วิญญาณ จึงหมายถึงสิ่งเดียวกัน

นอกจากนี้ จิต ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น หทัย, ปัญฑระ,
มโน, มนัส, มนินทรีย์, มโนธาตุ, มโนวิญญาณธาตุ,
วิญญาณขันธ์, มนายตนะ เป็นต้น จึงขอให้เข้าใจว่า
แม้จะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม ชื่อเหล่านั้นก็คือ จิต นั่นเอง

-------------------------------------------------
(ที่มา
- แบบเรียนอภิธรรมทงไปรษณีย์
ชุด ที่ 2 เรียบเรียงโดย ดร.วิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ และ
-หนังสือหลักสูตรชั้นจูฬอาภาธรรมมิกะตรี อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย)





ซึ่งถ้าเป็นในเงื่อนไขที่ว่า ธรรมชาติของจิตมีการรับอารมณ์เสมอ

คำว่า"เสมอ"นั้น คือ ไม่มีจิตชนิดที่ไม่รับอารมณ์น่ะครับ.. กล่าวคือ ถ้าขึ้นชื่อว่า จิตแล้วต้องมีการรับอารมณ์ ใช่ไหม ครับ???



ตรงจุดนี้ คือ ประเด็นที่ ท่าน จขกท. เข้าใจไม่ตรงกันกับท่านอื่นๆ

คือ ท่านอื่นๆ กำลังพยายามจะชี้ให้เห็นว่า ...

หาใช่ว่า ถ้าเป็นจิตแล้วจะต้องรับอารมณ์เสนอ

เพราะ มี จิตดั้งเดิม(จาก กามภูสูตร; หาใช่อาจาริยวาทตามที่นักอภิธัมมัตถะสังคหะบางท่านเข้าใจ) ที่ไม่รับอารมณ์ก็มี...ซึ่งน่าจะตรงกันกับ ภวังคจิต(ในพระอภิธรรมปิฎก) ที่ไม่รับอารณ์ นั้นเอง

และ แม้นในพระอภิธรรมปิฎกเอง ก็จัดบรรยายให้ มโน(จิตเดิม) ว่าเป็น จิต เช่นกัน (ตามที่คุณศิรัสพลโค้ดมา)



มันจึงย้อนกลับไปสู่ ประเด็นที่ว่า จิตเป็นวิญญาณขันธ์เท่านั้น หรือไม่???

ตามที่เสวนากันมาในเบื่องต้นอีก




จึงเรียนเสนอ มาเพื่อพิจารณาทบทวน อีกสักครั้ง


ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


จิต ในแนวทางอภิธัมมัตถะสังคหะ



มีคำอธิบายที่น่าสนใจ ปรากฏอยู่ในเอกสารสื่อการเรียนการสอนของทางสำนักอภิธัมมัตถะสังคหะ

ดังนี้ครับ


อ้างคำพูด:
บทเรียนพระอภิธรรมทางไปรษณีย์ ชุดที่ ๒ ชีวิตคืออะไร

การทางานของจิตจะเกิดดับสืบต่อกันไปอย่างไม่ขาดสาย

ในพระสูตรตอนหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้มี ใจความว่า “...ยากที่จะนาสิ่งอื่นๆ ทั้งหลายในโลก มาเปรียบเทียบกับความเกิดดับอันรวดเร็วของจิต เพราะจิตเกิดดับๆ รวดเร็วกว่าสิ่งใดๆ ในโลก เพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว จิตจะเกิดดับถึงแสนโกฏิขณะ หรือ ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ดวง (หนึ่งล้านล้านดวง) ”

ที่ว่า จิตมีการเกิดดับสืบต่ออย่างไม่ขาดสาย เพราะจิตดวงที่ ๑ เกิดขึ้นแล้วดับไป ต่อจากนั้นจิตดวงที่ ๒ ก็จะเกิดขึ้นติดต่อกันแล้วก็ดับไปอีก เป็นเช่นนี้ต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ





ผม ขออนุญาต เสนอประเด็นในเรื่องนี้ดังนี้ครับ


ในบทเรียนนั้น ระบุว่า ชั่วลัดนิ้วมือ จิตเกิดดับหนึ่งล้านล้านดวง เป็น พระพุทธพจน์โดยตรง???

ผมเองพยายามไปหาอ่านอยู่เหมือนกันว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในพระสูตรไหน...แต่ ผมยังหาไม่พบ

ที่ผมหาพบ ก็เป็น คำบรรยายของอรรถกถาจารย์(ไม่ใช่พระพุทธพจน์โดยตรง) ที่อ้างอิงมาจาก คัมภีร์มิลินทปัญหา อีกทอดหนึ่ง...

จาก อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อภิสมัยสังยุตต์ มหาวรรคที่ ๗
อัสสุตวตาสูตรที่ ๑

อ้างคำพูด:
จริงอยู่ ในขณะดีดนิ้วครั้งเดียว จิตเกิดขึ้นหลายโกฏิแสนดวง.

สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ ในมิลินทปัญหา ว่า มหาบพิตร ข้าวเปลือก ๑๐๐ เล่มเกวียน ๑ บั้น ๗ สัดกับ ๒ ทะนาน ไม่ถึงการนับ คือไม่ถึงเสี้ยว ไม่ถึงส่วนของเสี้ยวแห่งจิตที่เป็นไปในขณะดีดนิ้วครั้งเดียว.




ท่านใด พบที่เป็นพระพุทธพจน์โดยตรงตรัสตรงที่ว่า ชั่วลัดนิ้วมือจิตเกิดดับแสนโกฏิขณะ อยู่ในพระสูตรไหน โปรดบอกเป็นวิทยาทานในกระทู้นี้ด้วยครับ


ขอบคุณครับ




ปล... เสนอสังเกตุ การที่อรรถกถาจารย์ ท่านอ้างอิงคัมภีร์มิลินทปัญหา ซึ่งแสดงว่า อรรถกถาส่วนนี้ รจนาภายหลังมิลินทปัญหา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2010, 12:33
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การนับจำนวนจิตในพระอภิธรรมมี 89 ดวงหรือ 121 ดวง

ตามความเป็นจริงแล้ว คนๆหนึ่งก็มีจิตอมตะอยู่ จิตดวงเดียว ท่องเที่ยวไปเกิดตามภพต่าง ๆ ไม่ตายไม่สลาย ที่ท่านแยกเป็น 89 ดวงหรือ 121 ดวงนั้น ท่านแยกตามระดับอารมณ์หรืออาการของจิต 1 ดวงนั่นเอง จิต 89 ดวงนั้น ท่านแบ่งตามระดับของจิตอันเดียว นั้นคือ
1) เป็นจิตระดับกามาวจรภูมิ 54 ชนิด คือ จิตระดับคน เทวดา สัตว์ ที่ติดในกาม
2) เป็นจิตระดับรูปาวจรภูมิ 15 ชนิด คือ จิตระดับเทพ พรหมมีรูปลักษณ์เป็นทิพย์ ตาคนมองไม่เห็น นอกจากเทพพรหมจะทำให้คนเห็นได้
3) เป็นจิตระดับอรูปวจรภูมิ 12 ชนิด คือ จิตระดับอรูปพรหมมีแต่จิตแต่ไม่มีรูปทิพย์ของพรหม
4) เป็นจิตระดับ โลกุตตรภูมิ 8 ชนิด คือ จิตของพระอริยชนเป็นจิตสะอาดสดใสไม่มีอวิชชา ตัณหา อุปทานอยู่ในจิต
ท่านแบ่งลักษณะของจิตตามความดีความชั่วมี 121 ชนิดคือ
1) เป็นจิตที่ฉลาดเป็นกุศล 37 ชนิด
2) เป็นจิตฉลาดมากมหากุศล 8 ชนิด
3) เป็นมหัคคตกุศล 9 ชนิด
4) เป็นจิตโลกุตตรวิบาก 20 ชนิด
5) เป็นจิตอกุศล 12 ชนิด
6) เป็นกิริยาจิต 20 ชนิด
รวมเป็น 121 ชนิด แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนละเอียดสำหรับบุคคลที่ชอบสงสัย ชอบค้นคว้า มีปัญญาฉลาดดีหรือท่านที่จะเป็นครูบาอาจารย์สั่งสอนศิษย์ต่อไปเท่านั้น สำหรับเราท่านไม่จำเป็นต้องเล่าเรียนล้ำลึกมากขนาดนั้นก็เข้าใจพระอภิธรรมที่จะเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าได้ง่ายรวดเร็ว คือ พวกเราทำบุญบารมีมานานหลายชาตินับไม่ได้ สะสมบุญบารมี มีปัญญาเป็นปรมัตถบารมี มีความเคารพศรัทธาในพระพุทธองค์ไม่สงสัยต้องการติดตามพระพุทธเจ้าเข้าพระนิพพานเร็ว ๆไว ๆ ก็ทำแบบง่ายสบาย ๆ โดยให้เข้าใจว่า
1. ในโลกนี้ทั้งโลกไม่ว่าคนสัตว์สิ่งของไม่มีอะไรดีพังเสื่อมสลาย เอาอะไรเป็นที่พึ่งไม่ได้สักอย่างเดียวแม้แต่คนที่รักกันมากก็ต้องตายจากกัน เป็นวิปัสสนาญาณ
2. เรามีคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์เป็นสรณะ คือ เป็นผู้ชี้ทางพ้นทุกข์ มีความมั่นใจเคารพศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างจริงใจ เป็นการตัดกิเลสตัวสงสัยวิจิกิจฉาได้อย่างง่าย ๆ
3. เราปฏิบัติตามพระอภิธรรมคำสั่งสอนมีศีล 5 ครบ เพื่อไม่ต้องไปเกิดแดนทุกข์ทรมานมีนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เห็นว่าร่างกายตายแน่ไม่น่าหลงใหลใฝ่ฝัน เราทำความดีเพื่อติดตามพระพุทธองค์ไปอยู่แดนบรมสุขพระนิพพาน ให้คิดไว้จนชิน ความชินนั้นเป็นฌานสมาบัติโดยไม่รู้ตัวเป็นการตัดกิเลสข้อ สีลัพพัตตปรามาส
ผู้ที่มีบุญบารมีน้อย ก็มักจะไม่ชอบของง่าย ๆ ก็ต้องลำบากหาธรรมะที่ยากกว่าจะบรรลุธรรมก็นาน บางครั้งเข้าใจพระธรรมหรือพระอภิธรรมผิดไป ก็เป็นมิจฉาทิฎฐิ หลงไปทางมืดนานนักกว่าจะได้เห็นแสงสว่างทางพระนิพพานก็เวียนว่ายตายเกิดจนกว่าจะมีบุญบารมีเต็ม
ดังนั้นผู้มีบุญบารมีมากฟังพระอภิธรรมง่าย ๆ คือ กายส่วนกาย จิตส่วนจิตไม่เอามาเกี่ยวกัน ท่านก็ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสาวกง่าย ๆ อย่าง ท่านพระคุณเจ้าพาหิยะเถระเป็นต้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 15:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ.. :b8: :b8: :b8: :b8:

ชอบแท้..อะไร..ง่าย ๆ สั้น ๆ นี้นะ.. :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิรัสพล เขียน:

เพราะเท่าที่สังเกตไม่รู้จริงเท็จประการใด หากเข้าใจผิดต้องขออภัย คุณตั้งท่าว่าจะไม่เข้าใจ จะไม่พอใจผม หรือท่านอื่นที่คิดเห็นไม่เหมือนกัน หรือตอบไม่ถูกใจคุณเอาไว้ก่อน
ซึ่งหากเป็นดังนั้น คุณก็ย่อมจะอ่านแล้วเข้าใจได้โดยยาก เป็นเหมือนกับการปิดกันการรับรู้อย่างเป็นกันเอง อย่างกัลยาณมิตรเอาไว้ในระดับหนึ่งก่อนแล้ว...


สวัสดี คุณสิรัสพล

คำว่า "ไม่พอใจ" ในที่นี้
ผมขอตีความหมายว่าเป็น "โทสะ หรือ ปฏิฆะ" ...ใช่มั๊ยครับ

...ขอตอบว่า "ไม่ใช่" ...ครับ

ผมกับคุณเคยรู้จักกันมาก่อนหรือไม่......ก็ไม่เคย
แล้วผมจะ ... ไม่พอใจคุณ....ให้เสียจริตตนเองไปทำไม

แต่ด้วย.....การแสดงความเห็นของคุณนั้น
ผมเห็นได้ชัดว่า ไม่มีมูลอันจะ "ข้อเท็จจริง และ ข้อธรรม" ขึ้นประกอบได้
(ขออภัยที่ต้องว่ากล่าวกัน....ตรงไปตรงมา)
ผมก็มีความชอบธรรมที่จะใช้ภาษาที่หนักแน่น ชัดเจน ,และมีลักษณะแสดงผลในตัว
เพื่อยืนยันความกูกต้องในข้อมูลของผม

เพราะถ้าข้อกล่าวอ้างของผม เป็นอย่างที่คุณโต้แย้ง , คนที่ "มั่วๆ" ก็คือผม

คำว่า "มั่ว" เป็นภาษาพื้นฐานใช่ได้กับทุกคน...และ
มันสะท้อนการกระทำของผม ได้เท่ากับของคนอื่น...ไม่ใช่หรือครับ

ในเมื่อข้อเท็จจริง และข้อธรรม ที่ผมถามคุณ ยังไม่ได้รับการไขข้อคล้องใจเลย
แล้วเหตุใดคุณจึงคิดว่า "ผมเข้าใจได้ยาก เพราะมีความไมพอใจคุณ บดบังจิตผมอยู่"

คุณลองกลับไปทบทวนดูนะครับว่า คุณแสดงความเห็นว่าอย่างนี้ไว้จริงมั๊ย

1. คุณกล่าวว่า "ผมขอให้จำว่า จิต เป็น วิญญาณขันธ์ เท่านั้น"
(ผมถามว่า ผมบอกไว้ตรงไหน , คุณตอบหรือยัง)

2. คุณกล่าวว่า "จิต คือ จักขุวิญญาณจิต โสตฯ ฆาสฯ ชิวหา ... กายวิญญาณจิต"
(ผมขอให้แสดงคำสอนดังที่คุณกล่าว , คุณแสดงหรือยัง)

3. คุณบอกว่าที่คุณกล่าวนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ
(ผมถาม 3 ข้อ , คุณตอบได้มั๊ย)
โดยเฉพาะข้อที่ 3. นี้ ถ้าเป็นสภาวะที่เกิดจากการปฏิบัติ
คุณยิ่งสมควรต้องรีบตอบได้โดยเร็ว
เพราะ...เป็นประสบการณ์ตรงของคุณเอง (ปัจจัตตัง)

มาถึงเวลานี้ คุณยังตั้งขอสงสัย เชิงตั้งคำถามนำ
ทำนองโยนความบกพร่องมาให้ผมอีก ว่าผมไม่พอใจคุณ


ผมไม่ได้โต้แย้งคุณ ... เพื่อเอาชนะคะคานกันนะครับ
แต่เป็นเรื่องการ สอบทวนความถูกต้อง

ผมขอยืนยันอีกครั้งว่า ไม่มีสาเหตุใด....ทำให้ผมไม่พอใจคุณ ,
ข้อความที่ผมสื่อถึงคุณ เป็นสิ่งที่ผมเห็นว่า "สมควรทำครับ"

นอกจากนี้ ข้อความข้างต้นทั้งหมด.....ผมพิมพ์โดยมีสติระลึกถึง
คำกล่าวของคุณที่ว่า "หากเข้าใจผิดต้องขออภัย" โดยตลอด

แต่เมื่อไม่มี "ปฏิฆะ" เกิดขึ้น ก็ไม่มีเหตุที่ต้องมากล่าวคำ "อโหสิกรรม" แก่กัน

onion onion onion
ดังนั้น สิ่งที่ควรกล่าวแก่กันก็คงเป็นเช่นเดิม

....ขออนุโมทนาครับ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
คุณ ท่าน จขกท.ครับ
...ฯลฯ.....
มันจึงย้อนกลับไปสู่ ประเด็นที่ว่า จิตเป็นวิญญาณขันธ์เท่านั้น หรือไม่???
ตามที่เสวนากันมาในเบื่องต้นอีก
จึงเรียนเสนอ มาเพื่อพิจารณาทบทวน อีกสักครั้ง
ขอบคุณครับ


เรียนคุณ...ตรงประเด็น

คุณต้องไม่ลืมนะครับว่า บทความที่ผมนำมาลงในกระทู้นี้
ไม่ใช่ความเห็นของผม , ซึ่งผมก็ได้อ้างที่มาไว้ท้ายกระทู้แล้ว

บางคำถาม แม้ผมจะจำได้จากการที่ศึกษาเรียนรู้มาบ้าง
แต่เมื่อยังหาข้อมูลไม่ได้ .....
ขอเฉยเสีย , ยังไม่ตอบ...ดีกว่าครับ

ตัวอย่างเช่น

ที่คุณถามต่อเนื่องจากคุณเช่นนั้นว่า ....."จิตรับอารมณ์อยู่เสมอจริงหรือ...?"

สิ่งที่ผมอย่างทำคือ ขอถามคุณว่า

1.คุณเข้าใจว่าในคำว่า "อารมณ์" คือ อะไร....?
กล่าวคือ อารมณ์ในที่นี้ ไม่ใช่มุ่งหมายถึง อารมณ์เสีย อารมณ์ไม่ดี อารมณ์ร้อน
แต่หมายถึง ธรรมที่เกิดขึ้นแล้วจิตรับรู้
ถ้าจะกล่าวโดยเฉพาะก็ คือ เจตสิก รูปปรมัตถ และ นิพพาน นั่นเอง
เช่น สีต่าง คือ รูปารมณ์ ที่กิดขึ้นทาง จักขุวิญญาณจิต เป็นต้น

2.คุณคิดว่า "เวทนา" เป็น "อารมณ์"...หรือไม่....?

3.คุณคิดว่า ในขณะนอนหลับ จิตเป็น "มีเวทนา" หรือไม่...?

4.ขณะนอนหลับสนิท...จิตก็รับอารมณ์(เวทนา) ที่เป็น "อุเบกขาเวทนา"
หากฝันร้าย จิตรับอารมณ์ คือ "โทมนัสเวทนา".... ใช่หรือไม่..?


....แต่ผมก็ยังถามไม่ได้
เพราะผมยังมาที่มาของคำอธิบายดังกล่าวไม่ได้
จึงนิ่งเฉยเสียดีกว่า


========================

สำหรับประเด็นว่า *จิตเป็นวิญญาณขันธ์.."เท่านั้น"*

ไม่ใช่ประเด็นที่ผมเป็นผู้กล่าวอ้าง ครับ , จึงของดออกความเห็น...เกี่ยวกับประเด็นนี้
(เพราะมี...บางท่าน บอกว่า จิต ไม่ใช่วิญญาณขันธ์ )

========================

ปัญหามีอยู่ว่า จิต กับ วิญญาณขันธ์ นั้น มีความหมายเหมือนหรือต่างกัน
ซึ่งเรื่องนี้ คุณกุหลาบสีชา ได้นำบทหนังสือของพระสังฆราขฯ มาลงไว้

viewtopic.php?f=66&t=29292

ท่านสอนว่า

"ตามนัยในพระอภิธรรมนี้ วิญญาณ ในขันธ์ ๕ มนะ ในอายตนะภายใน
และ จิต ที่กล่าวถึงในที่ทั้งปวง จัดเข้าในหมวดจิตทั้งหมด

เพราะฉะนั้น หลักการจัดหมวดจิตในพระอภิธรรมจึงต่างจาก
หลักของการแสดงจิต มโน และวิญญาณ ในสุตตันตะ หรือในพระสูตร
ในพระสูตรนั้น จิตมีความหมายอย่างหนึ่ง วิญญาณมีความหมายอย่างหนึ่ง"


========================

อย่างไรก็ดี .... ขอถือโอกาสนี้ ทำความเข้าใจกันเล็กน้อยครับ

ผมเห็นว่า การถกกันในเรื่องของธรรมนี้ เป็นการกระทำกุศลกรรม
ให้ผลเป็นคุณ เพราะถือเป็นธรรมสวน หรือธรรมเทสนา..กุศล

แต่ก็ไม่ควรถกกันอย่างกว้างขวาง ควรมีขีดจำกัด

ผมเป็นเพียงเริ่มผู้ฝึกตน และเพิ่งศึกษาธรรม
จากพระอภิธรรมปิฎก (ตามคัมภีร์..อภิธัมมัตถสังคหะ) เท่านั้น

ดังนั้น หากนำพระสูตรมาถกกับผม ผมขอวางเฉยละครับ
เพราะถ้าตอบไปก็เท่ากับ "เป็นการ...มั่ว"

แต่ก็ยินดีที่จะรับฟัง รับอ่านพระสูตรที่มีประโยชน์

onion onion onion
ขออนุโมทนา...ครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 60 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 62 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร