วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 00:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 02:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

วิญญาณ มโน และจิต ใน ปิฎก
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร) กรุงเทพมหานคร


เมื่อจะจัดเข้าขันธ์ ๔ หรือว่าจัด ๕ เข้าในหมวดเจตสิก,
วิญญาณ จัดเข้าในหมวด จิต,
เวทนา สัญญา สังขาร ๓ นี้เป็นเจตสิก,
เจตสิกทั้งปวงนี้ เมื่อย่นย่อลงแล้ว
ก็ย่นย่อลงในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหมด

และตามนัยในพระอภิธรรมนี้
วิญญาณ ในขันธ์ ๕ มนะ ในอายตนะภายใน
และ จิต ที่กล่าวถึงในที่ทั้งปวง จัดเข้าในหมวดจิตทั้งหมด


เพราะฉะนั้น หลักการจัดหมวดจิตในพระอภิธรรม
จึงต่างจาก หลักของการแสดงจิต มโน และวิญญาณ
ในสุตตันตะ หรือในพระสูตร


ในพระสูตรนั้น จิตมีความหมายอย่างหนึ่ง
วิญญาณมีความหมายอย่างหนึ่ง
มโนมีความหมายอย่างหนึ่ง ดังที่แสดงแล้วใน
อนัตตลักขณสูตร และใน อาทิตตปริยายสูตร

กล่าวโดยย่อ ใน อนัตตลักขณสูตร

วิญญาณนั้นเป็นขันธ์ ๕ ข้อหนึ่ง
ซึ่งตกในลักษณะของไตรลักษณ์
คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ดั่งที่ในพระสูตรนั้นสอนให้รู้ว่าวิญญาณเป็นอนัตตา

ใน อาทิตตปริยายสูตร
มนะเป็นอายตยะภายในข้อหนึ่ง
ที่ท่านสอนให้พิจารณาว่าเป็นของร้อน,
ร้อนเพราะไฟคือ ราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น

คราวนี้ ใครเป็นผู้พิจารณาวิญญาณว่าเป็นอันตตา
พิจารณามนะก็นับว่าเป็นของร้อน,
ต้องมีผู้พิจารณาอีกผู้หนึ่ง
ไม่ใช่วิญญาณพิจารณาวิญญาณเอง
หรือมนะพิจารณามนะเอง,

ในตอนท้ายของพระสูตรทั้งสองนี้
ก็แสดงว่าจิตพ้นจากอาสวกิเลส,
แต่ว่าไม่ได้แสดงว่าวิญญาณพ้นหรือมนะพ้น,
จะแสดงอย่างนั้น ก็ย่อมไม่ได้

เพราะเมื่อวิญญาณเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้พ้นกิเลส,
และมนะก็เป็นของร้อนเพราะไฟกิเลส
ก็ไม่อยู่ในฐานะที่เป็นผู้พ้น

นักอภิธรรมบางท่านได้กล่าวหาผู้ที่แสดงอย่างนี้ว่า

แสดงขันธ์ ๖ คือแสดง จิต เพิ่มขึ้นอีก ๑ ขันธ์,

เพราะว่าตามอภิธรรมนั้น
จิต มนะ วิญญาณ อยู่ในหมวดจิตอันเดียวกัน

คราวนี้ให้พิจารณาดูให้รู้อธิบายของท่าน
และเมื่อต้องการจะพูดถึงธรรมะในปิฎกใด
ก็เอาอธิบายของปิฏกนั้นมาอธิบาย...ก็ไม่ยุ่ง


คือว่าเมื่อจะอธิบายอภิธรรมก็อธิบายว่าทั้งสามนี้เหมือนกัน,
แต่ว่าเมื่อจะอธิบายพระสูตร
ก็อธิบายตามหลักฐานในพระสูตรดั่งที่กล่าวมาแล้ว

แต่อภิธรรมนี้ได้เป็นที่นิยมนับถือมาเป็นเวลาช้านาน,
พระอาจารย์ผู้อธิบายพระสูตร
เมื่อจะอธิบายถึง จิต ถึง มโน ถึง วิญญาณ
ก็คัดเอาคำอธิบายในอภิธรรมมาใส่ไว้ในพระสูตรด้วย,
เพราะฉะนั้น จึงเกิดความสับสนกันขึ้น,


ดั่งเช่นบาลีพระสูตรกล่าวถึงจิต
พระอาจารย์ผู้อธิบายก็คัดเอามาจากพระอภิธรรมว่า
“จิตฺตนฺติ วิญฺญาณํ วิญญาณ ชื่อว่าจิต”
เป็นอย่างนี้เป็นพื้น ตั้งแต่ชั้นอรรถกถาลงมา,

อันนี้แหละวิญญาณเป็นเหตุให้สับสนกัน,
ถ้าหากว่าแยกเสียดั่งที่กล่าวมาแล้วก็จะไม่สับสน


พิจารณาดูในคัมภีร์อภิธรรมนั้น
ท่านต้องการแสดงเพียงขันธ์ ๕ เท่านั้น
คือจำแนกขันธ์ ๕ ออกไปอย่างวิจิตรพิสดาร
วิญญาณก็จำแนกออกไปเป็นจิตต่างๆ อย่างวิจิตรพิสดาร
และเวทนา สัญญา สังขาร
ก็จำแนกออกไปเป็นเจตสิกถึง ๕๒,
จาก ๓ ไปเป็น ๕๒ ,
แล้วรูปก็ยังจำแนกวิจิตพิสดารออกไปอีกมากมาย,

เพราะฉะนั้น
เมื่อจับได้ว่าท่านต้องการจะอธิบายธรรมะแค่ ขันธ์ ให้พิสดาร,
ท่านจะเรียกว่า จิต ว่า มนะ หรืออะไรๆ ก็ตาม
เราก็เข้าใจไปตามที่ท่านประสงค์ ก็เป็นการไม่ยุ่ง
แต่ไม่ควรไปอธิบายให้ปะปนกัน


และที่ท่านจำแนกจิตไว้ถึง ๘๙ ดวงนั้น
ก็ด้วยยกเอาเจตสิกขึ้นมาเพียง ๓ ข้อเท่านั้น
คือ เวทนา ๑ ญาณะ ความรู้ ๑
สังขาร คือปรุงขึ้นเองหรือว่าต้องกระตุ้นเตือน ๑,

เจตสิกมีถึง ๕๒ ยกขึ้นมาเพียง ๓ ข้อ ยังแจกออกไปตั้ง ๘๙,
คราวนี้ถ้ายกทั้ง ๕๒ จะได้จิตนับหาถ้วนไม่

เพราะฉะนั้นจิตที่จำแนกไว้นั้น
ก็หมายความว่ายกขึ้นมาไว้เป็นตัวอย่างเท่านั้น,
จิตของคนก็เป็นอย่างนั้น
เพียงในระยะครู่หนึ่ง ก็ความคิดไปต่างๆ มากมาย.


:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : “วิญญาณ มโน และจิต ใน ๒ ปิฎก” ใน ความรู้ทั่วไปเรื่องพระอภิธรรม, พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก, มหามงกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิมพ์, พิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๘, หน้า ๘๒-๘๕)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 00:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ คุณกุหลาบสีชา

ต้องกล่าวขอบคุณกันอีกละซิครับ สำหรับธรรมดีๆ ในกระทู้นี้

เพราะตามคำสอนข้างต้น...เป็นข้อบ่งชี้ได้เป็นอย่างดีว่า

พระสูตร...แต่ละสูตรนั้น พระพุทธองค์สอนตามจริต
ของ ภิกษุที่พระองค์ทรงสอนอยู่นั้น
โดยบางครั้งอาจมีเพียง 1 คน แต่บางครั้งก็มากมายหลายคน

แต่ก็ยังมีจำนวนไม่มากมายมหาศาลเท่ากับจำนวนคนที่ทรงสอนพระอภิธรรม

พระองค์เทศนาพระอภิธรรมโปรดสันตุสิตเทพบุตร ที่เคยพุทธมารดา
รวมทั้งเทวดาและพรหม ที่มาจากหมื่นจักรวาฬ จำนวนเป็นล้านล้านคน/ตน
ที่มาประชุมห้อมล้อม โดยรอบพระแทนปัณฑุกัมพลที่พระองค์ประทับนั่งขณะนั้น

จึงทรงเทศนาพระอภิธรรม โดยเป็นธรรมอย่างเป็นกลาง

ดังนั้น การยกพระสูตรขึ้นอ้างอิงถกเถียงกับพระอภิธรรม
ย่อมเป็นเรื่อง หาที่สุดไม่ได้แน่นอน

แต่ในเมื่อห้องนี้ "ชื่อ.....ห้องอภิธรรม"
ก็ควรคุยเรื่องเฉพาะอภิธรรมกันดีกว่ามั้งครับ

หลังจากได้อ่านกระทู้นี้ คงเข้าใจกันแล้วละครับ

ทั้งนี้...ตัวอย่างก็มีมาแล้ว ที่กรณีเพื่อนบางคนกล่าวหาว่า
พระอาจารย์ที่ผมนับถือ....สอนผิด
โดยเพื่อนคนดังกล่าวเอาพระสูตร มายัน...
(พระอาจารย์ท่านสอบอภิธรรมบัณฑิต ได้ที่ 1 ของประเทศ...นะครับ)

onion ขออนุโมทนาครับ onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 00:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ว่าจะแสดงโดยพระสูตร หรือโดยพระอภิธรรม
การอธิบาย เรื่องจิต ย่อมไม่มีทางขัดแย้งกันเอง
เว้นแต่ จะนำเอาจิตที่แสดง โดยนัยแห่งอภิธรรมมัตถสังคหะมาแสดง อธิบายในพระสูตรย่อมขัดแย้งกันแน่นอน

ห้องนี้เป็นห้องอภิธรรม ก็ควรจะนำเอาพระอภิธรรมปิฏกมาสนทนากัน
หรือไม่ก็เปลี่ยนชื่อห้องใหม่ ตามคัมภีร์ที่เชื่อกันว่าเป็นพระอภิธรรมปิฏก

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 10:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ไม่ว่าจะแสดงโดยพระสูตร หรือโดยพระอภิธรรม
การอธิบาย เรื่องจิต ย่อมไม่มีทางขัดแย้งกันเอง
เว้นแต่ จะนำเอาจิตที่แสดง โดยนัยแห่งอภิธรรมมัตถสังคหะมาแสดง อธิบายในพระสูตรย่อมขัดแย้งกันแน่นอน

ห้องนี้เป็นห้องอภิธรรม ก็ควรจะนำเอาพระอภิธรรมปิฏกมาสนทนากัน
หรือไม่ก็เปลี่ยนชื่อห้องใหม่ ตามคัมภีร์ที่เชื่อกันว่าเป็นพระอภิธรรมปิฏก


สวัสดี....คุณเช่นนั้น

คุณเคยศึกษา "อภิธรรมมัตถสังคหะ" แล้วหรือครับ
จึงเห็นว่า เนื้อหา... แตกต่างจาก พระอภิธรรมปิฎก

กรุณายกเนื้อความที่แสดงว่า
"พระอภิธรรมปิฎก สอนแตกต่างจาก อภิธรรมมัตถสังคหะ"
ให้ดูสักตัวอย่างได้มั๊ยครับ ....

ไม่เช่นนั้น ... ผมขอกล่าวหาคุณ ว่า "มั่ว"



หรือเพียงแค่ว่า คุณ....ยากแสดงความเห็น
รู้จริง , หรือไม่ ไม่สน, ....สักแต่ขอให้ได้แสดงความเห็น


กรุณา.....กลับไปอ่านบทความที่ คุณกุหลาบสีชา นำมาลง
อีกสักรอบดีกว่าครับ...แล้วค่อยออกมาแสดงความเห็นโต้แย้ง

ตามกระทู้นี้ มีตรงไหนที่ สมเด็จพระสังฆราชฯ กล่าวว่า
"พระสูตตันตปิฎก" สอนแตกต่างกับ "พระอภิธัมมัตถสังหคะ"


กุหลาบสีชา เขียน:
"......และตามนัยในพระอภิธรรมนี้
วิญญาณ ในขันธ์ ๕ มนะ ในอายตนะภายใน
และ จิต ที่กล่าวถึงในที่ทั้งปวง จัดเข้าในหมวดจิตทั้งหมด


เพราะฉะนั้น หลักการจัดหมวดจิตในพระอภิธรรม
จึงต่างจาก หลักของการแสดงจิต มโน และวิญญาณ
ในสุตตันตะ หรือในพระสูตร



สักแต่...รู้....เห็น ฯลฯ....
ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น... เป็นสิ่งที่ครูบาอาจย์สอนให้ปฏิบัติ

สักแต่ว่า..อยากแสดงความเห็นของตนเอง
โดยไม่ได้ศึกษาให้ดีก่อน ครูบาอาจารย์ ไม่สอนให้ทำแน่นอนครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 11:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีกระทู้ ที่ท่านผู้สนใจเรื่อง จิต ทุกท่าน ควรแวะเข้าอ่าน


จิต...คืออะไร...?
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=29224


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 12:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Eikewsang เขียน:
กรุณายกเนื้อความที่แสดงว่า
"พระอภิธรรมปิฎก สอนแตกต่างจาก อภิธรรมมัตถสังคหะ"
ให้ดูสักตัวอย่างได้มั๊ยครับ ....



พื้นๆ ง่าย
-จิต 89 หรือ 121
-เจตสิก 52
มีแต่การสอนในอภิธรรมมัตถสังคหะ

ในพระอภิธรรม หาได้ระบุเช่นนั้นไม่
เช่น เมตตาเจตสิก กรุณาเจตสิก มุฒิตาเจตสิก อุปกิเลสเจตสิก 16ประการ และธรรมอื่นๆ เป็นเจตสิกธรรมหรือไม่?

เจตสิกธรรมที่พร่ำสอนกันอย่างนั้นในอภิธรรมมัตถะสังคหะมีแต่เฝือไป เฝื่อนไปจากพระอภิธรรมปิฏกอันทรงคุณค่า.

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปรมัตถ์ธรรม คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ...... ยิ่งเป็นคำสอนที่นึกเอาเองโดยผู้รจนาอภิธรรมมัตถสังคหะและเป็นที่ยอมรับกันในวงกว้าง แต่ไม่อาจมีพระพุทธพจน์รับรองได้. นอกจากผู้แต่งตำราเล่มนี้คิดนึกเอาเองทั้งสิ้น.

เพียงการจำแนกจิตโดยพื้นฐาน และการอธิบายของอภิมัตถสังคหะ ก็พิกลพิกาลจากพระอภิธรรมปิฏกนับประสาอะไรกับเรื่องราวที่เหลือ ให้มีคุณค่าเพียงพอแก่การศึกษา ว่าเป็นการศึกษาลัดย่อสู่พระอภิธรรมปิฏก.

เสียเวลา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 04 ก.พ. 2010, 13:37, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 14:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2010, 12:33
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การนับจำนวนจิตในพระอภิธรรมมี 89 ดวงหรือ 121 ดวง

ตามความเป็นจริงแล้ว คนๆหนึ่งก็มีจิตอมตะอยู่ จิตดวงเดียว ท่องเที่ยวไปเกิดตามภพต่าง ๆ ไม่ตายไม่สลาย ที่ท่านแยกเป็น 89 ดวงหรือ 121 ดวงนั้น ท่านแยกตามระดับอารมณ์หรืออาการของจิต 1 ดวงนั่นเอง จิต 89 ดวงนั้น ท่านแบ่งตามระดับของจิตอันเดียว นั้นคือ
1) เป็นจิตระดับกามาวจรภูมิ 54 ชนิด คือ จิตระดับคน เทวดา สัตว์ ที่ติดในกาม
2) เป็นจิตระดับรูปาวจรภูมิ 15 ชนิด คือ จิตระดับเทพ พรหมมีรูปลักษณ์เป็นทิพย์ ตาคนมองไม่เห็น นอกจากเทพพรหมจะทำให้คนเห็นได้
3) เป็นจิตระดับอรูปวจรภูมิ 12 ชนิด คือ จิตระดับอรูปพรหมมีแต่จิตแต่ไม่มีรูปทิพย์ของพรหม
4) เป็นจิตระดับ โลกุตตรภูมิ 8 ชนิด คือ จิตของพระอริยชนเป็นจิตสะอาดสดใสไม่มีอวิชชา ตัณหา อุปทานอยู่ในจิต
ท่านแบ่งลักษณะของจิตตามความดีความชั่วมี 121 ชนิดคือ
1) เป็นจิตที่ฉลาดเป็นกุศล 37 ชนิด
2) เป็นจิตฉลาดมากมหากุศล 8 ชนิด
3) เป็นมหัคคตกุศล 9 ชนิด
4) เป็นจิตโลกุตตรวิบาก 20 ชนิด
5) เป็นจิตอกุศล 12 ชนิด
6) เป็นกิริยาจิต 20 ชนิด
รวมเป็น 121 ชนิด แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนละเอียดสำหรับบุคคลที่ชอบสงสัย ชอบค้นคว้า มีปัญญาฉลาดดีหรือท่านที่จะเป็นครูบาอาจารย์สั่งสอนศิษย์ต่อไปเท่านั้น สำหรับเราท่านไม่จำเป็นต้องเล่าเรียนล้ำลึกมากขนาดนั้นก็เข้าใจพระอภิธรรมที่จะเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าได้ง่ายรวดเร็ว คือ พวกเราทำบุญบารมีมานานหลายชาตินับไม่ได้ สะสมบุญบารมี มีปัญญาเป็นปรมัตถบารมี มีความเคารพศรัทธาในพระพุทธองค์ไม่สงสัยต้องการติดตามพระพุทธเจ้าเข้าพระนิพพานเร็ว ๆไว ๆ ก็ทำแบบง่ายสบาย ๆ โดยให้เข้าใจว่า
1. ในโลกนี้ทั้งโลกไม่ว่าคนสัตว์สิ่งของไม่มีอะไรดีพังเสื่อมสลาย เอาอะไรเป็นที่พึ่งไม่ได้สักอย่างเดียวแม้แต่คนที่รักกันมากก็ต้องตายจากกัน เป็นวิปัสสนาญาณ
2. เรามีคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์เป็นสรณะ คือ เป็นผู้ชี้ทางพ้นทุกข์ มีความมั่นใจเคารพศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างจริงใจ เป็นการตัดกิเลสตัวสงสัยวิจิกิจฉาได้อย่างง่าย ๆ
3. เราปฏิบัติตามพระอภิธรรมคำสั่งสอนมีศีล 5 ครบ เพื่อไม่ต้องไปเกิดแดนทุกข์ทรมานมีนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เห็นว่าร่างกายตายแน่ไม่น่าหลงใหลใฝ่ฝัน เราทำความดีเพื่อติดตามพระพุทธองค์ไปอยู่แดนบรมสุขพระนิพพาน ให้คิดไว้จนชิน ความชินนั้นเป็นฌานสมาบัติโดยไม่รู้ตัวเป็นการตัดกิเลสข้อ สีลัพพัตตปรามาส
ผู้ที่มีบุญบารมีน้อย ก็มักจะไม่ชอบของง่าย ๆ ก็ต้องลำบากหาธรรมะที่ยากกว่าจะบรรลุธรรมก็นาน บางครั้งเข้าใจพระธรรมหรือพระอภิธรรมผิดไป ก็เป็นมิจฉาทิฎฐิ หลงไปทางมืดนานนักกว่าจะได้เห็นแสงสว่างทางพระนิพพานก็เวียนว่ายตายเกิดจนกว่าจะมีบุญบารมีเต็ม
ดังนั้นผู้มีบุญบารมีมากฟังพระอภิธรรมง่าย ๆ คือ กายส่วนกาย จิตส่วนจิตไม่เอามาเกี่ยวกัน ท่านก็ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสาวกง่าย ๆ อย่าง ท่านพระคุณเจ้าพาหิยะเถระเป็นต้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 14:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


Eikewsang เขียน:


สัวสดี....คุณเชนนั้น

คุณเคยศึกษา "อภิธรรมมัตถสังคหะ" แล้วหรือครับ
จึงเห็นว่า เนื้อหา... แตกต่างจาก พระอภิธรรมปิฎก

กรุณายกเนื้อความที่แสดงว่า
"พระอภิธรรมปิฎก สอนแตกต่างจาก อภิธรรมมัตถสังคหะ"
ให้ดูสักตัวอย่างได้มั๊ยครับ ....





ผม ไม่ใช่ คุณเช่นนั้น หรอกน่ะครับ

แต่
ขออนุญาต เรียนถามท่าน Eikewsang ตรงจุดนี้ บางประเด็น



คือ จุดหนึ่งที่ทางผู้ศึกษาแนวทางอภิธัมมัตถะสังคหะ จะเข้าใจไม่ตรงกับ ผู้ที่ศึกษาตามพระไตรปิฎก ก็คือ เรื่องของ สมถะ-วิปัสสนา...

ซึ่ง ประเด็นนี้ จะนำมาสู่ความเข้าใจที่ไม่ตรงกันอีกมากมาย ระหว่าง นักอภิธัมมัตถะสังคหะ และ ผู้ที่ศึกษาจากพระไตรปิฎก


จาก

อ้างคำพูด:
ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

ในปริจเฉทนี้ ท่านกล่าวถึงความแตกต่างของสมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน

เพื่อให้เห็นว่า สมถกรรมฐาน หรือ การทำสมาธินั้น เป็นการปฏิบัติเพื่อให้ จิตเกิดความสงบ และเกิดอภิญญา (เกิดอิทธิฤทธิ์ต่างๆ) เท่านั้น ซึ่งไม่ใช่จุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา

เพราะผลของการทา สมาธิหรือสมถกรรมฐานนั้นเป็นการข่มกิเลสไว้ชั่วขณะเท่านั้น ไม่สามารถ ทำลายกิเลสได้

ถึงแม้จะเจริญสมถกรรมฐานถึงขั้นอรูปฌานจนได้เสวยสุข อยู่ในอรูปพรหมภูมิเป็นเวลาอันยาวนาน แต่ในที่สุดก็ต้องกลับมาเวียนว่าย ตายเกิดไม่รู้จักจบจักสิ้น




ถ้าถือตาม คัมภีร์อภิธัมมัตถะสังคหะ.. จะ ไม่มีสมถะประเภทใดเลย ที่เกี่ยวข้องกับ การเกิดปัญญา...ใช่ไหม???

เพราะ

อ้างคำพูด:
สมถกรรมฐาน หรือ การทำสมาธินั้น เป็นการปฏิบัติเพื่อให้จิต เกิดความสงบ และเกิดอภิญญา (เกิดอิทธิฤทธิ์ต่างๆ) เท่านั้น


เสนอสังเกตุ คำว่า "เท่านั้น"...

คือ ตามแนวทางแห่งอภิธัมมัตถะสังคหะแล้ว...สมถะ ไม่มีความหมายใดๆที่มากไปกว่า จิตเกิดความสงบ(ซึ่งก็เหมือนจะเชื่ออีกว่า ไม่มีความสงบชนิดที่สามารถนำไปสนับสนุนการเจริญปัญญาได้อีก???) และ เกิดอภิญญา....???


ซึ่ง ตรงจุดนี้ไม่ตรงกับในระดับพระสูตร

ที่ทรงแสดง สมาธิภาวนา๔ประเภทไว้(พระบาลีโรหิตัสวรรคที่๕) ซึ่ง มี สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ และ สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ(น่าจะตรงกับ สมถะ ในอานันตริกสมาธิญาณ;พระสารีบุตรแสดงเอาไว้ในอีกพระสูตร) เอาไว้ด้วย!!!



และ น่าจะไม่ตรงแม้นกับกับในพระอภิธรรมปิฎก!!!

เพราะ พระอภิธรรมปิฎก ก็เรียก ความตั้งใจชอบ-สัมมาสมาธิ ในองค์มรรค(ที่สนับสนุนการเกิดปัญญา)ไว้ว่า สมถะ อีกเช่นกัน

จาก

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=1

[๒๕๓] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น



ซึ่ง ถ้าถือตาม พระอภิธรรมปิฎก ..
อานิสงส์ของสมถะ หาใช่ว่าจะจำกัดอยู่เพียงแค่ การที่จิตสงบ และ การเกิดฤทธิ์ เท่านั้น... แต่ อานิสงส์ของ สมถะ จะครอบคลุมถึง สัมมาสมาธิในองค์มรรคที่สนับสนุนการเกิดปัญญา ด้วย




ขอเสนอเพิ่มเติมมาดังนี้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 15:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:
:b8: :b8: :b8: อนุโมทนาสาธุครับ..ท่าน..กุหลาบสีชา.. :b8: :b8: :b8:

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แก้ไขล่าสุดโดย ธรรมบุตร เมื่อ 04 ก.พ. 2010, 15:22, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 15:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp
000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp [ 466.22 KiB | เปิดดู 8717 ครั้ง ]
สมาธิเพื่อดับอาสวะ

ปัญหา จะบำเพ็ญสมาธิภาวนาแบบไหน อย่างไร จึงจะทำให้อาสวะดับได้ ?
พุทธดำรัสตอบ

“..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ห้าอยู่เป็นประจำว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้
“เวทนา.... ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา.... ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้
“สัญญา.... ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา.... ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้
“สังขาร.... ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร.... ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้
“วิญญาณ.... ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ.... ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
“..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนาอย่างนี้..... ย่อมเป็นไปเพื่อสิ้นอาสวะ....”



สมาธิสูตร จ. อํ.
:b42: :b42: :b42:
:b42: :b42: :b42:
:b42: :b42: :b42:


บำเพ็ญสมาธิทำไม ?
ปัญหา การบำเพ็ญสมาธินั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อจะทำลายกิเลส แล้วบรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์เท่านั้นหรือ ? หรือว่ามีจุดมุ่งหมายอย่างอื่นด้วย ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนามีอยู่ ๔ ประการ คือ สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญแล้วเพิ่มพูนแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑.... ย่อมเป็นไปเพื่อให้เกิดจากเป็นแจ้งด้วยญาณ ๑.... ย่อมเป็นไปเพื่อ (ความสมบูรณ์แห่ง) สติสัมปชัญญะ ๑.... ย่อมเป็นไปเพื่อความหมดสิ้นแห่งอาสวะ ๑.....”


:b42: :b42: :b42:
:b42: :b42: :b42:
:b42: :b42: :b42:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 23:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มี อีกกระทู้ ที่อาจมีประโยชน์ ต่อ ท่านผู้สนใจเรื่อง จิต ทุกท่าน



"บ้าง"...พระสูตร..สอนว่า ".จิต วิญญาณ มโน." ความหมายเดีย

viewtopic.php?f=66&t=29349


แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 06 ก.พ. 2010, 11:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 23:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ คุณตรงประเด็น

ขอโทษด้วยครับที่ไม่เห็นกระทู้นี้

เพิ่งมาอ่านพบ ... และ...ขอสนทนากับแบบย่อหน้า/ย่อหน้า

ตรงประเด็น เขียน:
ขออนุญาต เรียนถามท่าน Eikewsang ตรงจุดนี้ บางประเด็น

คือ จุดหนึ่งที่ทางผู้ศึกษาแนวทางอภิธัมมัตถะสังคหะ จะเข้าใจไม่ตรงกับ ผู้ที่ศึกษาตามพระไตรปิฎก ก็คือ เรื่องของ สมถะ-วิปัสสนา...

ซึ่ง ประเด็นนี้ จะนำมาสู่ความเข้าใจที่ไม่ตรงกันอีกมากมาย ระหว่าง นักอภิธัมมัตถะสังคหะ และ ผู้ที่ศึกษาจากพระไตรปิฎก


ขอทำความเข้าใจต่อคำถามของคุณก่อนครับ คือ

คุณถามว่า ผู้ศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ
จะเข้าใจไม่ตรงกับผู้ศึกษา พระไตรปิฎก

อภิธัมมัตถสังคหะ เป็นคัมภีร์ซึ่งรจนามาจาก พระอภิธรรมปิฎก
เพียงแต่นำมาจัดหมวดหมู่ให้เนื้อหาอยู่เป็นกลุ่มๆ ไม่ปะปนกัน ง่ายต่อความเข้าใจ

ดังนั้น การศึกษาอภิธรรมมัตถสังคหะ ก็คือการศึกษา....พระอภิธรรมปิฎก
โดยในคัมภีร์จะยกพุทธวัจนะจากพระอภิธรรมปิฎก อ้างประกอบโดยตลอด

ตรงประเด็น เขียน:
ถ้าถือตาม คัมภีร์อภิธัมมัตถะสังคหะ.. จะ ไม่มีสมถะประเภทใดเลย ที่เกี่ยวข้องกับ การเกิดปัญญา...ใช่ไหม???


ไม่ถูกต้องนักครับ เพราะการทำสมถะ ก็จะมีปัญญาเพียงแต่เป็น "โลกียปัญญา"
(ปัญญาที่ไม่พ้นโลกทั้ง 3 คือ กามโลก รูปโลก อรูปโลก)

ตามลักษณะหรือสภาวะของ ฌานจิต
เป็นจิตที่ประกอบด้วยปัญญา (ติเหตุกจิต) ทั้งนั้น

อภิญญาจิต ก็เกิดจากผู้เจริญรูปฌาน จนบรรลุ "จตุถฌาน" (ตามพระสูตร)
แล้วจึงอษิฐานเพื่อได้อภิญญา ต่อไป
ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าได้ฌาน 4 แล้วจะได้อภิญญาทุกคน
ยังมีเงื่อนไขอีกหลายอย่าง เช้น ต้องได้ฌานจากการเพ่งกสิณ เป็นต้น

แต่เป็นปัญญาคนละอย่างกับ ..... วิปัสสนาปัญญา
วิปัสสนาปัญญา เป็นปัญญาที่ไม่นำเกิด
เป็นปัญญาที่พ้นจากโกลทั้ง 3 คือ เป็น "โลกุตตรปัญญา"

ส่วนปัญญาที่ได้จากสมถะ เป็นปัญญาที่ยังนำเกิด
ในรูปพรหม หรือ อรูปพรหม คือ ยังถือว่าเป็น โลกียปัญญา

ตรงประเด็น เขียน:
สมถกรรมฐาน หรือ การทำสมาธินั้น เป็นการปฏิบัติเพื่อให้จิต เกิดความสงบ และเกิดอภิญญา (เกิดอิทธิฤทธิ์ต่างๆ) เท่านั้น

คือ ตามแนวทางแห่งอภิธัมมัตถะสังคหะแล้ว...สมถะ ไม่มีความหมายใดๆที่มากไปกว่า จิตเกิดความสงบ(ซึ่งก็เหมือนจะเชื่ออีกว่า ไม่มีความสงบชนิดที่สามารถนำไปสนับสนุนการเจริญปัญญาได้อีก???) และ เกิดอภิญญา....???


ก็คงไม่ถูกต้องนัก เพราะผู้ทรงฌาน ย่อมมีสัมมาสมาธิ และเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์

การเจริญวิปัสสนา เป็นการเจริญสติ , หากไม่มีสมาธิ ก็อย่าหวังว่า สติจะเกิดได้

ดังนั้น ผู้ทำสัมมาสมาธิ ย่อมจะเจริญวิปัสสนาได้ดีกว่า...ผู้ไม่มีสมาธิ หรือ มีมิจฉาสมาธิ
(พระป่า ทุกองค์จะต้องทำสมถะ ไม่ได้ฌานเสียก่อน จึงเจริญวิปัสสนาต่อ)
ก็คือ ปัญญาจากสมถะ สามาถนำมาสนับสนุนวิปัสสนาปัญญา "ได้ดี"

จากการที่ผมเคยฟังจากผู้ปฏิบัติ ,
ผู้เจริญวิปัสสนา....ตามแนว....กายานุปัสสนา
หากเป็น ฌานลาภีบุคคล จะทำได้ดีกว่า ไปเร็วกว่า

--------------------------------------------------------
ส่วนคำถามอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการเปรียบเทียบระหว่าง
พระอภิธรรม - พระสูตร ขออนุญาตไม่ออกความเห็นจะดีกว่า
ก็อย่างที่เคยบอกไว้แล้ว

--------------------------------------------------------

แต่ผมขอตั้งข้อสังเกตุ

ตามพระสูตร เป็นกรณีที่พระพุทธองค์ สอนบุคคลแต่ละคน
ตามจริตของคน คนนั้น บางครั้ง 1 คน เช่น พาหิยะ

บางครั้งทรงแสดงเจตนาว่าสอนคนหนึ่ง แต่ในใจกลับต้องการอีกคนหนึ่ง
เช่น สอนฑีฆนักขะ แต่พระสารีบุตร บรรลุธรรม

บางครั้งทรงสอนหลายๆ คน
เช่น สอนเหล่า ชฎิล 3 พี่น้อง 1,003 คน สำเร็จเป็นพระอรหันต์

ส่วนพระอภิธรรม ทรงแสดงโปรด สันตุสิตเทพบุตร และเทวดา พรหม
เป็นจำนวนล้านล้านตน จึงสอนธรรมแบบกลางๆ
ซึ่งต้องใช้เวลาสอนอยู่ตั้ง 3 เดือน

ขออนุโมทนาครับ


แก้ไขล่าสุดโดย Eikewsang เมื่อ 05 ก.พ. 2010, 23:24, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ย้อนกลับไปดูกระทู้ฌาณน่ากลัวหรือ?ได้เลยครับ smiley

จุดสังเกตุส่วนตัว ผมสังเกตุว่า ผู้ที่ปฏิเสธความเพียร ไม่อยากทำสมาธิปล่อยจิตฟุ้งซ่าน ตามรู้ดูจิต โดยที่ ฌาณ ยังไม่มี พอกพูนนิวรณ์ อ้างเอาวิปัสสนาล้วนๆ อย่างเดียว???
มักจะนำ พระพาหิยะ พระอานนท์ มาอ้างปฏิเสธ ในการไม่อบรมสมถะ ความสงบระงับขัดเกลา เหมือนเป็นสูตรยังไงยังงั้น หนักเข้าก็หาว่าการทำสมถะ การทำฌาณให้บังเกิดเป็น
ฤาษี!?

ซึ่ง มันไม่ใช่แบบนั้น อย่าลืมสิว่า เมื่อยุคที่ไม่มีพระพุทธศาสนา อริยะบุคคลก็มีมากๆๆๆๆ คือพระปัจเจกพุทธเจ้านั่นเอง :b16:

ไม่มีฌาณ ไม่มีทางเข้าสู่โลกุตระ


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 05 ก.พ. 2010, 23:59, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2010, 06:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เรียน คุณ Eikewsang และ สมาชิกลานธรรมจักรทุกท่าน



ขออนุญาตคุยกับ ในประเด็น

สมถะ-วิปัสสนา เปรียบเทียบ จาก พระสูตร-พระอภิธรรมปิฎก-พระอภิธัมมัตถะสังคหะ

ในจุดนี้ไปเลย ในบางประเด็น น่ะครับ

อาจจะเหมือนออกนอกประเด็นกระทู้ไปบ้าง แต่ ความจริงแล้ว ธรรมนั้นเนื้อหามันโยงถึงกันไปหมด ครับ



อ้างคำพูด:
Eikewsang

อภิธัมมัตถสังคหะ เป็นคัมภีร์ซึ่งรจนามาจาก พระอภิธรรมปิฎก
เพียงแต่นำมาจัดหมวดหมู่ให้เนื้อหาอยู่เป็นกลุ่มๆ ไม่ปะปนกัน ง่ายต่อความเข้าใจ

ดังนั้น การศึกษาอภิธรรมมัตถสังคหะ ก็คือการศึกษา....พระอภิธรรมปิฎก


คุณ เลือกที่จะ ศึกษาพระอภิธรรมปิฎกผ่านคัมภีร์พระอภิธัมมัตถะสังคหะ....อย่างเดียว???

โอเค... ถ้าคุณจะเลือกเช่นนั้น มันก็เป็นสิทธิของคุณ

แต่ ผมเสนอว่า

คุณ น่าจะลองไปอ่านศึกษาพระอภิธรรมปิฎกด้วยมุมมองของตนเอง โดยไม่ต้องผ่านมุมมองของอาจารย์รุ่นหลังพุทธกาล ท่านใดๆ ดูบ้าง

(และ ถ้าย้อนกลับไปศึกษาที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้โดยตรงในจุดนั้นจากระดับพระสูตร จะมีประโยชน์มากขึ้นไปอีก เพราะอย่างไรเสีย พระพุทธพจน์ย่อมเป็นหลักการสูงสุด ดังแสดงในหลักการมหาปเทส)

โดยเฉพาะในจุดที่เป็นปัญหา

เช่น สมถะ เกี่ยวข้องกับการเกิด โลกุตระปัญญาไหม?





อ้างคำพูด:
Eikewsang

ไม่ถูกต้องนักครับ เพราะการทำสมถะ ก็จะมีปัญญาเพียงแต่เป็น "โลกียปัญญา"
(ปัญญาที่ไม่พ้นโลกทั้ง 3 คือ กามโลก รูปโลก อรูปโลก)



ถ้าถือตาม บทธรรมที่นักอภิธัมมัตถะสังคหะ สรุปไว้ .... จะเข้าข่ายตามลักษณะที่คุณกล่าว จริง

คือ คำว่า"สมถะ"ในการเจริญสมถะกรรมฐาน ตามที่ปรากฏในบทธรรมของนักอภิธัมมัตถะสังคหะนั้น ไม่เกี่ยวข้อง กับ การเกิดโลกุตระปัญญา เลย

ดังที่ปรากฏใน บทความของนักอภิธัมมัตถะสังคหะ

อ้างคำพูด:
ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

ในปริจเฉทนี้ ท่านกล่าวถึงความแตกต่างของสมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน

เพื่อให้เห็นว่า สมถกรรมฐาน หรือ การทำสมาธินั้น เป็นการปฏิบัติเพื่อให้ จิตเกิดความสงบ และเกิดอภิญญา (เกิดอิทธิฤทธิ์ต่างๆ) เท่านั้น ซึ่งไม่ใช่จุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา

เพราะผลของการทา สมาธิหรือสมถกรรมฐานนั้นเป็นการข่มกิเลสไว้ชั่วขณะเท่านั้น ไม่สามารถ ทำลายกิเลสได้

ถึงแม้จะเจริญสมถกรรมฐานถึงขั้นอรูปฌานจนได้เสวยสุข อยู่ในอรูปพรหมภูมิเป็นเวลาอันยาวนาน แต่ในที่สุดก็ต้องกลับมาเวียนว่าย ตายเกิดไม่รู้จักจบจักสิ้น



เสนอ ให้ความสำคัญ กับคำว่า "เท่านั้น" ในจุดนี้
"เท่านั้น" คือ ไม่มีสมถะในความหมายใดๆ ที่มากไปกว่านี้ ใช่ไหม???

ซึ่ง ก็คือ
ไม่มีความหมายของคำว่า สมถะ แบบไหนๆเลย ที่ เกี่ยวข้อง หรือ สนับสนุนการเกิดโลกุตระปัญญา... ใช่ไหม???



ตรงจุดนี้

มีบทธรรมจากพระอภิธรรมปิฎก ที่กล่าวระบุว่า

สัมมาสมาธิในองค์มรรค(เอกัคคตาแห่งจิตที่แวดล้อมด้วยองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ด) ที่เป็นโลกุตระ ก็นับว่าเป็น สมถะ ด้วยเช่นกัน!!!

อ้างอิง จาก

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=1

[๒๕๓] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น


(ปล.. ความตั้งใจชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค นี้ คือ สัมมาสมาธิในองค์มรรค ที่เป็นโลกุตระ)


ตรงจุดที่แสดงว่า

สัมมาสมาธิในองค์มรรค ที่เป็นโลกุตระ (ซึ่งจากพระอภิธรรมปิฎก ก็เรียกว่า สมถะ เช่นกัน...เน้น) สนับสนุนการเกิดโลกุตระปัญญานี้
ยังมีปรากฏในพระอภิธรรมปิฎก และ พระสูตรอื่นๆ อีกเต็มไปหมด

ผมขอยกเอาจาก พระอภิธรรมปิฎก มาวางก่อน เพื่อจะได้เปรียบเทียบระหว่าง พระอภิธรรมปิฎก กับ พระอภิธัมมัตถะสังคหะ โดยตรง

จาก พระสูตร จะค่อยๆ ทยอยนำมาลงต่อไป ในส่วนแยก อภิธรรม นี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 30 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร